ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

17 สิงหาคม 2557

แนวทางการวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัย

แนวทางการวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัย





แนวทางการวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัย



ชื่อเรื่อง Title
1.  สะท้อนเรื่องที่วิจัยหรือไม่
2. กระชับหรือไม่
3. มีการระบุตัวแปรที่สำคัญหรือไม่
4. มีการระบุประชากรที่ศึกษาหรือไม่
5. มีการระบุสถานที่ศึกษาหรือไม่
6. สะท้อนแนวทางวิธีการศึกษาและวิเคราะห์หรือไม่

บทคัดย่อ Abstract
1. มีการกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธี ผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะหรือไม่
2. มีจำนวนคำและความยาวที่เหมาะสมหรือไม่
3. กระชับและชัดเจนหรือไม่
4. สะท้อนเรื่องที่ศึกษาหรือไม่

ปัญหาการวิจัย Research Problem
1. ปัญหาการวิจัยมีเขียนไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ มีการกล่าวถึงในส่วนเริ่มต้นของรายงานวิจัยหรือไม่ มีการเขียนแบบข้อคำถาม หรือเป็นประโยคบอกเล่า
2. มีข้อสนับสนุนความเป็นมาความสำคัญหรือความรุ่นแรงของปัญหาหรือไม่
3. มีการกล่าวถึงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และมีการชี้ให้เห็นไม่ว่างานวิจัยนี้ เหมือนหรือต่างจากเรื่องอื่นอย่างไร หรืองานงานวิจัยนี้จะเติมช่องว่างของความรู้ได้อย่างไร
4. มีการระบุตัวแปรหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่จะศึกษาหรือไม่
5. มีการระบุธรรมชาติของประชากรที่ศึกษาหรือไม่
6. มีการมองปัยหาภายใต้บริบทของกรอบแนวคิดทฤษฏีที่เหมาะสมหรือไม่
7. ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการศึกษาปัญหานี้มีความสำคัญอย่างไรต่อการปฏิบัติการพยาบาล การสร้างองค์ความรู้หรือประเด็นอื่น

วัตถุประสงค์การวิจัย  Purpose,Objective,Aim
1. มีความเหมาะสมกับเรื่องที่วิจัยหรือไม่
2. เขียนชัดเจนหรือไม่ว่าผู้วิจัยมีแผนจะทำอะไร จะเก็บข้อมูลจากใคร ที่ไหน
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง Review of literature
1. เป็นการศึกษาอย่างขว้างขวางลึกซึ้งเกี่ยวข้องและครอบคลุมตัวแปรต่างๆที่วิจัยหรือไม่
2. นำเสนอต่อจากบทนำและปัญหาการวิจัยหรือไม่
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่มีอยู่ ช่องว่างของความรู้ และบทบาทของงานวิจัยเรื่องนี้ในการขยายหรือทดสอบความรู้หรือไม่
4. มีการใช้ข้อมูลทั้งเชิงทฤษฏีและงานวิจัยหรือไม่
5. แหล่งอ้างอิงส่วนใหญ่เป็นปฐมภูมิ หรือ ทุติยภูมิ มีความเป็นปัจจุบันหรือไม่
6. แหล่งอ้างอิงสำคัญหรือข้อมูลสำคัญ มีการกล่าวไว้ถึงครบถ้วนหรือไม่
7. การเขียนเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องหรือไม่ น่าอ่าน น่าติดตามหรือไม่
8. การเขียนเรียบเรียงใหม่โดยใช้ภาษาตนเอง หรือเป็นการคัดลองคำพูดมาจากแหล่งปฐมภูมิโดยตรง
9. สะท้อนอคติของผู้วิจัยหรือไม่
10. มีการเขียนเชิงวิพากษ์ เปรียบเทียบหรือไม่
11. มีการสรุปสถานภาพองค์ความรู้ในหัวข้อนั้น State of the art หรือไม่

คำจำกัดความ Definition
1. มีการให้ความหมายตัวแปรสำคัญๆในเชิงปฏิบัติการที่สอดคล้องกับความหมายเชิงทฤษฏีหรือไม่
2. มีการให้ความหมายตัวแปรสำคัญครบถ้วนหรือไม่

กรอบแนวคิดทฤษฏี
1. มีการระบุกรอบแนวคิดทฤษฏีอย่างชัดเจนหรือไม่
2. แนวคิด ทฤษฏี สอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษาหรือไม่
3. ให้ความหมายของตัวแปรสำคัญอย่างชัดเจนหรือไม่
4. สมมุติฐานได้มาจากกรอบแนวคิดทฤษฏีหรือไม่
5. มีการระบุข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือไม่
6. การใช้เแนวคิด ทฤษฏี มีความสม่ำเสมอตลอดงานวิจัยหรือไม่
7. ทฤษฏีที่ใช้มาจากศษสตร์ทางการพยาบาลหรือสาขาวิชาใด หรือเป็นแนวคิดที่เกิดจากการผสมผสานงานวิจัยและทฤษฏีต่างๆ

เครื่องมือการวิจัย
1. มีการระบุเครื่องมือ แหล่งที่มา วัตถุประสงค์ ลักษณะ จุดแข็ง จุดอ่อน ของเครื่องมือครบถ้วนหรือไม่ มีการให้เหตุผลเรื่องการเลือกเครื่องมือหรือไม่
2. เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษา ประชากรหรือไม่
3. มีวิธีการใช้เครื่องมือกับตัวอย่างทุกคนเหมือนกันหรือไม่
4. ได้รายงานความตรงของเครื่องมือหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่
5. ได้รายงานค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือหรือไม่ว่าทำอย่างไร ค่าเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่
6. ถ้าผู้วิจัยสร้างเครื่องมือเอง มีการอธิบายที่มา/แนวคิดของการสร้างเครื่องมือว่าอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร ค่าความตรงและค่าความเชื่อมั่นเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่
7. เครื่องมือแต่ละชนิดมีการควบคุมคุณภาพ วิธีการใช้ที่เหมาะสมหรือไม่
แบบสังเกต ใครสังเกต มีคู่มือไหม มีการฝึกหรือไม่ การสัง้กตมีผลต่อการวิจัยไหม
แบบสัมภาษณ์ ใครสัมภาษณ์ ข้อความที่ใช้ ภาษา ระยะเวลา เหมาะสมหรือไม่
แบบสอบถาม เนื้อหาครอบคลุมหรือไม่ มีความชัดเจนหรือไม่ เป็นคำถามปลายปิด หรือปลายเปิด
เครื่องมือวัด ทำไมจึงใช้เครื่องมือนั้น มีวิธีควบคุมความถูกต้องแม่นตรง และความไวของเครื่องมืออย่างไร

วิธีการรวบรวมข้อมูล Data collection procedure
1. ข้อมูลมีการรวบรวมอย่างไร มีกี่วิธี
2. วิธีรวบรวมข้อมูลมีความเหมาะสมกับการวิจัยหรือไม่
3.มีขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนสำหรับตัวอย่างทุกคนหรือไม่
4. ใครรวบรวมข้อมูล ผู้รวบรวมข้อมูลมีความเหมาะสมหรือไม่ ได้รับการฝึกอบรมอย่างไร
5. ข้อมูลรวบรวมในสถานการณ์เช่นไร มีความกดดันไหม มีคนอื่นอยู่ในขณะเก็บข้อมูลไหม ผู้ให้

ข้อมูลมีความเสี่ยงหรือไม่
การวิเคราะห์ข้อมูล Data analysis
1. เลือกใช้สถิติที่เหมาะสมหรือไม่กับระดับข้อมูลประชากร
2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ หรือทดสอบสมมุติฐานครบถ้วนหรือไม่
3. มีการนำเสนอข้อมูลชัดเจนหรือไม่ นำเสนอรูปแบบต่างๆหรือไม่
4. ในการทดสอบสมมุติฐานมีการกำหนดระดับความนัยสำคัญหรือไม่
5. ถ้าใช้กราฟ ตาราง มีการนำเสนอที่เหมาะสม หรือไม่ ให้ข้อมูลเสริม เพื่อลดการบรรยายหรือไม่ มีชื่อตาราง หัวตารางที่ถูกต้องหรือไม่ ซ้ำซ้อนกับเนื้อหา การบรรยายในรายงานหรือไม่

การอภิปรายผลและการสรุปผล Discussion conclusion
1. มีการอภิปรายผลโดยแสดงเหตุผลของผลการวิจัยว่าทำไมจึงเกิดเช่นนั้นหรือไม่
2. มีการนำผลการวิจัยอื่น แนวคิด ทฤษฏีที่อ้างไว้มาใช้ประกอบการอ๓ปรายผลหรือไม่ อย่างไร
3. สะท้อนให้เห็นว่าผลการวิจัยเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ เพราะเหตุใด
4. มีกาสรุปผลการวิจัยที่ชัดเจน ตอบคำถามการวิจัย หรือนำเสนอผลการทดสอบสมมุติฐานหรือไม่
5. มีการระบุจุดอ่อน หรือข้อจำกัด  Limitation ของการวิจัยครั้งนี้หรือไม่ ว่าอย่างไร ประโยชน์ของการวิจัยว่าอย่างไร เหมาะสมชัดเจนหรือไม่

ข้อบ่งชี้ ข้อเสนอแนะ Implication,Recommendation
1. มีการเสนอข้อบ่งชี้ในการนำผลการวิจัยไปใช้คลินิกหรืออื่นๆหรือไม่
2. ให้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปว่าอย่างไร สอดคล้องกับงานวิจัยหรือไม่
เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม Reference,Bibliography
1. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมครอบคลุมเอกสารที่อ้างอิงในส่วนเนื้อหาหรือไม่
2. เขียนตามรูปแบบที่กำหนดของแบบอ้างอิงนั้นๆหรือไม่

อื่นๆ
1. เขียนกระชับ ชัดเจน เป็นระบบหรือไม่ เขียนถูกต้องตามหลักภาษา รูปประโยควรรคตอนหรือไม่
2. เขียนเชิงวิชาการหรือไม่
3. ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่
4. ผู้วิจัยเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องที่วิจัยหรือไม่

 

ขอบคุณที่มา       ::    http://www.gotoknow.org/posts/15259  
                        ที่   ::   GotoKnow โดย 
ติดตามเราได้ที่   ::   https://www.facebook.com/prapasara.blog







12 ความคิดเห็น:

  1. แนวทางการวิเคราะห์

    1. ชื่อเรื่อง
    - สะท้อนเรื่องที่จะวิจัยชัดเจน คือ การศึกษาการเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    - เขียนได้อย่างกระชับ
    - มีการระบุตัวแปรที่สำคัญ คือ ตัวแปรต้น : การเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    - มีการระบุประชากรที่ชัดเจน คือ ผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    - ไม่ได้ระบุสถานที่ที่จะศึกษา
    - ชื่อเรื่องไม่สะท้อนแนวทางการศึกษาและการวิเคราะห์

    2. บทคัดย่อ
    - ไม่ได้กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ว่าเป็นอย่างไรทำไมถึงต้องมีการศึกษาในกรณีนี้ บอกเพียงว่าวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ละเปรียบเทียบภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณในช่วงระยะกรเปลี่ยนผ่านระหว่างก่อนและภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหักขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    - ระเบียบวิธีการศึกษา คือ แบบสอบถามภาวะสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ
    - ผลการวิจัย คือ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อ สะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีการเปลี่ยนผ่านภาวะสุขภาพไปด้านทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( t = 18.82, p < .001 )
    - บทคัดย่อไม่ได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะในการทำวิจัย
    - บทคัดย่อมีจำนวนคำและความยาวที่เหมาะสม
    - บทคัดย่อมีความกระชับ แต่ยังไม่ชัดเจน
    - บทคัดย่อสะท้อนเรื่องที่จะศึกษาที่ชัดเจน


    ตอบลบ


  2. 3. ปัญหาการวิจัย
    - มีการเขียนปัญหาการวิจัยที่ชัดเจน โดยกล่าวไว้ในส่วนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เขียนเป็นประโยชน์บอกเล่า
    - มีข้อสนับสนุนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    - บทความในปัญหาการวิจัยได้กล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและมีการชี้ให้เห็นว่างานวิจัยนี้มีความเหมือนกับงานวิจัยอื่น เช่น ผลของความเจ็บปวดจะทำให้ผู้ป่วยมีความสนใจเกี่ยวกับจิตวิญญาณและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเพิ่มมากขึ้น เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นและสร้างความผาสุกทางด้านจิตวิญญาณให้กับตนเอง
    - งานวิจัยนี้จะเติมช่องว่างของความรู้ คือ เป็นความรู้พื้นฐานอันจะเป็นประโยชน์ในการนำมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลประกอบกับการหาแนวทางการดูแลช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุสตรีสามารถประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านของชีวิตที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีภาวะข้อสะโพกหักได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความผาสุกในชีวิตได้ต่อไป
    - มีการระบุตัวแปรที่ชัดเจน คือ
    ตัวแปรต้น : การเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    ตัวแปรตาม : การเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    กล่าวว่าตัวแปรทั้ง 2 ตัวแปรมีความสัมพันธ์กัน คือ เมื่อเกิดภาวะข้อสะโพกหักจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุสตรีและหากมีการเปลี่ยนผ่านในชีวิตที่ดีก็สามารถมีการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพด้านต่างๆดีตามด้วย
    - มีการระบุธรรมชาติของประชากรที่ศึกษา ในความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาได้กล่าวว่า ภาวะข้อและสะโพกหักมีผลกระทบต่อผู้สูงอายุสตรี
    - มีการมองปัญหาภายใต้บริบทของกรอบแนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสม
    - ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการศึกษาปัญหานี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการพยาบาล นำความรู้พื้นฐานอันจะเป็นประโยชน์ในการนำประยุกต์ใช้ในการพยาบาลประกอบกับการหาแนวทางการดูแลช่วยเหลือ

    ตอบลบ

  3. 4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    - มีความเหมาะสมกับเรื่องที่วิจัย
    - มีความชัดเจนว่าผู้วิจัยมีแผนเพื่อศึกษาการเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    - เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุสตรีที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 79 คนได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ว่ามีข้อสะโพกหักและได้รับการรักษาตามอาการที่หอผู้ป่วยกระดูกหญิง โรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

    5. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
    - มีการศึกษาเอกสารและวรรณกรรมอย่างกว้างแต่ยังไม่ลึกซึ้ง แต่สามารถครอบคลุมตัวแปรต่างๆได้
    - มีการนำเสนอในบทนำและปัญหาการวิจัย
    - ให้ข้อมูลความรู้ที่มีอยู่ ช่องว่างของความรู้และบทบาทของงานวิจัยเรื่องนี้ในการขยายหรือทดสอบความรู้
    - มีการใช้ข้อมูลทั้งเชิงทฤษฎีและงานวิจัย
    - มีการกล่าวถึงแหล่งอ้างอิงสำคัญหรือข้อมูลสำคัญไว้ครบถ้วน
    - มีการเขียนเรียงความเป็นลำดับต่อเนื่อง น่าอ่านและน่าติดตาม
    - มีการเขียนเรียบเรียงใหม่โดยใช้ภาษาตนเองของผู้วิจัย
    - ไม่สะท้อนอคติของผู้วิจัย
    - ไม่มีการเขียนถึงการวิพากษ์ เปรียบเทียบ
    - มีการสรุปสถานการณ์ภาพองค์ความรู้ในหัวข้อ

    6. คำจำกัดความ
    - ไม่มีการเขียนถึงความหมายของตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

    7. กรอบแนวคิดทฤษฎี
    - มีการระบุกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ชัดเจน
    - แนวคิดทฤษฎีสอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษา
    - ให้ความหมายของตัวแปรที่ชัดเจน
    - สมมติฐานได้มาจากกรอบแนวคิดทฤษฎี
    - มีการระบุข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
    - การใช้แนวคิด ทฤษฎีมีความสม่ำเสมอตลอดงานวิจัย
    - ทฤษฎีที่ใช้มาจากศาสตร์ทางการพยาบาล

    ตอบลบ

  4. 11. เครื่องมือการวิจัย
    - มีการระบุเครื่องมือ โดยใช้แบบสอบถาม แหล่งที่มาผู้วิจัยสร้างมาจากการทบทวนวรรณกรรม ระบุวัตถุประสงค์ เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ชัดเจน ลักษณะเครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 7 ข้อ, ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย 5 ข้อ, แบบสอบถามภาวะสุขภาพในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย 15 ข้อ ด้านจิตใจ 11 ข้อ ด้านสังคม 8 ข้อ ด้านจิตวิญญาณ 20 ข้อ โดยเครื่องมือมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ
    - ไม่ได้บอกจุดแข็ง จุดอ่อนและเหตุผลของการเลือกเครื่องมือ
    - เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษา
    - เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับตัวอย่างทุกคนเหมือนกัน
    - ได้รายงานความตรงของเครื่องมือ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน
    - ได้รายงานค่าความเชื่อมั่น โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ 0.81
    - ไม่ได้บอกวิธีการใช้เครื่องมือ

    12. วิธีการรวบรวมข้อมูล
    - เก็บข้อมูลโดยการสอบถามผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และในบางครั้งได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ดูแลหลัก
    - วิธีการเก็บข้อมูลเหมาะสมกับงานวิจัย
    - ไม่ได้ชี้แจงขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลมี่ชัดเจนสำหรับตัวอย่างทุกคน
    - ผู้วิจัยและผู้ช่วยผู้วิจัยที่ผ่านการเตรียมความพร้อมจากผู้วิจัยและมีความเข้าใจในการใช้เครื่องมือเป็นอย่างดี
    - ไม่ได้แสดงว่าข้อมูลรวบรวมในสถานการณ์ใด มีความกดดันไหม มีคนอื่นในขณะเก็บข้อมูลไหม

    13. การวิเคราะห์ข้อมูล
    - เลือกใช้สถิติได้เหมาะสมกับระดับข้อมูลประชากร
    - การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถตอบวัตถุประสงค์ / ทดสอบสมมติฐานครบถ้วน
    - มีการนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจน นำเสนอในรูปแบบตารางและพรรณนา
    - ในการทดสอบสมมติฐานมีการกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ < .001
    - การนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตาราง มีลักษณะการนำเสนอที่เหมาะสม

    14. การอภิปรายผลและการสรุป
    - มีการอภิปรายผลโดยแสดงเหตุผลของผลการวิจัยว่าทำไมการเปลี่ยนผ่านจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพ
    - มีการนำผลงานวิจัยอื่น แนวคิด ทฤษฎีมาใช้ประกอบการอภิปรายผล
    - สะท้อนให้เห็นว่าผลการวิจัยเป็นไปตามที่คาดหวัง เพราะภาวะสุขภาพ่างด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก
    - มีการสรุปผลการวิจัยที่ชัดเจน ตอบคำถามการวิจัย / นำเสนอผลการทดสอบสมมติฐานที่เหมาะสม
    - ไม่ได้ระบุจุดอ่อน / ข้อจำกัดของการวิจัยนี้

    15. ข้อบ่งชี้ ข้อเสนอแนะ
    - มีการเสนอข้อบ่งชี้ในการนำผลการวิจัยไปใช้ในทางคลินิก
    - ให้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
    1. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ทำให้ผู้สูงอายุสตรีที่มีภาวะข้อสะโพกหักมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม
    2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสำคัญในการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุผ่านช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน
    3. ศึกษาวิจัยพัฒนาโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพในช่วงการเปลี่ยนผ่าน

    16. เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม
    - เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมครอบคลุมเอกสารที่อ้างอิงในส่วนเนื้อหา
    - เขียนรูปแบบที่กำหนดของแบบอ้างอิง

    ตอบลบ


  5. 17. อื่นๆ
    - เขียนกระชับ ชัดเจน เป็นระบบ เขียนถูกตามหลักภาษา รูปประโยค วรรคตอน และเขียนเชิงวิชาการ
    - ตีพิมพ์วารสารเป็นที่ยอมรับ
    - ผู้วิจัยเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องที่วิจัย
    แนวทางการประเมินรายงานวิจัย
    1. คำถามการวิจัย
    - ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน ไม่มีการะบุตัวแปรที่ชัดเจน
    ข้อเสนอแนะ
    - คำถามการวิจัย คือ การเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณอย่างไร
    - ตัวแปรการวิจัย
    ตัวแปรต้น คือ การเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    ตัวแปรตาม คือ การเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    - ประชากรที่ศึกษา ระบุไว้ชัดเจน คือ ผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    - งานวิจัยสามารถตอบคำถามการวิจัยครบถ้วน
    2. ผู้ให้ข้อมูล
    - มีการระบุลักษณะและวิธีการได้มาของผู้ให้ข้อมูลแต่ไม่ชัดเจน ควรระบุวิธีการเก็บข้อมูลที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ชัดเจนกว่านี้
    - จำนวนประชากรของผู้ให้ข้อมูลไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเหมาะสมหรือเปล่าเพราะไม่ทราบจำนวนประชากรทั้งหมด ควรระบุให้ชัดเจนเพื่อจะได้วิเคราะห์ว่าควรมีกลุ่มตัวอย่างเท่าไร
    3. การวิเคราะห์ข้อมูล
    - กลยุทธ์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
    - ไม่ได้ระบุรายละเอียดการบันทึกลงรหัสข้อมูล
    - แก่นเนื้อหาสัมพันธ์กับข้อมูลสนับสนุน
    4. การประเมินการยืนยันผลการวิจัย
    - ความเชื่อถือได้ ไม่ได้ระบุว่าผู้ให้ข้อมูลได้ตรวจสอบผลการวิจัยสะท้อนประสบการณ์ที่แท้จริงหรือไม่
    - การตรวจสอบ ไม่ทราบว่ามีผู้ติดตามในการเก็บข้อมูลหรือไม่
    - ไม่ได้กล่าวว่ามีการนำไปอ้างอิง / สอดคล้องผลการวิจัยในสถานการอื่นๆ

    ตอบลบ
  6. การวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัย...


    สรุปได้ดังนี้
    1. การตั้งชื่อเรื่อง ซึ่งการตั้งชื่อเรื่องที่ดีต้องพิจารณาว่ามีความเป็นกลางหรือไม่ และชื่อเรื่องที่ตั้งกว้างเกินไปหรือไม่
    2. การระบุปัญหาการวิจัย จะต้องมีความถูกต้องและชัดเจน
    3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย ควรเขียนเป็นประโยคบอกเล่าและต้องให้
    สอดคล้องกับประเด็นปัญหาของการวิจัย การพิจารณาความสอดคล้อง ของวัตถุประสงค์การวิจัย มีดังนี้
    2
    3.1 วัตถุประสงค์ที่กำหนดสอดคล้องกับปัญหาของการวิจัยหรือไม่
    3.2 วัตถุประสงค์สอดคล้องกับรูปแบบการวิจัยหรือไม่
    3.3 วัตถุประสงค์กำหนดรูปแบบการวิจัยหรือไม่
    3.4 ถ้อยคำที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์มีความหมายชัดเจนและกระชับหรือไม่
    4. สมมุติฐานการวิจัย เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยต้องศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เป็นหลักการ หรือการอ้างอิงเชิงทฤษฏี และงานวิจัยต่าง ๆ และการตั้งสมมุติฐานของการวิจัยขึ้นอยู่กับรูปแบบของการวิจัย
    5. การกำหนดตัวแปรที่ศึกษา การหาค่าตัวแปรที่กำหนดให้สอดคล้องกับสมมุติฐาน ซึ่งสิ่งที่ควรพิจารณา ได้แก่
    5.1 ผู้วิจัยได้ระบุตัวแปรอย่างชัดเจนหรือไม่
    5.2 มีการนิยามศัพท์ของตัวแปรได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ทำให้สามารถวัดตัวแปรได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่
    5.3 ตัวแปรมีการกำหนดให้สอดคล้องกับสมมุติฐานของการวิจัยหรือไม่ ครอบคลุมกับประเด็นที่ศึกษาหรือไม่
    5.4 ตัวแปรที่กำหนดได้มาจากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องหรือไม่
    6. การออกแบบการวิจัย สิ่งที่ควรพิจารณา
    6.1 การออกแบบงานวิจัยนั้น ทำให้ได้แนวทางการวิจัยที่จะได้คำตอบตรงประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัยหรือไม่
    6.2 การออกแบบการวิจัยนั้นทำให้ได้ผลงานวิจัยที่มีความตรงทั้งความตรงภายใน(Internal validity) และความตรงภายนอก (External validity) หรือไม่
    7. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ต้องอาศัยหลัก 2 ประการ ได้แก่
    7.1 เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดี
    ของประชากรที่จะศึกษา
    7.2 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีขนาดพอเหมาะทั้งในด้านทฤษฎี และในด้านการปฏิบัติ

    ตอบลบ
  7. 8. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างเครื่องมือเพื่อใช้วัดตัวแปรที่กำหนดไว้จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และสมมุติฐานของการวิจัย โดยพิจารณาได้จาก
    8.1 เครื่องมือที่ใช้วัดเป็นชนิดใด เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษาหรือไม่
    8.2 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือถูกต้องหรือไม่ และเครื่องมือที่นำมาได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพหรือไม่ ผลการตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างไร มีความน่าเชื่อถือเพียงใด ทั้งความตรง และความเที่ยง ผู้วิจัยได้ระบุไว้ชัดเจนเพียงใด
    8.3 คำถามในเครื่องมือถูกจัดไว้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษาหรือไม่ ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดหรือไม่
    8.4 การให้นิยามตัวแปรเพื่อสร้างเครื่องมือวัดนั้นมีความชัดเจนหรือไม่
    8.5 เมื่อนำเครื่องมือไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย มีผลการใช้เป็นอย่างไร
    9. การวิเคราะห์ข้อมูล ในการจัดกระทำหรือวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องนำสถิติมาเป็นมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยสถิติบรรยาย และสถิติอนุมาน
    10. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ต้องพิจารณา ดังนี้
    10.1 การเขียนคำบรรยายประกอบตารางหรือกราฟ จะต้องระบุจุดเด่นและจุดที่ด้อยที่สุดของข้อมูล รวมทั้งจุดที่น่าสนใจอื่น ๆ การเขียนต้องเขียนตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏเท่านั้น ส่วนในสถิติอนุมานจะต้องระบุผลการทดสอบว่าพบนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ที่ระดับนัยสำคัญเท่าไร
    10.2 ลำดับของการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ควรเรียงลำดับ ดังนี้
    1) ตารางที่แสดงถึงข้อมูลเบื้องต้นและส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่าง เช่น
    เพศ อายุ ฯลฯ
    2) ตารางแสดงลักษณะของตัวแปรต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมมา
    3) ตารางแสดงผลการวิเเคราะห์ข้อมูลตามลำดับของสมมุติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ รูปแบบของตารางสอดคล้องกับสถิติที่ใช้หรือไม่
    11. การอภิปรายผลการวิจัย หมายถึง การตีความและประเมินข้อค้นพบหรือผลที่ได้จากการวิจัย และยืนยันความสอดคล้อง หรือความแตกต่างระหว่างข้อค้นพบกับสมมุติฐานการวิจัย อธิบายและเปรียบเทียบข้อค้นพบที่ได้กับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องหรือผลการวิจัยที่ผ่านมาที่ผู้วิจัยได้นำมากล่าวไว้ในวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ว่า ข้อค้นพบที่ได้เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนทฤษฎีและผลการวิจัยหรือไม่ อย่างไร
    ซึ่งควรพิจารณา ดังนี้
    11.1 เขียนตอบวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน ในกรณีที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์มากกว่า 1 วิธี อาจต้องสังเคราะห์เนื้อหาในบทนำและบทวิเคราะห์ข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อยืนยันสมมุติฐานการวิจัยเพียงสมมุติฐานเดียว
    11.2 อธิบายข้อค้นพบที่ได้ว่า สอดคล้องหรือแตกต่างจากทฤษฎี แนวคิด และผลงานการวิจัยเดิมอย่างไร อาจอธิบายรวมไปถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ
    เลือกตัวแปรและอื่น ๆ
    11.3 ชี้จุดอ่อนของการวิจัยที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด วิธีดำเนินการวิจัย ซึ่งได้แก่ การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ ฯลฯ หรือตัวแปรแทรกซ้อน
    11.4 กล่าวถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากข้อค้นพบ เช่น การนำผลไปเป็นแนวทางการกำหนดหรือนำผลไปปรับปรุงงานวิจัย หรือผลที่ได้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในเรื่องนั้น ๆ อย่างไร
    ในการอภิปรายผลการวิจัย อาจมีข้อบกพร่องหลายเรื่อง ดังนี้
    1) สมมุติฐานไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้มีการนำมาอภิปรายหรือไม่
    2) ข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนของการดำเนินการวิจัยได้ถูกนำมาอภิปราย
    รวมกับผลของการวิจัยหรือไม่
    3) การอภิปรายนั้นสอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัยหรือไม่
    4) การอภิปรายนั้นเกินขอบเขตของข้อค้นพบหรือไม่
    5) การอภิปรายนั้นได้นำเอาผลของการวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้มีผู้ทำมา
    แล้วมาร่วมอภิปรายด้วยหรือไม่ ชัดเจนเพียงไร
    6) ในกรณีที่นำเครื่องมือของผู้อื่นมาใช้ ผู้วิจัยได้อภิปรายถึงผลการใช้หรือไม่ เครื่องมือนั้นส่งผลต่อการวิจัยอย่างไร

    ตอบลบ
  8. 12. การสรุปผลการวิจัย เป็นการเขียนสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเขียนสรุปตามลำดับของวัตถุประสงค์และสมมุติฐานของการวิจัย ในการเขียนควรเขียนให้ได้ใจความ เลือกใช้ถ้อยคำที่กระชับ ชัดเจน ตรงไปตรงมา การสรุปนั้นต้องยึดถือข้อเท็จจริงที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ไม่เพิ่มเติมความคิดเห็นของผู้วิจัย ซึ่งผู้อ่านควรพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
    12.1 สรุปผลได้ตรงประเด็นกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และสามารถตอบคำถามได้อย่างครอบคลุมหรือไม่ และผลการสรุปนั้นนำไปสู่การยอมรับหรือการ
    ปฏิเสธสมมุติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้อย่างชัดเจนเพียงใด
    12.2 การสรุปผลและการตีความนั้นได้มาจากข้อมูลที่ได้จากการวิจัย หรือสรุปจากความคิดเห็นของผู้วิจัยเอง การสรุปตรงกับข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้เพียงใด
    13. การนำเสนอผลการวิจัย ผู้อ่านควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
    13.1 รูปแบบการนำเสนอถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับตามระเบียบวิธีวิจัย
    13.2 การเรียบเรียงเนื้อหา ใช้ภาษาที่ชัดเจน กระชับหรือไม่ ความคงที่
    ของการใช้ศัพท์หรือถ้อยคำมีหรือไม่
    14. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่ผู้วิจัยจะดำเนินการวิจัยในเรื่องใด ๆ จะต้องศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ เพื่อศึกษาถึงทฤษฎี แนวคิด หรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือที่สนับสนุนประเด็นต่าง ๆ ที่จะศึกษา การ
    ศึกษาค้นคว้าเหล่านี้จะช่วยให้ผู้วิจัยสร้างกรอบความคิดของการวิจัยของตนเองได้อย่างชัดเจนและรัดกุมยิ่งขึ้น ซึ่งประเด็นที่ผู้อ่านงานวิจัยควรจะต้องนำมาพิจารณา มีดังนี้
    14.1 สิ่งที่นำมากล่าวอ้างนั้นเกี่ยวข้องกับงานวิจัยหรือไม่
    14.2 มีความทันสมัยหรือไม่ มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงใด
    14.3 การเรียบเรียงง่ายต่อการอ่าน หรือทำความเข้าใจของผู้อ่านโดยทั่วไปหรือไม่
    14.4 ผู้วิจัยได้นำแนวคิดต่าง ๆ เหล่านั้นมาสู่กรอบความคิดในการทำการวิจัยของผู้วิจัยหรือไม่ อย่างไร
    14.5 ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีความสอดคล้องกับงานวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งไว้หรือไม่
    15. การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรพิจารณาจาก
    15.1 ความเที่ยงตรงภายใน คือ ความถูกต้องของผลการวิจัยซึ่งเกิดจากกระบวนการวิจัยที่ถูกต้องเหมาะสม
    15.2 ความเที่ยงตรงภายนอก คือ ความสามารถที่นำผลการวิจัยนั้ยไปใช้ได้ในสภาพการณ์ที่ผู้วิจัยทำการวิจัย


    ตอบลบ
  9. แนวทางการวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัยหรือการวิพากษ์งานวิจัย


    ประเด็นแรก คือ
    ชื่อเรื่องงานวิจัย สิ่งที่ต้องพิจารณาและสังเกตคือ

    1. สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องที่ทำวิจัยหรือไม่ หรือวิพากษ์โดยพิจารณาว่ามีองค์ประกอบ 4 ประการตามแนว SOSE หรือไม่ คือ เรื่องที่จะวิจัย (Subject) สิ่งหรือผู้ที่ถูกวิจัยหรือกลุ่มตัวอย่าง (Object) เช่น นักเรียน เครื่องมือ หรือต้นแบบชิ้นงานวิจัย สถานการณ์ บริบท หรือสภาพแวดล้อมที่จะวิจัย (Setting) ได้แก่ ห้องเรียน โรงเรียน และผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัย (Effects) เช่น ประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ เป็นต้น
    2. ข้อความกระชับหรือไม่
    3. มีการระบุตัวแปรที่สำคัญหรือไม่
    4. มีการระบุประชากรที่ศึกษาหรือไม่
    5. มีการระบุสถานที่ศึกษาหรือไม่
    6. สะท้อนแนวทางวิธีการศึกษาและวิเคราะห์หรือไม่

    บทคัดย่อ Abstract
    1. มีการกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธี ผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะหรือไม่
    2. มีจำนวนคำและความยาวที่เหมาะสมหรือไม่
    3. กระชับและชัดเจนหรือไม่
    4. สะท้อนเรื่องที่ศึกษาหรือไม่

    ปัญหาการวิจัย Research Problem
    1. ปัญหาการวิจัยมีเขียนไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ มีการกล่าวถึงในส่วนเริ่มต้นของรายงานวิจัยหรือไม่ มีการเขียนแบบข้อคำถาม หรือเป็นประโยคบอกเล่า
    2. มีข้อสนับสนุนความเป็นมาความสำคัญหรือความรุ่นแรงของปัญหาหรือไม่
    3. มีการกล่าวถึงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และมีการชี้ให้เห็นไม่ว่างานวิจัยนี้ เหมือนหรือต่างจากเรื่องอื่นอย่างไร หรืองานงานวิจัยนี้จะเติมช่องว่างของความรู้ได้อย่างไร
    4. มีการระบุตัวแปรหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่จะศึกษาหรือไม่
    5. มีการระบุธรรมชาติของประชากรที่ศึกษาหรือไม่
    6. มีการมองปัยหาภายใต้บริบทของกรอบแนวคิดทฤษฏีที่เหมาะสมหรือไม่
    7. ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการศึกษาปัญหานี้มีความสำคัญอย่างไรต่อการปฏิบัติการพยาบาล การสร้างองค์ความรู้หรือประเด็นอื่น
    8. มีความสอดคล้องของคำถามงานวิจัยและ/หรือสมมติฐานงานวิจัย กับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

    โดยพิจารณาดูว่ามีความชัดเจนมากน้อยเพียงใด ความสำคัญของปัญหาอยู่ในขอบเขตของหัวข้อเรื่องหรือไม่ ผู้วิจัยได้นำความรู้ทางทฤษฎีมาเป็นกรอบแนวคิดในการกำหนดปัญหาหรือไม่ นอกจากนี้สามรถพิจารณาว่ามีองค์ประกอบ 5 ส่วน หรือ IPESA หรือไม่ ได้แก่

    ส่วนที่ 1 สภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับเรื่องที่จะวิจัย (Ideal Situation – I)

    ส่วนที่ 2 สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Present Conditions-P)

    ส่วนที่ 3 ปัญหาที่เกิดขึ้น (Existing Problems-E)

    ส่วนที่ 4 ความพยายามในการแก้ปัญหา โดยยกตัวอย่างงานวิจัยหรือผลงานที่ได้ดำเนินมาแล้ว (Solution-S)

    ส่วนที่ 5 แนวทางที่ผู้วิจัยคิดจะดำเนินการวิจัยเพื่อช่วยแก้ปัญหา หรือคิดค้นเทคนิควิธีการใหม่ที่จะทำให้การดำเนินงานดีขึ้น (Aims of Research-A)
    ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์การวิจัย Purpose,Objective,Aim

    ตอบลบ
  10. การวิพากษ์ความมุ่งหมายของการวิจัย

    ความมุ่งหมายให้ขึ้นต้นด้วย “เพื่อ……….” แล้วตามด้วย คำกริยาบอกสิ่งที่จะดำเนินการและตามติดด้วยชื่อหัวข้อการวิจัย และพิจารณาว่ามีการจำแนกเป็นข้อ ๆ ตามประเด็นปัญหาตามแนวทางการทดสอบประสิทธิภาพ ตามองค์ความรู้ของเรื่องที่จะวิจัย และรายละเอียดของตัวแปร โดยพิจารณาได้ดังนี้

    1. มีความเหมาะสมกับเรื่องที่วิจัยหรือไม่
    2. เขียนชัดเจนหรือไม่ว่าผู้วิจัยมีแผนจะทำอะไร จะเก็บข้อมูลจากใคร ที่ไหน

    การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง Review of literature
    1. เป็นการศึกษาอย่างขว้างขวางลึกซึ้งเกี่ยวข้องและครอบคลุมตัวแปรต่างๆที่วิจัยหรือไม่
    2. นำเสนอต่อจากบทนำและปัญหาการวิจัยหรือไม่
    3. ให้ความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่มีอยู่ ช่องว่างของความรู้ และบทบาทของงานวิจัยเรื่องนี้ในการขยายหรือทดสอบความรู้หรือไม่
    4. มีการใช้ข้อมูลทั้งเชิงทฤษฏีและงานวิจัยหรือไม่
    5. แหล่งอ้างอิงส่วนใหญ่เป็นปฐมภูมิ หรือ ทุติยภูมิ มีความเป็นปัจจุบันหรือไม่
    6. แหล่งอ้างอิงสำคัญหรือข้อมูลสำคัญ มีการกล่าวไว้ถึงครบถ้วนหรือไม่
    7. การเขียนเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องหรือไม่ น่าอ่าน น่าติดตามหรือไม่
    8. การเขียนเรียบเรียงใหม่โดยใช้ภาษาตนเอง หรือเป็นการคัดลองคำพูดมาจากแหล่งปฐมภูมิโดยตรง
    9. สะท้อนอคติของผู้วิจัยหรือไม่
    10. มีการเขียนเชิงวิพากษ์ เปรียบเทียบหรือไม่
    11. มีการสรุปสถานภาพองค์ความรู้ในหัวข้อนั้น State of the art หรือไม่
    12. กำหนดความมุ่งหมายถูกต้องหรือไม่
    13. มีการจำแนกเป็นข้อ ๆ ตามประเด็นปัญหาหรือไม่

    การวิพากษ์สมมติฐานการวิจัย วิพากษ์ดังนี้

    1 ความสอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย
    2 ความสามารถทดสอบได้ด้วยเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้
    3 ความถูกต้องในการเขียนต้องเขียนด้วยข้อความที่เป็นปรนัยบนกรอบทฤษฏีหรือผลงานที่ผ่านมาทำให้สมมติฐานมีความน่าจะเป็นไปได้

    คำจำกัดความ Definition
    1. มีการให้ความหมายตัวแปรสำคัญๆในเชิงปฏิบัติการที่สอดคล้องกับความหมายเชิงทฤษฏีหรือไม่
    2. มีการให้ความหมายตัวแปรสำคัญครบถ้วนหรือไม่
    3.คำจำกัดความมีคำที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัยและขอบเขตการวิจัยครบถ้วนและเหมาะสมหรือไม่
    4.การเขียนคำจำกัดความต้องเขียนในรูปนิยามเชิงปฏิบัติการ มิใช่เขียนอย่างเล่นสำนวน

    กรอบแนวคิดทฤษฏี
    1. มีการระบุกรอบแนวคิดทฤษฏีอย่างชัดเจนหรือไม่
    2. แนวคิด ทฤษฏี สอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษาหรือไม่
    3. ให้ความหมายของตัวแปรสำคัญอย่างชัดเจนหรือไม่
    4. สมมุติฐานได้มาจากกรอบแนวคิดทฤษฏีหรือไม่
    5. มีการระบุข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือไม่
    6. การใช้เแนวคิด ทฤษฏี มีความสม่ำเสมอตลอดงานวิจัยหรือไม่
    7. ทฤษฏีที่ใช้มาจากศษสตร์ทางการพยาบาลหรือสาขาวิชาใด หรือเป็นแนวคิดที่เกิดจากการผสมผสานงานวิจัยและทฤษฏีต่างๆ



    ตอบลบ
  11. การวิพากษ์ขอบเขตการวิจัย ไว้วิพากษ์ดังนี้

    1. ความเหมาะสมในการกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ต้องกำหนดว่าประชากรคือใคร อยู่ที่ไหน จะใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างเมื่อไร จำนวนเท่าใด ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบใดจึงจะเป็นตัวแทนของประชากร
    2. การกำหนดของข่ายเนื้อหาสาระของเรื่องที่จะทำการวิจัยมีความเหมาะสมและชัดเจนเพียงใด
    3. การกำหนดระยะเวลา/ช่วงเวลาที่จะดำเนินการวิจัย ได้กำหนดระยะเวลาที่คาดว่าจะเริ่มและยุติการวิจัย และช่วงเวลาที่จะใช้ในการดำเนินกิจกรรมการวิจัยตามขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
    4. การกำหนดเครื่องมือวิจัย เหมาะสมตามประเภทของเครื่องมือวิจัยทั้ง 5 (PACIS) หรือไม่ คือ
    •1) เครื่องมือที่เป็นต้นแบบงานวิจัย (Prototype)
    •2) เครื่องมือวัดคุณลักษณะกลุ่มตัวอย่าง (Attributes of Samples)

    •3) เครื่องมือประเมินสถานการณ์และบริบท (Context)

    •4) เครื่องมือประเมินผลกระทบ (Impacts)

    •5) เครื่องมือทางสถิติ (Statistic)

    เครื่องมือการวิจัย
    1. มีการระบุเครื่องมือ แหล่งที่มา วัตถุประสงค์ ลักษณะ จุดแข็ง จุดอ่อน ของเครื่องมือครบถ้วนหรือไม่ มีการให้เหตุผลเรื่องการเลือกเครื่องมือหรือไม่
    2. เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษา ประชากรหรือไม่
    3. มีวิธีการใช้เครื่องมือกับตัวอย่างทุกคนเหมือนกันหรือไม่
    4. ได้รายงานความตรงของเครื่องมือหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่
    5. ได้รายงานค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือหรือไม่ว่าทำอย่างไร ค่าเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่
    6. ถ้าผู้วิจัยสร้างเครื่องมือเอง มีการอธิบายที่มา/แนวคิดของการสร้างเครื่องมือว่าอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร ค่าความตรงและค่าความเชื่อมั่นเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่
    7. เครื่องมือแต่ละชนิดมีการควบคุมคุณภาพ วิธีการใช้ที่เหมาะสมหรือไม่
    แบบสังเกต ใครสังเกต มีคู่มือไหม มีการฝึกหรือไม่ การสัง้กตมีผลต่อการวิจัยไหม
    แบบสัมภาษณ์ ใครสัมภาษณ์ ข้อความที่ใช้ ภาษา ระยะเวลา เหมาะสมหรือไม่
    แบบสอบถาม เนื้อหาครอบคลุมหรือไม่ มีความชัดเจนหรือไม่ เป็นคำถามปลายปิด หรือปลายเปิด
    เครื่องมือวัด ทำไมจึงใช้เครื่องมือนั้น มีวิธีควบคุมความถูกต้องแม่นตรง และความไวของเครื่องมืออย่างไร

    วิธีการรวบรวมข้อมูล Data collection procedure หรือ การดำเนินการวิจัย ให้วิพากษ์ในประเด็นต่อไปนี้

    1.ความเหมาะสมของรูปแบบการวิจัย ที่อิงรูปแบบหลักของการวิจัยว่าเป็นการวิจัยเชิงทดลอง เชิงพรรณนา หรือเชิงคุณภาพ
    2. ความเหมาะสมของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ให้ดูวิธีการได้มาว่ามีการระบุประชากรว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน จำนวนเท่าใด มีคุณลักษณะเด่นอย่างไร ส่วนกลุ่มตัวอย่างดูว่ามีการระบุวิธีสุ่มตัวอย่าง จำนวนที่ต้องใช้ และเหตุผลประกอบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนประชากรได้จริงหรือไม่
    3. ความถูกต้องของตัวแปรการวิจัย ให้ดูว่ามีการระบุประเภทตัวแปรที่เกี่ยวข้องการวิจัย
    4. ความเหมาะสมและความสมบูรณ์ของเครื่องมือวิจัยที่ต้องสอดคล้องกับประเภทของการวิจัย การดำเนินการสร้างเครื่องมือ และลักษณะของเครื่องมือเหมาะสมหรือไม่ อาจจะพิจารณาเครื่องมือวิจัย 5 ประเภท คือ

    4.1. เครื่องมือที่เป็นต้นแบบชิ้นงาน (P)

    4.2. เครื่องมือที่ใช้จำแนกหรือประเมินคุณลักษณะกลุ่มตัวอย่าง (A)

    4.3. เครื่องมือประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม (C)

    4.4. เครื่องมือประเมินผลกระทบ (ผลลัพธ์) (I)

    4.5. เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล แปลผล หรือสรุปผล (S)

    5. ข้อมูลมีการรวบรวมอย่างไร มีกี่วิธี
    6. วิธีรวบรวมข้อมูลมีความเหมาะสมกับการวิจัยหรือไม่
    7.มีขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนสำหรับตัวอย่างทุกคนหรือไม่
    8. ใครรวบรวมข้อมูล ผู้รวบรวมข้อมูลมีความเหมาะสมหรือไม่ ได้รับการฝึกอบรมอย่างไร
    9. ข้อมูลรวบรวมในสถานการณ์เช่นไร มีความกดดันไหม มีคนอื่นอยู่ในขณะเก็บข้อมูลไหม ผู้ให้ข้อมูลมีความเสี่ยงหรือไม่

    การวิเคราะห์ข้อมูล Data analysis
    1. เลือกใช้สถิติที่เหมาะสมหรือไม่กับระดับข้อมูลประชากร
    2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ หรือทดสอบสมมุติฐานครบถ้วนหรือไม่
    3. มีการนำเสนอข้อมูลชัดเจนหรือไม่ นำเสนอรูปแบบต่างๆหรือไม่
    4. ในการทดสอบสมมุติฐานมีการกำหนดระดับความนัยสำคัญหรือไม่
    5. ถ้าใช้กราฟ ตาราง มีการนำเสนอที่เหมาะสม หรือไม่ ให้ข้อมูลเสริม เพื่อลดการบรรยายหรือไม่ มีชื่อตาราง หัวตารางที่ถูกต้องหรือไม่ ซ้ำซ้อนกับเนื้อหา การบรรยายในรายงานหรือไม่



    ตอบลบ
  12. การอภิปรายผลและการสรุปผล Discussion conclusion

    ให้พิจารณาจากการนำเสนอผลการวิจัย ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สมมติฐาน และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดและได้มาจากข้อมูลของการวิจัยนั้นหรือไม่ เช่น

    1. มีการอภิปรายผลโดยแสดงเหตุผลของผลการวิจัยว่าทำไมจึงเกิดเช่นนั้นหรือไม่
    2. มีการนำผลการวิจัยอื่น แนวคิด ทฤษฏีที่อ้างไว้มาใช้ประกอบการอ๓ปรายผลหรือไม่ อย่างไร
    3. สะท้อนให้เห็นว่าผลการวิจัยเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ เพราะเหตุใด
    4. มีกาสรุปผลการวิจัยที่ชัดเจน ตอบคำถามการวิจัย หรือนำเสนอผลการทดสอบสมมุติฐานหรือไม่
    5. มีการระบุจุดอ่อน หรือข้อจำกัด Limitation ของการวิจัยครั้งนี้หรือไม่ ว่าอย่างไร ประโยชน์ของการวิจัยว่าอย่างไร เหมาะสมชัดเจนหรือไม่

    ข้อบ่งชี้ ข้อเสนอแนะ Implication,Recommendation
    1. มีการเสนอข้อบ่งชี้ในการนำผลการวิจัยไปใช้คลินิกหรืออื่นๆหรือไม่
    2. ให้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปว่าอย่างไร สอดคล้องกับงานวิจัยหรือไม่
    เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม Reference,Bibliography
    1. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมครอบคลุมเอกสารที่อ้างอิงในส่วนเนื้อหาหรือไม่
    2. เขียนตามรูปแบบที่กำหนดของแบบอ้างอิงนั้นๆหรือไม่

    อื่นๆ
    1. เขียนกระชับ ชัดเจน เป็นระบบหรือไม่ เขียนถูกต้องตามหลักภาษา รูปประโยควรรคตอนหรือไม่
    2. เขียนเชิงวิชาการหรือไม่
    3. ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่
    4. ผู้วิจัยเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องที่วิจัยหรือไม่
    5. งานวิจัยชิ้นนี้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สมมติฐานและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและมีความเป็นไปได้สูงซึ่งได้นำข้อมูลของการวิจัยนั้นมาใช้ได้จริง
    6. ความถูกต้องและความชัดเจนของภาษา
    7. การลำดับความคิดและเนื้อหา
    8. วรรณคดีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีความเกี่ยวข้องและครอบคลุมหัวเรื่อง
    9. ความสามารถในการพัฒนา Conceptual framework หรือ Theoretical framework จากวรรณคดีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    10. การลำดับความคิดและเนื้อหาที่นำเสนอ
    11. ความทันสมัยของวรรณคดีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    12. วิธีดำเนินการวิจัยเหมาะสม ถูกต้องและชัดเจน สามารถตอบคำถามและ/หรือทดสอบสมมติฐาน
    13. เครื่องมือวิจัยถูกต้องและมีคุณภาพตามลักษณะของตัวแปร
    14. ความเหมาะสมในการควบคุมตัวแปร
    15. การเก็บรวบรวมข้อมูลถูกต้อง
    16. การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
    17. สถิติที่ใช้ถูกต้องเหมาะสม


    ที่มา :: http://www.weeonline.in.th/wee4life/?p=1478


    ตอบลบ