ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

08 มิถุนายน 2555

วีซ่าสำหรับคนต่างชาติในประเทศไทย

วีซ่าสำหรับคนต่างชาติในประเทศไทย

การตรวจลงตรา (VISA)




การออกเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าว

การยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2553 ให้ขยายระยะเวลาดำเนินการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวแก่คนต่างด้าวเป็นการชั่วคราว ไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554

มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว ส่งผลให้คนต่างชาติทุกสัญชาติที่ยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist Visa) ที่สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยทุกแห่งทั่วโลก รวมถึงการขอรับการตรวจลงตราที่ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on arrival) ของคนชาติที่มีสิทธิ จำนวน 21 สัญชาติ และไต้หวัน ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554

การยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวมีผลเฉพาะการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวเท่านั้น


Tourist Visa fee exemption Scheme


All foreigners who apply for Tourist Visa at the Royal Thai Embassies and the Royal Thai Consulates-General worldwide, including eligible foreigners who apply for Visa on Arrival at designated checkpoints, will be exempted from Tourist Visa fee from 11 May B.E. 2553 (2010) to 31 March B.E. 2554 (2011). Such arrangement is for Tourist Visa only.


ติดต่อ กองตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว
โทรศัพท์ 0-2575-1062-4
E-mail :
consular03@mfa.go.th




วีซ่าสำหรับคนต่างชาติในประเทศไทย : กฎระเบียบและเอกสาร

หลักเกณฑ์ การขออยู่ในราชอาณาจักรไทย
(ขอวีซ่า) ประเภทบริษัททั่วไป
เอกสารประกอบการยื่นคำขอ
  • คนต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตทำงาน
  • คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และมีเงินเดือนตามที่กฎหมายกำหนด
  • บริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
  • บริษัทต้องมีความมั่นคงทางธุรกิจ และต้องมีการประกอบการจริงและต่อเนื่อง
  • บริษัทต้องมีอัตราส่วน จำนวนคนต่างด้าว กับพนักงานคนไทย 1 ต่อ 4 คน
  • หนังสือเดินทาง พร้อม วีซ่า NON-B และใบอนุญาตทำงาน
  • รูปถ่าย 4 x 6 CM จำนวน 1 รูป
  • หนังสือรับรองบริษัท
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  • งบดุลฯ และกำไรขาดทุน 2 ปีล่าสุด
  • ภงด. 50 ปีล่าสุด
  • แบบ สบช.3 ปีล่าสุด
  • ภพ. 30 จำนวน 3 เดือนล่าสุด
  • ภงด.1 และประกันสังคม จำนวน 3 เดือนล่าสุด
  • ภงด 91 ของคนต่างชาติ
  • แผนที่บริษัท
  • รูปถ่ายสำนักงาน
  • แบบคำขอตามที่กำหนด
หลักเกณฑ์ การขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภท
การตรวจลงตราเพื่อทำงาน (NON-B) - หรือ เปลี่ยนวีซ่า
เอกสารประกอบการยื่นคำขอ
  • คนต่างด้าวต้องมีอายุวีซ่าเหลืออย่างน้อย 21 วัน
  • คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว หรือคนผ่านเข้าเมือง
  • บริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
  • บริษัทต้องมียอดรวมผู้เป็นเจ้าของไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
  • บริษัทต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเงินที่จะจ่ายให้คนต่างด้าว
  • บริษัทต้องมีอัตราส่วน จำนวนคนต่างด้าว กับพนักงานคนไทย 1 ต่อ 4 คน
  • หนังสือเดินทาง พร้อม วีซ่า 21 วัน
  • รูปถ่าย 4 x 6 CM จำนวน 1 รูป
  • หนังสือรับรองบริษัท
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
  • ใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล
  • สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • งบดุลฯ และกำไรขาดทุน
  • ภงด. 50 ปีล่าสุด
  • ภงด.1 จำนวน 3 เดือนล่าสุด
  • หลักฐานการศึกษาและใบผ่านงาน รับรองจากจากสถานทูตและกระทรวงต่างประเทศ
  • แผนที่บริษัท
  • รูปถ่ายสำนักงาน
  • แบบคำขอตามที่กำหนด
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ที่ ๗๗๗/๒๕๕๑
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณา
กรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

....................
หมวด 2
การอนุญาตให้อยู่ต่อ
๗. การพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และรายการเอกสาร ดังต่อไปนี้
เหตุแห่งความจำเป็น
หลักเกณฑ์การพิจารณา
รายการเอกสาร
๗.๑ กรณีมีเหตุจำเป็นทางธุรกิจ เช่น จะต้องอยู่ปฏิบัติงานในบริษัท หรือห้างให้นส่วน เป็นต้น
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
(๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) คนต่างด้าวต้องมีเงินได้ตามตารางเงินได้แนบท้ายคำสั่งนี้ และ
(๓) ต้องเป็นธุรกิจซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า ๒ ล้านบาท และ
(๔) ธุรกิจนั้นต้องยื่นงบดุล ณ วันสิ้นงวดปีบัญชีที่ผ่านมา ที่ได้รับการตรวจรับรองความถูกต้องจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อแสดงสถานภาพการเงินของธุรกิจว่ามีความมั่นคงเชื่อถือได้ โดยยอดรวมของส่วนของผู้เป็นเจ้าของ ในงบดุลดังกล่าว ต้องมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า ๑ ล้านบาท และ
(๕) ธุรกิจนั้นต้องยื่นงบกำไรขาดทุน ที่ผ่านการตรวจรับรองความถูกต้องจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อแสดงผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา สิ้นสุด ณ วันเดียวกันกับงบดุล โดยยอดรวมรายได้ในงบกำไรขาดทุนดังกล่าว จะต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินทั้งหมดที่ธุรกิจคาดว่าต้องจ่ายเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ทุกประเภทให้แก่คนต่างด้าวทุกรายที่ต้องยื่นคำขอฯ เพื่อว่าจ้างให้ทำงานกับธุรกิจในรอบปีบัญชีถัดไป และ
(๖) ธุรกิจนั้นมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน และ
(๗) ธุรกิจนั้นต้องมีอัตราส่วนระหว่างจำนวนคนต่างด้าวกับพนักงานคนไทยประจำในอัตราส่วนคนต่างด้าว ๑ คน ต่อพนักงานคนไทยประจำ ๔ คน
( ๘) ธุรกิจประเภทดังต่อไปนี้ ให้ได้รับการ ยกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ (๓) (๔) (๕) และ (๖) และให้ได้รับการผ่อนผันในเรื่อง อัตราส่วนคนไทยตามหลักเกณฑ์ข้อ (๗) โดยให้มีพนักงานคนไทยในอัตราส่วน คนต่างด้าว ๑ คน ต่อ พนักงานคนไทย ประจํา ๑ คน
(ก) ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ( สำนักงานผู้แทน )
(ข) สำนักงานภูมิภาค
(ค) บริษัทข้ามชาติ ( สำนักงานสาขา )
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓ หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
๔. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๕. หลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ่นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน ฉบับจริง
๖. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน ฉบับจริง
๗. งบดุล และงบกำไรขาดทุน ปีล่าสุด ฉบับกรมสรรพากรรับรอง
๘. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อพนักงาน และชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอเดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน
๙. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
๑๐. สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม (สปส.๑-๑๐) เดือนล่าสุด
๑๑. เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่าธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประเกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้สมัคร เป็นต้น
๑๒. แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ
๑๓. เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ของ สตม. กำหนด
๑๔. รูปภาพของบริษัท ถ่ายให้เห็นป้ายชื่อ อาคาร สภาพการทำงาน
๑๕. ธุรกิจตามหลักเกณฑ์ขอ้ (๘) ไม่ต้องแสดงเอกสารตามข้อ ๖, ๗ และ ๑๑
๗. ๒ กรณีมีเหตุจำเป็น จะต้อง อยู่ปฏิบัติงานในส่วนราชการ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรที่รัฐและ/หรือส่วนราชการ และ/หรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิ บ หรื อ องค์กรอิสระที่จัดตั้งโดย พระราชบัญญัติต่าง ๆ
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก หน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก ส่วนราชการระดับกรม องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรที่รัฐและ/หรือส่วน ราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ หรือองค์กร อิสระที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติต่างๆ
๕. เฉพาะองค์กรที่รัฐและ/หรือส่วนราชการ และ/หรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วยเกิน กว่าร้อยละห้าสิบ ให้แนบสำเนาเอกสาร แสดงรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่
๗. ๓ กรณีเพื่อการท่องเที่ยว
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน แต่รวมแล้วไม่เกิน ๙๐ วัน นับแต่วัน ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทนักท่องเที่ยว และ
(๒) ไม่เป็นบุคคลสัญชาติ หรือจำพวกที่ คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติ ราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจ คนเข้าเมือง ของ สตม. กำหนด
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๗. ๔ กรณีเพื่อการลงทุน ไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนที่ คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และได้รับอนุญาตให้ อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการลงทุนไม่น้อย กว่า ๓ ล้านบาท ต่อเนื่องตลอดมา และ
(๓) มีหลักฐานการโอนเงินเข้าสู่ประเทศไทย จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท และ
(๔) มีหลักฐานการลงทุนโดยการซื้อห้องชุด ในอาคารชุดจากหน่วยงาน หรือส่วน ราชการที่เกี่ยวข้องในราคาซื้อไม่น้อย กว่า ๓ ล้านบาท หรือ
(๕) มีหลักฐานการลงทุนโดยการฝากเงิน ประจำกับธนาคารที่จดทะเบียนใน ประเทศไทยซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติ ไทยเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท หรือ
(๖) มีหลักฐานการลงทุนโดยการซื้อ พันธบัตรของทางราชการหรือของ รัฐวิสาหกิจไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท หรือ
(๗) มีหลักฐานการลงทุนรวมกันตาม (๔) , ( ๕) หรือ (๖) ไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาหลักฐานการโอนเงินจาก ต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยจากธนาคาร
๔. สำเนาสัญญาซื้อขายห้องชุด และสำเนา การจดทะเบียนแสดงการเป็นเจ้าของ ห้องชุดจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณีซื้อห้องชุด) หรือ
๕. หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคาร และสำเนาหลักฐานการฝากเงิน (เฉพาะ กรณีลงทุนโดยการฝากเงิน) หรือ
๖. สำเนาพันธบัตร (เฉพาะกรณีลงทุนซื้อ พันธบัตรของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ)
๗. ๕ กรณีเป็นคร ู หรืออาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษ า ของรัฐ
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานศึกษานั้น
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้น โดยระบุตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง
๗. ๖ กรณีเป็นครู หรืออาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษา ของเอกชน
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) สถานศึกษานั้นได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการจากส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง และ
(๓) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานศึกษานั้น
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๕. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้น โดยระบุตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง
๖. เฉพาะกรณีเป็นครูในโรงเรียนเอกชน ให้แนบสำเนาใบอนุญาตให้เป็นครูและ สำเนาใบอนุญาตให้บรรจุครู
๗.๗ กรณีเพื่อศึกษาใน สถานศึกษาของรัฐ
ให้อนุญาตตามระยะเวลาที่ สถานศึกษารับรองครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานศึกษานั้น
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้นโดยให้ปรากฏรายละเอียด เกี่ยวกับจำนวนป็การศึกษา ระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ
๗.๘ กรณีเพื่อศึกษาใน สถานศึกษาของเอกชน
ให้อนุญาตตามระยะเวลาที่ สถานศึกษารับรองครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) สถานศึกษานั้นได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการจากส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง และ
(๓) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานศึกษานั้น และ
(๔) ได้รับการรับรองจากส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง (ยกเว้นกรณีศึกษาใน โรงเรียนนานาชาติ และกรณีศึกษา ในระดับอุดมศึกษา)
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข?อง
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้นโดยให้ปรากฏรายละเอียด เกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ
๕. หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับ กรมหรือเทียบเท่า หรือจากผู้ว่าราชการ จังหวัดที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้น (ยกเว้นกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ และกรณีศึกษาในระดับอุดมศึกษา)
๗.๙ กรณีเพื่อฝึกสอน หรือ ค้นคว้าวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจากคณบดี สถาบันอุดมศึกษา หรือจากหัวหน้า สถาบันวิจัยนั้นๆ
(๓) กรณีฝึกสอน หรือค้นคว้าวิจัยใน สถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัยของ เอกชน ต้องได้รับการรับรองและร้องขอ จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากคณบดี สถาบันอุดมศึกษา หรือจากหัวหน้า สถาบันวิจัยนั้นๆ
๔. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (๓) ให้แนบหนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๗.๑๐ กรณีเป็นครอบครัวของ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อศึกษาในสถานศึกษาตาม หลักเกณฑ์ข้อ ๗.๗ หรือ ๗.๘ ของคำสั่งนี้ (เฉพาะบิดา มารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือ บุตรของคู่สมรส)
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ และ
(๓) กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย หรือ
(๔) กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในความอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้น ต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็น ส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุ ไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือ
(๕) กรณีบิดาหรือมารดา ต้องมีเงินฝากใน ธนาคารในประเทศไทยในนามบิดาหรือ มารดาไม่น้อยกว่า ๕๐๐ , ๐๐๐ บาท โดย แสดงบัญชีเงินฝากย้อนหลัง ๓ เดือน
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่เพื่อศึกษา
๔. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจด ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่น จากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (๕) ให้แนบหนังสือรับรองการมีเงินฝากจาก ธนาคารในประเทศไทย และสำเนาบัญชี ธนาคาร
๗.๑๑ กรณีปฏิบัติหน้าที่ สื่อมวลชน
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก กรมประชาสัมพันธ์ หรือกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก กรมประชาสัมพันธ์หรือกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
๗.๑๒ กรณีศึกษาพระพุทธ ศาสนา หรือปฏิบัติศาสนกิจ
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองจากสำนักพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติหรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และ
(๓) ได้รับการรับรองจากเจ้าอาวาสวัดที่ผู้ยื่น คำขอกำลังศึกษา หรือปฏิบัติศาสนกิจ
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองจากสำนักพระพุทธศาสนา แห่งชาติ หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
๔. หนังสือรับรองจากเจ้าอาวาสวัดที่ผู้ยื่น คำขอกำลังศึกษา หรือปฏิบัติศาสนกิจ
๗.๑๓ กรณีเผยแพร่ศาสนา
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองจากกรมการศาสนา หรือสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติและ
(๓) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก องค์กร ศาสนาที่ผู้ยื่นคำขอเข้ามาประจำอยู่
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองจากกรมการศาสนา หรือ สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กร ศาสนานั้นๆ
๗.๑๔ กรณีเป็นช่างฝีมือ หรือ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ การพยาบาล หรือสาขาวิชาชีพ ต?างๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๗.๑๕ กรณีเพื่อติดตั้ง หรือ ซ่อมแซม เครื่องจักร อากาศยาน หรือเรือเดินทะเล
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๗.๑๖ กรณีเป็นนักแสดง นักร้อง นักดนตรี ประจำโรงแรม หรือ ประจำบริษัทที่ประกอบธุรกิจ บันเทิงในประเทศไทย ซึ่งมีทุน จดทะเบียนชำระเต็มมูลค่า ไม่น้อยกว่า ๒๐ ล้านบาท
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑๒๐ วัน
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองการจ้างจากโรงแรม หรือจากบริษัทที่ประกอบธุรกิจบันเทิง ในประเทศไทยซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระ เต็มมูลค่าไม่น้อยกว่า ๒๐ ล้านบาท
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. สำเนาหนังสือสัญญาว่าจ้างผู้ยื่นคำขอ ทำงานเป็นนักแสดง นักร้อง หรือนักดนตรี
๕. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กร นั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียน บริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน ๖ เดือน
๖. เฉพาะกรณีบริษัทที่ประกอบธุรกิจบันเทิงฯ ให้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับ นายทะเบียนรับรองไม่เกิน ๖ เดือน
๗. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน
๘. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา ของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
๗.๑๗ กรณีเป็นครอบครัวของ ผู้มีสัญชาติไทย (เฉพาะบิดา มารดา คู?สมรส บุตร บุตรบุญ ธรรม หรือบุตรของคู่สมรส)
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ และ
(๓) กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย หรือ
(๔) กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในความอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็น ส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุ ไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือ (๕) กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา นั้นต้องมีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (๖) กรณีสมรสกับหญิงไทย ฝ่ายใดฝ่าย หนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายรวมกันต้องมีรายได้ เฉลี่ยทั้งปี ไม่น้อยกว่าเดือนละ ๔๐ , ๐๐๐ บาท เว้นแต่คนต่างด้าวนั้น ได้เดินทาง เข้ามาในราชอาณาจักรก่อนที่คำสั่งนี้ มีผลใช้บังคับ และได้รับอนุญาตให้อยู่ใน ราชอาณาจักรกรณีสมรสกับหญิงไทย ต่อเนื่องตลอดมา หากไม่มีรายได้ตามที่ กำหนดข้างต้น ก็ต้องมีเงินฝากธนาคาร ในประเทศไทย ในนามคนหนึ่งคนใดหรือ ทั้งสองคน ไม่น้อยกว่า ๔๐๐ , ๐๐๐ บาท โดยแสดงบัญชีเงินฝากย้อนหลัง ๓ เดือน
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สําเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจด ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่น จากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. สำเนาหลักฐานการมีสัญชาติไทย ของคู่สมรส บิดา มารดา บุตร หรือบุตร บุญธรรม เช่น บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหลักฐานอื่นจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (๖) ให้แนบ หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคาร ในประเทศไทย และสำเนาบัญชีธนาคาร หรือแนบเอกสารแสดงการมีรายได้ของ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือของทั้งสองฝ่าย รวมกันไม่น้อยกว่าเดือนละ ๔๐ , ๐๐๐ บาท เช่น หลักฐานการยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบใด แบบหนึ่งพร้อมใบเสร็จรับเงิน หลักฐาน การมีเงินบำนาญ หลักฐานรับรอง การได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก หรือหลักฐาน การมีเงินได้อื่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๖. ภงด 1 พร้อมใบเสร็จ จำนวน 3 เดือน
๗. ใบรับรองเงินเดือน
๘. รูปถ่ายบ้านพัก สภาพในบ้าน และครอบครัว
๗.๑๘ กรณีเป็นครอบครัวของ ผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (เฉพาะบิดา มารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตร ของคู่สมรส)
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ และ
(๓) กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย หรือ
(๔) กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในความอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้น ต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็น ส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุ ไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือ
(๕) กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา นั้นต้องมีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจด ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่น จากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. สำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และสำเนาใบ สำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีถิ่นที่อยู่
๗.๑๙ กรณีเป็นครอบครัวของ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามหลักเกณฑ์ข้อ ๗.๑ , ๗.๒ , ๗.๔ , ๗.๕ , ๗.๖ , ๗.๙ , ๗.๑๑ , ๗.๑๒ , ๗.๑๓ , ๗.๑๔ , ๗.๑๕ , ๗.๑๖ , ๗.๒๐ , ๗.๒๑ , ๗.๒๕ หรือ ๗.๒๘ ของคำสั่งนี้ (เฉพาะบิดา มารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญ ธรรม หรือบุตรของคู่สมรส)
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ และ
(๓) กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย หรือ
(๔) กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในความอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้น ต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็น ส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุ ไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือ
(๕) กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา นั้นต้องมีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ
๔. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจด ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่น จากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๗.๒๐ กรณีมีเหตุจำเป็นจะต้อง อยู่ปฏิบัติงานในองค์การกุศล สาธารณะ องค์การเอกชน ต่างประเทศ มูลนิธิ สมาคม หอการค้าต่างประเทศ สภาหอ การค้าแห่งประเทศไทย หรือสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ป
กรณีไม่มีส่วนราชการตาม หลักเกณฑ์ข้อ (๓) รับรองมา
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจากผู้มี อำนาจ หรือผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดใน องค์กรนั้น และ / หรือ
(๓) ได้รับการรับรองและร้องขอจากหัวหน้า ส่วนราชการระดับ ๑๐ หรือเทียบเท่า ขึ้นไปซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์กรนั้น
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งองค์กรจากทาง ราชการ หรือสำเนาใบอนุญาตให้เข้ามา ดำเนินการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๕. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก องค์กรนั้น
๖. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ทำงานในองค์กร ๗. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (๓) ให้แนบหนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๗.๒๑ กรณีใช้ชีวิตในบั้นปลาย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) มีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ
(๓) มีหลักฐานการมีเงินได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ ๖๕ , ๐๐๐ บาท หรือ
(๔) มีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ , ๐๐๐ บาท โดยแสดง บัญชีเงินฝากย้อนหลัง ๓ เดือน หรือ
(๕) มีเงินได้ในรอบปี และมีเงินฝากธนาคาร คำนวณรวมกันได้ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ , ๐๐๐ บาท นับถึงวันยื่นคำขอ ( ๖) คนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาใน ราชอาณาจักรก่อนวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๑ และได้รับอนุญาตให้อยู้ใน ราชอาณาจักรเพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลาย ต่อเนื่องตลอดมา ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป และมีรายได้ที่ แน่นอน โดยมีเงินฝากไม่น้อยกว่าปีละ ๒๐๐ , ๐๐๐ บาท โดยแสดงบัญชีเงินฝาก ย้อนหลัง ๓ เดือน หรือ มีรายได้ไม่น้อย กว่าเดือนละ ๒๐ , ๐๐๐ บาท (ข) อายุไม่ถึง ๖๐ ปีแต่ไม่น้อยกว่า ๕๕ ปี ต้องมีรายได้ที่แน่นอนโดยมีเงินฝาก ไม่น้อยกว่าปีละ ๕๐๐ , ๐๐๐ บาท โดย แสดงบัญชีเงินฝากย้อนหลัง ๓ เดือน หรือมีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ ๕๐ , ๐๐๐ บาท
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หลักฐานแสดงการมีเงินได้ เช่น เงินบำนาญ หรือการได้รับดอกเบี้ย หรือเงินปันผล เป็นต้น และ / หรือ
๔. หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคาร ในประเทศไทย และสำเนาบัญชีธนาคาร
๕. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (๖) ให้แสดงเอกสารเช่นเดียวกับข้อ ๑ – ๔ ข้างต้น
๗.๒๒ กรณีเพื่อเยี่ยมญาติหรือ กลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เคยมี สัญชาติไทย หรือของผู้ที่มีบิดา หรือมารดาเป็นบุคคลสัญชาติ ไทยหรือเคยมีสัญชาติไทย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) มีหลักฐานแสดงว่าเดิมเคยมีสัญชาติ ไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือมารดา มีสัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย
๑. แบบคําขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาเอกสารแสดงว่าเดิมเคยมีสัญชาติ ไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือมารดา มี สัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย
๗.๒๓ กรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรส หรือเยี่ยมบุตรซึ่งมีสัญชาติไทย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๖๐ วัน
( ๑) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ และ
(๒) กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาทะเบียนบ้าน
๔. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มี สัญชาติไทย
๕. สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาสูติบัตร
๗.๒๔ กรณีเพื่อรับการรักษา พยาบาล หรือการพักฟื้น หรือ เพื่อดูแลผู้ป่วย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) ได้รับการรับรองและร้องขอจากแพทย์ ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา
(๒) กรณีดูแลผู้ป่วยต้องได้รับการรับรองและ ร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาล ที่ทำการตรวจรักษา หรือจากสถานทูต หรือสถานกงสุล
(๓) กรณีผู้ดูแลซึ่งไม่ได้เป็นส่วนแห่ง ครัวเรือนให้อนุญาตได้ไม่เกินหนึ่งคน
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา
๔. เฉพาะกรณีดูแลผู้ป่วยให้แนบหนังสือ รับรองและขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ประจํา โรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา หรือจาก สถานทูต หรือสถานกงสุล
๗.๒๕ กรณีเพื่อการดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนพิจารณา อันเกี่ยวกับคดี
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับ การดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวน พิจารณาอันเกี่ยวกับคดี โดยเป็น ผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย หรือพยาน
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองจากพนักงานสอบสวนที่ เกี่ยวข้องกับคดี หรือหนังสือหรือเอกสาร ทางราชการที่ยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับ การดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวน พิจารณาอันเกี่ยวกับคดี
๗.๒๖ กรณีปฏิบัติหน้าที่หรือ ภารกิจให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์การระหว่างประเทศ
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก ส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือจากส่วนราชการตำรวจระดับ กองบัญชาการ หรือจากส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อ ผบ.ตร. หรือจากส่วนราชการ ทหารระดับกองทัพบก กองทัพเรือ หรือกองทัพอากาศ ขึ้นไป หรือจากองค์การระหว่างประเทศ
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก ส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือจากส่วนราชการตำรวจระดับ กองบัญชาการ หรือจากส?วนราชการ ขึ้นตรงต่อ ผบ.ตร. หรือจากส่วนราชการ ทหารระดับกองทัพบก กองทัพเรือ หรือกองทัพอากาศ ขึ้นไป หรือจาก องค์การระหว่างประเทศ
๗.๒๗ กรณีมีเหตุจำเป็น โดยมี สถานทูต หรือสถานกงสุล ให้ การรับรองและร้องขอ
(๑) กรณีมีเหตุจำเป็นให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน
(๒) เฉพาะกรณีฝึกงานให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานทูต หรือสถานกงสุล
(๒) กรณีฝึกงาน คนต่างด้าวนั้นต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากสถาน ทูต หรือสถานกงสุลประจำประเทศไทย
๔. เฉพาะกรณีฝึกงาน ให้แนบสำเนาใบ อนุญาตทำงาน
๗.๒๘ กรณีเพื่อพิสูจน์สัญชาติ
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑๘๐วัน
( ๑) ได้รับการรับรองจากส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๗.๒๙ กรณีเป็นนักแสดง นักร้อง นักดนตรี ผู้ควบคุมการแสดง ตลอดจนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การแสดงเพื่อการบันเทิง หรือ มหรสพ โดยมาเปิดการแสดง เป็นครั้งคราว
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

ตารางเงินได้ท้ายคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 606/2549
ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ตามหลักเกณฑ์ข้อ 7.1 (2)
สัญชาติ
รายได้ขั้นต่ำ
1. ประเทศในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย, ประเทศแคนาดา, ประเทศญี่ปุ่น, และประเทศสหรัฐอเมริกา
50,000 บาท/เดือน
2. ประเทศเกาหลีใต้, ประเทศสิงคโปร์, ใต้หวัน, และฮ่องกง
45,000 บาท/เดือน
3. ประเทศในทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาใต้, ประเทศในเขตยุโรปตะวันออก, ประเทศในเขตอเมริกากลาง ประเทศเม็กซิโก, ประเทศตุรกี, ประเทศรัสเซีย, และประเทศแอฟริกาใต้
35,000 บาท/เดือน
4. ประเทศในทวีปแอฟริกา, ประเทศกัมพูชา, ประเทศพม่า, ประเทศลาว, และประเทศเวียดนาม
25,000 บาท/เดือน

Download เอกสารที่จำเป็น : คำขออยู่ต่อ (ตม.7) | คำขอกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกครั้ง ตม.8 (Re-Entry) | แจ้งอยู่เกิน 90 วัน | หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงาน | รับทราบเงื่อนไข | ชี้แจงความจำเป็น | บัญชีรายชื่อและเงินเดือนคนต่างด้าว | ตาราง 90 วัน |

34 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมูลทั่วไป




    1. คนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยจะต้องขอรับการตรวจลงตราหรือขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก หรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทยที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลประเทศที่คนต่างชาติดังกล่าวมีถิ่นพำนัก หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานที่ขอวีซ่า กรุณาสอบถามได้จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยทุกแห่ง


    สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่และที่ติดต่อของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทย สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศที่ http://www.thaiembassy.org


    2. คนต่างชาติบางสัญชาติสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งมี 2 กลุ่มดังนี้
    (1) ประเทศที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในไทยได้ไม่เกิน 30 วัน ดูรายละเอียดได้ที่ รายชื่อประเทศที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน

    (2) ประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับประเทศไทย ดูรายละเอียดได้ที่ รายชื่อประเทศที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต ราชการ และธรรมดา กับประเทศไทย

    3. คนต่างชาติบางสัญชาติสามารถมาขอรับการตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของไทยบางแห่งที่กำหนดไว้ เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยได้ (visa on arrival) ดูรายละเอียดได้ที่ รายชื่อประเทศที่สามารถขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) และพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 15 วัน

    4. คนต่างด้าวที่เดินทางมาจากประเทศเขตติดโรคไข้เหลืองจะต้องแสดง “เอกสารระหว่างประเทศรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เหลือง” (International Health Certificate on Yellow Fever Vaccination) ในการยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตรา ณ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ รวมทั้งจะต้องแสดงเอกสารดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางถึงประเทศไทย จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้ ดูรายละเอียดได้ที่ หลักเกณฑ์การตรวจลงตราแก่คนต่างด้าวที่เดินทางมาจากประเทศที่เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง

    ตอบลบ
  2. 5. คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าเข้าไทยได้มีดังนี้
    - ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    - มีหลักฐานแสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการพำนักในไทย เช่น ตั๋วเครื่องบิน และมีวีซ่าหรือหลักฐานว่าสามารถเดินทางกลับประเทศที่มีถิ่นพำนัก หรือเดินทางต่อไปยังประเทศอื่นได้ (ในกรณีขอเดินทางผ่าน)
    - ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เช่น เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ มีเงินค่าใช้จ่ายเพียงพอในขณะพำนักในไทยตามระเบียบกำหนดคืออย่างน้อยคนละ 20,000 บาท เป็นต้น

    6. ในการขอวีซ่านั้น คนต่างชาติจะต้องขอรับการตรวจลงตราให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเข้ามาในประเทศไทย ทั้งนี้ การอนุมัติวีซ่าอยู่ในดุลพินิจของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ และในการตรวจลงตราให้แก่คนต่างชาติบางสัญชาติ ได้มีการกำหนดระเบียบและหลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นพิเศษ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทุกแห่ง

    7. เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการเดินทาง คนต่างชาติที่จะขอวีซ่าเพื่อเดินทางเข้าประเทศไทยควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับอายุของวีซ่า (visa validity) และระยะเวลาพำนัก (period of stay) อายุของวีซ่าหมายถึงระยะเวลาที่ผู้ได้รับวีซ่าสามารถใช้เดินทางมาประเทศไทยได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่กงสุลจะเป็นผู้กำหนดอายุของวีซ่าและจะปรากฏอยู่ในวีซ่าสติ๊กเกอร์หรือตราประทับวีซ่าของสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ โดยทั่วไปอายุของวีซ่าคือ 3 เดือนนับจากวันที่ออกวีซ่า แต่ในบางกรณีและสำหรับวีซ่าบางประเภทอายุของวีซ่าอาจเป็น 6 เดือน หรือ 1 ปี หรือ 3 ปี

    ส่วนระยะเวลาพำนักหมายถึงระยะเวลาที่ผู้เดินทางได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทยได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาพำนักเมื่อคนต่างชาติเดินทางมาถึง และจะปรากฏอยู่ในตราประทับขาเข้า ระยะเวลาพำนักขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า เช่น transit visa จะได้รับอนุญาตให้พำนักได้ไม่เกิน 30 วัน tourist visa ไม่เกิน 30 วันหรือ 60 วัน และ non-immigrant visa ไม่เกิน 90 วัน หากมีความจำเป็นต้องอยู่เกินกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว คนต่างชาติต้องไปยื่นคำร้องขออนุญาตอยู่ต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (มีสำนักงานทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด) มิฉะนั้น หากอยู่เกินกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต จะถูกปรับวันละ 500 บาทรายละเอียดเกี่ยวกับการขออนุญาตอยู่ต่อ สอบถามได้จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 0-2141-9889 หรือดูที่เว็บไซต์ www.immigration.go.th

    8. คนต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่าประเภทใด ๆ ก็ตาม ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงาน ดังนั้น คนต่างชาติที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องขอรับการตรวจลงตราประเภทที่ถูกต้องคือ Non-Immigrant Visa “B” เพื่อที่จะสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานได้ รายละเอียดเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตทำงานดูได้ที่เว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ที่ www.doe.go.th/workpermit/index.html

    9. สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยมีอำนาจหน้าที่ในการให้วีซ่าแก่คนต่างชาติเพื่ออนุญาตให้เดินทางมาประเทศไทยได้ อย่างไรก็ดี การอนุญาตให้เข้าประเทศไทย รวมทั้งการกำหนดระยะเวลาที่จะอนุญาตให้พำนักในประเทศไทย เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ดังนั้น คนต่างชาติที่ได้รับวีซ่าแล้วบางรายอาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้ หากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองพิจารณาแล้วเห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะหรือพฤติการณ์เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522







    .

    ตอบลบ
  3. ประเภทของการตรวจลงตรา





    1. การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa)


    2. การตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist Visa)


    3. การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa)


    4. การตรวจลงตราประเภททูต (Diplomatic Visa)


    5. การตรวจลงตราประเภทราชการ (Official Visa)


    6. การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa)





    .

    ตอบลบ
  4. การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa)

    1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อการใดการหนึ่งดังต่อไปนี้

    - เพื่อเดินทางผ่านราชอาณาจักร (รหัส TS )
    - เพื่อเล่นกีฬา (รหัส S )
    - เป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร
    (รหัส C)

    2. อายุวีซ่า 3 เดือน

    3. ค่าธรรมเนียม 800 บาท ต่อครั้ง

    4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 วัน

    5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรคือ ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท

    6. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
    - หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    - แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
    - รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวก และแว่นตาดำ)
    - บัตรโดยสารเครื่องบิน ไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปยังประเทศที่สาม
    - วีซ่าของประเทศที่สามในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง (รหัส TS)
    - หนังสือเชิญให้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา (รหัส S)
    - หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร (รหัส C)
    - ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

    7. คนต่างด้าวที่ประสงค์จะขยายระยะเวลาพำนักในประเทศไทยหรือเปลี่ยนแปลงประเภทวีซ่า ต้องยื่นคำร้อง ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 เว็บไซต์ http://www.immigration.go.th/ การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง




    .

    ตอบลบ
  5. การตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (Tourist Visa)

    1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว (รหัส TR)

    2. อายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน

    3. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ต่อครั้ง

    4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 หรือ 60 วัน


    หากผู้ได้รับการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยวมีสัญชาติของประเทศที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว หรือมีสัญชาติของประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับไทย จะได้รับอนุญาตให้พำนักครั้งละไม่เกิน 60 วัน หากเป็นผู้ที่มีสัญชาติอื่นจะได้รับอนุญาตให้พำนักครั้งละไม่เกิน 30 วัน

    5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรคือต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท

    6. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
    - หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    - แบบฟอร์มขอวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
    - รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน / ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ)
    - หลักฐานที่แสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการท่องเที่ยว เช่น บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปยังประเทศที่สาม
    - เอกสารจากบริษัทท่องเที่ยว (กรณีที่เดินทางมากับบริษัททัวร์)
    - ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

    7. คนต่างด้าวที่ประสงค์จะขยายระยะเวลาพำนักในประเทศไทยหรือเปลี่ยนแปลงประเภทวีซ่า ต้องยื่นคำร้อง ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 เว็บไซต์ http://www.immigration.go.th/ การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง





    .

    ตอบลบ
  6. การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa)

    1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    - การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (รหัส F)

    - การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ และการทำงาน (ฺรหัส B)

    - การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (รหัส IM)

    - การลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (รหัส IB)

    - การศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ (รหัส ED)

    - การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน (รหัส M)

    - การเผยแผ่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (รหัส R)

    - การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร (รหัส RS)

    - การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ (รหัส EX)

    - การอื่น (รหัส O) ได้แก่

    1) การเข้ามาใช้ชีวิตในบั้นปลายในฐานะผู้สูงอายุ

    2) การเข้ามาในฐานะคู่ความหรือพยานสำหรับการพิจารณาดำเนินคดี

    3) การปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในครอบครัวคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต กงสุลหรือปฏิบัติภารกิจอื่น โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว

    4) การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานตามปกติ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต หรือบุคคลซึ่งมีเอกสิทธิ์เท่าเทียมกัน กับบุคคลซึ่งมีตำแหน่งทางการทูตตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือกับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ

    5) การให้ความอุปการะแก่หรือรับความอุปการะจากบุคคลสัญชาติไทย หรือบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว

    6) การปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การกุศลสาธารณะ

    7) การเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้เคยมีสัญชาติไทย เพื่อเยี่ยมญาติ หรือขอกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร

    8) การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการรักษาพยาบาล

    9) การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาตามความต้องการของทางราชการ




    .

    ตอบลบ
  7. 2. อายุวีซ่า
    - 3 เดือน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้ครั้งเดียว (single entry)
    - 1 ปี สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple entries)

    3. ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท (single entry) และ 5,000 บาท (multiple entries)

    4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

    5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คือ ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท

    6. การขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะได้รับการพิจารณาขยายระยะเวลาพำนักให้อยู่ต่อไปในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลาครั้งละไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ คนต่างด้าวสามารถยื่นคำร้องได้ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 เว็บไซต์ http://www.immigration.go.th/ การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง

    7. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
    เนื่องจากการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการเดินทางเข้าประเทศไทยหลายประการ เอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตราจึงแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง และสถานทูตสถานกงสุลอาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

    เอกสารที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่
    - หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    - แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
    - รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ)

    เอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง เช่น
    การเข้ามาในฐานะเป็นบุคคลในครัวเรือนหรือในความอุปการะ (รหัส O)
    - หลักฐานการเป็นบิดา มารดา บุตร / สูติบัตร / ใบสำคัญการสมรส
    - หนังสือรับรองการทำงาน ใบอนุญาตทำงานที่ยังมีอายุใช้งาน ของผู้ที่ทำงานในประเทศไทย
    - หลักฐานแสดงว่าคู่สมรสเป็นคนสัญชาติไทย หรือเป็นผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน
    - หนังสือจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี





    .

    ตอบลบ
  8. เข้ามาเพื่อรับการรักษาพยาบาล (รหัส O)
    - หนังสือตอบรับจากสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย

    คู่ความหรือพยานในศาล (รหัส O)
    - หนังสือหรือหมายจากศาลของไทย

    การเข้ามาเพื่อใช้ชีวิตในฐานะผู้สูงอายุ (รหัส O)
    - ผู้ร้องต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ระบุวัตถุประสงค์ว่าจะขอเข้ามาใช้ชีวิตในฐานะผู้สูงอายุหรือเกษียณ และจะไม่ทำงานในระหว่างพำนักในไทย
    - หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินหรือหลักฐานการได้รับเงินบำนาญ
    (ต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า 200,000 บาท หรือมีรายได้/บำนาญไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท)
    (หมายเหตุ
    1. เมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศไทย เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาอนุญาตให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 90 วัน การขยายระยะเวลาพำนัก จะต้องติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
    2. หากเป็นการขอขยายระยะเวลาพำนักระยะยาว คือ 1 ปี สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์การเข้าเมืองของคนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีบริบูรณ์ ซึ่งประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราเพื่อเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรคราวละไม่เกิน 1 ปี รหัส O-A โดยใช้หลักเกณฑ์ว่าผู้ร้องต้องมีหลักทรัพย์เป็นเงินฝาก 800,000 บาท หรือมีรายได้/บำนาญเดือนละ 65,000 บาท หรือมีเงินฝากและรายได้รวมกันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท)

    นักเรียน / นักศึกษา (รหัส ED)
    - หนังสือตอบรับจากสถานศึกษา
    - หนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กรณีเป็นโรงเรียนเอกชน)

    นักบวชที่จะเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา (รหัส ED)
    - หนังสืออนุญาตจากสำนักงานพระพุทธศานาแห่งชาติ

    การปฏิบัติหน้าที่ราชการ (รหัส F ) การปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ (รหัส B) การฝึกอบรม ดูงาน (รหัส ED)
    - หนังสือจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานรัฐบาล ที่เกี่ยวข้อง





    .

    ตอบลบ
  9. การทำงาน (รหัส B)
    - หนังสือกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน แจ้งผลการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในบริษัทฯ ที่ขอได้ (ในการขอรับหนังสือกรมการจัดหางานดังกล่าว นายจ้างที่จะจ้างคนต่างด้าวต้องไปยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงานหรือ แบบ ตท.3 ณ กองงานคนต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กท 10400 โทร. 245-2745 / 617-6578 / 617-6584 โทรสาร 617-6576 หรือที่สำนักงานแรงงานจังหวัด ซึ่งหากอนุญาตให้คนต่างด้าวดังกล่าวมาทำงานได้ตามที่ขอ กระทรวงแรงงานจะมีหนังสือแจ้งผลการอนุญาต ให้นายจ้างส่งหนังสือกรมการจัดหางานดังกล่าวให้คนต่างด้าวใช้เป็นเอกสารประกอบการขอวีซ่า)
    - หนังสือจากบริษัทในประเทศไทยที่จะจ้างงานบุคคลต่างด้าวดังกล่าวชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการจ้างงาน พร้อมทั้งแนบเอกสารของบริษัท เช่น ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดจากกระทรวงพาณิชย์ / บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น / ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ถ้ามี) / ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / งบการเงินปีล่าสุด ฯลฯ
    [ หมายเหตุ
    1. เมื่อคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa “B”) จากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่แล้ว เมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ให้ไปติดต่อกองงานคนต่างด้าว เพื่อยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว จึงจะสามารถทำงานได้
    2. ในกรณีของคนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานและพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี นายจ้างจะต้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อได้รับพิจารณาอนุมัติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะแจ้งให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทราบโดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอให้ตรวจลงตรา Non-Immigrant Visa รหัส B-A ซึ่งพำนักได้ 1 ปี ให้แก่คนต่างด้าวนั้นต่อไป ]

    การติดต่อธุรกิจ (รหัส B)
    - หนังสือรับรองการทำงานของบริษัทที่ผู้ร้องทำงานอยู่ รวมทั้งระบุวัตถุประสงค์ของการเดินทางไปประเทศไทย ชื่อบริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยงานที่จะไปติดต่อ
    - หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินหรือการทำธุรกิจของผู้ร้อง (กรณีไม่ได้ทำงานกับริษัทหรือหน่วยงานใดๆ)
    - หลักฐานแสดงสถานะทางการเงิน/โครงการที่จะเข้ามาประกอบในประเทศไทย (กรณีประสงค์จะเข้ามาเป็นผู้ประกอบกิจการในประเทศไทย)
    - หนังสือเชิญของบริษัทในประเทศไทยให้ผู้ร้องเดินทางไปประเทศไทยเพื่อติดต่อธุรกิจ (โดยต้องแนบเอกสารของบริษัท เช่น ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดจากกระทรวงพาณิชย์ / บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น / ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ถ้ามี) / ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / งบการเงินปีล่าสุด ฯลฯ)
    - กรณีผู้ร้องอ้างว่าเป็นที่ปรึกษาของบริษัท ต้องมีสำเนาหนังสือแต่งตั้งบุคคลของบริษัทยื่นประกอบด้วย
    ( หมายเหตุ
    1. สำเนาเอกสารของบริษัทฯ จะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทหรือหุ้นส่วนผู้จัดการลงนามและประทับตรารับรอง โดยต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนามด้วย
    2. กรณีหนังสือของบริษัท ควรได้รับการรับรองจากสำนักงานทะเบียนของกระทรวงพาณิชย์ อายุไม่เกิน 6 เดือน – 1 ปี เนื่องจากบริษัทหลายแห่งมิได้ดำเนินธุรกรรมใดๆ ในปัจจุบัน แต่นำเอกสารบริษัทเดิมไปใช้ในการรับรอง )

    ครู / อาจารย์ในสถาบันการศึกษาเอกชน (รหัส B)
    - หนังสือตอบรับการจ้างจากสถาบันการศึกษา
    - หนังสืออนุมัติให้จ้างบุคคลดังกล่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช) หรือจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ส่วนภูมิภาค)
    - หลักฐานวุฒิการศึกษา
    - หนังสือรับรองว่าไม่มีประวัติอาชญากรรม





    .

    ตอบลบ
  10. การตรวจลงตราประเภททูต (Diplomatic Visa)

    1. การตรวจลงตราประเภทนี้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UN Laissez-Passer) ซึ่งเทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น

    2. ผู้ร้องจะต้องแสดงหนังสือนำจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้ขอ หรือจากหน่วยงานหรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน

    3. ยกเว้นค่าธรรมเนียม

    4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน


    การตรวจลงตราประเภทราชการ (Official Visa)

    1. การตรวจลงตราประเภทนี้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางราชการหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UN Laissez-Passer) ซึ่งเทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น

    2. ผู้ร้องจะต้องแสดงหนังสือนำจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล/หน่วยราชการ ของประเทศผู้ขอ หรือจากหน่วยงาน หรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ หรือจากหน่วยราชการของไทย โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน

    3. ยกเว้นค่าธรรมเนียม

    4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน





    .

    ตอบลบ
  11. การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa)

    1. การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรีจำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    - การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ เพื่อการอื่นนอกจากการเข้ามาประจำการในราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติหน้าที่การทูต หรือกงสุล หรือราชการ

    - การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา ซึ่งประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักรในฐานะเป็นพระราชอาคันตุกะ ราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ

    2. เอกสารประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
    - หนังสือเดินทาง
    - แบบฟอร์มคำร้องขอรับการตรวจลงตราที่กรอกข้อความสมบูรณ์ พร้อมรูปถ่าย
    - หนังสือนำจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล/หน่วยราชการ ของประเทศผู้ร้อง หรือจากหน่วยงานหรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ หรือจากหน่วยราชการของไทย โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน

    3. อายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน สามารถเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple entries)

    4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 วัน

    5. ไม่เก็บค่าธรรมเนียม

    6. การขยายระยะเวลาพำนัก เมื่อครบกำหนดตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยทั่วไปสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะไม่อนุญาตให้อยู่ต่อไป เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัยไม่สามารถเดินทางออกไปได้ โดยในการขอยื่นคำร้องขออยู่ต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะต้องมีหนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศแจ้งขอเป็นรายๆ ไป เพื่อนำเรื่องเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการ และต้องเสียค่าธรรมเนียมการขออยู่ต่อตามปกติ











    .

    ตอบลบ
  12. รายชื่อประเทศที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน






    ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2545 , 20 ธันวาคม 2545, 18 ตุลาคม 2547, 6 พฤษภาคม 2548 และ 23 มิถุนายน 2554 คนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางของ 48 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา และอนุญาตให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
    หมายเหตุ คนต่างด้าวที่มิใช่คนสัญชาติของประเทศดังกล่าวหรือคนไร้สัญชาติที่ถือเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าว (Travel Document for Aliens) ที่ออกโดย 48 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ดังกล่าว จะไม่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา และยังจำเป็นต้องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อนเดินทางมาประเทศไทย


    คนต่างด้าวที่เดินทางมาประเทศไทยโดยได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จะได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทยได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ยกเว้นกรณีที่เดินทางเข้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน (ด่านพรมแดนทางบก) จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ได้ 15 วัน เว้นแต่คนมาเลเซียที่เดินทางเข้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีเขตติดต่อกับมาเลเซีย (ด่านพรมแดนทางบก) จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ได้คลั้งละไม่เกิน 30 วัน



    คนต่างด้าวที่เดินทางมาประเทศไทยโดยได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท หรือครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตราดังกล่าวนี้ หากประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทยนานกว่า 30 วัน ควรขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อนเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งจะได้รับอนญาตให้พำนักได้ไม่เกิน 60 วัน และสามารถยื่นคำร้องขอขยายเวลาพำนักจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ด้วย

    สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 หรือ http://www.immigration.go.th/






    .

    ตอบลบ
  13. รายชื่อประเทศที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว มีดังนี้



    1. เครือรัฐออสเตรเลีย (Australia : Commonwealth of Australia)

    2. สาธารณรัฐออสเตรีย (Austria : Republic of Austria)

    3. ราชอาณาจักรเบลเยียม (Belgium : Kingdom of Belgium)

    4. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Brazil : Federative Republic of Brazil) (****)

    5. รัฐบาห์เรน (Bahrain : Kingdom of Bahrain)

    6. เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam: Negara Brunei Darussalam)

    7. แคนาดา (Canada)

    8. ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (Denmark : Kingdom of Denmark)

    9. สาธารณรัฐฟินแลนด์ (Finland : Republic of Finland)

    10. สาธารณรัฐฝรั่งเศส (France : French Republic)

    11. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Germany : Federal Republic of Germany)

    12. สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Greece : Hellenic Republic)

    13. ฮ่องกง (Hong Kong SAR)

    14. สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ (Iceland : Republic of Iceland)

    15. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Indonesia : Republic of Indonesia)

    16. ไอร์แลนด์ (Ireland)

    17. รัฐอิสราเอล (Israel : State of Israel)

    18. สาธารณรัฐอิตาลี (Italy : Republic of Italy)

    19. ญี่ปุ่น (Japan)

    20. สาธารณรัฐเกาหลี (Korea, South : Republic of Korea) (****)

    21. รัฐคูเวต (Kuwait : State of Kuwait)

    22. ราชรัฐลักเซมเบิร์ก (Luxembourg : Grand Duchy of Luxembourg)

    23. มาเลเซีย (Malaysia)


    24. ราชรัฐโมนาโก (Monaco : Principality of Monaco)

    25. ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Netherlands : Kingdom of the Netherlands)

    26. นิวซีแลนด์ (New Zealand)

    27. ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Norway : Kingdom of Norway)

    28. รัฐสุลต่านโอมาน (Oman : Sultanate of Oman)

    29. สาธารณรัฐเปรู (Peru : Republic of Peru) (****)

    30. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Philippines : Republic of the Philippines)

    31. สาธารณรัฐโปรตุเกส (Portugal : Republic of Portugal)

    32. รัฐกาตาร์ (Qatar : State of Qatar)

    33. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Singapore : Republic of Singapore)

    34. ราชอาณาจักรเสปน (Spain : Kingdom of Spain)

    35. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (South Africa : Republic of South Africa)

    36. ราชอาณาจักรสวีเดน (Sweden : Kingdom of Sweden)

    37. สมาพันธรัฐสวิส (Switzerland : Swiss Confederation)

    38. สาธารณรัฐตุรกี (Turkey : Republic of Turkey)

    39. สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (United Arab Emirates)

    40. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (United Kingdom : United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland)

    41. สหรัฐอเมริกา (United States of America)

    42. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam : Socialist Republic of Vietnam)

    43. สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic)

    44. สาธารณรัฐฮังการี (Republic of Hungary)

    45. สาธารณรัฐลิกเตนสไตน์ (Principality of Liechtenstein)

    46. สาธารณรัฐโปแลนด์ (Republic of Poland)

    47. สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic)

    48. สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Republic of Slovenia)




    (****) หมายเหตุ ประเทศไทยมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต ราชการ และธรรมดา โดยสามารถพำนักได้ไม่เกิน 90 วัน กับประเทศบราซิล สาธารณรัฐเกาหลี และเปรู ดังนั้น ผู้ถือหนังสือเดินทางของทั้งสามประเทศดังกล่าวจะได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา และอนุญาตให้พำนักในไทยได้ไม่เกิน 90 วันตามความตกลง (แทนที่จะพำนักได้ 30 วันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย)










    .

    ตอบลบ
  14. รายชื่อประเทศที่สามารถขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (VISA ON ARRIVAL) และพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 15 วัน





    คนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางถูกต้องและสมบูรณ์ ของ 28 ประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อการท่องเที่ยวเป็นระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน สามารถขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวได้ ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่กำหนดไว้ 24 แห่ง

    (หมายเหตุ คนต่างด้าวหรือคนไร้สัญชาติที่ถือเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าว ของ 28 ประเทศ ไม่สามารถขอรับ Visa on Arrival ได้ ต้องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ ก่อนเดินทางเข้ามา)


    เอกสารประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา

    - ตั๋วหรือเอกสารที่ชำระค่าโดยสารครบถ้วน สามารถใช้เดินทางออกได้ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาต คือไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามา

    - เงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท

    - แบบฟอร์มคำร้องขอรับการตรวจลงตราที่กรอกข้อความสมบูรณ์ (แบบฟอร์มคำร้อง ขอรับได้ ณ ช่องทางอนุญาตเข้าเมืองที่กำหนดไว้)

    - รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป

    - หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน

    ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ( รวมถึงผู้ถือหนังสือเดินทางทุกประเภทไม่เว้นแม้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ กรณีที่ประเทศนั้นไม่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตหรือราชการกับประเทศไทย) โดยปกติ ขั้นตอนต่างๆ ในการขอรับ Visa on Arrival จะใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที

    การขยายระยะเวลาพำนัก โดยปกติ คนต่างด้าวที่ขอรับการตรวจลงตราประเภทนี้ จะไม่สามารถยื่นเรื่องขอขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรได้ ยกเว้นกรณีพิเศษ อาทิ เจ็บป่วย โดยจะสามารถยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด) ซึ่งเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาขยายระยะเวลาการพำนักเป็นกรณีๆ

    (หมายเหตุ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 หรือ http://www.immigration.go.th )

    คนต่างด้าว 28 สัญชาตินี้ หากต้องการเข้ามาทำงานหรือประกอบธุรกิจหรือลงทุนในประเทศไทย จะต้องขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อน มิฉะนั้น เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว จะไม่สามารถยื่นเรื่องขอใบอนุญาตทำงานได้จำเป็นต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อไปยื่นเรื่องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลไทย




    .

    ตอบลบ
  15. รายชื่อ 28 ประเทศ มีดังต่อไปนี้

    1. ราชอาณาจักรภูฏาน (Bhutan : Kingdom of Bhutan)

    2. สาธารณรัฐประชาชนจีน [China : People’s Republic of China]

    3. สาธารณรัฐไซปรัส (Cyprus : Republic of Cyprus)

    4. สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic)

    5. สาธารณรัฐเอสโตเนีย (Estonia : Republic of Estonia)

    6. สาธารณรัฐฮังการี (Hungary : Republic of Hungary)

    7. สาธารณรัฐอินเดีย (India : Republic of India)

    8. สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Kazakhstan : Republic of Kazakhstan)

    9. สาธารณรัฐลัตเวีย (Latvia : Republic of Latvia)

    10. ราชรัฐลิกเตนสไตน์ (Liechtenstein : Principality of Liechtenstein)

    11. สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Lithuania : Republic of Lithuania)

    12. สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Maldives : Republic of Maldives)

    13. สาธารณรัฐมอริเชียส (Mauritius : Republic of Mauritius)

    14. รัฐสุลต่านโอมาน (Oman : Sultanate of Oman)

    15. สาธารณรัฐโปแลนด์ (Poland : Republic of Poland)

    16. สหพันธรัฐรัสเซีย (Russia : Russian Federation)

    17. ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia : Kingdom of Saudi Arabia)

    18. สาธารณรัฐสโลวัก (Slovakia : Slovak Republic)

    19. สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Slovenia : Republic of Slovenia)

    20. ยูเครน (Ukraine)

    21. อุซเบกิสถาน (Uzbekistan)

    22. สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia)

    23. ไต้หวัน (Taiwan)

    24. สาธารณรัฐบัลแกเรีย (Bulgaria)

    25. ราชรัฐอันดอร์รา (Andorra)

    26. สาธารณรัฐมอลตา (Malta)

    27. โรมาเนีย (Romania)

    28. สาธารณรัฐซานมารีโน (San Marino)





    .

    ตอบลบ
  16. ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ผู้ร้องสามารถขอรับการตรวจลงตรา (Visa on Arrival) 24 แห่ง ได้แก่

    1. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

    2. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ

    3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงใหม่

    4. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานภูเก็ต

    5. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานหาดใหญ่

    6. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานอู่ตะเภา

    7. ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย

    8. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน

    9. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงของ

    10. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง

    11. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา

    12. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุย ณ บริเวณเขตท่าอากาศยานเกาะสมุย

    13. ด่านตรวจคนเข้าเมืองตาก ณ บริเวณเขตสนามบินสุโขทัย

    14. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าเรือกรุงเทพ

    15. ด่านตรวจคนเข้าเมืองศรีราชา
    ณ ทำเลจอดเรือในอ่าวอุดม และบริเวณเขตท่าเรือแหลมฉบัง

    16. ด่านตรวจคนเข้าเมืองมาบดาพุด
    ณ บริเวณเขตท่าเรือมาบดาพุด และทำเลจอดเรือในอ่าวหน้าเมืองระยอง

    17. ด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย
    ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย

    18. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุย
    ณ ทำเลจอดเรือบริเวณอ่าวหน้าทอน

    19. ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต
    ณ ทำเลจอดเรือบริเวณอ่าวมะขาม และทำเลจอดเรือบริเวณอ่าวฉลอง

    20. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูล
    ณ บริเวณเขตท่าเรือด่านศุลกากรตำมะลัง และบริเวณเขตท่าเรือเจ้ะปิลัง

    21. ด่านตรวจคนเข้าเมืองกระบี่
    ณ บริเวณเขตท่าเรือน้ำลึกกระบี่, บริเวณเขตท่าเรือเจ้าฟ้า
    บริเวณเขตท่าเรือเกาะลันดา และบริเวณเขตสนามบินกระบี่

    22. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าเรือสงขลา
    ณ บริเวณเขตท่าเรือน้ำลึกสงขลา และบริเวณเขตท่าเรือเดินเรือไทย

    23. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงราย

    24. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี











    .

    ตอบลบ
  17. การตรวจลงตราสำหรับการเข้ามาเพื่อติดต่อธุรกิจ ใช้ได้หลายครั้งภายใน 3 ปี (Three-Year Non-Immigrant Visa “B” )





    คนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อติดต่อธุรกิจ และจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาบ่อยครั้ง สามารถขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส B ใช้เดินทางเข้าประเทศไทยได้หลายครั้ง อายุ 3 ปี (Three-Year Non-Immigrant Visa “B” )
    คนต่างชาติที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทดังกล่าวสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้หลายครั้ง ภายใน 3 ปี และพำนักได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย

    1. สถานที่ยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตรา
    คนต่างชาติที่ประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราประเภท Three-Year Non-Immigrant Visa รหัส “B” สามารถยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตราได้ที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่ผู้ขอรับการตรวจลงตรามีถิ่นพำนักเท่านั้น หรือหากไม่มีสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยตั้งอยู่ในประเทศที่ผู้ขอรับการตรวจลงตรามีถิ่นพำนัก ให้ยื่นคำร้องได้ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยที่ดูแลประเทศดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่สามารถยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตราที่สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทย ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ตรวจลงตราประเภทดังกล่าว
    หากประสงค์จะสอบถามเกี่ยวกับสถานที่ยื่นคำร้องฯ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับการขอรับการตรวจลงตราประเภท Three-Year Non-Immigrant Visa “B” สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สถานเอกอัครราชทูตสถานกงสุลใหญ่ของไทย สำหรับที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ดูได้จาก www.mfa.go.th/web/10.php

    2. เอกสารประกอบการยื่นคำร้องฯ
    - แบบฟอร์มคำร้องขอรับการตรวจลงตราซึ่งกรอกข้อความครบถ้วนสมบูรณ์
    - หนังสือเดินทางซึ่งมีอายุการใช้เดินทางที่เพียงพอ
    - รูปถ่ายซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
    - เอกสารประจำตัว เช่น บัตรประชาชน เอกสารแสดงการมีถิ่นพำนัก
    - หลักฐานเกี่ยวกับการทำงานของผู้ขอรับการตรวจลงตรา เช่น ใบรับรองการทำงานจากสถานที่ทำงาน หรือในกรณีที่มีธุรกิจของตนเอง ให้แสดงหลักฐานเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของตน
    - หนังสือรับรองการเป็นสมาชิกหอการค้า สมาคมทางธุรกิจ หรือสถาบันอื่นที่เทียบเท่าของประเทศนั้น ๆ
    - หลักฐานแสดงว่ามีการติดต่อธุรกิจในประเทศไทยเป็นประจำ เช่น อาจแสดงหนังสือรับรองหรือหลักฐานการติดต่อธุรกิจกับบริษัทหรือหน่วยงานในประเทศไทย พร้อมทั้งแสดงเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับบริษัทดังกล่าว (เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น รายละเอียดการดำเนินกิจการของบริษัท รายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า ภ.ง.ด.50 ภ.ง.ด.30 ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20 งบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของบริษัท แผนที่ที่ตั้งบริษัท เป็นต้น )
    ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ในแต่ละประเทศอาจขอรับเอกสารประกอบอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา

    3. ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา 10,000 บาท

    หมายเหตุ - การพิจารณาตรวจลงตราขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่
    - ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราที่จ่ายให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่แล้วไม่สามารถขอรับคืนได้









    .

    ตอบลบ
  18. การตรวจลงตราสำหรับคนต่างชาติที่อายุ 50 ปีขึ้นไป เข้ามาเพื่อพักผ่อน โดยพำนักได้ 1 ปี (Non-Immigrant Visa “O-A” Long Stay)





    Non-Immigrant Visa รหัส “O-A” (Long Stay) เป็นการตรวจลงตราสำหรับคนต่างชาติซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีบริบูรณ์ ซึ่งประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อพักผ่อน โดยจะได้รับอนุญาตให้พำนักในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในระหว่างที่พำนักในประเทศไทย



    1. คุณสมบัติของผู้ที่สามารถขอรับการตรวจลงตรา

    - คนต่างชาติทุกสัญชาติ อายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

    - ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าประเทศตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

    - ไม่มีประวัติที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทั้งต่อประเทศไทย และประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก

    - ไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535)

    - มีเงินฝากและ/หรือเงินได้หรือเงินบำนาญรวมกันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท

    - มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้ามาพักผ่อน และไม่มีความประสงค์ที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย



    2. สถานที่ยื่นคำร้อง

    คนต่างด้าวที่ประสงค์จะขอรับการตรวจลงตรา Non-Immigrant Visa รหัส “O-A” (Long Stay) สามารถยื่นคำร้องได้ที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในประเทศที่คนต่างด้าวมีสัญชาติหรือในประเทศที่มีถิ่นพำนักเท่านั้น



    . เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

    - หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้ได้ไม่น้อยกว่า 18 เดือน

    - แบบฟอร์มการขอรับการตรวจลงตรา พร้อมรูปถ่าย และแบบฟอร์มประวัติส่วนตัว จำนวน 3 ชุด (ขอรับแบบฟอร์มได้จากสถานทูตสถานกงสุล)

    - หลักฐานด้านการเงิน ได้แก่ สำเนาบัญชีเงินฝาก (Bank Statement) จำนวนเทียบเป็นเงินไทยไม่น้อยกว่า 800,000 บาท

    หรือหนังสือรับรองรายได้/เงินบำนาญ (ฉบับจริง) เดือนละไม่น้อยกว่า 65,000 บาท

    หรือมีบัญชีเงินฝากและรายได้/เงินบำนาญ (ต่อเดือน X 12) รวมกันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท (กรณีแสดงสำเนาบัญชีเงินฝาก ให้แสดงหนังสือรับรองจากธนาคารฉบับจริงด้วย)

    (หมายเหตุ ในการแสดงหลักฐานด้านการเงินนั้น ผู้ร้องอาจแสดงหลักฐานบัญชีเงินฝากหรือการมีรายได้ในประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือประเทศที่มีถิ่นพำนักก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบัญชีเงินฝากในประเทศไทย)

    - ใบรับรองการสอบประวัติอาชญากรรม (Criminal Record) จากประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือจากประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก (ใบรับรองอายุไม่เกิน 3 เดือน)

    - ใบรับรองแพทย์จากประเทศที่ยื่นคำร้องที่แสดงว่าไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวงฉบับที่ 14

    พ.ศ. 2535 (ใบรับรองมีอายุไม่เกิน 3 เดือน)

    - ในกรณีมีความประสงค์จะนำคู่สมรสเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรด้วย แต่คู่สมรสไม่มีคุณสมบัติที่จะขอรับการตรวจลงตราประเภท “O-A” (Long Stay) ได้ ให้แสดงหลักฐานทะเบียนสมรส ทั้งนี้ คู่สมรสจะได้รับการพิจารณาให้ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส “O” พำนักได้ 3 เดือน






    .

    ตอบลบ
  19. 4. ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา

    Non-Immigrant Visa รหัส “O-A” (Long Stay) อายุวีซ่า 1 ปี ชนิดใช้ได้หลายครั้ง (multiple entries) ค่าธรรมเนียม 5,000 บาท



    คำแนะนำสำหรับผู้ที่ได้รับการตรวจลงตรา Non-Immigrant Visa รหัส “O-A” (Long Stay)

    - เมื่อคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส “O-A” (Long Stay) เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะประทับอนุญาตให้อยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เดินทางเข้า

    - เมื่อเดินทางเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรครบ 90 วัน จะต้องรายงานตนต่อเจ้าหน้าที่ และครั้งต่อไปต้องรายงานตนทุกๆ 90 วัน ซึ่งสามารถรายงานตนต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ ท้องที่ที่ตนพักอาศัย หรือกรณีที่ไม่มีด่านตรวจคนเข้าเมือง ให้รายงานที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่ตนพักอาศัย

    การรายงานตนสามารถรายงานโดยส่งทางไปรษณีย์ได้ โดยปฏิบัติดังนี้ (1) ส่งแบบฟอร์มการแจ้งที่กำหนด (แบบ ตม. 47) พร้อมด้วยสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลต่างด้าว และหน้าที่ปรากฏการตรวจลงตราประทับขาเข้าครั้งล่าสุด (2) หากเป็นการแจ้งครั้งที่ 2 ขึ้นไป ให้แนบใบตอบรับการแจ้งครั้งก่อนมาแสดงด้วย (3) สอดซองเปล่าติดแสตมป์จ่าหน้าซองถึงบุคคลต่างด้าวผู้แจ้ง (4) ส่งเอกสารทั้งหมดมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ภายใน 7 วันล่วงหน้าก่อนครบกำหนดทุก 90 วัน มายังงาน กก. 1 งานตรวจคนเข้าเมือง 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 ทั้งนี้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะส่งใบตอบรับการแจ้งให้แก่คนต่างด้าวผู้แจ้งไว้ใช้อ้างอิงในครั้งต่อไปด้วย

    - เมื่อพำนักในราชอาณาจักรครบ 1 ปี หากประสงค์จะพำนักอยู่ต่อไป ให้ยื่นคำขออยู่ต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยแสดงหลักฐานการโอนเงินหรือการมีเงินฝากในราชอาณาจักร จำนวนไม่น้อยกว่า 800,000 บาท หรือหนังสือรับรองรายได้หรือบำนาญเดือนละไม่น้อยกว่า 65,000 บาท อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกันปีละไม่น้อยกว่า 800,000 บาท หากมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้อง จะได้รับอนุญาตให้อยู่ต่ออีกคราวละ 1 ปี












    .

    ตอบลบ
  20. หลักเกณฑ์การตรวจลงตราแก่คนต่างด้าวที่เดินทางมาจากประเทศที่เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง




    กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวง เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547 และ 8 เมษายน 2553 ให้ผู้เดินทางที่มาจากประเทศที่เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง ต้องปฏิบัติดังนี้ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศเขตติดโรคไข้เหลือง จะต้องมีใบสำคัญรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง ใบสำคัญรับรองนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ได้ภายหลังการฉีดวัคซีนแล้ว 10 วัน และจะต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี ในรายที่มีการฉีดวัคซีนซ้ำภายในเวลา 10 ปี นับจากการฉีดวัคซีนครั้งแรกจะเริ่มมีผลใช้ได้นับตั้งแต่วันที่ฉีดวัคซีน ถ้าผู้เดินทางผู้ใดไม่มีใบสำคัญรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองดังกล่าว ผู้นั้นอาจต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง และให้อยู่ในระหว่างกักกันตัว (Quarantine) มีกำหนด 6 วัน

    คนต่างด้าวที่เดินทางมาจากประเทศเขตติดโรคไข้เหลืองจะต้องแสดงเอกสาร เรียกว่า“ เอกสารระหว่างประเทศรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เหลือง”
    (International Health Certificate on Yellow Fever Vaccination) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางถึงประเทศไทย จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้ (ระเบียบปฏิบัตินี้ใช้บังคับกับผู้ถือหนังสือเดินทางทุกประเภท รวมทั้งผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการด้วย)

    สำหรับบุคคลทั้ง 45 สัญชาติดังกล่าว กรณีที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศอื่นที่มิใช่เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง หรือมิได้เดินทางมาจากประเทศที่อยู่ในรายชื่อเขตติดโรคไข้เหลือง ไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรอง International Health Certificate มาแสดงประกอบคำร้องขอรับการตรวจลงตรา ณ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ทั้งนี้ ควรเตรียมใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงว่าตนมิได้พำนักอยู่ในประเทศเขตติดโรคไข้เหลืองมาแสดงต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพื่อป้องกันปัญหาความไม่สะดวกอันอาจจะเกิดขึ้น

    รายชื่อประเทศหรือดินแดนที่เป็นเขตติดโรคไข้เหลืองมีดังนี้

    (1) สาธารณรัฐโบลิเวีย (Republic of Bolivia)
    (2) สาธารณรัฐเอกวาดอร์ (Republic of Ecuador)
    (3) สาธารณรัฐปานามา (Republic of Panama)
    (4) สาธารณรัฐเวเนซุเอลา (Republic of Venezuela)
    (5) สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federative Republic of Brazil)
    (6) ดินแดนเฟรนช์เกียนา (French Guiana)
    (7) สาธารณรัฐเปรู (Republic of Peru)
    (8) สาธารณรัฐโคลอมเบีย (Republic of Colombia)
    (9) สาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา (Cooperative Republic of Guyana)
    (10) สาธารณรัฐซูรินาเม (Republic of Suriname)
    (11) สาธารณรัฐแองโกลา (Republic of Angola)
    (12) สาธารณรัฐบุรุนดี (Republic of Burundi)
    (13) สาธารณรัฐชาด (Republic of Chad)
    (14) สาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี (Republic of Equatorial Guinea)
    (15) สาธารณรัฐแกมเบีย (Republic of the Gambia)
    (16) สาธารณรัฐกินีบิสเซา (Republic of Guinea Bissau)
    (17) สาธารณรัฐมาลี (Republic of Mali)
    (18) สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย (Federal Republic of Nigeria)
    (19) สาธารณรัฐเซเนกัล (Republic of Senegal)
    (20) สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan)
    (21) สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (United Republic of Tanzania)
    (22) สาธารณรัฐเบนิน (Republic of Benin)
    (23) สาธารณรัฐแคเมอรูน (Republic of Cameroon)
    (24) สาธารณรัฐคองโก (Republic of the Congo)
    (25) สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia)
    (26) สาธารณรัฐกานา (Republic of Ghana)
    (27) สาธารณรัฐเคนยา (Republic of Kenya)
    (28) สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย (Islamic Republic of Mauritania)
    (29) สาธารณรัฐรวันดา (Republic of Rwanda)
    (30) สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน (Republic of Sierra Leone)
    (31) สาธารณรัฐโตโก (Republic of Togo)
    (32) ประเทศบูร์กินาฟาโซ (Burkina Faso)
    (33) สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (Central African Republic)
    (34) สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (Republic of Cote d’Ivoire)
    (35) สาธารณรัฐกาบอง (Gabonese Republic)
    (36) สาธารณรัฐกินี (Republic of Guinea)
    (37) สาธารณรัฐไลบีเรีย (Republic of Liberia)
    (38) สาธารณรัฐไนเจอร์ (Republic of Niger)
    (39) สาธารณรัฐประชาธิปไตยเซาตูเมและปรินซิปี (Democratic Republic of Sao Tome and Principe)
    (40) สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี (Somali Democratic Republic)
    (41) สาธารณรัฐยูกันดา (Republic of Uganda)
    (42) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of Congo)
    (43) สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก (Republic of Trinidad and Tobago)
    (44) สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic)
    (45) สาธารณรัฐปารากวัย (Republic of Paraguay)











    .

    ตอบลบ
  21. รายชื่อประเทศที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต ราชการ และธรรมดา กับประเทศไทย




    1. รายชื่อประเทศที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ กับประเทศไทย โดยสามารถพำนักได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 และ 90 วัน

    ระยะเวลา 30 วัน

    1. กัมพูชา
    2. จีน
    3. ฮ่องกง
    4. ลาว
    5. มาเก๊า
    6. มองโกเลีย
    7. พม่า
    8. โอมาน
    9. เวียดนาม



    ระยะเวลา 90 วัน

    1. อาร์เจนตินา (Argentina)
    2. ออสเตรีย (Austria)
    3. เบลเยียม (Belgium)
    4. ภูฏาน (Bhutan)
    5. บราซิล (Brazil)
    6. ชิลี (Chile)
    7. คอสตาริกา (Costa Rica)
    8 โครเอเชีย (Croatia)
    9 สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic)
    10.เยอรมนี (Germany)
    11. ฮังการี (Hungary)
    12. อินเดีย (India)
    13. อิสราเอล (Israel)
    14. อิตาลี (Italy)
    15. ญี่ปุ่น (Japan)
    16. สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea)
    17. ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
    18. มาเลเซีย (Malaysia)
    19. เม็กซิโก (Mexico)
    20. เนเธอร์แลนด์ (The Netherlands)
    21. เนปาล (Nepal)
    22. ปานามา (Panama)
    23. เปรู (Peru)
    24. ฟิลิปปินส์ (The Philippines)
    25. โปแลนด์ (Poland)
    26. โรมาเนีย (Romania)
    27. รัสเซีย (Russian Federation)
    28. สิงคโปร์ (Singapore)
    29. สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic)
    30. แอฟริกาใต้ (South Africa)
    31. สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland : including Liechtenstein)
    32. ตูนีเซีย (Tunisia)
    33. ตุรกี (Turkey)
    34. ยูเครน (Ukraine)
    35. อุรุกวัย (Uruguay)
    36. ฝรั่งเศส (France)*เฉพาะหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น
    37. สเปน (Spain)*เฉพาะหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น






    .

    ตอบลบ
  22. 2. รายชื่อประเทศที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดากับประเทศไทย โดยสามารถพำนักได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน 30 วัน และ 90 วัน

    ระยะเวลา 14 วัน

    1. กัมพูชา (เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป)


    ระยะเวลา 30 วัน

    1. ฮ่องกง
    2. ลาว
    3. มาเก๊า
    4. มองโกเลีย
    5. รัสเซีย
    6. เวียดนาม



    ระยะเวลา 90 วัน

    1. อาร์เจนตินา
    2. บราซิล
    3. ชิลี
    4. สาธารณรัฐเกาหลี
    5. เปรู


    หมายเหตุ หากบุคคลสัญชาติของประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับไทย ประสงค์จะเข้าประเทศไทยเพื่อทำงานหรือจะพำนักในไทยเกินกว่าระยะเวลาที่ระบุไว้ในความตกลง ยังจำเป็นต้องขอวีซ่าก่อนเดินทางมาประเทศไทย เนื่องจากคนต่างชาติจะต้องมีวีซ่าประเภทที่เหมาะสมในการยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานหรือการขออยู่ต่อ

    3. รายชื่อประเทศที่มีความตกลงยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรากับประเทศไทย


    1. มาเลเซีย
    2. ฟิลิปปินส์ (ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราสำหรับการพำนักที่มีระยะไม่เกิน 59 วัน)
    3. สิงคโปร์
    4. สาธารณรัฐเกาหลี
    5. ตูนีเซีย










    .

    ตอบลบ
  23. รายชื่อประเทศที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต ราชการ และธรรมดา กับประเทศไทย




    1. รายชื่อประเทศที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ กับประเทศไทย โดยสามารถพำนักได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 และ 90 วัน

    ระยะเวลา 30 วัน

    1. กัมพูชา
    2. จีน
    3. ฮ่องกง
    4. ลาว
    5. มาเก๊า
    6. มองโกเลีย
    7. พม่า
    8. โอมาน
    9. เวียดนาม



    ระยะเวลา 90 วัน

    1. อาร์เจนตินา (Argentina)
    2. ออสเตรีย (Austria)
    3. เบลเยียม (Belgium)
    4. ภูฏาน (Bhutan)
    5. บราซิล (Brazil)
    6. ชิลี (Chile)
    7. คอสตาริกา (Costa Rica)
    8 โครเอเชีย (Croatia)
    9 สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic)
    10.เยอรมนี (Germany)
    11. ฮังการี (Hungary)
    12. อินเดีย (India)
    13. อิสราเอล (Israel)
    14. อิตาลี (Italy)
    15. ญี่ปุ่น (Japan)
    16. สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea)
    17. ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
    18. มาเลเซีย (Malaysia)
    19. เม็กซิโก (Mexico)
    20. เนเธอร์แลนด์ (The Netherlands)
    21. เนปาล (Nepal)
    22. ปานามา (Panama)
    23. เปรู (Peru)
    24. ฟิลิปปินส์ (The Philippines)
    25. โปแลนด์ (Poland)
    26. โรมาเนีย (Romania)
    27. รัสเซีย (Russian Federation)
    28. สิงคโปร์ (Singapore)
    29. สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic)
    30. แอฟริกาใต้ (South Africa)
    31. สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland : including Liechtenstein)
    32. ตูนีเซีย (Tunisia)
    33. ตุรกี (Turkey)
    34. ยูเครน (Ukraine)
    35. อุรุกวัย (Uruguay)
    36. ฝรั่งเศส (France)*เฉพาะหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น
    37. สเปน (Spain)*เฉพาะหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น





    .

    ตอบลบ
  24. 2. รายชื่อประเทศที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดากับประเทศไทย โดยสามารถพำนักได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน 30 วัน และ 90 วัน

    ระยะเวลา 14 วัน

    1. กัมพูชา (เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป)


    ระยะเวลา 30 วัน

    1. ฮ่องกง
    2. ลาว
    3. มาเก๊า
    4. มองโกเลีย
    5. รัสเซีย
    6. เวียดนาม



    ระยะเวลา 90 วัน

    1. อาร์เจนตินา
    2. บราซิล
    3. ชิลี
    4. สาธารณรัฐเกาหลี
    5. เปรู


    หมายเหตุ หากบุคคลสัญชาติของประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับไทย ประสงค์จะเข้าประเทศไทยเพื่อทำงานหรือจะพำนักในไทยเกินกว่าระยะเวลาที่ระบุไว้ในความตกลง ยังจำเป็นต้องขอวีซ่าก่อนเดินทางมาประเทศไทย เนื่องจากคนต่างชาติจะต้องมีวีซ่าประเภทที่เหมาะสมในการยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานหรือการขออยู่ต่อ

    3. รายชื่อประเทศที่มีความตกลงยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรากับประเทศไทย


    1. มาเลเซีย
    2. ฟิลิปปินส์ (ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราสำหรับการพำนักที่มีระยะไม่เกิน 59 วัน)
    3. สิงคโปร์
    4. สาธารณรัฐเกาหลี
    5. ตูนีเซีย










    .

    ตอบลบ
  25. คำถาม-คำตอบ


    เกี่ยวกับการตรวจลงตรา (visa) และเอกสารเดินทางคนต่างด้าว




    การตรวจลงตรา (Visa)

    ถาม : visa คืออะไรครับ คนไทยต้องใช้หรือไม่ครับ

    ตอบ : เวลาที่จะเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งที่จำเป็นต้องมีก็คือ (1) หนังสือเดินทาง (2) visa เข้าประเทศนั้นในหนังสือเดินทาง (3) ตั๋วเครื่องบิน (4) เงินสำหรับใช้จ่าย เป็นเงินสกุลท้องถิ่นหรือเงินสกุลหลัก
    ที่ประเทศนั้นๆ ยอมรับค่ะ

    สรุปอย่างง่ายๆ visa คือการขออนุญาตเข้าประเทศอื่นค่ะ คนไทยต้องมี visa ก่อนที่จะเดินทาง
    ไปประเทศต่างๆ ค่ะ

    ถาม : ทราบมาว่ามีบางประเทศที่คนไทยไม่ต้องขอ visa ก่อนเข้าประเทศของเขา ใช่ไหมครับ

    ตอบ : ถูกต้องค่ะ มีหลายประเทศที่รัฐบาลเราไปทำความตกลงเอาไว้เพื่อให้เดินทางไปมากันได้สะดวก
    และมีอีกหลายประเทศที่เขาอำนวยความสะดวกให้คนไทยเป็นพิเศษ ปัจจุบัน (เมษายน 2551)
    มีอยู่ 19 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ที่ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยสามารถเดินทางเข้าไป
    ท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องใช้ visa ได้แก่ 1. อาร์เจนตินา (อยู่ได้ 90 วัน) 2. บาห์เรน (อยู่ได้ 14 วัน)
    3. บราซิล (90 วัน) 4. บรูไน (14 วัน) 5. ชิลี (90 วัน) 6. ฮ่องกง (30 วัน) 7. อินโดนีเซีย (30 วัน)
    8. เกาหลีใต้ (90 วัน) 9. ลาว (30 วัน) 10. มาเก๊า (30 วัน) 11. มองโกเลีย (30 วัน) 12. มาเลเซีย
    (30 วัน) 13. มัลดีฟส์ (30 วัน) 14. เปรู (90 วัน) 15. ฟิลิปปินส์ (21 วัน) 16. รัสเซีย (30 วัน)
    17. สิงคโปร์ (30 วัน) 18. แอฟริกาใต้ (30 วัน) 19. เวียดนาม (30 วัน)

    สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ ปัจจุบัน รัฐบาลไทยก็มีความตกลงกับ 42 ประเทศ
    ให้สามารถเดินทางไปราชการได้โดยไม่ต้องใช้ visa รายชื่อประเทศดูได้ใน www.consular.go.th ในหน้าของกองตรวจลงตราฯ ค่ะ

    ถาม : ตรวจดูรายชื่อประเทศแล้ว การไปหลายๆ ประเทศยังต้องขอ visa ก่อน
    เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญีปุ่น อังกฤษ จะต้องทำอย่างไรเพื่อจะได้ visa ครับ

    ตอบ : ที่ที่เราจะไปขอ visa ก็คือสถานทูตของประเทศที่เราจะไป เช่น จะไปสหรัฐฯ ก็ต้องขอ visa
    ที่สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ หรือสถานกงสุลสหรัฐที่เชียงใหม่ เป็นต้น ต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง ก็ต้องสอบถามกับสถานทูตของประเทศนั้นๆ ค่ะ

    ถาม : ไปเที่ยวอย่างเดียวกับไปทำอย่างอื่น visa แตกต่างกันไหมครับ

    ตอบ : วัตถุประสงค์ของการเดินทางก็เป็นปัจจัยสำคัญค่ะ เช่น การไปเที่ยวกับการไปเรียน ก็ต้องใช้ visa
    คนละประเภท และเอกสารหลักฐานในการขอก็ไม่เหมือนกัน ค่าธรรมเนียมไม่เท่ากัน และระยะเวลา
    ที่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศของเขาก็แตกต่างกันด้วยค่ะ

    ต้องขอให้จำไว้เสมอนะคะว่า การไปอยู่ในประเทศอื่นนั้น หากไม่ได้พำนักอยู่โดยมีวัตถุประสงค์
    แบบเดียวกับที่ตอนที่ขอ visa ไว้ เป็นการผิดกฎหมายนะคะ เช่น ขอ visa ไปเที่ยว แต่จริงๆ
    ไปทำงาน






    .

    ตอบลบ
  26. ถาม : ผมเป็นนักธุรกิจ ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยมาก โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน
    และจีน มีคำแนะนำไหมครับ

    ตอบ : ไทยเป็นสมาชิกของ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ซึ่งในกรอบความร่วมมือนี้
    ก็มีการทำความตกลงให้นักธุรกิจเดินทางไปมาภายใน APEC ได้โดยสะดวกค่ะ

    นักธุรกิจไทยสามารถยื่นคำร้องขอมี ABTC (APEC Business Travel Card) ซึ่งจะอำนวยความ
    สะดวกในการเดินทางไปประกอบธุรกิจในอีก 17 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ คือ ออสเตรเลีย บรูไน
    ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู ฟิลิปปินส์
    ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม โดยไม่ต้องไปขอ visa กับสถานทูตแต่ละประเทศ
    เลยค่ะ

    นักธุรกิจที่สนใจสามารถยื่นคำร้องและสอบถามรายละเอียดได้จากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน
    (กกร.) ได้ที่หมายเลข 0-2225-5474 หรือ 0-2622-1111 ต่อ 649 ค่ะ

    ถาม : เพื่อนผมบอกว่า ถ้าไปยุโรป ขอ visa ครั้งเดียว เข้าได้หลายประเทศ

    ตอบ : ประเทศในยุโรป จำนวน 24 ประเทศ มีการทำความตกลงกันโดยการออก visa พิเศษ ที่มีชื่อว่า “Schengen Visa” เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนประเทศต่างๆ ค่ะ คนไทยก็มีสิทธิขอ visa นี้ค่ะ ผู้ที่มี Schengen Visa สามารถเดินทางเข้าประเทศเหล่านี้โดยไม่ต้องขอ visa กับทุกประเทศอีก : ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี กรีซ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน เช็ค เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย ฮังการี มอลตา
    โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย

    คุณจะสามารถพำนักอยู่ได้รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ขอทราบรายละเอียดและยื่นคำร้องขอ Schengen Visa ได้ที่สถานทูตประเทศดังกล่าวค่ะ ทั้งนี้ การยื่นขอ Schengen Visa จะต้องเป็นการขอที่สถานทูตของประเทศที่คุณจะไปพำนักอยู่นานที่สุด แต่หากไม่สามารถ
    ระบุได้ชัดเจน ก็ต้องไปขอที่สถานทูตของประเทศแรกที่จะเดินทางเข้าค่ะ

    ถาม : ผมถือหนังสือเดินทางราชการ กำลังจะไปประชุมที่กรุงเวียนนา โดยจะไปเปลี่ยนเครื่อง
    ที่สนามบินกรุงเอเธนส์ ทราบมาว่าถ้าเดินทางผ่านกรีซเพื่อเปลี่ยนเครื่องอย่างเดียว
    ไม่ต้องขอ visa และไทยก็มีความตกลงกับออสเตรียในการยกเว้นการตรวจลงตรา
    หนังสือเดินทางทูตและราชการ ดังนั้น การเดินทางของผมครั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องขอ visa
    เลยใช่ไหมครับ?

    ตอบ : กรณีนี้ ต้องขอ Schengen Visa ก่อนค่ะ แม้ว่าคุณถือหนังสือเดินทางราชการก็ตาม
    ทางการกรีซแจ้งว่า ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยทุกประเภท หากเดินทางผ่านกรีซไปประเทศ
    Schengen อื่น โดยกรีซเป็นประเทศแรกของ Schengen ที่เดินทางเข้า บุคคลผู้นั้นจะต้องขอ Schengen Visa ก่อนการเดินทาง ไม่ว่าประเทศ Schengen ที่เดินทางเข้าต่อจากนั้น จะมีความตกลง
    ในการยกเว้นการตรวจลงตรากับไทยหรือไม่ก็ตามค่ะ

    ในขณะเดียวกัน หากเป็นการเดินทางผ่านกรีซเพื่อขึ้นเครื่องบินต่อไปประเทศอื่นที่ไม่ใช่ Schengen
    โดยไม่ออกไปนอกท่าอากาศยานกรุงเอเธนส์ ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยทุกประเภทไม่จำเป็นต้องขอ
    visa เข้ากรีซก่อนการเดินทางค่ะ

    ประเทศ Schengen มี 24 ประเทศ : ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส
    เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี กรีซ ลักเซมเบิร์ก
    เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน
    เช็ค เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย ฮังการี มอลตา
    โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย

     ประเทศ Schengen ที่มีความตกลง : ออสเตรีย เบลเยียม เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก
    ยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง เนเธอร์แลนด์ เช็ค ฮังการี โปแลนด์ และสโลวาเกีย
    ทูตและราชการกับไทย 10 ประเทศ

     ประเทศ Schengen ที่ประกาศยกเว้น : เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน
    การตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต
    และราชการให้ไทยฝ่ายเดียว 4 ประเทศ

     ประเทศ Schengen ที่ผู้ถือหนังสือ : ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ กรีซ โปรตุเกส สเปน เอสโตเนีย
    ทูตและราชการของไทยต้องขอรับการ ลัตเวีย ลิธัวเนีย มอลตา และสโลวีเนีย
    ตรวจลงตรา 10 ประเทศ




    .

    ตอบลบ
  27. ถาม : กองตรวจลงตราฯ ที่กรมการกงสุล มีหน้าที่อะไรเกี่ยวกับ visa ครับ

    ตอบ : หน้าที่หลักของกองตรวจลงตราฯ คือการดูแลการออก visa ของสถานเอกอัครราชทูต
    และสถานกงสุลของไทยในต่างประเทศสำหรับคนต่างชาติที่จะเดินทางเข้าเมืองไทยค่ะ
    นอกจากนี้ กองตรวจลงตราฯ ก็มีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้คนต่างชาติที่เป็นนักการทูต
    หรือเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศที่พำนักอยู่ในเมืองไทย เดินทางกลับเข้าเมืองไทยได้อีก
    (Re-entry)

    หากคนต่างชาติทั่วไปที่อยู่ในเมืองไทย ต้องการติดต่อเรื่อง visa ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเปลี่ยนประเภท
    visa หรือการขอขยายเวลาการพำนักในเมืองไทย ต้องติดต่อที่สำนักงาน ต.ม. ค่ะ โทรศัพท์ไปสอบถามก่อนได้ค่ะที่หมายเลข 0-2287-3101 ถึง 10

    อนึ่ง กองตรวจลงตราฯ ก็สามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการขอ visa ไปต่างประเทศของคนไทย
    ได้ค่ะ แต่ข้อมูลในรายละเอียดจะต้องไปสอบถามจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ในเมืองไทย
    เพราะเป็นอำนาจของแต่ละประเทศในการออก visa ให้คนต่างชาติเข้าประเทศของเขา

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น คนต่างชาติที่จะเข้ามาในเมืองไทย ก็ต้องขอ visa ก่อนใช่ไหมครับ

    ตอบ : ใช่แล้วค่ะ คนต่างชาติที่จะเข้ามาในเมืองไทยก็ต้องขอ visa ที่สถานทูตหรือสถานกงสุล
    ของไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้นๆ ก่อน แต่ก็มีหลายประเทศค่ะที่สามารถเข้าเมืองไทยได้
    โดยไม่ต้องขอ visa หรือขอ visa ที่สนามบินก็ได้ สามารถตรวจสอบรายชื่อประเทศดังกล่าวได้
    จาก www.consular.go.th หรือ www.mfa.go.th นะคะ

    ถาม : เพื่อนผมเป็นคนนิวซีแลนด์มีธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่นิวซีแลนด์ ชอบเมืองไทยมากเลยเดินทางเข้ามาเที่ยวบ่อย เพราะไม่ต้องใช้ visa ด้วย บางครั้งใน 1 ปี เดินทางเข้า-ออกเมืองไทยบ่อยครั้งมากจนนับได้ว่าอยู่ในเมืองไทยมากกว่าอยู่ในนิวซีแลนด์เสียอีก แต่ตอนนี้ ทราบว่า ต.ม.
    มีระเบียบใหม่เกี่ยวกับระยะเวลาที่อนุญาตให้คนต่างชาติพำนักอยู่หากเข้ามาโดยไม่มี visa
    ใช่ไหมครับ?

    ตอบ : ถูกต้องค่ะ เพื่อไม่ให้คนต่างชาติจำนวนหนึ่งอาศัยช่องทางในการได้รับการยกเว้น visa เดินทาง
    เข้าออกหลายครั้งเพื่อลักลอบทำงานในเมืองไทยอย่างผิดกฎหมาย สำนักงาน ต.ม. จึงออก
    มาตรการป้องกันไว้ ปัจจุบัน คนต่างชาติ 42 ประเทศ รวมถึงนิวซีแลนด์ สามารถเดินทางเข้าประเทศ
    ไทยเพื่อการท่องเที่ยวโดยได้รับการยกเว้น visa (เรียกว่า ผ. 30) ซึ่งเจ้าหน้าที่ ต.ม. จะอนุญาต
    ให้อยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน และรวมแล้วต้องไม่เกิน 90 วันภายใน 6 เดือนนับจากวันที่เดินทางเข้าครั้งแรกค่ะ

    ในกรณีอย่างเพื่อนของคุณนี้ ถ้าประสงค์จะท่องเที่ยวระยะยาวจริงๆ ขอแนะนำให้ขอ visa นักท่องเที่ยว
    จากสถานทูตไทยที่กรุงเวลลิงตัน หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่เมืองโอ๊คแลนด์ ก่อนที่จะเดินทางเข้าเมืองไทย เพราะจะได้รับอนุญาตให้อยู่ได้นานกว่าการเข้ามาโดยไม่มี visa ค่ะ

    ถาม : อาจารย์ของผมเป็นคนญี่ปุ่น เข้ามาเที่ยวเมืองไทยโดยได้รับการยกเว้น visa
    ได้รับอนุญาตจาก ต.ม. ให้อยู่ได้ 30 วัน สัปดาห์หน้าก็จะครบกำหนดแล้ว แต่บังเอิญว่า
    ท่านประสบอุบัติเหตุเล็กน้อย ต้องพักรักษาตัวอีกระยะหนึ่งก่อนจะเดินทางกลับญี่ปุ่นได้
    ทำอย่างไรดีครับ

    ตอบ : ขอแนะนำให้อาจารย์ของคุณขอใบรับรองแพทย์ไปแสดงกับสำนักงาน ต.ม. ที่ไหนก็ได้ค่ะ
    แต่ต้องดำเนินการก่อนที่จะครบ 30 วันนะคะ สำนักงาน ต.ม. จะพิจารณาอนุญาตให้อยู่ต่อได้ ตามความจำเป็นค่ะ

    การที่คนต่างชาติอยู่เกินกำหนด โดยที่ไม่ขออนุญาตก่อน เมื่อเดินทางออกจากเมืองไทย
    จะถูกปรับตามจำนวนวันที่อยู่เกินกำหนดค่ะ (ค่าปรับวันละ 500 บาท หรือรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท)







    .

    ตอบลบ
  28. ถาม : ผมทำธุรกิจส่งออก กำลังขยายกิจการ อยากจะจ้างคนจีนไว้ช่วยทำตลาดจีน
    ควรทำอย่างไรบ้างครับ

    ตอบ : ขอแนะนำให้ปรึกษากรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานก่อนค่ะ เพราะมีกฎหมายและระเบียบ
    ต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการจ้างคนต่างชาติ (www.doe.go.th)

    สิ่งที่จำเป็นสำหรับนายจ้างก็คือการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (work permit หรือ ต.ท. 2)
    ให้คนต่างชาตินั้นๆ ขอแนะนำให้คุณยื่นขอใบอนุญาตทำงานล่วงหน้า (แบบฟอร์ม ต.ท. 3)
    หากกรมการจัดหางานพิจารณาแล้วเห็นควรอนุมัติ ก็จะออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งคุณก็สามารถ
    ส่งเอกสารที่ว่านี้และเอกสารประกอบคำร้องต่างๆ ที่คุณสามารถตรวจสอบได้จาก www.mfa.go.th หรือ www.consular.go.th ให้คนต่างชาตินั้นไปยื่นขอ Non-Immigrant visa ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทย ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยค่ะ

    ถาม : เพื่อนผมเป็นคนอินเดีย มาเที่ยวเมืองไทยแล้วติดใจครับ อยากจะอยู่ทำงานที่นี่
    มีคำแนะนำไหมครับ

    ตอบ : ถ้าอยากจะทำงานในเมืองไทย ก็ต้องมีนายจ้างก่อนนะคะ หน่วยงานที่อนุญาตให้คนต่างชาติ
    ทำงานในเมืองไทยได้ก็คือกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ส่วนเรื่องการอนุญาตให้พำนัก
    อยู่ในเมืองไทยเป็นอำนาจตามกฎหมายของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

    ในกรณีนี้ หากเพื่อนของคุณมีนายจ้างแล้ว ก็ควรจะกลับไปขอ visa ทำงาน (เรียกชื่อทางการว่าNon-immigrant “B” visa) จากสถานทูตหรือสถานกงสุลของไทยในอินเดีย โดยมีเอกสารรับรองต่างๆ จากนายจ้างไปแสดง หรือหากให้นายจ้างยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้ล่วงหน้า
    (แบบฟอร์ม ต.ท. 3) ก็จะยิ่งทำให้ขอ visa ได้ง่ายมากขึ้นค่ะ และเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไปขอรับใบอนุญาตทำงาน จากนั้น ไปยื่นคำร้องขออนุญาตอยู่ต่อกับสำนักงาน ต.ม. ก่อนที่จะครบ
    กำหนด 90 วันค่ะ

    ถ้าเพื่อนของคุณอยู่ต่อในเมืองไทยและทำงานโดยไม่มี visa ที่ถูกต้อง และไม่มีใบอนุญาตทำงาน ถือเป็นการผิดกฎหมายนะคะ อาจถูกปรับและเนรเทศกลับประเทศได้

    ถาม : ผมมีแฟนเป็นคนฮ่องกง ตอนนี้อยู่ที่ฮ่องกง อยากจะแต่งงานและพาเธอมาอยู่ด้วยกัน
    ที่เมืองไทย ต้องทำอะไรบ้างครับ

    ตอบ : ก่อนอื่น ต้องจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนค่ะ สามารถเลือกจดทะเบียน
    ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายฮ่องกงก็ได้ หลังจากนั้น ก็นำหลักฐานการจดทะเบียนสมรส
    ไปยื่นขอ visa คู่สมรสได้ที่สถานกงสุลใหญ่ของไทยในฮ่องกง (เรียกว่า Non-immigrant “O”)
    เมื่อได้ visa แล้ว ก็สามารถอยู่ในเมืองไทยระยะยาวได้ แต่ต้องอย่าลืมไปขอต่ออายุการพำนัก
    ในเมืองไทยกับสำนักงาน ต.ม. แห่งไหนก็ได้เป็นประจำนะคะ

    เรื่องการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ สามารถขอคำแนะนำจากกองสัญชาติ
    และนิติกรณ์ กรมการกงสุล ได้ด้วยค่ะ

    ถาม : ดิฉันแต่งงานกับคนเยอรมนี จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเยอรมนีแล้ว
    ตอนนี้เราอยู่ด้วยกันที่แฟรงก์เฟิร์ต ดิฉันเคยพาเขามาเที่ยวเมืองไทยหลายครั้งแล้ว
    โดยไม่ได้ใช้ visa แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน อยากจะพาเขามาอยู่ระยะยาว ต้องทำอย่างไรบ้างคะ

    ตอบ : สามีของคุณสามารถยื่นขอ Non-Immigrant “O” Visa ในฐานะคู่สมรสของคนไทยได้
    ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตค่ะ ในการขอ visa นั้น ก็ต้องนำทะเบียนสมรส
    และหลักฐานไทยของคุณไปแสดงด้วย เมื่อสามีของคุณได้รับ visa แล้ว ก็สามารถเดินทาง
    เข้าเมืองไทย และจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในครั้งแรกไม่เกิน 90 วัน หลังจากนั้น ก็สามารถขอ
    อยู่ต่อที่สำนักงาน ต.ม. แห่งไหนก็ได้ โดยจะได้รับอนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปีค่ะ

    ถาม : ขอความกระจ่างอีกนิดหนึ่งครับ แปลว่า ถ้าคนต่างชาติเข้ามาอยู่ในเมืองไทยแล้ว
    สถานะเปลี่ยนไป เช่น แต่งงานกับคนไทย หรือเปลี่ยนจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างอื่น
    ต้องติดต่อเพื่อขออนุญาตกับสำนักงาน ต.ม. ใช่ไหมครับ

    ตอบ : ถูกต้องค่ะ ต.ม. จะพิจารณาตามเอกสารและความจำเป็น ในบางกรณี อาจได้รับคำแนะนำให้กลับไปประเทศของตนเพื่อขอ visa ที่ถูกต้องเข้ามา จะได้ไม่ประสบปัญหาในอนาคตค่ะ




    .

    ตอบลบ
  29. เอกสารเดินทางคนต่างด้าว (Travel Document for Aliens หรือ TD) และเรื่องอื่นๆ

    ถาม : เอกสารเดินทางคนต่างด้าวคืออะไรครับ ต่างจากหนังสือเดินทางอย่างไรครับ

    ตอบ : หนังสือเดินทางเป็นเอกสารการเดินทางสำหรับผู้ที่มีสัญชาติไทยค่ะ ส่วนคนต่างด้าว
    ที่พำนักอยู่ในเมืองไทย มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ที่ออกให้โดย ต.ม. แต่ไม่สามารถขอหนังสือเดินทาง
    จากประเทศที่ตนเคยมีสัญชาติเดิม สามารถขอเอกสารเดินทางคนต่างด้าว (TD)
    ซึ่งมีอายุการใช้งาน 1 ปี และสามารถต่ออายุ ได้ที่กองตรวจลงตราฯ เพื่อใช้เดินทาง
    ไปต่างประเทศชั่วคราวได้ค่ะ

    นอกจากคนต่างด้าวที่มีใบถิ่นที่อยู่แล้ว บุคคลไร้สัญชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย
    และคนต่างด้าวทีได้รับถิ่นที่อยู่ถาวรภายใต้โครงการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ 10 ล้านบาท
    ก็มีสิทธิยื่นขอ TD ได้เช่นกันค่ะ

    เอกสารประกอบต่างๆ ในการขอ TD ปรากฎใน www.consular.go.th หรือ www.mfa.go.th ค่ะ

    ถาม : พอได้รับ TD แล้วต้องทำอะไรบ้างครับ

    ตอบ : อย่างแรกที่ต้องทำคือไปยื่นคำร้องขอ Re-entry Permit จากสำนักงาน ต.ม. ค่ะ
    สำนักงาน ต.ม. จะออก Re-entry Permit ให้โดยมีอายุเท่ากับ TD จากนั้น ก็นำ TD ไปขอ visa
    เข้าประเทศที่คุณจะเดินทางไปจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ค่ะ

    ถาม : คุณแม่ของผมเป็นคนต่างด้าว แต่ตอนนี้มีหนังสือเดินทางจีนอยู่ด้วย จะขอ TD ได้ไหมครับ

    ตอบ : กรมการกงสุลไม่สามารถออก TD ให้กับบุคคลที่มีหนังสือเดินทางของประเทศอื่นค่ะ
    ในกรณีเช่นนี้ คุณแม่ของคุณสามารถใช้หนังสือเดินทางจีนเดินทางออกจากเมืองไทยได้ค่ะ
    แต่ควรปรึกษากับ ต.ม. ก่อนล่วงหน้าให้แน่ใจว่าต้องดำเนินการอะไรหรือไม่ถึงจะสามารถเดินทาง
    กลับเข้ามาเมืองไทยได้อย่างไม่มีปัญหา

    ถาม : คุณพ่อผมเป็นคนต่างด้าว อยากให้ท่านได้รับสัญชาติไทย จะได้เปลี่ยนจากถือ TD
    เป็นหนังสือเดินทางไทย ต้องทำอย่างไรบ้างครับ

    ตอบ : การได้สัญชาติไทยอยู่ในอำนาจการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทยค่ะ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่
    ในเมืองไทยและประสงค์จะได้สัญชาติไทย ต้องไปยื่นคำร้องขอที่กองตำรวจสันติบาล
    สามารถขอคำแนะนำในเบื้องต้นได้ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุลค่ะ

    ถาม : สามารถขอต่ออายุ TD ในต่างประเทศได้ไหมครับ คุณลุงของผมเป็นคนต่างด้าว
    ใช้ TD เดินทางไปเยี่ยมญาติที่เกาหลีใต้ แล้วไปล้มป่วยอยู่ที่นั่น เกรงว่า TD จะหมดอายุ
    เสียก่อนที่ท่านจะหายป่วยและเดินทางกลับได้

    ตอบ : ในหลักการแล้ว สถานทูตสถานกงสุลใหญ่ไม่สามารถต่ออายุ TD ให้ได้ค่ะ หากผู้ที่ถือ TD
    ไม่เดินทางกลับประเทศไทยระหว่างที่ TD และ Re-entry Permit ยังมีอายุอยู่
    สถานะของคนต่างด้าวที่ได้รับใบถิ่นที่อยู่ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยนะคะ

    หากเป็นกรณีที่สุดวิสัยจริงๆ เช่น เจ็บป่วยในต่างประเทศ ขอให้ติดต่อสถานทูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทยที่อยู่ใกล้ที่สุด พร้อมแสดงหลักฐานประจำตัวต่างๆ รวมถึงใบรับรองแพทย์ค่ะ
    และสถานทูต/สถานกงสุลใหญ่จะหารือกับกองตรวจลงตราฯ กรมการกงสุล เพื่อช่วยหาทางออกให้ต่อไปค่ะ








    .

    ตอบลบ
  30. ถาม : นอกจากหนังสือเดินทางและเอกสารเดินทางคนต่างด้าวแล้ว ผมเคยได้ยินว่า
    มีเอกสารที่เรียกว่า Emergency Certificate ด้วย คืออะไรครับ

    ตอบ : Emergency Certificate หรือ EC คือเอกสารการเดินทางที่กองตรวจลงตราฯ กรมการกงสุล
    ออกให้กับคนต่างชาติในการเดินทางออกจากเมืองไทยแบบฉุกเฉินค่ะ กลุ่มคนต่างชาติที่มีสิทธิ
    ขอ EC เป็นคนกลุ่มพิเศษที่ไม่สามารถยื่นขอหนังสือเดินทางของประเทศใดๆ ในเมืองไทยได้
    เช่น (1) คนต่างชาติที่ทำหนังสือเดินทางหาย และไม่มีสถานทูตของตนตั้งอยู่ในเมืองไทย
    (2) บุตรของคนต่างชาติที่เกิดในเมืองไทย แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย และไม่มีสถานทูต
    ของตนตั้งอยู่ในเมืองไทย (3) เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยที่อยู่ในความดูแลของกรมพัฒนาสังคม
    และสวัสดิการ (4) คนต่างชาติที่ลี้ภัยทางการเมืองมาอยู่ในเมืองไทย









    .

    ตอบลบ
  31. บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค (APEC Business Travel Card หรือ ABTC)





    นักธุรกิจไทยสามารถยื่นคำร้องขอมีบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค (ABTC) ซึ่งเป็นโครงการในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย – แปซิฟิค (Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางติดต่อระหว่างนักธุรกิจของสมาชิกเอเปค บัตร ABTC เป็นเสมือนวีซ่า มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ถือบัตร ABTC สามารถใช้ควบคู่กับหนังสือเดินทางเพื่อเดินทางเข้าเขตเศรษฐกิจอื่นที่เข้าร่วมโครงการบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปคได้ (แทน business visa)

    ปัจจุบันสมาชิกเอเปคที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ มีจำนวน 18 เขตเศรษฐกิจ (จากจำนวนทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ) ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ ไทย ไต้หวัน และเวียดนาม โดยสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นสมาชิกชั่วคราว ซึ่งในชั้นนี้ผู้ถือบัตร ABTC ยังต้องขอวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ตามปกติ

    นักธุรกิจไทยผู้ถือบัตร ABTC ที่จะเดินทางไปติดต่อธุรกิจระยะสั้นสามารถเดินทางเข้าดินแดนของสมาชิกที่ร่วมในโครงการฯ ที่มีชื่อปรากฎอยู่บนด้านหลังของบัตร ABTC โดยไม่ต้องขอวีซ่า และผู้ถือบัตร ABTC ได้รับอนุญาตให้ใช้ช่องทางพิเศษสำหรับสมาชิกเอเปค (APEC Lane) ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ท่าอากาศยานนานาชาติของสมาชิกเอเปค

    ทั้งนี้ นักธุรกิจไทยที่มีความประสงค์จะขอทำบัตร ABTC สามารถยื่นคำร้อง ขอมีบัตร ABTC ผ่านสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย/หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ http://www.wtothailand.or.th/card.html หรือติดต่อที่คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.)
    โทรศัพท์ 0 2622 1111-4 ต่อ 422, 423 โทรสาร 0 2622 2184 E-mail kanchana@wtothailand.or.th

    ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้บัตร ABTC เข้าเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคที่เข้าร่วมโครงการฯ







    .

    ตอบลบ
  32. ความร่วมมือเรื่อง ACMECS Single Visa




    ความร่วมมือเรื่อง ACMECS Single Visa (ASV) เป็นโครงการความร่วมมือภายใต้
    กรอบความร่วมมือ ACMECS (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy) ซึ่งมีประเทศสมาชิกได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม
    ACMECS Single Visa (ASV) คือการตรวจลงตราเดียวที่ออกให้แก่คนต่างชาติ
    เพื่อใช้เดินทางเข้าประเทศสมาชิก ACMECS ได้มากกว่า 1 ประเทศ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับ Schengen Visa ของยุโรป ไทยเป็นผู้ริเริ่มโครงการ ACMECS Single Visa เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
    ในภูมิภาค โดยในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ACMECS เมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ได้ให้ความเห็นชอบในการดำเนินโครงการ ACMECS Single Visa ภายใต้แนวความคิด “Five Countries,
    One Destination” โดยให้ไทยกับกัมพูชาดำเนินโครงการนำร่อง และหลังจากที่มีการประชุมหารือ
    กันหลายครั้ง ในเดือนธันวาคม 2550 รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยและกัมพูชาก็ได้ลงนามความตกลง
    ACMECS Single Visa ไทย-กัมพูชา โดยจะเริ่มดำเนินการหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายดำเนินการตามกระบวนการภายในเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในชั้นนี้ คาดว่าน่าจะดำเนินการได้ภายในครึ่งปีแรก
    ของปี 2552
    คนต่างชาติที่ประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราเดียว หรือ ASV นี้ สามารถยื่นคำร้อง
    ได้ที่สถานทูต/สถานกงสุลไทย หรือสถานทูตกัมพูชาทุกแห่งทั่วโลก (ของไทยมี 90 แห่ง ของกัมพูชา
    มี 32 แห่ง) หากยื่นคำร้องผ่านสถานทูตกัมพูชา ฝ่ายกัมพูชาก็จะส่งคำร้องให้ฝ่ายไทยพิจารณาอนุมัติ
    (pre-clearance) ก่อนที่จะแจ้งให้สถานทูตกัมพูชาดำเนินการตรวจลงตราให้ เมื่อคนต่างชาติได้รับ
    ASV ก็จะสามารถเดินทางเข้าได้ทั้งไทยและกัมพูชา โดยจะได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทย
    ได้ครั้งละไม่เกิน 60 วัน และในกัมพูชาได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน (ด่านตรวจคนเข้าเมืองของไทยสำหรับ
    ASV จะมี 24 ด่าน ของกัมพูชาจะมี 17 ด่าน) โดยในกรณีที่ได้รับ ASV จากสถานทูตกัมพูชานั้น
    เมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย ก็จะต้องชำระค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง
    ของไทยด้วย (เท่ากับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว คือครั้งละ 1,000 บาท)
    ทั้งนี้ การตรวจลงตราเดียวนี้จะอยู่ในรูปของการตรวจลงตราโดยแผ่นปะ (visa sticker)
    ซึ่งจัดทำขึ้นใหม่สำหรับ ASV และอำนาจในการอนุญาตให้เข้าเมืองนั้น ยังอยู่ที่เจ้าหน้าที่ตรวจคน
    เข้าเมืองของแต่ละประเทศ การเริ่มต้นโครงการนำร่องนี้จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย
    และกัมพูชา ให้มีความสะดวก และมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงขึ้น ซึ่งความสำเร็จของโครงการนี้
    จะส่งผลให้ประเทศสมาชิก ACMECS อื่นๆ เห็นประโยชน์และให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมในลำดับ
    ต่อๆ ไป
    กองตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว กรมการกงสุล
    ธันวาคม 2551
    โทรศัพท์ 0 2575 1063 e-mail: consular03@mfa







    .

    ตอบลบ
  33. การออกเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าว (Travel Document for Aliens - T.D.)






    I. คุณสมบัติคนต่างด้าวที่สามารถยื่นคำร้องขอเอกสาร T.D.

    คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย หรือบุคคลที่ไม่อาจขอรับหรือถูกปฏิเสธการออกหนังสือเดินทางหรือเอกสารเดินทางจากทางการของประเทศที่ตนเคยได้รับสัญชาติเดิม

    บุคคลไร้สัญชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย

    คนต่างด้าวที่ได้รับถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยภายใต้โครงการให้ถิ่นที่อยู่ถาวรแก่คนต่างด้าวภายใต้โครงการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ 10 ล้านบาท


    II. เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

    แบบฟอร์มคำร้องกรอกข้อความสมบูรณ์


    ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ฉบับจริง (กรณีผู้ร้องไม่นำตัวจริงมาแสดง เจ้าหน้าที่จะไม่รับเรื่อง) พร้อมสำเนาภาพถ่ายหน้า 1-5 / หน้าย้ายที่อยู่ครั้งสุดท้ายซึ่งตรงกับทะเบียนบ้านปัจจุบัน / หน้าต่ออายุครั้งสุดท้าย อย่างละ 1 ชุด


    ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาภาพถ่าย 1 ชุด
    ( หมายเหตุ กรณีชื่อบิดา / มารดา / หรือ พ.ศ. เกิด ผิด ไม่ตรงกับที่ระบุในใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเจ้าหน้าที่จะอนุโลมรับเรื่อง โดยให้ผู้ร้องไปแก้ไขให้ถูกต้องและนำมาแสดงในวันที่รับเล่มได้ )
    ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ถ้ามี) พร้อมสำเนาภาพถ่าย หน้า 1-5 และหน้าอื่นๆ ที่มีการประทับตรา หรือ สลักหลังของกองตรวจคนเข้าเมือง อย่างละ 1 ชุด กรณีใบสำคัญถิ่นที่อยู่สูญหาย ให้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และใช้ใบแจ้งความเป็นหลักฐานแทนใบสำคัญถิ่นที่อยู่
    ( หมายเหตุ คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2480-2485 ไม่ได้ใบสำคัญ ถิ่นที่อยู่ จึงไม่ต้องแสดงหลักฐานในข้อนี้ )


    รูปถ่ายขนาด 2 นิ้วครึ่ง จำนวน 3 รูป หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายมานานไม่เกิน 6 เดือน
    III. ค่าธรรมเนียม

    500 บาท สำหรับการทำเล่มใหม่ หรือ ต่ออายุเล่มเดิม

    IV. อายุเอกสาร

    1 ปี

    สถานที่ยื่นคำร้อง

    กรมการกงสุล กองตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว ชั้น 3 (ช่อง 102-109) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210 โทร 981-7171 ต่อ 3201 หรือ 3202 หรือโทร 0-2575-1062 โทรสาร 0-2575-1066








    .

    ตอบลบ
  34. การออกเอกสารเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Certificate - E.C.)





    I. คุณสมบัติคนต่างด้าวที่สามารถยื่นคำร้องขอเอกสาร E.C.

    ผู้ลี้ภัยทางการเมือง

    เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์

    คนต่างด้าวที่ทำหนังสือเดินทางสูญหาย ซึ่งไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลของคนชาตินั้นในประเทศไทย

    ทารกของคนต่างด้าว ซึ่งไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลของคนชาตินั้นในประเทศไทย

    II. เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

    แบบฟอร์มคำร้องกรอกข้อความสมบูรณ์


    หนังสือแจ้งความ (กรณีเป็นคนต่างด้าวที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายและไม่มีสถานทูต/สถานกงสุลของคนชาตินั้นในประเทศไทย) พร้อมสำเนาภาพถ่าย 2 ชุด


    บัตรโดยสารเครื่องบินระบุวันที่จะเดินทางออกจากประเทศไทย พร้อมสำเนาภาพถ่าย 2 ชุด

    รูปถ่ายขนาด 2-2 นิ้วครึ่ง จำนวน 3 รูป หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำถ่ายมานานไม่เกิน 6 เดือน

    หนังสือแจ้งจากกระทรวงมหาดไทย (กรณีเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง) พร้อมสำเนาภาพถ่าย 2 ชุด

    สูติบัตร (กรณีเด็กเกิดใหม่) พร้อมสำเนาภาพถ่าย 2 ชุด

    หนังสือจากกรมประชาสงเคราะห์ (กรณีชาวต่างชาติรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์) พร้อมสำเนาภาพถ่าย 2 ชุด

    III. ค่าธรรมเนียม

    300 บาท

    IV. สถานที่ยื่นคำร้อง

    กรมการกงสุล กองตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว ชั้น 3 (ช่อง 102-109) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210 โทร 981-7171 ต่อ 3201 หรือ 3202 หรือ 0-2575-1062 โทรสาร 0-2575-1066








    .

    ตอบลบ