การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R
วิธีสอนแบบ SQ4R เป็นเทคนิคในการอ่านที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยผู้ริเริ่มคือ โรบินสัน (Robinson) ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio University) ซึ่งได้แนะนํา เทคนิคนี้กับนักศึกษา มีขั้นตอน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นสํารวจ Survey (S) ขั้นตั้งคําถาม Question (Q) ขั้นอ่านอย่างรอบคอบ Read (R1) ขั้นจดจํา Recite (R2) ขั้นทบทวน Review (R3) ในปัจจุบันนี้ได้มีนักการศึกษาค้นคว้าและปรับปรุงขั้นตอนในการอ่านแบบ SQ4R เพื่อให้เกิด ความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับวิธีสอนแบบ SQ4R
ความหมายและความสําคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เป็นวิธสีอนที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดการคิดวิเคราะห์และช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งจะทําให้ประสิทธิภาพในการอ่านสูงขึ้น โดยมี นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ดังนี้
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ ได้สรุปความหมาย ของการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ว่าหมายถึง เทคนิคการสอนอ่านอย่างคร่าวๆ เพื่อให้ได้ข้อมูล สําคัญของเรื่อง โดยให้นักเรียนอย่างคร่าวๆ เพื่อสํารวจใจความสําคัญของเรื่องที่อ่าน แล้วตั้งคําถาม โดยการเปลี่ยนใจความสําคัญในเนื้อเรื่องให้เป็นคําถาม จากนั้นให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องโดยละเอียด และจดบันทึกข้อมูลต่างๆ แล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทอ่านที่นักเรียนได้บันทึกไว้ ลักษณะการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง แต่ความชํานาญขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและขึ้นอยู่ กับความรู้เดิมของผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องตระหนักถึงความรู้เดิมของผู้เรียนหรือจะต้องปูพื้นฐานเดิม ให้กับผู้เรียนก่อนที่จะถึงบทเรียนนั้น อีกอย่างที่ผู้สอนควรจะคํานึงถึงคือต้องเข้าใจว่าการอ่านเป็น การอ่านเพื่อเนื้อหาสาระ มิใช่สนใจที่ตัวภาษา
อีกทั้งยังได้กล่าวถึงลักษณะสําคัญของการอ่านแบบ SQ4R ไว้ดังนี้
S ย่อมาจาก Survey หมายถึง การสํารวจ
Q ย่อมาจาก Question หมายถึง การตั้งคําถาม
4R ย่อมาจาก Read - การอ่าน Recite – การท่องจำ Record –
การจดบันทึก และ Review – การทบทวน
กันนิ่ง (Gunning. 1996 ) ได้ให้ความหมายการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบ SQ4R ว่าหมายถึง วิธีการสอนอ่านที่เป็นระบบ เป็นวิธีการสอนเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจในการอ่าน การตีความ ขยายความ สรุป และจับใจความสําคัญจากการอ่านด้วยตนเอง ซึ่งการสอนแบบ SQ4R เน้นการอ่านซ้ําๆ จนกว่าจะเข้าใจและจดจําเรื่องราวที่อ่านได้ ถึงแม้จะเป็น การสอนเน้นทักษะการอ่าน แต่ผู้สอนจะต้องสอนแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารคือ ประกอบด้วย การฟัง พูด อ่าน และเขียนและในชีวิตประจําวันของเราจะอ่านสิ่งใดก็จะอ่านอย่างมีจุดประสงค์ และมักจะอ่านจากสื่อต่างๆ
พนิตนาฎ ชูฤกษ์(2551:117-123)ไดส้รุปความหมายการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบSQ4Rว่าเป็นกลวิธีสอนที่จะช่วยพัฒนาความเข้าใจในการอ่านช่วยสรา้งนิสัย ในการอ่านที่ดีและมีประสิทธิภาพ การสอนอ่านแบบ SQ4R เป็นการสอนที่ได้รับการพัฒนา และตั้งอยู่บนรากฐานแนวคิดทางการเรียนการสอนภาษา คือ ทฤษฏีอภิปัญญา (Metacognition Theory) ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งของจิตวิทยาการเรียนรู้ อภิปัญญากับการอ่านนั้น หมายถึง ขั้นตอน หรือวิธีการที่จะทําให้การอ่านบรรลุผลตามเป้าหมาย มีองค์ประกอบสําคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ความตระหนักรู้และการควบคุมกลไกที่ใช้ในกระบวนการอ่าน รวมถึงวิธีการที่จะทําให้บรรลุเปูาหมาย ของการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ จนกว่าจะเข้าใจในเรื่องที่อ่าน มีการควบคุมกระบวนการต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน มีการควบคุมและตรวจสอบตนเอง ในระหว่างการอ่าน คือ ขั้นตอนการอ่านและการพูด คําตอบออกมาจากความจําของตนเอง รวมถึงการประเมินหลังจากอ่านเรื่องนั้นๆ จบแล้ว คือในขั้นตอนการทบทวน หากยังจําเรื่องราว ทั้งหมดไม่ได้ก็จะกลับไปสู่ขั้นตอนการอ่านอีกทั้งหนึ่งเพื่อรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบSQ4R สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ ได้อธิบายขั้นตอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ไว้ดังนี้ 1. ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่จัดทําบรรยากาศให้รู้สึกสบาย ไม่เคร่งเครียด เสนอสิ่งเร้า เพื่อให้ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนใหม่ การเสนอเนื้อหาใหม่สําหรับการอ่าน ผู้สอนอาจกําหนดให้ผู้เรียน เตรียมมาเองหรือผู้สอนจะเป็นผู้จัดเตรียมก็ได้ เพราะการสอนมีวัตถุประสงค์ให้ผู้อ่านได้นําไปใช้จริง ในชีวิตประจําวัน เพราะฉะนั้นสื่อที่นํามาใช้เป็นของจริง เช่น ใบโฆษณา ข่าว จดหมาย ใบสมัครงาน จุลสาร ฯลฯ 2. ขั้นสอน ซึ่งกระทําการสอนตามระบบของวิธีการสอนแบบ SQ4R มี 6 ขั้นตอน คือ 2.1 Survey (S) ผู้สอนสอนให้ผู้อ่านอ่านอย่างคร่าวๆ เพื่อหาจุดสําคัญของเรื่อง การอ่านในขั้นนี้ ผู้สอนควรจํากัดเวลาให้ไม่ควรใช้เวลาเกินไป ผู้สอนสอน การเรียบเรียงแนวคิดต่างๆ จากสิ่งที่ได้อ่านคร่าวๆ 2.2 Question (Q) การตั้งคําถาม ในขั้นนี้ทําให้ผู้อ่านมีความอยากรู้ อยากเห็น ดังนั้น จึงเพิ่มความเข้าใจในการอ่านมากยิ่งขึ้น คําถามจะช่วยให้ผู้อ่านระลึกถึงความรู้เดิม ที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน คําถามจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้เร็ว และที่สําคัญคือ คําถามจะต้อง สัมพันธ์กับเรื่องราวที่กําลังอ่าน ในเวลาเดียวกันก็ควรจะต้องถามตัวเองดูว่าใจความสําคัญที่ผู้เขียนกําลัง พูดถึงอยู่นั้นคืออะไร ทําไมจึงสําคัญ สําคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องกับอะไรหรือใครบ้าง ตอนไหน และเมื่อไร อย่างไรก็ตามควรพยายามตั้งคําถามให้ได้เพราะจะช่วยให้การอ่านในขั้นต่อไปเป็นไปอย่างมี จุดมุ่งหมายและสามารถจับประเด็นสําคัญได้ถูกต้องไม่ผิดพลาด 2.3 Read (R) ผู้สอนการอ่านข้อความในบทหรือตอนนั้นซ้ำๆ อย่างละเอียดและในขณะเดียวกัน ก็ค้นหาคําตอบสําหรับคําถามที่ได้ตั้งไว้ ในขั้นนี้จะเป็นการอ่าน เพื่อจับใจความและจับประเด็นสําคัญๆ โดยแท้จริงขณะที่กําลังอ่านอยู่ ถ้านึกถึงคําถามได้อีกก็ อาจใช้วิธีจดบันทึกไว้ในที่ว่างริมหน้าหนังสือก่อนแล้วตั้งใจอย่างต่อไปจนกว่าจะได้คําตอบที่ต้องการ 2.4 Record (R) สอนผู้อ่านจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่ได้อ่านจาก ขั้นตอนที่ 3 โดยมุ่งจดบันทึกในส่วนที่สําคัญและสิ่งที่จําเป็น โดยใช้ข้อมูลอย่างรัดกุมหรือย่อๆ ตามความเข้าใจของผู้เรียน 2.5 Recite (R) สอนผู้อ่านให้เขียนสรุปใจความสําคัญ โดยพยายาม ใช้ภาษาของตนเองถ้ายังไม่แน่ใจในบทใดหรือตอนใดให้กลับไปอ่านซ้ำใหม่ 2.6 Reflect (R) สอนให้ผู้เรียนวิเคราะห์ วิจารณ์ บทอ่านที่ผู้เรียน ได้อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ผู้เรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องหรือความคิดเห็นไม่สอดคล้อง
บางครั้งอาจขยายความสิ่งที่ได้อ่านโดยการเชื่อมโยงความคิดจากบทอ่านกับความรู้เดิมโดยใช้ภาษา อย่างถูกต้อง
3. ขั้นสรุปและประเมินผล
เมื่อจบขั้นตอนการสอนแบบ SQ4R แล้วผู้สอนจะต้องมีการวัดผล และประเมินผลว่าผู้เรียนได้ความรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่ เป็นการประเมินความสามารถเพื่อนําผล มาพัฒนาผู้เรียนและช่วยผู้ที่เรียนอ่อน โดยอธิบายเพิ่มเติมให้แบบฝึกมากขึ้น หรือสําหรับผู้ที่เรียนดี ก็อาจจะให้แบบฝึกเสริมให้มีทักษะเพิ่มขึ้นอีก ธารทิพย์ แก้วเหลี่ยม (2553 : 1) ได้กล่าวอธิบายถึงเทคนิคการสอนแบบ SQ4R ว่าประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. กิจกรรมก่อนอ่าน ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน หมายถึง ขั้นที่จัดทําให้บรรยากาศรู้สึกสบาย ไม่เคร่งเครียดเสนอสิ่งเร้าเพื่อให้ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนบทเรียนใหม่ การเสนอเนื้อหาใหม่สําหรับ การอ่านผู้สอนอาจกําหนดให้ผู้เรียนเตรียมมาเองหรือผู้สอนจะเป็นผู้จัดเตรียมก็ได้ เพราะการสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านได้นําไปใช้ในชีวิตประจําวัน เพราะฉะนั้นสื่อที่นํามาใช้เป็นของจริง 2. กิจกรรมขณะอ่าน กระทําการสอนตามระบบวิธีการสอนแบบ SQ4R มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสํารวจ (Survey) ขั้นที่ผู้สอนให้นักเรียนสํารวจเรื่องราวที่ได้อ่าน อย่างคร่าวๆ เพื่อหาจุดสําคัญของเรื่อง การอ่านขั้นนี้ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป 2) ขั้นตั้งคําถาม (Question) ขั้นที่ผู้สอนควรตั้งคําถามเกี่ยวกับบทอ่าน นักเรียนเพื่อฝึกการตอบคําถาม คําถามจะช่วยให้ผู้อ่านมีความอยากรู้อยากเห็น และทําให้ผู้อ่านเข้าใจ เรื่องได้เร็ว 3) ขั้นอ่าน (Read) ขั้นการอ่านข้อความในบทหรือตอนนั้นๆ ซํ้า อย่างละเอียดและในขณะเดียวกันก็ค้นหาคําตอบสําหรับคําถามที่ได้ตั้งไว้ ในขั้นนี้เป็นการอ่าน เพื่อความเข้าใจโดยแท้จริงและตอบคําถามที่ตั้งไว้ 4) ขั้นบอกคําตอบอีกครั้ง (Record) ขั้นกิจกรรมที่เมื่อผู้เรียนได้คําตอบแล้ว ก็จะจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่ได้อ่านจากขั้นตอนที่ 3 โดยใช้ภาษาของตนเองเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถจําคําตอบนั้นได้ โดยคําตอบนั้นต้องคงความหมายเดิมของเรื่องเอาไว้ 5) ขั้นสรุป เป็นขั้นเขียนสรุปใจความสําคัญ (Recite) ขั้นกิจกรรมที่จัดให้ ผู้เรียนเขียนสรุปใจความสําคัญ ซึ่งประกอบด้วยใจความหลักและใจความรอง โดยพยายามใช้ภาษา ของตนเอง ถ้ายังไม่แน่ใจบทใดหรือตอนใดให้กลับไปอ่านซ้ำใหม่ 6) ขั้นฝึกทักษะ เป็นขั้นทบทวน (Reflect) กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ วิจารณ์บทอ่านที่ผู้เรียนได้อ่าน แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่มีความคิดเห็นสอดคล้องหรือ เห็นแตกต่างเพื่อใช้ประกอบการทบทวนเรื่องที่อ่านทั้งหมด ในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบความเข้าใจ ของนักเรียนว่าจดจําหรือเข้าใจเรื่องราวได้มากน้อยแค่ไหน หากส่วนไหนที่ยังจดจําไม่ได้ก็กลับไปอ่านซ้ํา และทบทวนซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดที่ชัดเจนและมีความคงทนในการจดจําอีกด้วย 3. กิจกรรมหลังอ่าน ขั้นสรุปและประเมินผล หมายถึง เมื่อจบขั้นตอนการสอนแบบ SQ4R แล้ว ผู้สอนจะต้องมีการวัดผลและประเมินผลว่าผู้เรียนได้ความรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่ เป็นการประเมิน ความสามารถเพื่อนําผลมาพัฒนาผู้เรียนและช่วยผู้ที่เรียนอ่อน โดยอธิบายเพิ่มเติมให้ทําแบบฝึกมากขึ้น หรือสําหรับผู้เรียนดีก็อาจจะให้แบบฝึกเพื่อเสริมให้มีทักษะเพิ่มขึ้นอีกก็ได้
สรุปได้ว่า แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ SQ4R ดังกล่าวสามารถ เป็นแนวคิดสําหรับผู้วิจัยได้นําไปใช้ในการจัดแผนการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมตามขั้นตอน ดงั ต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน หมายถึง ขั้นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้เผชิญ บรรยากาศรู้สึกสบาย ไม่เคร่งเครียด ผ่านสิ่งเร้าที่สนับสนุนให้ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนบทเรียนใหม่ การเสนอเนื้อหาใหม่สําหรับการอ่าน โดยผู้สอนอาจกําหนดให้ผู้เรียนจัดเตรียมมาเองหรือผู้สอน จะเป็นผู้จัดเตรียมก็ได้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน ผ่านสถานการณ์จริง ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสํารวจ (Survey) หมายถึง ผู้สอนให้ผู้เรียนสํารวจเรื่องราว ที่ได้อ่านอย่างคร่าวๆ เพื่อหาจุดสําคัญของเรื่อง การอ่านขั้นนี้ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป 2) ขั้นตั้งคําถาม (Question) หมายถึง ผู้สอนควรตั้งคําถามเกี่ยวกับ บทอ่านกับผู้เรียนเพื่อฝึกการตอบคําถาม คําถามจะช่วยให้ผู้อ่านมีความอยากรู้อยากเห็น และทําให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องเร็ว 3) ขั้นอ่าน (Read) หมายถึง การอ่านข้อความในบทหรือตอนนั้นๆ ซ้ำอย่างละเอียดและในขณะเดียวกันก็ค้นหาคําตอบสําหรับคําถามที่ได้ตั้งไว้ ในขั้นนี้เป็นการอ่าน เพื่อจับใจความสําคัญโดยแท้จริง และตอบคําถามที่ตั้งไว้ 4) ขั้นบอกคําตอบอีกครั้ง (Record) หมายถึง เมื่อได้คําตอบแล้ว ให้ผู้เรียนจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่ได้อ่านจากขั้นตอนที่ 3 โดยใช้ภาษาของตนเองเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ขึ้น และสามารถจําคําตอบนั้นได้ โดยคําตอบนั้นต้องคงความหมายเดิมของเรื่องเอาไว้ 5) ขั้นเขียนสรุปใจความสําคัญ (Recite) หมายถึง ให้ผู้เรียนเขียนสรุป ใจความสําคัญ ซึ่งประกอบด้วยใจความหลักและใจความรอง โดยพยายามใช้ภาษาของตนเอง โดยถ้ายังไม่แน่ใจบทใดหรือตอนใดให้กลับไปอ่านซ้ำใหม่ 6) ขั้นทบทวน (Reflect) หมายถึง ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ วิจารณ์ บทอ่านที่ผู้เรียนได้อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ผู้เรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องหรือ ความคิดเห็นไม่สอดคล้องเป็นการทบทวนเรื่องที่อ่านทั้งหมด ในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบความเข้าใจ ของนักเรียนว่าจดจําหรือเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดได้มากน้อยแค่ไหน หากส่วนไหนที่ยังจดจําไม่ได้ ก็กลับไปอ่านซ้ำและทบทวน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดที่ชัดเจนและมีความคงทน ในการจดจําอีกด้วย ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปและประเมินผล หมายถึง ขั้นกิจกรรมที่ผู้สอนสรุปความรู้ ในบทเรียนครั้งนั้น และดําเนินกิจกรรมการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนได้เรียนรู้บรรลุผล ตามจุดประสงค์ ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ กล่าวว่า การสอนแบบ SQ4R จะช่วยให้นักเรียนสามารถสํารวจหาข้อมูลที่สําคัญของเรื่องที่อ่าน มีความเข้าใจที่ถูกต้องในเนื้อหา สามารถตีความ วิเคราะห์ข้อความ และสามารถเดาความหมายของคําศัพท์ที่อ่านได้
สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพ ในการอ่านได้ดีขึ้นเนื่องจากการตั้งคําถามล่วงหน้าจะเป็นการกําหนดขอบเขตในการอ่าน ซึ่งจะทําให้ ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายในการอ่านที่ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากการอ่าน ไม่ใช่อ่านโดยไร้จุดมุ่งหมาย ไม่รู้ว่าต้องจับประเด็นตรงไหน อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามอ่านเพื่อหาคําตอบ หาข้อมูล และจับประเด็นหรือเหตุการณ์สําคัญของเรื่องที่อ่านได้
ข้อจํากัดของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R 1. ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาจําเป็นจะต้องเรียนรู้โครงสร้างภาษาและคําศัพท์ แต่การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ไม่มีขั้นตอนสําหรับสอนโครงสร้างภาษาและคําศัพท์ใหม่โดยตรง ครูผู้สอนจึงต้องสอดแทรกขั้นตอนการสอนอย่างเหมาะสม 2. ผู้สอนจะต้องมีความรู้ และคล่องทางด้านภาษาพอสมควรในการที่จะช่วยเหลือ และให้คําปรึกษาแก่ผู้เรียน
3. ผู้สอนจะต้องกําหนดเนื้อหาและจัดเตรียมเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีความน่าสนใจและทันสมัย อีกทั้งต้องคํานึงถึงความสามารถและความรู้เดิมของผู้เรียนเป็นสําคัญ อีกด้วย
|
ศูนย์ LifeVantage
ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ
24 กันยายน 2561
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น