การขอวีซ่าเพื่อเดินทางมาศึกษาในสหราชอาณาจักรในฐานะนักศึกษาทั่วไป
(Applying to come to the UK as a general student)
การขอวีซ่าเพื่อเดินทางมาศึกษาในสหราชอาณาจักรในฐานะนักศึกษาทั่วไป (Applying to come to the UK as a general student)ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป นักศึกษาทุกคนที่จะเดินทางเข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักรจะต้องขอวีซ่าภายใต้ระบบให้คะแนน ไม่ว่าจะเดินทางเข้ามาศึกษาเป็นครั้งแรกหรือเป็นการต่อวีซ่าเพื่อศึกษาต่อ
เอกสารจำเป็นสำหรับการขอวีซ่า
1. จดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิสให้เป็นผู้รับรอง และ
2. หลักฐานทางการเงินซึ่งแสดงว่ามีเงินพอเพียงสำหรับค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพที่จำเป็นระหว่างอยู่ในสหราชอาณาจักร (ค่าเลี้ยงชีพ)
จดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิส
จดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษา ฯ ควรมีข้อมูลดังนี้
นักศึกษาอาจมีจดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) หลายฉบับจากหลาย ๆ สถาบัน ฯ แต่มีสิทธิใช้จดหมายเหล่านั้นเพียงฉบับเดียวในการขอวีซ่า ดังนั้นก่อนที่จะยื่นขอวีซ่านักศึกษาต้องแน่ใจว่าจะเลือกไปศึกษาที่สถาบันใด
ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2009 เป็นต้นไป ระบบไอทีที่เกี่ยวกับการรับรองนักศึกษาของสถาบันการศึกษาจะเริ่มมีการบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีการใช้จดหมายรับรองวีซ่า อีกต่อไป แต่จะเปลี่ยนเป็น คำยืนยันการตอบรับให้เข้าเรียน (Confirmations of Acceptance of Studies: CAS) ซึ่งมีข้อมูลเหมือนกันกับจดหมายรับรองวีซ่า แทน
จำนวนเงินที่จำเป็นต้องแสดงภายใต้ระบบให้คะแนนคือ
เงินค่าเลี้ยงชีพ
เงินค่าเลี้ยงชีพอาจเป็น
• เงินสดในธนาคารที่นักศึกษาสามารถเบิกออกมาใช้ได้ หรือ
• เงินทุนของรัฐบาล หรือองค์กรอื่นที่เป็นผู้ให้ทุน
โฮมออฟฟิสจะไม่มีการรับ บัญชีประเภทอื่น หรือเอกสารการเงินอื่น ๆ เช่น หุ้น พันธบัตร (Bonds) กองทุนบำนาญ (pension funds) เป็นต้นไม่ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นจะเบิกออกมาใช้ได้เมื่อไร
หลักฐานแสดงเงินค่าเลี้ยงชีพ
• บัญชีส่วนตัวในธนาคาร หรือใน Building society
• สมุดฝากเงินของ Building society
• หนังสือยืนยันจากธนาคาร
• หนังสือจากองค์กรการเงินที่ได้รับการควมคุม (regulated financial institution) ยืนยันว่าจะให้เงินสด หรือเงินกู้แก่นักศึกษาทันทีที่ได้รับวีซ่า
• หนังสือจากรัฐบาล หรือองค์กรอื่นที่เป็นเจ้าของทุน
การขอต่อวีซ่าเมื่อนักศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักรแล้ว (How to apply if you are already in the UK)
• ตรวจสอบว่านักศึกษาจะได้คะแนนเพียงพอสำหรับการขอต่อวีซ่านักศึกษาหรือไม่
• กรอกใบสมัครขอต่อวีซ่าให้เรียบร้อย
• ส่งใบสมัคร ฯ พร้อมค่าธรรมเนียม และหลักฐานรับรองไปที่ โฮมออฟฟิส
นักศึกษาจำเป็นจะต้องส่งหลักฐานรับรองทั้งหมดไปพร้อมกับใบสมัคร ฯ เพราะจะไม่สามารถส่งหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้อีกหลังจากโฮมออฟฟิสพิจารณาใบสมัคร ฯ แล้ว นักศึกษาควรส่งหลักฐานการศึกษาที่เคยยื่นต่อผู้รับรอง รวมไปกับหลักฐานรับรองอื่น ๆ ด้วย
หากนักศึกษาผู้ใดต้องการขอต่อวีซ่าให้ผู้ติดตามในเวลาเดียวกัน ต้องส่งใบสมัครขอต่อวีซ่าของผู้ติดตามไปในซองเดียวกันกับใบสมัคร ฯ ของนักศึกษาด้วย
การขอวีซ่าจากภายนอกสหราชอาณาจักร (How to apply if you are outside the UK)
• ตรวจสอบว่านักศึกษาจะได้คะแนนเพียงพอสำหรับการขอวีซ่านักศึกษาหรือไม่
• เข้าไปที่เว็บไซต์ www.visa4uk.fco.gov.uk/
กรอกใบสมัครขอวีซ่าทางเว็บไซต์ (ออนไลน์)
เดินทางไปที่ศูนย์รับคำขอวีซ่าในวันที่สะดวก หรือสามารถนัดหมายการเข้าพบเจ้าหน้าที่ทางเว็บไซต์ได้เพื่อยื่นใบสมัครขอวีซ่าและบันทึกข้อมูลไบโอเมตริก (Biometric)
นักศึกษาจำเป็นจะต้องส่งหลักฐานรับรองทั้งหมดไปพร้อมกับใบสมัครขอวีซ่า เพราะจะไม่สามารถส่งหลักฐานอื่นเพิ่มเติม หลังจากเจ้าหน้าที่พิจารณาใบสมัคร ฯ แล้ว
การขอต่อวีซ่าสำหรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักร (Extending your permission to stay as a general student)
การขอต่อวีซ่าสำหรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักร (Extending your permission to stay as a general student)ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป ผู้ที่ต้องการต่อวีซ่านักศึกษาทั่วไป จะต้องสมัครภายใต้ระบบให้คะแนน และต้องได้คะแนนทั้งสิ้น 40 คะแนนตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1. 30 คะแนนสำหรับจดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิสให้เป็นผู้รับรอง และ
2. 10 คะแนนสำหรับการแสดงว่ามีเงินพอเพียงสำหรับค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพที่จำเป็นสำหรับระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน (ค่าเลี้ยงชีพ)
จดหมายรับรองวีซ่าคืออะไร (Visa letter)
จดหมายรับรองวีซ่าคือจดหมายที่รับรองว่าผู้สมัครสามารถเข้าเรียนในสถาบันการศึกษานั้นได้ โดยสถาบันการศึกษาซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้รับรองนักศึกษาตามกฎหมายเข้าเมืองจะต้องแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
• ข้อมูลของนักศึกษา
• ข้อมูลของผู้รับรองเอง
• ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่นักศึกษาจะเข้าเรียน
• ข้อมูลการเงินของนักศึกษา
สามารถดูตัวอย่างจดหมายรับรองวีซ่าได้ที่
ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2009 เป็นต้นไป ระบบไอทีที่เกี่ยวกับการรับรองนักศึกษาของสถาบันการศึกษาจะเริ่มมีการบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีใช้จดหมายรับรองวีซ่า อีกต่อไป แต่จะเปลี่ยนเป็น คำยืนยันการตอบรับให้เข้าเรียน (Confirmations of Acceptance of Studies: CAS) ซึ่งมีข้อมูลเหมือนกับจดหมายรับรองวีซ่า แทน
ใครคือผู้รับรองที่ได้รับอนุญาต
นักศึกษาจำเป็นต้องเข้าเรียนกับสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิสให้เป็นผู้รับรองแล้วเท่านั้น บัญชีรายชื่อของสถาบัน ฯ ซึ่งได้รับการแก้ไขปรับปรุงเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2009 หาได้ที่
สถาบัน ฯ เหล่านี้มีหน้าที่รับผิดชอบนักศึกษาระหว่างที่นักศึกษาพำนักและศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักร โดยมีหน้าที่แจ้งให้โฮมออฟฟิสทราบ หาก
• นักศึกษาไม่มาเข้าเรียนตามกำหนดเมื่อหลักสูตรเปิดเรียน
• นักศึกษาออกจากหลักสูตรระหว่างเรียน
• นักศึกษามีการผัดผ่อน หรือพักการเรียน หรือ
• นักศึกษาขาดเรียนเป็นระยะเวลานานเกินควร
เรื่องการเงิน
จำนวนเงินที่จำเป็นต้องแสดงภายใต้ระบบให้คะแนนคือ
จะขอต่อวีซ่าได้นานเท่าไร
นักศึกษาสามารถขอต่อวีซ่าได้ตามกำหนดระยะเวลาของหลักสูตรนั้น หรือไม่เกิน 3 หรือ 4 ปี หากหลักสูตรนั้นมีกำหนดระยะเวลานานกว่า 3 หรือ 4 ปี นักศึกษาจำเป็นต้องขอต่อวีซ่ากับ
โฮมออฟฟิสอีกครั้ง
การขอต่อวีซ่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
• ใบสมัครขอต่อวีซ่า
• ค่าธรรมเนียม (ขณะนี้ 295 ปอนด์)
• หนังสือเดินทาง
• จดหมายรับรองวีซ่าจากผู้รับรองที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิส
• หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินในจำนวนที่เพียงพอ
• หลักฐานการศึกษาที่นักศึกษายื่นต่อผู้รับรองเมื่อสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรนั้น
• บัตรประจำตัวคนต่างด้าว หากสมัครจากในสหราชอาณาจักร
• ข้อมูลชีวภาพหรือ biometrics หากสมัครจากภายนอกสหราชอาณาจักร
นักศึกษาจะได้รับอนุญาตให้ทำงานหรือไม่
นักศึกษาสามารถทำงานได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมงระหว่างเปิดภาคเรียน และเต็มเวลาระหว่างปิดภาคเรียน
การสอบซ่อม หรือการซ้ำชั้น (Examination re-sit or repeat of study)
โฮมออฟฟิสจะให้โอกาส นักศึกษาสอบใหม่ และ/หรือซ้ำชั้นได้ไม่เกิน อย่างละ 2 ครั้ง แต่หากวีซ่าที่มีอยู่นั้นหมดอายุก่อนที่นักศึกษาจะสอบซ่อมหรือซ้ำชั้น นักศึกษาก็จะต้องขอต่อวีซ่ากับโฮมออฟฟิส
คุณสมบัติที่จำเป็นของนักศึกษาที่จะเข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักร (Eligibility for general students coming to the UK)
คุณสมบัติที่จำเป็นของนักศึกษาที่จะเข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักร (Eligibility for general students coming to the UK)ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป ผู้ที่ต้องการเดินทางมาศึกษาในสหราชอาณาจักรในฐานะนักศึกษาทั่วไป คือไม่ใช่เป็นนักเรียนอายุต่ำกว่า 16 ปี หรือผู้ที่อยู่ในสหราชอาณาจักรแล้วและต้องการต่อวีซ่านักศึกษา จะต้องผ่านการประเมินโดยระบบให้คะแนน และจะต้องได้คะแนนทั้งสิ้น 40 คะแนนตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1. 30 คะแนนสำหรับจดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิสให้เป็นผู้รับรอง และ
2. 10 คะแนนสำหรับหลักฐานแสดงว่ามีเงินพอเพียงสำหรับค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพที่จำเป็น (ค่าเลี้ยงชีพ)
และตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2009 เป็นต้นไป ระบบไอทีที่เกี่ยวกับการรับรองนักศึกษาของสถาบันการศึกษาจะเริ่มมีการบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีใช้จดหมายรับรองวีซ่า อีกต่อไป แต่จะเปลี่ยนเป็น คำยืนยันการตอบรับให้เข้าเรียน (Confirmations of Acceptance of Studies: CAS) ซึ่งมีข้อมูลเหมือนกันกับจดหมายรับรองวีซ่า ฯ แทน
หากนักศึกษาต้องการเข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักรในระยะเวลาน้อยกว่า 6 เดือน ก็สามารถขอวีซ่าได้ในฐานะ นักศึกษาอาคันตุกะ (Student visitor)
จะขอวีซ่าได้นานเท่าไร
หากนักศึกษาเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่า จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในสหราชอาณาจักรตลอดระยะเวลาของหลักสูตร แต่ไม่เกิน 4 ปี หากหลักสูตรนั้นมีระยะเวลานานกว่า 4 ปี นักศึกษาจำเป็นต้องขอต่อวีซ่ากับโฮมออฟฟิสอีกครั้ง
หากนักศึกษาเรียนในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ก็จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในสหราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 3 ปี
เมื่อวีซ่าหมดอายุ นักศึกษาจะได้รับเวลาเพิ่มเติมสำหรับการเก็บเข้าของ และจัดการกับธุระส่วนตัวเพื่อที่จะออกไปจากสหราชอาณาจักร หรือนักศึกษาจะต้องขอต่อวีซ่า หรือขอเปลี่ยนวีซ่าไปเป็นประเภทอื่นที่จะเปลี่ยนได้
การเปลี่ยนผู้รับรอง
หากนักศึกษาเปลี่ยนใจที่จะศึกษากับสถาบันฯ (ผู้รับรอง) อื่นที่ไม่ใช่สถาบันซึ่งเป็นผู้รับรองวีซ่าให้ในครั้งแรก ไม่ว่าจะก่อนเดินทางเข้ามาในสหราชอาณาจักร หรือเมื่อเดินทางเข้ามาแล้วก็ตาม นักศึกษาจำเป็นต้องขอจดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาใหม่ และยื่นใบสมัครขอวีซ่าใหม่ ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่นักศึกษาจะต้องมั่นใจว่าจะศึกษากับสถาบัน ฯ ใดก่อนที่จะทำการขอวีซ่า
หากนักศึกษายังไม่แน่ใจว่าจะศึกษากับสถาบัน ฯ ใด ก็อาจจะขอวีซ่าในฐานะผู้มาเยี่ยมชมสถาบันการศึกษา (Prospective student) ก่อนได้ และขอเปลี่ยนเป็นวีซ่านักเรียนทั่วไป เมื่อเข้ามาในสหราชอาณาจักร และตัดสินใจได้แล้ว
หลักสูตรระดับใดที่มีสิทธิออกจดหมายรับรองวีซ่าให้นักศึกษาได้ (What are the acceptable levels of courses that a general student can get a visa letter for?)
• หลักสูตรในระดับที่ 3 หรือสูงกว่าของ National Qualifications framework (NQF) หรือหลักสูตรในระดับเดียวกัน หรือ
• หลักสูตรภาษาอังกฤษในระดับ เอสอง ของ The Common European Framework of Reference for Languages หรือ
• หลักสูตรระยะสั้นในต่างประเทศ (Short term abroad programmes) ของสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ ในกรณีที่การศึกษาในสหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรนั้น และประกาศนียบัตรที่จะได้รับเมื่อจบหลักสูตรได้รับการรับรองจาก UK NARIC ว่าอยู่ในระดับเทียบเท่าอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร
• หลักสูตรที่ได้รับการตรวจสอบจากองค์กรที่โฮมออฟฟิสรับรองแล้ว (Approved accreditation bodies) ว่าอยู่ในระดับที่ 3 หรือสูงกว่าของ National Qualifications framework (NQF) (ในบางกรณีเท่านั้น)
นักศึกษาทั่วไปเข้าศึกษาหลักสูตรอะไรได้บ้าง (What type of study can a general student do?)
นักศึกษาต้องศึกษาเต็มเวลาใน
• ระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่า ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือ
• หลักสูตรต่างประเทศระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ได้มีการรับรองว่าเทียบเท่ากับขั้นอุดมศึกษาของสหราชอาณาจักร หรือ
• หลักสูตรระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร แต่ต้องไม่ต่ำกว่าระดับที่ 3 หรือเทียบเท่า ภายใต้ National Qualifications framework (NQF)และมีการสอนเป็นทางการในเวลากลางวัน (ระหว่าง 0800-1800 น วันจันทร์ถึงวันศุกร์) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 15 ชั่วโมง หรือ
• หลักสูตรซึ่งไม่ต่ำกว่าระดับที่ 3 หรือเทียบเท่า ภายใต้ National Qualifications framework (NQF)หรือหลักสูตรของสถาบันต่างประเทศ ซึ่งเทียบเท่าระดับอุดมศึกษาของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีการฝึกงาน (work-placement) ไม่เกินร้อยละ 50 ของหลักสูตรทั้งหมด
หลักสูตรภาษาอังกฤษ
นักศึกษาสามารถสมัครเรียนและยื่นจดหมายรับรองวีซ่าจากสถาบัน ฯ เพื่อขอวีซ่าเข้าเรียนในหลักสูตรระดับต่ำกว่าที่กำหนดได้ หากหลักสูตรนั้นเป็นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเท่านั้น และจะต้องเป็นหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษในระดับ เอสองภายใต้ The Common European Framework of Reference for Languages เป็นอย่างต่ำ นอกจากนี้เมื่อจบหลักสูตรจะต้องมีการสอบเพื่อให้ได้รับการรับรองในระดับนี้หรือสูงกว่า
หลักสูตรระดับอุดมศึกษา
• นักศึกษาสามารถสมัครเรียนและยื่นจดหมายรับรองวีซ่าจากสถาบัน ฯ เพื่อขอวีซ่าเข้าเรียนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาต่างประเทศ หากการศึกษาในสหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของสถาบัน ฯ นั้น และประกาศนียบัตรซึ่งนักศึกษาจะได้รับเมื่อจบจากหลักสูตรได้รับการรับรองจาก UK NARIC ว่าอยู่ในระดับเทียบเท่าอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร
การฝึกงาน (Work-placements)
นักศึกษาอาจมีการฝึกงาน หากการฝึกงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร แต่การฝึกงานนั้นต้องมีระยะเวลาไม่เกินร้อยละ 50 ของระยะเวลาทั้งหมดของหลักสูตร ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรประเภท 4 ปีซึ่งมีการฝึกงานรวมอยู่ในนั้น 1 ปี เป็นต้น
หลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนภาคปกติ (Pre-sessional courses)
หลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนภาคปกติ เป็นหลักสูตรจำพวก
• สอนภาษาอังกฤษแบบเร่งรัด หรือ
• ปูพื้นฐานนักศึกษาให้พร้อมสำหรับการเรียนภาคปกติ
ในการที่จะได้รับวีซ่าเพื่อเข้าเรียนในหลักสูตรเตรียมความพร้อม ฯ นักศึกษาจะต้องผ่านการประเมินโดยระบบให้คะแนน และจะต้องได้คะแนนทั้งสิ้น 40 คะแนน เช่นเดียวกับการขอวีซ่าเข้าเรียนในภาคปกติ คือ
1. 30 คะแนนสำหรับจดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิสให้เป็นผู้รับรอง และ
2. 10 คะแนนสำหรับหลักฐานแสดงว่ามีเงินพอเพียงสำหรับค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพที่จำเป็น (ค่าเลี้ยงชีพ)
หากสถาบัน ฯ ตอบรับให้นักศึกษาเข้าเรียน อย่างไม่มีเงื่อนไข (Unconditional offer) นักศึกษาจะได้รับวีซ่าครอบคลุมระยะเวลาเรียนของทั้งสองหลักสูตร หากการเรียนหลักสูตรเตรียมความพร้อม ฯ นั้น
• เรียนกับสถาบันการศึกษาเดียวกันกับภาคปกติ หรือ
• เรียนกับสถาบันการศึกษาในเครือและมีชื่อรวมอยู่ในใบอนุญาตเดียวกันกับของสถาบันการศึกษาหลัก (ภาคปกติ)
แต่หากสถาบัน ฯ ตอบรับให้นักศึกษาเข้าเรียนอย่างมีเงื่อนไข (Conditional offer) นักศึกษาจำเป็นต้องขอวีซ่าสำหรับเข้ามาเรียนในหลักสูตรเตรียมความพร้อม ฯ อย่างเดียวก่อน และเมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนั้นแล้ว ก็อาจขอต่อวีซ่าเพื่อเข้าเรียนในหลักสูตรภาคปกติต่อเนื่องได้
กฎเกณฑ์การได้คะแนนสำหรับระบบให้คะแนนระดับที่ 4 นักศึกษา
กำหนดการที่สำคัญของระดับที่ 4 ภายใต้ระบบให้คะแนน ประเภทนักศึกษา
บัญชีรายชื่อสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้รับรองแล้ว หาได้ที่
http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/sitecontent/documents/employersandsponsors/pointsbasedsystem/registerofsponsorseducation
ระดับที่ 4 ภายใต้ระบบให้คะแนน ประเภทนักศึกษา (Tier 4 points based system: students)
ระดับที่ 4 ภายใต้ระบบให้คะแนน ประเภทนักศึกษา (Tier 4 points based system: students)หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเข้าเมืองใหม่สำหรับผู้ที่เข้ามาทำงานในสหราชอาณาจักรแล้ว สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแห่งสหราชอาณาจักร (UKBA) ก็กำลังทำการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเข้าเมืองใหม่สำหรับนักเรียนด้วยเหมือนกัน หลักใหญ่ ๆ คือ นักเรียนที่ต้องการศึกษาในสหราชอาณาจักร
• ต้องได้รับใบรับรองจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิส และ
• ต้องมีการพิมพ์ลายมือเมื่อขอวีซ่า
ส่วนสถาบันการศึกษาที่ต้องการรับนักเรียนต่างชาติ ก็มีหน้าที่
• ต้องทำการติดตามข้อมูลของนักเรียนและ
• ต้องแจ้งให้โฮมออฟฟิสทราบหากนักเรียนผู้ใดไม่มาลงทะเบียนเข้าเรียน หรือขาดเรียนเกิน 10 ครั้ง
กำหนดการ และรายละเอียดของกฎหมายใหม่แบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
1. การขออนุญาตเป็นผู้รับรอง
ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2008 สถาบันการศึกษาสามารถสมัครขออนุญาตเป็นผู้รับรองได้จากโฮมออฟฟิส (Licensed sponsor) และหากสมัครก่อนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2009 ก็จะได้รับการพิจารณาก่อนที่ระดับที่ 4 ภายใต้ระบบให้คะแนน จะเริ่มใช้บังคับคือ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป ในการพิจารณาใบสมัครจากสถาบันการศึกษาเหล่านี้ โฮมออฟฟิสจะทำการเยี่ยมเยียนตรวจสอบสถาบันการศึกษาที่คิดว่าจะเป็นการเสี่ยงหากออกใบอนุญาตให้เป็นผู้รับรอง บัญชีรายชื่อของผู้รับรองที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟสแล้ว หาได้ที่ http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/sitecontent/documents/employersandsponsors/pointsbasedsystem/registerofsponsorseducation
2. การดำเนินการ ระดับที่ 4 ภายใต้ระบบให้คะแนน
ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป นักเรียนที่ต้องการศึกษาในสหราชอาณาจักรจะต้องสมัครภายใต้ระบบให้คะแนน คือ
• นักเรียนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว จะรับอนุญาตให้เข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักรได้ต่อเมื่อมีหลักฐานประวัติการเรียนที่เป็นแนวทางมาก่อนแล้ว (track record) และ
• จะต้องเข้าเรียนในหลักสูตรซึ่งเทียบเท่าหรือสูงกว่า ระดับที่ 3 ของ National Qualification Framework (NQF) หรือสำหรับผู้ที่มาเรียนภาษาอังกฤษ ต้องเข้าเรียนในหลักสูตรเท่ากับระดับ A 2 European Common Framework of Reference for Language
และตั้งแต่เดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป โฮมออฟฟิสจะปฏิเสธการขอวีซ่า หรือการขอต่อวีซ่าของนักเรียนผู้ไม่มีใบรับรองจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิส และชื่อของสถาบันการศึกษาเหล่านั้นปรากฎอยู่ในบัญชีผู้รับรองของโฮมออฟฟิสด้วย (Sponsor Register)
3. การทดลองและดำเนินการใช้ระบบบริหารของผู้รับรอง (Sponsorship management system: SMS)
เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป นักเรียนที่ต้องการศึกษาในสหราชอาณาจักรจะต้องแสดงว่า
• มีทรัพย์สินเพียงพอสำหรับค่าเลี้ยงชีพในสหราชอาณาจักร และ
• มีหลักฐานการศึกษาที่เคยยื่นต่อสถาบันการศึกษาผู้ออกใบรับรองนั้น เช่นหลักฐานแสดงคุณวุฒิต่าง ๆ เป็นต้น
และตั้งแต่เดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป สถาบันการศึกษาจะต้องมั่นใจว่านักเรียนที่ได้รับการรับรองนั้น จะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของวีซ่าที่จะได้รับ และ
สถาบันการศึกษาจะต้องทำหน้าที่เก็บรักษาประวัติของนักเรียนโดยการเก็บ สำเนาหนังสือเดินทาง และปรับปรุงรายละเอียดส่วนตัว เช่นที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น ให้เป็นปัจจุบันเสมอ
นอกจากนี้ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2009 เป็นต้นไป โฮมออฟฟิสจะทำการทดลองระบบบริหารของผู้รับรอง (Sponsorship management system: SMS) ซึ่งจะทำให้สถาบันการศึกษาสามารถออกใบรับรองหรือที่เรียกว่า คำยืนยันตอบรับการสอน ให้นักศึกษา (confirmations of acceptance for studies: CAS) และทำหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบหรือรายงานข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนได้โดยทางอิเล็กทรอนิก
ก่อนที่ระบบบริหารของผู้รับรอง (Sponsorship management system: SMS) จะเริ่มบังคับใช้ สถาบันการศึกษาจำเป็นต้องตอบรับนักเรียนเป็นจดหมาย โดยต้องมีรายละเอียด เช่น ชื่อหลักสูตร ระยะเวลาของหลักสูตร หมายเลขประจำตัวของผู้รับรอง ส่วนการรายงานเรื่องนักเรียนไม่ได้ลงทะเบียนเข้าเรียนหรือขาดเรียน ยังไม่จำเป็นต้องแจ้งจนกว่าระบบบริหารของผู้รับรอง (Sponsorship management system: SMS) จะเริ่มทดลองใช้ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2009 เป็นต้นไป
ภายหลังเดือนกันยายน 2009 จะมีการเปลี่ยนแปลงอีก 2 ครั้ง
• ผู้ที่อยู่ในสหราชอาณาจักรแล้ว และต้องการเปลี่ยนจากระดับอื่น ภายใต้ระบบให้คะแนน ที่สามารถเปลี่ยนเป็นระดับที่ 4 ประเภทนักเรียนได้ จะต้องได้รับคำยืนยันตอบรับการสอน (CAS) จากสถาบันการศึกษาภายใต้ระบบบริหารของผู้รับรอง (Sponsorship management system: SMS) เพื่อที่จะขอเปลี่ยนวีซ่า
• ผู้ที่อยู่ในสหราชอาณาจักรแล้ว และมีวีซ่าเดิมเป็นนักเรียนและต้องการต่อวีซ่า จะต้องได้รับคำยืนยันตอบรับการสอน (CAS) จากสถาบันการศึกษา ภายใต้ระบบบริหารของผู้รับรอง เพื่อที่จะทำการขอต่อวีซ่า
4 การดำเนินงานใช้ระบบบริหารของผู้รับรองอย่างเต็มรูปแบบ (Sponsorship management system: SMS)
เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2010 เป็นต้นไป นักเรียนทุกคนที่อยู่ในสหราชอาณาจักร หรืออยู่นอกสหราชอาณาจักร จะต้องได้รับคำยืนยันตอบรับการสอน (CAS) จากสถาบันการศึกษา ภายใต้ระบบบริหารของผู้รับรอง เพื่อที่จะขอวีซ่า หรือ ขอต่อวีซ่า
การขอวีซ่าเพื่อเดินทางมาศึกษาในสหราชอาณาจักรในฐานะนักศึกษาทั่วไป (Applying to come to the UK as a general student)
การขอวีซ่าเพื่อเดินทางมาศึกษาในสหราชอาณาจักรในฐานะนักศึกษาทั่วไป (Applying to come to the UK as a general student)ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป นักศึกษาทุกคนที่จะเดินทางเข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักรจะต้องขอวีซ่าภายใต้ระบบให้คะแนน ไม่ว่าจะเดินทางเข้ามาศึกษาเป็นครั้งแรกหรือเป็นการต่อวีซ่าเพื่อศึกษาต่อ
เอกสารจำเป็นสำหรับการขอวีซ่า
1. จดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิสให้เป็นผู้รับรอง และ
2. หลักฐานทางการเงินซึ่งแสดงว่ามีเงินพอเพียงสำหรับค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพที่จำเป็นระหว่างอยู่ในสหราชอาณาจักร (ค่าเลี้ยงชีพ)
จดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิส
จดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษา ฯ ควรมีข้อมูลดังนี้
ประเภท นักศึกษาทั่วไป
นักศึกษา • ชื่อและนามสกุล
• สัญชาติ
• บ้านเลขที่ในประเทศไทย
• หมายเลขหนังสือเดินทาง
ผู้รับรอง • หมายเลขใบอนุญาต
• ที่อยู่และรายละเอียดของเจ้าหน้าที่ติดต่อ
• ชื่อและที่อยู่ของสถาบันการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง หากนักศึกษาจำเป็นจะต้องศึกษากับสถาบันฯ อื่นในหลักสูตรนั้นด้วย
• ชื่อและที่อยู่ของสถาบันระดับอุดมศึกษาต่างประเทศ หากการศึกษาในสหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของสถาบัน ฯ นั้น
หลักสูตร • ชื่อหลักสูตร
• ระดับของหลักสูตร ประกาศนียบัตร หรือคุณวุฒิที่นักศึกษาจะได้รับเมื่อสำเร็จการศึกษา
• วันที่หลักสูตรเริ่มต้น
• วันที่หลักสูตรเสร็จสิ้น
• จำนานชั่วโมงเรียนในแต่ละสัปดาห์
• สถานที่เรียนของนักศึกษา หากแตกต่างจากสถานที่หลักของผู้รับรอง
• สถานที่ฝึกงานของนักศึกษา หากมีการฝึกงาน
การเงิน • จำนวนค่าเล่าเรียนในปีแรก
• จำนวนค่าเล่าเรียนที่จ่ายแล้ว
• จำนวนค่าที่พักอาศัยในปีแรก หากพักในสถานที่ของสถาบัน ฯ
• จำนวนค่าที่พักอาศัยที่จ่ายแล้ว หากพักในสถานที่สถาบัน ฯ
หลักฐานการศึกษาที่นักศึกษายื่นต่อผู้รับรองเมื่อสมัครเข้าศึกษา
• อธิบายประเภทของหลักฐานแต่ละชิ้นโดยย่อ
• ชื่อหลักสูตร
• ระดับคุณวุฒิที่นักศึกษาได้รับแล้ว
• ปีที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษาและได้รับคุณวุฒินั้น
• ชื่อของสถาบันที่ออกคุณวุฒิ หรือหลักฐานที่นักศึกษาใช้แสดง รวมทั้งชื่อและรายละเอียดของเจ้าหน้าที่ติดต่อ
• หลักฐานออกเมื่อไร
• ใบรับรองของ ATAS (Academic Technology Approval Scheme) หากจำเป็นสำหรับหลักสูตรที่นักศึกษากำลังสมัคร
นักศึกษาอาจมีจดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) หลายฉบับจากหลาย ๆ สถาบัน ฯ แต่มีสิทธิใช้จดหมายเหล่านั้นเพียงฉบับเดียวในการขอวีซ่า ดังนั้นก่อนที่จะยื่นขอวีซ่านักศึกษาต้องแน่ใจว่าจะเลือกไปศึกษาที่สถาบันใด
ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2009 เป็นต้นไป ระบบไอทีที่เกี่ยวกับการรับรองนักศึกษาของสถาบันการศึกษาจะเริ่มมีการบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีการใช้จดหมายรับรองวีซ่า อีกต่อไป แต่จะเปลี่ยนเป็น คำยืนยันการตอบรับให้เข้าเรียน (Confirmations of Acceptance of Studies: CAS) ซึ่งมีข้อมูลเหมือนกันกับจดหมายรับรองวีซ่า แทน
จำนวนเงินที่จำเป็นต้องแสดงภายใต้ระบบให้คะแนนคือ
ระยะเวลาของหลักสูตร ที่ตั้งของสถาบันการศึกษา จำนวนเงินที่ต้องแสดง
12 เดือนหรือน้อยกว่า ลอนดอน ค่าเล่าเรียน และ ค่าเลี้ยงชีพอีก 800 ปอนด์ต่อเดือน สำหรับทุก ๆ เดือนตามกำหนดระยะเวลาของหลักสูตร
12 เดือนหรือน้อยกว่า ภายนอกลอนดอน ค่าเล่าเรียน และ ค่าเลี้ยงชีพอีก 600 ปอนด์ต่อเดือน สำหรับทุก ๆ เดือนตามกำหนดระยะเวลาของหลักสูตร
มากกว่า 12 เดือน ลอนดอน ค่าเล่าเรียนสำหรับหนึ่งปี และค่าเลี้ยงชีพสำหรับปีแรกอีก 9,600 ปอนด์
มากกว่า 12 เดือน ภายนอกลอนดอน ค่าเล่าเรียนสำหรับหนึ่งปี และค่าเลี้ยงชีพสำหรับปีแรกอีก 7,200 ปอนด์
เงินค่าเลี้ยงชีพ
เงินค่าเลี้ยงชีพอาจเป็น
• เงินสดในธนาคารที่นักศึกษาสามารถเบิกออกมาใช้ได้ หรือ
• เงินทุนของรัฐบาล หรือองค์กรอื่นที่เป็นผู้ให้ทุน
โฮมออฟฟิสจะไม่มีการรับ บัญชีประเภทอื่น หรือเอกสารการเงินอื่น ๆ เช่น หุ้น พันธบัตร (Bonds) กองทุนบำนาญ (pension funds) เป็นต้นไม่ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นจะเบิกออกมาใช้ได้เมื่อไร
หลักฐานแสดงเงินค่าเลี้ยงชีพ
• บัญชีส่วนตัวในธนาคาร หรือใน Building society
• สมุดฝากเงินของ Building society
• หนังสือยืนยันจากธนาคาร
• หนังสือจากองค์กรการเงินที่ได้รับการควมคุม (regulated financial institution) ยืนยันว่าจะให้เงินสด หรือเงินกู้แก่นักศึกษาทันทีที่ได้รับวีซ่า
• หนังสือจากรัฐบาล หรือองค์กรอื่นที่เป็นเจ้าของทุน
การขอต่อวีซ่าเมื่อนักศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักรแล้ว (How to apply if you are already in the UK)
• ตรวจสอบว่านักศึกษาจะได้คะแนนเพียงพอสำหรับการขอต่อวีซ่านักศึกษาหรือไม่
• กรอกใบสมัครขอต่อวีซ่าให้เรียบร้อย
• ส่งใบสมัคร ฯ พร้อมค่าธรรมเนียม และหลักฐานรับรองไปที่ โฮมออฟฟิส
นักศึกษาจำเป็นจะต้องส่งหลักฐานรับรองทั้งหมดไปพร้อมกับใบสมัคร ฯ เพราะจะไม่สามารถส่งหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้อีกหลังจากโฮมออฟฟิสพิจารณาใบสมัคร ฯ แล้ว นักศึกษาควรส่งหลักฐานการศึกษาที่เคยยื่นต่อผู้รับรอง รวมไปกับหลักฐานรับรองอื่น ๆ ด้วย
หากนักศึกษาผู้ใดต้องการขอต่อวีซ่าให้ผู้ติดตามในเวลาเดียวกัน ต้องส่งใบสมัครขอต่อวีซ่าของผู้ติดตามไปในซองเดียวกันกับใบสมัคร ฯ ของนักศึกษาด้วย
การขอวีซ่าจากภายนอกสหราชอาณาจักร (How to apply if you are outside the UK)
• ตรวจสอบว่านักศึกษาจะได้คะแนนเพียงพอสำหรับการขอวีซ่านักศึกษาหรือไม่
• เข้าไปที่เว็บไซต์ www.visa4uk.fco.gov.uk/
กรอกใบสมัครขอวีซ่าทางเว็บไซต์ (ออนไลน์)
เดินทางไปที่ศูนย์รับคำขอวีซ่าในวันที่สะดวก หรือสามารถนัดหมายการเข้าพบเจ้าหน้าที่ทางเว็บไซต์ได้เพื่อยื่นใบสมัครขอวีซ่าและบันทึกข้อมูลไบโอเมตริก (Biometric)
นักศึกษาจำเป็นจะต้องส่งหลักฐานรับรองทั้งหมดไปพร้อมกับใบสมัครขอวีซ่า เพราะจะไม่สามารถส่งหลักฐานอื่นเพิ่มเติม หลังจากเจ้าหน้าที่พิจารณาใบสมัคร ฯ แล้ว
การขอวีซ่านักศึกษา (Studying full-time as an adult (general student))
การขอวีซ่านักศึกษา (Studying full-time as an adult (general student))ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป ผู้ที่ต้องการเดินทางมาศึกษาในสหราชอาณาจักรประเภทนักศึกษาทั่วไป คือไม่ใช่เป็นนักเรียนอายุต่ำกว่า 16 ปี จะต้องผ่านการประเมินโดยระบบให้คะแนน และจะต้องได้คะแนนทั้งสิ้น 40 คะแนนตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1. 30 คะแนนสำหรับจดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิสให้เป็นผู้รับรอง และ
2. 10 คะแนนสำหรับการแสดงว่ามีเงินพอเพียงสำหรับค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพที่จำเป็นสำหรับระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน (ค่าเลี้ยงชีพ)
จดหมายรับรองวีซ่าคืออะไร (Visa letter)
จดหมายรับรองวีซ่าคือจดหมายที่รับรองว่าผู้สมัครสามารถเข้าเรียนในสถาบันการศึกษานั้นได้ โดยสถาบันการศึกษาซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้รับรองนักศึกษาตามกฎหมายเข้าเมืองจะต้องแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
• ข้อมูลของนักศึกษา
• ข้อมูลของผู้รับรองเอง
• ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่นักศึกษาจะเข้าเรียน
• ข้อมูลการเงินของนักศึกษา
สามารถดูตัวอย่างจดหมายรับรองวีซ่าได้ที่ http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/studyingintheuk/applyingafter-March/factsheets/samplevisaletter/
ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2009 เป็นต้นไป ระบบไอทีที่เกี่ยวกับการรับรองนักศึกษาของสถาบันการศึกษาจะเริ่มมีการบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีใช้จดหมายรับรองวีซ่า อีกต่อไป แต่จะเปลี่ยนเป็น คำยืนยันการตอบรับให้เข้าเรียน (Confirmations of Acceptance of Studies: CAS) ซึ่งมีข้อมูลเหมือนกันกับจดหมายรับรองวีซ่า แทน
ใครคือผู้รับรองที่ได้รับอนุญาต
นักศึกษาจำเป็นต้องเข้าเรียนกับสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิสให้เป็นผู้รับรองแล้วเท่านั้น บัญชีรายชื่อของสถาบัน ฯ ซึ่งได้รับการแก้ไขปรับปรุงเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2009 หาได้ที่ http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/sitecontent/documents/employersandsponsors/pointsbasedsystem/registerofsponsorseducation
สถาบัน ฯ เหล่านี้มีหน้าที่รับผิดชอบนักศึกษาระหว่างที่นักศึกษาพำนักและศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักร โดยมีหน้าที่แจ้งให้โฮมออฟฟิสทราบ หาก
• นักศึกษาไม่มาเข้าเรียนตามกำหนดเมื่อหลักสูตรเปิดเรียน
• นักศึกษาออกจากหลักสูตรระหว่างเรียน
• นักศึกษามีการผัดผ่อน หรือพักการเรียน หรือ
• นักศึกษาขาดเรียนเป็นระยะเวลานานเกินควร
เรื่องการเงิน
จำนวนเงินที่จำเป็นต้องแสดงภายใต้ระบบให้คะแนนคือ
จะขอวีซ่าได้นานเท่าไร
หากนักศึกษาเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่า จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในสหราชอาณาจักรตลอดระยะเวลาของหลักสูตร แต่ไม่เกิน 4 ปี หากหลักสูตรนั้นมีระยะเวลานานกว่า 4 ปี นักศึกษาจำเป็นต้องขอต่อวีซ่ากับโฮมออฟฟิสอีกครั้ง
หากนักศึกษาเรียนในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ก็จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในสหราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 3 ปี
การขอวีซ่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
• ใบสมัครขอวีซ่า
• ค่าธรรมเนียม (ขณะนี้ 99 ปอนด์)
• หนังสือเดินทาง
• จดหมายรับรองวีซ่าจากผู้รับรองที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิส
• หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินในจำนวนที่เพียงพอ
• หลักฐานการศึกษาที่นักศึกษายื่นต่อผู้รับรองเมื่อสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรนั้น
• บัตรประจำตัวคนต่างด้าว หากสมัครจากในสหราชอาณาจักร
• ข้อมูลชีวภาพหรือ biometrics หากสมัครจากภายนอกสหราชอาณาจักร
นักศึกษาจะได้รับอนุญาตให้ทำงานหรือไม่
นักศึกษาสามารถทำงานได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมงระหว่างเปิดภาคเรียน และเต็มเวลาระหว่างปิดภาคเรียน
เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้ว ผู้ที่ต้องการอยู่ต่อในสหราชอาณาจักร อาจมีสิทธิเปลี่ยนวีซ่าเป็นวีซ่าทำงานสำหรับบัณทิตจบใหม่ ในระดับที่ 1 ภายใต้ระบบให้คะแนนได้แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่จบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น