ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

08 มิถุนายน 2555

การขอสัญชาติไทยของชาวต่างชาติ

การขอสัญชาติไทยของชาวต่างชาติ



คำแนะนำในการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย


จากแนวทางประกอบการพิจารณาในการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไว้ดังนี้ ได้ให้ความเห็น ชอบแล้วเมื่อ 9 กรกฎาคม 2544 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ยื่นคำคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยไว้ ดังนี้


1.บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
2.มีความประพฤติดีโดยจะต้องผ่าการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม,ตรวจสอบพฤติการณ์
ทางด้านการเมือง,ยาเสพติด,ความมั่นคงของประเทศ และหมายจับต่างประเทศ
3.มีอาชีพเป็นหลักฐาน(ต้องมีหนังสือรับรองการประกอบอาชีพจากกองแรงงานต่างด้าวหรือ
แรงงานจังหวัด และต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด)ดังนี้
3.1กรณีเข้ามาเพื่อทำงานต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 80,000บาท โดยมี
หนังสือรับรองรายได้จากบริษัทหรือนายจ้างที่ทำงานอยู่ หรือเสียภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาในปีที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติตั้งแต่ 100,000บาทขึ้นไป
และมีหลักฐานการเสียภาษีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
3.2 กรณีอยู่ในราอาณาจักรไทยเพื่อเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม เช่น สมรสกับบุคคล
ที่มีสัญชาติไทย หรือ มีบุตรเกิดในประเทศไทย หรือจบการศึกษาใน ระดับ
อุดมศึกษาภายในประเทศไทยจะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า
เดือนละ 30,000บาท และมีหลักฐานการเสียภาษีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
4.มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
ไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยนับจากได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
หรือมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ที่ยืนยันได้ว่ามีภูมิลำเนาต่อเนื่องในราชอาณาจักรไทย
มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
5.มีความรูภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง(พูดและฟังภาษาไทยได้เข้าใจ)
และจะต้องร้องเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบีมีได้ และจำต้องผ่าการสัมภาษณ์จาก
5.1 กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะทำงานพิจารณา
กลั่นกรองคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
5.2 กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการ
ระดับมอบหมายเป็นประชาชนจังหวัด ซึ่งผู้ว่าราชการหรือรองผู้ว่าราชการ จังหวัดที่ได้รับ
หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นเลขานุการ
6.ผู้ยื่นคำขอจะต้องผ่านเกณฑ์การให้คะแนนตามผนวก ข. รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน
จึงจะได้รับการพิจารณา

7.เมื่อผู้ยื่นคำขอได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยแล้ว กระทรวงมหาดไทยจะแจ้งกระทรวง
การต่างประเทศดำเนินการแจ้งไปยังประเทศของผู้ยื่นคำขอ เกี่ยวกับการได้สัญชาติไทยดังกล่าว

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย


1.ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้ยื่นคำขอ(ถ่ายเอกสารทุกหน้าที่มีบันทึกรายการ 5 ชุด)
2.ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ของผู้ยื่น(ถ่ายเอกสาร 15 ชุด)
3.ใบอนุญาตทำงาน(ถ่ายเอกสาร 1 ชุด)
4.รูปถ่ายขนาด 2*2 นิ้ว (ชายใส่สูทผูกเนกไท หรือแต่งชุดพระราชทาน หญิงแต่งกายสุภาพชน)
5.สำเนาทะเบียนบ้านทั้งครอบครัวประกอบด้วยของผู้ยื่นฯของภรรยาหรือสามี และขอบุตร(ถ้ามี)
(ถ่ายเอกสาร 5 ชุด)(ผู้ยื่น,สามีหรือภรรยา และบุตร ถ้ามี)
6.สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ขอ ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศแปลแปลเป็นไทยให้สถาบัน
การแปลรับรองด้วย
7.หลักฐานการฝากเงินจากธนาคาร หรือหนังสือรับรองการฝากเงินจากธนาคาร
(ไม่ควรน้อยกว่า 80,000บาท )
8.หลักฐานการบริจาคการกุศล(ไม่น้อยกว่า 5,000บาท)
9.หลักฐานการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาของผู้ขอฯย้อนหลัง 3 ปี
ให้สรรพากรรับรองสำเนาถูกต้อง
10.หลักฐานของบริษัท ห้าง ร้านที่ผู้ขอทำงานอยู่ เช่น ทะเบียนการค้า ทะเบียนพานิชย์
หนังสือรับรองการจดทะเบียน บัญชีผู้ถือหุ้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.20)และอื่นๆ
(ถ่ายเอกสารอย่างละ 1 ชุด)
11.ภาษีนิติบุคคล(ภ.ง.ด.50) 3 ปีย้อนหลัง(กรณีผู้ขอฯมีหุ้นอยู่ในบริษัท)
12.หนังสือรับรองการทำงานระบุตำแหน่ง และอัตราเงินเดือน ออกโดยบริษัท ,ห้าง ,
ร้านที่ผู้ขอฯทำงานอยู่และลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท และประทับตราเป็นสำคัญ
13.สำเนาสูติบัตร หรือบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของคู่สมรส
และของบุตรทุกคน หากมีการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล ให้ถ่ายเอกสารมาประกอบด้วย
14.หลักฐานการศึกษาของผู้ยื่นคำขอฯและของบุตรทุกคน(ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศให้แปลเป็นไทยด้วย)
15.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้รับรอง(ผู้รับรอง 2 คน ถ่ายคนละ 1 ชุด)
16.พาสปอร์ตของผู้ยื่นคำขอฯ(ถ่ายเอกสาร 1 ชุด)
17.หนังสือรังรองการบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายของประเทศเดิม ที่ผู้ยื่นคำขอมีสัญชาติ


วันที่มายื่นคำร้องต้องนำเอกสารตัวจริงมาแสดงด้วย โดยผู้ขอต้องมายื่นคำขอด้วยตนเอง
โดยนำผู้รับรองมาสอบปากคำด้วยจำนวน 2 ปาก และเตรียมเงินค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอ
มาชำระด้วยจำนวน 5,000 บาท(ห้าพันบาทถ้วน)โดยยื่นคำขอที่ งาน 1 ฝอ.6บก.อก.บช.ส.
(แปลงสัญชาติ)อาคาร24 ชั้นล่างหากมีปัญหาหรือขัดข้องกรุณาสอบถามได้ที่
สอบถามได้ที่ โทร.0-2252-1714,0-2205-2970 และ 0-2252-2708 โทรสาร.0-2205-1901

การขอสัญชาติไทยของชาวต่างชาติ
การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
  • คุณสมบัติของผู้แปลงสัญชาติเป็นไทย
  1. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ถ้าต่ำกว่านั้นต้องมีเหตุอื่นประกอบ เช่น มีภรรยาเป็นคนสัญชาติไทย มี บุตรเกิดในประเทศไทย หรือเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (มหาวิทยาลัยเปิดต้องมีหน่วยกิตสะสม 15 หน่วยกิตขึ้นไป)
  2. ไม่เคยมีประวัติต้องโทษ เว้นประมาทหรือลหุโทษ แต่ไม่เกิน 2 ครั้ง
  3. ไม่ฝักใฝ่สัญชาติเดิม
  4. บำเพ็ญการกุศลและสาธารณประโยชน์
  5. ประกอบอาชีพเป็นหลักฐานและมีได้รายเดือนละ 5,000 บาท ขึ้นไป
  6. มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือมีภูมิลำเนาต่อเนื่อง 5 ปี ขึ้นไปแต่ต้องมีเหตุอื่นประกอบด้วยตาม ข้อ 1
  7. พูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ
  • หลักฐานการประกอบการยื่นคำขอแปลงเป็นสัญชาติไทย
  1. สำเนาทะเบียนบ้านทั้งครอบครัว มีชื่อผู้ยืนคำขอฯ ภรรยา และบุตรทุกคน 1 ชุด
  2. รูปถ่ายผู้ยืนคำขอฯ ขนาด 2 นิ้วครึ่ง จำนวน 12 รูป ชายแต่งชุดสากล หรือชุดพระราชทานหญิงแต่งกายสุภาพ
  3. สำเนาใบเสร็จภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.90 หรือ 91 หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม มาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (ย้อนหลัง 3 ปี)
  4. ใบเสร็จหรือใบอนุโมทนาบัตรที่เคยบริจาคเงินบำรุงการกุศลสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
  5. ใบเสร็จค่าเล่าเรียนหรือหนังสือรับรองการเรียนของบุตร หรือสำเนาประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตร ของบุตรคนละ 1 ชุด
  6. สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบุตร ด้านหน้า- หลัง และสำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ของบุตร (ถ้ามี) คนละ 1 ชุด
  7. สำเนาใบสำคัญการสมรส (ค.ร.3) 1 ชุด (กรณีมีภรรยาเป็นคนสัญชาติไทย ต้องจดทะเบียนสมรสก่อนยื่นคำขอ)
  8. สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือใบทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯหรือบริษัทฯ จำนวน 1 ชุด
  9. สำเนาใบเสร็จภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือสำเนาใบเสร็จภาษีการค้าย้ อนหลัง 3 ปี (ถ้ามี)
  10. หนังสือรับรองเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาสมุดฝากเงินธนาคารหน้าที่มีชื่อ และหน้าที่มียอด ฝากครั้ง สุดท้าย
  11. หนังสือรับรองการทำงาน และเงินเดือนที่ได้รับ (โดยทำหนังสือถึงสารวัตร แผนก 1 กองกำกับการ 3 กองตำรวจสันติบาล) พร้อมกับสำเนาใบทะเบียนการค้าฯ ทะเบียนพาณิชย์หนังสือรับรองการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนฯ หรือบริษัทฯ (ผู้ลงชื่อรับรองต้องเป็นผู้มีอำนาจผูกพันกับสถานประกอบการนั้น )
  12. สำเนาใบอนุญาติทำงาน 1 ชุด หน้า 2-3-4-5 และหน้าอื่น ๆ ที่ลงรายการไว้ โดยใบอนุญาตทำงานลง ตำแหน่ง อาชีพหรือวิชาชีพลักษณะของงาน, ท้องที่ที่ได้รับอนุญาต ชื่อนายจ้างหรือสถานที่ททำงานจะต้องตรงกับอาชีพปัจจุบัน
  13. ผู้รับรองซึ่งมีสัญชาติไทย 2 คน เพื่อยืนยันหลักทรัพย์ และความประพฤติของผู้ยื่นคำขอฯ
  14. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของภรรยา ด้านหน้า – หลัง 1 ชุด
  15. สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวทุกหน้าที่มีรายการบันทึก 1 ชุด
  16. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับรอง ด้านหน้า- หลัง คนละ 1 ชุด
  17. วันยื่นคำขอฯ ต้องนำหลักฐานต้นฉบับไปพบเจ้าหน้าที่ด้วย
  • การยื่นคำขอฯ
  1. ผู้ยื่นคำขอฯ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอฯ ต่อผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจ สันติบาล
  2. ผู้ยื่นคำขอฯ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอฯ ต่อหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด/ผู้กำกับตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
ค่าธรรมเนียม
  • คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยครั้งละ 5,000 บาท
  • คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยสำหรับบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู ้แปลงสัญชาติเป็นไทยคนหนึ่งครั้งละ 2,500 บาท
  • หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทยฉบับละ 500 บาท
  • ใบแทนหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทยฉบับละ 500 บาท
  • คำขอกลับคืนสัญชาติไทยครั้งละ 1,000 บาท
  • คำขออื่น ๆ ฉบับละ 5 บาท
น่ารู้
· หากบิดาเป็นคนไทย มารดาเป็นคนต่างด้าวและไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรที่เกิดนอกราชอาณาจักร จะได้สัญชาติไทย หรือไม่ ?
เดิมกฤษฎีกาวินิจฉัยไว้ว่าในกรณีเช่นนี้ บุตรจะได้สัญชาติไทย เพราะยึดหลักบิดาตามความเป็นจริงแต่คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 560/2543 ได้วางแนวไว้ว่าในกรณีนี้บุตรจะไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด เนื่องจากไม่ใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
· คนไทยเมื่อแปลงชาติเป็นคนต่างด้าวแล้ว จะเสียสัญชาติไทยโดยทันทีหรือไม่ ?
คนไทยที่แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าวย่อมเสียสัญชาติไทย แต่การนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น ดังนั้น มหาดไทยจึงขอให้สถานทูตส่งชื่อที่อยู่ของคนไทยที่แปลงชาติไปยังมหาดไทยเพื่อประกาศให้เสียสัญชาติในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
· ผู้เยาว์ซึ่งอายุยังไม่ถึง 20 ปี สามารถขอสละสัญชาติไทยด้วยตนเองได้หรือไม่ ? หากไม่ได้ จะให้มารดาเป็นผู้ขอสละสัญชาติแทนได้หรือไม่ ?
ไม่ได้ เพราะการสละสัญชาติไทยต้องกระทำเมื่ออายุครบ 20 ปีไปแล้ว และเนื่องจากการสละสัญชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอสละสัญชาติแทนได้
· เด็กซึ่งมีสองสัญชาติเนื่องจากมารดาไทยแต่งงานกับชาวต่างชาติ และอาศัยอยู่ในต่างประเทศจะต้องเกณฑ์ทหารหรือไม่ ?
ต้องเกณฑ์ โดยเมื่ออายุครบ 18 ปี ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน
· การได้สัญชาติย้อนหลังคืออะไร ?
เดิม พ.ร.บ. สัญชาติ ปี 2508 ยินยอมให้บุคคลได้สัญชาติไทยในวงจำกัด ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขในปี 2535 จึงได้เปิดโอกาสให้บุคคลได้รับสัญชาติไทยได้มากขึ้นรวมทั้งมีผลกับบุคคลที่เกิดก่อน วันที่ 26 ก.พ. 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ด้วย ดังนั้น บุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 26 ก.พ. 2535 และมิได้สัญชาติไทยเมื่อแรกเกิดจึงได้รับสัญชาติไทยเป็นการย้อนหลัง
· บุคคลที่มีสิทธิได้สัญชาติไทยมาแจ้งเกิดเมื่ออายุเกิน 20 ปีแล้ว สถานทูตจะรับแจ้งเกิดได้หรือไม่ ? และจะถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติหรือไม่ ?
ได้ เนื่องจากไม่มีข้อห้ามไว้แต่อย่างใด และไม่ถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติ
สรุปข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญชาติของบุคคล ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

๑) สำหรับบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย

กรณีที่ สัญชาติบิดา สัญชาติมารดา สถานภาพการสมรส สัญชาติบุตร ข้อกฎหมาย

๑ ไทย ไทย จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๒ ไทย ไทย ไม่จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๓ ไทย ต่างด้าว (มีใบฯ) จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๔ ไทย ต่างด้าว (มีใบฯ) ไม่จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๕ ไทย ต่างด้าว (๗ ทวิ) จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๖ ไทย ต่างด้าว (๗ ทวิ) ไม่จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๗ ต่างด้าว (มีใบฯ) ไทย จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๘ ต่างด้าว (มีใบฯ) ไทย ไม่จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๙ ต่างด้าว (๗ ทวิ) ไทย จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๑๐ ต่างด้าว (๗ ทวิ) ไทย ไม่จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๑๑ ต่างด้าว (มีใบฯ) ต่างด้าว (มีใบฯ) จด ไทย ม.๗(๒)

๑๒ ต่างด้าว (มีใบฯ) ต่างด้าว (มีใบฯ) ไม่จด ไทย ม.๗(๒)

๑๓ ต่างด้าว (มีใบฯ) ต่างด้าว (๗ ทวิ) จด ไม่ได้สัญชาติไทย ม.๗ทวิ, ม.๑๑

๑๔ ต่างด้าว (มีใบฯ) ต่างด้าว (๗ ทวิ) ไม่จด ไม่ได้สัญชาติไทย ม.๗ทวิ,ม.๑๑

๑๕ ต่างด้าว (๗ ทวิ) ต่างด้าว (มีใบฯ) จด ไม่ได้สัญชาติไทย ม.๗ทวิ, ม.๑๑

๑๖ ต่างด้าว (๗ ทวิ) ต่างด้าว (มีใบฯ) ไม่จด ไม่ได้สัญชาติไทย ม.๗ทวิ, ม.๑๑

๑๗ ต่างด้าว (๗ ทวิ) ต่างด้าว (๗ ทวิ) จด ไม่ได้สัญชาติไทย ม.๗ทวิ, ม.๑๑

๑๘ ต่างด้าว (๗ ทวิ) ต่างด้าว (๗ ทวิ) ไม่จด ไม่ได้สัญชาติไทย ม.๗ทวิ, ม.๑๑

๒) สำหรับบุคคลที่เกิดนอกราชอาณาจักรไทย

กรณีที่ สัญชาติบิดา สัญชาติมารดา สถานภาพการสมรส สัญชาติบุตร ข้อกฎหมาย

๑ ไทย ไทย จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๒ ไทย ไทย ไม่จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๓ ไทย อื่นๆ จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๔ ไทย อื่นๆ ไม่จด ไม่ได้สัญชาติไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๕ อื่นๆ ไทย จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

๖ อื่นๆ ไทย ไม่จด ไทย ม.๗(๑), ม.๑๐

* ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2543

4 ความคิดเห็น:

  1. คนต่างด้าวขอแปลงและโอนสัญชาติเป็นคนไทย



    การแนะนำว่าด้วยการยื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทย(โดยย่อ)

    อาศัยอำนาจตามระเบียบไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะ 88 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 และกระทรวงมหาดไทยวางระเบียบกวดขันเรื่องการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ลงวันที่ 2 กันยายน 2512 ผู้ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยต้องมีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์ ดังนี้

    1.ผู้ยื่นแปลงสัญชาติเป็นไทยต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่องกันนาน 10 ปี อายุ 40ปี ถ้าต่ำกว่านั้นต้องมีเหตุอื่นประกอบ เช่น มีภรรยาเป็นคนสัญชาติไทยและมีบุตรเกิดในประเทศไทย หรือเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ วิทยาลัยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี

    2.ประกอบอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง ถ้าเป็นลูกจ้างหรือพนักงาน ต้องมีรายได้เดือนละ 5,000 บาท ขึ้นไป

    3.ไม่เคยมีประวัติต้องโทษ เว้นประมาทหรือลหุโทษ แต่ไม่เกิน 2 ครั้ง
    4.พูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ


    หลักฐานประกอบการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย

    1.ถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านทั้งครอบครัว มีชื่อผู้ยื่นคำขอฯภรรยา และบุตรทุกคน รวม 1 ชุด

    2.ถ่ายรูปผู้ยื่นคำขอฯ ขนาด 2 นิ้วครึ่ง จำนวน 12 รูป ชายแต่งชุดสากล หรือชุดพระราชทาน หญิงแต่งกายสุภาพ

    3.ถ่ายใบเสร็จภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.90หรือ91ประจำปี พ.ศ.2522-2533-2534 หรือนำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 90 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร มาประกอบ

    4 นำใบเสร็จหรือบัตรอนุโมทนาบัตรที่เคยบริจาคเงินบำรุงการกุศลสาธารณะประโยชน์ต่างๆรวบรวมมาให้มาก

    5.นำใบเสร็จค่าเล่าเรียน หรือ หนังสือรับรองการเรียนของบุตรซึ่งกำลังเรียนมาประกอบหากบุตรจบการศึกษาแล้วให้ถ่ายประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรมาประกอบคนละ 1 แผ่น

    6.ถ่ายสูจิบัตร (ใบเกิด) ของบุตรมาประกอบคนละ 1 แผ่น หรือถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของบุตร ด้านหน้า - หลัง คนละ 1 แผ่น หากเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ให้ถ่ายมาด้วย

    7.ถ่ายใบสำเนาการสมรส ( ด.ร.3 ) 1 แผ่น ( มีภรรยาเป็นคนไทย ต้องจดทะเบียนสมรสก่อนยื่นคำขอฯ )

    8.ถ่ายใบทะเบียนการค้า ใบทะเบียนพาณิชย์ หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ หรือบริษัท ( ถ้ามีอย่างใดให้ถ่ายประกอบเรื่องอย่างละ 1 แผ่น )

    9.นำหนังสือรับรองเงินฝากธนาคาร ให้ธนาคารที่เปิดบัญชีฝากเงินไว้ออกหนังสือรับรอง หรือถ่ายสมุดฝากเงินธนาคาร หน้าที่มีชื่อและหน้าที่มียอดฝากครั้งสุดท้ายประกอบ

    10.ถ้าเป็นลูกจ้าง หรือพนักงาน ให้บริษัทฯห้างฯหรือสำนักงานออกหนังสือรับรองหน้าที่ และเงินเดือนที่ได้รับ โดยทำหนังสือถึงสารวัตร แผนก 1 กองกำกับการ 3 กองตำรวจสันติบาลพร้อมกับถ่ายใบทะเบียนการค้าฯทะเบียนพาณิชย์ หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ หรือบริษัทฯ (ผู้ลงชื่อรับรองต้องเป็นผู้มีอำนาจผูกพันกับสถานประกอบการนั้น)

    11.ถ่ายใบอนุญาตทำงาน 1 ชุด หน้า 2 - 3 -4 - 5 และหน้าอื่นๆ ที่ลงรายการไว้ อนึ่ง ใบอนุญาตทำงานลงตำแหน่ง อาชีพหรือวิชาชีพ ลักษณะของงาน ท้องที่ที่ได้รับอนุญาต ชื่อนายจ้าง หรือสถานที่ทำงานจะต้องตรงกับอาชีพปัจจุบัน

    12.คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ( ป.ช.1 ) หน้าที่ 4 ต้องมีผู้รับรอง 2 คน มีสัญชาติไทยลงชื่อ รับรอง และผู้รับรองต้องมาให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบสวน เพื่อยื่นยันหลักทรัพย์ และความ ประพฤติของผู้ขอแปลงสัญชาติ

    13.ถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของภรรยา ด้านหน้า - หลัง 1 แผ่น

    14.ถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวทุกหน้าที่มีการบันทึก รวม 2 ชุด

    15.ถ่ายบัตรประจำตัวผู้รับรองด้านหน้า และหลังคนละ 1 แผ่น

    16.วันมายื่นคำร้องฯต้องนำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ใบอนุญาตทำงาน และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาด้วย


    .

    ตอบลบ
  2. การพิสูจน์สัญชาติ


    มีเงื่อนไขดังนี้


    ?บุตรของต่างด้าวที่เกิดในต่างประเทศ มีสัญชาติเป็นชาวต่างชาติ

    ?บิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดต้องมีสัญชาติไทยขั้นตอนของการขอพิสูจน์สัญชาติบุตรซึ่งเป็นคน ต่างด้าวเป็นคนไทย

    ?ขอพิสูจน์สัญชาติที่กองตรวจคนเข้าเมือง

    ?ยื่นคำร้องที่ทำการอำเภอและจังหวัดที่บิดาหรือมารดาสัญชาติไทยมีภูมิลำเนาอยู่ในทะเบียน บ้าน

    ?กระทรวงมหาดไทยอนุญาตแล้วและจะกลับมาอำเภอและจังหวัดที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน ของบิดาหรือมารดาที่เป็นคนไทย เพื่อเข้าชื่อบุตรต่างด้าวในทะเบียนบ้าน



    การได้มาซึ่งสัญชาติไทย
    1.การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
    2.การได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด
    3.การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน
    4.การได้สัญชาติโดยคำสั่งของฝ่ายบริหาร

    สำหรับคนต่างด้าวที่จะขอแปลงและโอนสัญชาติมาเป็นสัญชาติไทย ได้ตามข้อ 2.คือการได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด ได้แก่
    1.การได้สัญชาติโดยการสมรส คือการถือสัญชาติของหญิงชาวต่างชาติตามสามีที่เป็นคนไทย แต่การสมรสกับสามีที่เป็นคนไทยการสมรสไม่เป็นผลทำให้ผู้นั้นได้สัญชาติไทยตามสามีโดยทันที แต่ต้องอาศัยเจตนาของหญิงนั้นประกอบด้วย และเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครองที่จะออกคำสั่งทางปกครองที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้หญิงนั้นได้สัญชาติไทย จะเห็นได้ว่าการอนุญาตหรือไม่อนุญาตเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด
    มีข้อสังเกตว่าการได้สัญชาติไทยโดยการสมรสนี้สงวนไว้เฉพาะกับหญิงต่างด้าวเท่านั้นหาได้ใช้กับชายต่างด้าวด้วยไม่ ชายต่างด้าวแม้จะสมรสกับหญิงไทยโดยชอบด้วยกฎหมายไทย ก็หามีผลทำให้ชายต่างด้าวนั้นได้รับสัญชาติไทยตามภริยาไปด้วยไม่ สำหรับการหย่า แม้หญิงที่สมรสกับสามีที่เป็นคนไทยและได้รับสัญชาติไทยแล้ว แม้ต่อมาคู่สมรสได้หย่าขาดจากกันฝ่ายหญิงก็ยังคงมีสัญชาติไทยต่อไป สัญชาติไทยของหญิงหาได้สิ้นสุดตามการสมรสไปไม่
    ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 กฎหมายยอมรับวิธีการแปลงสัญชาติออกเป็น 2 ประเภทคือ
    1.การแปลงสัญชาติโดยวิธีปกติ จะมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างเคร่งครัดมาก
    2.การแปลงสัญชาติโดยวิธีพิเศษ นั้นจะสงวนไว้เฉพาะกับบุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงตามที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้นคือ ต้องเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณงามความดีให้กับประเทศไทยหรือเป็นบุตรหรือภริยาของผู้ที่ได้ขอแปลงสัญชาติไทย หรือเคยเป็นคนไทยมาก่อนและต่อมาได้เสียสัญชาติไปไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม
    ที่สำคัญที่สุดคือการได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติจะมีผลก็ต่อเมื่อคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ตราบใดที่คำสั่งดังกล่าวยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะถือว่าคนต่างด้าวผู้นั้นมีสัญชาติไทยไม่ได้






    .

    ตอบลบ
  3. คนต่างด้าวขอแปลงหรือโอนสัญชาติเป็นไทย

    คนต่างด้าวยื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทย โดยอาศัยอำนาจตามระเบียบไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะ ๘๘ ออกตามความใน พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ และกระทรวงมหาดไทยวางระเบียบกวดขันเรื่องการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๑๒ ผู้ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยต้องมีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์ ดังนี้

    ๑. ผู้ยื่นแปลงสัญชาติเป็นไทยต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่องกันนาน ๑๐ ปี อายุ ๔๐ ปี ถ้าต่ำกว่านั้นต้องมีเหตุอื่นประกอบ เช่น มีภรรยาเป็นคนสัญชาติไทยและมีบุตรเกิดในประเทศไทย หรือเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ วิทยาลัยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี

    ๒. ประกอบอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง ถ้าเป็นลูกจ้างหรือพนักงาน ต้องมีรายได้เดือนละ ๕,๐๐๐ บาท ขึ้นไป

    ๓. ไม่เคยมีประวัติต้องโทษ เว้นประมาทหรือลหุโทษ แต่ไม่เกิน ๒ ครั้ง

    ๔. พูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ


    หลักฐานประกอบการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย

    ๑. ถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านทั้งครอบครัว มีชื่อผู้ยื่นคำขอฯภรรยา และบุตรทุกคน รวม ๑ ชุด

    ๒. ถ่ายรูปผู้ยื่นคำขอฯ ขนาด ๒ นิ้วครึ่ง จำนวน ๑๒ รูป ชายแต่งชุดสากล หรือชุดพระราชทาน หญิงแต่งกายสุภาพ

    ๓. ถ่ายใบเสร็จภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.๙๐ หรือ ๙๑ ประจำปี พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๓๓-๒๕๓๔ หรือนำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๙๐ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร มาประกอบ

    ๔. นำใบเสร็จหรือบัตรอนุโมทนาบัตรที่เคยบริจาคเงินบำรุงการกุศลสาธารณะประโยชน์ต่างๆรวบรวมมาให้มาก

    ๕. นำใบเสร็จค่าเล่าเรียน หรือ หนังสือรับรองการเรียนของบุตรซึ่งกำลังเรียนมาประกอบหากบุตรจบการศึกษาแล้วให้ถ่ายประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรมาประกอบคนละ ๑ แผ่น

    ๖. ถ่ายสูจิบัตร (ใบเกิด) ของบุตรมาประกอบคนละ ๑ แผ่น หรือถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของบุตร ด้านหน้า - หลัง คนละ ๑ แผ่น หากเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ให้ถ่ายมาด้วย

    ๗. ถ่ายใบสำเนาการสมรส ( ด.ร.๓ ) ๑ แผ่น (มีภรรยาเป็นคนไทย ต้องจดทะเบียนสมรสก่อนยื่นคำขอฯ)

    ๘. ถ่ายใบทะเบียนการค้า ใบทะเบียนพาณิชย์ หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ หรือบริษัท ( ถ้ามีอย่างใดให้ถ่ายประกอบเรื่องอย่างละ ๑แผ่น )

    ๙. นำหนังสือรับรองเงินฝากธนาคาร ให้ธนาคารที่เปิดบัญชีฝากเงินไว้ออกหนังสือรับรอง หรือถ่ายสมุดฝากเงินธนาคาร หน้าที่มีชื่อและหน้าที่มียอดฝากครั้งสุดท้ายประกอบ

    ๑๐. ถ้าเป็นลูกจ้าง หรือพนักงาน ให้บริษัทฯห้างฯหรือสำนักงานออกหนังสือรับรองหน้าที่ และเงินเดือนที่ได้รับ โดยทำหนังสือถึงสารวัตร แผนก ๑ กองกำกับการ ๓ กองตำรวจสันติบาลพร้อมกับถ่ายใบทะเบียนการค้าฯทะเบียนพาณิชย์ หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ หรือบริษัทฯ (ผู้ลงชื่อรับรองต้องเป็นผู้มีอำนาจผูกพันกับสถานประกอบการนั้น)

    ๑๑. ถ่ายใบอนุญาตทำงาน ๑ ชุด หน้า ๒ - ๓ -๔ - ๕ และหน้าอื่นๆ ที่ลงรายการไว้ อนึ่ง ใบอนุญาตทำงานลงตำแหน่ง อาชีพหรือวิชาชีพ ลักษณะของงาน ท้องที่ที่ได้รับอนุญาต ชื่อนายจ้าง หรือสถานที่ทำงานจะต้องตรงกับอาชีพปัจจุบัน

    ๑๒. คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ( ป.ช.๑ ) หน้าที่ ๔ ต้องมีผู้รับรอง ๒ คน มีสัญชาติไทยลงชื่อ รับรอง และผู้รับรองต้องมาให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบสวน เพื่อยื่นยันหลักทรัพย์ และความ ประพฤติของผู้ขอแปลงสัญชาติ

    ๑๓. ถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของภรรยา ด้านหน้า - หลัง ๑ แผ่น

    ๑๔. ถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวทุกหน้าที่มีการบันทึก รวม ๒ ชุด ๑๕. ถ่ายบัตรประจำตัวผู้รับรองด้านหน้า และหลังคนละ ๑ แผ่น

    ๑๖. วันมายื่นคำร้องฯต้องนำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ใบอนุญาตทำงาน และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาด้วย




    .

    ตอบลบ
  4. การพิสูจน์สัญชาติ บุตรของต่างด้าวที่เกิดในต่างประเทศมีสัญชาติเป็นชาวต่างชาติ บิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดต้องมีสัญชาติไทยขั้นตอนของการขอพิสูจน์สัญชาติบุตรซึ่งเป็นคนต่างด้าวเป็นคนไทย ขอพิสูจน์สัญชาติที่กองตรวจคนเข้าเมือง ยื่นคำร้องที่ทำการอำเภอและจังหวัดที่บิดาหรือมารดาสัญชาติไทยมีภูมิลำเนาอยู่ในทะเบียนบ้านกระทรวงมหาดไทยอนุญาตแล้วและจะกลับมาอำเภอและจังหวัดที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านของบิดาหรือมารดาที่เป็นคนไทยเพื่อเข้าชื่อบุตรต่างด้าวในทะเบียนบ้าน


    การได้มาซึ่งสัญชาติไทย

    ๑. การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

    ๒. การได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด

    ๓. การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน

    ๔. การได้สัญชาติโดยคำสั่งของฝ่ายบริหาร


    คนต่างด้าวที่จะขอแปลงและโอนสัญชาติมาเป็นสัญชาติไทย ได้ตามข้อ ๒.คือการได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด ได้แก่ การได้สัญชาติโดยการสมรส คือการถือสัญชาติของหญิงชาวต่างชาติตามสามีที่เป็นคนไทย แต่การสมรสกับสามีที่เป็นคนไทยการสมรสไม่เป็นผลทำให้ผู้นั้นได้สัญชาติไทยตามสามีโดยทันที แต่ต้องอาศัยเจตนาของหญิงนั้นประกอบด้วย และเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครองที่จะออกคำสั่งทางปกครองที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้หญิงนั้นได้สัญชาติไทย จะเห็นได้ว่าการอนุญาตหรือไม่อนุญาตเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด มีข้อสังเกตว่าการได้สัญชาติไทยโดยการสมรสนี้สงวนไว้เฉพาะกับหญิงต่างด้าวเท่านั้นหาได้ใช้กับชายต่างด้าวด้วยไม่ ชายต่างด้าวแม้จะสมรสกับหญิงไทยโดยชอบด้วยกฎหมายไทย ก็หามีผลทำให้ชายต่างด้าวนั้นได้รับสัญชาติไทยตามภริยาไปด้วยไม่ สำหรับการหย่า แม้หญิงที่สมรสกับสามีที่เป็นคนไทยและได้รับสัญชาติไทยแล้ว แม้ต่อมาคู่สมรสได้หย่าขาดจากกันฝ่ายหญิงก็ยังคงมีสัญชาติไทยต่อไป สัญชาติไทยของหญิงหาได้สิ้นสุดตามการสมรสไปไม่


    ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ กฎหมายยอมรับวิธีการแปลงสัญชาติออกเป็น ๒ ประเภทคือ

    ๑. การแปลงสัญชาติโดยวิธีปกติ จะมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างเคร่งครัดมาก

    ๒. การแปลงสัญชาติโดยวิธีพิเศษ นั้นจะสงวนไว้เฉพาะกับบุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงตามที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้นคือ ต้องเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณงามความดีให้กับประเทศไทยหรือเป็นบุตรหรือภริยาของผู้ที่ได้ขอแปลงสัญชาติไทย หรือเคยเป็นคนไทยมาก่อนและต่อมาได้เสียสัญชาติไปไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ที่สำคัญที่สุดคือการได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติจะมีผลก็ต่อเมื่อคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ตราบใดที่คำสั่งดังกล่าวยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะถือว่าคนต่างด้าวผู้นั้นมีสัญชาติไทยไม่ได้

    สำหรับบุคคลใดที่อายุยังน้อยหรือมีเอกสารได้มาหรือที่ออกให้โดยมิชอบด้วยกฎหมายควรที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายมีระบุไว้ต่อไปเสียให้ถูกต้องน่าจะเป็นการดีและสมควรอย่างยิ่ง








    .

    ตอบลบ