ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

30 พฤศจิกายน 2553

รวมเว็ปไซต์หลักสูตร UTQ

                  รวมเว็ปไซต์หลักสูตร UTQ 

 UTQ-101 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน/การวัดประเมินผล



UTQ-102 การบริหารหลักสูตร


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/4/course_wares/UTQ-102/unit1/unit_index.html





UTQ-103 การประกันคุณภาพการศึกษา


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/6/course_wares/UTQ-103/unit1/unit_index.html





UTQ-104 การสอนแบบบูรณาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กและห้องเรียนคละชั้น


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/8/course_wares/UTQ-104/unit3/unit_index.html





UTQ-105 การบูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อยกระดับการเรียนการสอน


http://www2.utqonline.in.th/ftp_users/10/course_wares/UTQ-105/unit3/unit_index.html





UTQ-106 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/12/course_wares/UTQ-106/unit1/unit_index.html





UTQ-107 การจัดกิจกรรมค่ายนักเรียน/กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/14/course_wares/UTQ-107/unit2_2/unit_index.html





UTQ-201 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย:ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษา


http://www1.utqonline.in.th/ftp_users/16/course_wares/UTQ-201/unit3/unit_index.html





UTQ-202 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย:ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษา




UTQ-203 สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์:คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษา


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/19/course_wares/UTQ-203/unit2/unit_index.html





UTQ-204 สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์:คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษา


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/22/course_wares/UTQ-204/unit1/unit_index.html





UTQ-205 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์:วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 3


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/24/course_wares/UTQ-205/unit3/unit_index.html





UTQ-206 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์:วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6






UTQ-207 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์:วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 - 3


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/27/course_wares/UTQ-207/unit5/unit_index.html





UTQ-208 สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม: การสอนภูมิศาสตร์


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/30/course_wares/UTQ-208/unit2/unit_index.html





UTQ-209 สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม:โครงงานประวัติศาสตร์






UTQ-210 สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม: วิชาเศรษฐศาสตร์ (เน้นเศรษฐกิจพอเพียง)


http://www.utqonline.in.th/knowledge_base_page/list/17





UTQ-211 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา: การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

http://www.utqonline.in.th/ftp_users/36/course_wares/UTQ-211/unit1/unit_index.html





UTQ-212 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา: การพัฒนาองค์ความรู้วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/39/course_wares/UTQ-212/unit1/unit_index.html




UTQ-213 สาระการเรียนรู้ศิลปะ: ดนตรีศึกษา


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/41/course_wares/UTQ-213/unit1/unit_index.html




UTQ-214 สาระการเรียนรู้ศิลปะ:ทัศนศิลป์





UTQ-215 สาระการเรียนรู้ศิลปะ:นาฏศิลป์

http://www.utqonline.in.th/ftp_users/45/course_wares/UTQ-215/unit4/unit_index.html




UTQ-216 สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี: เทคโนโลยี



UTQ-217 สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ: การพัฒนาความสามารถทางภาษา(Language Proficiency)

http://www.utqonline.in.th/ftp_users/49/course_wares/UTQ-217/unit2/unit_index.html





UTQ-218 สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ: การนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551กลุ่มสาระเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ) สู่การปฏิบัติ

http://www.utqonline.in.th/ftp_users/49/course_wares/UTQ-218/unit1/unit_index.html




UTQ-219 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน: การพัฒนาระบบแนะแนว

http://www.utqonline.in.th/ftp_users/52/course_wares/UTQ-219/unit1/unit_index.html




UTQ-220 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน: การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

http://www.utqonline.in.th/ftp_users/54/course_wares/UTQ-220/unit1/unit_index.html


 UTQ-221 ปฐมวัย: การศึกษาปฐมวัย

http://www1.utqonline.in.th/ftp_users/56/course_wares/UTQ-221/unit1/unit_index.html




UTQ-222 บรรณารักษ์: การจัดการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

http://www.utqonline.in.th/ftp_users/58/course_wares/UTQ-222/unit5/unit_index.html


 UTQ-223 การศึกษาพิเศษ: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ-การศึกษาพิเศษ

http://www.utqonline.in.th/ftp_users/61/course_wares/UTQ-223/unit1/unit_index.html




UTQ-224 การศึกษาพิเศษ: ความรู้ในการปฏิบัติงานของครูการศึกษาพิเศษ

http://www.utqonline.in.th/ftp_users/63/course_wares/UTQ-224/unit4/unit_index.html




UTQ-225 นวัตกรรมการนิเทศ (Coaching) การศึกษาชั้นเรียน (Lessonstudy)







ที่เหลือจะพยายามหามาให้เร็วๆนี้ค่ะ




.
























.




29 พฤศจิกายน 2553

UTQ-207 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                 UTQ-207 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                 วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

เข้าศึกษาตามเว็ปข้างล่างนี้ค่ะ


http://www.utqonline.in.th/ftp_users/27/course_wares/UTQ-207/unit1/unit_index.html

     ข้อสอบ utq 207 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

คำชี้แจง : เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว ทำเครื่องหมาย o ลงหน้าข้อที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว 

1. มุมมองทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือได้ มีลักษณะอย่างไร
1.เป็นกลวิธีที่สนับสนุนการสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียน
2. การสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการที่ทำให้ได้ความจริงแท้
3.ธรรมชาติที่มีความ กว้างเกินกว่าที่จะมีเครื่องมือตรวจสอบหรือรับรู้
4.จัดว่าเป็นความสามารถใน การสืบเสาะหาความรู้
1 2 3
1 2 4 ***
2 3 4
1 2 3 4

2. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ ลักษณะของการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
1.การสอนวิทยาศาสตร์ทุกเรื่อง ใช้กระบวนการสืบเสาะได้
2.เป็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการเรียน รู้
3.จะใช้คำถามของนักเรียนเป็นจุดเริ่มต้นการเรียน
4.ครูจะเป็นผู้แนะนำและ เริ่มต้นการเรียนรู้
1 3 ***
1 2 3
1 3 4
1 2 3 4

3. ข้อใด ไม่เป็น องค์ประกอบที่สำคัญในการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

การตรวจสอบต้องมีพยานหลักฐานที่สอดคล้องกับคำถาม
การอธิบายคำตอบจะต้องอยู่บนความมีเหตุผล
การอธิบายคำตอบจะต้องอยู่บนความรู้ในช่วงเวลานั้น ๆ ***
คำถามจะเป็นตัวบ่งชี้คำตองอย่างเป็นระบบ

4. ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ไม่มีอำนาจ หมายความว่าอย่างไร .

แหล่งความรู้มีการเปลี่ยนแปลงได้
ทฤษฎีใหม่อาจถูกยอมรับได้เมื่อมีเหตุผลใหม่ที่เพียงพอ ***
ผู้คิดค้นหาคำตอบได้หลายคน
ระยะเวลาที่เกิดวิทยาศาสตร์อย่างรุนแรงทำให้กระแสต้องยอมรับได้

5. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยตรง จะต้อง

ต้องใช้กระบวนการคิดและทักษะการปฏิบัติ ***
เป็นทักษะทางปัญญาที่ต้องใช้ความรู้จากเนื้อหาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
เป็นทักษะการใช้ชีวิตที่เกิดจากการฝึกฝน
เป็นทักษะที่ชัดเจนและเป็นขั้นตอน

6. “ต้นถั่วเขียวเจริญเติบโตงอกงามดีในที่มีแสงสว่าง” จากข้อความที่กำหนดให้
เป็นการสืบเสาะหาความรู้แบบใด
การสืบเสาะหาความรู้แบบมีขั้นตอน
การสืบเสาะหาความรู้แบบกำหนดวิธีการ
การสืบเสาะหาความรู้แบบกำหนดแนวทางให้
การสืบเสาะหาความรู้แบบอิสระ ***

7 จงอ่านตัวชี้วัดต่อไปนี้ “ทดลองและอธิบายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการ
เกิดปฏิกิริยาเคมี และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์” แล้วให้ขีดใต้ คำ/ข้อความ ที่เป็นความรู้และวงกลม
ล้อมรอบ ข้อความที่เป็นคุณลักษณะ คำตอบข้อใดถูก
วงกลมล้อมรอบ ข้อความ“นำความรู้ไปใช้ประโยชน์” ***
วงกลมล้อมรอบ ข้อความ“ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี”
ขีดเส้นใต้ ข้อความ “ทดลอง อธิบาย และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์”
ขีดเส้นใต้ ข้อความ “ทดลองและอธิบายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี”

8 คำถามที่จะสะท้อนประสบการณ์ ให้นักเรียนแสดงลำดับขั้นตอน ควรเป็นคำถามใด

วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบด้วยอะไรบ้าง ***
 กระแสไฟฟ้าเกิดได้อย่างไร
นักเรียนวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าจากโวลต์มิเตอร์ได้กี่โวลต์
จงแสดงความสัมพันธ์ของความต่างศักย์ไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า

9 การวิจัยและการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ เพื่อหน่วยงานอื่น
เช่นภาคอุตสาหกรรม มูลนิธิ ฯลฯ จัดว่าเป็นภาระของนักวิทยาศาสตร์หรือไม่ เพราะเหตุใด
เป็น เพราะเป็นการช่วยเหลือและพัฒนางานในองค์กรนั้น ***
เป็น เพราะเป็นการช่วยเหลือสังคมนั้น ๆ ให้รู้จักตัวเองให้ดีขั้น
ไม่เป็น เพราะผิดจรรยาบรรณของนักวิทยาศาสตร์
ไม่เป็น เพราะนักวิทยาศาสตร์น่าจะมีกรอบการดำเนินการในการวิจัยเพื่อพัฒนาหน่วยงานราชการ

10. ข้อใดไม่ใช่สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา
ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการเรียนรู้ ***
 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการคิด

11 จงพิจารณาข้อความที่กำหนดให้ต่อไปนี้
1. ระบุสิ่งที่นักเรียนควรรู้
2. เกณฑ์การวัดและประเมินผล
3. ระบุว่าผู้เรียนต้องทำอะไรได้
4. ความต้องการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ เจตคติ คุณธรรม
5. ระบุข้อมูลสำคัญในการกำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรในการวิเคราะห์มาตรฐานการ เรียนรู้
และตัวชี้วัด ครูผู้สอนจะพบคำสำคัญตามข้อใด
ข้อ 2, 4, 5
ข้อ 2, 3, 4
ข้อ 1, 3, 5
ข้อ 1, 3, 4 ***


11. ข้อใดกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551ได้ถูกต้อง
ใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกข้อที่กำหนดเท่านั้น
เลือกใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์บางข้อเท่านั้น
เลือกใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์บางข้อ และสามารถเพิ่มเติมได้ตามที่สถานศึกษาต้องการ
ใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกข้อที่กำหนด และสามารถเพิ่มเติมได้ตามที่สถานศึกษาต้องการ ***

13. จงอ่านมาตรฐานการเรียนรู้ต่อไปนี้ “เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
” แล้วให้ขีดใต้ คำ/ข้อความ ที่เป็นความรู้และวงกลมล้อมรอบ ข้อความที่เป็นทักษะ คำตอบข้อใดถูก
ขีดเส้นใต้ ข้อความ “ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ” ***
ขีดเส้นใต้ ข้อความ “กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
วงกลมล้อมรอบ ข้อความ“ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ”
วงกลมล้อมรอบ ข้อความ “สิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์”

14 ข้อใดกล่าวถึง “หลักสูตรอิงมาตรฐาน” ได้อย่างถูกต้อง

มาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
มาตรฐานการเรียนรู้ได้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ และคุณลักษณะสำคัญ
สถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนและท้องถิ่น

15. การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามข้อใดสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า “หน่วยการเรียนรู้คือหัวใจของ
หลักสูตรสถานศึกษา”
หน่วยการเรียนรู้จะมีรายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน
หน่วยการเรียนรู้อิงต้องเนื้อหา การวัดประเมินผลจึงเน้นที่การจดจำเนื้อหาให้ได้มากที่สุด
หน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมาย จะนำมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน ***
มาตรฐานที่เป็นเป้าหมายในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ต้องได้มาจากมาตรฐานเพียงข้อเดียวเพื่อไม่ให้สับสน

16. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. ด้านความรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์
2. ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหา
3. ด้านบริบทตัวนักเรียน
4. ธรรมชาติของนักวิทยาศาสตร์
เพื่อให้การออกแบบการเรียนรู้สนองต่อมาตรฐานของหลักสูตรอย่างชัดเจน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์
จึงควรมีความรู้ด้านใดบ้าง
ข้อ 1, 2
ข้อ 2, 3
ข้อ 3, 4
ข้อ 1, 2, 3 ***

17. ลักษณะการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ลักษณะที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

หากเดินเข้าไปในห้องเรียน สิ่งแรกที่เห็นจะไม่ใช่ครู เพราะครูนั่งอยู่ในวงกับผู้เรียนในกลุ่ม
หากเดินเข้าไปในห้องเรียน จะเห็นผู้เรียนคนหนึ่งกำลังเตรียมงานโครงการในกลุ่มย่อยโดย
มีการระดมสมองบันทึกไว้บนกระดาน
หากเดินเข้าไปในห้องเรียน เห็นครูกำลังพูด ผู้เรียนทุกคนมองและฟังครู ผู้เรียนจะพูดได้เมื่อครูอนุญาต ***
หากเดินเข้าไปในห้องเรียน จะเห็นผู้เรียนกลุ่มหนึ่งกำลังแสดงผลงานที่กลุ่มพวกเขาออกแบบและจัดทำ

18 ลักษณะที่สำคัญของคำถามแบบสร้างสรรค์คือ
1.คำถามเกิดการ เปรียบเทียบ
2.คำถามที่เกิดการสำรวจ
3.คำถามที่เกี่ยวกับการวัด
4.คำถามสู่การปฏิบัติ
5.คำถามที่ให้นักเรียนตั้ง ปัญหาได้
1 4 5
4 5
1 2 4 5
1 2 3 4 5 ***

19 ถ้าท่านต้องการสอน เรื่อง การลอยการจม โดยท่านมีประเด็นปัญหา เช่น
1.วัตถุที่ลอยเบากว่าวัตถุที่จมเสมอไปหรือไม่
2. วัตถุที่ยาวจะลอยได้ดีกว่าวัตถุที่สั้นใช่หรือไม่
3. วัตถุลอยในน้ำตื้นดีกว่าลอยในน้ำลึกใช่หรือไม่
จากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม เลือกหัวข้อ และเลือกวิธีการที่จะใช้ศึกษาหาความรู้ ดำเนินงานตาม
แผนการที่แต่ละกลุ่มวางไว้ สุดท้ายให้นำเสนอผลงานและร่วมประเมินผล ท่านคิดว่าการดำเนิน
กิจกรรม ดังกล่าวเป็นขั้นตอนที่สอดคล้องกับเทคนิคใด
Jigsaw I
GI ,
โครงงาน ***
TAI

20 จากข้อความที่กำหนดให้ต่อไปนี้ เป็นลักษณะเด่นของการคิดด้านใด “ เป็นการคิดที่เน้น
ความมีเหตุผล เน้นคุณค่า เพื่อเป็นทางเลือกที่จะตัดสินใจบนข้อมูลที่มากพอและเชื่อถือได้”
ความคิดวิเคราะห์
ความคิดวิจารณญาณ ***
ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์

21 ข้อที่ครูควรคำนึงในการถามคำถามนักเรียน
1.ไม่จำเป็นต้องเตรี ยมการมากเพราะคำถามจะเกิดจากสถานการณ์เฉพาะหน้า
2.ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ การเรียน
3.ควรเป็นคำถามที่เน้นความรู้ก่อน เพื่อจะเป็นแนวทางในการถามคำถามที่ทำให้นักเรียนคิดสร้างสรรค์
แล้วลงสู่การ ปฏิบัติได้
4.กระชับ เข้าใจง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียน
2 4
2 3
2 3 4 ***
1 2 3 4

22. จากข้อความที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ข้อใดเป็นบทบาทของครูที่เหมาะสม ในขั้นสำรวจค้นหา
ของกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry base Learning)
ฟังและสังเกตการโต้ตอบกันของนักเรียน ***
ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายอย่างหลากหลาย
จัดหาคำตอบให้นักเรียนไว้เป็นหมวดหมู่
อธิบายหรือบอก เมื่อนักเรียนทำไม่ถูกต้อง

23. จากข้อความที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ข้อใดเป็นบทบาทของนักเรียนที่ไม่เหมาะสม ในขั้นขยายความรู้
ของกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry base Learning)
ทำงานโดยหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
อธิบายโดยไม่สนใจข้อมูลหรือหลักฐาน ***
อธิบายเหมือนกับสิ่งที่ครูจัดเตรียมไว้ให้
บันทึกข้อมูลโดยตรวจสอบความเข้าใจกับเพื่อน

24. การเลือกเทคนิค/ กลวิธีสอนเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการเรียนการสอน ผู้สอนต้องพิจารณา
อย่างรอบคอบ ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เหตุผลหลักที่ใช้ในการเลือกเทคนิค/กลวิธี สอน
สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน
เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
สอดคล้องกับความทันสมัยและความนิยมของสังคม ***


25 จากข้อความต่อไปนี้ “ ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีเหลืองเข้มใช้ประโยชน์
ได้หลายอย่าง ขยายพันธ์โดยใช้เหง้าฝังดิน ในหน้าแล้งใบจะเหี่
ยวพอฝนตกจะแตกใบใหม่
ส่วนที่ใช้ทำสมุนไพรคือเหง้า เพราะมีสารพิษพวกน้ำมันหอมระเหย” ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่ได้จากการสังเกต
ขมิ้นชันมีเหง้าอยู่ใต้ดิน
เหง้ามีสีเหลืองเข้ม
ในหน้าแล้งใบจะเหี่
ยวพอฝนตกจะแตกใบใหม่
มีสารพิษพวกน้ำมันหอมระเหย ***

26 ถ้าครูแดง ต้องการศึกษาว่า “ส่วนใดของสะเดาที่ใช้ผลิตเป็นสารฆ่าแมลงได้ดีที่สุด
” สิ่งที่ครูแดง ต้องจัดให้แตกต่างกันในการทดลองนี้คืออะไร
ส่วนของสะเดาที่นำมาทดลอง ***
ปริมาณน้ำที่ใช้ผสมสารละลาย
ชนิดและจำนวนแมลงที่ใช้ทดลอง
ปริมาณแสงและความชื้นในบริเวณทดลอง

27 ในการวัดความสูงของต้นถั่วเขียว ที่ปลูกไว้ในแปลงเกษตร จำนวน 185 ต้น
ได้ผลดังตารางแสดงความสูงของต้นถั่วเขียวการแปลความจากข้อมูลข้อใดถูกต้อง


การสำรวจพบว่าต้นถั่วเขียวส่วนใหญ่มีความสูง 50-100 เซนติเมตร
ถ้ามีการเก็บตัวอย่างมากกว่านี้ข้อมูลจะถูกต้องมากขึ้น
การสำรวจพบว่าความสูงเฉลี่ยของต้นถั่วเขียวสูงกว่า 100 เซนติเมตร ***
ถ้ามีการสำรวจต้นถั่วเขียวชนิดเดียวกันที่ปลูกวันเดียวกันก็จะให้ผลเช่นนี้

28 ถ้าจะทดลองว่า “ความลึกในการเพาะเมล็ดพืชในดินมีผลต่อการงอกของเมล็ดหรือไม่
” สิ่งที่ต้องจัดให้เหมือนกันในการทดลองนี้คืออะไร
ชนิดของเมล็ดพืชที่นำมาเพาะและภาชนะที่ใช้เพาะ
ภาชนะที่ใช้เพาะ ตำแหน่งและลักษณะการวางเมล็ดพืช
ตำแหน่งและลักษณะการวางเมล็ดพืช ภาชนะที่ใช้เพาะ
สิ่งแวดล้อมที่วางภาชนะที่เพาะเมล็ดและชนิดของเมล็ดพืช ***

29. ในการแข่งขันหาปริมาตรของวัตถุ ได้มีการจัดเครื่องมือและวัตถุต่างๆ ให้ดังนี้
วัตถุให้ : 1=น้ำเกลือ 2=แท่งไม้ 3=ก้อนหิน
เครื่องมือให้ : 4=ถ้วยยูรีกา 5=กระบอกตวง 6=ไม้บรรทัด
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับวัตถุที่ต้องการหาปริมาตร การเลือกในข้อใดถูกต้องที่สุด
1-5 2-4,5 3-6
1-5 2-6 3-4,5  ***
1-4,5 2-6 3-4
1-6 2-5 3-4,5

30.นิยามในข้อใด เหมาะสมที่จะเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ

ก. แคลอรี คือ หน่วยวัดปริมาณความร้อน
ขเป็ด เป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่ง มีสองขา ไม่สามารถบินได้ ***
ขนาดของคน คือความสูงที่วัดได้
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นแก๊สไม่มีสี


หมายเหตุ   ข้อที่สุดจะทำเครื่องหมาย  ***

                               ได้ 23  คะแนน






















.



28 พฤศจิกายน 2553

การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward design

           การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward design 


การออกแบบการเรียนรู้แบบ  Backward Design นั้น   เป็นแนวคิดของ  Grant Wiggins และ   Jay McTich   ซึ่งคิดค้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998)   โดยเขียนหนังสือเรื่อง Understanding by Design   นักวิชาการชาวไทยที่นำมาพัฒนาเผยแพร่ คือ ดร.กษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา, ดร.เพ็ญนี  หล่อวัฒนพงษา    การออกแบบการเรียนรู้แบบ  Backward Design เป็นที่นิยมของโรงเรียนนานาชาติ ได้เผยแพร่เป็นที่รู้จักในวงการศึกษาไทยจากการอบรมปฏิบัติการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ ดอกเตอร์โกวิท  ประวาลพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว) ได้จัดอบรมให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ภายใต้หัวข้อการอบรมเรื่องการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ  Backward Design
                การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design เป็นการออกแบบการเรียนรู้ที่ย้อนกลับ เริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ โดยนำการวัดผลมาเป็นหลัก จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตรและแผนการเรียนการสอน
 ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design มี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้หรือประเด็นการเรียนรู้หรือเป้าหมายการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำผังการประเมินหรือวิเคราะห์ร่องรอยผลงานที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน(หาหลักฐานการเรียนรู้)
ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบการเรียนรู้

         ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้หรือประเด็นการเรียนรู้หรือเป้าหมายการเรียนรู้ ในการกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนควรรู้อะไร ควรมีความเข้าใจเรื่องใด และควรทำสิ่งใดบ้าง สิ่งใดที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ ควรให้มีความเข้าใจที่ยั่งยืนในเรื่องใดบ้าง

สิ่งที่มีคุณค่าและน่ารู้
สิ่งที่จำเป็นต้องรู้และจำเป็นต้องทำ
ความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยั่งยืน

ขั้นตอนที่ 1 จะมีกิจกรรม 8 หัวข้อ ดังนี้ (ลำดวน  ไกรคุณาศัย และคณะ ก,ข. 2550 : 3)
1) กำหนดประเด็นการเรียนรู้หรือเป้าหมายการเรียนรู้หรือหน่วยการเรียนรู้
เป็นการกำหนดประเด็นหัวเรื่อง (Theme) หน่วยการเรียนรู้จากความมั่นใจของชุมชน ครู นักเรียน
กำหนดเป้าหมายของการสอน เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อเรียนจบแล้วต้องการให้นักเรียนได้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์มาตรฐานสาระการเรียนรู้
                           
2) กำหนดแนวคิดหลัก (Core Concept) ที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็น สอดคล้องกับหัวเรื่อง โดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping)
 แนวคิดหลัก (Core Concept) ได้จากการวิเคราะห์หัวเรื่องกับมาตรฐานสาระการเรียนรู้ เป็นหัวข้อที่สอดคล้องกับประเด็นหัวเรื่อง ซึ่งจะมีหัวข้อย่อย ๆ ประกอบอยู่
                                       
3) กำหนดความรู้คงทน (Enduring Understanding) หรือความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนรู้
 ศึกษามาตรฐานสาระการเรียนรู้ เพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนต้องรู้อะไร ทำอะไร ได้รับการพัฒนาจิตพิสัยด้านใด ได้รับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใด เกิดจากการเรียนรู้ประเด็นหัวเรื่อง ได้จากการรวบแนวคิดหลัก (Core Concept) เป็นความคิดรวบยอด
                                      
4) การวิเคราะห์เทียบมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ต้องพิจารณาว่าในขั้นตอนที่กำหนดความคิดหลักไว้แต่ละหัวข้อนั้น สามารถนำไปเทียบกับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใด มาตรฐานใด ให้ระบุไว้
                                       
5) การวิเคราะห์ความรู้หรือทักษะเฉพาะวิชาในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จากมาตรฐานการเรียนรู้ที่ระบุหรือพิจารณาไว้ มีทักษะเฉพาะวิชาด้านใดบ้าง นำมาเขียนระบุไว้ โดยพิจารณาทีละกลุ่มสาระ  ซึ่งทักษะเฉพาะ ศึกษาได้จากมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งจะมีคำหรือข้อความเชิงพฤติกรรม เช่น สังเกต, ศึกษา, เปรียบเทียบ ฯลฯ
                                       
6) การวิเคราะห์จิตพิสัยที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน        การวิเคราะห์จิตพิสัย จะเป็นพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งศึกษาได้จากมาตรฐานการเรียนรู้ โดยผู้สอนสามารถเพิ่มเติมนอกเหนือจากมาตรฐานได้   โดยให้สอดคล้องกับประเด็นหัวเรื่อง (Theme ) และแนวคิดหลัก (Core Concept)
                                      
7) การวิเคราะห์ทักษะคร่อมวิชาหรือทักษะร่วม(ทักษะบูรณาการ) พิจารณาจากทุกมาตรฐานว่ามีทักษะใดบ้างที่ไม่ได้ระบุไว้ในทักษะเฉพาะวิชา แต่เป็นทักษะที่นำมาใช้ร่วมกันได้ทุกกลุ่มสาระ  เช่น  กระบวนการกลุ่ม  การวางแผนการทำงาน  กระบวนการวิทยาศาสตร์
การนำเสนอผลงาน การคิดวิเคราะห์ การสืบค้น
                                      
8) การวิเคราะห์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด เลือกเฉพาะข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ออกแบบการเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องนำมาหมดทุกข้อ
               
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำผังการประเมินหรือวิเคราะห์ร่องรอยผลงานที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
(หาหลักฐานการเรียนรู้) หรือ การกำหนดหลักฐานของการเรียนรู้ที่เป็นที่ยอมรับได้
วิธีการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design กำหนดให้ครูคิดเหมือนนักประเมินผล ครูจะเริ่มวางแผนการเรียนรู้ ด้วยการพิจารณาถึงหลักฐานหรือร่องรอยที่จะบ่งชี้ว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายและต่อเนื่อง
               การจัดทำผังการประเมิน ครูผู้สอนต้องตัดสินใจว่า ความเข้าใจที่เกิดขึ้นกับนักเรียนนั้น นักเรียนจะนำเสนอหรือสาธิต แสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง Wiggins และ   McTight ได้ให้รายละเอียดความเข้า 6 ประการ (Six facets of understanding) โดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง เมื่อนักเรียนสามารถ อธิบายชี้แจงเหตุผล, แปลความ ตีความ, ประยุกต์, มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง, สามารถหยั่งรู้ความรู้สึกร่วม และมีองค์ความรู้ของตนเอง (ไตรรงค์  เจนการ. 2549 : 3)
                เทคนิคการประเมิน ในขั้นตอนที่ 2 ผังการประเมินได้เสนอแนะไว้ 6 วิธีการใหญ่ ๆ ดังนี้

                1. การเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Selected Response)   เช่น   การจับคู่คำตอบ การเลือกตอบ การตอบแบบตัวเลือก 
                2. การเขียนหรือตอบตามเค้าโครง (Constructed Response) เช่น เขียนรายงานผลการทดลอง เขียนจดหมายตามรูปแบบที่วางไว้  การเขียนตอบแบบสั้น ๆ
                3. การตอบอัตนัย (Assay) การเขียนบทความ เขียนตอบโดยกำหนดเค้าโครงเอง (การตอบแบบอธิบาย บรรยาย)
                4. การผลิตชิ้นงาน โครงการ การแสดง การปฏิบัติที่กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลในโรงเรียน อยู่ในบริบทของโรงเรียน (School products/ School performance) การนิทานแผ่นเดียวหรือนิทานเล่มเล็ก นิทานเล่มใหญ่ การทำแผ่นพับความรู้ สมุดภาพ การทำรายงาน การทำโครงงานทั่ว ๆ ไป
                5. การผลิตชิ้นงาน โครงการ  โครงงาน การแสดง  การปฏิบัติที่กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลภายนอกโรงเรียน  อยู่ในบริบทของชีวิตจริง ซึ่งมีความซับซ้อนของสถานการณ์และการจัดการมากกว่า นักเรียนต้องมีทักษะและความรู้ใกล้เคียงกับมืออาชีพในการทำงานหรือการปฏิบัตินั้น ๆ (Contexual products/ Contexual performance) การทำโครงงานจากการไปศึกษาข้อมูลจากชุมชน การทัศนศึกษาแล้วทำรายงานหรือโครงงาน โครงการมัคคุดเทศก์น้อยแนะนำท้องถิ่น ชุมชน
                6. การประเมินต่อเนื่อง (On-going tools) เช่น การสังเกตพัฒนาการของนักเรียน การประเมินทักษะของนักเรียน การประเมินตนเองของนักเรียน การสังเกตด้านจิตพิสัยและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องอาศัยการสังเกตอย่างต่อเนื่อง
 การวางผังประเมินเป็นการประเมินตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งครูผู้สอนต้องวางผังการประเมินให้ครอบคลุม คือ ความเข้าใจที่คงทน, จิตพิสัย, ทักษะคร่อมวิชาหรือทักษะร่วม, ความรู้และทักษะเฉพาะวิชา, คุณลักษณะอันพึงประสงค์ แต่ละหัวข้อต้องเลือกวิธีการประเมินที่เหมาะสม โดยให้เลือกวิธีการประเมินที่สามารถวัดผลได้ชัดเจนตามศักยภาพผู้เรียน

ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบการเรียนรู้
         การออกแบบการเรียนรู้   เป็นการนำผังการประเมินในขั้นตอนที่มาออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยมีวิธีการพิจารณา ดังนี้
            1) เรียงเนื้อหาจากง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้น
            2) เรียงลำดับก่อนหลัง
            3) ตัวอย่างการประเมินจากกิจกรรมโครงงาน      ก่อนจะประเมินครูต้องพิจารณาว่าจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้อะไรร่วมกับผู้เรียนบ้าง
4) เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน ครูผู้สอนควรมีเกณฑ์คุณภาพ (Rubric) กำหนด
ระดับคุณภาพไว้อย่างชัดเจน เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันของครูผู้สอนแต่ละคนและนักเรียนที่จะช่วยให้สามารถทำชิ้นงานได้ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ความเข้าใจใน ๖ ด้าน
                        เพื่อความชัดเจนว่า ความเข้าใจที่เป็นหัวใจหลักของการเรียนรู้คืออะไร คือการพิจารณาว่าผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งจะสามารถทำสิ่งดังต่อไปนี้ (กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. 2550 : 8)
๑. Can explain สามารถอธิบายแนวคิด เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์อย่างชัดเจน พร้อมข้อมูล ทฤษฎี และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถอธิบายเหตุผลและวิธีการ (Why and How)  ทั้งยังสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่              ก้าวเกินคำตอบเพียงผิด หรือถูก
๒.   Can interpret สามารถแปลความให้เกิดความหมายที่ชัดเจน ชี้ให้เห็นคุณค่า แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง และผลกระทบที่อาจมีต่อผู้เกี่ยวข้อง                   
๓.     Can apply สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ต่างไปจากที่เรียนรู้มา 
๔.     Have perspective สามารถมองข้อดี ข้อเสีย จากมุมมองที่หลากหลาย
๕.     Can empathize มีความละเอียดอ่อนที่จะซึมซับ รับทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้อง
๖.     Have self-knowledge รู้จักตนเอง ตระหนักถึงจุดอ่อน วิธีคิด วิถีปฏิบัติ ค่านิยม อคติ ของตนเอง ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อ
การเรียนรู้และความเข้าใจของตนเอง

                จุดเด่นของการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design คือ

   1. การนำแนวทางวัดผลมาเป็นหลักในการออกแบบการเรียนรู้
   2. การบูรณาการความรู้ ช่วยลดภาระครูผู้สอน
   3.สามารถนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นมาออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design

  ข้อควรคำนึงของการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design

   1. .ในการบูรณาการ ครูควรมีการประชุมหารือวางแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนนำไปใช้สอน เพื่อป้องกันการประเมินซ้ำซ้อน 
   2. ชิ้นงานแต่ละชิ้น ควรประเมินได้หลายกลุ่มสาระการเรียนรู้
   3. ในระดับช่วงชั้นที่ 3-4 การบูรณาการอาจต้องจัดให้เหมาะสม เพราะครูแต่ละคน จะสอนประจำวิชาเพียงกลุ่มสาระเดียวเป็นส่วนใหญ่ การบูรณาการจึงต้องใช้การประสานงานที่ดี
               4. เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม ในการเรียนเรื่องเดียวกัน ควรใช้ช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันเพื่อบูรณาการความรู้
แนวทางการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design

                การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design มีแนวทางในการออกแบบการเรียนรู้ ดังนี้

                   1. นำเนื้อหาสาระในหนังสือเรียนมาออกแบบการเรียนรู้ และทำแผนการสอน อาจบูรณาการหรือไม่บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นก็ได้
                   2. นำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design โดยบูรณาการในกลุ่มสาระต่าง ๆ
                   3. นำเรื่องราว เนื้อหา แนวคิดต่าง ๆ เช่น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design

คลิกศึกษาเพิ่มเติมตามเว็ปข้างล่างนี้

http://61.91.205.171/download/backward_design.pdf




http://www.nitesonline.net/download/Backward.pdf




http://www.krujongrak.com/backward/backward_design.pdf


http://www.pesasy.com/lesson/backward%20Design.htm


และ


http://www.psmschool.ac.th/news/images_upload/20081122828292.pdf