ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

11 เมษายน 2558

ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับสื่อประสม

ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับสื่อประสม





ชื่อวิทยานิพนธ์

ชื่อผู้แต่ง

สาขาวิชา/ภาควิชา

ปีการศึกษา
1.การใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านทำนองเสนาะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
(A use of multimedia for developing Thai verse chanting skills ability of muthayomsuksa 1 students)
เลขหมู่ LB1528 ส42 2555
ระดับ ปริญญาโท
สมชาย แก้วเจริญ
(Somchai Keawcharoen)
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
2555
2.การพัฒนาชุดการเรียนรู้สื่อประสมเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
(The development of multimedia learning package on using internet for communication of sixth grade students)
เลขหมู่ LB1028.55 ว64
ระดับ ปริญญาโท
วารุณี ภิรมย์เมือง
(Warunee Pirommuang)
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2554
3.การพัฒนาชุดการสอนสื่อประสบเรื่องทวีปเอเชีย : ดินแดนแห่งความแตกต่าง
(The development of multimedia instructional package on Asia Continent : the land of differentiation)
เลขหมู่ LB1028.4 ว63
ระดับ ปริญญาโท
วันเพ็ญ มีคำแสน
(Wanpen Meekhamsaen)
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2544
4.การพัฒนาบทเรียนสื่อประสม เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
(The development of multimedia on thai spelling writing for fourth grade students)
เลขหมู่ LB1028.5 อ64
ระดับ ปริญญาโท
อัจฉรา เจตบุตร
(Atchara Jettabut)
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
2554
5.การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการเรียนกับแผนการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดสื่อประสมวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) เรื่องการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
เลขหมู่ LB1044.88 พ43
ระดับ ปริญญาโท
พรพีระ สังข์กระแสร์
(Phornpeera Sungkrasae)
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
2548
6.การออกแบบสื่อผสมเพื่อการเรียนรู้โรคเบาหวานในผู้ป่วยวัยชรา
(Multimedia designs for learning diabetes with old age patients)
เลขหมู่ มศ 2/01 2556 008
ระดับ ปริญญาโท
ธันยพร ธนารุณ
(Tanyaporn Dhanarun)
สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
2556
7.สีสันแห่งท้องทะเล : การสร้างสรรค์ศิลปะแบบสื่อประสมเพื่อตกแต่งสปริงฟิลด์ แอท ซี รีสอร์ท แอนด์ สปา
(Colors of the sea : mix media art for decoration of Springfield @Sea Resort And Spa)
เลขหมู่ มศ 2/04 2556 011
ระดับ ปริญญาโท
พันธิสา ตันไล้
(Phanthisa Tanlai)
สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
2556





คลิกที่ ชื่อวิทยานิพนธ์  แล้วตามด้วย  เอกสารฉบับเต็ม/fulltext





ขอบคุณที่มา  ::   มหาวิทยาลัยศิลปากร 



08 เมษายน 2558

สื่อประสม คืออะไร



สื่อประสม  คืออะไร

 

 

ความหมายของสื่อประสม

 

นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของสื่อประสม ซึ่งได้เห็นว่าเป็นสื่อที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต จึงทำการศึกษาและได้ให้ความหมายของสื่อประสมไว้ดังนี้

 

 

อิริคสัน (Erickson) กล่าวว่า สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลาย ๆ อย่างมาสัมพันธ์กันซึ่งมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และป้องกันการเข้าใจความหมายผิด การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น” (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. 2523)

 

 

สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตาม ลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษรภาพกราฟิก ภาพถ่ายภาพ เคลื่อนไหว แบบวีดิทัศน์และเสียง (กิดานันท์ มลิทอง. 2543 : 267)

 

 

สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อประเภทต่างๆ ทั้งที่เป็นเครื่องมือ วัสดุและวิธีการมาใช้ร่วมกันอย่างสัมพันธ์กันในลักษณะที่สื่อแต่ละอย่างส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 : 141)

 

 

สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลายอย่างมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไปมาสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ในเวลาเดี่ยวกันและมีคุณค่าส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อความสนใจ ในขณะอีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหาและอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้ง การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากการสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น (จริยา เหนียนเฉลย. 2537 : 113)

 

 

สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตาม ลำดับขั้นตอนของเนื้อหาและในปัจจุบันมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษรภาพกราฟิกภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหวแบบวิดีทัศน์ และเสียง ลักษณะการใช้งานของสื่อดังกล่าวนี้ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Multimedia” ซึ่งถ้าจะแปลตรงตัวอักษรแล้วควรแปลว่า สื่อหลายแบบในขณะที่นักวิชาการไทยเรียกการใช้สื่อในลักษณะนี้ว่า สื่อประสมถ้าจะกล่าวคำว่าสื่อประสมนี้เป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายในหมู่นักวิชาการไทยและบุคคลทั่วไปแล้ว ราชบัณฑิตยสถานจึงได้บัญญัติศัพท์คำว่า “Multimedia” เป็นศัพท์บัญญัติว่า 1) สื่อประสมและ 2) สื่อหลายแบบ (กิดานันท์ มลิทอง. 2540 : 255)

 

 

สื่อประสม หรือมัลติมีเดีย หมายถึง การนำเอาองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆมาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวีดีทัศน์โดยผ่านกระบวนการทาง คอมพิวเตอร์เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์และบรรลุผลตามวัตถุประสงค์การใช้งาน (ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. 2546 : 3)

 

 

สื่อประสม หมายถึง สื่อหลายอย่างหรือการรวมกันของสื่อ สื่อเหล่านี้อาจได้แก่ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อความที่นำมาใช้ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ (Roblyer. 2003 : 4)

 

 

 

สื่อประสม คือ การรวมกันของข้อความ ภาพศิลปะ เสียง ภาพแอนิเมชั่นและวีดีทัศน์ ที่ถูกส่งไปโดยคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เพื่อใช้ในการนำเสนอเรื่องราวที่สร้างความตื่นเต้น กระตุ้นความคิดและการกระทำของมนุษย์ (Vaughan. 2004 : 1)

 

 

สรุปได้ว่า สื่อประสม หมายถึง การรวมกันของสื่อหลายๆชนิด ที่เหมาะสมในการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เพื่อสร้างความสนใจให้แก่เนื้อหา และทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

ประเภทของสื่อประสม

 

 

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533 : 92-93) ได้จำแนกสื่อประสมเป็น 6 ประเภทคือ

 

1. สิ่งพิมพ์/เทปเสียง เป็นการใช้สื่อประเภทเทปเสียงบรรยายร่วมกับสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นมาโดยเฉพาะ

 

2. สไลด์หรือฟิล์มสตริป/เทปเสียง เป็นการใช้เทปเสียงที่มีคำบรรยายดนตรีและอื่นๆ ร่วมกับสไลด์หรือฟิล์มสตริป

 

3. ไมโครชิฟ/เทปเสียง เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถใช้ในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้

 

4. บทเรียนหรือสื่อโปรแกรม เป็นระบบสื่อที่มีผลต่อการพัฒนาการออกแบบการสอนและเทคโนโลยีในหลายรูปแบบและเป็นที่นิยมมาก เช่น บทเรียนโปรแกรม  ชุดการสอน  และบทเรียนทางคอมพิวเตอร์

 

5. คอมพิวเตอร์ปฏิสัมพันธ์กับวีดีโอเทป มีขั้นตอนที่สลับซับซ้อนราคาแพงและใช้เวลาในการออกแบบ จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาใช้

 

6. สื่อทางไกล เป็นสื่อที่เกิดจากการพัฒนาด้านการสื่อสาร เช่นวิทยุกระจายเสียง ระบบการส่งภาพทางโทรทัศน์ร่วมกับเสียง

 

 

 

การผลิตสื่อประสม

 

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523 : 123) ได้สรุปขั้นตอนการผลิตสื่อประสมที่สำคัญดังนี้

 

กำหนดหมวดหมู่เนื้อหา และประสบการณ์ อาจจะกำหนดเป็นหมวดวิชาหรือบูรณาการเป็นแบบสหวิทยาการตามที่เห็นเหมาะสม

 

1. กำหนดหน่วยการสอนโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยการสอนประมาณเนื้อหา วิชาที่จะให้ครูสามารถถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียนได้ใน 1 สัปดาห์ หรือสอนได้ในหน่วยละครั้ง

 

2. กำหนดหัวเรื่อง ผู้สอนจะต้องถามตัวเองในการสอนแต่ละหน่วยควรให้ประสบการณ์อะไรแก่นักเรียนบ้าง แล้วกำหนดหัวข้อเรื่องออกมาเป็นหน่วยการสอนย่อย

 

3. กำหนดหลักการและมโนทัศน์ หลักการและมโนทัศน์ที่กำหนดขึ้นจะต้องสอดคล้องกับหน่วยและหัวเรื่อง โดยสรุปแนวความคิด สาระและหลักเกณฑ์ที่สำคัญไว้เพื่อเป็นแนวทางจัดเนื้อหามาสอนให้สอดคล้องกัน

 

4. กำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวเรื่อง โดยเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องมีเกณฑ์การเปลี่ยนพฤติกรรมไว้ทุกครั้ง

 

5. กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมซึ่งเป็นแนวทางในการเลือกและการผลิตสื่อการสอน กิจกรรมการเรียน หมายถึง กิจกรรมทุกอย่างที่ผู้เรียนปฏิบัติ เช่น การอ่านบัตรคำสั่ง ตอบคำถาม เขียนภาพ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์การเล่นเกม ฯลฯ

 

6. กำหนดแบบประเมินผล ต้องประเมินผลให้ตรงกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมโดยใช้แบบทดสอบอิงเกณฑ์ (Criterion Test) เพื่อให้ผู้สอนทราบว่า หลังจากการเรียนโดยชุดสื่อประสมแล้วผู้เรียนได้เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

7. เลือกและผลิตสื่อการสอน วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่ครูใช้ถือเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น เมื่อผลิตสื่อการสอนของแต่ละหัวเรื่องแล้ว ก็จัดสื่อการสอนเหล่านั้นไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อนำไปทดลองหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

8. หาประสิทธิภาพของชุดสื่อประสม เพื่อเป็นการประกันว่า ชุดสื่อประสมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพในการสอน ผู้สร้างต้องกำหนดเกณฑ์โดยคำนึงถึงหลักการที่ว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการเพื่อช่วยให้การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนบรรลุผล ดังนั้น การกำหนดเกณฑ์จะต้องคำนึงถึงกระบวนการและผลลัพธ์ โดยกำหนดตัวเลขเป็นร้อยละของคะแนนเฉลี่ยมีค่าเป็น E1/E2

 

9. การใช้ชุดสื่อประสม เป็นขั้นการนำชุดสื่อประสมไปใช้ ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาสุรชัย สิกขาบัณฑิต และคณะ (สุรชัย สิกขาบัณฑิต และคณะ. 2535 : 78-80 ; อ้างอิงมาจาก นัยนา นุรารักษ์ และคณะ. 2529 : 251-255)




 
 























02 เมษายน 2558

การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน


 
การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning : RBL)

 

1. ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน

 

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2538 : 47) ให้ความหมายของการวิจัยว่า เป็นกระบวนการสืบหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม การสังเกตการบันทึก การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์และตีความหมายเพื่อให้ได้เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำมาสร้างเป็นข้อสรุปเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์นั้น ๆ และนำผลที่ได้มาพัฒนาหรือสร้างกฎ ทฤษฎี ที่ทำให้ควบคุม หรือทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้

เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ (2539 : 27-29) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานไว้ว่าเป็นการนำแนวคิดการวิจัยมาเป็นพื้นฐานในการเรียนการสอนและผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง จากตำราเอกสารสื่อต่าง ๆ คำบอกเล่าของอาจารย์ รวมทั้งจากผลการวิจัย และงานวิจัยต่าง ๆ ตลอดจนทำรายงานหรือทำวิจัยได้

อมรวิชช์ นาครทรรพ (2546 : 12) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน ไว้ว่าเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าและค้นพบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในเรื่องที่ศึกษาด้วยตนเอง โดยอาศัยกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบเป็นเครื่องมือสำคัญ

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม (2547 : 37) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน ไว้ว่า เป็นการสอนเนื้อหาวิชา เรื่องราวกระบวนการทักษะ และอื่น ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนชนิดที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการสอนนั้น โดยอาศัยพื้นฐานกระบวนการวิจัย

ทิศนา แขมมณี (2548 : 3) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานหรือใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ก็คือ การจัดให้ผู้เรียนและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย ในการดำเนินการแสวงหาความรู้ใหม่หรือคำตอบที่เชื่อถือได้

จรัส สุวรรณเวลา (2546 : 16) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า เป็นการได้มาซึ่งความรู้ที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในแต่ละสาขาและกระบวนการวิจัยยังทำให้ผู้วิจัยได้มีการวางแผนเตรียมการและดำเนินการอย่างเป็นระบบจนค้นพบความจริง สร้างความรู้ใหม่ที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์

นอกจากนี้ การวิจัยได้พัฒนาคุณลักษณะให้ผู้วิจัยต้องมีการคิดวิเคราะห์มีความคิดสร้างสรรค์ มีความ

ซื่อสัตย์ มีความอดทน นับได้ว่าการวิจัยมีบทบาทและความสำคัญทั้งในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ การพัฒนาคนและพัฒนางานและส่งผลไปสู่การพัฒนาประเทศ

 

ตาราง 1 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบครูใช้ผลการวิจัย

 

แนวทางการใช้การวิจัย
ในการเรียนการสอน
บทบาทครู
บทบาทผู้เรียน
แนวทางที่ 1 ครูใช้ผลการวิจัย
ในการเรียนการสอน
ครูใช้ผลการวิจัยประกอบ
การเรียนการสอนเนื้อหาสาระ
ต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนขยาย
ขอบเขตของความรู้ ได้ความรู้
ที่ทันสมัยและคุ้นเคยกับแนวคิด
การวิจัย
- ครูสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เกี่ยว
ข้องกับสาระที่สอน
- ครูศึกษางานวิจัย/ข้อมูลข่าว
สาร/องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ
เนื้อหาสาระ
- ครูนำผลการวิจัยมาใช้
ประกอบเนื้อหาสาระที่สอน
เสริมให้ผู้เรียนได้ความรู้เพิ่มขึ้น
เช่น ครูนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับ
เรื่องพืช หรือสุขภาพ มาเสริม
การเรียนรู้สาระดังกล่าว
- ประยุกต์ใช้ในการเรียน
การสอน เช่น ครูอ่านผลการ
วิจัยเกี่ยวกับทฤษฎี
ความคาดหวังและนำมาใช้กับ
นักเรียน เป็นต้น
- ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวน
การวิจัย/ความสำคัญของการ
วิจัย
- ครูวัดและประเมินผลการ
เรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัยควบคู่กับ
การเรียนรู้สาระตามปกติ
- เรียนรู้เนื้อหาสาระโดยมีผล
การวิจัยประกอบ ทำให้ผู้เรียน
คุ้นเคยกับเรื่องของ
การวิจัย การแสวงหาความรู้
การใช้เหตุผล ฯลฯ
- อภิปรายประเด็นต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัย/ความสำคัญ
ของการวิจัย

 

ตาราง 2 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบผู้เรียนใช้ผลการวิจัย

 

แนวทางการใช้การวิจัย
ในการเรียนการสอน
บทบาทครู
บทบาทผู้เรียน
แนวทางที่ 2 ผู้เรียนใช้ผลการ
วิจัยในการเรียนการสอน
การให้ผู้เรียนสืบค้นและ
ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
สาระที่เรียนด้วยตนเอง
- ครูสืบค้นแหล่งข้อมูลและ
ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
สาระที่สอน
- ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ
สนใจใฝ่รู้ เกิดข้อสงสัย อยากรู้
อยากแสวงหาคำตอบของข้อ
สงสัย
- ครูให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่ง
ข้อมูลและงานวิจัย
ที่ผู้เรียนจะต้องสืบค้น
เพื่อการศึกษาหาความรู้ รวมทั้ง
คัดเลือกงานวิจัยที่เหมาะสมกับ
วัยของผู้เรียน
- ครูอาจจำเป็นต้องสรุปงาน
วิจัยให้เหมาะสมกับระดับของผู้
เรียน
- ครูแนะนำวิธีการอ่าน/ศึกษาวิเคราะห์รายงานวิจัยตามความ
เหมาะสมกับระดับผู้เรียน ได้
แก่ องค์ประกอบต่าง ๆ ของ
งานวิจัย วัตถุประสงค์ วิธี
ดำเนินการวิจัยขอบเขต ข้อ
จำกัดของผลการวิจัย อภิปราย
ผล การวิจัยการอ้างอิง ฯลฯ
- ครูเชื่อมโยงสาระของงานวิจัย
กับสาระของการเรียนการสอน
- ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวน
การวิจัย/ความสำคัญของการ
วิจัย
- ครูวัดและประเมินผลทักษะ
การอ่านรายงานวิจัยและการ
เรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัย ควบคู่ไปกับ
การเรียนรู้สาระตามปกติ
- แสวงหา สืบค้นข้อมูลเกี่ยว
กับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาระ
ที่เรียนรู้ตามความสนใจของตน
- ศึกษารายงานวิจัยต่าง ๆ
โดยฝึกทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็น
เช่น ทักษะการอ่านงานวิจัย
การสรุปผลการวิจัย
การนำเสนอผลการวิจัย
การอภิปรายผลการวิจัย
- นำเสนอสาระของงานวิจัย
อย่างเชื่อมโยงกับสาระที่กำลัง
เรียนรู้
- อภิปรายประเด็นต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย/ความ
สำคัญของการวิจัย
- ประเมินตนเองเกี่ยวกับทักษะ
การอ่านรายงาน และการเรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวน
การวิจัย

 

ตาราง 3 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบครูใช้กระบวนการวิจัย

 

แนวทางการใช้การวิจัย
ในการเรียนการสอน
บทบาทครู
บทบาทผู้เรียน
แนวทางที่ 3 ครูใช้กระบวน
การวิจัยในการเรียนการสอน
ครูใช้กระบวนการวิจัย
ซึ่งอาจจะเป็นบางขั้นตอนหรือ
ครบทุกขั้นตอนในการจัดการ
เรียนการสอน โดยพิจารณา
ตามความเหมาะสมกับสาระ
การเรียนการสอนและวัย
ของผู้เรียน
- ครูพิจารณาวัตถุประสงค์และ
สาระที่จะให้แก่ผู้เรียนและ
วิเคราะห์ว่าสามารถใช้ขั้นตอน
การวิจัยขั้นตอนใดได้บ้างใน
การสอน ซึ่งอาจจะใช้กระบวน
การวิจัยบางขั้นตอนหรือครบ
ทุกขั้นตอน
- ครูออกแบบกิจกรรมการเรียน
รู้ โดยใช้กระบวนการวิจัย/ขั้น
ตอนการวิจัยที่กำหนด
เพื่อการเรียนรู้สาระที่ต้องการ
ตามแผน
- ครูดำเนินกิจกรรม โดยใช้
กระบวนการวิจัย/ขั้นตอนการ
วิจัยที่กำหนดในการสอน
- ครูฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการ
ดำเนินการวิจัยให้แก่ผู้เรียน
(ทักษะการระบุปัญหา ให้คำ
นิยาม ตั้งสมมติฐาน คัดเลือก
ตัวแปรการสุ่มตัวอย่างประชา
กร การสร้างเครื่องมือ การ
พิสูจน์ ทดสอบ
การรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
สังเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย
การอภิปรายผล และการให้ข้อ
เสนอแนะ)
- ครูสังเกตพฤติกรรมการเรียน
รู้ทักษะกระบวนการวิจัยของผู้
เรียน และพิจารณาว่าควรจะ
เสริมทักษะด้านใดให้กับผู้เรียน
- ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยและ
ผลการวิจัยที่เกิดขึ้น
- ครูวัดและประเมินทักษะ
กระบวนการวิจัยควบคู่ไปกับ
ผลการเรียนรู้สาระตามปกติ
- เรียนรู้ตามขั้นตอนของ
กระบวนการวิจัยที่ครูกำหนด
- ฝึกทักษะกระบวนวิจัยที่จำ
เป็นต่อการดำเนินการตามขั้น
ตอนการวิจัยที่ครูกำหนด
- อภิปรายประเด็นเกี่ยวกับ
กระบวนการวิจัยที่ตนเองมี
ประสบการณ์ และผลการวิจัย
ที่เกิดขึ้น
- ประเมินตนเองในด้านทักษะ
กระบวนการวิจัย และผลการ
วิจัยที่ได้รับ

 

ตาราง 4 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัย

 

แนวทางการใช้การวิจัย ในการ
เรียนการสอน
บทบาทครู
บทบาทผู้เรียน
แนวที่ 4 ผู้เรียนใช้กระบวน
การวิจัยในการเรียนการสอน
ครูให้ผู้เรียนทำวิจัยโดยใช้
กระบวนการวิจัย (ครบทุกขั้น
ตอน) ในการทำวิจัย
เพื่อแสวงหาคำตอบ หรือความ
รู้ใหม่ตามความสนใจ
ของตน
- ครูพิจารณาและวิเคราะห์วัตถุ
ประสงค์และสาระการเรียนรู้ว่า
มีส่วนใดที่เอื้อให้ผู้เรียน
สามารถทำวิจัยได้
- ครูออกแบบกิจกรรมการเรียน
รู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำวิจัย
ได้
- ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ
สนในใฝ่รู้
- ครูฝึกทักษะกระบวนการวิจัย
ให้แก่ผู้เรียน (การระบุปัญหา
วิจัย วัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน
การออกแบบการวิจัย สร้าง
เครื่องมือ
- ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยและ
ผลการวิจัยที่เกิดขึ้น
- ครูวัดและประเมินทักษะ
กระบวนการวิจัยควบคู่ไปกับ
ผลการเรียนรู้สาระตามปกติ
- คิดประเด็นวิจัยที่ตนสนใจ
- ฝึกทักษะกระบวนการวิจัยที่
จำเป็นต่อการดำเนินการ เช่น
การระบุปัญหาวิจัยและวัตถุ
ประสงค์ การตั้งสมมติฐาน
การออกแบบการวิจัย การสร้าง
เครื่องมือ ฯลฯ
- ปฏิบัติการวิจัยตามกระบวน
การวิจัยที่เหมาะสม
- บันทึกความคิด และประสบ
การณ์ รวมทั้งข้อสังเกตต่าง ๆ
ที่ตนประสบจากการดำเนินงาน
- อภิปรายประเด็นเกี่ยวกับ
กระบวนการวิจัย และผลการ
วิจัยที่เกิดขึ้น
- ประเมินตนเอง ด้านทักษะ
กระบวนการวิจัย

 

บทบาทครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการวิจัย

 

ทิศนา แขมมณี (2547 : 56) กล่าวถึงกระบวนการวิจัยว่ามีด้วยกัน 6 ขั้น ได้แก่

ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา ขั้นที่ 2 การตั้งสมมติฐาน ขั้นที่ 3 พิสูจน์ทดสอบสมมติฐาน ขั้นที่ 4 รวบ

รวมข้อมูล ขั้นที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล และขั้นที่ 6 สรุปผล ซึ่งในการจัดการเรียนการสอน

โดยเน้นกระบวนการวิจัยหรือใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้โดยทั่ว ๆ ไป ครูมักจัดให้ผู้

เรียนดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยทั้ง 6 ขั้น แต่จุดอ่อนที่พบก็คือ ครูมักไม่สอนหรือฝึกทักษะ

กระบวนการที่จำเป็นต่อการดำเนินการให้แก่ผู้เรียน ตัวอย่างเช่น ครูมักมอบหมายให้ผู้เรียน

ไปสืบค้นข้อมูลความรู้ หรือไปเก็บข้อมูล หรือสรุปข้อมูล โดยไม่ได้สอนหรือฝึกทักษะหรือสิ่งที่จำ

เป็นต่อการทำสิ่งนั้น จึงได้กล่าวได้ว่าเป็นการสั่งมากกว่าการสอน การสั่งเป็นเพียงการเปิดโอกาสให้

ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการเหล่านั้น ซึ่งผู้เรียนจะทำได้มากน้อยหรือดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กันศักย

ภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูไม่ได้สอนเพราะการสอนหมายถึง การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่ม

พูนขึ้นจากระดับที่เป็นอยู่ ดังนั้นหากครูจะสอนกระบวนการวิจัย ครูจะต้องช่วยให้ผู้เรียนเกิด

การเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว ครูจำเป็นต้องช่วยเสริมทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน

ในแต่ละขั้นตอน ซึ่งทักษะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นทักษะที่เรียกว่า ทักษะกระบวนการ ซึ่งอาจเป็น

ทักษะกระบวนการทางสติปัญญา เช่น ทักษะกระบวนการคิด หรือทักษะกระบวนการทางสังคม

เช่น ทักษะการปฏิสัมพันธ์ ทักษะการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงบทบาทครูในการจัด

การเรียนรู้โดยกระบวนการวิจัยในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการวิจัย นำเสนอได้ดังตาราง 5

 

ตาราง 5 บทบาทครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการวิจัย

 

กระบวนการวิจัย
บทบาทครู
1. ระบุปัญหาการวิจัย
ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถระบุปัญหาการวิจัยได้ชัดเจน
- ครูควรสอนและฝึกทักษะการสังเกตปัญหา ตั้งคำถาม รวบรวมข้อ
มูล วิเคราะห์ปัญหา และระบุปัญหาที่แท้จริง
2. ตั้งสมมติฐาน
ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถตั้งสมมติฐานได้
- ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หาสาเหตุ
คาดเดาคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักการและมีหลักฐานรองรับและ
ตั้งสมมติฐานที่เหมาะสม
3. พิสูจน์ ทดสอบ สมมติฐาน
ครูทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถพิสูจน์ ทดสอบสมมติฐานได้
- ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการและวิธีการ
ในการออกแบบ การพิสูจน์หรือทดสอบสมมติฐานที่เหมาะสมกับ
ศาสตร์ของเรื่องที่วิจัย
4. รวบรวมข้อมูล
ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถรวบรวมข้อมูลได้
- ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาแหล่งข้อมูล วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมกับ
ศาสตร์ของเรื่องที่วิจัย
5. วิเคราะห์ข้อมูล
ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้
- ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการที่เหมาะสมกับศาสตร์ของ
เรื่องที่วิจัยในการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้สถิติต่าง ๆ การกำหนด
เกณฑ์ประเมิน และการนำเสนอข้อมูล
6. สรุปผล
ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถสรุปผลได้
- ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการสรุปข้อมูล และการตอบ
สมมติฐาน

 

สรุปว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีแนวทางการจัดการเรียนรู้  4 แนวทาง คือ

1. ครูใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน

2. ผู้เรียนใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน

3. ครูใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน

4. ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน

 

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แนวทางที่ 4 ได้แก่ ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน ซึ่งใช้กระบวนการวิจัย 6 ขั้น ในการจัดการเรียนรู้มีกระบวนการวิจัย ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นระบุปัญหาการวิจัย

ขั้นที่ 2 ขั้นตั้งสมมติฐาน

ขั้นที่ 3 การพิสูจน์ทดสอบสมมติฐาน

ขั้นที่ 4 ขั้นรวบรวมข้อมูล

ขั้นที่ 5 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปผล