ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

16 สิงหาคม 2564

ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) คืออะไร?

 Professional Learning Community (PLC) คืออะไร


ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) คืออะไร?






แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)

 

1. ความเป็นมาของชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC)

ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพหรือ Professional Learning Community (PLC) เป็นชุมชนที่ช่วยเติมองค์ความรู้ของบุคคลในกลุ่ม และสร้างความมั่นใจในการทำงาน ให้ประสบผลสำเร็จตามเจตจำนงค์ของการปฏิบัติงาน โดยมีนักวิชาการหลายท่าน กล่าวถึงความเป็นมาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพไว้ ดังนี้

เสถียร อ่วมพรหม (2560) กล่าวว่า เหตุผลที่องค์กรจำเป็นที่ต้องมีการเรียนรู้เนื่องมาจากระดับคุณภาพของการปฏิบัติงานและต้องมีการปรับปรุงงานอยู่เสมอ ต้องอาศัยการเรียนรู้เป็นฐานที่สำคัญยิ่ง ประกอบกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนส่วนใหญ่ยังมีแนวทางสู่ความสำเร็จของตนเอง ตลอดจนแนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติงานก็ยังขาดความชัดเจน ที่สำคัญหัวใจในการปฏิบัติงานนั้น มาจากฐานความเชื่อที่ว่าศักยภาพอันมหาศาลที่ซ่อนอยู่ภายในบุคคลและบุคคลนั้นยังไม่ได้รับการพัฒนา และปฏิบัติกับองค์กรเท่าที่ควร ดังนั้น ด้วยความเชื่อดังกล่าวจึงเชื่อมั่นได้ว่าถ้าบุคคลทั้งหมดในองค์กรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ และได้ใช้ศักยภาพสูงสุดเท่าที่ตนมีเพื่อนในการปฏิบัติงานภายใต้การมีวิสัยทัศน์เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของตัวบุคคล องค์กรที่สอดคล้องกัน สมาชิกแต่ละคนก็จะทุ่มเทและปลดปล่อยศักยภาพที่ตนมีสูงสุดนั้นให้กับงานที่ทำอย่างเต็มที่ในที่สุด

นริศ ภูอาราม (2560) ได้ให้แนวคิดว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ของนักเรียนมากกว่าการสอนของครู มีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. การสร้างความมั่นใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเกิดจากสมมติฐานที่ว่า ภารกิจหลักของการศึกษาในโรงเรียนไม่ได้เพียงนักเรียนได้รับการสอนแต่เป็นการทำให้นักเรียนเกิดการ

2. วัฒนธรรมของการทำงานร่วมกัน การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพนั้นต้องมีโครงสร้างที่ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้สำหรับทุกคน

3. มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพประเมินประสิทธิภาพได้จากผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย การปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

วรลักษณ์ ชูกำเนิด (2557) กล่าวว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพมีแนวคิดมาจากอุปมาให้ “โรงเรียน” เป็น “องค์กร” นั้นคงไม่เหมาะแต่แท้จริงแล้วโรงเรียนมีความเป็น “ชุมชน” มากกว่า ซึ่งองค์กรซึ่งเป็นชุมชนที่มีความแตกต่างกัน และเป็นชุมชนมีความผูกพันร่วมกันของทุกคนที่เป็นสมาชิกแตกต่างจากองค์กร คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่เป็นลักษณะยึดลำดับการลดหลั่นอำนาจกันลงมา

เรวณี ชัยเชาวรัตน์ (2556) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ว่าหมายถึง กระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมกันเพื่อทางานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมกันวางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และตรวจสอบ สะท้อนผลการปฏิบัติทั้งในส่วนบุคคลและผลที่เกิดขึ้นโดยรวม ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์วิจารณ์ การทางานร่วมกัน การร่วมมือรวมพลัง โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม

พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ (2555) ได้ให้ความหมาย ชุมชนการเรียนรู้ ไว้ว่าเป็นชุมชนสายจิตปัญญาศึกษา ที่มองหาคนที่มีความคิดเหมือนกันใช้พื้นที่ (Space) ในการสร้างชุมชนที่รองรับความหลากหลายของปัจเจกบุคคล การสร้างชุมชนทำให้เกิดความภูมิใจที่ได้ทำด้วยตนเอง เป็นเหมือน (Container) ที่ทำให้เติมเต็ม คนที่ฝึกฝนเรื่องนี้ จะมีความโดดเดี่ยวค่อนข้างมาก ไม่เป็นเป้าประสงค์ในการประสบความสำเร็จหรือมีอะไรเหมือนคนอื่น หากเพียงอยากรู้ว่ามีอะไรในตัวเราซึ่งจะนำไปสู่การเกิดคุณค่าที่แท้จริงในตัวเรา (Individuality) เป็นตัวของตัวเรา ชุมชนต้องมีพื้นที่ให้มากเพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้ค้นหาตัวเอง ได้มีแนวทางของตนเองเห็นคุณค่าในตัวเองชุมชนควรมีการเดินทางเป็นที่ตั้ง มีการสนทนา ไม่มีการตัดสินผิดถูก

แสงรุนีย์ มีพร (2563) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง การร่วมมือรวมพลังของครูในการทำ งานเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะต้องพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มุ่งไปสู่ความสำเร็จภายใต้เป้าหมายเดียวกัน โดย การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การร่วมมือรวมพลัง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิก ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ต้องอาศัยความซื่อสัตย์ และมีมนุษยสัมพันธ์ มีทางเลือก และมีความจริงใจ เปิดเผย มีความอดทน ความเพียรพยายาม ความมีประสิทธิภาพ และความกระตือรือร้น ซึ่งครูผู้สอนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพต้องเชื่อเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยเชื่อว่านักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ร่วมกันสะท้อนผลการปฏิบัติการสอน และร่วมกันตัดสินใจเลือกแนวทางที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด ซึ่งกระบวนการที่ใช้ในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพนั้นมีหลายกระบวนการด้วยกัน เป็นต้นว่า การจัดการความรู้ การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน กลุ่มศึกษาทั้งคณะ การชี้แนะ ระบบพี่เลี้ยง และชุมชนแห่งการปฏิบัติ ทั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสนับสนุนส่งเสริมให้ครูผู้สอนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีโอกาสสังเกตการสอน วิพากษ์วิจารณ์ และสะท้อนการปฏิบัติการสอนอย่างต่อเนื่อง จึงจะเกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพได้อย่างสมบูรณ์ อันจะส่งผลให้ครูผู้สอนเกิดการพัฒนาในวิชาชีพครูที่ยั่งยืน

วิจารณ์ พานิช (2554) ได้ให้นิยามของคำว่า ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) หมายถึง การรวมตัวกันของครูในสถานศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้ให้ศิษย์เรียนรู้ได้ทักษะ 21st Century Skills โดยที่ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการ สถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารการศึกษาระดับประเทศ เข้าร่วมจัดระบบสนับสนุน ให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อเนื่อง มีการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของศิษย์อย่างต่อเนื่อง เป็นวงจรไม่รู้จบ หรือ CQI (Continuous Quality Improvement) หรืออาจเรียกว่าเป็น R2ในวงการศึกษาก็ได้

Sergiovanni (1998) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ว่าการเปรียบเทียบให้โรงเรียนเป็นองค์การนั้น น่าจะไม่เหมาะสมและถูกต้องที่เดียวนัก โดยเขาเห็นว่าควรเป็นโรงเรียนเป็นชุมชนจะมีความเหมาะสมมากกว่าโดยเรียกร้องให้เปลี่ยนมุมมองโรงเรียนในฐานะที่เป็นองค์การแบบทางการไปสู่ความเป็นชุมชนแทนความเป็นชุมชนจะยึดโยงภายในต่อกันด้วยค่านิยม แนวคิด และความผูกพันร่วมกันของทุกคนที่เป็นสมาชิก ซึ่งเป็นแนวคิดตรงกันข้ามกับความเป็นองค์การที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในลักษณะที่ยึดตามระดับที่ลดหลั่นกันลงมามีกลไกการควบคุมและมีโครงสร้างแบบตึงตัวที่เต็มไปด้วยกฎระเบียบและวัฒนธรรมของการใช้อำนาจเป็นหลัก ในขณะที่ชุมชนใช้อิทธิพลที่เกิดจากการมีค่านิยมและวัตถุประสงค์ร่วมกัน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเชิงวิชาชีพ มีความเป็นกัลยาณมิตรเชิงวิชาการหรือวิทยสัมพันธ์ต่อกัน และยึดหลักต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้องค์การยังทำให้เกิดคุณลักษณะบางอย่างขึ้น เช่น ลดความเป็นกันเองต่อกันลงมีความเป็นราชการมากขึ้น และถูกควบคุมจากภายนอกให้ต้องรักษาสถานภาพเดิมของหน่วยงานไว้ดังนั้น ถ้ามองโรงเรียนในฐานะแบบองค์การดังกล่าวแล้ว ก็จะทำให้โรงเรียนมีความเป็นแบบทางการที่สร้างความรู้สึกเป็นระหว่างบุคคลมีมากยิ่งขึ้น มีกลไกที่บังคับควบคุมมากมาย และมักมีจุดเน้นในเรื่องที่เป็นงานด้านเทคนิคเป็นหลัก แต่ทางตรงข้ามถ้ายอมรับว่า โรงเรียนมีฐานะแบบที่เป็นชุมชนแล้วบรรยากาศที่ตามมาก็คือ สมาชิกมีการผูกพันต่อกันด้วยวัตถุประสงค์ร่วม มีการสร้างสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดสนิทสนม และเกิดการร่วมสร้างบรรยากาศที่ทุกคนแสดงออกถึงความห่วงหาอาทรต่อกันและช่วยดู และสวัสดิภาพร่วมกันจากแนวคิดและความเป็นมาของนักวิชาการ

มาร์การ์ด และเรย์โนล (Marguardt and Reynolds, 1994) ให้ความหมายว่า เป็นที่ซึ่งมีบรรยากาศของการเรียนรู้รายบุคคลและกลุ่ม มีการสอนคนของตนเองให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อช่วยให้เข้าใจในสรรพสิ่ง ขณะเดียวกันก็ช่วยชุมชนเรียนรู้จากความผิดพลาดและความสำเร็จซึ่งผลทำให้ทุกคนตระหนักในการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          Hord (1997) ได้กล่าวว่า ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) คือ มองในมุมมองเดียวกัน โดยมองการรวมตัวกันดังกล่าว มีนัยแสดงถึงการเป็นผู้นำร่วมกันของ ครู หรือเปิดโอกาสให้ครูเป็น “ประธาน” ในการเปลี่ยนแปลง


กล่าวไว้สรุปได้ว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพหรือ Professional Learning  Community (PLC) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถตามศักยภาพของบุคคลนั้น โดยให้กลุ่มบุคคลเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง และสร้างความเชื่อมั่นหรือความมั่นใจให้กับบุคคลนั้นและต่อมาโรงเรียนในหลาย ๆ ประเทศได้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โดยนำแนวทางการดำเนินชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ดังกล่าว มาประยุกต์ใช้เพื่อหวังให้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ นี้พัฒนาครูให้มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายสู่การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีประสิทธิผล

 


อ่านต่อฉบับเต็มได้ที่...