ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

24 ตุลาคม 2553

การสอนแบบเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L)

การสอนแบบเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L)





การสอนแบบเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) หรือ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสอนทักษะภาษา แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆที่มีการอ่านเพื่อทาความเข้าใจ เช่น วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพราะว่าผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการการทาความเข้าใจตนเอง การวางแผนการ ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจในตนเอง การจัดระบบข้อมูล เพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสรุป และนำเสนอ โดยมีขั้นตอนการเรียนการสอบ 4 ขั้นตอนดังนี้


ขั้นที่ 1 K (What we know) นักเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่องที่จะเรียนหรือสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบมีอะไรบ้าง
ขั้นที่ 2 W (What we want to know) นักเรียนหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบหรือสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้
ขั้นที่ 3 D (What we do to find out) นักเรียนจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ต้องการ หรือสิ่งที่ตนเองต้องการรู้
ขั้นที่ 4 L (What we learned) นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้



ต่อมา ซอและคณะ อาจารย์มหาวิทยาลัยมิสซัสซัปปี้ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคนิค K-W-D-L มาใช้สอนในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งนำรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative Learning) มาผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้โดยพัฒนาเป็นการจัดการเรียนรู้เรียกว่าเทคนิค K-W-D-L มีการทดลองใช้การเรียนร่วมกลุ่มในวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งครูในโปรแกรม PDS (Professional Development School) ซึ่งเป็นโปรแกรมพัฒนาครูของมหาวิทยาลัยมิสซัสซิปปี้ได้ขอให้ทางมหาวิทยาลัยริเริ่มจัดโครงการเรียนร่วมกลุ่ม (cooperative learning) ผู้ร่วมโครงการ คือครูผู้สอนเกรด 4 และนักเรียนของตน เป็นโรงเรียนที่อยู่ในชนบทห่างไกล ครูไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องการจัดการเรียนร่วมกลุ่มใน วิชาคณิตศาสตร์มาก่อน แต่ใคร่ที่จะเรียนรู้และทดลองใช้ กลวิธีนี้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มทดลองมี 2 ห้องเรียนใช้การเรียนร่วมกลุ่มในวิชา คณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆด้วย ส่วนอีก 2 ห้องเรียน นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเป็นครั้งคราว ในกลุ่มทดลองนั้น นักเรียนจะเรียนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เป็นกลุ่ม 2 – 4 คาบ ต่อสัปดาห์และคาบที่เรียนร่วมกลุ่มนี้จะเรียนหลังจากที่ได้เรียนหัวข้อต่างๆ อันเป็นพื้นฐานในกลุ่มใหญ่แล้วในกลุ่มทดลองนี้นักเรียนแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือเรียนแบบฝึกสถานการณ์จริงที่ครูแนะนำ และสื่อสาเร็จที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นครูได้รับการแนะนำและทบทวนเกี่ยวกับกลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะเช่น การเดา และการตรวจสอบ ทำแผนภูมิ และภาพประกอบ



นอกจากนี้ยังมาจากความคิดริเริ่มพัฒนาและการมีส่วนร่วมในกลวิธีคิดของนักเรียนอีกด้วย สำหรับตัวนักเรียนที่ทางานเป็นกลุ่มๆ ในเรื่องโจทย์ ปัญหาโดยใช้กลวิธีแก้ปัญหานั้นพวกเขายิงคิดโจทย์ปัญหาและช่วยกันแก้ปัญหาของพวกเขาเองที่คล้ายคลึงกันอีกด้วย โจทย์ปัญหาที่นักเรียนชอบคือ ประเภทตรรกศาสตร์ประเภทปลายเปิดที่สร้างจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การไปจ่ายตลาด เป็นต้นว่า ถ้าต้องการจะทำอาหาร 2 มื้อ สาหรับคน 4 คน แต่ละมื้อจะต้องมีอาหารครบหมู่ให้นักเรียนใช้ใบโฆษณาสินค้าจากหนังสือพิมพ์วางแผนว่า ถ้ามีเงิน 500 บาทจะซื้ออะไรได้บ้างให้ช่วยกันประมาณค่าของที่ต้องการซื้อแล้วหาวิธีการคิดให้ได้จานวนเงินใกล้เคียง 500 บาท ขั้นต่อไปจึงใช้เครื่องคิดเลขเพื่อตรวจสอบราคาจริง K-W-D-L: เทคนิคในการจัดการและบันทึกผลงาน การชี้แนะการทำงานของเด็กในการทดลองนี้ ได้นำเทคนิค K-W-L ของ Ogle มาใช้ K What we know. W What we want to know. D What we do to find out. L What we learned. เป็นขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นสำหรับการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เทคนิค K-W-L นี้ Ogle ได้พัฒนาขึ้นสาหรับช่วยการอ่านเพื่อความเข้าในเป็นเทคนิค ที่ชี้แนะให้ผู้อ่านใช้ขึ้นตอนเช่นเดียวกับผู้อ่านที่เชี่ยวชาญแล้ว ใช้อยู่เทคนิคนี้สามารถประยุกต์ใช้กับการค้นหาวิธีการต่างๆทางคณิตศาสตร์ได้ K คือ รู้อะไรอยู่บ้างแล้ว ในขั้นตอนนี้ ผู้อ่านระดมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านว่ารู้ อะไรอยู่บ้างแล้วครูทำหน้าที่บันทึกคาตอบและช่วยนักเรียนจัดหมวดหมู่ของข้อมูลเหล่านั้น ช่วยอธิบายความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนหรือช่วยอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาเป็นกลุ่ม ขั้นตอน ‘K’ จะเกี่ยวข้องการการอ่านโจทย์ปัญหาตีความ ถกแถลงเกี่ยวกับข้อมูลที่ให้มา อาจรวม ทั้งกระบวนการวิธีอื่น เช่น ลงมือปฏิบัติตามที่ปัญหากำหนด วาดรูป ทำแผนภูมิ เพื่อว่านักเรียนจะได้เข้าใจปัญหาและรู้ว่าตนรู้อะไรบ้าง แล้วเกี่ยวกับปัญหานั้น W คือ ต้องการจะรู้อะไร ด้วยการชี้แนะจากครู นักเรียนจะบอกสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียน รู้ได้บ่อยครั้งนักเรียนจะมีคำถามที่ยังไม่ได้ตอบในเรื่องที่อ่าน หรือนักเรียนอาจยกหัวข้อที่ยังไม่ได้ถกแถลงกันขึ้นมา และต้องค้นหา จากแหล่งความรู้อื่น เพื่อที่จะหาคำตอบและข้อมูลเหล่านั้น


สำหรับการแก้โจทย์ปัญหานั้น ขึ้นตอน ‘W’ จะเกี่ยวข้องกับข้อตกลงของกลุ่มในเรื่องที่โจทย์ถามว่าคำถามคืออะไร และคำถามนั้น หมายความว่าอะไรส่วนขั้นตอนที่ว่าต้องการรู้อะไรนั้นอาจเกี่ยวข้อง กับการตัดสินใจของนักเรียนในการวางแผนจะแก้ปัญหา พวกเขาอาจตกลงกันว่าจำเป็นต้องไปหาข้อมูล และต้องตัดสินใจว่าจะไปหากแหล่งข้อมูลที่ไหนหรือบางครั้งอาจต้องทำโพล

หรืออาจต้องไปคุยกับใครๆ หรืออาจต้องการทำการวัด ทำการทดลองหรือต้องไปค้นคว้าจากหนังสืออุเทศต่างๆ L คือ ได้เรียนรู้อะไร ขั้นตอนนี้ของ Ogle ให้นักเรียนอ่านในใจละบันทึกว่าได้รู้อะไรบ้าง แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง แล้วบันทึกไว้ขั้นตอนนี้ช่วยให้ ผู้เรียนได้ขัดเกลาและขยายความคิดเห็นทั้งกระบวนการอ่านและกระบวนการเขียน ในการแก้โจทย์ปัญหา ขั้นตอน ‚L‛ นี้ประสงค์ให้ผู้เรียนบอก คำตอบรวมทั้งอธิบายและชี้แจงถึงขึ้นตอนของการดำเนินการแก้ปัญหา พวกเขาอาจให้ผู้อื่นช่วยตรวจสอบเพื่อความแน่ใจหรือพวกเขาอาจพูด กันถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบของพวกเขาเองกลุ่มนักเรียนจะได้รับ การส่งเสริมให้เห็นผลสะท้อนและได้เขียนเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปที่ได้ เรียนรู้ ตัวอย่างเช่น นักเรียนกลุ่มหนึ่งอาจเขียนและพูดเกี่ยวกับ เรื่องวิธีการวาดภาพช่วยได้อย่างไร หรือการที่พวกเขาได้ใช้กระบวนวิธีเดาและตรวจสอบอย่างไร เป็นต้น ผลการทดลอง พบว่านอกเหนือ


จากขั้นตอนของ Ogle แล้วได้เพิ่มขั้น ตอน ‚D‛ อีก 1 ขั้นตอน คือ ‚ได้ทำอะไรไปบ้าง‛ สมาชิกของกลุ่มใช้แบบบันทึกขั้นตอนขณะที่ช่วยกันวางแผนและกระบวนการดำเนินงานที่พวกเขาได้ใช้ในขณะที่ทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหา ขั้นตอน ‚D‛ นี้ได้จัดไว้ในลาดับที่ 3 ก่อนขั้นตอน ‚L‛ มีการใช้โจทย์ปัญหาทดสอบนักเรียนทั้งสองกลุ่มทั้งก่อนและหลัง การให้คะแนนงานกลุ่มได้ใช้ของ Charles, Lester และ O’Daffer (1986) โดยใช้ระดับคะแนนรวม 1 2 3 และ 4 ผลปรากฏว่า นักเรียนใน 2 ห้องเรียนที่ใช้การเรียนร่วมกลุ่มได้ระดับคะแนนสูงกว่านักเรียนอีก 2 ห้อง เรียนที่ไม่ได้ใช้ นอกจากนี้ เจตคติด้านบวกของการเรียนร่วมกลุ่มโดยใช้ KWDL เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา ยังมีข้อสนับสนุนต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น เด็กๆระบุว่าพวกเขามีความสนุกที่ได้ทางานร่วมกันมีความเชื่อมันมากขึ้นมีความสนใจเพิ่มขึ้นและมีความตื่นเต้นดี เด็กๆมีความภาคภูมิใจในความ สามารถที่เพิ่มขึ้นในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะข้อปัญหาที่ต้องการให้เหตุผล 2 ด้านขณะที่คิดปัญหาเหล่านี้เด็กๆ จะใช้กลวิธีต่างๆรวมทั้ง การวาดภาพ ทำแผนภูมิ และใช้วิธีเดาแล้วตรวจสอบ ขณะที่เด็กๆ ทำงานกลุ่ม พวกเขาจะคอยตรวจสอบตัวเองบ่อยครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าคาตอบนั้นตรงกับคำถาม (quoted in Cooperative Problem Solving. 1977:482-486)


ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิค KWDL จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีระดับขึ้นตอนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยเป็นแรงเสริมที่ทำให้ผู้เรียนมีการถ่ายทอดแนวความคิดได้อย่างเป็นระบบ




ตัวอย่างงานวิจัย












ท่านสามารถเปิดดูงานวิจัยและก๊อปได้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader การโหลดและการติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Reader




คลิกชื่อเรื่อง...แล้วคลิกวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม/Fulltext ค่ะ


ชื่อวิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง
สาขาวิชา/ภาควิชา
ปีการศึกษา
1. การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์
(Peer coaching supervision for the development of instructional competency with KWDL technique of mathematic teacher)
เลขหมู่ LB1047.5 ย73
ระดับ ปริญญาโท
ยุพิน ยืนยง สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2549
2. การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL ของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์
(Peer coaching for the development of instructional competency of mathematics teachers toward Tai technique together with KWDL technique)
เลขหมู่ LB1047.5 ป44
ระดับ ปริญญาโท
ประนอม พรมเกตุ สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2550
3. การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องเวลาของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอลและการจัดการเรียนรู้ตามแนว สสวท.
(A comparative study of learning outcomes on mathematic problem solving of times of fourth grade students taught by KWDL technique and ISPT approach)
เลขหมู่ QA135.5 ศ64
ระดับ ปริญญาโท
ศิริพัฒน์ คงศักดิ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2550
4. การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอดด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิคกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคลร่วมกับเทคนิค KWDL
(The development of learning outcomes on mathematics problem solving of fifth grade students taught by team assisted individualization with KWDL technique)
เลขหมู่ QA135.5 ฐ63
ระดับ ปริญญาโท
ฐิติรัตน์ ฤทธิ์สมบูรณ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2549
5. การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับ เทคนิค KWDL
(The development of learning outcomes on problems solving of third grade students taught by cooperative learning together with KWDL technique)
เลขหมู่ LB1032 ป64
ระดับ ปริญญาโท
ปาริชาต สมใจ สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2549
6. การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันโดยใช้เทคนิคทีมเกมแข่งขัน TGT ร่วมกับเทคนิค LWDL
(The development of mathematics learning outcomes on mix word problem solving of fifth grade students taught by cooperative learning TGT with KWDL technique)
เลขหมู่ LB1032 น73
ระดับ ปริญญาโท
เนตรนรินทร์ พิมละมาศ สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2549
7. การพัฒนาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือกัน แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL
(The development of mathematics learning outcomes on fraction of seventh grade students taught by student teams’ achievements division (STAD) technique together with KWDL technique)
เลขหมู่ LB1032 พ64
ระดับ ปริญญาโท
พิมพาภรณ์ สุขพ่วง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
2549
8. การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL
(The development of students learning outcomes on multiplication problems solving of fourth grade students taught by cooperative learning together with kwdl technique)
เลขหมู่ LB1032 น63
ระดับ ปริญญาโท
น้ำทิพย์ ชังเกต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2547
9. การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) ร่วมกับแนวคิดของวรรณี
(The development of learning outcomes in fraction word problem of fifth grade students taught by KWDL technique with Wannee’s teaching approach)
เลขหมู่ QA137 ส74
ระดับ ปริญญาโท
สุภาภรณ์ ทองใส สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2548
10. การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องโจทย์ปัญหาการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL
(The development of mathematics learning outcomes on area and volume word problems of ninth grade students taught by KWDL technique)
เลขหมู่ QA636 น64
ระดับ ปริญญาโท
นิยม เกรียท่าทราย สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2550


คลิกชื่อเรื่อง...แล้วคลิกวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม/Fulltext ค่ะ











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น