ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

24 ตุลาคม 2553

วัฎจักรแห่งการเรียนรู้ 4 MAT

        
 
        

วัฎจักรแห่งการเรียนรู้  4 MAT


วัฎจักรแห่งการเรียนรู้ ( 4 MAT ) สร้างขึ้นโดยใช้วงกลมเป็นสัญลักษณ์ แทนการเคลื่อนไหวของกิจกรรมการเรียนรู้ พื้นที่ของวงกลม ถูกแบ่งออกโดยเส้นแห่งการเรียนรู้ และเส้นแห่งกระบวนการจัดข้อมูลรับรู้เป็นสี่ส่วน กำหนดให้แต่ละส่วนใช้แทนกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ลักษณะดังนี้ 

ส่วนที่ 1 คือ บูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของตน ใช้คำถามเป็นคำถามนำกิจกรรมคือ ทำไม (Why)

ส่วนที่ 2 คือ สร้างความคิดรวบยอด คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมส่วนนี้คือ อะไร (What)

ส่วนที่ 3 คือ ปฏิบัติและเรียนรู้ตามลักษณะเฉพาะตัว คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมส่วนนี้คือ

ทำอย่างไร (How)

ส่วนที่ 4 คือ บูรณาการประยุกต์กับประสบการณ์ของตน คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมส่วนนี้คือ ถ้า ( If)

การเรียนรู้แบบ 4 MAT



การเรียนรู้แบบ 4MAT: การจัดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง

การสอนแบบ 4 MAT System เป็นการสอนในรูปแบบที่เริ่มมีคนใช้มากขึ้นเพราะความสะดวกง่ายต่อความเข้าใจของครูมากกว่าทฤษฎีใดๆ ที่สำคัญคือ เป็นวิธีที่ผสมผสานกับกลยุทธ์อื่นได้เป็นอย่างดีเช่น อาจนำวิธีนี้มาใช้ร่วมกับการเรียนแบบสหร่วมใจ (Cooperative Learning) หรือแบบอื่นได้ด้วย ความไม่ยุ่งยากซับซ้อนและประสิทธิภาพของวิธีการสอนเช่นนี้ ทำให้เริ่มมีการวิจัยเพิ่มขึ้น มีบทความ หนังสือต่างๆ
มากมายกล่าวถึงการเรียนการสอนแบบนี้มากขึ้น จนในขณะนี้นักการศึกษาสำหรับเด็กปัญญาเลิศและนักการศึกษาทั่วไปรู้จักและเข้าใจมากขึ้น
ประวัติความเป็นมาของการเรียนการสอนแบบ 4 MAT System
เบอร์นิส แมคคาร์ธี (Bernice McCarthy) ผู้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้เป็นคนแรกเป็นนักการศึกษาชาวอเมริกันที่มีประสบการณ์ในการสอนหลายระดับชั้นเรียนมาเป็นเวลานาน รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำเด็กทั้งหลาย ทำให้เธอเกิดความเข้าใจและมั่นใจว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่าง
กันทั้งทางด้านสติปัญญา การรับรู้ และการเรียนรู้อย่างสิ้นเชิง จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดงานวิจัยของเธอขึ้นมา

ในปี ค.ศ. 1979 แมคคาร์ธี ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยชิ้นใหญ่จากบริษัท แมคโดนัลด์ ทำวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางสมองและสไตล์การเรียนรู้ของเด็ก นั่นคือจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแนวคิดที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลให้ชัดเจนและเป็นภาคปฏิบัติมากขึ้น แมคคาร์ธี ได้กลั่นกรองรูปแบบ
การศึกษาเกี่ยวกับสไตล์การเรียนรู้หลายรูปแบบ ในที่สุดก็ได้ดึงเอารูปแบบการเรียนรู้ของ เดวิด คอล์บ(David Kolb) ปราชญ์ทางการศึกษาชาวอเมริกัน มาเป็นแนวความคิดในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญตามทฤษฎีของคอล์บ (1976) นั้น จากการศึกษาพบว่ามี 2 มิติ ที่มีความสำคัญกับการเรียนรู้คือ การรับรู้ และกระบวนการ กล่าวว่าการเรียนเกิดจากการที่คนทั้งหลายรับรู้แล้ว นำเข้าไปจัดกระบวนการในสิ่งที่ตนรับรู้มาอย่างไร ถ้าจะลองนึกถึงตัวอย่าง คนที่มีความแตกต่างกันมากๆ ก็ได้แก่คนที่รับรู้ผ่านรูปธรรม แต่คนอีกประเภทหนึ่งรับรู้ผ่านนามธรรม คนสองกลุ่มนี้สร้างความคิดแตกต่างกันในเรื่องเดียวกัน
แนวความคิดของ คอล์บ

คอล์บ พิจารณาดูว่าคนบางคนมีกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง (ActiveExperimentation) ขณะที่บางคนอาจถนัดเรียนรู้โดยการสังเกตจากแหล่งต่างๆ แล้วสะท้อนกลับเป็นการเรียนรู้ (Reflective Observation) ซึ่งคนทั้งสองประเภทดังกล่าว เป็นผู้ที่มีลักษณะการเรียนรู้ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนเอื้ออำนวยแก่ผู้เรียนประเภทใดประเภทหนึ่งมากจนเกินไป จะทำให้ผู้เรียนอีกแบบหนึ่งขาดโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถได้อย่างเต็มศักยภาพ
ผู้เรียนแบบที่ 1 (Active Experimentation) จะเรียนรู้ได้ดีและเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ก็ต่อเมื่อเขาได้ลงมือกระทำ มือไม้แขนขาได้สัมผัสและเรียนรู้ควบคู่ไปกับสมองทั้งสองด้านสั่งการเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ทั้งเนื้อทั้งตัวที่ต้องผ่านประสาทสัมผัสอื่นๆประกอบกัน
ผู้เรียนแบบที่ 2 (Reflective Observation) จะเรียนรู้โดยการผ่านจิตสำนึกจากการเฝ้ามองแล้วค่อยๆ ตอบสนอง
ผู้เรียนแบบที่ 3 (Abstract Conceptualization) จะเรียนรู้โดยใช้สัญญาณหยั่งรู้มองเห็นสิ่งต่างๆเป็นรูปธรรมแล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์จากการรับรู้ที่ได้มาเป็นองค์ความรู้
ผู้เรียนแบบที่ 4 (Concrete Experience) จะเรียนรู้ได้ดีต่อเมื่อผ่านการวิเคราะห์ การประเมินสิ่งต่างๆ โดยการเอาตัวเองเข้าไปพิสูจน์หรือโดยการใช้หลักเกณฑ์แห่งเหตุผลการเรียนรู้แบบ 4 MAT
ทั้ง 4 กลุ่ม ต่างมีจุดดีจุดเด่นคนละแบบ ซึ่งเป็นโครงสร้างทางกลไกทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีอยู่จริงในทุกโรงเรียนทั่วโลก ดังนั้นหน้าที่ของผู้เป็นครูย่อมต้องพยายามหาหนทางที่จะทำให้เกิดสภาวะสมดุลทางการเรียนรู้ให้ได้สภาวะสมดุล การสรรค์สร้างโอกาสให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันทั้งโครงสร้างทางสติปัญญากลไกทางการเรียนรู้หรือการทำงานของสมองแตกต่างกันให้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความสามารถของตนออกมา พร้อมทั้งรู้จักและสามารถนำวิธีการของเพื่อนคนอื่นมาปรับปรุงลักษณะการเรียนรู้ของตน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนให้ดีขึ้น
ดังนั้นในปี ค.ศ. 1980 แมคคาร์ธี จึงได้นำแนวคิดดังกล่าวของคอล์บ มาประยุกต์และพัฒนาเป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 แบบ (4 Types of students) ที่เรียกว่า 4 MAT* หรือ การจัดกิจกรรมการเรียนให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับระบบการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวา (แนวคิดของคลอ์บนี้ ได้รากฐานทฤษฎีมาจาก จอห์น ดิวอี้ เคิร์ท เลวิน และ ฌอง ปิอา เช่ต์)

* MAT แปลว่า เสื่อ การสาน หรือผสมผสาน ในที่นี้หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้ที่ผสมผสานกัน เพื่อเอื้อแก่ผู้เรียนทั้ง 4 แบบ

การเรียนรู้แบบ 
4 MAT
แมคคาร์ธี ได้ขยายแนวคิดของคอล์บออกไปให้กว้างขึ้น โดยเสนอว่าผู้เรียนมีอยู่ 4 แบบหลักๆ  ดังนี้

ผู้เรียนแบบที่ 1 (Type One Learner) ผู้เรียนถนัดการใช้จินตนาการ (Imaginative Learners)ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและความรู้สึก และสามารถประมวลกระบวนการเรียนรู้ได้ดียิ่งในภาวะที่ตนเองได้มีโอกาสเฝ้ามอง หรือการได้รับการสะท้อนกลับทางความคิดจากที่ต่างๆ สมองซีกขวาของพวกนี้ทำหน้าที่เสาะหาความหมายของสิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ สมองซีกซ้ายขุดค้นเหตุผลและความเข้าใจจาก
การวิเคราะห์ เป็นพวกที่ชอบถามเหตุผล คำถามที่คิดจะพูดขึ้นมาเสมอๆ คือ ทำไม” “ทำไม หรือ Why?ผู้เรียนที่อยู่ในรูปแบบนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าทำไมพวกเขาต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วจะเกี่ยวข้องกับตัวเขาหรือสิ่งที่เขาสนใจอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องค่านิยม ความเชื่อ ความคิด คตินิยม ความรู้สึก ชอบขบคิดปัญหาต่างๆค้นหาเหตุผล และสร้างความหมายเฉพาะของตนเอง ผู้เรียนเช่นนี้จะต้องหาเหตุผลที่จะต้องเรียนรู้ก่อนสิ่งอื่นๆ จะเรียนรู้ได้ดีหากมีการถกเถียง อภิปราย โต้วาที กิจกรรมกลุ่ม การใช้การเรียนแบบสหร่วมใจ ครูต้องให้เหตุผลก่อนเรียนหรือระหว่างการเรียน

ผู้เรียนแบบที่ 2 (Type Two Learner) ผู้เรียนถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learners) จะรับรู้ในลักษณะรูปธรรมและนำสิ่งที่รับรู้มาประมวลกลไกหรือกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะของการมองสังเกตสมองซีกขวาเสาะหาประสบการณ์ที่จะสามารถผสมผสานการเรียนรู้ใหม่ๆ และต้องการความแจ่มกระจ่างในเรื่องคำตอบขององค์ความรู้ที่ได้มา ในขณะนี้สมองซีกซ้ายมุ่งวิเคราะห์จากความความรู้ใหม่เป็นพวกที่ชอบถามว่าข้อเท็จจริง คำถามที่สำคัญที่สุดของเด็กกลุ่มนี้ คือ อะไร หรือ What? ผู้เรียนแบบนี้ชอบการเรียนรู้แบบดั้งเดิม ต้องการศึกษาหาความรู้ ความจริง ต้องการข้อมูลที่เหมาะสม ถูกต้อง แม่นยำโดยอาศัยข้อเท็จจริง ข้อมูล ข่าวสาร มีความสามารถสูงในการนำความรู้ไปพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด(Concept) ทฤษฎีหรือจัดระบบหมวดหมู่ของความคิดได้อย่างดี เด็กกลุ่มนี้เรียนรู้โดยมุ่งเน้นรายละเอียดข้อเท็จจริงความถูกต้องแม่นยำ จะยอมรับนับถือเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ ผู้รู้จริง หรือผู้มีอำนาจสั่งการเท่านั้น เด็กกลุ่มนี้จะเรียนอะไรต่อเมื่อรู้ว่าจะต้องเรียนอะไร และอะไรที่เรียนได้ สามารถเรียนได้ดีจากรูปธรรมไปสู่ความคิดเชิงนามธรรม การจัดการเรียนการสอนให้เด็กกลุ่มนี้จึงควรใช้วิธีบรรยายและการทดลอง การวิจัยหรือการทำรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

ผู้เรียนแบบที่ 3 (Type Three Learner) ผู้เรียนถนัดใช้สามัญสำนึก (Commonsense Learners) รับรู้โดยผ่านจากกระบวนความคิดและสิ่งที่เป็นนามธรรม แต่การประมวลความรู้นั้น ผู้เรียนประเภทนี้จะต้องการการทดลอง หรือกระทำจริง สมองซีกขวามองหากลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบขององค์ความรู้ไปสู้การนำไปใช้ ในขณะที่สมองซีกซ้าย มองหาสิ่งที่จะเป็นข้อมูลเพิ่มเติมคำถามยอดนิยมของกลุ่มนี้ คือ อย่างไร หรือ How? ผู้เรียนแบบนี้สนใจกระบวนการปฏิบัติจริงและทดสอบทฤษฎีโดยการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยการวางแผนจากข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่เป็นนามธรรมมาสร้างเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวันใครเขาทำอะไรไว้บ้างแล้วหนอ เด็กกลุ่มนี้ต้องการที่จะทดลองทำ
บางสิ่งบางอย่าง และต้องการที่จะฝึกปฏิบัติและต้องการเป็นผู้ปฏิบัติ (ถ้าครูยืนบรรยายละก็ เด็กพวกนี้จะหลับเป็นพวกแรก) พวกเขาใฝ่หาที่จะทำ สิ่งที่มองเห็นแล้วว่าเป็นประโยชน์และตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้มานั้นสามารถใช้ได้ในโลกแห่งความจริงหรือไม่ พวกเขาสนใจที่จะนำความรู้มาสู่การปฏิบัติจริงและอยากรู้ว่าถ้าจะทำสิ่งนั้น สิ่งที่ทำได้ ทำได้อย่างไร รูปแบบการเรียนการสอนที่ดีที่สุด คือ การทดลองให้ปฏิบัติจริง ลอง
ทำจริง

ผู้เรียนแบบที่ 4 (Type Four Learner) ผู้เรียนที่สนใจค้นพบความรู้ด้วยตนเอง (Dynamic Learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมและผ่านการกระทำ สมองซีกขวาทำงานในการถักทอความคิดให้ขยายกว้างขวางยิ่งขึ้น ในขณะที่สมองซีกซ้ายเสาะหาการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนและโดดเด่นขึ้น เป็นพวกที่ชอบตั้งเงื่อนไข คำถามที่ผุดขึ้นในหัวใจของเด็กกลุ่มนี้บ่อยๆ คือ ถ้าอย่างนั้น
ถ้าอย่างนี้” “ถ้า……” หรือ IF ? ผู้เรียนแบบนี้ชอบเรียนรู้โดยการได้สัมผัสกับของจริง ลงมือทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ และค้นพบความรู้ด้วยตัวเอง ชอบรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลเป็นความรู้ใหม่ เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถที่จะมองเห็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นรูปแบบของความคิดที่แปลกใหม่เพื่อตนเองหรือผู้อื่น เด็กกลุ่มนี้จะมองเห็นอะไรที่
ซับซ้อนและลึกซึ้ง มีความซับซ้อน จะเรียนได้ดีที่สุดโดยใช้วิธีการสอนแบบค้นพบด้วยตนเอง (Self Discovery Method)ผู้คิดทฤษฎีนี้เชื่อว่า เราจำเป็นต้องสอนเด็กโดยใช้วิธีการสอนทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว 4 อย่างเท่าๆ กัน เพราะทักษะทางธรรมชาติของผู้เรียนทั้ง 4 อย่างเป็นสิ่งที่เราต้องการ ในชั้นเรียนหนึ่งๆ นั้น มักจะมีผู้ถนัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แบบ อยู่รวมกัน ดังนั้นครูจำเป็นต้องใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมทั้ง 4 แบบ อย่าง
เสมอภาคกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานตามรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนถนัด จากการหมุนเวียนรูปแบบการสอนทั้ง 4 อย่างนี้ ทำให้นักเรียนมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถด้านอื่นที่ตนไม่ถนัดด้วยวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งยังมีโอกาสที่จะได้แสดงความสามารถอย่างน้อย ร้อยละ 25 ของเวลาที่ท้าทายพวกเขาส่วนเวลาที่เหลืออาจไม่เป็นที่ต้องใจเท่าไรในการจัดแผนการสอนแบบ 4 MAT นั้น ครูต้องเข้าใจการทำงานและความถนัดของสมองส่วนบนที่แบ่งเป็นซีกซ้ายกับซีกขวาของมนุษย์ กล่าวคือ สมองซีกซ้ายจะถนัดในเรื่องรายละเอียด ภาษาความจำ การจัดลำดับ วิเคราะห์ และเหตุผล ส่วนสมองซีกขวาถนัดในเรื่องการมองภาพรวมจินตนาการ อารมณ์ความรู้สึก การเคลื่อนไหว มิติสัมพันธ์ ศิลปะ และสุนทรียภาพ โดนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องดำเนินสลับกันไปเพื่อให้สมองทั้งสองซีกได้ทำงานอย่างสมดุล
ลำดับขั้นของการสอน


เราเริ่มที่ส่วนบนสุดของวงจรโดยเริ่มจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม (Concrete Experience)และหมุนตามเข็มนาฬิกาไปรอบๆ ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมเป็นจุดเริ่มต้นเนื่องจากความสามารถทางสอน ควรเริ่มจากประสบการณ์ของนักเรียนแล้วครูก็พัฒนาทักษะพื้นฐานของนักเรียนให้เป็นรูปแบบของพัฒนาความคดรวบยอดแบบนามธรรม นักเรียนจะต้องถูกถามว่า อะไรที่พวกเขาต้องเรียน ต้องรู้จัก และจัดกระบวนการที่ใหม่กว่า เข้มข้นกว่าและปฏิบัติได้อย่างก้าวหน้าตามธรรมชาติ เด็กได้ใช้สามัญสำนึกและความรู้สึก เด็กได้ประสบการณ์และได้เฝ้ามองจ้องดู แล้วตอบสนองกลับ จากนั้นเด็กก็นำไปพัฒนาความคิดพัฒนาทฤษฎี นำมาเป็นความคิดรวบยอดและทดลองทฤษฎีของเขา และเขาก็จะได้รับประสบการณ์ ท้ายสุดเราได้นำเอาสิ่งที่เราได้เรียนรู้ไปใช้ประยุกต์กับประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันทำให้เราฉลาดขึ้นโดยการใช้ประสบการณ์เก่าประยุกต์ประสบการณ์ใหม่
การจัดกิจกรรมการสอน

แมคคาร์ธี เสนอแนวทางการพัฒนาวงจรการสอนให้เอื้อต่อผู้เรียนทั้ง 4 แบบ โดยกำหนดวิธีการใช้เทคนิคพัฒนาสมองซีกซ้ายซีกขวา กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้จะหมุนวนตามเข็มนาฬิกาไปจนครบทั้ง 4 ช่วง 4 แบบ (Why - What - How - If) แต่ละช่วงจะแบ่งเป็น 2 ขั้น โดยจะเป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ใช้สมอง ทั้งซีกซ้ายและขวาสลับกันไป ดังนั้นขั้นตอนการเรียนรู้จะมีทั้งสิ้น 8ขั้นตอนดังนี้

ช่วงที่ 1 แบบ Why? / สร้างประสบการณ์เฉพาะของผู้เรียน


ขั้นที่ 1 (กระตุ้นสมองซีกขวา) สร้างประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียน การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา โดยครูสร้างประสบการณ์จำลอง ให้เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสร้างเป็นความเหมายเฉพาะของตนเอง
ขั้นที่ 2 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) วิเคราะห์ไตร่ตรองประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกซ้าย โดยครูให้นักเรียนคิดไตร่ตรอง วิเคราะห์ประสบการณ์จำลองจากกิจกรรม
ขั้นที่ 1

ในช่วงที่ 1 นี้ครูต้องสร้างบรรยากาศให้นักเรียนเกิดความใฝ่รู้ และกระตือรือร้นในการหาประสบการณ์ใหม่อย่างมีเหตุผล และแสวงหาความหมายด้วยตนเอง ฉะนั้น ครูต้องใช้ความพยายามสรรหากิจกรรมเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว

ช่วงที่ 2 แบบ What? / พัฒนาความคิดรวบยอดของผู้เรียน


ขั้นที่ 3 (กระตุ้นสมองซีกขวา) สะท้อนประสบการณ์เป็นแนวคิด การเรียนรู้เกิดจากการจัด
กิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา โดยครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้รวบรวมประสบการณ์และความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานของแนวคิด หรือความคิดรวบยอด[คำไม่พึงประสงค์]ย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เช่น การสอนให้ผู้เรียนเข้าใจลึกซึ้งถึงแนวคิดของการใช้อักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ ครูต้องหาวิธีอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างแจ้งชัด ว่าอักษรตัวใหญ่ที่ใช้นำหน้าคำนามในภาษาอังกฤษ เพื่อเน้นถึงความสำคัญของคำนั้นๆ อาจยกตัวอย่าง เช่น ชื่อคนชื่อเมือง หรือชื่อประเทศ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) พัฒนาทฤษฎีและแนวคิด การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกซ้าย ครูให้นักเรียนวิเคราะห์และไตร่ตรองแนวคิดที่ได้จากขั้นที่ 3 และถ่ายทอดเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดที่ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวคิดนั้นๆ ต่อไป พยายามสร้างกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในช่วงที่ 2 ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้คิด เพื่อให้ผู้เรียนที่ชอบการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง สามารถปรับประสบการณ์และความรู้ สร้างเป็นความคิดรวบยอดในเชิงนามธรรม โดยฝึกให้ผู้เรียนคิดพิจารณาไตร่ตรองความรู้ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงนี้เป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ความรู้โดยการคิดและฝึกทักษะในการค้นคว้าหาความรู้
ช่วงที่ 3 แบบ How? / การปฏิบัติและการพัฒนาแนวคิ[คำไม่พึงประสงค์]อกมาเป็นการกระทำ

ขั้นที่ 5 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) ดำเนินตามแนวคิด และลงมือปฏิบัติหรือทดลอง การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมพัฒนาสมองซีกซ้าย เช่นเดียวกับขั้นที่ 4 นักเรียนเรียนรู้จากการใช้สามัญสำนึก ซึ่งได้
จากแนวคิดพื้นฐาน จากนั้นนำมาสร้างเป็นประสบการณ์ตรง เช่น การทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือการทำ
แบบฝึกหัดเพื่อส่งเสริมความรู้ และได้ฝึกทักษะที่เรียนรู้มาในช่วงที่ 2
ขั้นที่ 6 (กระตุ้นสมองซีกขวา) ต่อเติมเสริมแต่ง และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา นักเรียนเรียนรู้ด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหา ค้นคว้า
รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ในช่วงที่ 3 ครูมีบทบาทเป็นผู้แนะนำ และอำนวยความสะดวก เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้
ช่วงที่ 4 แบบ If? / เชื่อมโยงการเรียนรู้จากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง จนเกิดเป็นความรู้ที่ลุ่มลึก

ขั้นที่ 7 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) วิเคราะห์แนวทางที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นแนวทางสำหรับการเรียนรู้เพิ่มเติมต่อไป การเรียนรู้เกิดจากการจัด กิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกซ้ายนักเรียนนำสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ โดยนักเรียนเป็นผู้วิเคราะห์และเลือกทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย
ขั้นที่ 8 (กระตุ้นสมองซีกขวา) ลงมือปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา นักเรียนคิดค้นความรู้ด้วยตนเองอย่างสลับซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นความคิดที่สร้างสรรค์ จากนั้นนำมาเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในช่วงที่ 4 ครูมีบทบาทเป็นผู้ประเมินผลงานของนักเรียน และการกระตุ้นให้นักเรียนคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆหลายคนอาจยังมองไม่เห็นภาพลำดับขั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อความเป็นรูปธรรมชัดเจน ต่อไปจะยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมการสอนในแบบดังกล่าวที่กระทำจริงในโรงเรียน เพื่อให้มองเห็นภาพการจัดกิจกรรมเด่นชัดยิ่งขึ้น


********************************************************
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT

โรงเรียนในประเทศไทยหลายแห่งได้นำระบบการสอนแบบ 4 MAT ไปทดลองใช้ เช่น โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครบางแห่ง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร นำไปทดลองใช้ในบางห้องเรียน สำหรับโรงเรียนที่นำระบบ 4 MAT มาใช้ก่อนผู้อื่น และยังคงมีกิจกรรมการสอนแบบนี้อย่างต่อเนื่อง คือ โรงเรียนสมถวิล ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่สอนตั้งแต่ระดับ
อนุบาลปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนสมถวิลได้นำการสอนรูปแบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในวิชาต่างๆ ในหลายชั้นเรียนมาเกือบ 3 ปีแล้วขอยกตัวอย่างแผนการสอนแบบ 4 MAT ของโรงเรียนสมถวิล ซึ่งนำไปใช้ในการเรียน เรื่อง
กระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ในวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เวลา 4คาบเรียน หรือ ราว 2 สัปดาห์

กิจกรรมการสอนเริ่มด้วย


ขั้นที่ 1 (ช่วงที่ 1 Why / กระตุ้นสมองซีกขวา) การสร้างประสบการณ์มีจุดประสงค์เพื่อสร้าง
ประสบการณ์ตรง ให้นักเรียนเข้าใจโดยสัญชาติญาณเกี่ยวกับลักษณะของ แหล่งซ่อนตัวที่ดี ผ่านกิจกรรมการละเล่น คือซ่อนหา โดยจะประเมินผลกิจกรรมจากการมีส่วนร่วมและความสนุกสนานในการทำกิจกรรมของนักเรียน
ขั้นที่ 2 (ช่วงที่ 1 Why / กระตุ้นสมองซีกซ้าย) การวิเคราะห์จากประสบการณ์ มีจุดประสงค์ให้
นักเรียนวิเคราะห์เกม ซ่อนหา โดยครูกระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์หาองค์ประกอบของสถานที่ซ่อนตัวที่ดีมีกิจกรรมแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย แล้วให้ตอบคำถาม ดังนี้
1. นักเรียนที่ถูกหาพบเป็นคนสุดท้ายทำอย่างไรจึงซ่อนตัวได้นานกว่าคนอื่น
2. แหล่งซ่อนตัวที่ดีนั้นมีลักษณะเช่นไร
3. แหล่งซ่อนตัวที่ดีมีลักษณะเฉพาะที่คล้ายกันอย่างไรบ้าง และ
4. ลักษณะสำคัญดังกล่าว มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสัตว์ชนิดต่างๆ อย่างไร

ขั้นที่ 3 (ช่วงที่ 2 What / กระตุ้นสมองซีกขวา) การสะท้อนประสบการณ์ออกเป็นแนวคิด มีจุดประสงค์ให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยง ว่าประสบการณ์ที่ที่ได้เรียนรู้จากการเล่นซ่อนหา อาจมีความคล้ายกันกับสัญชาติญาณการซ่อนตัวของสัตว์ชนิ[คำไม่พึงประสงค์]ื่นๆ โดยครูจัดกิจกรรมแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้ความรู้ที่ได้มาเกี่ยวกับแหล่งซ่อนตัวที่ดี เพื่อหาตำแหน่งที่น่าจะเป็นที่ซ่อนของสัตว์ชนิดที่ครูได้กำหนดให้มา อาจเป็นแมลงตัวจิ๋ว กระรอก กระต่าย หรือสัตว์ที่ขนาดใหญ่ขึ้น นักเรียนแต่ละคนวาดภาพบรรยายลักษณะแหล่งซ่อนตัวที่พวกเขาพบ และคิดว่าเป็นแหล่งที่ซ่อนตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุด จากนั้นแลกเปลี่ยนภาพร่างกันดู และอธิบายเหตุผลที่เลือกแหล่งที่ซ่อนนั้นๆ สิ่งที่นักเรียนจะได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ ความเข้าใจในแนวคิดเรื่องการปรับตัว (เรียนรู้ว่าสัตว์ชนิดต่างๆ จะปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยการเลือกสถานที่อาศัยที่ปลอดภัยจากศัตรู)

ขั้นที่ 4 (ช่วงที่ 2 What / กระตุ้นสมองซีกซ้าย) การพัฒนาทฤษฎีและแนวคิด มีจุดประสงค์ให้นักเรียนเข้าใจว่าที่ซ่อนตัวของสัตว์ส่งผลต่อกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติอย่างไร โดยครูจะบรรยายเพิ่มเติมในเรื่องแหล่งที่ซ่อนตามธรรมชาติของสัตว์ และเรื่องกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ จัดเตรียมหาหนังสือ บทความ รูปภาพ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้อง สอนแนวคิดต่างๆ และคำศัพท์เฉพาะทางวิชาการ รวมทั้งให้นักเรียนค้นหาความรู้จากแหล่งอื่นๆ เพื่อทบทวนแนวคิดเรื่อง การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสัตว์ และพิจารณาว่าแนวคิดดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติอย่างไร

ขั้นที่ 5 (ช่วงที่ 3 How / กระตุ้นสมองซีกซ้าย) ดำเนินการปฏิบัติตามแนวคิด มีจุดประสงค์เพื่อให้แนวทางเชิงปฏิบัติ และแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติแก่นักเรียน มีกิจกรรมตอบคำถามจากแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนแนวคิดและความรู้ที่ได้ และให้นักเรียนมองหาที่ซ่อนของสัตว์ที่บ้านหรือบริเวณละแวกบ้านตน เขียนรายงานสิ่งที่พบเจอ เขียนภาพเกี่ยวกับการค้นพบนำมาเล่าสู่กันฟัง
ขั้นที่ 6 (ช่วงที่ 3 How / กระตุ้มสมองซีกขวา) การต่อเติมเสริมแต่งสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองมีจุดประสงค์ให้นักเรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้มา โดยมีกิจกรรมงานกลุ่ม นักเรียนสร้างสัตว์ในจินตนาการที่สามารถซ่อนตัวในชั้นเรียนได้อย่างแนบเนียน นักเรียนลงมือวาดภาพเท่าขนาด
ของจริง
ขั้นที่ 7 (ช่วงที่ 4 If / กระตุ้นสมองซีกซ้าย) การวิเคราะห์แนวทางที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นแนวทางสำหรับการเรียนรู้เพิ่มเติมต่อไป มีจุดประสงค์ให้นักเรียนต่อเติมโครงงานสัตว์ในจินตนาการของตนเอง และใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ โดยจัดกิจกรรมให้
นักเรียนเขียนบรรยายภาพลักษณะสำคัญๆ ของสัตว์ในจินตนาการ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ลักษณะพิเศษอื่นๆเปิดโอกาสให้เพื่อนต่างกลุ่ม วิจารณ์ว่าสัตว์ที่สร้างขึ้นมา จะซ่อนตัวในห้องเรียนได้ดีเพียงใด และทำไม
ขั้นที่ 8 (ช่วงที่ 4 If / กระตุ้นสมองซีกขวา) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และประเมินสิ่งที่ได้เรียนรู้มา มีจุดประสงค์เพื่อประเมินและทดสอบสิ่งที่เรียนไปแล้ว มีกิจกรรมให้นักเรียนสร้างสัตว์จำลองจากกระดาษ ลองนำไปซ่อนภายในห้องเรียน และให้เพื่อนคนอื่นๆ ช่วยกันค้นหา ร่วมกันอภิปรายความยากง่าย
ในการหาสัตว์จำลองแต่ละแบบ ลองดัดแปลงแก้ไขและทำการซ่อนใหม่ อาจชักชวนผู้เรียนจากห้องอื่นๆ ให้มาลองร่วมกิจกรรมการค้นหาบทบาทของครูย่อมเปลี่ยนไปทุกครั้งที่เปลี่ยนวิธีสอนตามวงจร ในเสี้ยวแรกครูจะสร้างสรรค์ประสบการณ์แล้วนำไปสู่การอภิปรายปัญหาของประสบการณ์นั้นๆ ในเสี้ยวที่สอง ครูแสดงตัวเป็นผู้ป้อนข้อมูล เสี้ยวที่สาม ครูเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ ช่วยเด็กฝึกฝนในส่วนที่จำเป็นต้องเรียน ในเสี้ยวที่สุดท้ายครูจะเป็นผู้ประเมินผลรวมทั้งเป็นผู้ซ่อมเสริม และเป็นแหล่งข้อมูลให้เด็กได้ค้นพบตนเองและการเรียนของเขาเองการจัดการสอนให้สอดคล้องและคำนึงถึงการทำงานของระบบสมอง เป็นวิธีที่ดำเนินไปตามธรรมชาติ โดยที่ครูไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญพิเศษแต่อย่างใด แต่สามารถทำให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่สนุกสนานเต็มตาม
ศักยภาพของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน และเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบการเรียนการสอนเริ่มต้นเมื่อ คุณผู้เป็นครูสามารถเรียนรู้จากผู้เรียนได้จากการที่เราสมมุติเอาตัวเองไปเรียนรู้อย่างเด็ก เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่าพวกเขา เรียนหรือเข้าใจอะไร และวิธีใดที่เขาเข้าใจมันได้


ที่มา : 1 วารสารวิชาการ; ปี่ที่ 2, ฉบับที่ 12, ธันวาคม: 2542

 

           
                

ที่มา : 1 วารสารวิชาการ; ปี่ที่ 2, ฉบับที่ 12, ธันวาคม : 2542
 


David Kolb
Learning Styles
Kolb's Model of Learning Styles 

Kolb (1981) developed the Learning Style Inventory (LSI) to evaluate the way people learn and work with ideas in day-to-day life. He used the LSI to help people understand how they make career choices, solve problems, set goals, manage others, and deal with new situations. The instrument consists of twelve questions in which the subject selects one of four possible responses. The four columns in the instrument relate to the four stages Kolb identified as a cycle of learning: Concrete Experience (CE), Reflective Observation (RO), Abstract Conceptualization (AC), and Active Experimentation (AE). He paired AE and RO as polar opposites (doing vs. watching), and CE and AC as polar opposites (feeling vs. thinking). 

According to Kolb (1981), Concrete Experience (CE) emphasizes active involvement, relating with other people, and learning by experience. Learners in the CE phase of learning are open-minded and adaptable, and are sensitive to the feelings of themselves and others.

Reflective Observation (RO) is the stage in which the learner watches and listens, views issues from different points of view, and discovers meaning in the learning material. 

Abstract Conceptualization (AC) is the application of thought and logic, as opposed to feelings, to the learning situation. Planning, developing theories, and analysis are part of this stage. 

The last stage is Active Experimentation (AE) and involves testing theories, carrying out plans, and influencing people and events through activity. Kolb believed that a complete cycle of learning involved each of these stages. 

Since people use all four stages in many learning situations, Kolb (1981) used combined scores to determine which of four learning styles an individual preferred. He encouraged learners to become familiar with their own learning style, including its strengths and weaknesses, as a means to getting more out of each learning experience. The combined scores are derived from the polar pairs (AC minus CE) and (AE minus RO). The results are then plotted on a two axis grid, and finding the point of interception in one of the four quadrants. 

Hashaway (1998) described Kolb's four learning styles. Divergers combine Reflective Observation (RO) and Concrete Experience (CE); they can see situations from many perspectives, and chunk up to forma a "gestalt". They do well in idea-generating processes such as brain-storming; they are imaginative and emotional. They tend to develop broad cultural interests, and specialize in the arts, humanities and liberal arts. 

Convergers combine Abstract Conceptualization and Active Experimentation. They have the opposite style to the Diverger. These learners do well in conventional testing situations and other contexts where there is a single correct answer or solution. They use hypothetical- deductive reasoning, and can focus on specific problems. They are relatively unemotional, are highly procedural and prefer to work with inanimate objects than people. They may have narrow interests and often choose to specialize in science, engineering, and other exact fields. Figure 1 illustrates the quadrants for the Diverger and the Converger.

According to Hashaway (1998), Assimilators combine Reflective Observation and Abstract Conceptualization. They excel at creating theoretical models. They have a tendency toward inductive reasoning (chunking up), and are more interested in abstract concepts than in application or in people. Basic sciences and mathematics attract Assimilators, who excel in these fields of study. 

The Accomodator's strength is doing things, carrying out plans and performing experiments. They like novel experiences and adapt to change easily. Of the four types, Accomodators are highest in risk-taking and most easily adapt to immediate circumstances. They solve problems in an intuitive, trial-and-error manner. They rely on other people for information more than their own analytical ability. They can appear impatient or pushy. 

Kolb (1981) believed that the most effective problem solving and learning occurred when people used the skills of all four types of learners. Nearly every problem requires (1) Identifying a problem, (2) Selecting which problem to solve, (3) Considering a variety of possible solutions, (4) Evaluating possible results of the solutions, and (5) Implementing the solution of choice. Figure 3, which is adapted from Kolb, shows how this cycle of learning and problem solving moves through all four of the learning styles, and utilizes all four stages of learning. 

McCarthy (1987) developed the 4Mat system based on Kolb's learning types, and recommended teaching in a cyclical process that addresses each phase in the cycle of learning, and each of the learning styles in the instruction of any subject matter. Her method of teaching started with the Diverger (values and meanings), then Assimilator (conceptual connections), then Converger (problem solving skills), and finally Accommodator (new creations). Movement around the circle includes all learners in their natural preferences, and encourages them to develop skills in the other three styles. It respects the natural cycle of learning suggested by Kolb. (1981). McCarthy's system was to teach to each style in sequence for each lesson or content chunk. For each lesson or content chunk the teacher was to answer the question most relevant for each quadrant: “Why?” (relevance), “What?” (facts and descriptive material),” How?” (methods and procedures), and “What If?” (exceptions, applications, creative combination with other material). McCarthy offered additional insights into the four leaning styles.
http://www.lifecircles-inc.com/Learningtheories/constructivism/kolb.html




 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube

 
  

วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube

 



 
 






 
รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4 MAT’S Learning)

Dr. Bernice McCarthy

Dr. Bernice McCarthy 



After extensive teaching experience in all grade levels, including special education, and her doctoral studies at Northwestern University, Dr.Bernice McCarthy developed an instructional model to connect all types of learners. She was convinced that the diversity of learners called for an all encompassing learning cycle. Bernice McCarthy drew on the research of Jung, Paiget, Vygotsky, Dewey, Lewin and Kolb to create an instructional system that would progress through the complete learning cycle using strategies that would appeal to all learners. This innovative approach, the 4MAT System, was the basis for the founding of her company, About Learning, Inc. in 1979.

The 4MAT System began in education and quickly spread into corporate and government as the value of this model became more widely recognized. It applies to two levels within these organizations, teaching and training and administration and leadership. 

Bernice McCarthy encourages organizations to use multiple methods of problem solving and communication to help tap into the full potential of an individual. Instructional design, team processing, leadership skills, communication, conflict resolution, decision making, problem solving, and creativity are all encompassed in the 4MAT Model.

Bernice McCarthy is a prolific author and presenter and has conducted workshops and keynote sessions on effective learning at organizations worldwide including school districts across the U.S. and Canada as well as in higher education and government.

Dr. Bernice McCarthy conducts online training courses in partnership with About Learning's Corporate Division, most recently for the Center for Creative Leadership in Greensboro, North Carolina.

Bernice McCarthy is a nationally known author on instructional design. She has written seven books including The 4MAT System (1987), About Learning (1996), 4MAT in Action (2000), About Teaching (2000), The About Teaching Companion (2003), Teaching Around the 4MAT Cycle (2006), and Hold on You Lost Me: Using Learning cycles to Create Training that Sticks (2007).


Historical Perspective
http://www.4mat.eu/media/17164/rg1.historical%20&%20theoretical%20perspective.pdf
 
 
งานวิจัยต่างประเทศที่เกี่ยวกับ  4 MAT
 
 
 
 




.



        แนวคิดทฤษฎีที่ใช้

แมคคาร์ธี (Mc Carthy) ได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT นี้ โดยได้รับอิทธิพลแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ของคอล์ม (Kolb) ที่เสนอแนวความคิดเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ 2 มิติ คือ การรับรู้ (perception) และกระบวนการจัดการข้อมูล (processing) การรับรู้ของบุคคลอาจเป็นประสบการณ์ตรง อาจเป็นความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม ส่วนกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลคือการลงมือปฏิบัติ ในขณะที่บางคนเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต และนำข้อมูลนั้นมาคิดอย่างไตร่ตรอง แมคคาร์ธีแบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 แบบ คือ1) ผู้เรียนที่ถนัดการเรียนรู้โดยจินตนาการ (Imaginative Learners) 2) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้มโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม นำกระบวนการสังเกตอย่างไตร่ตรอง หรือเรียกว่าผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learners) 3) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้มโนทัศน์แล้วผ่านกระบวนการลงมือทำหรือที่เรียกว่าผู้เรียนที่ถนัดการใช้สามัญสำนึก (Commonsense Learners) และ 4) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้จากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนำสู่           

ลักษณะการพัฒนารูปแบบ
                    แมคคาร์ธี และคณะ (ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, 2542) ได้นำแนวคิดของคอล์ม  มาประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก  ทำให้เกิดเป็นแนวคิดทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามหลัก 4 คำถาม กับผู้เรียน 4 แบบ คือ


-      ผู้เรียนแบบที่ 1 (Imaginative Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการรับรู้จากประสบการณ์รูปธรรม ผ่านกระบวนการจัดข้อมูลด้วยการสังเกตอย่างไตร่ตรอง เขาจะเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของตนเองได้อย่างดี การเรียนแบบร่วมมือ การอภิปรายและการทำงานกลุ่มจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้คือ ทำไม” (Why ?)

-      ผู้เรียนแบบที่ 2 (Analytic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับความรู้ที่เป็นทฤษฎี รูปแบบ และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การอ่าน การค้นคว้าข้อมูลจากตำราหรือเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งการเรียนรู้แบบบรรยาย จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเหล่านี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ อะไร” (What ?)

-      ผู้เรียนแบบที่ 3 (Commonsense Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถ/มีความถนัดในการรับรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมแล้วนำสู่การลงมือปฏิบัติ เขาให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ความรู้ ความก้าวหน้า และการทดลองปฏิบัติ กิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติและกิจกรรมการแก้ปัญหาจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ อย่างไร” (How ?)

-      ผู้เรียนแบบที่ 4 (Dynamic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมแล้วนำสู่การลงปฏิบัติ เขาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่เป็นการสำรวจ ค้นคว้า การค้นพบด้วยตนเอง แล้วเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นไปสู่การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ ถ้า” (If ?)
จากลักษณะของผู้เรียนทั้ง 4 แบบดังกล่าวข้างต้น Morris และ Mc Cathy ได้นำมาเป็นแนวคิดพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโฟร์แม็ทซิสเต็ม โดยจัดขั้นตอนการสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างเต็มที่เป็นการพัฒนาพหุปัญหาทั้ง 8 ด้าน


        ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้

            -  การเตรียมการจัดกระบวนการเรียนรู้

         1.     การบูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของตนเอง เป็นการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์อย่างเป็นรูปธรรมไปสู่การสังเกต คิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง ผู้สอนกระตุ้นสร้างแรงจูงใจโดยสร้างคำถาม สร้างความเร้าใจ อภิปราย
         2.     การสร้างความคิดรวบยอด ผู้สอนเตรียม ข้อมูลให้ข้อมูล ให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์ข้อมูล หลักการมาคิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง
         3.     การเรียนรู้โดยการปฏิบัติอย่างเฉพาะตัว ผู้สอนคือโค้ช อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ

            -  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน   เป็นการตอบสนองพัฒนาการด้านสมองของผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนที่แตกต่างกัน 4 แบบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนทั้ง 4 แบบ มีความสุข พึงพอใจในการเรียนและมีโอกาสประสบผลสำเร็จในการเรียนตามวิธีหรือแบบการเรียนของตนเอง ซึ่งอธิบายรายละเอียดของขั้นตอนการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบ 4 MAT ของแมคคาร์ธี หรือไม่
               
    การจัดกระบวนการเรียนรู้ 8 ขั้นตอนของวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

    ส่วนที่ 1 การบูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนของตนเอง

                           เป็นช่วงที่ผู้เรียนใช้ประสบการณ์อย่างเป็นรูปธรรมไปสู่การสังเกต คิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง  บทบาทของครูเป็นผู้กระตุ้นสร้างแรงจูงใจ วิธีการ คือ การสร้างคำถาม สร้างความเร้าใจ การอภิปราย การให้ผู้เรียนทำกิจกรรม การออกไปพบของจริง ในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ

                                       ขั้นที่ 1   ขั้นสร้างประสบการณ์
 
เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเชื่อมโยงประสบการณ์ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าสิ่งที่จะเรียนนั้นมีความหมายโดยตรงกับตัวเขาเอง โดยการให้ผู้เรียนได้สัมผัส ได้เกิดความรู้สึก ได้ซักถามหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่กำหนดจะเรียน ผู้สอนอาจใช้กิจกรรม เกม การออกไปสัมผัสกับของจริง การตั้งคำถามให้คิด หรือให้จินตนาการ เป็นขั้นที่เน้นการใช้สมองซีกขวา
ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการสร้างมโนภาพ ตลอดจนทักษะในการร่วมกิจกรรมกลุ่ม

                                       ขั้นที่ 2   ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์
 
กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจและอยากรู้ เด็กจะใช้สมองซีกซ้ายวิเคราะห์ต่อจากขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่เด็กต้องหาเหตุผลเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับในขั้นแรก เด็กจะช่วยกันอภิปราย และอธิบายให้เหตุผลตามความคิดเห็นของผู้เรียนแต่ละคน
ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้ คือ ทักษะในการวินิจฉัย วิเคราะห์อภิปราย
ในขั้นนี้ ผู้สอนอาจใช้เทคนิคการอภิปราย เทคนิคการเขียนผังความคิด (Mind Mapping) และวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขารู้ ผู้เรียนต่างก็มีความสุข สนุกมากที่ได้มีโอกาสคิดและผู้สอนก็จะพบว่าสิ่งที่ผู้เรียนระดมความคิดเป็นเรื่องดีและเด็กสามารถคิดได้เอง

    ส่วนที่ 2 การสร้างความคิดรวบยอด

                ในการเรียนรู้ในขั้นตอนการเชื่อมโยงประสบการณ์ ข้อมูล หลักการ มาคิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง เพื่อสร้างความคิดรวบยอด  บทบาทของครู ผู้เตรียมข้อมูล ให้ข้อมูล สาธิต  วิธีการ ให้ผู้เรียนค้นคว้า หาข้อสรุป ในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น ดังนี้
                             ขั้นที่ 3   ขั้นปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด
 
ขั้นนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และไตร่ตรองความรู้ที่ได้จากขั้นแรก เชื่อมโยงกับทฤษฎีให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นจนสามารถที่จะเรียนรู้ต่อไปได้ เป็นขั้นตอนที่ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กทำแล้วสร้างความคิดรวบยอดเป็นของตนเองได้ เป็นขั้นที่ต้องใช้สมองซีกขวา
ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้ คือ ทักษะการสร้างรูปแบบการจัดกระบวนการวิเคราะห์ การจัดลำดับความสัมพันธ์ การจัดประสบการณ์เปรียบเทียบ

                                       ขั้นที่ 4 พัฒนาความคิดด้วยข้อมูล
 
เป็นขั้นที่ให้ข้อมูลรายละเอียดเพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจ จนสร้างความคิดรวบยอดเรื่องที่เรียนได้ เน้นการใช้สมองซีกซ้าย ผู้สอนควรหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลความรู้ด้วยการบรรยาย ควรใช้วิธีอื่นแทน เช่น การให้ผู้เรียนค้นคว้า ทดลอง สาธิตให้ผู้เรียนรู้จักวิทยากรท้องถิ่น
ทักษะสำคัญในช่วงนี้คือ ความสัมพันธ์ การจัดลำดับ การทดลอง การสรุปความ

    ส่วนที่ 3 การปฏิบัติการเรียนรู้ตามลักษณะเฉพาะตัว

                            กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้เป็นการเคลื่อนไหวจากขั้นสร้างความคิดรวบยอดมาสู่การลงมือกระทำ หรือลงมือทดลองตามความคิดของผู้เรียน บทบาทของครู คือ โค้ช (Coach) หรือผู้ให้คำแนะนำ ผู้อำนวยการความสะดวก ผุ้ให้ความช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง วิธีการ ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน

                            ขั้นที่ 5 ทำตามแนวคิดที่กำหนด
 
ผู้เรียนจะทำตามใบงานหรือคู่มือหรือแบบฝึกหัดหรือทำตามขั้นตอนที่กำหนด เน้นการใช้สมองซีกซ้าย
ทักษะที่ใช้ในช่วงนี้ คือ ทักษะการถาม การสำรวจ การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์การทดลอง การลองผิดลองถูก การทำนาย การบันทึก

                                       ขั้นที่ 6 สร้างชิ้นงานตามความถนัด/ความสนใจ
 
                             เป็นขั้นบูรณาการการสร้างสรรค์อย่างแท้จริง เพราะเป็นขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความสนใจ ความถนัด ความเข้าใจเนื้อหาวิชา ความซาบซึ้งและจินตนาการของตนเองออกมาเป็นรูปธรรม ในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ตนเองเลือก เช่น เป็นสิ่งประดิษฐ์ สมุดรวมภาพ ภาพวาด นิทาน บทกวี หรือบทละคร หรือหนังสือ เน้นการใช้สมองซีกขวา
                             กิจกรรมขั้นนี้เป็นผลมาจากการลงมือปฏิบัติจากขั้นที่ 5 ต้องมีลักษณะที่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดไม่มใช่เกิดความจำแต่เพียงอย่างเดียวและในส่วนนี้คือ ที่สามารถปรากฏเป็นแฟ้มผลงานของผู้เรียน (Portfolio) ได้ ถ้าผู้สอนวางแผนการทำงานล่วงหน้าไว้อย่างดี เด็กสามารถสร้างผลงานได้โดยผู้สอนไม่ต้องคอยพะวงเรื่องการทำแฟ้มผลงานผู้เรียน
                             ทักษะที่ใช้ในช่วงนี้ คือ ทักษะการจัดระบบ การจัดลำดับก่อนหลัง การแก้ปัญหา การลงมือทำงาน การสรุปจดบันทึก


                ส่วนที่ 4 การบูรณาการการประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ของตน

                                กระบวนการเรียนรู้ในส่วนที่ 4 เกิดจากกิจกรรมของการลงมือกระทำด้วยตนเองจนสำเร็จและไปสู่การรับรู้และมีความรู้สึกที่ดีเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น  บทบาทของครู เป็นผู้ประเมิน/ผู้ซ่อมเสริมรวมทั้งเป็นผู้เรียนร่วมกัน  วิธีการ การค้นหาตัวเอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแนะนำผู้อื่น ในส่วนนี้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ขั้น

                                ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ผลและประยุกต์ใช้

                                เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้ชื่นชมกับผลงานของตนเองหรือผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปสู่กิจกรรมอื่น หรือผู้เรียนนำผลงานของตนเองเสนอในกลุ่มย่อยๆ ให้เพื่อนๆ ติชมและปรับปรุงแก้ไข เป็นขั้นที่เน้นการใช้สมองซีกซ้าย  ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้ คือ ทักษะการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

                                ขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกับผู้อื่น

                                                ในขั้นสุดท้ายนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการค้นคว้าหรือลงมือกระทำกับคนอื่น ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้กับเรื่องอื่น ๆ ที่อาจพบในสถานการณ์ใหม่ ได้แก่ จัดแสดงนิทรรศการ แสดงผลงานในวันสำคัญ ขั้นนี้เน้นการใช้สมองซีกขวา
                                                ทักษะที่ใช้ในช่วงนี้ คือการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ซึ่งกันและกัน การมองอนาคตตลอดจนการชื่นชมตนเอง


        ลักษณะเด่นของรูปแบบ

            ผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ และนำความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้ได้ และสามารถสร้างผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ อีกจำนวนมาก
            ดังนั้น ลักษณะเด่นของรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบ 4 MAT จะช่วยส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ตามกรอบความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่   
1.     การนำเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน
        1.1    การเสริมสร้างประสบการณ์ (สมองซีกขวา)
        1.2    การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับ (สมองซีกซ้าย)
2.     การเสนอเนื้อหา สาระข้อมูลแก่ผู้เรียน (Presentation)
        2.1    การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย)
        2.2    การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย)
3.     การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด
        3.1    ปฏิบัติตามขั้นตอน (สมองซีกซ้าย)
        3.2    การนำเสนอผลการปฏิบัติงาน (สมองซีกขวา)
4.     การนำความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้ (Application)
        4.1    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้พัฒนางาน (สมองซีกซ้าย)
        4.2    การนำเสนอผลงานการเผยแพร่ (สมองซีกขวา)




                                                     ตัวอย่าง
งานวิจัยที่เกี่ยวกับการสอนแบบวัฎจักรแห่งการเรียนรู้  4  MAT

 
 
ท่านสามารถเปิดดูงานวิจัยและก๊อปได้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader การโหลดและการติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Reader
 
 
 
การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด / วิทยานิพนธ์ ของ ทรงภพ เตชะตานนท์
 
 
การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้การเขียนเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) / วิทยานิพนธ์ ของ สำราญ บุญธรรม
 
 
การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องรักเมืองไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมแบบปกติที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT / วิทยานิพนธ์ ของ ขันทอง สีพิกา
 
 
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความรู้สึกเชิงจำนวนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ นิภารัตน์ ตอสกุล
 
 
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดอย่างมีเหตุผลและความมั่นใจในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่องชุมชนของเราระหว่างการใช้บทเรียนการ์ตูนประกอบการจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT การจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และการจัดกิจกรรมแบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ คมสันติ์ โฉมยงค์
 
 
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องระบบจำนวนเต็มระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT / วิทยานิพนธ์ ของ อุเทน คำสิงห์นอก
 
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาท้องถิ่นของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยบทเรียนการ์ตูนกับแบบ 4 MAT / วิทยานิพนธ์ ของ ธิดารัตน์ ชูชี
 
 
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพันธุกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและเจตคติ ต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น / วิทยานิพนธ์ ของ อาฬวี ภิญโญดม
 
 
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เวกเตอร์ ระหว่างการสอนแบบร่วมมือ (STAD) การสอนแบบ 4MAT และการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / วิทยานิพนธ์ ของ ชัชวาลย์ รัตนสวนจิก
 
 
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบ CIPPA / วิทยานิพนธ์ ของ
 
 
การเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมตามวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการจัดการเรียนการสอนตามปกติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติ และความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / วิทยานิพนธ์ ของ สุริยาภรณ์ ชัฏพลชัย
http://khoon.msu.ac.th/full51/suriyaporn4391/titlepage.pdf
 
 
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม TAI กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT / วิทยานิพนธ์ ของ ปาณิตา อาจวงษ์
 
 
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง สมการเชิงเล้น ตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนแบบ 4MAT และการสอนแบบปกติ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ทิวาพร เศรษฐโสภณ
 
 
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์เรื่องแรง มวลและกฎการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) และตามคู่มือครู / วิทยานิพนธ์ ของ รพีพรรณ เพียรเสมอ
 
 
 การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) เรื่องยาเสพติดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พรทิพย์ วันดี
 
 
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) เรื่องประชากรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วาสนา บุญชู
 
 
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาเรื่องความปลอดภัยในชีวิตชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จรินทร์ สีบุดดี
 
 
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จรัสศรี ทองมี
 
 
การพัฒนาการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พิศมัย แก้วทาสี
 
 
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่องความน่าจะเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นฐพร วิชัยเลิศ
 
 
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อนันทิยา โพธิขำ
 
 
การพัฒนาความรู้ความคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุวณี พงษ์จันทรโอhttp://khoon.msu.ac.th/full100/suwanee9541/titlepage.pdf
 
 
การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ 4 MAT โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สมพิศ หวังทรัพย์ทวี
 
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อุษาวดี พรหมดีราช
 
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สมบูรณ์ ภูสนิท
 
 
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสมการและการแก้สมการ โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เยาวลักษณ์ สุทธิไชยา
 
 
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง นิทานเวตาล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วิไลวรรณ ฉายจรุง
 

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ณัฐฐากร ปัตถา
 
 
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ศิริภาพ ใหม่คามิ
 
 
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พรศิริ นิลฉวี
 
 
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ มาลี พวนกิ่ง
 
 
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทรัพย์ของโลกกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4 MAT / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เรืองศักดิ์ หงษ์ทะนี
 

 
4 MAT   โดย นางสาวสุณิวสา เกียวกุล


การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องระบอบการปกครอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT วิชาคอมพิวเตอร์เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1

 
 
 
 
 
 

ท่านสามารถเปิดดูงานวิจัยและก๊อปได้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader การโหลดและการติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Reader




คลิกชื่อเรื่อง...แล้วคลิกวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม/Fulltext ค่ะ


ชื่อวิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง
สาขาวิชา/ภาควิชา
ปีการศึกษา
1.การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและสารอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบสืบเสาะหาความรู้ 
(A comparative study of learning outcome on food and nutrition ingredients of fourth grade students taught by 4 mat and inquiry approaches) 
เลขหมู่ LB1060 ส74
ระดับ ปริญญาโท
สุภาภรณ์ ชูศรีพัฒน์สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2547
2.การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่องสนุกกับไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบการแก้ปัญหา 
(A comparative study of learning outcome on electric for fun of the second grade students taught by 4 mat and problem solving approaches) 
เลขหมู่ LB1029.A13 น32
ระดับ ปริญญาโท
กนกกร แววพหูสูดสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2549
3.การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแต่งร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปกติ 
(A comparison of mathayomsuksa two student learning achievement in khlong si-suphab poem by suing 4 mat learning cycle stratbgy and the conventional method) 
เลขหมู่ LB1029.A13 น65
ระดับ ปริญญาโท
นริศรา วงษ์สุบรรณ์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
2553
4.การพัฒนาทักษะการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT 
(The development of prathomsuksa 3 students klon-si poem composing skill through learning activities based on 4 mat learning cycle strategy) 
เลขหมู่ PL4179 ข36
ระดับ ปริญญาโท
ขนิษฐา ห้วยหงษ์ทองสาขาวิชาการสอนภาษาไทย
2547
5.การพัฒนาทักษะการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT 
(The development of mathayomsuksa 1 students klon-sphab poem composing skill through learning activities based on 4 mat learning cycle strategy) 
เลขหมู่ PL4179|bน63
ระดับ ปริญญาโท
นิตยา ไพบูลย์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
2547
6.การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 
(The development of learning outcomes on geometric transformation of eighth grade students taught by 4 MAT approach) 
เลขหมู่ LB1029.A13 พ43
ระดับ ปริญญาโท
พรพิไร แก้วสมบัติสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2551
7.การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบ 4 MAT 
(The development of learning outcomes on mathematical problems solving of third grade students taught by 4 MAT approach) 
เลขหมู่ LB1029.A13 พ36
ระดับ ปริญญาโท
พนิดา จารย์อุปการะสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2551
8.การศึกษาผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 
(A study of learning outcomes on fraction problem and creative thinking ability in mathematics of sixth grade students taught by 4 MAT approach) 
เลขหมู่ LB1029.A13 ศ56
ระดับ ปริญญาโท
ศศิธร เถื่อนสว่างสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2548
9.การศึกษาผลการเรียนรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 
(A study of learning outcomes and problem solving abilities on substance in daily life of six grade students taught by 4 MAT Approach) 
เลขหมู่ LB1029.A13 ก63
ระดับ ปริญญาโท
กันติกาน สืบกินรสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
2551
10.การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยวิธีการสอบแบบ 4 MAT 
(A study of communicative English achievement of the fifth grade students taught by 4 MAT approach) 
เลขหมู่ LB1529.ท9 ส74
ระดับ ปริญญาโท
สุณิสา เกียวกุลสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2548

 
ชื่อวิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง
สาขาวิชา/ภาควิชา
ปีการศึกษา
11.การศึกษาผลสัมฤทิ์การฟังอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจ้ดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู 
(A study of the listening discretion achievement of thefifth grade students using learning arrangement of 4 mats activities and teacher's manual) 
เลขหมู่ LB1029.A13ก75
ระดับ ปริญญาโท
กุสาวดี สนธิสุวรรณสาขาวิชาการสอนภาษาไทย
2546
 
 
 
 คลิกชื่อเรื่อง...แล้วคลิกวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม/Fulltext ค่ะ
 
 
 










.




























8 ความคิดเห็น:

  1. ช่างมีน้ำใจงดงาม ขอให้เจริญรุ่งเรืองและมีความสุขในชีวิตตลอดไป

    ตอบลบ
  2. การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT วิชาคอมพิวเตอร์เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้.นมัธยมศึกษาปี ที่ 1

    http://grad.snru.ac.th/file_thesis/1289635089%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%93%E0%B8%B2.pdf



    วิธีการสอนแบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเพศศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5

    http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Hea_Ed/Thama_L.pdf



    4 MAT โดย นางสาวสุณิวสา เกียวกุล

    http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Sunisa_Keawkoon/Fulltext.pdf



    การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องระบอบการปกครอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

    http://khoon.msu.ac.th/full121/siriporn11939/titlepage.pdf

    ตอบลบ
  3. Four mat system




    A training style that allows the presenter to speak to all the different types of brains in the room at the same time.

    Bernice McCarthy developed the 4 MAT system based on her study of a number of other models of teaching, including NLP and David Kolb's Learning Style theory. Kolb noticed that learners have different preferred learning styles. To simplify, learners are asking four different questions in relation to the learning process:

    • Why? These learners want to know the reason for learning. Kolb calls them "Divergers".

    • What? These learners want to get the facts and concepts. Kolb calls them "Assimilators".

    • How? These learners want to practice and do something. Kolb calls them "Convergers".

    • What if? These learners want to try out variations. Kolb calls them "Accommodators".

    Kolb pointed out that each of the four groups of students is focusing on one section of a learning cycle. This cycle begins with identifying a reason to learn, formulating concepts about the subject, actively using the concepts, speculating about the results of using the concepts and trying them out in life elsewhere, and identifying new reasons to learn more. Kolb's research verified that learners were spread across the four types. McCarthy pointed out that different teaching styles were required for each stage of this learning cycle, and that accelerated learning models such as NLP were providing the tools to meet the needs of all four groups. The 4 MAT is almost the larger scale strategy of teaching. It can to be used to easily and quickly structure communication in a way that satisfies the information needs of the audience.

    Using The 4 MAT In NLP Training

    How does an NLP Trainer apply the 4 MAT? In simple terms, they could apply it by:
    Explaining why the subject is worth learning. They can check that the "Why" question is answered for Diverges by then asking "So would this be of use to you?". If not, it makes sense to continue explaining or demonstrating "Why" until students are motivated.

    Teaching the facts of the subject, and the design of the process if there is one. They can check that the information is conveyed adequately for the Assimilators with questions such as "What more do you need to know?"

    Demonstrating the use of this information (e.g. demonstrating the process), which gives the trainees vicarious experience ("How"). Then giving them an exercise to practice using the information. To check that they are Converges are ready to do the exercise, ask, "What else do you need to know to do the exercise?" and screen out questions about things which "might happen" or speculative "What if..." questions (which will make more sense after the exercise).

    Inviting questions and comments after the exercise. At this stage questions about applications outside the training room can be answered, including questions about what might go differently to the expected and demonstrated process. This particularly answers the needs of the Accommodators.





    .

    ตอบลบ
  4. Teaching around the 4MAT cycle: designing instruction for diverse learners ... By Bernice McCarthy, Dennis McCarthy


    http://books.google.co.uk/books?id=8Rf1hTZvZs8C&printsec=frontcover&dq=4MAT+by+Bernice+McCarthy&source=bl&ots=xStrhgCFw6&sig=0T2aqFbgfhpGcq0UicEF82YTDbw&hl=en&ei=u3QOTYHTLs61hAfFqam4Dg&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=10&ved=0CHEQ6AEwCQ#v=onepage&q&f=false





    .

    ตอบลบ
  5. The 4MAT model was originally developed by Bernice McCarthy in 1980. It is based on research from many fields, but mainly is a synthesis of findings from the fields of learning styles, and right and left brain dominance.

    It entails the use of right and left-mode strategies within four distinct phases of the learning cycle…..

    1.Experiencing
    2.Conceptualising
    3.Applying
    4.Refining
    As an instructional design tool, 4MAT gives teachers and trainers a systematic way to train all learners to think and learn well.

    As a professional development tool, it provides a framework for assessing the quality of any learning experience.

    As an organisational model, it offers a method for creating an environment for continuous learning and development.

    ตอบลบ
  6. Learning Styles and the 4MAT System:
    A Cycle of Learning


    --------------------------------------------------------------------------------


    A Living Laboratory: Volcanoes provides, wherever possible, learning activities and an instructional sequence that accommodate four major learning styles identified in the literature. The sequence used is modeled after the 4MAT System developed by Bernice McCarthy, author of 4MAT in Action: Creative Lesson Plans for Teaching to Learning Styles with Right/Left Mode Techniques.

    This cycle of learning is based on a number of premises. First, different individuals perceive and process experience in different preferred ways. These preferences comprise our unique learning styles. Essential to quality learning is an awareness in the learner of his/her own preferred mode, becoming comfortable with his/her own best ways of learning, and being helped to develop a learning repertoire, through experience with alternative modes.

    The fact that a student may have a preferred, most-comfortable mode does not mean she/he cannot function effectively in others. In fact, the student who has the flexibility to move easily from one mode to another to fit the requirements of the situation is at a definite advantage over those who limit themselves to only one style of thinking and learning. The four learning styles identified by McCarthy are:

    Type 1: Innovative Learners are primarily interested in personal meaning. They need to have reasons for learning--ideally, reasons that connect new information with personal experience and establish that information's usefulness in daily life. Some of the many instructional modes effective with this learner type are cooperative learning, brainstorming, and integration of content areas (e.g., science with social studies, writing with the arts, etc.).

    Type 2: Analytic Learners are primarily interested in acquiring facts in order to deepen their understanding of concepts and processes. They are capable of learning effectively from lectures, and enjoy independent research, analysis of data, and hearing what "the experts" have to say.

    Type 3: Common Sense Learners are primarily interested in how things work; they want to "get in and try it." Concrete, experiential learning activities work best for them--using manipulatives, hands-on tasks, kinesthetic experience, etc.

    Type 4: Dynamic Learners are primarily interested in self-directed discovery. They rely heavily on their own intuition, and seek to teach both themselves and others. Any type of independent study is effective for these learners. They also enjoy simulations, role play, and games.

    Traditionally, instructional techniques commonly used in public schools best address the needs of the Type 2 Analytic Learner, with heavy emphasis on linear sequential processing of information.

    This curriculum is designed so that all styles are addressed, in order that more than one type of student may be permitted to both "shine" and "stretch." That is, each lesson contains "something for everybody," so each student not only finds the mode of greatest comfort for him/her, but is challenged to adapt to other, less comfortable but equally valuable modes.

    The instructional sequence suggested by Bernice McCarthy and used in this curriculum teaches to the four styles using both right- and left-brain processing techniques. This integration of styles and processing modes ensures that we are educating the "whole brain."

    The diagram below illustrates the 4MAT cycle of learning. It represents graphically the teacher behaviors appropriate to each stage and style, and provides a framework for planning any lesson or unit, for any age level or content area.






    .

    ตอบลบ
  7. 4MAT - developed by Dr. Bernice McCarthy
    Dr. Bernice McCarthy (USA) developed the first basic structure of the 4MAT system in the late 1970s. Since then, the method has systematically and continuously been used, developed and linked to the newest research in the field.



    From kindergarten teacher - to leading expert on learning

    The idea for 4MAT came to her, when she was working as a kindergarten teacher in the seventies and became aware of the different ways children learn. She contacted researchers and theorists to learn even more and created 4MAT based on the sum of her knowledge. Today 4MAT is used worldwide - and Bernice McCarthy is renown as one of the leading experts on her field.



    30 years of experience and research

    The 4MAT method is built on 30 years of experience and research, and is a unique collection and linking of theories on human beings and communication. The method is constantly being developed by both Bernice McCarthy herself and her dedicated staff at About Learning, Chicago, USA.



    Writer and keynote speaker

    Through out the years Bernice McCarthy has presented numerous workshops and keynote sessions on effective learning at renowned organizations worldwide, and are also widely known for her books and publications on learning, for example: "About Learning", "Teaching Around the 4MAT Cycle" and "4MAT: 8Steps to Designing and Delivering Effective Training".








    .

    ตอบลบ
  8. Dr. Bernice McCarthy

    After extensive teaching experience in all grade levels, including special education, and her doctoral studies at Northwestern University, Dr. Bernice McCarthy developed an instructional model to connect all types of learners. She was convinced that the diversity of learners called for an all encompassing learning cycle. Bernice McCarthy drew on the research of Jung, Paiget, Vygotsky, Dewey, Lewin and Kolb to create an instructional system that would progress through the complete learning cycle using strategies that would appeal to all learners. This innovative approach, the 4MAT System, was the basis for the founding of her company, About Learning, Inc. in 1979.

    The 4MAT System began in education and quickly spread into corporate and government as the value of this model became more widely recognized. It applies to two levels within these organizations, teaching and training and administration and leadership.

    Bernice McCarthy encourages organizations to use multiple methods of problem solving and communication to help tap into the full potential of an individual. Instructional design, team processing, leadership skills, communication, conflict resolution, decision making, problem solving, and creativity are all encompassed in the 4MAT Model.

    Bernice McCarthy is a prolific author and presenter and has conducted workshops and keynote sessions on effective learning at organizations worldwide including school districts across the U.S. and Canada as well as in higher education and government.

    Dr. Bernice McCarthy conducts online training courses in partnership with About Learning's Corporate Division, most recently for the Center for Creative Leadership in Greensboro, North Carolina.

    Bernice McCarthy is a nationally known author on instructional design. She has written seven books including The 4MAT System (1987), About Learning (1996), 4MAT in Action (2000), About Teaching (2000), The About Teaching Companion (2003), Teaching Around the 4MAT Cycle (2006), and Hold on You Lost Me: Using Learning cycles to Create Training that Sticks (2007).






    .

    ตอบลบ