ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

27 พฤษภาคม 2559

รวมชุดโปรแกรมเอ็กเซลช่วยวิจัยผลงานครู



รวมชุดโปรแกรมเอ็กเซลช่วยวิจัยผลงานครู

 

โดยอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ วัชรารัตน์


http://202.29.238.187/saksit/


ให้ดาวน์โหลดฟรีชุดโปรแกรมเอ็กเซล 2003 และ 2007 ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ การแปลผล ในทำวิจัยและทำผลงานทางวิชาการของครู และสามารถนำผลการคำนวณมาเขียนในแบบ ก.ค.ศ. 3/1 - 3/4 ได้อีกด้วย สามารถดาวน์โหลด ด้วยการคลิกที่ตัวเลขรุ่น 2003 หรือ 2007 ได้เลย ดังนี้

1. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือต่าง ๆ ได้แก่
1.1 ข้อสอบ - วิเคราะห์ความสอดคล้องของจุดประสงค์ (IOC)
- วิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบรายข้อ หาค่าความเชื่อมั่นหรือความเที่ยง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก แบบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์ และแบบกลุ่มเก่ง/กลุ่มไม่เก่ง
1.2 แบบประเมิน - วิเคราะห์การประเมินรายข้อ 3 ระดับ
- วิเคราะห์การประเมินรายข้อ 4 ระดับ
- วิเคราะห์การประเมินรายข้อ 5 ระดับ
1.3 นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ - วิเคราะห์หาประสิทธิภาพ (E1/E2) และประสิทธิผล (E.I.)



2. การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 การตรวจข้อสอบแบบตัวเลือก
2.2 การประเมินผลการเรียนรู้แบบอิงเกณฑ์ 8 ระดับ
2.3 การประเมินผลการเรียนรู้แบบอิงกลุ่ม แบบ t-score มี 5 และ 8 ระดับ


3. การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่
3.1 การสุ่มตัวอย่าง
3.2 การวิเคราะห์ความถี่
3.3 การวิเคราะห์ค่าร้อยละ


4. การทดสอบสมมติฐานด้วย t-test ได้แก่
4.1 กลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่มเทียบกับเกณฑ์
4.2 กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มเทียบคู่กันหรือไม่เป็นอิสระกัน เช่น ก่อน/หลังเรียน
4.3 กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระกัน



ดาวน์โหลดโปรแกรม ได้ที่    http://202.29.238.187/saksit/



ขอบคุณเว็บท่านอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ วัชรารัตน์ ,  http://saksit2500.blogspot.co.uk/
http://prapasarako.blogspot.co.uk/  , http://prapasara.blogspot.co.uk/

























16 พฤษภาคม 2559

การหาค่า CVI


การหาค่า  CVI

 

วิธีการหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ เป็นวิธีการที่ประยุกต์จากแฮมเบลตันและคณะ (บุญใจ ศีรสถิตย์นรากูล,2547 : 224-225) มีดังนี้

ขั้นที่ 1 นำแบบทดสอบพร้อมเนื้อหาสาระ/โครงสร้างที่ต้องการวัดไปให้ผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับเนื้อหาสาระ/โครงสร้างที่กำหนดเกณฑ์เพื่อแสดงความคิดเห็น ดังนี้

ให้          1             เมื่อพิจารณาว่า ข้อคาถามไม่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ/โครงสร้าง

2             เมื่อพิจารณาว่า ข้อคาถามจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างมาก

3             เมื่อพิจารณาว่า ข้อคาถามจะต้องได้รับแก้ไขปรับปรุงเล็กน้อย

4             เมื่อพิจารณาว่า ข้อคาถามมีความสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ/โครงสร้าง

ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาการแจกแจงเป็นตาราง

ขั้นที่ 3 รวมจำนวนข้อคำถามที่ผู้เชี่ยวชาญทุกคนที่ให้ความคิดเห็นในระดับ 3 และ 4

ขั้นที่ 4 หาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากสูตรคำนวณ





 
 
 
เมื่อ     CVI          เป็นดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

                        R3,4   เป็นจำนวนข้อที่ผู้เชี่ยวชาญทุกคนให้ระดับ 3 และ4

N            เป็นจำนวนข้อสอบทั้งหมด

 

โดยมีเกณฑ์การพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาที่ใช้ได้ ตั้งแต่  0.8 ขึ้นไป  (Davis 1992:104)

และควรนำข้อคำถามที่ได้จากข้อที่ 1 และ 2 ไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เครื่องมือวิจัยมีความครอบคลุมตัวแปรที่ต้องการศึกษา ดังตัวอย่างการหาค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา


Davis, L. (1992). Instrument review : Getting the most from your panel of experts. Applied Nursing Research, 5, 194-197.

***********************************



การหาค่า  CVI

 

ดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) พบมากในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องทางการแพทย์ โดยมักกหนดจนวนผู้เชี่ยวชาญ จนวน 5 – 10 คน (วินิจ เทือกทอง, 2555) วิธีการ CVI พัฒนาขึ้นโดย Waltz and Bausell  (1981) โดยการประเมินเป็นแบบอัตวิสัยของผู้เชี่ยวชาญ โดยมีเกณฑ์ข้อคถาม 4 ประเด็น และค่าดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหาคนวณจาก

สูตร  


   
 

 เมื่อ R3,4  แทนจนวนข้อที่ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนน 3 และ 4 และ N แทนจนวนผู้เชี่ยวชาญ

 

ที่มา   ::  วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 18 ฉบับเดือนมกราคม-ธันวาคม 2558 ,

Waltz, C. F., and Bausell, R. B. (1981). Nursing research: Design, statistics, and computer analysis. Philadelphia : F. A. Davis.

 

 

เกณฑ์ของดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหา

1. ความสอดคล้อง (Relevance)

1 = ถามไม่มีความสอดคล้อง (not revision)

2 = ถามต้องปรับปรุง จึงจะมีความสอดคล้อง (item need some revision)

3 = ถามมีความสอดคล้อง หากมีการปรับปรุงเล็กน้อย (relevant but need minor revision)

4 = ถามมีความสอดคล้องมาก (vary relevant)

 

2. ความชัดเจน (Clarity)

1 = ถามไม่มีความชัดเจน (not clear)

2 = ถามต้องปรับปรุง จึงจะมีความชัดเจน (item need some revision)

3 = ถามมีความชัดเจน หากมีการปรับปรุงเล็กน้อย (clear but need minor revision)

4 = ถามมีความชัดเจนมาก (vary clear)

 

3. ความง่าย (Simplicity)

1 = ถามไม่มีความง่าย (not sample)

2 = ถามต้องปรับปรุง จึงจะมีความง่าย (item need some revision)

3 = ถามมีความง่าย หากมีการปรับปรุงเล็กน้อย (sample but need minor revision)

4 = ถามมีความง่ายแล้ว (vary sample)

 

4. ความกกวม (Ambiguity)

1 = ถามมีความกกวม (doubtful)

2 = ถามต้องปรับปรุง จึงจะไม่มีความกกวม (item need some revision)

3 = ปรับปรุงคถามเล็กน้อยก็จะไม่มีความกกวม (no doubt but need minor revision)

4 = ถามไม่มีความกกวม (meaning is clear)

 

 
ที่มา: Yaghmaie (2003)