สหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: United States of America) หรือมักย่อว่า สหรัฐ หรือ อเมริกา เป็นสหพันธรัฐประชาธิปไตย ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยรัฐ 50 รัฐ มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนติดต่อ กับแคนาดาทางทิศเหนือ และเม็กซิโกทางทิศใต้ ส่วนพรมแดนทางทะเลนั้นติดต่อกับแคนาดา รัสเซียและบาฮามาส โดยมีมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแบริง มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแอตแลนติก อ่าวเม็กซิโก และทะเลแคริบเบียนเป็นผืนน้ำล้อมรอบ นอกจากนี้ยังมีดินแดนบางส่วนในแคริบเบียน และมหาสมุทรแปซิฟิกอีกด้วย
สหรัฐอเมริกามีพื้นที่ขนาด 9.63 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 308 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 หรือ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายในเชื้อชาติและวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการอพยพจากหลายประเทศ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นเศรษฐกิจระดับชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2551 กว่า 14.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ (อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 15 ของโลก และอยู่ในอันดับที่ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ)
ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ซึ่งอาจสืบเชื้อสายมาจากชาวเอเชีย ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่มาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ประชากรชนพื้นเมืองอเมริกันเหล่านี้ลดจำนวนลงอย่างมากหลังจากการยึดครองอาณานิคมของชาวยุโรป สหรัฐอเมริกาถูกก่อตั้งโดยสิบสามอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งมีทำเลอยู่ตามฝั่งทะเลแอตแลนติก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319 ชาวอเมริกันประกาศอิสรภาพ ซึ่งเป็นการอ้างสิทธิ์ในการกำหนดชะตาของตนเอง และการสร้างสหภาพความร่วมมือขึ้น รัฐซึ่งก่อการจลาจลสามารถเอาชนะราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในสงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอาณานิคมแห่งแรกที่ประกาศอิสรภาพได้สำเร็จ อนุสัญญาฟิลาเดลเฟียได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2330 การปรับใช้อนุสัญญาดังกล่าวมีผลให้รัฐต่าง ๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเดี่ยว และขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางที่มีอำนาจเด็ดขาด
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาได้ดินแดนเพิ่มเติมจากฝรั่งเศส สเปน สหราชอาณาจักร เม็กซิโก และรัสเซีย และผนวกดินแดนรวมกับสาธารณรัฐเท็กซัสและสาธารณรัฐฮาวาย ความขัดแย้งระหว่างรัฐกสิกรรมทางตอนใต้และรัฐอุตสาหกรรมทางตอนเหนือ เหนือสิทธิของรัฐ และการขยายจำนวนของทาสได้นำไปสู่สงครามกลางเมืองอเมริกา เมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1860 ชัยชนะของฝ่ายเหนือได้ป้องกันการแบ่งแยกประเทศอย่างถาวร และยุติการค้าทาสตามกฎหมายในสหรัฐอเมริกา ในราวคริสต์ทศวรรษ 1870 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกานับว่าใหญ่ที่สุดในโลก และสงครามสเปน-อเมริกันและสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เน้นย้ำถึงสถานภาพทางทหารของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นประเทศแรกซึ่งมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง และเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็นและการยุบสหภาพโซเวียต ส่งผลให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นรัฐอภิมหาอำนาจเดี่ยวของโลก สหรัฐอเมริกามีรายจ่ายทางทหารคิดเป็นกว่าร้อยละ 40 ของรายจ่ายทางทหารทั่วโลก และเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของโลก
สหรัฐอเมริกามีพื้นที่ขนาด 9.63 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 308 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 หรือ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายในเชื้อชาติและวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการอพยพจากหลายประเทศ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นเศรษฐกิจระดับชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2551 กว่า 14.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ (อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 15 ของโลก และอยู่ในอันดับที่ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ)
ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ซึ่งอาจสืบเชื้อสายมาจากชาวเอเชีย ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่มาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ประชากรชนพื้นเมืองอเมริกันเหล่านี้ลดจำนวนลงอย่างมากหลังจากการยึดครองอาณานิคมของชาวยุโรป สหรัฐอเมริกาถูกก่อตั้งโดยสิบสามอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งมีทำเลอยู่ตามฝั่งทะเลแอตแลนติก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319 ชาวอเมริกันประกาศอิสรภาพ ซึ่งเป็นการอ้างสิทธิ์ในการกำหนดชะตาของตนเอง และการสร้างสหภาพความร่วมมือขึ้น รัฐซึ่งก่อการจลาจลสามารถเอาชนะราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในสงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอาณานิคมแห่งแรกที่ประกาศอิสรภาพได้สำเร็จ อนุสัญญาฟิลาเดลเฟียได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2330 การปรับใช้อนุสัญญาดังกล่าวมีผลให้รัฐต่าง ๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเดี่ยว และขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางที่มีอำนาจเด็ดขาด
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาได้ดินแดนเพิ่มเติมจากฝรั่งเศส สเปน สหราชอาณาจักร เม็กซิโก และรัสเซีย และผนวกดินแดนรวมกับสาธารณรัฐเท็กซัสและสาธารณรัฐฮาวาย ความขัดแย้งระหว่างรัฐกสิกรรมทางตอนใต้และรัฐอุตสาหกรรมทางตอนเหนือ เหนือสิทธิของรัฐ และการขยายจำนวนของทาสได้นำไปสู่สงครามกลางเมืองอเมริกา เมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1860 ชัยชนะของฝ่ายเหนือได้ป้องกันการแบ่งแยกประเทศอย่างถาวร และยุติการค้าทาสตามกฎหมายในสหรัฐอเมริกา ในราวคริสต์ทศวรรษ 1870 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกานับว่าใหญ่ที่สุดในโลก และสงครามสเปน-อเมริกันและสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เน้นย้ำถึงสถานภาพทางทหารของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นประเทศแรกซึ่งมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง และเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็นและการยุบสหภาพโซเวียต ส่งผลให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นรัฐอภิมหาอำนาจเดี่ยวของโลก สหรัฐอเมริกามีรายจ่ายทางทหารคิดเป็นกว่าร้อยละ 40 ของรายจ่ายทางทหารทั่วโลก และเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของโลก
ชื่อเรียก
ในปี พ.ศ. 2050 นักเขียนแผนที่ชาวเยอรมัน มาร์ติน วัลด์เซมึลเลอร์ ได้ผลิตแผนที่โลกซึ่งเขาได้ตั้งชื่อดินแดนทางซีกโลกตะวันตกในแผนที่ดังกล่าวว่า "อเมริกา" ตามชื่อของนักสำรวจและนักเขียนแผนที่ชาวอิตาเลียน อเมริโก เวสปุชชี แต่เดิม อดีตอาณานิคมอังกฤษได้ใช้ชื่อเรียกสมัยใหม่ของประเทศในคำประกาศอิสรภาพ ("การประกาศอิสรภาพของสิบสามสหรัฐอเมริกาด้วยน้ำหนึ่งใจเดียวกัน") ประกาศใช้โดย "คณะผู้แทนสหรัฐอเมริกา" เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319 ส่วนชื่อในปัจจุบันได้รับการสรุปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2320 เมื่อสภานิติบัญญัติภาคพื้นทวีปที่สองได้ประกาศใช้ข้อบังคับแห่งสมาพันธรัฐ ความว่า "สมาพันธรัฐซึ่งถูกตั้งขึ้นนี้ จะถูกเรียกว่า "สหรัฐอเมริกา" ถ้อยคำมาตรฐานสั้น ๆ ซึ่งใช้เรียกสหรัฐอเมริกา คือ สหรัฐ (United States) และชื่อเรียกอีกหลายรูปแบบ ได้แก่ the U.S., the USA และ America คำว่า Columbia ก็เคยเป็นชื่อที่ได้รับความนิยมในการเรียกสหรัฐอเมริกา ซึ่งมาจากชื่อของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และยังปรากฏในชื่อ "District of Columbia" อีกด้วย
สำหรับการเรียกสหรัฐอเมริกาของคนไทย ในอดีต เคยเรียกชื่อสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการว่า "สหปาลีรัฐอเมริกา" ส่วนชื่ออื่นที่ใช้เรียกสหรัฐอเมริกา
เช่น มะกัน ลุงแซม อินทรี พญาอินทรี หรือ เจ้าโลก
ในภาษาอังกฤษ คำมาตรฐานซึ่งหมายถึงพลเมืองของสหรัฐอเมริกา คือ อเมริกัน (American) ถึงแม้ว่า United States จะเป็นคำคุณศัพท์อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งคำว่า American และ U.S. เป็นคำคุณศัพท์อันเป็นที่นิยมมากกว่า ในการระบุถึงสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ อเมริกัน ยังอาจหมายถึง ทวีปอเมริกา อีกด้วย แต่มักจะถูกใช้น้อยมากในภาษาอังกฤษ เพื่อหมายความถึงประชากรซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกา
เดิม วลี "สหรัฐอเมริกา" ถือว่าเป็นคำพหูพจน์ (ใช้กับคำกริยา are, were, ...) — รวมทั้งในการแปรบัญญัติครั้งที่ 13 ต่อรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลในปี พ.ศ. 2408 อีกด้วย แต่คำดังกล่าวได้กลายมาเป็นคำเอกพจน์ (ใช้กับคำกริยา is, was, ...) — หลังจากยุคสงครามกลางเมือง และได้กลายมาเป็นรูปแบบมาตรฐานในปัจจุบัน แต่รูปแบบพหูพจน์ก็ยังคงปรากฏในสำนวน "these United States"
ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม
สำหรับการเรียกสหรัฐอเมริกาของคนไทย ในอดีต เคยเรียกชื่อสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการว่า "สหปาลีรัฐอเมริกา" ส่วนชื่ออื่นที่ใช้เรียกสหรัฐอเมริกา
เช่น มะกัน ลุงแซม อินทรี พญาอินทรี หรือ เจ้าโลก
ภาษาศาสตร์
ในภาษาอังกฤษ คำมาตรฐานซึ่งหมายถึงพลเมืองของสหรัฐอเมริกา คือ อเมริกัน (American) ถึงแม้ว่า United States จะเป็นคำคุณศัพท์อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งคำว่า American และ U.S. เป็นคำคุณศัพท์อันเป็นที่นิยมมากกว่า ในการระบุถึงสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ อเมริกัน ยังอาจหมายถึง ทวีปอเมริกา อีกด้วย แต่มักจะถูกใช้น้อยมากในภาษาอังกฤษ เพื่อหมายความถึงประชากรซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกา
เดิม วลี "สหรัฐอเมริกา" ถือว่าเป็นคำพหูพจน์ (ใช้กับคำกริยา are, were, ...) — รวมทั้งในการแปรบัญญัติครั้งที่ 13 ต่อรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลในปี พ.ศ. 2408 อีกด้วย แต่คำดังกล่าวได้กลายมาเป็นคำเอกพจน์ (ใช้กับคำกริยา is, was, ...) — หลังจากยุคสงครามกลางเมือง และได้กลายมาเป็นรูปแบบมาตรฐานในปัจจุบัน แต่รูปแบบพหูพจน์ก็ยังคงปรากฏในสำนวน "these United States"
ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม
ขนาดพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่คิดเป็นอย่างน้อย 1.9 พันล้านเอเคอร์ แคนาดาอยู่ระหว่างรัฐอะแลสกากับสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ เป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คิดเป็นพื้นที่กว่า 365 ล้านเอเคอร์ รัฐฮาวาย ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่เล็กที่สุด คือ 4 ล้านเอเคอร์ สหรัฐอเมริกามีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก รองจากรัสเซียและแคนาดา ก่อนหรือเป็นรองจีน - การจัดลำดับดังกล่าวขึ้นอยู่กับว่าดินแดนพิพาทระหว่างจีนและอินเดียจะถูกนับรวมด้วยหรือไม่ และวิธีการคำนวณหาพื้นที่ทั้งหมดของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างไร: ซึ่งหนังสือ The World Factbook โดยหน่วยสืบสวนราชการลับกลางสหรัฐอเมริกา ระบุว่า สหรัฐอเมริกมีพื้นที่ 9,826,676 (กิโลเมตร)² กองสถิติแห่งสหประชาชาติ ระบุไว้ที่ 9,629,091 (กิโลเมตร)² และ Encyclopædia Britannica ระบุไว้ที่ 9,522,055 (กิโลเมตร)² แต่ถ้าหากนับรวมเฉพาะพื้นที่บนบกแล้ว สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากรัสเซียและจีน และอันดับที่ 4 คือ แคนาดา
ที่ราบชายฝั่งแอตแลนติกเป็นที่ตั้งของป่าไม้ไม่ผลัดใบเข้าไปในทวีป และเทือกเขาเปียดมอนท์ เทือกเขาอัปปาเลเชียนแบ่งแยกชายฝั่งตะวันออกจากเกรตเลกส์และทุ่งหญ้ามิดเวสต์ แม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี เป็นระบบแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสี่ของโลก ไหลจากตอนเหนือลงไปสู่ตอนใต้และผ่านใจกลางของประเทศ ทุ่งหญ้าแพร์รีอันอุดมสมบูรณ์กินอาณาเขตไปทางตะวันตกจนถึงเขตที่ราบสูงทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ เทือกเขาร็อกกีวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ของประเทศ มีความสูง ณ จุดยอดถึง 4,300 เมตรในรัฐโคโลราโด ถัดออกไปทางตะวันตกเป็นเกรตเบซิน ซึ่งเป็นหินและทะเลทราย อย่างเช่น ทะเลทรายโมฮาวี ทิวเขาเซียร์ราเนวาดาและทิวเขาคัสเขดมีความยาวจนเกือบถึงฝั่งทะเลแปซิฟิก ยอดเขาแมกคินลีย์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศและในทวีปอเมริกาเหนือ ด้วยความสูง 6,194 เมตร ตามหมู่เกาะอเล็กซานเดอร์และหมู่เกาะอลูเตียนในรัฐอะแลสกายังมีภูเขาไฟที่ยังปะทุอยู่โดยทั่วไป รวมทั้งหมู่เกาะภูเขาไฟในรัฐฮาวายอีกด้วย
ที่ราบชายฝั่งแอตแลนติกเป็นที่ตั้งของป่าไม้ไม่ผลัดใบเข้าไปในทวีป และเทือกเขาเปียดมอนท์ เทือกเขาอัปปาเลเชียนแบ่งแยกชายฝั่งตะวันออกจากเกรตเลกส์และทุ่งหญ้ามิดเวสต์ แม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี เป็นระบบแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสี่ของโลก ไหลจากตอนเหนือลงไปสู่ตอนใต้และผ่านใจกลางของประเทศ ทุ่งหญ้าแพร์รีอันอุดมสมบูรณ์กินอาณาเขตไปทางตะวันตกจนถึงเขตที่ราบสูงทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ เทือกเขาร็อกกีวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ของประเทศ มีความสูง ณ จุดยอดถึง 4,300 เมตรในรัฐโคโลราโด ถัดออกไปทางตะวันตกเป็นเกรตเบซิน ซึ่งเป็นหินและทะเลทราย อย่างเช่น ทะเลทรายโมฮาวี ทิวเขาเซียร์ราเนวาดาและทิวเขาคัสเขดมีความยาวจนเกือบถึงฝั่งทะเลแปซิฟิก ยอดเขาแมกคินลีย์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศและในทวีปอเมริกาเหนือ ด้วยความสูง 6,194 เมตร ตามหมู่เกาะอเล็กซานเดอร์และหมู่เกาะอลูเตียนในรัฐอะแลสกายังมีภูเขาไฟที่ยังปะทุอยู่โดยทั่วไป รวมทั้งหมู่เกาะภูเขาไฟในรัฐฮาวายอีกด้วย
สหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่ และความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ ทางตะวันออกของเส้นเมอร์ริเดียนที่ 100 ประเภทภูมิอากาศมีตั้งแต่อบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีปทางตอนเหนือ ไปจนถึงอบอุ่นชื้นทางตอนใต้ ปลายด้านใต้สุดของรัฐฟลอริดามีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อน เช่นเดียวกับรัฐฮาวาย เกรดเพลน ทางตะวันตกของเส้นเมอร์รีเดียนที่ 100 มีลักษณะกึ่งแห้งแล้ง พื้นที่ภูเขาทางตะวันตกส่วนใหญ่มีภูมิอากาศแบบที่สูง แห้งแล้งในเกรตเบซิน ทะเลทรายในทางตะวันตกเฉียงใต้ ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนตามฝั่งทะเลแคลิฟอร์เนีย และภูมิอากาศแบบมหาสมุทรในรัฐออริกอน รัฐวอชิงตันและรัฐอะแลสกาตอนใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐอะแลสกามีภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือขั้วโลก รัฐที่อยู่ติดกับอ่าวเม็กซิโกมักจะมีสภาพอากาศแบบสุดขั้ว โดยมีเฮอร์ริเคนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และสหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศซึ่งเกิดทอร์นาโดบ่อยครั้งที่สุดในโลก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งได้ชื่อว่า ตรอกทอร์นาโด ในมิดเวสต์
ระบบนิเวศของสหรัฐอเมริกาถูกพิจารณาว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างมาก โดยมีพืชมีท่อลำเลียงกว่า 17,000 สปีซีส์ในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่และรัฐอะแลสกา และพืชดอกอีกกว่า 1,800 สปีซีส์ถูกพบในรัฐฮาวาย แต่ถูกพบน้อยในแผ่นดินใหญ่ สหรัฐอเมริกายังเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกกว่า 400 ชนิด นก 750 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกอีกกว่า 500 ชนิด แมลงราว 91,000 สปีซีส์ได้ถูกค้นพบ ในสหรัฐอเมริกามีอุทยานแห่งชาติ 58 แห่ง และอุทยาน ป่าไม้และเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า ภายใต้การดูแลสหพันธรัฐอื่นอีกมากกว่า 100 แห่ง ทั้งหมดนี้ รัฐบาลครอบครองพื้นที่ราวร้อยละ 28.8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการคุ้มครอง ถึงแม้ว่าบางส่วนจะให้เช่าในสัมปทานการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การทำเหมือง การตัดไม้ และที่ปศุสัตว์ และอีกร้อยละ 2.4 ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร
ระบบนิเวศของสหรัฐอเมริกาถูกพิจารณาว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างมาก โดยมีพืชมีท่อลำเลียงกว่า 17,000 สปีซีส์ในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่และรัฐอะแลสกา และพืชดอกอีกกว่า 1,800 สปีซีส์ถูกพบในรัฐฮาวาย แต่ถูกพบน้อยในแผ่นดินใหญ่ สหรัฐอเมริกายังเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกกว่า 400 ชนิด นก 750 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกอีกกว่า 500 ชนิด แมลงราว 91,000 สปีซีส์ได้ถูกค้นพบ ในสหรัฐอเมริกามีอุทยานแห่งชาติ 58 แห่ง และอุทยาน ป่าไม้และเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า ภายใต้การดูแลสหพันธรัฐอื่นอีกมากกว่า 100 แห่ง ทั้งหมดนี้ รัฐบาลครอบครองพื้นที่ราวร้อยละ 28.8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการคุ้มครอง ถึงแม้ว่าบางส่วนจะให้เช่าในสัมปทานการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การทำเหมือง การตัดไม้ และที่ปศุสัตว์ และอีกร้อยละ 2.4 ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร
ประวัติศาสตร์
ชนพื้นเมืองอเมริกันและผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรป
เป็นที่เชื่อกันมากว่าชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งชนพื้นเมืองอะแลสกา เป็นผู้อพยพมาจากทวีปเอเชียเมื่อ 40,000-12,000 ปีที่แล้ว ชนพื้นเมืองบางกลุ่ม เช่น วัฒนธรรมมิสซิสซิปปีในสมัยก่อนโคลัมบัส ได้มีการพัฒนาเกษตรกรรมและสังคมในระดับรัฐ หลังจากที่ชาวยุโรปเริ่มการตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกา ชนพื้นเองหลายล้านคนเสียชีวิตจากโรคระบาดซึ่งติดจากชาวยุโรป เช่น ฝีดาษ
ในปี ค.ศ. 1492 นักสำรวจชาวเจนัว คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ภายใต้สัญญากับกษัตริย์สเปน ได้เดินทางถึงหมู่เกาะแคริบเบียน และได้ติดต่อกับชนพื้นเมืองเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1513 กองกีสตาดอร์ชาวสเปน ควน ปอนเซ เด เลออง ได้ขึ้นฝั่งในบริเวณซึ่งเขาเรียกว่า "ลา ฟลอริดา" – นับเป็นการขึ้นฝั่งบริเวณที่เป็นสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ในปัจจุบันของชาวยุโรปเป็นครั้งแรกซึ่งได้รับการบันทึกไว้ ก่อนจะมีการถิ่นฐานสเปนในพื้นที่ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาไปจนถึงเม็กซิโก พ่อค้าขนสัตว์ชาวฝรั่งเศสได้ก่อตั้งด่านหน้าของนิวฟรานซ์ขึ้นรอบเกรตเลกส์ ก่อนที่ฝรั่งเศสจะอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือไปจนถึงอ่าวเม็กซิโกในที่สุด การตั้งถิ่นฐานของชาวอังกฤษแห่งแรก คือ อาณานิคมเวอร์จิเนีย ในเจมส์ทาวน์ ในปี ค.ศ. 1607 และอาณานิคมพลิมัธของพวกพิลกริม ในปี ค.ศ. 1620 และในปี ค.ศ. 1628 สัญญาเช่าอาณานิคมอ่าวแมสซาชูเซตส์ ทำให้มีผู้อพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก; ในปี ค.ศ. 1634 นิวอิงแลนด์มีกลุ่มเพียวริตันอาศัยอยู่ 10,000 คน ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1610 จนถึงการปฏิวัติอเมริกา มีนักโทษราว 50,000 คนถูกส่งตัวมายังอาณานิคมอังกฤษในทวีปอเมริกา นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1614 ชาวดัตช์ได้ตั้งถิ่นฐานตามแนวแม่น้ำฮัดสัน รวมทั้งนิวอัมสเตอร์ดัมบนเกาะแมนฮัตตัน
ในปี ค.ศ. 1674 อาณานิคมชาวดัตช์ได้ถูกผนวกรวมกับอังกฤษ จังหวัดนิวเนเธอร์แลนด์ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์ก ผู้อพยพใหม่อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางตอนใต้ เป็นคนรับใช้ซึ่งถูกผูกมัดด้วยสัญญา – คิดเป็นผู้อพยพสู่เวอร์จิเนียจำนวนกว่าสองในสามระหว่างปี ค.ศ. 1630-1680 และปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทาสชาวแอฟริกันได้กลายมาเป็นแหล่งหลักสำหรับแรงงานที่ถูกผูกมัด และในปี ค.ศ. 1729 หลังจากการแบ่งแคลิฟอร์เนียและการตั้งอาณานิคมในจอร์เจีย ในปี ค.ศ. 1732 อาณานิคมอังกฤษสิบสามแห่ง ซึ่งจะกลายมาเป็นสหรัฐอเมริกาในภายหลัง ได้ถูกจัดตั้งขึ้น แต่ละรัฐมีรัฐบาลท้องถื่นซึ่งเปิดให้มีการเลือกตั้งแก่ชายผู้เป็นเสรีชนส่วนใหญ่ ด้วยการเพิ่มขึ้นของสิทธิโบราณของชาวอังกฤษและความสำนึกในการปกครองตนเองกระตุ้นการสนับสนุนสำหรับกลุ่มสาธารณรัฐนิยม ซึ่งทั้งหมดได้ทำให้การค้าทาสแอฟริกันถูกต้องตามกฎหมาย และด้วยอัตราการเกิดสูง อัตราการตายต่ำ และอัตราการอพยพคงที่ ทำให้ประชากรในอาณานิคมเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ขบวนการฟื้นฟูคริสเตียนในราวคริสต์ทศวรรษ 1730 และ 1740 เป็นที่รู้จักกันว่า การตื่นตัวครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดความสนใจในเสรีภาพทางศาสนาและลัทธิ ในสงครามฝรั่งเศสและอินเดียน กองทัพอังกฤษยึดแคนาดามาจากฝรั่งเศส แต่ประชากรผู้พูดภาษาฝรั่งเศสยังคงถูกโดดเดี่ยวทางการเมืองจากอาณานิคมทางใต้ หากไม่นับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันผลัดถิ่น ในอาณานิคมทั้งสิบสามของอังกฤษมีจำนวนประชากรถึง 2.6 ล้านคนในปี ค.ศ. 1770 เป็นชาวอังกฤษจำนวนหนึ่งในสาม และหนึ่งในห้าเป็นทาสผิวดำ แต่ถึงแม้ว่าจะถูกบังคับให้จ่ายภาษีแก่อังกฤษ อาณานิคมอเมริกันกลับไม่มีผู้แทนในรัฐสภาบริเตนใหญ่เลย
ในปี ค.ศ. 1492 นักสำรวจชาวเจนัว คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ภายใต้สัญญากับกษัตริย์สเปน ได้เดินทางถึงหมู่เกาะแคริบเบียน และได้ติดต่อกับชนพื้นเมืองเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1513 กองกีสตาดอร์ชาวสเปน ควน ปอนเซ เด เลออง ได้ขึ้นฝั่งในบริเวณซึ่งเขาเรียกว่า "ลา ฟลอริดา" – นับเป็นการขึ้นฝั่งบริเวณที่เป็นสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ในปัจจุบันของชาวยุโรปเป็นครั้งแรกซึ่งได้รับการบันทึกไว้ ก่อนจะมีการถิ่นฐานสเปนในพื้นที่ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาไปจนถึงเม็กซิโก พ่อค้าขนสัตว์ชาวฝรั่งเศสได้ก่อตั้งด่านหน้าของนิวฟรานซ์ขึ้นรอบเกรตเลกส์ ก่อนที่ฝรั่งเศสจะอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือไปจนถึงอ่าวเม็กซิโกในที่สุด การตั้งถิ่นฐานของชาวอังกฤษแห่งแรก คือ อาณานิคมเวอร์จิเนีย ในเจมส์ทาวน์ ในปี ค.ศ. 1607 และอาณานิคมพลิมัธของพวกพิลกริม ในปี ค.ศ. 1620 และในปี ค.ศ. 1628 สัญญาเช่าอาณานิคมอ่าวแมสซาชูเซตส์ ทำให้มีผู้อพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก; ในปี ค.ศ. 1634 นิวอิงแลนด์มีกลุ่มเพียวริตันอาศัยอยู่ 10,000 คน ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1610 จนถึงการปฏิวัติอเมริกา มีนักโทษราว 50,000 คนถูกส่งตัวมายังอาณานิคมอังกฤษในทวีปอเมริกา นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1614 ชาวดัตช์ได้ตั้งถิ่นฐานตามแนวแม่น้ำฮัดสัน รวมทั้งนิวอัมสเตอร์ดัมบนเกาะแมนฮัตตัน
ในปี ค.ศ. 1674 อาณานิคมชาวดัตช์ได้ถูกผนวกรวมกับอังกฤษ จังหวัดนิวเนเธอร์แลนด์ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์ก ผู้อพยพใหม่อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางตอนใต้ เป็นคนรับใช้ซึ่งถูกผูกมัดด้วยสัญญา – คิดเป็นผู้อพยพสู่เวอร์จิเนียจำนวนกว่าสองในสามระหว่างปี ค.ศ. 1630-1680 และปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทาสชาวแอฟริกันได้กลายมาเป็นแหล่งหลักสำหรับแรงงานที่ถูกผูกมัด และในปี ค.ศ. 1729 หลังจากการแบ่งแคลิฟอร์เนียและการตั้งอาณานิคมในจอร์เจีย ในปี ค.ศ. 1732 อาณานิคมอังกฤษสิบสามแห่ง ซึ่งจะกลายมาเป็นสหรัฐอเมริกาในภายหลัง ได้ถูกจัดตั้งขึ้น แต่ละรัฐมีรัฐบาลท้องถื่นซึ่งเปิดให้มีการเลือกตั้งแก่ชายผู้เป็นเสรีชนส่วนใหญ่ ด้วยการเพิ่มขึ้นของสิทธิโบราณของชาวอังกฤษและความสำนึกในการปกครองตนเองกระตุ้นการสนับสนุนสำหรับกลุ่มสาธารณรัฐนิยม ซึ่งทั้งหมดได้ทำให้การค้าทาสแอฟริกันถูกต้องตามกฎหมาย และด้วยอัตราการเกิดสูง อัตราการตายต่ำ และอัตราการอพยพคงที่ ทำให้ประชากรในอาณานิคมเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ขบวนการฟื้นฟูคริสเตียนในราวคริสต์ทศวรรษ 1730 และ 1740 เป็นที่รู้จักกันว่า การตื่นตัวครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดความสนใจในเสรีภาพทางศาสนาและลัทธิ ในสงครามฝรั่งเศสและอินเดียน กองทัพอังกฤษยึดแคนาดามาจากฝรั่งเศส แต่ประชากรผู้พูดภาษาฝรั่งเศสยังคงถูกโดดเดี่ยวทางการเมืองจากอาณานิคมทางใต้ หากไม่นับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันผลัดถิ่น ในอาณานิคมทั้งสิบสามของอังกฤษมีจำนวนประชากรถึง 2.6 ล้านคนในปี ค.ศ. 1770 เป็นชาวอังกฤษจำนวนหนึ่งในสาม และหนึ่งในห้าเป็นทาสผิวดำ แต่ถึงแม้ว่าจะถูกบังคับให้จ่ายภาษีแก่อังกฤษ อาณานิคมอเมริกันกลับไม่มีผู้แทนในรัฐสภาบริเตนใหญ่เลย
การประกาศเอกราชและการขยายอาณาเขต
ความขัดแย้งระหว่างชาวอาณานิคมอเมริกันและชาวอังกฤษระหว่างยุคปฏิวัติราวคริสตทศวรรษ 1760 และต้นคริสตทศวรรษ 1770 นับไปสู่สงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา อันเป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1775-1781 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1775 รัฐสภาภาคพื้นทวีป เปิดประชุมในฟิลาเดลเฟีย และก่อตั้งกองทัพภาคพื้นทวีป ภายใต้การบังคับบัญชาของจอร์จ วอชิงตัน การประกาศว่า "มนุษย์ทุกคนเกิดมาโดยเท่าเทียมกัน" และมนุษย์ทุกคนมี "สิทธิซึ่งไม่อาจโอนให้กันได้อย่างแน่นอน" รัฐสภาได้ประกาศคำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐอเมริกา โดยคำร่างส่วนใหญ่เป็นผลงานของโธมัส เจฟเฟอร์สัน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ในวันดังกล่าวได้มีจัดการเฉลิมฉลองขึ้นทุกปีเพื่อระลึกถึงวันอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1777 ข้อบังคับแห่งสมาพันธรัฐได้ก่อตั้งรัฐบาลสมาพันธรัฐขึ้นอย่างหลวม ๆ ซึ่งมีอำนาจจนถึงปี ค.ศ. 1789
ภายหลังจากความพ่ายแพ้ของอังกฤษ โดยกองทัพอเมริกันซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส บริเตนใหญ่จึงรับรองอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา และอธิปไตยของรัฐเหนือดินแดนอเมริกันไปทางตะวนตกจนถึงแม่น้ำมิสซิสซิปปี การประชุมร่างรัฐธรรมนูญถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1787 โดยกลุ่มผู้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐบาลของชาติที่มีความเข้มแข็ง และมีอำนาจในการเก็บภาษี รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1788 เช่นเดียวกับสภาสูง สภาผู้แทนราษฎร และประธานาธิบดี — จอร์จ วอชิงตัน — เข้าดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 1789 บัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ห้ามการจำกัดเสรีภาพส่วนบุคคลโดยรัฐบาล และรับประกันขอบเขตในการคุ้มครองตามกฎหมาย ได้ประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1791
ทัศนคติซึ่งมีต่อทาสเองก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน; วรรคในรัฐธรรมนูญได้คุ้มครองการค้าทาสแอฟริกันเพียงกลุ่มเดียวจนถึงปี ค.ศ. 1808 รัฐทางตอนเหนือได้ประกาศเลิกทาสระหว่าง ค.ศ. 1780-1804 เหลือเพียงแต่รัฐทาสทางตอนใต้ ซึ่งเป็นผู้ปกป้อง "สถาบันพิเศษ" ยุคการตื่นตัวครั้งที่สอง เริ่มต้นขึ้นเมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1800 ทำให้การเผยแพร่คำสั่งสอนของพระเยซู กลายเป็นกำลังเบื้องหลังกลุ่มเคลื่อนไหวปฏิรูปสังคมหลายกลุ่ม รวมทั้งการเลิกทาส
ความกระตือรือร้นของสหรัฐอเมริกาในการขยายตัวไปทางทิศตะวันตกทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับสงครามอเมริกันอินเดียนอันยาวนาน การซื้อหลุยส์เซียนาจากดินแดนซึ่งฝรั่งเศสกล่าวอ้าง ในสมัยของประธานธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน ในปี ค.ศ. 1803 ทำให้พื้นที่ของประเทศเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า สงครามปี 1812 ซึ่งเป็นการสู้รบกับอังกฤษเหนือข้อเจ็บใจหลายประกาศ และเพื่อสร้างและส่งเสริมชาตินิยมในสหรัฐอเมริกา การส่งทหารเข้าบุกรุกฟลอริดาหลายครั้งทำให้สเปนยินยอมจะยกดินแดนดังกล่าวและดินแดนอื่นของชายฝั่งอ่าวในปี ค.ศ. 1819 เส้นทางธารน้ำตาเป็นตัวอย่างของนโยบายย้ายถิ่นฐานชาวอินเดียน ซึ่งทำให้ชนพื้นเมืองจำนวนมากต้องละทิ้งดินแดนของตน สหรัฐอเมริกาผนวกสาธารณรัฐเท็กซัส ในปี ค.ศ. 1845 แนวคิดของเทพลิขิตได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว สนธิสัญญาโอเรกอน ในปี ค.ศ. 1846 กับอังกฤษ ทำให้สหรัฐอเมริกาครอบครองดินแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนือในปัจจุบัน ชัยชนะของสหรัฐอเมริกาในสงครามเม็กซิโก-อเมริกา นำไปสู่การผนวกดินแดนแคลิฟอร์เนีย และพื้นที่ส่วนใหญ่ทาสภาคตะวันตกเฉียงใต้ ยุคตื่นทองแคลิฟอร์เนีย เมื่อราว ค.ศ. 1848-1849 ยิ่งทำให้มีประชากรจำนวนมากอพยพไปทางทิศตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทางรถไฟใหม่ทำให้การย้ายถิ่นฐานของผู้ตั้งถิ่นฐานง่ายขึ้นและยิ่งส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับชนพื้นเมืองอเมริกัน ภายในเวลาครึ่งศตวรรษ มีไบซันอเมริกันถูกฆ่ากว่า 40 ล้านตัว เพื่อใช้เนื้อและหนัง และเพื่อทำให้การแพร่ขยายของระบบทางรถไฟไกลยิ่งขึ้น การสูญเสียกระบือ อันเป็นแหล่งทรัพยากรหลักสำหรับชาวอินเดียนที่ราบ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการคงอยู่ของวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองหลายอย่าง
ภายหลังจากความพ่ายแพ้ของอังกฤษ โดยกองทัพอเมริกันซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส บริเตนใหญ่จึงรับรองอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา และอธิปไตยของรัฐเหนือดินแดนอเมริกันไปทางตะวนตกจนถึงแม่น้ำมิสซิสซิปปี การประชุมร่างรัฐธรรมนูญถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1787 โดยกลุ่มผู้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐบาลของชาติที่มีความเข้มแข็ง และมีอำนาจในการเก็บภาษี รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1788 เช่นเดียวกับสภาสูง สภาผู้แทนราษฎร และประธานาธิบดี — จอร์จ วอชิงตัน — เข้าดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 1789 บัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ห้ามการจำกัดเสรีภาพส่วนบุคคลโดยรัฐบาล และรับประกันขอบเขตในการคุ้มครองตามกฎหมาย ได้ประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1791
ทัศนคติซึ่งมีต่อทาสเองก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน; วรรคในรัฐธรรมนูญได้คุ้มครองการค้าทาสแอฟริกันเพียงกลุ่มเดียวจนถึงปี ค.ศ. 1808 รัฐทางตอนเหนือได้ประกาศเลิกทาสระหว่าง ค.ศ. 1780-1804 เหลือเพียงแต่รัฐทาสทางตอนใต้ ซึ่งเป็นผู้ปกป้อง "สถาบันพิเศษ" ยุคการตื่นตัวครั้งที่สอง เริ่มต้นขึ้นเมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1800 ทำให้การเผยแพร่คำสั่งสอนของพระเยซู กลายเป็นกำลังเบื้องหลังกลุ่มเคลื่อนไหวปฏิรูปสังคมหลายกลุ่ม รวมทั้งการเลิกทาส
ความกระตือรือร้นของสหรัฐอเมริกาในการขยายตัวไปทางทิศตะวันตกทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับสงครามอเมริกันอินเดียนอันยาวนาน การซื้อหลุยส์เซียนาจากดินแดนซึ่งฝรั่งเศสกล่าวอ้าง ในสมัยของประธานธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน ในปี ค.ศ. 1803 ทำให้พื้นที่ของประเทศเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า สงครามปี 1812 ซึ่งเป็นการสู้รบกับอังกฤษเหนือข้อเจ็บใจหลายประกาศ และเพื่อสร้างและส่งเสริมชาตินิยมในสหรัฐอเมริกา การส่งทหารเข้าบุกรุกฟลอริดาหลายครั้งทำให้สเปนยินยอมจะยกดินแดนดังกล่าวและดินแดนอื่นของชายฝั่งอ่าวในปี ค.ศ. 1819 เส้นทางธารน้ำตาเป็นตัวอย่างของนโยบายย้ายถิ่นฐานชาวอินเดียน ซึ่งทำให้ชนพื้นเมืองจำนวนมากต้องละทิ้งดินแดนของตน สหรัฐอเมริกาผนวกสาธารณรัฐเท็กซัส ในปี ค.ศ. 1845 แนวคิดของเทพลิขิตได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว สนธิสัญญาโอเรกอน ในปี ค.ศ. 1846 กับอังกฤษ ทำให้สหรัฐอเมริกาครอบครองดินแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนือในปัจจุบัน ชัยชนะของสหรัฐอเมริกาในสงครามเม็กซิโก-อเมริกา นำไปสู่การผนวกดินแดนแคลิฟอร์เนีย และพื้นที่ส่วนใหญ่ทาสภาคตะวันตกเฉียงใต้ ยุคตื่นทองแคลิฟอร์เนีย เมื่อราว ค.ศ. 1848-1849 ยิ่งทำให้มีประชากรจำนวนมากอพยพไปทางทิศตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทางรถไฟใหม่ทำให้การย้ายถิ่นฐานของผู้ตั้งถิ่นฐานง่ายขึ้นและยิ่งส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับชนพื้นเมืองอเมริกัน ภายในเวลาครึ่งศตวรรษ มีไบซันอเมริกันถูกฆ่ากว่า 40 ล้านตัว เพื่อใช้เนื้อและหนัง และเพื่อทำให้การแพร่ขยายของระบบทางรถไฟไกลยิ่งขึ้น การสูญเสียกระบือ อันเป็นแหล่งทรัพยากรหลักสำหรับชาวอินเดียนที่ราบ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการคงอยู่ของวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองหลายอย่าง
สงครามกลางเมืองและการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ความตึงเครียดระหว่างรัฐทาสและรัฐเสรีได้เพิ่มสูงขึ้น จากข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐบาลกลาง เช่นเดียวกับความขัดแย้งอย่างรุนแรงในการเผยแพร่ทาสไปยังรัฐใหม่ อับราฮัม ลินคอร์น ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรครีพับลิกัน ซึ่งต่อต้านระบบทาสอย่างหนัก ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1860 ก่อนที่เขาจะดำรงตำแหน่ง รัฐทาส 7 รัฐ ได้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐอเมริกา และจัดตั้งสมาพันธรัฐอเมริกา ซึ่งทางรัฐบาลกลางมองว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จากการโจมตีค่ายซัมเตอร์ของฝ่ายสมาพันธรัฐ สงครามกลางเมืองอเมริกันได้ปะทุขึ้น และรัฐทาสอีก 4 รัฐก็ได้เข้าร่วมกับฝ่ายสมาพันธรัฐ การประกาศเลิกทาสของลินคอร์น ในปี ค.ศ. 1863 ประกาศให้ทาสในสมาพันธรัฐเป็นอิสระ หลังจากชัยชนะของฝ่ายสหภาพในปี ค.ศ. 1865 ได้มีการแปรบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาอีก 3 ครั้ง เพื่อรับประกันเสรีภาพของแอฟริกันอเมริกันกว่า 4 ล้านคนซึ่งเคยเป็นทาส และยังทำให้พวกเขาเป็นพลเมือง รวมไปถึงให้สิทธิเลือกตั้ง สงครามกลางเมืองและผลที่ตามมาทำให้สหพันธรัฐมีอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ภายหลังสงคราม การลอบสังหารลินคอร์น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรากฐานของนโยบายบูรณะประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะรวมและบูรณะรัฐทางตอนใต้ ในขณะที่รับประกันสิทธิของทาสซึ่งได้รับอิสรภาพ ผลของการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี ค.ศ. 1876 ซึ่งเป็นที่โต้แย้ง โดยการประนีประนอมเมื่อปี ค.ศ. 1877 ทำให้สิ้นสุดสมัยบูรณะ; แต่กฎหมายจิมครอว์ได้ตัดสิทธิ์การเลือกตั้งของแอฟริกันอเมริกันจำนวนมาก ทางตอนเหนือ การทำให้เป็นเมืองและการหลั่งไหลเข้ามาอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนของผู้อพยพซึ่งมาจากยุโรปใต้และยุโรปตะวันออก เป็นตัวเร่งให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศ การอพยพยังคงมีต่อไปจนถึง ค.ศ. 1929 ทำให้สหรัฐอเมริกามีแรงงานและเปลี่ยนโฉมหน้าวัฒนธรรมของประเทศไปด้วย การพัฒนาสาธารณูปโภคของชาติเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การซื้ออะแลสกาจากจักรวรรดิรัสเซีย เป็นการบรรลุการขยายดินแดนของประเทศบนแผ่นดินใหญ่ การสังหารหมู่วูนเดดนี ในปี ค.ศ. 1890 เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งสุดท้ายในสงครามอินเดียน ในปี ค.ศ. 1893 ราชวงศ์ชนพื้นเมืองของอาณาจักรฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก ถูกโค่นล้มในรัฐประหารซึ่งนำโดยผู้อยู่อาศัยชาวอเมริกัน; สหรัฐอเมริกาผนวกหมู่เกาะดังกล่าวในปี ค.ศ. 1898 ชัยชนะในสงครามสเปน-อเมริกา เมื่อปีเดียวกัน เป็นการแสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศซึ่งมีอำนาจ และนำไปสู่การผนวกเปอร์โตริโก, กวม และฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชในอีกครึ่งศตวรรษต่อมา; เปอร์โตริโกและกวมยังคงเป็นเขตปกครองพิเศษของสหรัฐอเมริกา
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และสงครามโลกครั้งที่สอง
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้นในปี ค.ศ. 1914 สหรัฐอเมริกาได้ธำรงตนเป็นกลางระหว่างสงคราม ชาวอเมริกันจำนวนมากมีใจเข้าข้างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะคัดค้านการเข้าแทรกแซงก็ตาม ในปี ค.ศ. 1917 สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ซึ่งมีผลทำให้ฝ่ายมหาอำนาจกลางตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงคราม หลังสงครามยุติ รัฐสภาไม่ยอมรับสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งก่อตั้งสันนิบาติชาติ ต่อมา สหรัฐอเมริกายังคงดำเนินตามนโยบายเอกภาพนิยม จนเกือบจะเป็นลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยว
ภายหลังสงคราม การลอบสังหารลินคอร์น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรากฐานของนโยบายบูรณะประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะรวมและบูรณะรัฐทางตอนใต้ ในขณะที่รับประกันสิทธิของทาสซึ่งได้รับอิสรภาพ ผลของการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี ค.ศ. 1876 ซึ่งเป็นที่โต้แย้ง โดยการประนีประนอมเมื่อปี ค.ศ. 1877 ทำให้สิ้นสุดสมัยบูรณะ; แต่กฎหมายจิมครอว์ได้ตัดสิทธิ์การเลือกตั้งของแอฟริกันอเมริกันจำนวนมาก ทางตอนเหนือ การทำให้เป็นเมืองและการหลั่งไหลเข้ามาอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนของผู้อพยพซึ่งมาจากยุโรปใต้และยุโรปตะวันออก เป็นตัวเร่งให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศ การอพยพยังคงมีต่อไปจนถึง ค.ศ. 1929 ทำให้สหรัฐอเมริกามีแรงงานและเปลี่ยนโฉมหน้าวัฒนธรรมของประเทศไปด้วย การพัฒนาสาธารณูปโภคของชาติเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การซื้ออะแลสกาจากจักรวรรดิรัสเซีย เป็นการบรรลุการขยายดินแดนของประเทศบนแผ่นดินใหญ่ การสังหารหมู่วูนเดดนี ในปี ค.ศ. 1890 เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งสุดท้ายในสงครามอินเดียน ในปี ค.ศ. 1893 ราชวงศ์ชนพื้นเมืองของอาณาจักรฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก ถูกโค่นล้มในรัฐประหารซึ่งนำโดยผู้อยู่อาศัยชาวอเมริกัน; สหรัฐอเมริกาผนวกหมู่เกาะดังกล่าวในปี ค.ศ. 1898 ชัยชนะในสงครามสเปน-อเมริกา เมื่อปีเดียวกัน เป็นการแสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศซึ่งมีอำนาจ และนำไปสู่การผนวกเปอร์โตริโก, กวม และฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชในอีกครึ่งศตวรรษต่อมา; เปอร์โตริโกและกวมยังคงเป็นเขตปกครองพิเศษของสหรัฐอเมริกา
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และสงครามโลกครั้งที่สอง
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้นในปี ค.ศ. 1914 สหรัฐอเมริกาได้ธำรงตนเป็นกลางระหว่างสงคราม ชาวอเมริกันจำนวนมากมีใจเข้าข้างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะคัดค้านการเข้าแทรกแซงก็ตาม ในปี ค.ศ. 1917 สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ซึ่งมีผลทำให้ฝ่ายมหาอำนาจกลางตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงคราม หลังสงครามยุติ รัฐสภาไม่ยอมรับสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งก่อตั้งสันนิบาติชาติ ต่อมา สหรัฐอเมริกายังคงดำเนินตามนโยบายเอกภาพนิยม จนเกือบจะเป็นลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยว
การเมืองการปกครอง รัฐบาลและการเลือกตั้ง
มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federal Republic) แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จึงมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) ประกอบด้วยพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมแครต (Democrat) ดังนี้
ฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดี (President) เป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief of Executive) ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษาเอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
รายชื่อรัฐในสหรัฐอเมริกา เรียงตามลำดับการก่อตั้ง
นอกจากนี้ยังประกอบด้วยดินแดนอื่น ๆ ได้แก่ ดินแดน ดิสตริกต์ออฟโคลัมเบีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของประเทศ และดินแดนโพ้นทะเลอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ อเมริกันซามัว กวม จอห์นสตันอะทอลล์ หมู่เกาะมิดเวย์ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เปอร์โตริโก และหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา และอีกหนึ่งดินแดนคือเขตคลองปานามาที่สหรัฐอเมริกาเช่าไว้จากปานามา
ฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดี (President) เป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief of Executive) ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษาเอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
- วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละรัฐ รัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อบุคคลที่ประธานาธิบดีเสนอขอแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate)
- สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House)
การแบ่งเขตรัฐกิจ
สหรัฐอเมริกาปัจจุบันประกอบด้วย รัฐ 50 รัฐ ดังต่อไปนี้
รายชื่อรัฐในสหรัฐอเมริกา เรียงตามลำดับการก่อตั้ง
นอกจากนี้ยังประกอบด้วยดินแดนอื่น ๆ ได้แก่ ดินแดน ดิสตริกต์ออฟโคลัมเบีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของประเทศ และดินแดนโพ้นทะเลอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ อเมริกันซามัว กวม จอห์นสตันอะทอลล์ หมู่เกาะมิดเวย์ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เปอร์โตริโก และหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา และอีกหนึ่งดินแดนคือเขตคลองปานามาที่สหรัฐอเมริกาเช่าไว้จากปานามา
ลักษณะประชากร
เมืองขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
ตามข้อมูลของ CIA World Fact ปี พ.ศ. 2548 ประชากรของสหรัฐอเมริกาประกอบด้วย
สหรัฐอเมริกาไม่มีการกำหนดภาษาทางการ แต่ในทางปฏิบัติภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในประเทศ ในบางรัฐได้มีการกำหนดภาษาทางการของรัฐ นอกจากนี้ภาษาที่มีใช้กันมากในสหรัฐอเมริกามากกว่าหนึ่งล้านคน ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม และ ภาษาเยอรมัน
ในสหรัฐอเมริกาไม่มีการกำหนดศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามจากการสำรวจเรื่องศาสนามีประมาณ 76.7% ของชาวอเมริกันนับถือศาสนาคริสต์ (52% นิกายโปรแตสแตนต์ 24.5% นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายอื่นอีก 0.2%) โดยที่เหลือ เป็นชาวอเมริกันนับถือศาสนาอื่น หรือไม่นับถือศาสนาใดเลย
- อันดับเมืองขนาดใหญ่ 15 เมืองแรก จัดอันดับตามจำนวนประชากร
อันดับ | เมือง | รัฐ | ประชากร (ข้อมูล กรกฎาคม 2549) |
---|---|---|---|
1 | นิวยอร์กซิตี | รัฐนิวยอร์ก | 8,214,426 |
2 | ลอสแอนเจลิส | รัฐแคลิฟอร์เนีย | 3,849,378 |
3 | ชิคาโก | รัฐอิลลินอยส์ | 2,873,321 |
4 | ฮูสตัน | รัฐเทกซัส | 2,144,491 |
5 | ฟินิกซ์ | รัฐแอริโซนา | 1,512,986 |
6 | ฟิลาเดลเฟีย | รัฐเพนซิลเวเนีย | 1,448,394 |
7 | ซานอันโตนีโอ | รัฐเทกซัส | 1,296,682 |
8 | ซานดีเอโก | รัฐแคลิฟอร์เนีย | 1,256,951 |
9 | ดัลลัส | รัฐเทกซัส | 1,232,940 |
10 | ซานโฮเซ | รัฐแคลิฟอร์เนีย | 929,936 |
11 | ดีทรอยต์ | รัฐมิชิแกน | 871,121 |
12 | แจ็กสันวิลล์ | รัฐฟลอริดา | 794,555 |
13 | อินเดียแนโพลิส | รัฐอินดีแอนา | 785,597 |
14 | ซานฟรานซิสโก | รัฐแคลิฟอร์เนีย | 744,041 |
15 | โคลัมบัส | รัฐโอไฮโอ | 733,203 |
เชื้อชาติ
ตามข้อมูลของ CIA World Fact ปี พ.ศ. 2548 ประชากรของสหรัฐอเมริกาประกอบด้วย
- คนผิวขาว รวมถึง คนเม็กซิกัน 81.7% หรือ 241 ล้านคน
- คนผิวดำ หรือ แอฟริกันอเมริกัน 12.9% หรือ 36.4 ล้านคน
- คนอเมริกันเอเชีย 4.2% หรือ 11.9 ล้านคน
- ชาวอินเดียนแดง 1.4% หรือ 4.1 ล้านคน
- ชาวฮาวาย 0.2%
ภาษา
สหรัฐอเมริกาไม่มีการกำหนดภาษาทางการ แต่ในทางปฏิบัติภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในประเทศ ในบางรัฐได้มีการกำหนดภาษาทางการของรัฐ นอกจากนี้ภาษาที่มีใช้กันมากในสหรัฐอเมริกามากกว่าหนึ่งล้านคน ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม และ ภาษาเยอรมัน
ศาสนา
ในสหรัฐอเมริกาไม่มีการกำหนดศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามจากการสำรวจเรื่องศาสนามีประมาณ 76.7% ของชาวอเมริกันนับถือศาสนาคริสต์ (52% นิกายโปรแตสแตนต์ 24.5% นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายอื่นอีก 0.2%) โดยที่เหลือ เป็นชาวอเมริกันนับถือศาสนาอื่น หรือไม่นับถือศาสนาใดเลย
การศึกษา
ระบบการศึกษาในสหรัฐอเมริกาควบคุมโดยแต่ละรัฐแยกจากกัน เด็กทุกคนจะถูกให้เรียนจบในระดับไฮสคูล และจบในระดับชั้นเกรด 12 หรือเทียบเท่า โดยผู้ปกครองสามารถเลือกให้ลูกเรียนที่โรงเรียนรัฐบาล หรือโรงเรียนเอกชน นอกจากนี้ยังมีผู้ปกครองบางกลุ่ม ที่สอนให้ลูกเรียนด้วยตนเองที่บ้านหรือในชุมชนซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่าโฮมสกูล ภายหลังจากจบการศึกษา นักเรียนสามารถเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในมหาวิทยาลัยรัฐหรือมหาวิทยาลัยเอกชน โดยนักเรียนสามารถกู้เงินจากทางธนาคารหรือหน่วยงานราชการสำหรับจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนในระดับนี้ และจ่ายคืนภายหลังจบการศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ค่าเรียนจะแพงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐ ในขณะที่คุณภาพของมหาวิทยาลัยบางแห่งเทียบเท่า ดีกว่า หรือด้อยกว่ามหาวิทยาลัยรัฐ นอกจากนี้นักเรียนสามารถเลือกเรียนในวิทยาลัยชุมชนที่ค่าเรียนถูกกว่าทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนในช่วง 2 ปีแรก และโอนหน่วยกิตไปเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอื่นในช่วงต่อมาได้ มหาวิทยาลัยที่สำคัญในสหรัฐอเมริกาเช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ และ มหาวิทยาลัยชิคาโก เป็นต้น
สหรัฐอเมริกามีอัตราการอ่านออกเขียนได้ค่อนข้างสูง โดยมีค่า 86-98% ของประชากรที่อายุมากกว่า 15 ปี
สหรัฐอเมริกามีอัตราการอ่านออกเขียนได้ค่อนข้างสูง โดยมีค่า 86-98% ของประชากรที่อายุมากกว่า 15 ปี
วัฒนธรรม
อาหาร
เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้อพยพเข้ามาอยู่ตลอดเวลา อาหารในประเทศจึงมีความหลากหลาย โดยอาหารพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกา หรืออาหารชาวอินเดียนแดง คืออาหารที่มีส่วนประกอบของ ไก่งวง มันสำปะหลัง ข้าวโพด และฟักทอง โดยในปัจจุบันจากการอพยพจากประชากรจากฝั่งยุโรปเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในส่วนของอาหารอเมริกัน ซึ่งได้แก่อาหารหลายประเภท เช่น พายแอปเปิล พิซซา ชาวเดอร์ พาสตา แฮมเบอร์เกอร์ ฮอตด็อก แซนด์วิช และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่อพยพมาจากทางประเทศเม็กซิโก ซึ่งอาหารประเภท เบอร์ริโต และ ทาโก ได้เป็นอาหารหลักในสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้อาหารชาติอื่น ไม่ว่าจะเป็น ซูชิของญี่ปุ่น หรือติ่มซำของจีน รวมไปถึงอาหารไทยเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน
ดนตรีในสหรัฐอเมริกา เกิดจากการผสมผสานของดนตรีหลายเชื้อชาติเข้าด้วยกัน และเกิดเป็นดนตรีแนวใหม่รายประเภท เช่น ร็อกแอนด์โรลล์ ฮิปฮอป คันทรี บลูส์ Drum & Bugle Corps (วงโยธวาทิต) และแจ๊ส และในช่วงล่าสุด ดนตรีของสหรัฐอเมริกาได้เริ่มเป็นที่นิยมในหลายที่ทั่วโลก นอกจากนี้การเต้นรำ ได้มีกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกันเช่นกัน
กีฬา
ในสหรัฐอเมริกา กีฬาเป็นการละเล่นที่นิยมเล่นกันมากตั้งแต่ระดับโรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย และระดับอาชีพ และเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศ กีฬาที่นิยมมากที่สุดในสหรัฐทั้ง 4 อย่างคือ อเมริกันฟุตบอล บาสเกตบอล เบสบอล และ ไอซ์ฮอกกี กีฬาอื่นที่นิยมลองลงมาได้แก่ การแข่งรถ (นาสคาร์) ลาครอสส์ มวยปล้ำ และ ฟุตบอลที่เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่เด็กชาวอเมริกัน ถึงแม้ว่าฟุตบอลจะมีการแข่งขันอาชีพในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ แต่ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าการแข่งขันอื่นเช่นใน เอ็นเอฟแอลของอเมริกันฟุตบอล เอ็นบีเอของบาสเกตบอล หรือ เมเจอร์ลีกเบสบอล นอกจากนี้กีฬาที่ได้รับความนิยมในหมู่บุคคลเฉพาะเช่น สเก็ตบอร์ด สกี สโนว์บอร์ด และ เซิร์ฟบอร์ด เริ่มเป็นที่แพร่หลายเช่นกัน
นอกจากนี้ในระดับนานาชาติ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จสูงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้อพยพเข้ามาอยู่ตลอดเวลา อาหารในประเทศจึงมีความหลากหลาย โดยอาหารพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกา หรืออาหารชาวอินเดียนแดง คืออาหารที่มีส่วนประกอบของ ไก่งวง มันสำปะหลัง ข้าวโพด และฟักทอง โดยในปัจจุบันจากการอพยพจากประชากรจากฝั่งยุโรปเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในส่วนของอาหารอเมริกัน ซึ่งได้แก่อาหารหลายประเภท เช่น พายแอปเปิล พิซซา ชาวเดอร์ พาสตา แฮมเบอร์เกอร์ ฮอตด็อก แซนด์วิช และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่อพยพมาจากทางประเทศเม็กซิโก ซึ่งอาหารประเภท เบอร์ริโต และ ทาโก ได้เป็นอาหารหลักในสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้อาหารชาติอื่น ไม่ว่าจะเป็น ซูชิของญี่ปุ่น หรือติ่มซำของจีน รวมไปถึงอาหารไทยเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน
ดนตรี
ดนตรีในสหรัฐอเมริกา เกิดจากการผสมผสานของดนตรีหลายเชื้อชาติเข้าด้วยกัน และเกิดเป็นดนตรีแนวใหม่รายประเภท เช่น ร็อกแอนด์โรลล์ ฮิปฮอป คันทรี บลูส์ Drum & Bugle Corps (วงโยธวาทิต) และแจ๊ส และในช่วงล่าสุด ดนตรีของสหรัฐอเมริกาได้เริ่มเป็นที่นิยมในหลายที่ทั่วโลก นอกจากนี้การเต้นรำ ได้มีกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกันเช่นกัน
กีฬา
ในสหรัฐอเมริกา กีฬาเป็นการละเล่นที่นิยมเล่นกันมากตั้งแต่ระดับโรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย และระดับอาชีพ และเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศ กีฬาที่นิยมมากที่สุดในสหรัฐทั้ง 4 อย่างคือ อเมริกันฟุตบอล บาสเกตบอล เบสบอล และ ไอซ์ฮอกกี กีฬาอื่นที่นิยมลองลงมาได้แก่ การแข่งรถ (นาสคาร์) ลาครอสส์ มวยปล้ำ และ ฟุตบอลที่เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่เด็กชาวอเมริกัน ถึงแม้ว่าฟุตบอลจะมีการแข่งขันอาชีพในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ แต่ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าการแข่งขันอื่นเช่นใน เอ็นเอฟแอลของอเมริกันฟุตบอล เอ็นบีเอของบาสเกตบอล หรือ เมเจอร์ลีกเบสบอล นอกจากนี้กีฬาที่ได้รับความนิยมในหมู่บุคคลเฉพาะเช่น สเก็ตบอร์ด สกี สโนว์บอร์ด และ เซิร์ฟบอร์ด เริ่มเป็นที่แพร่หลายเช่นกัน
นอกจากนี้ในระดับนานาชาติ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จสูงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ขออนุญาคัดลอกข้อมูลไปทำบล็อกนะจ๊ะ...
ตอบลบขอลอกบล็อกด้วยนะจ๊ะ มือใหม่หัดทำบล็อกจ้า
ตอบลบ