สื่อประสม
คืออะไร
ความหมายของสื่อประสม
นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของสื่อประสม ซึ่งได้เห็นว่าเป็นสื่อที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต
จึงทำการศึกษาและได้ให้ความหมายของสื่อประสมไว้ดังนี้
อิริคสัน (Erickson) กล่าวว่า “สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลาย ๆ อย่างมาสัมพันธ์กันซึ่งมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน
สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา
และอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และป้องกันการเข้าใจความหมายผิด
การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น”
(ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. 2523)
สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง
ตาม ลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง
ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษรภาพกราฟิก ภาพถ่ายภาพ เคลื่อนไหว แบบวีดิทัศน์และเสียง
(กิดานันท์ มลิทอง. 2543 : 267)
สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อประเภทต่างๆ ทั้งที่เป็นเครื่องมือ วัสดุและวิธีการมาใช้ร่วมกันอย่างสัมพันธ์กันในลักษณะที่สื่อแต่ละอย่างส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน
(ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 : 141)
สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลายอย่างมากกว่า
2 ชนิดขึ้นไปมาสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ในเวลาเดี่ยวกันและมีคุณค่าส่งเสริมซึ่งกันและกัน
สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อความสนใจ ในขณะอีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหาและอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้ง
การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากการสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
(จริยา เหนียนเฉลย. 2537 : 113)
สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตาม
ลำดับขั้นตอนของเนื้อหาและในปัจจุบันมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง
ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษรภาพกราฟิกภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหวแบบวิดีทัศน์ และเสียง
ลักษณะการใช้งานของสื่อดังกล่าวนี้ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Multimedia”
ซึ่งถ้าจะแปลตรงตัวอักษรแล้วควรแปลว่า “สื่อหลายแบบ”ในขณะที่นักวิชาการไทยเรียกการใช้สื่อในลักษณะนี้ว่า “สื่อประสม” ถ้าจะกล่าวคำว่าสื่อประสมนี้เป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายในหมู่นักวิชาการไทยและบุคคลทั่วไปแล้ว
ราชบัณฑิตยสถานจึงได้บัญญัติศัพท์คำว่า “Multimedia” เป็นศัพท์บัญญัติว่า
1) สื่อประสมและ 2) สื่อหลายแบบ (กิดานันท์ มลิทอง. 2540 : 255)
สื่อประสม หรือมัลติมีเดีย หมายถึง การนำเอาองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆมาผสมผสานเข้าด้วยกัน
ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวีดีทัศน์โดยผ่านกระบวนการทาง
คอมพิวเตอร์เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์และบรรลุผลตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
(ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. 2546 : 3)
สื่อประสม หมายถึง สื่อหลายอย่างหรือการรวมกันของสื่อ สื่อเหล่านี้อาจได้แก่
ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อความที่นำมาใช้ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ
(Roblyer. 2003 : 4)
สื่อประสม คือ การรวมกันของข้อความ ภาพศิลปะ เสียง ภาพแอนิเมชั่นและวีดีทัศน์
ที่ถูกส่งไปโดยคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เพื่อใช้ในการนำเสนอเรื่องราวที่สร้างความตื่นเต้น
กระตุ้นความคิดและการกระทำของมนุษย์ (Vaughan. 2004 :
1)
สรุปได้ว่า สื่อประสม หมายถึง การรวมกันของสื่อหลายๆชนิด ที่เหมาะสมในการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้
เพื่อสร้างความสนใจให้แก่เนื้อหา และทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อประสม
ไชยยศ
เรืองสุวรรณ (2533 : 92-93) ได้จำแนกสื่อประสมเป็น
6 ประเภทคือ
1. สิ่งพิมพ์/เทปเสียง เป็นการใช้สื่อประเภทเทปเสียงบรรยายร่วมกับสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นมาโดยเฉพาะ
2. สไลด์หรือฟิล์มสตริป/เทปเสียง เป็นการใช้เทปเสียงที่มีคำบรรยายดนตรีและอื่นๆ
ร่วมกับสไลด์หรือฟิล์มสตริป
3. ไมโครชิฟ/เทปเสียง เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถใช้ในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้
4. บทเรียนหรือสื่อโปรแกรม เป็นระบบสื่อที่มีผลต่อการพัฒนาการออกแบบการสอนและเทคโนโลยีในหลายรูปแบบและเป็นที่นิยมมาก
เช่น บทเรียนโปรแกรม ชุดการสอน และบทเรียนทางคอมพิวเตอร์
5. คอมพิวเตอร์ปฏิสัมพันธ์กับวีดีโอเทป มีขั้นตอนที่สลับซับซ้อนราคาแพงและใช้เวลาในการออกแบบ
จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาใช้
6. สื่อทางไกล เป็นสื่อที่เกิดจากการพัฒนาด้านการสื่อสาร เช่นวิทยุกระจายเสียง
ระบบการส่งภาพทางโทรทัศน์ร่วมกับเสียง
การผลิตสื่อประสม
ชัยยงค์
พรหมวงศ์ (2523 : 123) ได้สรุปขั้นตอนการผลิตสื่อประสมที่สำคัญดังนี้
กำหนดหมวดหมู่เนื้อหา และประสบการณ์ อาจจะกำหนดเป็นหมวดวิชาหรือบูรณาการเป็นแบบสหวิทยาการตามที่เห็นเหมาะสม
1. กำหนดหน่วยการสอนโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยการสอนประมาณเนื้อหา วิชาที่จะให้ครูสามารถถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียนได้ใน
1 สัปดาห์ หรือสอนได้ในหน่วยละครั้ง
2. กำหนดหัวเรื่อง ผู้สอนจะต้องถามตัวเองในการสอนแต่ละหน่วยควรให้ประสบการณ์อะไรแก่นักเรียนบ้าง
แล้วกำหนดหัวข้อเรื่องออกมาเป็นหน่วยการสอนย่อย
3. กำหนดหลักการและมโนทัศน์ หลักการและมโนทัศน์ที่กำหนดขึ้นจะต้องสอดคล้องกับหน่วยและหัวเรื่อง
โดยสรุปแนวความคิด สาระและหลักเกณฑ์ที่สำคัญไว้เพื่อเป็นแนวทางจัดเนื้อหามาสอนให้สอดคล้องกัน
4. กำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวเรื่อง โดยเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องมีเกณฑ์การเปลี่ยนพฤติกรรมไว้ทุกครั้ง
5. กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมซึ่งเป็นแนวทางในการเลือกและการผลิตสื่อการสอน
“กิจกรรมการเรียน หมายถึง กิจกรรมทุกอย่างที่ผู้เรียนปฏิบัติ
เช่น การอ่านบัตรคำสั่ง ตอบคำถาม เขียนภาพ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์การเล่นเกม ฯลฯ
6. กำหนดแบบประเมินผล ต้องประเมินผลให้ตรงกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมโดยใช้แบบทดสอบอิงเกณฑ์
(Criterion Test) เพื่อให้ผู้สอนทราบว่า หลังจากการเรียนโดยชุดสื่อประสมแล้วผู้เรียนได้เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
7. เลือกและผลิตสื่อการสอน วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่ครูใช้ถือเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
เมื่อผลิตสื่อการสอนของแต่ละหัวเรื่องแล้ว ก็จัดสื่อการสอนเหล่านั้นไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อนำไปทดลองหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
8. หาประสิทธิภาพของชุดสื่อประสม เพื่อเป็นการประกันว่า ชุดสื่อประสมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพในการสอน
ผู้สร้างต้องกำหนดเกณฑ์โดยคำนึงถึงหลักการที่ว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการเพื่อช่วยให้การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนบรรลุผล
ดังนั้น การกำหนดเกณฑ์จะต้องคำนึงถึงกระบวนการและผลลัพธ์ โดยกำหนดตัวเลขเป็นร้อยละของคะแนนเฉลี่ยมีค่าเป็น
E1/E2
9. การใช้ชุดสื่อประสม เป็นขั้นการนำชุดสื่อประสมไปใช้ ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาสุรชัย
สิกขาบัณฑิต และคณะ (สุรชัย สิกขาบัณฑิต และคณะ. 2535 : 78-80 ; อ้างอิงมาจาก นัยนา นุรารักษ์ และคณะ.
2529 : 251-255)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น