ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

24 กันยายน 2561

การสอนทักษะการอ่านด้วยกลวิธี Directed Reading Thinking Activity (DR-TA)

การสอนทักษะการอ่านด้วยกลวิธี Directed Reading Thinking Activity (DR-TA)







Stauffer (1967) ได้คิดค้นกลวิธีการสอนการอ่านแบบ Directed Reading Thinking Activity (DR-TA) เพื่อส่งเสริมผู้เรียนในด้านการคิด วิเคราะห์ คาดเดาสิ่งที่เกิดขึ้นจากเนื้อเรื่องที่อ่านโดยแบ่งประเภทกลวิธีการอ่านแบบ DR-TA ออกเป็น 2 ประเภท คือ DR-TA แบบกลุ่ม (Group-type
Directed Reading Thinking Activity) โดยมีเงื่อนไขในการจัดการเรียนรู้ 4 อย่าง คือ 1) นักเรียนใน
แต่ละกลุ่มต้องมีจำนวน 8 – 12 คน 2) นักเรียนในละกลุ่มต้องมีระดับความสามารถในการอ่านที่เท่า
เทียมกัน 3) นักเรียนทุกคนอ่านเนื้อเรื่องเดียวกัน 4) ครูมีหน้าที่จัดกิจกรรมการอ่านที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึก
ผ่อนคลายและควรสอดแทรกคำตอบที่ถูกต้องไว้ในเนื้อเรื่องที่อ่าน สำหรับกลวิธีการอ่าน DR-TA
แบบรายบุคคล (Individual-type Directed Reading Thinking Activity) ไม่มีแบ่งกลุ่มผู้เรียน ผู้เรียน
แต่ละคนเลือกหัวข้อที่ตนสนใจ จากนั้นผู้เรียนจึงเลือกสื่อที่ตนอ่านจากแหล่งต่างๆ ครูต้องเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและกระตุ้นผู้เรียนตามที่ผู้เรียนร้องขอและผู้เรียนจะเชื่อมโยงความรู้เดิมที่ตนมีกับสิ่งที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียน
ในการสอนการอ่านด้วยกลวิธี DR-TA นั้น ได้มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้ปรับแนวคิดดังกล่าว
ตามความเหมาะสมของแต่ละคน โดยผู้วิจัยได้ศึกษาขั้นตอนของแต่ละคนตามเอกสารต่างๆ ดังนี้
1. ขั้นตอนการสอนการอ่านด้วยกลวิธี DR-TA ตามแนวคิดของ Stauffer
Stuffer (1969) ได้แบ่งขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนทักษะอ่านด้วยกลวิธี (DR-TA) เป็น 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ตั้งเป้าหมายในการอ่าน
สำหรับกลวิธีการอ่าน DR-TA แบบรายบุคคล ผู้เรียนสามารถกำหนดเป้าหมายในการอ่านได้โดยจากประสบการณ์ ระดับสติปัญญา ความสามารถทางภาษาของตน ความสนใจความต้องการ และจุดมุ่งหมายของผู้เรียน ความสนใจ ความต้องการและจุดมุ่งหมายของกลุ่ม หรือกำหนดโดยครู หรือกำหนดตามเนื้อหาของระดับความยากของสื่อที่ใช้ หัวข้อหลัก หัวข้อรอง รูปภาพแผนที่ กราฟ หรือแผนผังต่างๆ ส่วนกลวิธี DR-TA แบบกลุ่ม ผู้เรียนสามารถกำหนดจุดมั่งหมายในการอ่านได้โดยประสบการณ์ความสามารถทางภาษาและระดับสติปัญญาของสมาชิกในกลุ่มแต่ละคนความสนใจ ความต้องการและจุดมุ่งหมายของสมาชิกในกลุ่ม ข้อสรุปของสมาชิกในกลุ่ม หรือกำหนด
โดยครูหรือกำหนดจากเนื้อหาของสื่อที่ใช้
ขั้นที่ 2 ปรับระดับการอ่านให้เข้ากับเป้าหมายและระดับความยากง่ายของเนื้อหาได้
โดย อ่านเรื่องนั้นๆ อ่านเนื้อหาคร่าวๆ (skim) โดยกวาดสายตาเพื่อหาจุดสำคัญของเรื่อง หรืออ่าน
โดยละเอียด (scan) วิจารณ์เนื้อหาที่อ่าน อ่านเนื้อเรื่องซ้ำๆไปมาและสะท้อนความคิดที่ได้จากการอ่าน
เพื่อหาข้อสรุป
ขั้นที่ 3 สังเกตการณ์การอ่าน
ในขั้นนี้ไม่ต้องปรับระดับความยากของเนื้อหาที่อ่าน โดยครูเสริมสร้างความเข้าใจและให้ความช่วยเหลือผู้เรียนด้วยการชี้แจงเป้าหมาย ความคิดรวบยอด ความจำเป็นในการอ่านเรื่องราวซ้ำๆ และให้ความช่วยเหลือผู้เรียนในเรื่องคำศัพท์ เช่น การเดาความหมายจากบริบท (Context Clue) การเดาความหมายจากเสียง (Phonetic Clue) การเดาความหมายจากโครงสร้าง (Structural Clue) และการเดาความหมายจากอภิธานศัพท์ (Glossary Clue)
ขั้นที่ 4 พัฒนาความเข้าใจ
ในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบเป้าหมายของเดี่ยวหรือกลุ่ม โดยผู้เรียนเลือกเป้าหมายและคงเป้าหมายที่ดีที่สุดไว้และหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆและสรุปเป็นความคิดรวบยอด
ขั้นที่ 5 กิจกรรมพัฒนาทักษะที่จำเป็น
ในขั้นนี้ ครูส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะต่างๆที่จำเป็นด้วยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การอภิปราย การอ่านเพิ่มเติม การศึกษาเพิ่มเติม และการเขียน เป็นการเพิ่มสมรรถนะของทักษะการสังเกต การสะท้อนเรื่องที่อ่านด้วยการให้เหตุผลในเชิงนามธรรม การตัดสินคุณค่าเรื่องที่อ่าน การสรุปความคิดรวบยอดจากเรื่องที่อ่านและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ การเข้าใจความหมายของคำศัพท์จากรูปภาพ บริบท โครงสร้างทางภาษา การพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ ตลอดจนกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีทักษะในการอ่านออกเสียงอย่างถูกต้องและการนำเสนอข้อมูลอย่างมีเหตุผล



ขั้นตอนการสอนการอ่านด้วยกลวิธี DR-TA ตามแนวคิดของ 
Tierney และคณะ
อุไรวรรณ สีชุมภู (อุดร วิชัยวงษ์, 2552) ได้ปรับปรุงการสอนการอ่านด้วยกลวิธี DR-TA โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลักๆ ดังนี้
ช่วงที่ 1 กระบวนการอ่านและการคิด (Directing the Reading-Thinking Process)
1. คาดเดา
1.1 ครูฝึกให้นักเรียนดาดเดาจากชื่อเรื่องหรือรูปภาพแล้วถามคำถามนำเพื่อให้นักเรียนคิดและคาดเดาว่าชื่อเรื่องหรือภาพนั้นๆหมายถึงอะไร เกี่ยวกับอะไร เนื้อเรื่องจะดำเนินไปอย่างไร ครูอาจกระตุ้นให้นักเรียนอภิปราย แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในชั้นเรียน
1.2 เมื่อนักเรียนมีปัญหาในเรื่องความหมายของคำศัพท์ ครูแนะนำนักเรียนโดยนักเรียนอาจอ่านข้อความหรือเนื้อเรื่องให้จบประโยค คาดเดาความหมายจากรูปภาพ อ่านออกเสียงหรือถามครู แต่ครูควรพยายามให้นักเรียนเดาความหมายของคำศัพท์นั้นๆด้วยตนเองก่อน
2. อ่านในใจ
นักเรียนอ่านข้อความหรือเนื้อเรื่องนั้นๆในใจเพื่อตรวจสอบการคาดเดาของตนเอง ครูต้องสังเกตและให้ความช่วยเหลือนักเรียนในขณะที่นักเรียนอ่านโดยครูไม่ควรบอกความหมายของคำศัพท์แก่นักเรียนก่อน
3. การตรวจสอบ
ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยอาจใช้คำถามต่างๆเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนเข้าใจเรื่องที่ตนอ่านหรือไม่ ครูอาจให้นักเรียนอ่านออกเสียงข้อความหรือประโยคที่สนับสนุนความคิดเห็นของนักเรียนให้เพื่อนๆในชั้นเรียนฟัง ครูทบทวนแนวคิดเดิมของนักเรียนและให้นักเรียนคาดเดาเนื้อเรื่องต่อไป
4. เริ่มต้นคาดเดาในส่วนต่อไป
ครูให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องในส่วนต่อไปและใช้กระบวนการอ่านตามขั้นเดิมซึ่งจะทำให้นักเรียนได้ข้อมูลมากยิ่งขึ้น นักเรียนจะเริ่มจับประเด็นและคาดเดาเรื่องราวจากข้อมูลที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น
ช่วงที่ 2 การฝึกทักษะที่จำเป็น (Fundamental Skill Training)
ในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบเรื่องซ้ำ เป็นการฝึกให้ผู้อ่านเกิดทักษะการอ่านและใช้ร่วมกับทักษะอื่นๆ และเกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เช่น การเข้าใจความหมายของคำศัพท์ การสรุปความคิดรวยอด การสะท้อนแนวคิดจากเรื่องที่อ่าน เป็นต้น

ขั้นตอนการสอนการอ่านด้วยกลวิธี DR-TA ตามแนวคิดของ Manzo และ Manzo
Manzo และ Manzo (1993) ได้ปรับขั้นตอนของ DR-TA ให้เหมาะสำหรับครูผู้สอนนำไปใช้ในการสอนทักษะอ่าน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ก่อนการอ่าน (Pre-reading)
1.1 เชื่อมโยงความรู้เดิม (Relate)
1.2 ลดอุปสรรคในการอ่าน (Reduce)
1.3 คาดการณ์คำตอบจากเรื่องที่อ่าน (anticipate)
ขั้นที่ 2 ระหว่างอ่าน (Active Reading)
2.1 ฝึกคาดเดาคำตอบ (Predict)
2.2 อ่าน (Read)
2.3 พิสูจน์คำตอบ (Prove)
ขั้นที่ 3 หลังการอ่าน (Post-Reading)
3.1 ตรวจสอบ (Check)
3.2 กลั่นกรอง (Refine)
3.3 เชื่อมโยงความรู้เดิม (Relate)
3.4 คาดเดาคำตอบซ้ำ (Reanticipate)
จากแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่า กลวิธีการอ่านแบบ DR-TA นั้น ส่งเสริมผู้เรียนในเรื่องของ
กระบวนการปรับตัว (monitoring) และการที่ผู้เรียนร่วมการคาดเดาและร่วมเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ
เรื่องที่อ่านนั้นเป็นการส่งเสริมผู้เรียนในด้านการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องและ
ความสามารถในการประเมินเนื้อเรื่องที่อ่าน (Grabe, 2009)

.................................

ขอบคุณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
http://www.library.msu.ac.th/
เรียบเรียงโดยประภัสรา โคตะขุน    








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น