ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

23 กรกฎาคม 2554

อังเงลา แมร์เคิล (Angela Dorothea Merkel)

อังเงลา แมร์เคิล (Angela Dorothea Merkel)




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



อังเกลา โดโรเธีย แมร์เคิล (เดิม อังเกลา โดโรเธีย คัสเนอร์; เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2497เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของเยอรมนี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งสู่รัฐสภาเยอรมันจากแคว้นเม็คเล็นบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น เป็นประธานพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (CDU) ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2543 และเป็นประธานกลุ่มพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน-สหภาพสังคมคริสเตียนในรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึง พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นนางแมร์เคิลยังเป็นผู้นำรัฐบาลผสมกับพรรคสหภาพสังคมคริสเตียน (CSU) และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังภายจากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

ในปี พ.ศ. 2550 นางแมร์เคิลยังดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรียุโรปและประธานกลุ่มประเทศจีแปด นอกจากนั้นนางดำเนินบทบาทในการเจรจาสนธิสัญญาลิสบอนและปฏิญญาเบอร์ลินอีกด้วย ด้านนโยบายภายในประเทศ เรื่องของการปฏิรูปเรื่องการดูแลสุขภาพและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานในอนาคตนับเป็นเรื่องใหญ่ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนาง
นางแมร์เคิลเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศเยอรมนี นางได้รับการเลือกจากนิตยสาร Forbes ให้เป็นสตรีที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2550 นางแมร์เคิลยังเป็นสตรีคนที่สองในการเป็นประธานกลุ่มประเทศจีแปดต่อจากนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2551 นางแมร์เคิลได้รับรางวัล Charlemagne "สำหรับการทำงานเพื่อปฏิรูปสหภาพยุโรป" จากประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศส
นางแมร์เคิลเกิดที่เมืองฮัมบูร์ก และได้ศึกษาทางด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิก หลังจบการศึกษา แมร์เคิลที่สถาบันวิทยาศาสตร์เยอรมนี และได้ลาออกในปี พ.ศ. 2533 เพื่อเข้ามาเล่นการเมือง



ไฟล์:Angela Merkel - World Economic Forum Annual Meeting 2011.jpg







วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube








4 ความคิดเห็น:

  1. อังเงลา แมร์เคิล (Angela Dorothea Merkel)


    นายกรัฐมนตรีเยอรมนี (เยอรมัน: Bundeskanzler; อังกฤษ: Chancellor of Germany) คือ ผู้บริหารประเทศเยอรมนี ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) ในสมัยบิสมาร์คในปี ค.ศ. 1871 โดยรัฐต่าง ๆ ของเยอรมนีที่เป็นประเทศอิสระจากกันหลายประเทศ หลายแว่นแคว้น (ภายหลังการยกเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1815 โดยพระจักรพรรดินโปเลียนมหาราชแห่งฝรั่งเศส) ได้เข้ามารวมกันภายใต้การนำของราชอาณาจักรปรัสเซีย

    การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนั้น กำหนดให้พระราชาแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียเป็นประธานาธิบดีของสหพันธรัฐ แล้วเรียกชื่อว่า จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมัน จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมันจะแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร คือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิ (German Chancellor) ที่เรียกชื่อตำแหน่งเช่นนี้ เนื่องจากเยอรมนีมีสภาพเป็นสหพันธรัฐ แต่ละรัฐหรือราชอาณาจักรในสหพันธรัฐ (เช่น ราชอาณาจักรปรัสเซีย, ราชอาณาจักรบาวาเรีย เป็นต้น) ต่างก็มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเอง

    เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่เยอรมนีเปลี่ยนไปเป็นระบบประธานาธิบดี หรือแม้แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบสหพันธรัฐก็ยังคงอยู่ (แม้ว่ายุคบิสมาร์กจะเรียกจักรวรรดิ แต่ในรัฐธรรมนูญนั้นยังเรียกว่าระบบสหพันธรัฐ) ตำแหน่ง Chancellor จึงยังคงเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารไม่เปลี่ยนแปลง

    ในสมัย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รวมตำแหน่ง Chancellor เข้ากับตำแหน่งประธานาธิบดีแล้วเรียกว่า "ผู้นำ" (Führer) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีกลับไปใช้ระบบสหพันธรัฐและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเช่นเดิม หัวหน้าฝ่ายบริหารก็ยังคงเรียกแบบเดิมคือ Chancellor ตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเยอรมนีมีมุขมนตรี 8 คน ถ้าไม่นับฮิตเลอร์

    นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดคือ อันเกลา แมร์เคิล ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี สังกัดพรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต นางขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากนายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ จากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมนีในปี ค.ศ. 2005




    .

    ตอบลบ
  2. อังเกล่า แมร์เคล นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ในประวัติศาสตร์เยอรมนี






    การจะเห็นผู้หญิงก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศนั้น เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก ไม่ว่าจะในประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนาในโลกปัจจุบัน ที่เรียกได้ว่า "ยุคสมัยใหม่"

    แต่ทุกครั้งที่เห็นผู้หญิงก้าวขึ้นมาถึงจุดสูงสุดนี้ มักทำให้เกิดความน่าสนใจและน่าจดจำทุกครั้งไป เพราะจากประวัติศาสตร์การเมืองโลกยุคใหม่ที่ผ่านมา มีหญิงแกร่งระดับผู้นำไม่กี่คนที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้คน...

    คนแรกๆ ที่เรานึกถึงอาจเป็น "นางมาร์กาเร็ต แท็ตเชอร์" ฉายา "หญิงเหล็ก" อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษ หรือ "นางอินทิรา คานธี" อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย หรืออาจพานนึกไปถึงหญิงแกร่งหาญกล้าอีกคนอย่าง "นางออง ซาน ซูจี" ผู้นำพรรคฝ่ายค้านพม่า ที่ต่อสู้เพื่อปลดแอกประเทศจากอำนาจเผด็จการทหาร

    และประเทศหนึ่งในโลกที่พัฒนาแล้วอย่างเยอรมนี ที่เรียกได้ว่าเป็นประเทศแห่งความทันสมัยล้ำยุคด้วยเทคโนโลยีประเทศหนึ่งในโลกตะวันตก เพิ่งจะมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศคือ "นางอังเกล่า แมร์เคล" หรือในชื่อเต็มๆ ว่า "ดอกเตอร์อังเกล่า โดโรธี แมร์เคล" (Dr.Angela Dorothea Merkel) หัวหน้าพรรคซีดียู ที่เพิ่งได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งชนิดเฉียดฉิวเหนือพรรคเอสพีดีของ "นายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์" ที่สุดท้ายต้องยอมสละตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ครองมา 2 สมัย(8 ปี) ให้กับนางแมร์เคลไปอย่างจำใจ หลังจากการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ต้องใช้เวลาในการเจรจากันนานร่วม 2 เดือน

    มีการออกเสียงเรียกชื่อเธอแตกต่างกันไป สุดแต่สำเนียงใคร บ้างก็ว่า แองเจล่า แอนเจล่า หรืออังเกอล่า ก็ตามแต่ ผู้เขียนขออ้างอิงจากเว็บไซต์สถานทูตเยอรมนีในการออกเสียงว่า "อังเกล่า แมร์เคล" หรือที่บรรดาคนสนิทเรียกว่า "แองจี้" ปัจจุบันอายุ 51 ปี ผ่านการแต่งงานมาแล้ว 2 ครั้ง ยังไม่มีบุตร ที่น่าสนใจคือ เธอเป็นผู้ที่เติบโตขึ้นในระบอบคอมมิวนิสต์แห่งอดีตเยอรมนีตะวันออก

    และยังนับเป็นครั้งแรกที่อดีตพลเมืองของเยอรมนีตะวันออกก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศเยอรมนีที่รวมประเทศกันอีกครั้งหลังกำแพงเบอร์ลินพังทลายลงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989

    ปฐมบทของ"แมร์เคล"

    เดิมที อังเกล่า แมร์เคล เกิดที่เมืองฮัมบวร์ก(Hamburg) ทางภาคเหนือของประเทศ(อดีตเยอรมนีตะวันตก) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 1954 ในวัยเด็กเธอได้ติดตามครอบครัวเดินทางเข้าไปใช้ชีวิตในเยอรมนีตะวันออก โดยการตัดสินใจของบิดาคือ นายฮอร์สต์ คาสเนอร์(Horst Kasner) บาทหลวงแห่งศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ที่มีความประสงค์อยากทำหน้าที่บาทหลวงที่นั่น เพื่อจะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับญาติพี่น้อง แต่ก็ยังคงรักษาการติดต่อกับครอบครัวในเยอรมนีตะวันตกมาโดยตลอดในฐานะลูกสาวของบาทหลวงที่ไม่มีแนวคิดต่อต้านระบอบ แมร์เคลจึงได้รับการปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษในโรงเรียน แต่เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับตัวเข้ากับสังคมและไม่ต้องการอยู่อย่างโดดเดี่ยว เธอจึงตัดสินใจขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ "ขบวนการเยาวชนแห่งพรรคคอมมิวนิสต์"

    หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมปลาย เธอได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเมืองไลป์ซิก(Leipzig) เมื่อปี 1973 ในสาขาวิทยาศาสตร์ และจบออกมาด้วยคะแนนเกียรตินิยม ก่อนที่จะเข้ารับราชการในศูนย์ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีฟิสิกส์ ที่กรุงเบอร์ลินตะวันออก เมื่อปี 1978

    ในขณะที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเมืองไลป์ซิกนี้เอง เธอได้แต่งงานกับนักศึกษาด้วยกันคือ นายอูลริช แมร์เคล(Ulrich Merkel) ซึ่งเธอยังคงรักษานามสกุลนี้เอาไว้จนกระทั่งทุกวันนี้ ถึงแม้จะแยกทางกันตั้งแต่ปี 1981 ก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มชีวิตคู่ใหม่อีกครั้งในอีกไม่กี่ปีต่อมา กับศาสตราจารย์ด้านเคมี ชื่อ Joachim Sauer จนถึงปัจจุบัน




    ...ต่อ...



    .

    ตอบลบ
  3. ...ต่อ...




    เส้นทางการเมืองสู่ความเป็นผู้นำ

    ในปี 1989 แมร์เคลได้เข้าร่วมในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในเยอรมนีตะวันออก หลังกำแพงเบอร์ลินที่แบ่งแยกประเทศเยอรมนีออกจากกันพังทลายลง โดยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใหม่คือ พรรค "Demokratischer Aufbruch" ซึ่งต่อมาได้รับเลือกให้เป็นพรรครัฐบาลพรรคแรก และเพียงครั้งเดียวในระบอบประชาธิไตยของเยอรมนีตะวันออกในขณะนั้น (ก่อนที่จะมารวมตัวกับพรรคซีดียู จากเยอรมนีตะวันตกในอีกปีถัดมา) ทั้งนี้ แมร์เคลได้รับตำแหน่งรองโฆษกของรัฐบาลใหม่ภายใต้ผู้นำคือ นาย "Lothar De Maziere" นายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของเยอรมนีตะวันออก

    เมื่อกำแพงเบอร์ลินพังทลายราบคาบลงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989 "พรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียนแห่งเยอรมนนี"(Christian Democratic Union-CDU) หรือพรคคซีดียู และ "พรรคสหภาพสังคมคริสเตียน" (Christian Social Union-CSU) หรือพรรคซีเอสยู พรรคพี่น้องที่มักถูกเรียกรวมกันว่า "ซีดียู/ซีเอสยู"(CDU/CSU) ได้ขยายสาขาออกสู่เยอรมนีตะวันออก อังเกล่า แมร์เคล ไม่ลังเลใจสมัครขอเข้าร่วมวงไพบูลย์เป็นสมาชิกด้วยในการเข้าร่วมเจรจารวมประเทศในฐานะโฆษกของนาย Lothar De Maziere

    เมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคซีดียู/ซีเอสยู นางแมร์เคลได้แสดงออกถึงท่าทีอันเด่นชัดที่แตกต่างจากกลุ่มที่ยังอาลัยอาวรณ์ในบางสิ่งบางอย่างของเยอรมนีตะวันออก โดยเธอได้แสดงจุดยืนที่เด่นชัดในการที่จะให้ประเทศเยอรมนีที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้ว สังกัดในระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีของโลกตะวันตก และมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งท่าทีดังกล่าวได้รับการจับตาดูอย่างเงียบๆ จากนายเฮลมุต โคห์ล(Helmut Kohl) นายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนีตะวันตกในขณะนั้น

    หลังการรวมประเทศเข้าเป็นหนึ่งเดียวเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 1990 ใครๆ ภายในพรรคซีดียู/ซีเอสยู ต่างก็มองนางแมร์เคลในฐานะ "เด็กหญิงรับใช้" หรือ "Das Madchen" ของนายโคห์ล เพียงไม่กี่เดือนต่อมา ท่ามกลางความแปลกประหลาดใจไปทั่ว นายกรัฐมนตรีเฮลมุต โคห์ล ได้ตัดสินใจผลักดันให้อังเกล่า แมร์เคล ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง "รองหัวหน้าพรรคซีดียู" ในเดือนธันวาคม 1990 เมื่อเธอมีอายุ 36 ปี แทนที่นาย Lothar De Maziere ที่ประกาศถอนตัวออกจากเวทีการเมืองอย่างกะทันหัน

    ปัจจัยที่ทำให้นายโคห์ลตัดสินใจเช่นนั้นเพราะเขาเห็นว่าสตรีผู้นี้มีคุณสมบัติ 3 ประการคือ 1.อายุยังน้อย 2.เป็นสตรี และ 3.เป็น "ออสซี่" (Ossie) คำเรียกขานชาวเยอรมนีภาคตะวันออก อันเป็นการเน้นให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่พยายามจะลบล้างแนวความคิดที่ว่า ชาวเยอรมันภาคตะวันออกคือ "พลเมืองชั้นสอง" แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถทำให้ความนิยมในภาคส่วนนี้ของประเทศ (อดีตเยอรมนีตะวันอออก) ต่อพรรคซีดียู/ซีเอสยู เป็นที่น่าพอใจสำหรับการเลือกตั้ง ในทางตรงกันข้าม พรรค "ขบวนการฝ่ายซ้ายใหม่" ที่ประกอบไปด้วยบรรดานักการเมืองแห่งอดีตพรรคคอมมิวนิสต์ของเยอรมนีตะวันออกยุคประเทศถูกแบ่งแยกเป็นจำนวนมาก กลับเป็นผู้ได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งนี้ เชื่อกันว่าเป็นเพราะการปฏิรูปจากระบบเศรษฐกิจรวมศูนย์ตามทฤษฎีมาร์กซิสม์ สู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีนั้น มีความขมขื่นมากเกินไปสำหรับชาวเยอรมันในภาคตะวันออก

    หลังการเลือกตั้งครั้งแรกแห่งการรวมชาติ นางแมร์เคลได้รับการเลือกตั้งในรัฐ Mecklemburg-Pomerania ตะวันตก (ในเยอรมนีตะวันออก) ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งจากนายโคห์ล ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกิจกรรมสตรีและเยาวชนเมื่อเดือนมกราคม 1991 และรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมในเวลาต่อมา

    หลังจากพรรคซีดียู/ซีเอสยูแพ้การเลือกตั้งในปี 1998 นายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้การครองอำนาจ 4 สมัยติดต่อกันถึง 16 ปี ของนายโคห์ล สิ้นสุดลง และนางแมร์เคลได้ขึ้นเป็นเลขาธิการของพรรคซีดียู

    เมื่อนายเฮลมุต โคห์ล ตกจากอำนาจไปแล้ว พรรคซีดียู/ซีเอสยูก็โดนมรสุมขนาดหนัก โดยถูกขบวนการยุติธรรมตั้งข้อหาในเรื่องบัญชีมืด (วิธีหาเงินเข้าสนับสนุนพรรคอย่างผิดกฎหมาย) จนทำให้นาย "Wolfgang Schauble" หัวหน้าพรรคในขณะนั้น ต้องลาออกจากตำแหน่ง ในขณะที่เกียรติยศและศักดิ์ศรีนายโคห์ล ผู้มีสมญานามว่า "นายกรัฐมนตรีแห่งการรวมชาติ" ได้รับผลกระทบอย่างหนักตามไปด้วย จนเรียกได้ว่าสถานการณ์ของซีดียู/ซีเอสยูในขณะนั้นแทบเอาตัวไม่รอดเลยทีเดียว




    ...ต่อ...

    ตอบลบ
  4. ...ต่อ...




    ในสถานการณ์เช่นนั้น จึงทำให้พรรคมีความจำเป็นอย่างไม่เคยมีมาก่อนที่จะต้องรื้อฟื้นภาพพจน์อันสวยงามคืนมาให้ได้ ดังนั้น ในวันที่ 10 เมษายน ปี 2000 พรรคซีดียู/ซีเอสยูจึงเปิดกองประชุมสมัชชาสมัยวิสามัญขึ้นที่เมือง Essen รัฐ Ruhr ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมใหญ่ในภาคตะวันตกของประเทศ และได้ลงมติเห็นชอบให้นางอังเกล่า แมร์เคล เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค จึงทำให้บรรดาสื่อในประเทศฝรั่งเศสตอนนั้นขนานนามให้นางแมร์เคล ว่าคือ Jeanne d"Arc แห่งประเทศเยอรมนี อันเป็นการเปรียบเทียบกับนักรบวีรสตรีของฝรั่งเศส ที่พยายามกอบกู้ฐานะของประเทศจากการยึดครองของอังกฤษในศตวรรษที่ 15 นั่นเอง

    หลังผ่านเส้นทางอันยาวนานทางการเมือง นางอังเกล่า แมร์เคล ก็ได้รับเลือกให้ขึ้นตำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548








    มติชน 21 ธค. 48






    .

    ตอบลบ