ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

01 พฤศจิกายน 2553

สหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักร (อังกฤษ)

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (อังกฤษ: United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) หรือชื่ออย่างสั้นว่า สหราชอาณาจักร (อังกฤษ: United Kingdom ย่อว่า UK) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บางครั้งเรียกโดยทั่วไปว่า บริเตนใหญ่ บริเตน หรือแม้แต่ ประเทศอังกฤษ ดินแดนส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักรจะอยู่บนเกาะบริเตนใหญ่และตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกและพื้นน้ำที่เชื่อมต่ออันได้แก่ช่องแคบอังกฤษ ทะเลเหนือ ทะเลเคลติก และทะเลไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ผ่านทางประเทศฝรั่งเศสทางตอนใต้ของช่องแคบอังกฤษ
สหราชอาณาจักรประกอบเป็นสหภาพที่เกิดจากการรวมตัวของดินแดน 4 ส่วน คือ 3 ชาติบนเกาะบริเตนใหญ่ ซึ่งได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ กับไอร์แลนด์เหนือบนเกาะไอร์แลนด์เข้าด้วยกัน นอกจากดินแดนทั้ง 4 แล้ว สหราชอาณาจักรยังมีดินแดนโพ้นทะเลและดินแดนใต้การปกครองอื่น ๆ กระจายอยู่ทั่วโลก สหราชอาณาจักรจึงได้ชื่อว่า ดินแดนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน สหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพแห่งชาติ ซึ่งมีพระประมุของค์เดียวร่วมกับอีก 15 ประเทศ
สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหประชาชาติและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นอกจากนี้สหราชอาณาจักรยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม G8 และเป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์
เกาะบริเตนใหญ่ หรือบริเตน เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะบริเตน (มักรวมเกาะเล็กรอบ ๆ แต่ไม่รวมเกาะไอร์แลนด์) ซึ่งในทางการเมืองเป็นสถานที่ตั้งของ อังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ (สหราชอาณาจักรที่ไม่รวมไอร์แลนด์เหนือ)

ประวัติศาสตร์

ราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษนั้นได้ก่อตัวขึ้นเป็นรัฐแยกกันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 โดยแต่ละรัฐมีราชวงศ์และระบอบการปกครองของตัวเอง ส่วน ราชรัฐเวลส์ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษจากบทกฎหมายรุดดลันในปีพ.ศ. 1827 และรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอังกฤษในปีพ.ศ. 2078 จากพระราชบัญญัติสหภาพพ.ศ. 2250 ขณะที่ประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์นั้นรวมกันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก จากการที่พระเจ้าเจมส์ที่หกแห่งสก๊อตแลนด์นั้นได้ปกครองอังกฤษ เนื่องจากพระนางอลิซาเบธที่หนึ่งไม่มีรัชทายาท ทั้งสองประเทศจึงอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์เดียวกันแต่ต่างฝ่ายต่างมีรัฐบาลอิสระของตนเอง ต่อมาภายหลัง อังกฤษและสกอตแลนด์ก็ได้รวมตัวกันเป็นสหภาพทางการเมืองในชื่อราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
พระราชบัญญัติสหภาพ พ.ศ. 2343 ได้รวมราชอาณาจักรบริเตนใหญ่กับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้ค่อยๆตกเข้ามาอยู่ในการควบคุมของอังกฤษ เข้าเป็นสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ. 2465 26 แคว้นจาก 32 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์ตัดสินใจที่จะเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับสหราชอาณาจักร และตั้งเป็นประเทศใหม่เป็นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ หลังจากนั้นอีก 7 ปี 6 แคว้นที่เหลือได้เข้ามารวมตัวกับสหราชอาณาจักรดังเดิม และตั้งชื่อแคว้นของตนเองเป็น ไอร์แลนด์เหนือ
ในพุทธศตวรรษที่ 24 สหราชอาณาจักร (ในขณะนั้นคือสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์) เป็นประเทศผู้นำของโลกในหลายๆด้าน เช่นการพัฒนาระบอบทุนนิยมและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา รวมถึงการเผยแพร่ทางด้านวรรณกรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จักรวรรดิบริเตนสามารถครอบครองดินแดนถึงหนึ่งในสี่ของพื้นผิวโลกและหนึ่งในสามของประชากรโลกในช่วงที่มีการขยายตัวสูงสุด ทำให้กลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ทั้งในด้านดินแดนและประชากร
อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรเริ่มสูญเสียความเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมในพุทธศตวรรษที่ 25 ให้กับสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิเยอรมัน หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 1 อำนาจของสหราชอาณาจักรในวงการเมืองโลกเริ่มลดลง และเริ่มมีการปลดปล่อยอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเลต่าง ๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหราชอาณาจักรต่อสู้กับนาซีเยอรมนีและได้รับชัยชนะในปี พ.ศ. 2488 ซึ่งทำให้สหราชอาณาจักรได้เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สหราชอาณาจักรเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปีพ.ศ. 2516 แต่ปัจจุบันยังไม่เข้าร่วมใช้เงินยูโร โดยมีแผนที่จะจัดการลงประชามติเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อผลจาก "บททดสอบห้าข้อ" ประเมินได้ว่าการเข้าร่วมใช้เงินยูโรจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักรใช้ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีนั้นเลือกจากรัฐสภาและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรัฐสภาเช่นเดียวกัน รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรเป็นระบบสภาคู่ แบ่งเป็น 2 สภา คือ เฮาส์ออฟลอร์ดส เป็นสภาสูงที่มาจากการแต่งตั้ง และเฮาส์ออฟคอมมอนส์ เป็นสภาล่างที่มาจากการเลือกตั้ง โดยหลักการแล้วผู้นำของรัฐสภาคือพระมหากษัตริย์ สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎหมายรัฐธรรมนูญแยกกันไป พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายเดวิด คาเมรอน ในส่วนของมกุฏราชกุมารที่จะครองราชย์สมบัติเป็นคนต่อไปจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ก่อน จึงจะมีความชอบธรรมในการเป็นมกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร เจ้าชายแห่งเวลส์ในปัจจุบันคือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ซึ่งมิได้อาศัยอยู่ที่เวลส์แต่อย่างใด หากแต่อาศัยอยู่ที่สวน High Grove ใน Tetbury ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ

การแบ่งเขตการปกครอง

สหราชอาณาจักรประกอบด้วยสี่ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งบางครั้งเรียกในภาษาไทยว่า"แคว้น"

ธงแคว้นสถานะประชากร
Flag of อังกฤษอังกฤษราชอาณาจักร50,431,700
Flag of สกอตแลนด์สกอตแลนด์ราชอาณาจักร5,094,800
Flag of เวลส์เวลส์ราชรัฐ2,958,600
Flag of ไอร์แลนด์เหนือไอร์แลนด์เหนือจังหวัด1,724,400


ในอดีต สหราชอาณาจักรเคยแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็นตำบล (county) ปัจจุบันระบบนี้ไม่ได้เป็นส่วนสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว แต่ว่ายังคงใช้ในการแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์ สหราชอาณาจักรมีอำนาจอธิปไตยเหนือเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมน ดินแดนเหล่านี้เป็นดินแดนที่ในอดีตเคยเป็นสมบัติของราชวงศ์ และไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังมีดินแดนโพ้นทะเลอีกสิบสี่แห่ง ซึ่งเป็นดินแดนที่ยังคงเหลือมาจากจักรวรรดิบริเตน ดินแดนเหล่านี้ก็ไม่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรเช่นกัน ดินแดนเหล่านี้ได้แก่ แองกวิลา เบอร์มิวดา บริติชอาร์กติกเทอร์ริทอรี บริติชอินเดียนโอเชียนเทอร์ริทอรี หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หมู่เกาะเคย์แมน หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ยิบรอลตา หมู่เกาะลีวาร์ด มอนเซอร์รัต หมู่เกาะพิตแคร์น เซนต์เฮเลนา จอร์เจียใต้และหมู่เกาะแซนด์วิชใต้ อะโครติรีและเดเคเลีย หมู่เกาะเติร์กและเคคอสและ หมู่เกาะวินวาร์ด

ภูมิศาสตร์

สหราชอาณาจักรมีพรมแดนทางทิศใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ซึ่งคั่นระหว่างสหราชอาณาจักรกับภาคพื้นทวีปยุโรป ทางทิศเหนือจรดกับทะเลเหนือ ทางทิศตะวันตกกับทะเลไอร์แลนด์และมหาสมุทรแอตแลนติก สหราชอาณาจักรมีพรมแดนทางบกกับรัฐอื่นเพียงแห่งเดียว คือระหว่างไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์
อังกฤษนั้นส่วนมากจะเป็นแผ่นดินนูนที่ต่ำ มีภูเขาทางตอนเหนือ และ ตะวันตกเป็นเส้นแนวแบ่งเขตแคว้น มีเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเขตปริมณฑลลอนดอน ไม่มีภูเขาที่สูงกว่า 1000 เมตรในแคว้นอังกฤษ
ภูมิศาสตร์ของสกอตแลนด์นั้นหลากหลาย มีที่ต่ำทางตอนใต้ และที่สูงทางตอนเหนือ ตะวันออก และ ตะวันตก มีภูเขาเบนเนวิส สูง 1,344 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในหมู่เกาะอังกฤษ มีทะเลสาบ ช่องแคบที่ยาวและลึกเป็นจำนวนมาก และมีเกาะถึงกว่า 800 เกาะ เมืองหลวงคือเมืองเอดินบะระ ซึ่งเป็นเมืองที่มีศูนย์ใจกลางเมืองเป็นมรดกโลก แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือเมืองกลาสโกว์
ภูมิประเทศของเวลส์ส่วนมากจะเป็นภูเขา มีภูเขาสโนว์ดอน สูง 1,085 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในแคว้น มีเมืองคาร์ดิฟฟ์เป็นเมืองหลวง ส่วนแคว้นไอร์แลนด์เหนือนั้น ตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ และส่วนมากจะเป็นเทือกเขา มีเมืองหลวงคือเมืองเบลฟัสต์
หมู่เกาะอังกฤษนั้นประกอบด้วย เกาะน้อยใหญ่ถึงประมาณ 1,098 เกาะประชากร

จากการสำรวจสำมะโนครัวของสหราชอาณาจักรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 สหราชอาณาจักรมีประชากร 58,789,194 คน โดยมากเป็นอันดับที่ 3 ของสหภาพยุโรป และอันดับ 21 ของโลก ในปีพ.ศ. 2547 สำนักงานสถิติแห่งชาติประมาณการจำนวนประชากรที่ 59,834,300 คน และเพิ่มเป็น 60.2 ล้านคนในอีกสองปีต่อมา โดยการเพิ่มจำนวนประชากรส่วนใหญ่มาจากการอพยพเข้าประเทศ อัตราการเกิดที่สูงขึ้น และอายุขัยที่ยาวนานขึ้น
สหราชอาณาจักรมีความหนาแน่นของประชากรสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ซึ่งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดี และส่วนใหญ่เป็นเขตเมืองหรือชานเมือง ประชากรประมาณ 7.5 ล้านคนอาศับอยู่ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรสูงถึง 99% เป็นผลมาจากการศึกษาของรัฐทั่วประเทศ การศึกษาภาคบังคับมีสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 5 ถึง 16 ปี

  • จำนวนประชากรของสหราชอาณาจักรแบ่งตามเชื้อสาย
เชื้อสาย↓จำนวน↓ % ของทั้งหมด↓
อังกฤษ (ผิวขาว)50,366,49785.67%
ผิวขาว (อื่น ๆ)3,096,1695.27%
อินเดีย1,053,4111.8%
ปากีสถาน747,2851.3%
ผสม677,1171.2%
ไอร์แลนด์ (ผิวขาว)691,2321.2%
แคริบเบียน (ผิวสี)565,8761.0%
แอฟริกา (ผิวสี)485,2770.8%
บังกลาเทศ283,0630.5%
เอเชีย (ไม่ใช่จีน)247,6440.4%
จีน247,4030.4%
อื่น ๆ230,6150.4%
ผิวสี (อื่น ๆ)97,5850.2%

 

ภาษา


สหราชอาณาจักรไม่มีภาษาทางการ ภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่คือภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์มานิกตะวันตก พัฒนามาจากภาษาอังกฤษโบราณ ภาษาท้องถิ่นอื่นๆ ได้แก่ภาษาสกอต และภาษากลุ่มแกลิกและบริทโทนิก (เป็นกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มภาษาเคลติก) เช่นภาษาเวลส์ ภาษาคอร์นิช ภาษาไอริช และภาษาสกอตติชแกลิก
ภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จากอิทธิพลของจักรวรรดิบริเตนในอดีตและสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สอนกันมากที่สุดในโลก ภาษากลุ่มเคลติกของสหราชอาณาจักรก็มีพูดกันในกลุ่มเล็กๆหลายแห่งในโลก เช่น ภาษาแกลิกในประเทศแคนาดา และภาษาเวลส์ในประเทศอาร์เจนตินา
ในระยะหลังนี้ ผู้อพยพ โดยเฉพาะจากประเทศในเครือจักรภพ ได้นำภาษาอื่นหลายภาษาเข้ามาในสหราชอาณาจักร เช่น ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาเบงกาลี ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาตุรกี และภาษาโปแลนด์ โดยสหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้พูดภาษาฮินดี ปัญจาบ และเบงกาลีสูงที่สุดนอกทวีปเอเชียศาสนา

คริสต์ศาสนาเข้าสู่เกาะบริเตนครั้งแรกโดยชาวโรมัน ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรยังคงมีสถานะเป็นประเทศคริสต์อย่างเป็นทางการ พระประมุขจะต้องเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนา และสถาปนาโดยอัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์บรีในเวสต์มินสเตอร์แอบบี ร้อยละ 72 ของประชากรในสหราชอาณาจักรประกาศตัวเป็นคริสตศาสนิกชน แต่ละชาติในสหราชอาณาจักรมีขนบธรรมเนียมทางศาสนาของตนเอง
พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ส่งนักบุญออกัสตินแห่งแคนเตอร์บรีไปยังอังกฤษในปี พ.ศ. 1140 โดยออกัสตินดำรงตำแหน่งอัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์บรีคนแรก ศาสนจักรของอังกฤษแยกตัวออกจากศาสนาจักรแห่งโรมในปี พ.ศ. 2077 ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ปัจจุบันนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์เป็นศาสนจักรประจำชาติของอังกฤษ และเป็นแม่ข่ายของชุมชนแองกลิคันทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีสังฆราชของศาสนจักรเป็นสมาชิกของสภาขุนนางด้วย กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องเป็นสมาชิกของศาสนาจักรแห่งอังกฤษ และเป็นผู้ดูแลสูงสุดด้วย ผู้นับถือคริสต์ศาสนนิกายโรมันคาทอลิกไม่มีสิทธิที่จะดำรงตำแหน่งกษัตริย์ได้
นิกายเชิร์ชออฟสกอตแลนด์ แยกตัวออกมาจากศาสนจักรโรมันคาทอลิกในปีพ.ศ. 2103 โดยปัจจุบันเป็นศาสนจักรนิกายเพรสไบทีเรียน และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐแม้ว่าจะมีสถานะเป็นศาสนาประจำชาติของสกอตแลนด์ กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรมีสถานะเป็นสมาชิกทั่วไป และจำเป็นต้องสาบานที่จะ "ปกป้องความมั่นคง" ของศาสนจักรในพระราชพิธีราชาภิเษก
ในปีพ.ศ. 2463 ศาสนจักรในเวลส์แยกตัวออกมาจากศาสนจักรแห่งอังกฤษ และได้ออกจากสถานะความเป็นศาสนจักรจัดตั้งของรัฐ แต่ยังคงเป็นสมาชิกของชุมนุมแองกลิคันอยู่ ศาสนจักรแห่งไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นศาสนจักรแองกลิคัน ได้ยกเลิกความเป็นศาสนจักรจัดตั้งในปีพ.ศ. 2412 โดยศาสนจักรแห่งไอร์แลนด์ครอบคลุมเกาะไอร์แลนด์ทั้งหมด ทั้งในส่วนของแคว้นไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในไอร์แลนด์เหนือ นิกายโรมันคาทอลิกเป็นนิกายศาสนาเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุด แต่น้อยกว่านิกายโปรเตสแตนต์ต่างๆเมื่อรวมกัน ศาสนจักรเพรสไบทีเรียนในไอร์แลนด์เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ที่ใหญ่ที่สุด และมีความเกี่ยวข้องกับศาสนจักรแห่งสกอตแลนด์ในทางประวัติศาสตร์และเทววิทยา



ศาสนสถานฮินดูในกรุงลอนดอน เป็นศาสนสถานฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป


ศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นนิกายคริสต์ศาสนาที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร หลังจากการปฏิรูปคริสต์ศาสนา มีการออกกฎหมายต่อต้านคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกอย่างเข้มงวด กฎหมายต่อต้านเหล่านี้ยกเลิกไปจากกฎหมายหลายฉบับซึ่งปลดปล่อยคาทอลิกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24
กลุ่มคริสต์ศาสนาอื่นๆในสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วย กลุ่มนิกายเมโทดิสต์ ก่อตั้งโดยจอห์น เวสลีย์ และกลุ่มแบบติสต์ นอกจากนี้ ยังมีโบสถ์เอวาเจลิคัลหรือเพนโทคอทัลมากขึ้นเรื่อย โดยส่วนมากมาจากการอพยพของประชากรจากประเทศในเครือจักรภพ สหราชอาณาจักรในปัจจุบันมีความหลากหลายทางด้านศาสนาค่อนข้างสูง คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดูมีศาสนิกชนจำนวนมาก ในขณะที่ศาสนาซิกข์และศาสนายูดายมีศาสนิกชนจำนวนรองลงมา ร้อยละ 14.6 ของประชากรประกาศตัวว่าไม่นับถือศาสนาใดๆ
เชื่อกันว่ามีชาวมุสลิมถึง 1.8 ล้านคนในสหราชอาณาจักร ซึ่งจำนวนมากอาศัยอยู่ในลอนดอน เบอร์มิงแฮม แบรดฟอร์ด และโอลด์แฮม โดยในปัจจุบันสามารถเห็นมัสยิดได้ทั่วไปในหลายภาคของสหราชอาณาจักร ชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีเชื้อสายปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศ ในระยะหลัง ผู้อพยพจากโซมาเลียและตะวันออกกลางได้เพิ่มจำนวนชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักร ในปีพ.ศ. 2549 การให้สัมภาษณ์ของแจ็ก สตรอว์ ผู้นำเฮาส์ออฟคอมมอนส์ ได้ก่อเกิดความขัดแย้งในเรื่องของผ้าคลุมศีรษะของชาวมุสลิม โดยสะท้อนให้เห็นฝ่ายชาวสหราชอาณาจักรที่เห็นว่าศาสนาอิสลามไม่สามารถเข้ากับสังคมสหราชอาณาจักรได้ และอีกกลุ่มที่พอใจกับศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร ศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากอินเดีย เช่น ศาสนาฮินดู และ ศาสนาซิกข์ ก็มีขยายใหญ่ขึ้นในสหราชอาณาจักรเช่นกัน โดยมีชาวฮินดูมากกว่า 500,000 คน และชาวซิกข์ถึง 320,000 คน โดยปัจจุบันน่าจะเพิ่มขึ้นจากตัวเลขนี้ ซึ่งมาจากการสำรวจในปีพ.ศ. 2544 ในเมืองเลสเตอร์มีศาสนสถานของศาสนาเชน ซึ่งเป็นแห่งเดียวในโลกที่อยู่นอกประเทศอินเดีย

การเมืองการปกครอง

8 ความคิดเห็น:

  1. เครือจักรภพแห่งชาติ


    เครือจักรภพแห่งชาติ (อังกฤษ: Commonwealth of Nations) สมัยก่อนถูกเรียกว่า เครือจักรภพอังกฤษ หมายถึง กลุ่มประเทศอธิปไตยซึ่งแสวงหาซึ่งอิสรภาพและเสรีภาพโดยถือว่าประเทศอังกฤษเป็นผู้นำ เมื่อก่อนเครือจักรภพถูกตั้งขึ้นมาเพื่อรวบรวมอาณานิคมเข้ารวมกับจักรวรรดิอังกฤษ แต่ในปัจจุบันนี้เครือจักรภพอังกฤษถือว่าเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และมีสมาชิกมั้งหมด 53 ประเทศ



    เครือจักรภพอังกฤษ (The British Commonwealth of Nations) คือกลุ่มประเทศที่เคยตกอยู่ภำยใต้การปกครองของอังกฤษ โดยรวมกลุ่มกัน เพื่อช่วยเหลือและร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา กีฬา โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1949 หรือ พ.ศ. 2492 ปัจจุบันมีชาติสมาชิก 50 ชาติ

    วัตถุประสงค์ของเครือจักรภพอังกฤษ คือ การร่วมมือพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระหว่างสมาชิกด้วยกัน เช่น การลดอัตราภาษีนำเข้า การกู้ยืมเงิน เป็นต้น



    เครือจักรภพแห่งชาติ


    กานา · กายอานา · เกรเนดา · แกมเบีย · คิริบาส · เคนยา · แคเมอรูน · แคนาดา · จาเมกา · ซามัว · เซเชลส์ · เซนต์คิตส์และเนวิส · เซนต์ลูเซีย · เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ · เซียร์ราลีโอน · แซมเบีย · โดมินิกา · ตรินิแดดและโตเบโก · ตองกา · ตูวาลู · แทนซาเนีย · โมซัมบิก · ไซปรัส · ไนจีเรีย · นามิเบีย · นาอูรู · นิวซีแลนด์ · บรูไน · บอตสวานา · บังกลาเทศ · บาร์เบโดส · บาฮามาส · เบลีซ · ปากีสถาน · ปาปัวนิวกินี · ฟิจิ · มอริเชียส · มอลตา · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · มาลาวี · ยูกันดา · เลโซโท · วานูอาตู · ศรีลังกา · สวาซิแลนด์ · สหราชอาณาจักร · สิงคโปร์ · หมู่เกาะโซโลมอน · ออสเตรเลีย · อินเดีย · แอนติกาและบาร์บูดา · แอฟริกาใต้

    ตอบลบ
  2. สหภาพยุโรป


    สหภาพยุโรป (อังกฤษ: European Union: EU) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27 ประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ภายใต้สนธิสัญญามาสทริชต์ แทนที่ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)

    สหภาพยุโรปมีอิทธิพลสูงต่อเวทีโลก เนื่องด้วยมีประชากรกว่า 500 ล้านคนและมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ คิดเป็นกว่า 30% ของโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

    การปกครอง

    แม้สหภาพยุโรปจะเป็นการรวมกลุ่มของรัฐหรือเป็นองค์การระหว่างประเทศ แต่โครงสร้างของสหภาพยุโรปนั้นมีลักษณะ "เหนือชาติ" (supranational trait) อย่างชัดเจน ที่กล่าวเช่นนี้เพราะบรรดารัฐสมาชิกไม่เพียงรวมตัวกันเท่านั้น หากยังร่วมสร้างสรรค์สถาบันหรือหน่วยงานภายใน ซึ่งมีอำนาจเหนือรัฐสมาชิกรัฐใดรัฐหนึ่งโดยเฉพาะ อันประกอบไปด้วย สภายุโรป คณะมนตรี คณะกรรมาธิการ และศาลยุติธรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

    ตอบลบ
  3. สภายุโรป


    สมาชิกสภายุโรปได้รับเลือกตั้งโดยตรงทุก ๆ 5 ปีจากแต่ละประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิก 732 คนจาก 27 ประเทศ โดยในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงเกือบหนึ่งในสาม (222 คน) แม้สมาชิกแต่ละคนจะมาจากรัฐสมาชิก แต่การจัดกลุ่มภายในรัฐสภานั้นไม่ได้แบ่งตามสัญชาติ แต่แบ่งโดยทิศทางของพรรคการเมือง กลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ พรรคประชาชนยุโรป (European’s People Party) และพรรคประชาธิปไตยยุโรป (European Democrats) ตามมาด้วยกลุ่มสังคมนิยม เสรีนิยม และอนุรักษ์ธรรมชาตินิยม (กรีน) ที่ทำการสภายุโรปตั้งอยู่ในสองเมืองคือ สทราซบูร์ (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส และบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยประธานสภาคนปัจจุบันคือ Hans Gert Pottering ชาวเยอรมัน

    ภารกิจหลักของสภายุโรปจะเป็นการร่วมตัดสินใจกับคณะมนตรีในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การพิจารณาร่างกฎหมายของสหภาพซึ่งริเริ่มโดยคณะกรรมาธิการ การอนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป ให้การรับรองความตกลงระหว่างประเทศของสหภาพยุโรปกับประเทศนอกกลุ่ม และที่สำคัญที่สุดคือการให้การรับรองผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการยุโรป

    ตอบลบ
  4. คณะมนตรียุโรป


    สมาชิกคณะมนตรี ประกอบด้วยรัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลจากทุกประเทศสมาชิก ในการประชุมแต่ละครั้งจะมีรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเรื่องนั้น ๆ เข้าร่วม รวมทั้งสิ้น 27 คน เช่น การต่างประเทศ เกษตรกรรม คมนาคม เศรษฐกิจและการเงิน และพลังงาน เป็นต้น หากเป็นการประชุมตัดสินใจประเด็นสำคัญ ๆ ก็จะเป็นการประชุมในระดับประมุขของประเทศ โดยจะมีการประชุมสุดยอดสี่ครั้งต่อปีเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายของสหภาพยุโรป แต่ละประเทศจะมีเสียงโหวตแตกต่างกันตามสัดส่วนจำนวนประชากร การตัดสินใจส่วนใหญ่ใช้แบบเสียงข้างมาก ในขณะที่ประเด็นสำคัญจะใช้ระบบการโหวตแบบเอกฉันท์

    คณะมนตรีถือเป็นองค์กรหลักในด้านนิติบัญญัติและด้านการตัดสินใจชี้ขาดของสหภาพยุโรป โดยจะประสานงานกับรัฐสภาในการพิจารณาร่างกฎหมายดังได้กล่าวแล้ว นอกจากนั้นยังเป็นผู้รับผิดชอบด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วมกัน (CFSP: Common Foreign and Security Policy) รวมถึงภารกิจเกี่ยวกับการเปิดเสรีสินค้า บริการ เงินทุน รวมถึงประชาชนด้วย

    คณะกรรมาธิการยุโรป

    คณะกรรมาธิการเป็นตัวแทนและปกป้องผลประโยชน์ของสหภาพยุโรป โดยเป็นอิสระจากรัฐบาลของแต่ละชาติ คณะกรรมาธิการประกอบด้วยกรรมาธิกร 27 คนจากแต่ละประเทศสมาชิกตามความเชี่ยวชาญโดยจะทำงานร่วมกับข้ารัฐการราว 24,000 คน มีสำนักงานอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ประธานคณะกรรมาธิการจะได้รับการเลือกจากรัฐบาลของประเทศสมาชิกและจะต้องได้รับการรับรองจากสภา ส่วนกรรมาธิการคนอื่น ๆ จะได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสมาชิกและต้องได้รับการรับรองจากสภาเช่นกัน มีวาระคราวละ 5 ปี โดยประธานคณะกรรมาธิการคนปัจจุบันคือ นายโฮเซ มานูเอล ดูเรา บาร์โรโซ (José Manuel Durao Barroso) ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของโปรตุเกสด้วย

    ภารกิจหลักของคณะกรรมาธิการคือการเสนอร่างกฎหมาย นอกจากนั้นยังดูแลการบริหารงบประมาณของสหภาพยุโรป กรรมาธิการแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบคนละด้าน แต่ละคนมีเจ้าหน้าที่และองค์กรย่อยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของตน เปรียบเทียบได้ว่ากรรมาธิการแต่ละคนคือรัฐมนตรีซึ่งต้องดูแลกระทรวง ทบวง กรมของตนนั่นเอง



    ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป


    องค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาจากแต่ละประเทศสมาชิกรวม 27 คน มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก หน้าที่หลักของศาลคือการบังคับใช้ และการตีความกฎหมายเพื่อพิจารณาและชี้ขาดว่ากฎหมายของสหภาพยุโรปได้รับการปรับใช้เหมือนกันในทุกประเทศสมาชิกหรือไม่ พลเมืองของสหภาพยุโรปสามารถยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลได้หากสถาบันต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปได้ในกรณีกระทำการผิดกฎหมาย

    ตอบลบ
  5. รัฐสมาชิก



    สหภาพยุโรปประกอบไปด้วยรัฐอิสระ 27 ประเทศ เป็นที่รู้จักกันในสถานะรัฐสมาชิก: ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร



    รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป เรียงตามปีที่เข้าร่วมแอลเบเนีย
    ออสเตรีย
    เบลารุส
    เบลเยี่ยม
    บอส.
    & เฮอร์.
    บัลแกเรีย
    โครเอเชีย
    ไซปรัส
    เช็ก
    เดนมาร์ก
    เอสโตเนีย
    ฟินแลนด์
    ฝรั่งเศส
    เยอรมนี
    กรีซ
    ฮังการี
    ไอซ์แลนด์
    ไอร์แลนด์
    อิตาลี
    ลัตเวีย
    ลิทัวเนีย
    ลักเซมเบิร์ก
    มาซิโดเนีย
    มอลตา→
    มอลโดวา
    มอนต.
    เนเธอร์แลนด์
    นอร์เวย์
    โปแลนด์
    โปรตุเกส
    โรมาเนีย
    รัสเซีย
    เซอร์เบีย
    สโลวาเกีย
    สโลวีเนีย
    สเปน
    สวีเดน
    สวิตเซอร์แลนด์
    ตุรกี
    ยูเครน
    สหราช
    อาณาจักร

    ปัจจุบันมีประเทศสมัครเข้าเป็นสมาชิก 3 ประเทศคือ โครเอเชีย มาซิโดเนียและตุรกี ส่วนประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่านตะวันตกเช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกรและเซอร์เบีย ถูกจัดให้เป็นประเทศที่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ คอซอวอเองก็ได้สถานะนี้เช่นเดียวกัน

    ตอบลบ
  6. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ


    คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Security Council; UNSC) เป็นหน่วยงานหนึ่งใน 6 หน่วยงานหลักของสหประชาชาติ

    สมาชิก

    คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ

    ระเบียบที่ตั้งไว้กำหนดให้ที่ประชุมสมัชชาเลือกสมาชิกหมุนเวียน 10 ประเทศ เข้าดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี แต่จะเลือกปีละ1 ครั้ง กล่าวคือทุกปีต้องมีการเลือกสมาชิกใหม่เข้ามา 5 ประเทศ และวิธีการเลือกประเทศสมาชิกก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดทางภูมิศาสตร์ โดยบรรดา 10 ประเทศนั้น ต้องมีประเทศที่มาจากทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และตะวันออกกลาง 5 ประเทศ ส่วนอีก 2 ประเทศเป็นชาติตะวันตก 2 ประเทศจากอเมริกาใต้ และอีก 1 ประเทศจากยุโรป

    สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใน พ.ศ. 2553 ได้แก่ ออสเตรีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บราซิล กาบอง ญี่ปุ่น เลบานอน เม็กซิโก ไนจีเรีย ตุรกี และอูกันดา ในส่วนของประเทศไทยนั้นเคยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2528 - 2529

    บทบาทและหน้าที่
    1.ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
    2.สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ
    3.เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน
    4.วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ
    5.ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร
    6.เรียกร้องให้สมาชิกประเทศทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน
    7.ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน
    8.เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
    9.ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์
    10.เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก
    11.ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ

    ตอบลบ
  7. จี 8


    จีแปด (G8) เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ที่เพิ่มมาจากกลุ่ม G7 (เพิ่มรัสเซีย) ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 8 ประเทศคือ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ถือเป็น 65% ของโลก นอกจากนั้น ยังมีประธานแห่งสหภาพยุโรปร่วมประชุมด้วย

    ตอบลบ
  8. องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ


    องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (อังกฤษ: North Atlantic Treaty Organization; ฝรั่งเศส: Organisation du traité de l'Atlantique Nord) มีชื่อย่อว่า นาโต (อังกฤษ: NATO) หรือ ออต็อง (ฝรั่งเศส: OTAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือในการรักษาความสงบ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ

    สมาชิกก่อตั้งประกอบด้วยประเทศเบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) กรีซและตุรกีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในขณะที่ประเทศเยอรมนีเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

    ตอบลบ