จักรวรรดิอังกฤษ
จักรวรรดิอังกฤษ (อังกฤษ: British Empire) ประกอบด้วยดินแดนในปกครอง คราวน์โคโลนี รัฐในอารักขา รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารหรือปกครองโดยสหราชอาณาจักร ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ก่อตั้งโดยราชอาณาจักรอังกฤษ ช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิอังกฤษเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจของโลกตลอดระยะมากกว่าหนึ่งศตวรรษ ในปี ค.ศ. 1922 จักรวรรดิอังกฤษปกครองประชากรทั้งหมดประมาณ 458 ล้านคน หรือกว่าหนึ่งในสี่ของประชากรโลกในเวลานั้น ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 33,000,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสี่ของพื้นดินทั้งหมดของโลก ดังนั้นมรดกทางการเมือง ภาษาและวัฒนธรรมของอังกฤษจึงแผ่ขยายออกไป ในยุคที่จักรวรรดิอังกฤษรุ่งเรืองที่สุด มักกล่าวกันบ่อยครั้งว่า "ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินในจักรวรรดิอังกฤษ" เนื่องจากการแผ่ขยายดินแดนออกไปทั่วโลกจึงทำให้ดวงอาทิตย์ยังส่องแสงอยู่บนอาณานิคมหรือชาติใต้ปกครองที่มีอยู่มากมายอย่างน้อยที่สุดแห่งหนึ่งอยู่ตลอดเวลา
ระหว่างยุคแห่งการสำรวจในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 สเปนและโปรตุเกสได้บุกเบิกการสำรวจโลกของชาวยุโรปและดำเนินการสร้างจักรวรรดิโพ้นทะเลขนาดใหญ่ไปด้วย เนื่องจากความอิจฉาในความมั่งคั่งที่จักรวรรดิทั้งสองได้รับ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์จึงเริ่มก่อตั้งอาณานิคมและเครือข่ายทางการค้าของตนในทวีปอเมริกาและเอเชีย สงครามที่มีอยู่ต่อเนื่องกับเนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ทำให้อังกฤษ (หรือ บริเตน ภายหลังพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งผนวกสกอตแลนด์) เป็นมหาอำนาจด้านอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือและอินเดียอย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ดี การสูญเสียสิบสามอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ หลังจากสงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1783 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอังกฤษ อันเป็นการสูญสิ้นอำนาจในอาณานิคมที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด แต่หลังจากนั้นไม่นาน อังกฤษก็ได้หันความสนใจไปยังทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และแปซิฟิกแทน หลังจากฝรั่งเศสสมัยนโปเลียนแพ้สงครามในปี ค.ศ. 1815 อังกฤษได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจอันไร้เทียมทานของโลกเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ และได้ขยายดินแดนในจักรวรรดิออกไปทั่วโลก โดยมีการเพิ่มระดับการปกครองตนเองให้แก่อาณานิคมชาวผิวขาวหลายแห่ง โดยบางแห่งได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นดินแดนในปกครอง
ความเจริญของเยอรมนีและสหรัฐอเมริกาสั่นคลอนความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความตึงเครียดทางกาารทหารและเศรษฐกิจในระยะต่อมาระหว่างอังกฤษและเยอรมนีได้เป็นสาเหตุหลักซึ่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในสงครามครั้งนั้น อังกฤษได้พึ่งพาดินแดนในจักรวรรดิของตนเองเป็นอย่างมาก ความขัดแย้งดังกล่าวทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงินแก่อังกฤษ และแม้ว่าจักรวรรดิจะแผ่ขยายดินแดนได้มากที่สุดโดยทันทีหลังจากสงครามยุติ แต่กระนั้น อังกฤษก็ไม่ใช่มหาอำนาจอันดับหนึ่งทางการทหารหรืออุตสาหกรรมอีกต่อไป ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้ยึดครองอาณานิคมของอังกฤษในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นการทำลายเกียรติภูมิและเร่งให้เกิดความเสื่อมสลายของจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าอังกฤษจะได้รับชัยชนะในสงครามก็ตาม ภายในสองปีหลังสงครามโลกยุติลง อังกฤษก็ได้ให้เอกราชแก่อินเดีย ซึ่งเป็นอาณานิคมที่มีค่ามากที่สุดและมีประชากรมากที่สุด
ในช่วงเวลาที่เหลือในศตวรรษที่ 20 ดินแดนส่วนใหญ่ในจักรวรรดิอังกฤษได้รับเอกราช อันเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวในการปลอดปล่อยอาณานิคมทั่วโลกจากมหาอำนาจยุโรป โดยสิ้นสุดลงด้วยการคืนฮ่องกงให้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี ค.ศ. 1997 หลังจากได้รับเอกราชแล้ว อดีตอาณานิคมของอังกฤษจำนวนมากได้เข้าร่วมกับเครือจักรภพแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นการรวมกลุ่มกันอย่างเสรีของรัฐเอกราชต่าง ๆ โดยจำนวนสิบหกรัฐมีประมุขแห่งเครือจักรภพพระองค์เดียวกันคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ส่วนดินแดนอีกสิบสี่แห่งยังคงอยู่ภายใต้อธิปไตยของอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า "อาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร"
ระหว่างยุคแห่งการสำรวจในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 สเปนและโปรตุเกสได้บุกเบิกการสำรวจโลกของชาวยุโรปและดำเนินการสร้างจักรวรรดิโพ้นทะเลขนาดใหญ่ไปด้วย เนื่องจากความอิจฉาในความมั่งคั่งที่จักรวรรดิทั้งสองได้รับ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์จึงเริ่มก่อตั้งอาณานิคมและเครือข่ายทางการค้าของตนในทวีปอเมริกาและเอเชีย สงครามที่มีอยู่ต่อเนื่องกับเนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ทำให้อังกฤษ (หรือ บริเตน ภายหลังพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งผนวกสกอตแลนด์) เป็นมหาอำนาจด้านอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือและอินเดียอย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ดี การสูญเสียสิบสามอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ หลังจากสงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1783 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอังกฤษ อันเป็นการสูญสิ้นอำนาจในอาณานิคมที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด แต่หลังจากนั้นไม่นาน อังกฤษก็ได้หันความสนใจไปยังทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และแปซิฟิกแทน หลังจากฝรั่งเศสสมัยนโปเลียนแพ้สงครามในปี ค.ศ. 1815 อังกฤษได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจอันไร้เทียมทานของโลกเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ และได้ขยายดินแดนในจักรวรรดิออกไปทั่วโลก โดยมีการเพิ่มระดับการปกครองตนเองให้แก่อาณานิคมชาวผิวขาวหลายแห่ง โดยบางแห่งได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นดินแดนในปกครอง
ความเจริญของเยอรมนีและสหรัฐอเมริกาสั่นคลอนความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความตึงเครียดทางกาารทหารและเศรษฐกิจในระยะต่อมาระหว่างอังกฤษและเยอรมนีได้เป็นสาเหตุหลักซึ่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในสงครามครั้งนั้น อังกฤษได้พึ่งพาดินแดนในจักรวรรดิของตนเองเป็นอย่างมาก ความขัดแย้งดังกล่าวทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงินแก่อังกฤษ และแม้ว่าจักรวรรดิจะแผ่ขยายดินแดนได้มากที่สุดโดยทันทีหลังจากสงครามยุติ แต่กระนั้น อังกฤษก็ไม่ใช่มหาอำนาจอันดับหนึ่งทางการทหารหรืออุตสาหกรรมอีกต่อไป ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้ยึดครองอาณานิคมของอังกฤษในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นการทำลายเกียรติภูมิและเร่งให้เกิดความเสื่อมสลายของจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าอังกฤษจะได้รับชัยชนะในสงครามก็ตาม ภายในสองปีหลังสงครามโลกยุติลง อังกฤษก็ได้ให้เอกราชแก่อินเดีย ซึ่งเป็นอาณานิคมที่มีค่ามากที่สุดและมีประชากรมากที่สุด
ในช่วงเวลาที่เหลือในศตวรรษที่ 20 ดินแดนส่วนใหญ่ในจักรวรรดิอังกฤษได้รับเอกราช อันเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวในการปลอดปล่อยอาณานิคมทั่วโลกจากมหาอำนาจยุโรป โดยสิ้นสุดลงด้วยการคืนฮ่องกงให้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี ค.ศ. 1997 หลังจากได้รับเอกราชแล้ว อดีตอาณานิคมของอังกฤษจำนวนมากได้เข้าร่วมกับเครือจักรภพแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นการรวมกลุ่มกันอย่างเสรีของรัฐเอกราชต่าง ๆ โดยจำนวนสิบหกรัฐมีประมุขแห่งเครือจักรภพพระองค์เดียวกันคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ส่วนดินแดนอีกสิบสี่แห่งยังคงอยู่ภายใต้อธิปไตยของอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า "อาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร"
จุดเริ่มต้น (1497-1583)
การก่อตั้งจักรวรรดิอังกฤษเกิดขึ้นในช่วงที่อังกฤษและสกอตแลนด์ยังคงเป็นราชอาณาจักรที่แยกจากกัน ในปี ค.ศ. 1496 หลังจากที่โปรตุเกสและสเปนประสบความสำเร็จในการสำรวจโพ้นทะเล สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษทรงแต่งตั้งให้จอห์น คาบ็อตนำการเดินทางเพื่อสำรวจหาเส้นทางไปทวีปเอเชียผ่านทางมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ต่อมาในปี ค.ศ. 1497 คาบ็อตได้แล่นเรือออกจากอังกฤษ แม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จในการขึ้นฝั่งนิวฟาวน์แลนด์ (ซึ่งเข้าใจผิดว่าเขาได้ถึงทวีปเอเชียแล้ว เช่นเดียวกับคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเมื่อห้าปีก่อน) การเดินทางในครั้งนี้ไม่มีความพยายามที่จะจัดตั้งอาณานิคมใด ๆ ขึ้น คาบ็อตได้นำการเดินทางด้วยเรือไปยังทวีปอเมริกาอีกครั้งหนึ่งในปีต่อมา แต่ก็ไม่มีใครได้ข่าวจากเขาอีกเลย
อังกฤษไม่พยายามที่จะก่อตั้งอาณานิคมอังกฤษในทวีปอเมริกาเรื่อยมาจนกระทั่งรัชกาลสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 การปฏิรูปโปรแตสแตนต์ได้ทำให้เกิดความเป็นปรปักษ์ระหว่างสเปนที่นับถือนิกายคาทอลิกและอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1562 พระมหากษัตริย์อังกฤษจึงทรงอนุญาตให้นักเดินเรือเอกชนอังกฤษ จอห์น ฮอว์กินส์ และฟรานซิส เดรค ทำการโจมตีปล้นทาสตามเมืองในทวีปแอฟริกาและเรือโปรตุเกสซึ่งแล่นออกจากชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะทำลายระบบการค้าแอตแลนติก ความพยายามดังกล่าวถูกบฏิเสธ และเมื่อสงครามอังกฤษ-สเปนเริ่มทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงอนุญาตให้ขยายโจมตีแบบโจรสลัดไปจนถึงเมืองท่าของสเปนในทวีปอเมริกาและการเดินเรือซึ่งแล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกลับมา ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพย์สมบัติซึ่งขนกลับจากโลกใหม่ ขณะเดียวกัน นักเขียนที่มีอิทธิพล อาทิ ริชาร์ด ฮัคลุยต์ และจอห์น ดี (เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า "จักรวรรดิอังกฤษ") กำลังเริ่มผลักดันให้มีการก่อตั้งจักรวรรดิที่เป็นของอังกฤษเอง เพื่อแข่งขันกับจักรวรรดิของสเปนและโปรตุเกส ในครั้งนี้ สเปนได้สร้างถิ่นฐานอย่างมั่นคงในทวีปอเมริกา ส่วนโปรตุเกสได้สร้างแนวท่าเรือการค้าและป้อมปราการมากมายจากชายฝั่งทวีปแอฟริกาและบราซิลไปยังประเทศจีน และฝรั่งเศสก็ได้เริ่มตั้งหลักปักฐานบริเวณแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ที่ต่อมากลายเป็นอาณานิคมนิวฟรานซ์
ในปี ค.ศ. 1578 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 พระราชทานสิทธิบัตรแก่ฮัมฟรีย์ กิลเบิร์ต เพื่อการค้นพบและการสำรวจโพ้นทะเล ในปีเดียวกัน กิลเบิร์ตได้ออกเดินเรือไปยังอินเดียตะวันตก ด้วยความตั้งใจที่จะปล้นสะดมและก่อตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ แต่การเดินทางดังกล่าวถูกยกเลิกก่อนที่จะสามารถข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1583 กิลเบิร์ตได้ออกเดินทางเป็นครั้งที่สอง ในครั้งนี้ได้ไปยังเกาะนิวฟันด์แลนด์ ซึ่งเขาได้อ้างสิทธิให้เป็นของอังกฤษอย่างเป็นทางการ ถึงแม้จะยังไม่มีผู้ตั้งถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ก็ตาม กิลเบิร์ตเสียชีวิตขณะเดินทางกลับอังกฤษ และได้รับการสืบทอดโดยน้องชายต่างมารดา วอลเทอร์ ราเลห์ ซึ่งได้รับพระราชทานสิทธิบัตรจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี ค.ศ. 1584 โดยในปีเดียวกัน เขาได้ก่อตั้งอาณานิคมโรอาโนคบนชายฝั่งรัฐนอร์ทแคโรไลนาในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดแคลนเสบียง
อาณานิคมนิคมโพ้นทะเลถาวรแห่งแรกของอังกฤษก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1607 ณ เมืองเจมส์ทาวน์ นำโดยกัปตันจอห์น สมิธ และอยู่ภายใต้การจัดการโดยบริษัทเวอร์จิเนีย ซึ่งสาขาของบริษัทนี้ได้ก่อตั้งอาณานิคมบนเกาะเบอร์มิวดา อันถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1609 กฎบัตรของบริษัทได้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1624 และรัฐบาลอังกฤษก็เข้ามาควบคุมกิจการโดยตรง ดังนั้นจึงได้ก่อตั้งเป็นอาณานิคมเวอร์จิเนีย ส่วนบริษัทนิวฟันด์แลนด์ ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2153 เพื่อที่จะก่อตั้งอาณานิคมถาวรบนเกาะนิวฟันด์แลนด์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จอย่างมาก ในปี ค.ศ. 1620 อาณานิคมพลีมัธ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักแก่พวกแบ่งแยกศาสนากลุ่มเพียวริตัน ซึ่งต่อมาเรียกว่า พวกแสวงบุญ การหลบหนีจากความไม่ปลอดภัยทางศาสนาจะเป็นแรงกระตุ้นให้เหล่าว่าที่ชาวอาณานิคมหลายคนยอมเสี่ยงกับการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกอันยากลำบาก กล่าวคือ อาณานิคมแมรีแลนด์ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักแก่นิกายโรมันคาทอลิก (ค.ศ. 1634) อาณานิคมโรดไอส์แลนด์ (ค.ศ. 1636) เป็นอาณานิคมที่ยอมรับทุกศาสนา และอาณานิคมคอนเน็กติกัต (ค.ศ. 1639) สำหรับนิกายคอนเกรเกชันนอลลิสต์ มณฑลแคโรไลนาถูกจัดตั้งในปี ค.ศ. 1663 ภายหลังการยอมจำนนของฟอร์ทอัมสเตอร์ดัมในปี ค.ศ. 1664 อังกฤษได้เข้าควบคุมอาณานิคมนิวอัมสเตอร์ดัมของดัตช์ และเปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์ก การควบคุมดังกล่าวได้ทำให้เป็นทางการในการเจรจาหลังจากสงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่สอง เพื่อแลกเปลี่ยนกับซูรินาเม และในปี ค.ศ. 1681 อาณานิคมเพนซิลเวเนียก็ได้จัดตั้งขึ้นมาโดยวิลเลียม เพนน์ อาณานิคมบนทวีปอเมริกาประสบความสำเร็จทางการเงินน้อยกว่าในแคริบเบียน แต่อาณานิคมเหล่านี้มีพื้นที่เกษตรกรรมที่ดีขนาดใหญ่ และดึงดูดผู้อพยพชาวอังกฤษซึ่งชื่นชอบภูมิอากาศอบอุ่นของอาณานิคมเหล่านี้
อังกฤษไม่พยายามที่จะก่อตั้งอาณานิคมอังกฤษในทวีปอเมริกาเรื่อยมาจนกระทั่งรัชกาลสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 การปฏิรูปโปรแตสแตนต์ได้ทำให้เกิดความเป็นปรปักษ์ระหว่างสเปนที่นับถือนิกายคาทอลิกและอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1562 พระมหากษัตริย์อังกฤษจึงทรงอนุญาตให้นักเดินเรือเอกชนอังกฤษ จอห์น ฮอว์กินส์ และฟรานซิส เดรค ทำการโจมตีปล้นทาสตามเมืองในทวีปแอฟริกาและเรือโปรตุเกสซึ่งแล่นออกจากชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะทำลายระบบการค้าแอตแลนติก ความพยายามดังกล่าวถูกบฏิเสธ และเมื่อสงครามอังกฤษ-สเปนเริ่มทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงอนุญาตให้ขยายโจมตีแบบโจรสลัดไปจนถึงเมืองท่าของสเปนในทวีปอเมริกาและการเดินเรือซึ่งแล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกลับมา ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพย์สมบัติซึ่งขนกลับจากโลกใหม่ ขณะเดียวกัน นักเขียนที่มีอิทธิพล อาทิ ริชาร์ด ฮัคลุยต์ และจอห์น ดี (เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า "จักรวรรดิอังกฤษ") กำลังเริ่มผลักดันให้มีการก่อตั้งจักรวรรดิที่เป็นของอังกฤษเอง เพื่อแข่งขันกับจักรวรรดิของสเปนและโปรตุเกส ในครั้งนี้ สเปนได้สร้างถิ่นฐานอย่างมั่นคงในทวีปอเมริกา ส่วนโปรตุเกสได้สร้างแนวท่าเรือการค้าและป้อมปราการมากมายจากชายฝั่งทวีปแอฟริกาและบราซิลไปยังประเทศจีน และฝรั่งเศสก็ได้เริ่มตั้งหลักปักฐานบริเวณแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ที่ต่อมากลายเป็นอาณานิคมนิวฟรานซ์
การตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์
แม้ว่าอังกฤษจะล้าหลังในการล่าอาณานิคมเมื่อเทียบกับสเปนและโปรตุเกส อังกฤษก็ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์ คล้ายกับการรุกรานของชาวนอร์มันในปี ค.ศ. 1171 กลุ่มคนซึ่งมีส่วนร่วมในการตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์ยังได้มีส่วนในการตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือในช่วงเริ่มแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มคนซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "หนุ่มชนบทตะวันตก" (West Country men) ซึ่งประกอบด้วยฮัมฟรีย์ กิลเบิร์ต, วอลเทอร์ ราเลห์, ฟรานซิส เดรค, จอห์น ฮอว์กินส์, ริชาร์ด เกรนวิลล์ และราล์ฟ เลน"จักรวรรดิอังกฤษที่หนึ่ง" (1583–1783)
ในปี ค.ศ. 1578 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 พระราชทานสิทธิบัตรแก่ฮัมฟรีย์ กิลเบิร์ต เพื่อการค้นพบและการสำรวจโพ้นทะเล ในปีเดียวกัน กิลเบิร์ตได้ออกเดินเรือไปยังอินเดียตะวันตก ด้วยความตั้งใจที่จะปล้นสะดมและก่อตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ แต่การเดินทางดังกล่าวถูกยกเลิกก่อนที่จะสามารถข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1583 กิลเบิร์ตได้ออกเดินทางเป็นครั้งที่สอง ในครั้งนี้ได้ไปยังเกาะนิวฟันด์แลนด์ ซึ่งเขาได้อ้างสิทธิให้เป็นของอังกฤษอย่างเป็นทางการ ถึงแม้จะยังไม่มีผู้ตั้งถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ก็ตาม กิลเบิร์ตเสียชีวิตขณะเดินทางกลับอังกฤษ และได้รับการสืบทอดโดยน้องชายต่างมารดา วอลเทอร์ ราเลห์ ซึ่งได้รับพระราชทานสิทธิบัตรจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี ค.ศ. 1584 โดยในปีเดียวกัน เขาได้ก่อตั้งอาณานิคมโรอาโนคบนชายฝั่งรัฐนอร์ทแคโรไลนาในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดแคลนเสบียง
ในปี ค.ศ. 1603 สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ได้ทรงสืบราชบัลลังก์อังกฤษต่อมา และในปี ค.ศ. 1604 ได้ทรงเจรจาในสนธิสัญญาลอนดอน ในการยุติความบาดหมางกับสเปน หลังจากการสงบศึกกับคู่แข่งที่สำคัญ ความสนใจของอังกฤษเปลี่ยนจากการหาผลประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางอาณานิคมของชาติอื่นมาเป็นกิจการการก่อตั้งอาณานิคมโพ้นทะเลเป็นของตนเอง จักรวรรดิอังกฤษได้เริ่มเป็นรูปร่างขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยการก่อตั้งนิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือและหมู่เกาะเล็ก ๆ แถบแคริบเบียน ตลอดจนถึงการจัดตั้งบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ชื่อ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เพื่อทำการค้าขายกับทวีปเอเชีย ในช่วงนี้จนไปถึงการสูญเสียสิบสามอาณานิคม หลังจากการประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้รับกล่าวถึงในเวลาต่อมาว่าเป็น "จักรวรรดิอังกฤษที่หนึ่ง"
ทวีปอเมริกา ชาวแอฟริกัน และการค้าทาส
ในช่วงแรก แคริบเบียนเป็นอาณานิคมที่มีความสำคัญและให้ผลกำไรมากที่สุดของอังกฤษ แต่ไม่ก่อนหน้าความพยายามหลายครั้งในการจัดตั้งอาณานิคมประสบความล้มเหลว ความพยายามในการก่อตั้งอาณานิคมหนึ่งในกิอานาเมื่อปี ค.ศ. 1604 ดำเนินไปเพียงสองปี และถูกล้มเลิกไปเนื่องจากไม่สามารถหาแหล่งแร่ทองคำ อันจุดประสงค์หลัก อาณานิคมต่าง ๆ ในเซนต์ลูเซีย (ค.ศ. 1605) และเกรนาดา (ค.ศ. 1609) ถูกล้มเลิกไปอย่างรวดเร็ว แต่การจัดตั้งอาณานิคมประสบผลสำเร็จในเซนต์คิตส์ (ค.ศ. 1624) บาร์เบโดส (ค.ศ. 1627) และเนวิส (ค.ศ. 1628) ในเวลาไม่นาน อาณานิคมก็ได้รับเอาระบบการปลูกน้ำตาลที่ชาวโปรตุเกสนำมาใช้อย่างได้ผลในบราซิล ซึ่งต้องพึ่งพาแรงงานทาส และเรือสินค้าดัตช์ในตอนแรก เพื่อขายทาสและซื้อน้ำตาล เพื่อรับประกันให้กำไรที่เพิ่มมีมากขึ้นจากการค้าขายจะอยู่ในมือของอังกฤษ รัฐสภาได้มีพระราชกฤษฎีกาในปี พ.ศ. 2194 ว่ามีเพียงเรือสินค้าอังกฤษเท่านั้นจะสามารถดำเนินการค้าในอาณานิคมอังกฤษได้ ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่ความขัดแย้งกับสหจังหวัดดัตช์ คือ สงครามอังกฤษ-ดัตช์ ซึ่งก็มีผลทำให้สถานภาพของอังกฤษในทวีปอเมริกาแข็งแกร่งมากขึ้นจากค่าใช้จ่ายของดัตช์ ในปี ค.ศ. 1655 อังกฤษได้ผนวกจาเมกาจากสเปนและในปี ค.ศ. 1656 ก็ได้ก่อตั้งอาณานิคมบนเกาะบาฮามาสได้สำเร็จ
อาณานิคมนิคมโพ้นทะเลถาวรแห่งแรกของอังกฤษก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1607 ณ เมืองเจมส์ทาวน์ นำโดยกัปตันจอห์น สมิธ และอยู่ภายใต้การจัดการโดยบริษัทเวอร์จิเนีย ซึ่งสาขาของบริษัทนี้ได้ก่อตั้งอาณานิคมบนเกาะเบอร์มิวดา อันถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1609 กฎบัตรของบริษัทได้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1624 และรัฐบาลอังกฤษก็เข้ามาควบคุมกิจการโดยตรง ดังนั้นจึงได้ก่อตั้งเป็นอาณานิคมเวอร์จิเนีย ส่วนบริษัทนิวฟันด์แลนด์ ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2153 เพื่อที่จะก่อตั้งอาณานิคมถาวรบนเกาะนิวฟันด์แลนด์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จอย่างมาก ในปี ค.ศ. 1620 อาณานิคมพลีมัธ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักแก่พวกแบ่งแยกศาสนากลุ่มเพียวริตัน ซึ่งต่อมาเรียกว่า พวกแสวงบุญ การหลบหนีจากความไม่ปลอดภัยทางศาสนาจะเป็นแรงกระตุ้นให้เหล่าว่าที่ชาวอาณานิคมหลายคนยอมเสี่ยงกับการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกอันยากลำบาก กล่าวคือ อาณานิคมแมรีแลนด์ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักแก่นิกายโรมันคาทอลิก (ค.ศ. 1634) อาณานิคมโรดไอส์แลนด์ (ค.ศ. 1636) เป็นอาณานิคมที่ยอมรับทุกศาสนา และอาณานิคมคอนเน็กติกัต (ค.ศ. 1639) สำหรับนิกายคอนเกรเกชันนอลลิสต์ มณฑลแคโรไลนาถูกจัดตั้งในปี ค.ศ. 1663 ภายหลังการยอมจำนนของฟอร์ทอัมสเตอร์ดัมในปี ค.ศ. 1664 อังกฤษได้เข้าควบคุมอาณานิคมนิวอัมสเตอร์ดัมของดัตช์ และเปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์ก การควบคุมดังกล่าวได้ทำให้เป็นทางการในการเจรจาหลังจากสงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่สอง เพื่อแลกเปลี่ยนกับซูรินาเม และในปี ค.ศ. 1681 อาณานิคมเพนซิลเวเนียก็ได้จัดตั้งขึ้นมาโดยวิลเลียม เพนน์ อาณานิคมบนทวีปอเมริกาประสบความสำเร็จทางการเงินน้อยกว่าในแคริบเบียน แต่อาณานิคมเหล่านี้มีพื้นที่เกษตรกรรมที่ดีขนาดใหญ่ และดึงดูดผู้อพยพชาวอังกฤษซึ่งชื่นชอบภูมิอากาศอบอุ่นของอาณานิคมเหล่านี้
ในปี ค.ศ. 1670 สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้แก่บริษัทอ่าวฮัดสัน โดยให้บริษัทผูกขาดการค้าขนสัตว์ในดินแดนซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า ดินแดนรูเพิร์ต ซึ่งมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลซึ่งในภายหลังได้กลายเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของแคนาดา ค่ายทหารและสถานีการค้าถูกก่อตั้งขึ้นโดยบริษัทซึ่งบ่อยครั้งมักตกเป็นเป้าการโจมตีของฝรั่งเศส ผู้ซึ่งก่อตั้งอาณานิคมค้าขนสัตว์ในนิวฟรานซ์ที่อยู่ใกล้เคียง
อีกสองปีต่อมา บริษัทรอยัลแอฟริกันถูกสถาปนาขึ้น โดยได้รับพระราชทานสิทธิ์จากพระเจ้าชาร์ลส์ให้ทำการผูกขาดการค้าทาสเพื่อส่งมอบให้อาณานิคมอังกฤษในแคริบเบียน จากแรกเริ่ม การค้าทาสถือเป็นรากฐานของจักรวรรดิอังกฤษในอินเดียตะวันตก จนกระทั่งการยกเลิกการค้าทาสในปี ค.ศ. 1807 อังกฤษเป็นผู้รับผิดชอบการขนส่งทาสชาวแอฟริกันกว่า 3.5 ล้านคนไปยังทวีปแอฟริกา ซึ่งหนึ่งในสามของทาสทั้งหมดถูกขนส่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การค้าเหล่านี้ จึงได้มีการจัดตั้งค่ายทหารขึ้นตามแนวชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก อย่างเช่น เกาะเจมส์, อักกรา และเกาะบันซ์ ในแคริบเบียนของอังกฤษ ประชากรของคนผิวดำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25 ในปี ค.ศ. 1650 เป็นราวร้อยละ 80 ในปี ค.ศ. 1780 และในสิบสามอาณานิคม อัตราส่วนได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 40 ในช่วงเวลาเดียวกัน (โดยส่วนใหญ่แล้วจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในอาณานิคมตอนใต้) สำหรับนักค้าทาส การค้าได้สร้างกำไรมหาศาล และกลายมาเป็นหลักสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงสำหรับเมืองทางตะวันตกของอังกฤษ อย่างเช่น บริสตอลและลิเวอร์พูล ซึ่งได้ก่อตั้งมุมที่สามในสิ่งที่เรียกว่า การค้าสามเหลี่ยม กับทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกา สำหรับการขนส่ง สภาพความรุนแรงและไม่มีสุขอนามัยบนเรือทาสและอาหารเลว ทำให้อัตราการเสียชีวิตระหว่างการเดินทางมีมากถึง 1 ใน 7
ในปี ค.ศ. 1695 รัฐสภาสกอตแลนด์ให้สัญญาแก่บริษัทสกอตแลนด์ ซึ่งก่อตั้งถิ่นฐานในปี ค.ศ. 1698 บนคอคอดปานามา โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะขุดคลองขึ้นที่นั่น แต่เมื่ออาณานิคมถูกล้อมโดยชาวอาณานิคมสเปนเพื่อนบ้าน นิวกรานาดา และประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของมาลาเรีย อาณานิคมจังถูกละทิ้งในอีกสองปีต่อมา โครงการดาเรียนถือเป็นหายนะทางการเงินสำหรับสกอตแลนด์ โดยทุนหนึ่งในสี่ของสกอตแลนด์สูญเสียไปในวิสาหกิจดังกล่าว และยุติความหวังของสกอตแลนด์ที่จะก่อตั้งจักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเลอย่างสิ้นเชิง กรณีดังกล่าวยังได้มีผลกระทบทางการเมืองครั้งสำคัญ โดยทำให้รัฐบาลของทั้งอังกฤษและสกอตแลนด์เห็นประโยชน์ของการรวมตัวกันของทั้งสองประเทศ มากกว่าเป็นเพียงอาณานิคมเท่านั้น การรวมประเทศทั้งสองเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1707 ด้วยพระราชบัญญัติสหภาพ และก่อตั้งขึ้นเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
การแข่งขันกับเนเธอร์แลนด์ในเอเชีย
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษและเนเธอร์แลนด์เริ่มท้าทายการผูกขาดการค้าขายกับทวีปเอเชียของโปรตุเกส โดยการก่อตั้งบริษัทเอกชนออกทุนรว่วมกันเพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การออกเดินเรือ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษและบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ ได้จดกฎบัตรในปี ค.ศ. 1600 และ ค.ศ. 1602 ตามลำดับ เป้าหมายหลักของบริษัทดังกล่าว คือ การเจาะสู่การค้าเครื่องเทศซึ่งได้กำไรงาม และพวกเขายังมุ่งความพยายามไปยังแหล่งที่มาของสินค้าเหล่านี้ หมู่เกาะอินโดนีเซีย และศูนย์กลางสำคัญในเครือข่ายการค้านี้ อินเดีย ความใกล้ชิดกันระหว่างลอนดอนและอัมสเตอร์ดัมข้ามทะเลเหนือและการแข่งขันอันแรงกล้าระหว่างอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่งบริษัททั้งสอง โดยพวกดัตช์ได้เปรียบในหมู่เกาะโมลุกกะ (เคยเป็นที่มั่นของโปรตุเกสมาก่อน) หลังจากการล่าถอยของอังกฤษในปี ค.ศ. 1622 และอังกฤษกำลังประสบความสำเร็จมากขึ้นในอินเดีย โดยที่สุรัต อังกฤษได้ก่อตั้งโรงงานได้สำเร็จ ในปี ค.ศ. 1613
ถึงแม้ว่าอังกฤษจะสามารถเบียดบังเนเธอร์แลนด์ในความเป็นเจ้าอาณานิคม แต่ในเวลาอันสั้น เนเธอร์แลนด์ได้พัฒนาระบบการเงินอย่างก้าวหน้า และสงครามอังกฤษ-ดัตช์ถึงสามครั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้ทำให้เนเธอร์แลนด์มีฐานะมั่นคงในทวีปเอเชีย ความเป็นปรปักษ์นี้ลดลงหลังจากการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ในปี ค.ศ. 1688 เมื่อวิลเลียมแห่งออเรนจ์ ชาวดัตช์ ได้ขึ้นครองบัลลังก์อังกฤษ นำมาซี่งสันติภาพระหว่างเนเธอร์แลนด์และอังกฤษ ข้อตกลงระหว่างชาติทั้งสองได้รักษาการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะอินโดนีเซียให้เป็นของเนเธอร์แลนด์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอในอินเดียให้เป็นของอังกฤษ แต่ในเวลาไม่นาน สิ่งทอได้ทำกำไรมากกว่าเรื่องเทศ และในแง่ของยอดขายในปี ค.ศ. 1720 บริษัทอังกฤษจึงได้เข้าควบคุมกิจการของบริษัทดัตช์ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษจึงหันความสนใจจากสุรัต ศูนย์กลางของเครือข่ายการค้าเครื่องเทศ ไปยังฟอร์ตเซนต์จอร์จ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมัลทราส), บอมเบย์ (โปรตุเกสยกให้แก่ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ เพื่อเป็นสินเดิมแด่แคทเธอรีนแห่งบราแกนซา) และสุตนุติ (ซึ่งในภายหลังได้รวมเข้ากับหมู่บ้านอีกสองแห่งเพื่อจัดตั้งเป็นกัลกัตตา)
การต่อสู้กับฝรั่งเศสในระดับโลก
สันติภาพระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1688 หมายความว่าทั้งสองประเทศเข้าสู่สงครามเก้าปีในฐานะพันธมิตร แต่ความขัดแย้งซึ่งปะทุขึ้นในทวีปยุโรปและดินแดนโพ้นทะเลระหว่างฝรั่งเศส สเปน และพันธมิตรอังกฤษ-ดัตช์ ได้ทำให้อังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมที่แข็งแกร่งกว่าดัตช์ ซึ่งถูกบีบบังคับให้ต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากเป็นรายจ่ายด้านการทหารในสงครามราคาแพงในทวีปยุโรป ในช่วงคริสตษศตวรรษที่ 18 อังกฤษกำลังจะก้าวขึ้นเป็นอำนาจอาณานิคมของโลกอย่างเด็ดขาด และฝรั่งเศสดพลังจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญในเวทีจักรวรรดิการสวรรคตของพระเจ้าการ์โลสที่ 2 แห่งสเปน ในปี ค.ศ. 1700 และการทรงทำพินัยกรรมโดยยกสเปนและจักรวรรดิอาณานิคมสเปนให้แก่เฟลีเปแห่งอันจู ผู้ทรงมีศักดิ์เป็นหลานชายของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ได้เร่งให้เกิดความหวังในการรวมฝรั่งเศศ สเปน และอาณานิคมในอนาคตของทั้งสอง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่รับไม่ได้สำหรับอังกฤษและอำนาจอื่นในทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1701 อังกฤษ โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าเป็นพวกกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อต่อต้านสเปนและฝรั่งเศสในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ซึ่งกินเวลาไปจนถึง ค.ศ. 1714 สงครามยุติลงด้วยสนธิสัญญาอูเทร็คท์ เฟลีเปทรงอ้างสิทธิ์เหนือราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและสเปนสูญเสียจักรวรรดิในทวีปยุโรป จักรวรรดิอังกฤษได้ขยายดินแดนกว้างขวางออกไป อังกฤษได้รับนิวฟันด์แลนด์และอคาเดียจากฝรั่งเศส และยิบรอลตาร์และไมนอร์กาจากสเปน ยิบรอลตาร์ซึ่งยังคงเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบัน ได้กลายมาเป็นฐานทัพเรืออันสำคัญยิ่งของอังกฤษ และเปิดทางให้อังกฤษควบคุมจุดเข้าและออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไมนอร์กาถูกคืนให้แก่สเปนในสนธิสัญญาอเมนส์ในปี ค.ศ. 1802 หลังจากเปลี่ยนเจ้าของมาแล้วสองครั้ง สเปนยังได้มอบสิทธิ์ อาเซย์นโต (การอนุญาตให้ขายทาสในอเมริกาเหนือของสเปน) อันได้กำไรงาม แก่อังกฤษ
สงครามเจ็ดปี ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1756 นับเป็นสงครามครั้งแรกที่เกิดขึ้นในระดับโลก โดยมีการสู้รบตั้งแต่ทวีปยุโรป อินเดีย ทวีปอเมริกาเหนือ แคริบเบียน ฟิลิปปินส์และชายฝั่งแอฟริกา การลงนามในสนธิสัญญาปารีสได้มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อจักรวรรดิอังกฤษ ในทวีปอเมริกาเหนือ อนาคตในการก้าวขึ้นเป็นเจ้าอาณานิคมของฝรั่งเศสจบลงอย่างสิ้นเชิง เมื่อฝรั่งเศสรับรองในการอ้างสิทธิ์ของอังกฤษเหนือดินแดนรูเพิร์ต การผนวกนิวฟรานซ์เข้ากับอังกฤษ (ซึ่งทำให้ประชากรพูดภาษาฝรั่งเศสจำนวนมากอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ) และหลุยส์เซียนาให้แก่สเปน สเปนยกฟลอริดาให้แก่อังกฤษ ในอินเดีย สงครามคาร์เนติคทำให้ฝรั่งเศสยังคงปกครองดินแดนแทรกของอินเดีย แต่ก็ได้รับการจำกัดทางทหารและข้อบังคับในการสนับสนุนรัฐบริวารของอังกฤษ ซึ่งทำให้อินเดียตกเป็นของอังกฤษในอนาคต ชัยชนะของอังกฤษเหนือฝรั่งเศสในสงครามเจ็ดปีได้ทำให้อังกฤษกลายเป็นเจ้าอาณานิคมของโลกแต่เพียงชาติเดียว
ความรุ่งเรืองของ "จักรวรรดิอังกฤษที่สอง" (1783-1815)
การปกครองอินเดียของบริษัท ในช่วงศตรวรรษแรกของการดำเนินการ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้ให้ความสำคัญแก่การค้ากับอนุทวีปอินเดีย เพื่อที่จะได้ไม่อยู่ในฐานะที่จะท้าทายอำนาจอขงจักรวรรดิโมกุลอันเกรียงไกร บริษัทได้รับสิทธิการค้าในปี ค.ศ. 1617 สถานการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อจักรวรรดิโมกุลเริ่มเสื่อมอำนาจและบริษัทอินเดียตะวันออกกำลังต่อสู้กับบริษัทคู่แข่งสัญชาติฝรั่งเศส บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส ระหว่างสงครามคาร์นาติกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1740 และ 1750 ยุทธการพลาสเซย์ ในปี ค.ศ. 1757 ซึ่งกองกำลังอังกฤษ ภายใต้การนำของโรเบิร์ต คลิฟ สามารถเอาชนะฝรั่งเศสและพันธมิตรชาวอินเดีย ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษปกครองอ่าวเบงกอล และเป็นอำนาจทางทหารและทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย ในช่วงหลายทศวรรษต่อมา ขนาดของดินแดนภายใต้การปกครองของบริษัทเริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะปกครองโดยตรงหรือผ่านทางผู้ปกครองหุ่นเชิดท้องถิ่นซึ่งถูกคุกคามโดยกองกำลังบริติชอินเดีย โดยทหารส่วนใหญ่ในกองทัพนี้ประกอบด้วยชนพื้นเมืองอินเดีย ซีปอย การยึดครองอินเดียของบริษัทประสบความสำเร็จโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1857 การกบฎในอินเดียปีเดียวกัน ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษยุติบทบาทลง และอินเดียถูกปกครองโดยตรงภายใต้บริติชราช
การสูญเสียสิบสามอาณานิคม
- ในช่วงระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1760 และ 1770 ความสัมพันธ์ระหว่างสิบสามอาณานิคมและอังกฤษเริ่มตึงเครียดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่
- พอใจในความพยายามของรัฐสภาอังกฤษที่จะปกครองและเก็บภาษีชาวอาณานิคมอเมริกันโดยปราศจากความยินยอมของพวกเขา ในเวลานั้น โดยสรุปเป็นสโลแกนที่ว่า "ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน" ความไม่เห็นด้วยในการรับประกันสิทธิความเป็นชาวอังกฤษ ได้ทำให้เกิดการปฏิวัติอเมริกา และการปะทุของสงครามปฏิวัติสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1775 ในปีต่อมา ชาวอาณานิคมได้ประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา โดยได้รับความช่วยเหลือจากฝรั่งเศส สเปน และเนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกายังคงทำสงครามต่อไปจนกระทั่งชนะสงครามในปี ค.ศ. 1783
นักประวัติศาสตร์มองว่าความสูญเสียดินแดนอันกว้างใหญ่ของอเมริกาของอังกฤษ ซึ่งเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลซึ่งมีประชากรมากที่สุดของอังกฤษในเวลานั้น เป็นเหตุการณ์ซึ่งจำกัดความของการเปลี่ยนผ่านระหว่างจักรวรรดิ "ที่หนึ่ง" และ "ที่สอง" เนื่องจากอังกฤษได้หันความสนใจจากทวีปอเมริกาไปยังทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก และในภายหลัง ทวีปแอฟริกา ความมั่งคั่งของประชาชาติ ของอดัม สมิธ ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1776 ได้โต้แย้งว่าอาณานิคมนั้นมีมากเกินไป และควรนำเอาระบบการค้าเสรีเข้ามาแทนที่นโยบายพาณิชยนิยมแบบเก่า ซึ่งเป็นลักษณะของการขยายอาณานิคมในช่วงแรก ซึ่งย้อนกลับไปจนถึงลัทธิคุ้มครองของสเปนและโปรตุเกส การขยายตัวของการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับเอกราชใหม่ กับอังกฤษ หลังจาก ค.ศ. 1783 ดูเหมือนว่าจะเป็นการยืนยันมุมมองของสมิธที่ว่าการควบคุมทางการเมืองไม่จำเป็นต่อความสำเร็จในทางเศรษฐกิจ ความตึงเครียดระหว่างชาติทั้งสองเพิ่มสูงขึ้นระหว่างสงครามนโปเลียน อังกฤษพยายามที่จะขัดขวางการค้าขายระหว่างสหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศส และส่งคนขึ้นไปบนเรืออเมริกันเพื่อเกณฑ์ลูกเรือสัญชาติอังกฤษแต่กำเนิดให้เข้าสู่ราชนาวี สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงคราม ซึ่งเรียกกันว่า สงคราม ค.ศ. 1812 ทั้งสองฝ่ายพยายามที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายของฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด แต่ก็ประสบความล้มเหลวทั้งสองฝ่าย สนธิสัญญาเก้นท์ ซึ่งให้สัตยาบันในปี ค.ศ. 1815 รักษาพรมแดนก่อนสงครามระหว่างชาติทั้งสอง
เหตุการณ์ในทวีปอเมริกาได้มีอิทธิพลต่อนโยบายของอังกฤษในแคนาดา ที่ซึ่งพวกรอยัลลิสต์ที่แพ้สงครามปฏิวัติจำนวนระหว่าง 40,000 ถึง 100,000 คน ได้อพยพออกจากอเมริกาภายหลังการประกาศอิสรภาพ รอยัลลิสต์ 14,000 คนผู้ซึ่งไปยังแม่น้ำเซนต์จอห์นในโนวาสโกเทียรู้สึกว่าไกลเกินกว่าที่จะปลดออกจากการปกครองมณฑลในแฮลิแฟกซ์ ดังนั้นรัฐบาลอังกฤษจึงแบ่งนิวบรันสวิกออกเป็นอาณานิคมต่างหากในปี ค.ศ. 1784 พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791 ได้จัดตั้งมณฑลอัปเปอร์แคนาดา (ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ) และโลว์เออร์แคนาดา (ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส) เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างประชาคมชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศส และมีรูปแบบการปกครองคล้ายคลึงกับรูปแบบซึ่งใช้ในอังกฤษ โดยมีเจตนาที่จะเพิ่มอำนาจของจักรวรรดิและไม่อนุญาตให้อยู่ภายใต้การปกครองของประชาชน ซึ่งได้นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกา
เหตุการณ์ในทวีปอเมริกาได้มีอิทธิพลต่อนโยบายของอังกฤษในแคนาดา ที่ซึ่งพวกรอยัลลิสต์ที่แพ้สงครามปฏิวัติจำนวนระหว่าง 40,000 ถึง 100,000 คน ได้อพยพออกจากอเมริกาภายหลังการประกาศอิสรภาพ รอยัลลิสต์ 14,000 คนผู้ซึ่งไปยังแม่น้ำเซนต์จอห์นในโนวาสโกเทียรู้สึกว่าไกลเกินกว่าที่จะปลดออกจากการปกครองมณฑลในแฮลิแฟกซ์ ดังนั้นรัฐบาลอังกฤษจึงแบ่งนิวบรันสวิกออกเป็นอาณานิคมต่างหากในปี ค.ศ. 1784 พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791 ได้จัดตั้งมณฑลอัปเปอร์แคนาดา (ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ) และโลว์เออร์แคนาดา (ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส) เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างประชาคมชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศส และมีรูปแบบการปกครองคล้ายคลึงกับรูปแบบซึ่งใช้ในอังกฤษ โดยมีเจตนาที่จะเพิ่มอำนาจของจักรวรรดิและไม่อนุญาตให้อยู่ภายใต้การปกครองของประชาชน ซึ่งได้นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกา
การสำรวจแปซิฟิก
การเดินเรือแห่งการค้นพบโดยเจมส์ คุก ในมหาสมุทรแปซิฟิกนำไปสู่การก่อตั้ง
อาณานิคมอังกฤษหลายแห่ง รวมไปถึงออสเตเลียและนิวซีแลนด์
อาณานิคมอังกฤษหลายแห่ง รวมไปถึงออสเตเลียและนิวซีแลนด์
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1718 การขนส่งไปยังอาณานิคมอเมริกันเป็นโทษสำหรับอาชญากรรมทั้งหลายในอังกฤษ โดยนักโทษอย่างน้อย 1,000 คนถูกขนส่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกต่อปี หลังจากการเสียสิบสามอาณานิคมในปี ค.ศ. 1783 สถานการณ์บังคับให้มีการหาสถานที่ใหม่สำหรับขนส่งนักโทษ และรัฐบาลอังกฤษได้ให้ความสนใจไปยังดินแดนออสเตรเลียซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ ชายฝั่งด้านตะวันตกของออสเตรเลียเคยมีการสำรวจโดยชาวยุโรปมาแล้ว คือ นักสำรวจชาวดัตช์ วิลเล็ม เจนซ์ ในปี ค.ศ. 1606 และในภายหลัง บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ได้ตั้งชื่อว่า นิวฮอลแลนด์ แต่ไม่มีความพยายามที่จะก่อตั้งอาณานิคมแต่อย่างใด ในปี ค.ศ. 1770 เจมส์ คุก ได้ค้นพบชายฝั่งด้านตะวันออกของออสเตรเลีย ในระหว่างการเดินเรือเที่ยววิทยาศาสตร์ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เขาได้อ้างสิทธิ์ของอังกฤษเหนือดินแดนแห่งนี้ และตั้งชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ในปี ค.ศ. 1778 โจเซฟ แบงกส์ นักพฤกษศาสตร์ซึ่งเดินทางไปคุก ได้นำเสนอหลักฐานต่อรัฐบาลถึงความเหมาะสมของอ่าวโบตานีในการก่อตั้งทัณฑนิคม และในปี ค.ศ. 1787 เรือขนนักโทษเที่ยวแรกก็ออกเดินทาง และมาถึงในปี ค.ศ. 1788 อังกฤษได้ดำเนินการส่งนักโทษมายังนิวเซาท์เวลส์จนกระทั่ง ค.ศ. 1840 ซึ่งในเวลานั้นอาณานิคมมีประชากรอาศัยอยู่ถึง 56,000 คน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นนักโทษ อดีตนักโทษ หรือผู้สืบสกุลของนักโทษเหล่านี้ อาณานิคมออสเตรเลียได้กลายมาเป็นแหล่งส่งออกขนแกะและทองอันสร้างรายได้มหาศาล
ในระหว่างการเดินทาง คุกยังได้เดินทางไปถึงนิวซีแลนด์ ซึ่งถูกค้นพบเป็นครั้งแรกโดยนักสำรวจชาวดัตช์ แอเบล แทสมัน ในปี ค.ศ. 1642 และได้อ้างสิทธิ์ของทั้งเกาะเหนือและเกาะใต้ให้เป็นของพระมหากษัตริย์อังกฤษในปี ค.ศ. 1769 และ ค.ศ. 1770 ตามลำดับ ในตอนเริ่มแรก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชากรชนพื้นเมืองเมารีและชาวยุโรปจำกัดอยู่เพียงการแลกเปลี่ยนสินค้าเท่านั้น ถิ่นฐานของชาวยุโรปได้ขยายตัวขึ้นในช่วงทศวรรษแรก ๆ ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีสถานีการค้าจำนวนมากถูกจัดตั้งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกาะเหนือ ในปี ค.ศ. 1839 บริษัทนิวซีแลนด์ประกาศแผนที่จะซื้อที่ดินขนาดใหญ่และก่อสร้างอาณานิคมในนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1840 กัปตันวิลเลียม ฮอบสัน และหัวหน้าชนเผ่าเมารีอีกราว 40 คน ลงนามในสนธิสัญญาไวทังกิ ซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นเอกสารก่อตั้งนิวซีแลนด์ แต่ความแตกต่างในการตีความข้อความในเอกสารภาษาเมารีและภาษาอังกฤษ หมายความว่ามันจะยังคงเป็นที่มาของความขัดแย้งต่อไป
สงครามกับฝรั่งเศสสมัยนโปเลียน
อังกฤษถูกท้าทายอีกครั้งหนึ่งโดยฝรั่งเศสสมัยนโปเลียน ในการต่อสู้ที่ไม่เหมือนกับสงครามครั้งที่ผ่านมา โดยได้แสดงถึงอุดมการณ์อันขัดแย้งกันระหว่างชาติทั้งสอง ไม่เพียงแต่ฐานะของอังกฤษได้เวทีโลกเท่านั้นที่ถูกคุกคาม นโปเลียนยังได้คุกคามที่จะรุกรานเกาะอังกฤษเลยทีเดียว เมื่อกองทัพของเขาได้ยึดครองหลายประเทศในยุโรปภาคพื้นทวีปเวลานั้น
ดังนั้น สงครามนโปเลียนจึงเป็นสงครามที่อังกฤษได้ลงทุนและทุ่มทรัพยากรมหาศาลเพื่อที่จะเอาชนะ เมืองท่าของฝรั่งเศสถูกปิดล้อมโดยราชนาวี ซึ่งได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพเรือฝรั่งเศส-สเปนที่ทรากัลฟาร์ ในปี ค.ศ. 1805 อาณานิคมโพ้นทะเลถูกโจมตีและถูกยึดครอง รวมไปถึงอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งตกอยู่ใต้การปกครองของนโปเลียนในปี ค.ศ. 1810 ในที่สุด กองทัพฝรั่งดศสได้ปราชัยต่อกองทัพผสมยุโรปในปี ค.ศ. 1815 และเป็นอีกครั้งที่อังกฤษได้รับผลประโยชน์จากสนธิสัญญาสันติภาพหลายฉบับ: ฝรั่งเศสได้ผนวกหมู่เกาะไอโอเนียน มอลตา (ซึ่งถูกยึดครองในปี ค.ศ. 1797 และ 1798 ตามลำดับ) เซเชลส์ มอริเชียส เซนต์ลูเซีย และโตบาโก สเปนผนวกตรินิแดด เนเธอร์แลนด์กิอานาและอาณานิคมเคป อังกฤษคืนกวาเดอลูป มาร์ตินิก โกรี เฟรนช์เกียนา และเรอูนียงให้แก่ฝรั่งเศส รวมไปถึงคืนเกาะชวาและซูรินาเมให้แก่เนเธอร์แลนด์
ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นจากขบวนการเรียกร้องให้มีการเลิกทาสชาวอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษจึงผ่านพระราชบัญญัติการค้าทาสในปี ค.ศ. 1807 ซึ่งล้มล้างการค้าทาสในจักรวรรดิ ในปี ค.ศ. 1808 เซียร์ราลีโอนได้รับการประกาศให้เป็นอาณานิคมอังกฤษสำหรับทาสที่ได้รับอิสระโดยทางการอังกฤษ พระราชบัญญัติเลิกทาสได้ผ่านในปี ค.ศ. 1833 ไม่เพียงแต่การค้าทาสเท่านั้นที่ผิดกฎหมาย แต่การเป็นทาสก็ผิดกฎฑหมายด้วยเช่นกัน ทาสทุกคนในจักรวรรดิอังกฤษได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1834
ดังนั้น สงครามนโปเลียนจึงเป็นสงครามที่อังกฤษได้ลงทุนและทุ่มทรัพยากรมหาศาลเพื่อที่จะเอาชนะ เมืองท่าของฝรั่งเศสถูกปิดล้อมโดยราชนาวี ซึ่งได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพเรือฝรั่งเศส-สเปนที่ทรากัลฟาร์ ในปี ค.ศ. 1805 อาณานิคมโพ้นทะเลถูกโจมตีและถูกยึดครอง รวมไปถึงอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งตกอยู่ใต้การปกครองของนโปเลียนในปี ค.ศ. 1810 ในที่สุด กองทัพฝรั่งดศสได้ปราชัยต่อกองทัพผสมยุโรปในปี ค.ศ. 1815 และเป็นอีกครั้งที่อังกฤษได้รับผลประโยชน์จากสนธิสัญญาสันติภาพหลายฉบับ: ฝรั่งเศสได้ผนวกหมู่เกาะไอโอเนียน มอลตา (ซึ่งถูกยึดครองในปี ค.ศ. 1797 และ 1798 ตามลำดับ) เซเชลส์ มอริเชียส เซนต์ลูเซีย และโตบาโก สเปนผนวกตรินิแดด เนเธอร์แลนด์กิอานาและอาณานิคมเคป อังกฤษคืนกวาเดอลูป มาร์ตินิก โกรี เฟรนช์เกียนา และเรอูนียงให้แก่ฝรั่งเศส รวมไปถึงคืนเกาะชวาและซูรินาเมให้แก่เนเธอร์แลนด์
การเลิกทาส
ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นจากขบวนการเรียกร้องให้มีการเลิกทาสชาวอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษจึงผ่านพระราชบัญญัติการค้าทาสในปี ค.ศ. 1807 ซึ่งล้มล้างการค้าทาสในจักรวรรดิ ในปี ค.ศ. 1808 เซียร์ราลีโอนได้รับการประกาศให้เป็นอาณานิคมอังกฤษสำหรับทาสที่ได้รับอิสระโดยทางการอังกฤษ พระราชบัญญัติเลิกทาสได้ผ่านในปี ค.ศ. 1833 ไม่เพียงแต่การค้าทาสเท่านั้นที่ผิดกฎหมาย แต่การเป็นทาสก็ผิดกฎฑหมายด้วยเช่นกัน ทาสทุกคนในจักรวรรดิอังกฤษได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1834
ศตวรรษแห่งจักรวรรดิของอังกฤษ (1815-1914)
ระหว่าง ค.ศ. 1815 และ ค.ศ. 1914 นักประวัติศาสตร์บางส่วนได้เรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่าเป็น "ศตวรรษแห่งจักรวรรดิ" ของอังกฤษ โดยพื้นที่ราว 25,899,881 ตารางกิโลเมตร และประชากรราว 400 ล้านคนได้เพิ่มเข้ารวมกับจักรวรรดิอังกฤษ ชัยชนะเหนือนโปเลียนทำให้อังกฤษไม่มีคู่แข่งในระดับนานาชาติที่สำคัญ นอกเหนือจากรัสเซียในเอเชียกลาง แสงยานุภาพของอังกฤษบนผืนน้ำไร้เทียมทาน อังกฤษจึงได้เริ่มดำเนินบทบาทของตำรวจโลก ความสัมพันธ์ของรัฐซึ่งในภายหลังเรียกว่า แพกซ์บริตานิกา และนโยบายต่างประเทศ "การโดดเดี่ยวอย่างสง่างาม" พร้อม ๆ กับความพยายามที่จะขยายการปกครองของอังกฤษไปเหนืออาณานิคมของตน ฐานะของอังกฤษซึ่งครอบงำการค้าโลกอยู่นั้น หมายความว่า อังกฤษสามารถควบคุมเศรษฐกิจของหลายประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ จีน อาร์เจนตินา และสยาม ซึ่งเป็นลักษณะที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า "จักรวรรดิไม่เป็นทางการ"
ความแข็งแกร่งของจักรวรรดิอังกฤษได้รับการส่งเสริมด้วยเรือไอน้ำและโทรเลข เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้จักรวรรดิอังกฤษสามารถควบคุมและป้องกันจักรวรรดิได้ ในปี ค.ศ. 1902 จักรวรรดิอังกฤษเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยสายโทรเลข ซึ่งเรียกว่า "สายแดงทั้งหมด"
ความแข็งแกร่งของจักรวรรดิอังกฤษได้รับการส่งเสริมด้วยเรือไอน้ำและโทรเลข เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้จักรวรรดิอังกฤษสามารถควบคุมและป้องกันจักรวรรดิได้ ในปี ค.ศ. 1902 จักรวรรดิอังกฤษเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยสายโทรเลข ซึ่งเรียกว่า "สายแดงทั้งหมด"
บริษัทอินเดียตะวันออกในอินเดีย
นโยบายของอังกฤษในทวีปเอเชียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เน้นไปยังการป้องกันและการขยายอาณาเขตของอินเดีย เนื่องจากอังกฤษมองว่าอินเดียเป็นอาณานิคมที่สำคัญที่สุดและเป็นกุญแจซึ่งนำไปสู่ส่วนที่เหลือของทวีปเอเชีย บริษัทอินเดียตะวันออกนำมาซึ่งการขยายตัวของจักรวรรดิอังกฤษในเอเชีย กองทัพของบริษัทได้เข้าร่วมกับกองกำลังราชนาวีระหว่างสงครามเจ็ดปี และกองกำลังทั้งสองยังคงร่วมมือกันในอีกหลายพื้นที่นอกเหนือไปจากอินเดีย: การขับไล่นโปเลียนออกจากอียิปต์ (ค.ศ. 1799) การยึดเกาะชวาจากเนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 1811) การถือสิทธิ์ของสิงคโปร์ (ค.ศ. 1819) และมะละกา (ค.ศ. 1824) และความพ่ายแพ้ของพม่า (ค.ศ. 1826)
จากฐานของบริษัทในอินเดีย บริษัทยังได้ดำเนินการค้าส่งออกฝิ่นอันสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากไปยังจีนนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 การค้าดังกล่าว ซึ่งราชวงศ์ชิงได้ประกาศให้ผิดกฎหมายในปี ค.ศ. 1729 ได้ช่วยพลิกการขาดดุลการค้าอันเป็นผลมาจากการนำเข้าชา โดยเห็นได้จากการไหลออกจากเงินจากอังกฤษไปยังจีนเป็นจำนวนมาก ในปี ค.ศ. 1839 การริบฝิ่นกว่า 20,000 ลัง ที่กวางตุ้งโดยทางการจีน ทำให้อังกฤษโจมตีจีนในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง และนำไปสู่การยึดครองเกาะฮ่องกงของอังกฤษ ซึ่งในเวลานั้นเป็นเพียงถิ่นฐานเล็ก ๆ เท่านั้น
การขัดคำสั่งของซีปอยต่อผู้บัญชาการชาวอังกฤษของพวกตนนั้นได้เร่งให้เกิดจุดจบของการปกครองโดยบริษัทในอินเดีย อันเป็นผลจากความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นหลังความพยายามของอังกฤษที่จะเปลี่ยนแปลงอินเดียไปสู่วัฒนธรรมตะวันตก การก่อกบฎในอินเดียใช้เวลาถึงหกเดือนในการปราบปราม โดยทั้งสองฝ่ายได้รับความเสียหายอย่างหนัก หลังจากนั้น รัฐบาลอังกฤษได้ถือสิทธิ์ในควบคุมอินเดียโดยตรง นำไปสู่สมัยซึ่งเรียกว่าบริติชราช ที่ซึ่งมีการแต่งตั้งผู้ว่าการขึ้นบริหารอินเดีย และสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียก็ทรงรับตำแหน่งจักรพรรดินีแห่งอินเดีย ในปี ค.ศ. 1858 บริษัทอินเดียตะวันออกถูกยุบ
อินเดียประสบกับภาวะพืชพันธุ์ไม่เพียงพอในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นำไปสู่ทุพภิกขภัยอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 10 ล้านคน บริษัทอินเดียตะวันออกล้มเหลวที่จะสนับสนุนนโยบายประสานงานเพื่อรับมือกับทุพภิกขภัยในสมัยการปกครองของบริษัท แต่สถานการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปในสมัยของบริติชราช ที่ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะผู้ตรวจการขึ้นมาหลังจากเกิดทุพภิกขภัยแต่ละครั้งเพื่อสืบสวนหาสาเหตุ แล้วจึงนำไปจัดทำเป็นนโยบาย อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวกว่าจะเริ่มมีผลก็ย่างเข้าต้นคริสต์ทศวรรษ 1900
จากฐานของบริษัทในอินเดีย บริษัทยังได้ดำเนินการค้าส่งออกฝิ่นอันสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากไปยังจีนนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 การค้าดังกล่าว ซึ่งราชวงศ์ชิงได้ประกาศให้ผิดกฎหมายในปี ค.ศ. 1729 ได้ช่วยพลิกการขาดดุลการค้าอันเป็นผลมาจากการนำเข้าชา โดยเห็นได้จากการไหลออกจากเงินจากอังกฤษไปยังจีนเป็นจำนวนมาก ในปี ค.ศ. 1839 การริบฝิ่นกว่า 20,000 ลัง ที่กวางตุ้งโดยทางการจีน ทำให้อังกฤษโจมตีจีนในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง และนำไปสู่การยึดครองเกาะฮ่องกงของอังกฤษ ซึ่งในเวลานั้นเป็นเพียงถิ่นฐานเล็ก ๆ เท่านั้น
การขัดคำสั่งของซีปอยต่อผู้บัญชาการชาวอังกฤษของพวกตนนั้นได้เร่งให้เกิดจุดจบของการปกครองโดยบริษัทในอินเดีย อันเป็นผลจากความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นหลังความพยายามของอังกฤษที่จะเปลี่ยนแปลงอินเดียไปสู่วัฒนธรรมตะวันตก การก่อกบฎในอินเดียใช้เวลาถึงหกเดือนในการปราบปราม โดยทั้งสองฝ่ายได้รับความเสียหายอย่างหนัก หลังจากนั้น รัฐบาลอังกฤษได้ถือสิทธิ์ในควบคุมอินเดียโดยตรง นำไปสู่สมัยซึ่งเรียกว่าบริติชราช ที่ซึ่งมีการแต่งตั้งผู้ว่าการขึ้นบริหารอินเดีย และสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียก็ทรงรับตำแหน่งจักรพรรดินีแห่งอินเดีย ในปี ค.ศ. 1858 บริษัทอินเดียตะวันออกถูกยุบ
อินเดียประสบกับภาวะพืชพันธุ์ไม่เพียงพอในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นำไปสู่ทุพภิกขภัยอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 10 ล้านคน บริษัทอินเดียตะวันออกล้มเหลวที่จะสนับสนุนนโยบายประสานงานเพื่อรับมือกับทุพภิกขภัยในสมัยการปกครองของบริษัท แต่สถานการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปในสมัยของบริติชราช ที่ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะผู้ตรวจการขึ้นมาหลังจากเกิดทุพภิกขภัยแต่ละครั้งเพื่อสืบสวนหาสาเหตุ แล้วจึงนำไปจัดทำเป็นนโยบาย อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวกว่าจะเริ่มมีผลก็ย่างเข้าต้นคริสต์ทศวรรษ 1900
การแข่งขันกับรัสเซีย
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษและรัสเซียแข่งขันกันเพื่อเติมเต็มสุญญากาศแห่งอำนาจซึ่งหลงเหลือจากการเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิเปอร์เซีย และจักรวรรดิจีน ความขัดแย้งในยูเรเชียนี้ได้กลายมาเป็นที่รู้จักกันว่า "เกมอันยิ่งใหญ่" ในส่วนที่อังกฤษกังวล ความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิเปอร์เซียและตุรกีในสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย (ค.ศ. 1826-1828) และสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1828-1829) ได้แสดงถึงความทะเยอทะยานและขีดความสามารถของจักรวรรดิ และได้สร้างความกลัวแก่อังกฤษว่าจะมีการรุกรานอินเดียทางบก ในปี ค.ศ. 1839 อังกฤษจึงรับมือกับความเคลื่อนไหวดังกล่าวโดยการรุกรานอัฟกานิสถาน แต่สงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่หนึ่ง ได้กลายมาเป็นหายนะสำหรับอังกฤษ
เมื่อรัสเซียรุกรานบอลข่านของตุรกีในปี ค.ศ. 1853 ความกลัวว่ารัสเซียจะมีภาวะครอบงำในเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสร่วมกันรุกรานไครเมียเพื่อที่จะทำลายขีดความสามารถของกองทัพเรือรัสเซีย สงครามไครเมีย (ค.ศ. 1854-1856) ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา ได้นำมาซึ่งรูปแบบการรบสมัยใหม่ และเป็นเพียงสงครามในระดับโลกซึ่งเป็นเพียงการรบครั้งเดียวระหว่างอังกฤษและอำนาจจักรวรรดิอีกแห่งหนึ่งระหว่าง แพกซ์บริตานิกา ยุติลงด้วยความปราชัยครั้งใหญ่ของรัสเซีย
ในขณะที่สถานการณ์ในเอเชียกลางยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติหลังเวลาผ่านไปสองทศวรรษ โดยการผนวกบาลูจิสถาน ในปี ค.ศ. 1876 และการผนวกคีร์กีซเทีย คาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถานของรัสเซีย เป็นช่วงเวลาที่ปรากฏว่าสงครามเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ทั้งสองชาติก็ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงเพื่อกำหนดเขตอิทธิพลของทั้งสองในภูมิภาคในปี ค.ศ. 1878 และสาระที่สำคัญทั้งหมดในปี ค.ศ. 1907 ด้วยการลงนามในภาคีอังกฤษ-รัสเซีย การทำลายกองทัพเรือรัสเซียที่ยุทธนาวีพอร์ตอาเธอร์ ระหว่างสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1904-1905 ได้จำกัดภัยคุกคามของรัสเซียต่ออังกฤษ
เมื่อรัสเซียรุกรานบอลข่านของตุรกีในปี ค.ศ. 1853 ความกลัวว่ารัสเซียจะมีภาวะครอบงำในเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสร่วมกันรุกรานไครเมียเพื่อที่จะทำลายขีดความสามารถของกองทัพเรือรัสเซีย สงครามไครเมีย (ค.ศ. 1854-1856) ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา ได้นำมาซึ่งรูปแบบการรบสมัยใหม่ และเป็นเพียงสงครามในระดับโลกซึ่งเป็นเพียงการรบครั้งเดียวระหว่างอังกฤษและอำนาจจักรวรรดิอีกแห่งหนึ่งระหว่าง แพกซ์บริตานิกา ยุติลงด้วยความปราชัยครั้งใหญ่ของรัสเซีย
ในขณะที่สถานการณ์ในเอเชียกลางยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติหลังเวลาผ่านไปสองทศวรรษ โดยการผนวกบาลูจิสถาน ในปี ค.ศ. 1876 และการผนวกคีร์กีซเทีย คาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถานของรัสเซีย เป็นช่วงเวลาที่ปรากฏว่าสงครามเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ทั้งสองชาติก็ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงเพื่อกำหนดเขตอิทธิพลของทั้งสองในภูมิภาคในปี ค.ศ. 1878 และสาระที่สำคัญทั้งหมดในปี ค.ศ. 1907 ด้วยการลงนามในภาคีอังกฤษ-รัสเซีย การทำลายกองทัพเรือรัสเซียที่ยุทธนาวีพอร์ตอาเธอร์ ระหว่างสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1904-1905 ได้จำกัดภัยคุกคามของรัสเซียต่ออังกฤษ
จากแหลมถึงไคโร
บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ได้ก่อตั้งอาณานิคมเคปขึ้น ณ ปลายสุดทางใต้ของแอฟริกา ในปี ค.ศ. 1652 เพื่อใช้เป็นสถานีทางผ่านสำหรับเรือดัตช์ในการเดินทางไปและกลับจากอาณานิคมในอินเดียตะวันออก อังกฤษได้ถือสิทธิ์อาณานิคมดังกล่าวอย่างเป็นทางการ รวมทั้งประชากรแอฟริกันเนอร์ (หรือชาวบัวร์) ขนาดใหญ่ในปี ค.ศ. 1806 หลังจากที่ได้ยึดครองตั้งแต่ ค.ศ. 1795 เพื่อป้องกันมิให้อาณานิคมแห่งนี้ตกอยู่ในมือของฝรั่งเศส หลังจากการรุกรานเนเธอร์แลนด์ของฝรั่งเศส การอพยพเข้ามาของชาวอังกฤษเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ ค.ศ. 1820 และได้ผลักดันให้ชาวบัวร์นับพัน ซึ่งไม่พอใจกับการปกครองของอังกฤษ ขึ้นไปทางเหนือเพื่อก่อตั้งสาธารณรัฐอิสระปกครองตนเองในช่วงการเดินทางอันยิ่งใหญ่ ปลายคริสต์ทศวรรษ 1830 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1840 ในระหว่างนั้น วูเทรกเกอส์ได้ปะทะกับชาวอังกฤษอยู่บ่อยครั้ง ผู้ซึ่งมีระเบียบวาระการประชุมเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของอาณานิคมในแอฟริกาใต้และต่อองค์กรการเมืองแอฟริกาหลายแห่ง รวมไปถึงชาติโซโท และซูลู หลังจากนั้น ชาวโบร์ได้ก่อตั้งสาธารณรัฐสองแห่งที่มีอายุยืนยาวกว่าแห่งอื่น ๆ: สาธารณรัฐแอฟริกาตอนใต้ หรือสาธารณรัฐทรานส์วัลล์ (ค.ศ. 1852-1877; 1881-1902) และเสรีรัฐออเรนจ์ (ค.ศ. 1854-1902) ในปี ค.ศ. 1902 อังกฤษได้เสร็จสิ้นการยึดครองทางทหารของทั้งสองรัฐนี้โดยการลงมติในสนธิสัญญากับสาธารณรัฐบัวร์ทั้งสองนี้หลังจากสงครามบัวร์ครั้งที่สอง (ค.ศ. 1899-1902)
ในปี ค.ศ. 1869 คลองสุเอซได้รับการเปิดในรัชสมัยของนโปเลียนที่ 3 ซึ่งเชื่อมระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรอินเดีย คลองสุเอซได้รับการต่อต้านจากอังกฤษในตอนแรก แต่หลังจากที่ได้เปิดใช้งาน คุณค่าทางยุทธศาสตร์ของมันได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1875 รัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมในสมัยที่เบนจามิน ดิสราเอลีเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ซื้อหุ้นของคลองสุเอซร้อยละ 44 เป็นจำนวนเงิน 4 ล้านปอนด์ จากผู้ปกครองอียิปต์ อิสมาอิล ปาชา ซึ่งเป็นหนี้บุญคุณอังกฤษ ซึ่งถึ่งแม้ว่าจำนวนหุ้นดังกล่าวจะไม่ได้ทำให้อังกฤษได้ควบคุมเส้นทางน้ำยุทธศาสตร์นี้อย่างเปิดเผย แต่ก็ได้ทำให้อังกฤษมีอิทธิพลอย่างมาก การควบคุมทางการเงินร่วมกันของอังกฤษและฝรั่งเศสของอียิปต์ยุติลงหลังจากอังกฤษได้ยึดครองอียิปต์อย่างเปิดเผยในปี ค.ศ. 1882 ฝรั่งเศสยังคงเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของคลองสุเอซและพยายามที่จะบ่อนทำลายสถานะของอังกฤษ แต่ได้มีการประนีประนอมกันในอนุสัญญาคอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 1888 สนธิสํญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1904 และได้ทำให้คลองสุเอซเป็นดินแดนเป็นกลาง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กองกำลังของอังกฤษได้ยึดครองพื้นที่จนกระทั่ง ค.ศ. 1954
เนื่องจากกิจกรรมของฝรั่งเศส เบลเยี่ยมและโปรตุเกสในภูมิภาคแม่น้ำคองโกตอนล่างคุกคามที่จะบ่อนทำลายการแทรกซึมของแอฟริกาเขตร้อนอย่างเป็นระบบ การประชุมเบอร์ลินแห่งปี ค.ศ. 1884-1885 เป็นความพยายามที่จะจัดระเบียบการแข่งขันระหว่างอำนาจยุโรปในสิ่งที่เรียกว่า "ยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา" โดยการจำกัดความ "การยึดครองอย่างมีประสิทธิภาพ" เป็นเกณฑ์ในการรับรองของนานาชาติต่อการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน ยุคล่าอาณานิคมดังกล่าวดำเนินต่อไปจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1890 และทำให้อังกฤษพิจารณาการตัดสินใจของตนที่จะถอนตัวออกจากซูดานใหม่ในปี ค.ศ. 1885 กองกำลังร่วมอังกฤษและอียิปต์สามารถเอาชนะกองทัพมะซิซต์ได้ในปี ค.ศ. 1896 และขัดขวางความพยายามของฝรั่งเศสที่จะรุกรานฟาโชดาในปี ค.ศ. 1898 ซูดานได้กลายมาอยู่ภายใต้อำนาจปกครองดินแดนร่วมกันอังกฤษ-อียิปต์ ซึ่งถือเป็นรัฐในอารักขาร่วมกันแต่เพียงในนาม แต่ในความเป็นจริงก็คืออาณานิคมอังกฤษนี่เอง
การผนวกดินแดนของอังกฤษในแอฟริกาใต้และแอฟริกาตะวันออกทำให้ซีซิล โรดส์ ผู้บุกเบิกการขยายตัวของอังกฤษในแอฟริกา กระตุ้นให้มีการสร้างทางรถไฟ "แหลมถึงไคโร" เพื่อเชื่อมคลองสุเอซอันมีความสำคัญยิ่งทางยุทธศาสตร์เข้ากับแอฟริกาใต้ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ ในปี ค.ศ. 1888 โรดส์และบริษัทแอฟริกาใต้ของอังกฤษซึ่งเข้าถือกิจการเป็นของเอกชนได้ยึดครองและผนวกดินแดนซึ่งในภายหลังได้ตั้งชื่อตามเขาว่า โรดีเซีย
บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ได้ก่อตั้งอาณานิคมเคปขึ้น ณ ปลายสุดทางใต้ของแอฟริกา ในปี ค.ศ. 1652 เพื่อใช้เป็นสถานีทางผ่านสำหรับเรือดัตช์ในการเดินทางไปและกลับจากอาณานิคมในอินเดียตะวันออก อังกฤษได้ถือสิทธิ์อาณานิคมดังกล่าวอย่างเป็นทางการ รวมทั้งประชากรแอฟริกันเนอร์ (หรือชาวบัวร์) ขนาดใหญ่ในปี ค.ศ. 1806 หลังจากที่ได้ยึดครองตั้งแต่ ค.ศ. 1795 เพื่อป้องกันมิให้อาณานิคมแห่งนี้ตกอยู่ในมือของฝรั่งเศส หลังจากการรุกรานเนเธอร์แลนด์ของฝรั่งเศส การอพยพเข้ามาของชาวอังกฤษเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ ค.ศ. 1820 และได้ผลักดันให้ชาวบัวร์นับพัน ซึ่งไม่พอใจกับการปกครองของอังกฤษ ขึ้นไปทางเหนือเพื่อก่อตั้งสาธารณรัฐอิสระปกครองตนเองในช่วงการเดินทางอันยิ่งใหญ่ ปลายคริสต์ทศวรรษ 1830 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1840 ในระหว่างนั้น วูเทรกเกอส์ได้ปะทะกับชาวอังกฤษอยู่บ่อยครั้ง ผู้ซึ่งมีระเบียบวาระการประชุมเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของอาณานิคมในแอฟริกาใต้และต่อองค์กรการเมืองแอฟริกาหลายแห่ง รวมไปถึงชาติโซโท และซูลู หลังจากนั้น ชาวโบร์ได้ก่อตั้งสาธารณรัฐสองแห่งที่มีอายุยืนยาวกว่าแห่งอื่น ๆ: สาธารณรัฐแอฟริกาตอนใต้ หรือสาธารณรัฐทรานส์วัลล์ (ค.ศ. 1852-1877; 1881-1902) และเสรีรัฐออเรนจ์ (ค.ศ. 1854-1902) ในปี ค.ศ. 1902 อังกฤษได้เสร็จสิ้นการยึดครองทางทหารของทั้งสองรัฐนี้โดยการลงมติในสนธิสัญญากับสาธารณรัฐบัวร์ทั้งสองนี้หลังจากสงครามบัวร์ครั้งที่สอง (ค.ศ. 1899-1902)
ในปี ค.ศ. 1869 คลองสุเอซได้รับการเปิดในรัชสมัยของนโปเลียนที่ 3 ซึ่งเชื่อมระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรอินเดีย คลองสุเอซได้รับการต่อต้านจากอังกฤษในตอนแรก แต่หลังจากที่ได้เปิดใช้งาน คุณค่าทางยุทธศาสตร์ของมันได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1875 รัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมในสมัยที่เบนจามิน ดิสราเอลีเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ซื้อหุ้นของคลองสุเอซร้อยละ 44 เป็นจำนวนเงิน 4 ล้านปอนด์ จากผู้ปกครองอียิปต์ อิสมาอิล ปาชา ซึ่งเป็นหนี้บุญคุณอังกฤษ ซึ่งถึ่งแม้ว่าจำนวนหุ้นดังกล่าวจะไม่ได้ทำให้อังกฤษได้ควบคุมเส้นทางน้ำยุทธศาสตร์นี้อย่างเปิดเผย แต่ก็ได้ทำให้อังกฤษมีอิทธิพลอย่างมาก การควบคุมทางการเงินร่วมกันของอังกฤษและฝรั่งเศสของอียิปต์ยุติลงหลังจากอังกฤษได้ยึดครองอียิปต์อย่างเปิดเผยในปี ค.ศ. 1882 ฝรั่งเศสยังคงเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของคลองสุเอซและพยายามที่จะบ่อนทำลายสถานะของอังกฤษ แต่ได้มีการประนีประนอมกันในอนุสัญญาคอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 1888 สนธิสํญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1904 และได้ทำให้คลองสุเอซเป็นดินแดนเป็นกลาง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กองกำลังของอังกฤษได้ยึดครองพื้นที่จนกระทั่ง ค.ศ. 1954
เนื่องจากกิจกรรมของฝรั่งเศส เบลเยี่ยมและโปรตุเกสในภูมิภาคแม่น้ำคองโกตอนล่างคุกคามที่จะบ่อนทำลายการแทรกซึมของแอฟริกาเขตร้อนอย่างเป็นระบบ การประชุมเบอร์ลินแห่งปี ค.ศ. 1884-1885 เป็นความพยายามที่จะจัดระเบียบการแข่งขันระหว่างอำนาจยุโรปในสิ่งที่เรียกว่า "ยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา" โดยการจำกัดความ "การยึดครองอย่างมีประสิทธิภาพ" เป็นเกณฑ์ในการรับรองของนานาชาติต่อการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน ยุคล่าอาณานิคมดังกล่าวดำเนินต่อไปจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1890 และทำให้อังกฤษพิจารณาการตัดสินใจของตนที่จะถอนตัวออกจากซูดานใหม่ในปี ค.ศ. 1885 กองกำลังร่วมอังกฤษและอียิปต์สามารถเอาชนะกองทัพมะซิซต์ได้ในปี ค.ศ. 1896 และขัดขวางความพยายามของฝรั่งเศสที่จะรุกรานฟาโชดาในปี ค.ศ. 1898 ซูดานได้กลายมาอยู่ภายใต้อำนาจปกครองดินแดนร่วมกันอังกฤษ-อียิปต์ ซึ่งถือเป็นรัฐในอารักขาร่วมกันแต่เพียงในนาม แต่ในความเป็นจริงก็คืออาณานิคมอังกฤษนี่เอง
การผนวกดินแดนของอังกฤษในแอฟริกาใต้และแอฟริกาตะวันออกทำให้ซีซิล โรดส์ ผู้บุกเบิกการขยายตัวของอังกฤษในแอฟริกา กระตุ้นให้มีการสร้างทางรถไฟ "แหลมถึงไคโร" เพื่อเชื่อมคลองสุเอซอันมีความสำคัญยิ่งทางยุทธศาสตร์เข้ากับแอฟริกาใต้ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ ในปี ค.ศ. 1888 โรดส์และบริษัทแอฟริกาใต้ของอังกฤษซึ่งเข้าถือกิจการเป็นของเอกชนได้ยึดครองและผนวกดินแดนซึ่งในภายหลังได้ตั้งชื่อตามเขาว่า โรดีเซีย
การเปลี่ยนสถานะของอาณานิคมผิวขาว
เส้นทางสู่อิสรภาพของอาณานิคมผิวขาวของจักรวรรดิอังกฤษเริ่มต้นขึ้นด้วยรายงานดูร์ฮัม ค.ศ. 1839 ซึ่งเสนอการสร้างเอกภาพและการปกครองตนเองสำหรับทั้งอัปเปอร์และโลวเออร์แคนาดา ซึ่งจะเป็นแนวทางแก้ไขความไม่สงบทางการเมืองในพื้นที่ได้ เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มขึ้นจากการผ่านพระราชบัญญัติสหภาพในปี ค.ศ. 1840 ซึ่งได้ก่อตั้งจังหวัดแคนาดา ได้มีให้สิทธิ์รัฐบาลแห่งความรับผิดชอบแก่โนวาสโกเทียเป็นแห่งแรกในปี ค.ศ. 1848 และได้ขยายไปยังอาณานิคมอเมริกาเหนือของอังกฤษที่เหลืออย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1867 อัปเปอร์และโลวเออร์แคนาดา นิวบรันสวิก และโนวาสโกเทียได้รวมเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรแคนาดา สมาพันธรัฐแห่งนี้มีสิทธิในการปกครองตนเอง ยกเว้นเพียงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเท่านั้น
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้รับระดับการปกครองตนเองระดับเดียวกันหลังจาก ค.ศ. 1900 โดยอาณานิคมออสเตรเลียได้รวมเข้าด้วยกันเป็นสมาพันธรัฐในปี ค.ศ. 1901 คำว่า "สถานภาพดินแดนในปกครอง" มีที่มาอย่างเป็นทางการจากการประชุมอาณานิคม ค.ศ. 1907 โดยหมายถึงแคนาดา นิวฟันด์แลนด์ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในปี ค.ศ. 1910 อาณานิคมเคป นาทัล ทรานสวัล และรัฐอิสระออเรนจ์ได้ถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อจัดตั้งสหภาพแอฟริกาใต้ ซึ่งได้รับสถานภาพดินแดนในปกครองเช่นเดียวกัน
ช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้เห็นการรณรงค์ทางการเมืองอย่างพร้อมเพรียงกันของการปกครองตนเองไอริช ไอร์แลนด์ได้ถูกดูดกลืนเข้ากับสหราชอาณาจักรโดยพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 หลังจากกบฎไอริช ค.ศ. 1798 และประสบทุพภิกขภัยรุนแรงระหว่าง ค.ศ. 1845-1852 การปกครองตนเองได้รับการสนับสนุนโดยนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร วิลเลียม แกลดสโตน ผู้ซึ่งหวังว่าไอร์แลนด์จะตามรอยเท้าของแคนาดาในการเป็นดินแดนในปกครองภายในจักรวรรดิ แต่กฎหมายปกครองตนเอง ค.ศ. 1886 ของเขาพ่ายแพ้ในรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาหลายคนเกรงว่าการให้เอกราชแก่ไอร์แลนด์บางส่วนอาจเป็นคุกคามความมั่นคงของบริเตนใหญ่หรือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายจักรวรรดิ กฎหมายปกครองตนเองฉบับที่สองก็พ่ายแพ้ด้วยเหตุผลที่คล้ายกัน กฎหมายปกครองตนเองฉบับที่สามได้ผ่านโดยรัฐสภาในปี ค.ศ. 1914 แต่มิได้นำออกมาบังคับใช้เนื่องจากการปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งนำไปสู่การลุกฮืออีสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1916
เส้นทางสู่อิสรภาพของอาณานิคมผิวขาวของจักรวรรดิอังกฤษเริ่มต้นขึ้นด้วยรายงานดูร์ฮัม ค.ศ. 1839 ซึ่งเสนอการสร้างเอกภาพและการปกครองตนเองสำหรับทั้งอัปเปอร์และโลวเออร์แคนาดา ซึ่งจะเป็นแนวทางแก้ไขความไม่สงบทางการเมืองในพื้นที่ได้ เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มขึ้นจากการผ่านพระราชบัญญัติสหภาพในปี ค.ศ. 1840 ซึ่งได้ก่อตั้งจังหวัดแคนาดา ได้มีให้สิทธิ์รัฐบาลแห่งความรับผิดชอบแก่โนวาสโกเทียเป็นแห่งแรกในปี ค.ศ. 1848 และได้ขยายไปยังอาณานิคมอเมริกาเหนือของอังกฤษที่เหลืออย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1867 อัปเปอร์และโลวเออร์แคนาดา นิวบรันสวิก และโนวาสโกเทียได้รวมเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรแคนาดา สมาพันธรัฐแห่งนี้มีสิทธิในการปกครองตนเอง ยกเว้นเพียงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเท่านั้น
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้รับระดับการปกครองตนเองระดับเดียวกันหลังจาก ค.ศ. 1900 โดยอาณานิคมออสเตรเลียได้รวมเข้าด้วยกันเป็นสมาพันธรัฐในปี ค.ศ. 1901 คำว่า "สถานภาพดินแดนในปกครอง" มีที่มาอย่างเป็นทางการจากการประชุมอาณานิคม ค.ศ. 1907 โดยหมายถึงแคนาดา นิวฟันด์แลนด์ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในปี ค.ศ. 1910 อาณานิคมเคป นาทัล ทรานสวัล และรัฐอิสระออเรนจ์ได้ถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อจัดตั้งสหภาพแอฟริกาใต้ ซึ่งได้รับสถานภาพดินแดนในปกครองเช่นเดียวกัน
ช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้เห็นการรณรงค์ทางการเมืองอย่างพร้อมเพรียงกันของการปกครองตนเองไอริช ไอร์แลนด์ได้ถูกดูดกลืนเข้ากับสหราชอาณาจักรโดยพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 หลังจากกบฎไอริช ค.ศ. 1798 และประสบทุพภิกขภัยรุนแรงระหว่าง ค.ศ. 1845-1852 การปกครองตนเองได้รับการสนับสนุนโดยนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร วิลเลียม แกลดสโตน ผู้ซึ่งหวังว่าไอร์แลนด์จะตามรอยเท้าของแคนาดาในการเป็นดินแดนในปกครองภายในจักรวรรดิ แต่กฎหมายปกครองตนเอง ค.ศ. 1886 ของเขาพ่ายแพ้ในรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาหลายคนเกรงว่าการให้เอกราชแก่ไอร์แลนด์บางส่วนอาจเป็นคุกคามความมั่นคงของบริเตนใหญ่หรือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายจักรวรรดิ กฎหมายปกครองตนเองฉบับที่สองก็พ่ายแพ้ด้วยเหตุผลที่คล้ายกัน กฎหมายปกครองตนเองฉบับที่สามได้ผ่านโดยรัฐสภาในปี ค.ศ. 1914 แต่มิได้นำออกมาบังคับใช้เนื่องจากการปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งนำไปสู่การลุกฮืออีสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1916
สงครามโลก (1914-1945)
เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความกลัวเริ่มแพร่ขยายขึ้นในหมู่ชาวอังกฤษว่าอังกฤษอาจะไม่สามารถป้องกันเมืองแม่และจักรวรรดิทั้งหมดในขณะเดียวกับการดำเนินนโยบาย "การโดดเดี่ยวอย่างสง่างาม" เยอรมนีได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็วในฐานะอำนาจทางการทหารและอุตสาหกรรม และถูกมองว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคู่แข่งของอังกฤษในสงครามอนาคต เนื่องจากทราบดีว่าตนถูกบีบให้ทำเกินความสามารถในแปซิฟิก และถูกคุกคามที่แผ่นดินแม่โดยกองทัพเรือเยอรมัน อังกฤษจึงได้ก่อตั้งพันธมิตรกับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1902 และศัตรูเก่า ได้แก่ ฝรั่งเศสและรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 ตามลำดับ
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ความกลัวที่จะทำสงครามกับเยอรมนีของอังกฤษมาถึงจุดสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1914 เนื่องจากการปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การประกาศสงครามต่อเยอรมนีและชาติพันธมิตรของอังกฤษ เช่นเดียวกับอาณานิคมและดินแดนในปกครองของอังกฤษ ซึ่งได้มีส่วนช่วยในทางการทหาร การเงิน และวัตถุดิบอย่างหาค่ามิได้ มีทหารมากกว่า 2.5 ล้านนายอยู่ในกองทัพของดินแดนในปกครองทั้งหมด เช่นเดียวกับอาสาสมัครหลายพันคนจากคราวน์โคโลนี อาณานิคมโพ้นทะเลส่วนใหญ่ของเยอรมนีในทวีปแอฟริกาถูกรุกรานและถูกยึดครองอย่างรวดเร็ว และในแปซิฟิก ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ยึดครองเยอรมันนิวกินีและซามัวตามลำดับ การมีส่วนร่วมของกองกำลังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ระหว่างการทัพกัลลิโปลีในปี ค.ศ. 1915 ต่อจักรวรรดิออตโตมัน ได้ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อจิตสำนึกของชาติที่บ้าน และได้เป็นจุดซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จากอาณานิคมเป็นชาติซึ่งมีสิทธิ์เป็นของตัวเอง ทั้งสองประเทศยังคงจัดพิธีรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวในวันแอนแซก ชาวแคนาดามองว่ายุทธการเนินไวมีเป็นจุดเปลี่ยนเช่นเดียวกัน การมีส่วนร่วมอย่างสำคัญของดินแดนในปกครองในการทำสงครามได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1917 โดยนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เดวิด ลอยด์ จอร์จ เมื่อเขาได้เชิญนายกรัฐมนตรีของดินแดนในปกครองทั้งหลายเพื่อเข้าร่วมคณะรัฐมนตรีสงครามจักรวรรดิเพื่อความร่วมมือในนโยบายจักรวรรดิ
ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งได้ลงนามในปี ค.ศ. 1919 จักรวรรดิอังกฤษได้ขยายตัวกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด เมื่อได้รับดินแดนเพิ่มเข้ามาอีก 4,662,000 ตารางกิโลเมตร และประชากรเพิ่มขึ้นอีก 13 ล้านคน อาณานิคมของเยอรมนีและจักรวรรดิออตโตมันถูกแจกจ่ายให้กับอำนาจฝ่ายพันธมิตรในฐานะรัฐในอาณัติสันนิบาติชาติ อังกฤษได้รับสิทธิ์เหนือปาเลสไตน์ ทรานสจอร์แดน อิรัก บางส่วนของแคเมอรูนและโตโก และแทนกานยิกา ดินแดนในปกครองของอังกฤษเองก็ได้รับดินแดนในอาณัติของตนเองเช่นกัน: แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (ปัจจุบัน คือ นามิเบีย) ได้มอบให้กับสหภาพแอฟริกาใต้ ออสเตรเลียได้เยอรมันนิวกินี นิวซีแลนด์ได้เวสเทิร์นซามัว นาอูรูได้ถูกทำให้เป็นดินแดนในอาณัติร่วมระหว่างอังกฤษ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ธงชาติอังกฤษ มีชื่อเรียกว่า ธงเซนต์จอร์จ มีลักษณะเป็นกากบาทสีแดง ใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอังกฤษตั้งแต่ยุคกลาง โดยได้รับสถานะเป็นธงชาติของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16
เมื่อครั้งราชอาณาจักรอังกฤษรวมกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ภายใต้พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (หรือเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์) ธงเซนต์จอร์จก็ได้รวมกับธงเซนต์แอนดรูว์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ และเกิดเป็นธงสหภาพหรือยูเนียนแจ็ครุ่นดั้งเดิม ซึ่งธงนี้ต่อมาก็เป็นธงชาติของสหราชอาณาจักร และรวมกับธงเซนต์แพทริกของไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นยูเนียนแจ็กรุ่นปัจจุบัน
เมื่อครั้งราชอาณาจักรอังกฤษรวมกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ภายใต้พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (หรือเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์) ธงเซนต์จอร์จก็ได้รวมกับธงเซนต์แอนดรูว์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ และเกิดเป็นธงสหภาพหรือยูเนียนแจ็ครุ่นดั้งเดิม ซึ่งธงนี้ต่อมาก็เป็นธงชาติของสหราชอาณาจักร และรวมกับธงเซนต์แพทริกของไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นยูเนียนแจ็กรุ่นปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น