ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

25 ตุลาคม 2553

บริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ คือ อะไร จบมาทำงานอะไร

บริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ คือ อะไร จบมาทำงานอะไร

บริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์
คือ อะไร จบมาทำงานอะไร

                                บริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Public Administrationซึ่งเป็นสาขาวิชาหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์ หรือ สังคมศาสตร์ของทุกสถาบัน เช่น คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ หรือ ระบบราชการนั่นเอง รวมทั้งองค์กรของรัฐ เช่น รัฐวิสาหกิจ และองค์กรมหาชนต่างๆ โดยส่วนใหญ่มักเน้นเรื่องกรอบแนวความคิดด้านการบริหารองค์การและการจัดการ (Organization & Management) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management) การบริหารงานคลังและงบประมาณ (Fiscal Administration & Budgeting) การบัญชีรัฐบาล (Government Accounting) การวางแผนบริหาร (Administrative Planning) กฎหมายมหาชน (Public Laws) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานภาครัฐ (Public Information System) นโยบายสาธารณะ (Public Policy) การบริหารงานตำรวจ (Police Administration)  และจิตวิทยาองค์การ (Organizational Psychology)
                คุณสมบัติของผู้สนใจที่จะศึกษาต่อสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ 
                1. ควรมีพื้นฐานความรู้และชอบศึกษาในกลุ่มสาระฯ วิชาสังคมศึกษา โดยเฉพาะสาระการเรียนรู้ด้านหน้าที่พลเมือง และกฎหมาย หรือ ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ นั่นเอง
                2. สนใจและติดตามข่าวสารบ้านเมืองโดยเฉพาะข่าวการเมือง ข่าวเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ข่าวเศรษฐกิจการเมือง และนโยบายของรัฐบาล โดยสามารถวิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
                3. ชอบและสนใจวิชาด้านการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ (Bureaucracy) เพื่อการพัฒนาประเทศ (Development Administration) โดยเฉพาะองค์กรที่มิได้มุ่งแสวงหากำไร (Non-Profit Organization) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชานี้สามารถนำความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือด้านการบริหารไปปรับใช้ในองค์กรธุรกิจที่แสวงหากำไรได้เช่นกัน
                4. ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สหวิทยาการ เนื่องจากสาขาวิชานี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสาขาวิชาอื่นๆ มากมาย เช่น เศรษฐศาสตร์การเงิน-การคลัง การบัญชี การบริหารและการจัดการ กฎหมายปกครอง การพัฒนาสังคม การสื่อสารองค์กร จิตวิทยา และรัฐศาสตร์สาขาอื่นๆ
                5. ควรมีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สถิติ และภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี
                6. ต้องมีอุดมการณ์ที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน โดยไม่ใช้กลไกของระบบราชการมากอบโกยผลประโยชน์เข้าพวกพ้อง และเข้าใจดีถึงทฤษฎีการพัฒนาประเทศ ความเสมอภาค และความยุติธรรมทางสังคม
                แหล่งงานสำหรับบัณฑิตสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์
                1. แหล่งงานภาครัฐ บัณฑิตสาขาวิชานี้สามารถทำงานด้านบริหาร นโยบาย และแผนงานได้ทุกหน่วยราชการ ทุกกระทรวง ทบวง กรม กอง เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เลขานุการบริหาร นักวิชาการศึกษา ฯลฯ สำหรับผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาต่างประเทศดีก็สามารถทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ หรือ นักการทูตได้ สำหรับในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรมหาชนก็มีตำแหน่งคล้ายคลึงกับหน่วยงานราชการ
                2. แหล่งงานภาคเอกชน ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า บัณฑิตสาขาวิชานี้ได้เรียนรู้ความรู้ และเครื่องมือทางการบริหารงานมากกว่าสาขาอื่นๆ ของวิชารัฐศาสตร์จึงทำให้บัณฑิตสามารถนำความรู้เทคนิคด้านการบริหารจัดการไปใช้ในการทำงานภาคเอกชนได้ดีในการบริหารงานทุกระดับของบริษัท โดยเฉพาะบัณฑิตที่มีความรู้การคำนวณ และภาษาดี ขอบข่ายงานก็ยิ่งจะกว้างขวางมากขึ้น เช่น นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์การลงทุน นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูงที่สามารถวิเคราะห์การบริหารเศรษฐกิจมหภาคได้
                การศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา
                บัณฑิตสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท หรือ เอก ในกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ได้เกือบทุกสาขา เช่น บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ปรัชญา ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา นิเทศศาสตร์  ครุศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ ทุกสาขาวิชาเอก เป็นต้น
                บุคคลที่มีชื่อเสียงและสำเร็จการศึกษาสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ 
                พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (รป.บ. (ตำรวจ)) กวาง (กมลชนก  เขมะโยธิน) อู๋ (ธนากร โปษยานนท์) พี่กี้ (อริสมันต์  พงษ์เรืองรอง) เม หรือ Mé (จีระนันท์ - - RS) สว. ระเบียบรัตน์  พงษ์พานิช  ดร.รุ่ง แก้วแดง (รมช.ศึกษาธิการ) คุณหญิงณฐนนท  ทวีสิน (ปลัดกรุงเทพมหานคร) นางจุฑามาศ  ศิริวรรณ (ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) และ ผู้ว่าราชการจังหวัดอีกมากมายทั่วประเทศ


สอบปลัดอำเภอ


ปลัดอำเภอ



อำเภอ (Amphoe) เป็นหน่วยการปกครองในประเทศไทย ลำดับรองมาจากจังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยในแต่ละอำเภอจะแบ่งส่วนย่อยออกเป็น ตำบล




การบริหารงาน


การบริหารงานอำเภอ มีนายอำเภอ เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชา และมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอที่กระทรวง กรมส่งมาประจำในอำเภอ และปลัดอำเภอ เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ มีที่ทำการอยู่ที่ "ที่ว่าการอำเภอ"

ในปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอ ใน 75 จังหวัด จำนวนประชากรในแต่ละอำเภอจะมีจำนวนต่างกันไป เช่น อำเภอเมืองสมุทรปราการมีประชากร 495,921 คน ขณะที่อำเภอเกาะกูด (จังหวัดตราด) มีประชากรเพียง 2,213 คน (พ.ศ. 2552)


นายอำเภอ



นายอำเภอ เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประเภทอำนวยการ ระดับต้น (ระดับ 8) ยกเว้นอำเภอเมือง และอำเภอที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจสูง นายอำเภอจะเป็นข้าราชการ ประเภทอำนวยการ ระดัยสูง (ระดับ 9) มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชาส่วนราชการในอำเภอ และกำกับดูแลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในสังกัด

การบรรจุและแต่งตั้งนายอำเภอ จะใช้วิธีการสอบคัดเลือกปลัดอำเภอ (หรือเทียบเท่า) เพื่อเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนายอำเภอ สังกัดวิทยาลัยการปกครอง เป็นเวลา 2 ปี จากนั้นจึงเรียกบรรจุแต่งตั้งตามลำดับผลการเรียนที่สอบได้


ปลัดอำเภอ



ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ (ระดับ 3-5) ระดับชำนาญการ (ระดับ 6-7) จนถึงระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับ 8) มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยปฏิบัติงานของนายอำเภอ

การบรรจุและแต่งตั้งปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) ปฏิบัติการ จะใช้วิธีการเปิดสอบแข่งขันจากบุคคลทั่วไปที่มีคุณวุฒิทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารรัฐกิจ หรือสาขาอื่นๆ ที่กำหนดให้สมัครได้ ส่วนปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) ชำนาญการพิเศษ จะบรรจุและแต่งตั้งจากบุคคลที่ผ่านการศึกษาจากโรงเรียนนายอำเภอมาแล้ว หรือเรียกว่า "ปลัดอาวุโส"


กรมการปกครอง http://job.dopa.go.th/




รวมกฎหมาย ระเบียบ สำหรับสอบปลัดอำเภอ
http://www.koomuesorb.com/private_folder/PDFMoomvichagarn/moom1.pdf





รวมกฎหมาย ระเบียบ สำหรับสอบปลัดอำเภอ





รวมกฎหมาย ระเบียบ สำหรับสอบปลัดอำเภอ





รวมกฎหมาย ระเบียบ สำหรับสอบปลัดอำเภอ



รวมกฎหมาย ระเบียบ สำหรับสอบปลัดอำเภอ







แนวคำบรรยาย การสอบแข่งขันเข้ารับราชการเพื่อบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ







ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑
http://www.koomuesorb.com/private_folder/New/koomuesorb311.pdf


บรรยากาศการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3 (ปลัดอำเภอ) พ.ศ.2551



วิดีโอ YouTube


การสอบปลัดอำเภอ


วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube


ติวภาค ก. กพ [แผ่น 2 clip 1/6]-คณิตทั่วไป


วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube


ติวภาค ก. กพ clip1-8 เงื่อนไขสัญลักษณ์

วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube


ติวภาค ก. กพ แผ่น 4 clip 1.6_อนุกรม

วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube


ภาค ก. กพ แผ่น 6 clip 1.7 ตรรกศาตร์


วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube





- ติวฟรี สอบ อบต. จังหวัดนครนายก
- ครม. อนุมัติปรับเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท>>รายละเอียด<<
- ปปช. ลงมติ "คุณหญิงจารุวรรณ" ผิดมาตรา 157 ไม่ได้จัดสัมมนาจริง แค่ไปกฐิน>>รายละเอียด<<
- ครม. มีมติเห็นชอบให้ยืนยันร่างกฎหมายท้องถิ่นแล้ว>>รายละเอียด<<
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม (สอบ สพฐ.)>>รายละเอียด<<
- ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11>>รายละเอียด<<
- สรุปข้อมูลสอบ สพฐ.>>รายละเอียด<<
- ข้อมูลทั่วไปจังหวัดกาญจนบุรี (สำหรับสอบ สพฐ.)>>รายละเอียด<<
- ข้อมูลทั่วไปจังหวัดเพชรบูรณ์และนโยบาย วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ สพฐ.(สำหรับสอบ สพฐ.)>>รายละเอียด<<
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยและต่างประเทศ
(สอบ อบต.)
>>รายละเอียด<<

- รายชื่อคณะรัฐมนตรีรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร >>รายละเอียด<<
- สรุปนโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร >>รายละเอียด<<

- สรุปนโยบายการศึกษาของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร >>รายละเอียด<<
- ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542>>รายละเอียด<<

ที่มา : http://www.koomuesorb.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น