กฏหมายแต่งงาน , กฎหมายสมรส
เงินทองเป็นของนอกกาย แต่ก็น้อยคนนักที่จะหักใจ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง หรือ พ่อแม่ลูกก็ตาม เงินก็ทำให้ความรักของ คนเหล่านั้นหดหายไปได้
หลายคู่ที่แต่งงานโดยไม่ได้คำนึงถึงเธอรวย หรือ ฉันจน หรือใครจะคุมกองคลังของครอบครัว แต่เมื่อความรักล่มสลาย ทั้งสองฝ่ายต่างต้องประหลาดใจที่กฎหมายระบุต่างจากที่น่าจะเป็น หลายรายเป็นฝ่ายเข้ามาควบคุมกำกับดูแลการใช้จ่าย ในครอบครัว แต่เอาเข้าจริงกลับต้องสูญเสียสิ่งที่คิดว่าเป็นสิทธิของตัวเอง เพราะกฎหมายกับความเข้มใจนั้นเป็นคนละ เรื่องเดียวกัน เมื่อแต่งงานกันแล้ว ทรัพย์สินจะถูกจัดสรรเป็นส่วน คือ 1. ส่วนที่เป็นสินสมรส (คือ เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน มีส่วนแบ่งกันคนละครึ่ง) กับ 2. ส่วนที่เป็นสินส่วนตัว (คือ เป็นทรัพย์สินของใครของมัน ไม่กระเด็นไปยังภรรยาหรือสามี) แต่อาจจะสับสนบ้างว่า อย่างไหนที่จะส่วนตัว อย่างไหนที่จะร่วมกันเป็นเจ้าของตามกฤหมาย “สินสมรส” คือ ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส และบรรดาที่เป็นสินส่วนตัวด้วย ส่วนสินส่วนตัวนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีอยู่ แล้วก่อนสมรส หรือบรรดาที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัวทั้งหลาย จนถึงเครื่องประดับตามฐานะ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น ในการประกอบอาชีพ แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่านอกจากนั้นแล้ว กฎหมายยังขยายความถึงทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสที่มีคนยกให้ หรือได้มรดกมาด้วย แต่ถ้ายกให้หรือเป็นมรดกตามพินัยกรรมที่ระบุว่าให้เป็นสินสมรส ก็ต้องเป็นสินสมรส เรามักได้ยินข่าวที่พ่อแม่ไม่อยากยกที่ดินให้ลูกสาวที่แต่งงานแล้ว เพราะกลัวจะกลายเป็นสินสมรส แท้จริงแล้ว การยกให้ใน ระหว่างสมรส ไม่ได้ทำให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นสินสมรส เว้นเสียแต่ระบุในหนังสือยกให้ว่าเป็นสินสมรส ยิ่งถ้าเป็นมรดกก็แน่นอน ที่จะเป็นสินส่วนตัว คู่สมรสจะได้ส่วนแบ่งในสินส่วนตัวต่อเมื่อเราจากโลกนี้ไปแล้ว สินส่วนตัวจึงกลายเป็นมรดก เวลาจะแต่งงานก็ไม่ค่อยคิดเรื่องนี้ จะมานึกออกก็ตอนต้องแบ่งสมบัติ ซึ่งมักจะแบ่งตอนที่ฝ่ายหนึ่งอยากหย่ากับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะบ้านที่ใช้เป็นเรือนหอของเขาและเธอที่เคยสร้างด้วยเงินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่ง หรือจากการที่พ่อแม่ของฝ่ายหนึ่งยกให้ เป็นของขวัญแต่งงาน แบบนี้ไม่เหมือนการให้ของขวัญในวันฉลองแต่งงานที่ถือซอง ถือของกันมาเอิกเกริก อย่างนั้นเป็นการให้ที่ชัดเจน ให้แก่คู่บ่าวสาว ทั้งสองเนื่องในโอกาสแต่งงาน เป็นสินสมรสแน่นอน แต่ถ้าให้ที่ดิน บ้าน จะให้แน่ต้องสืบตามที่กฎหมายว่าไว้ก็คือ การให้จะมี ผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการให้ที่สำนักงานที่ดิน และในการให้ที่จะเป็นสินสมรสนั้น กฎหมายก็เขียนไว้ชัดแจ้งว่า การให้ เป็นหนังสือยกให้ต้องระบุว่าเป็นสินสมรส ซึ่งจะเป็นสินสมรส ดังนั้น ถ้าจะให้ใครคนนึงหรือจะให้ทั้งสอง ก็ควรระบุให้ชัดเจน ยกตัวอย่าง เช่น เสกสรรมีเงินฝากในธนาคารก่อนแต่งงาน เป็นเลข 6 หลัก เขาไม่คิดจะปกปิดภรรยาเพราะทราบดีว่า ถึงรู้ไป ก็ไม่น่าเดือดร้อน เพราะเขามีบัญชีร่วมระหว่างเขากับภรรยาแล้ว ส่วนบัญชีเดิมเป็นสินส่วนตัวของเขา แต่หลังจากที่เขากับเธอ มีปัญหาจนถึงขั้นแยกทางกัน เงินในบัญชีส่วนตัวของเขาก็ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการแบ่งสมบัติ และนำไปสู่การฟ้องศาล ตามกฎหมาย แม้เงินฝากที่ธนาคารในบัญชีของเสกสรร จะเป็นเงินส่วนตัวที่มีก่อนสมรส แต่ในการฝากเงินย่อมต้องมีดอกผล งอกเงย ภรรยาของเสกสรรไม่ลืมข้อนี้ เธอจึงอ้างเอาดอกเบี้ยเงินฝากของบัญชีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นสินสมรสมาขอแบ่งด้วย เมื่ออยู่ด้วยกันกว่า 6 ปี จึงมีเงินฝากหลายล้าน งานนี้อดีตคุณผู้หญิงของเสกสรรมีส่วนแบ่งจากดอกเบี้ยไม่น้อยทีเดียว ชื่อที่ปรากฏในเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้สินสมรสกลายเป็นสินส่วนตัว เพราะกฎหมาย กล่าวว่า ถ้ากรณีที่สงสัยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ฝ่ายที่เถียงว่าไม่ใช่ ต้องมีภาระหน้านที่พิสูจน์ให้ได้ ถ้าเสกสรรเห็นว่า ตัวเองทำงานงกเงิ่นอยู่คนเดียว จึงสมควรควบคุมดูแลด้านการเงินทุกอย่างอยู่ในชื่อตัวเขาเอง เงินทองทรัพย์สินเหล่านนั้นก็ยัง เป็นสินสมรสอยู่ดี แม้จะไม่มีชื่อภรรยาปรากฏอยู่ก็ตาม ไม่ว่าจะมีชื่อใครอย่างไร แต่เมื่อเป็นสินสมรสแล้ว กฎหมายให้อำนาจทั้งสองฝ่าย ในการจัดการทรัพย์สินนั้นได้โดยอิสระ ไม่ต้องมาขออนุมัติก่อน เว้นแต่เสียบางเรื่องที่อาจจะกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว กฎหมายก็จะ บังคับให้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ พิเชษฐ์ทำงานเป็นนิติกร อยู่ฝ่ายเร่งรัดหนี้สินในบริษัทแห่งหนึ่ง เขาได้อาศัยโอกาสเกี่ยวข้องเรื่องที่ดิน นำมาซื้อขายอยู่เนืองๆ แต่ภรรยาของเขาไม่รู้เรื่องนี้เท่าใดนัก รู้เพียงว่า พิเชษฐ์มีที่ดินอยู่ในเมืองหลายแปลง ปล่อยขายได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่เธอก็สงสัยว่า ทำไมไม่มีการมาขออนุญาตตามกฎหมายจากเธอ ในทางปฎิบัติ เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีวันรู้ว่า พิเชษฐ์แต่งงานหรือไม่ เพราะไม่ได้เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ดังนั้น ในการขายที่ดิน เขาจึงลอยตัวโดยแสดงต่อเจ้าพนักงานว่าตนเป็นชายโสด เว้นเสียแต่จะมีหลักฐานปรากฏให้เห็น เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน ที่อยู่หลังเดียวกับลูกๆ และระบุชื่อแม่ของลูกไว้ (การแจ้งเท็จมีความผิดทางอาญา) ซึ่งถ้าถือตามกฎหมายแล้ว การขายที่ดิน ที่เป็นสินสมรส (เพราะได้มาในระหว่างแต่งงาน) จะต้องได้รับความยินยอมจากภรรยาเขา แต่ในการซื้อนั้น กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ คงเป็นเพราะการซื้อของเข้าบ้าน น่าจะเป็นการทำให้หลักทรัพย์ของครอบครัวมากขึ้น ไม่กระทบถึงความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว จึงไม่ต้องขอความยินยอม หรือกรณีที่สามีมีภรรยาหลายบ้าน และถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินขอให้จัดการให้สามีเซ็นยินยอมในการซื้อที่ดิน ถ้าหย่าก็ต้อง เอาใบหย่ามา ถ้าเป็นหม้ายก็เอามรณบัตรมา ซึ่งตามกฎหมายแล้ว การซื้อที่ดินไม่ต้องขอความยินยอมจากคู่สมรส โดยอาจเป็นระเบียบภายในที่ทำกันไว้ในยุคที่ใช้กฎหมายเก่า ซึ่งกำหนดให้ภรรยาไม่มีความสามารถทำนิติกรรมถ้าสามีไม่อนุญาต แล้วถ้างุบงิบซื้อที่ดินให้มือที่สาม หรือมีการโยกบัญชีซุกหุ้นที่ซื้อมาให้สาวอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาแล้ว บรรดาภรรยาหลวงมีสิทธิ ตามกฎหมายที่จะตามล้างตามล่ากันได้ ________________________________________ สัญญาก่อนสมรส ________________________________________ กว่าจะแต่งงานเป็นฝั่งเป็นฝากับเขาสักที อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหลายคน ก่อนตัดสินใจแต่งงานก็มีการสาบานว่า จะรักกันวันตาย สัญญิงสัญญากันไว้ในเรื่องความรักความซื่อสัตย์จนจำไม่หวาดไม่ไหว ว่าได้สัญญาอะไรไปบ้าง แต่มีอยู่อย่างที่เรื่มนิยมกัน ก็คือ การทำสัญญาเอาไว้ในเรื่องทั้งหลายของคู่บ่าวสาว รวมทั้งเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง ถ้าทำสัญญาระหว่างสมรสกันในเรื่องทรัพย์สินแล้ว อย่าได้เอาโล้เอาพายอะไรมากมาย หากทำไปเพราะมีการบอกล้างกันได้ ภรรยาทั้งหลายจึงใช้ทำเสียก่อนแต่งงานซึ่งก็เป็นการดี แต่ขอบอกอีกหน่อยว่า แม้จะทำอย่างนี้ก็คงมีขั้นตอนบางอย่าง สัญญาก่อนสมรสต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินอีกนั่นเอง ข้อตกลงพวกนี้ไม่เพียงจะลงชื่อพร้อมพยานเท่านั้น จะต้องนำไป จดแจ้งไว้เป็นหลักฐานในทะเบียนสมรสด้วย จะทำแบบไหนไม่ว่า เช่น ทำเป็นหนังสือสัญญาแล้วนำไปจดในทะเบียนสมรส หรือให้เจ้าหน้าที่นายทะเบียนจดแจ้งให้ก็ได้ การจดแจ้งนี้ต้องทำพร้อมการจดทะเบียนสมรส แน่นอนว่าถ้าทำก่อนก็คงไม่มีใคร เขาทำให้ แต่ถ้าทำหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว สัญญานั้นก็จะกลายเป็นสัญญาระหว่างสมรสไป และถ้าไม่จดแจ้งแทงเอาไว้ กฎหมายก็ให้สัญญานั้นเป็นโฆษะ ของพรรค์นี้อยู่ที่ศิลปะในการเจรจาว่า จะทำสัญญากันก่อนดีมัย และจะตกลงกันอย่างไรในเรื่องของทรัพย์สิน และต้องให้แน่ใจว่า ใช่อย่างที่ต้องการ เพราะขืดทำไว้แล้ว อยู่ๆกันไปจะมาขอเปลี่ยนแปลงแก้ไข ใช่ว่าจะทำได้เลย ต่อให้ทั้งสองฝ่ายยินยอมเต็มใจ อย่างไร กฎหมายก็ไม่ยอมให้แก้ไขกันง่ายๆ เดี๋ยวไม่ศักดิ์สิทธิ์ จะต้องมีขั้นตอนที่ต้องไปทำที่ศาล โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลอนุญาต เสียก่อน เมื่อศาลตรวจสอบพิจารณาโดยไตร่สวนสอบถามความนัยแล้ว จึงมีคำสั่ง จากนั้นก็นำคำสั่งไปแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส เห็นหรือยังว่ามันขลังขนาดไหน มีผลผูกผันแน่นแฟ้นต่อกันขนาดที่พร้อมใจกันเปลี่ยนแปลงแก้ไข ยังต้องให้ศาลมาดูแลเสียก่อนเลย แต่ถึงจะเข้มขนาดไหน กฎหมายก็ไม่ให้กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกที่สุจริต แม้จะได้จดแจ้งไว้ในทะเบียน ซึ่งเก็บไว้ ที่หน่วยราชการ การจดไว้ในทะเบียนนั้น เพื่อประโยชน์ระหว่างคู่สามีภรรยาเท่านั้น คนนอกไม่ต้องเขามาผูกพันรับผิดชอบได้เสียด้วย เช่น ทำสัญญาก่อนสมรสกันว่ากระเป๋าของใครของมัน ถ้าฉันหาเงินได้ให้เป็นสินส่วนตัวของฉัน ของเธอก็เช่นกัน ถ้ามีลูกกัน ก็ให้เป็นภาระร่วมกันคนละครึ่ง พอแต่งงานแล้ว ต่างก็ขยันหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง สามีนำเงินของตนไปซื้อที่ดินไว้แปลงหนึ่ง ส่วนภรรยาหาเงินไม่พอใช้จ่ายในบ้านเรือน ทั้งยังค่าเล่าเรียนลูกที่สามีขี้เหนียวไม่ยอมลงขันจ่ายให้ เธอจึงไปขอยืมเงินคนอื่น มาใช้จ่ายแล้วไม่มีใช้คืน เจ้าหนี้ก็เลยฟ้องร้องและยึดทรัพย์ที่ดินของสามีมาชำระหนี้ อย่างนี้สามีจะอ้างสัญญาก่อนสมรสว่า ที่ดินแปลงนี้เป็นสินส่วนตัวไม่ได้ แต่เป็นสินสมรสตามกฎทั่วไป หรือว่าทำสัญญาก่อนสมรสให้สามีเป็นผู้จัดการทรัพย์สินแต่เพียงฝ่ายเดียว ต่อมาภรรยาไปให้คนเช่าตึกแถว โดยทำสัญญากันไว้ สามีจะมาอ้างว่าสัญญาเช่าไม่มีผลผูกพัน เพราะภรรยาไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินสมรสตามสัญญาก่อนสมรสไม่ได้ ไม่เป็นไร เมื่อไม่ให้กระทบคนภายนอก แต่กระทบคนภายใรที่เป็นคู่สมรสได้ก็ยินดีแล้ว ดังนั้นก่อนตัดสินใจแต่งงาน นอกจาก เรื่องพิธีการและของชำรวยแล้ว ควรคำนึงเรื่องการบริหารจัดการเงินทองว่าจะตกลงกันเป็นพิเศษแตกต่างจากที่กฎหมายกำหนด ไว้อย่างไร เมื่อทำสัญญาก่อนสมรสกันแล้ว อย่าลืมนำไปจดในทะเบียนสมรสด้วย อย่างนี้เรือล่มในหนองทองก็ไม่ไปไหน แต่อย่าให้กลายเป็นไม่ได้แต่งงานกันเพราะความมุ่งมั่นที่จะทำสัญญาก่อนสมรส จนลืม ความรักที่อุตส่าห์ถักทอจนสุกงอมพร้อมร่วมหอก็แล้วกัน ________________________________________ สมรสซ้อน________________________________________ แต่งงานเป็นเรื่องมงคล หลายคนจึงแต่งงานหลายครั้ง แต่ก่อนที่จะแต่งงานครั้งต่อไป จะต้องเคลียร์การแต่งงานครั้งก่อนเสมอ ไม่เช่นนั้นบ้านเก่าบ้านใหม่อาจให้โทษได้สำหรับกฎหมายแล้ว การแต่งงาน หมายถึง การจดทะเบียนสมรส การแต่งงานในลักษณะอื่นไม่ได้รับการรับรองทางกฎหมาย ให้เกิดสถานะสามีภรรยาต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการยกขันหมากแห่รอบหมู่บ้านหรือจัดงานพิธีใหญ่โต กฎหมายไม่ให้สิทธิเรียกร้อง อย่างสามีภรรยาหากมีการแต่งงานกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถ้ามีการจดทะเบียนแล้วเป็นได้เรื่อง คนเราอาจมีทะเบียนสมรสหลายใบกับใครหลายคนได้ แต่จะมีในเวลาเดียวกันไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็เข้าข่ายที่เรียกว่าจดทะเบียน สมรสซ้อน ซึ่งกฎหมายไม่จัดอันดับเบอร์หนึ่งเบอร์สองให้ใครเป็นรองใคร แต่ใช้หลักมาก่อนมีสิทธิก่อน และการมาก่อนนี้ต้องเป็นการมาถึงนายทะเบียนก่อน หากมาอยู่กินเสียก่อนแล้วมัวรอฤกษ์จดทะเบียนหรืออิดเอื้อนเล่นตัวก็อาจได้ เลิกรากัน ถ้าเขาหรือเธอไปแอบจดทะเบียนกับคนอื่น คนมาหลังแต่ถึงที่หมายก่อนก็ได้สิทธิไปเพระใบทะเบียนสมรสนั่นเอง การจตทะเบียนซ้อนกฎหมายให้เป็นโฆษะไปเลย ไม่ต้องเสียเวลาไปฟ้องร้องให้ศาลสั่งว่าการสมรสรายหลังเป็นโฆษะ ก็คือ การสมรสซ้อนเป็นอันเสียเปล่า ไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนที่ว่าจะรู้ไหมว่าซ้อนอย่างไรก็ไม่ต้องวิตกจริตเกินไป ทางการเขาให้ไป ตรวจได้ที่สำนักงานทะเบียนราษฎรเพราะถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย แม้การสมรสซ้อนจะเป็นโฆษะโดยผลของกฎหมาย แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้จดแต้งแทงรายการไว้ในทะเบียน ก็จะไปใช้ยันต่อบุคคล ภายนอกไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องดำเนินการทางทะเบียนให้เรียบร้อย ไม่เช่นนั้นเกิดคู่โมฆะไปทำนิติกรรมหรือตัดการอะไรไปก็ไม่ สามารถอ้างความเป็นโมฆะไปทำนิติกรรมหรือจัดการอะไรไปก็ไม่สามารถอ้างความเป็นโมฆะยันกับคนนอกวงการได้ เรื่องทะเบียนซ้อนแบบนี้ไม่ใช่ผู้ชายจะนิยมเท่านั้น หญิงไทยก็ไม่น้อยหน้าเหมือนกัน ซึ่งบางครั้งก็น่าเห็นใจคู่ที่ไม่ได้รักกันแล้ว ไม่อยู่ด้วยกันก็มี แต่ฝ่ายหนึ่งไม่ยอมจดทะเบียนหย่า เพราะหวงก้างไว้ไม่อยากให้ใครมาได้ตำแหน่ง ทั้งที่ตัวก็ไม่ได้อยากอยู่กับ เขาหรือเธออีกต่อไป ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งอยากหย่า เพราะต้องการไปจดทะเบียนสมรสกับอีกคนหนึ่งเดือดร้อน รอไม่ไหว จึงตัดสินใจจดซ้อนไปเลย นอกจากความเป็นโมฆะแล้ว อาจมีเรื่องอื่นตามมาเป็นผลข้างเคียงแต่ยิ่งใหญ่ เมื่อเจ้าของทะเบียนใบแรกแจ้งให้ใบหลังทราบว่า มีคู่สมรสรายเดียวกันแล้ว หากรายหลังยังทำเฉย อาจถูกเรียกค่าเสียหายจากการไปสัมพันธ์กับสามีหรือภรรยาของเขาได้ ส่วนผู้รัก การสะสมทะเบียนสมรสในขณะเดียวกัน นอกจากจะมีเรื่องกับคู่สมรสทั้งสองแล้ว อาจได้คดีอาญามาประดับประวัติอีกด้วย เพราะ ทะเบียนสมรสเป็นเอกสารทางราชการ การจดทะเบียนก็ทำกับนายทะเบียน การปิดบังความจริงหรือปดกับเจ้าหน้าที่ ทั้งๆที่รู้อยู่ แก่ใจว่าได้จดทะเบียนสมรสแล้ว ถือว่าให้ข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ทางแก้ของผู้ที่พลาดไปแล้ว ก็คือ เริ่มใหม่หมด มีหลายรายที่ใช้วิธีจดทะเบียนหย่ากับคนก่อนเพื่อให้มีทะเบียนสมรสใบเดียวกับ คนหลัง อย่างนี้ไม่มีผล เพราะทะเบียนสมรสที่ซ้อนนั้นเป็นโมฆะแต่แรกแล้ว ดังนั้น เมื่อหย่ากับคนก่อนแล้วก็ต้องย้อนมาจดกับ คนใหม่ จะใช้ทะเบียนเดิมไม่ได้ ถ้าจะให้ดีก็พากันไปที่สำนักงานเขตหรืออำเภอเสียเลย การแต่งงานเป็นเรื่องของคนสองคน แต่ถ้าใครไปทำให้เป็นเรื่องของหลายคนแล้ว เรื่องง่ายๆ ก็กลายเป็นยากเพราะอยากมี ทะเบียนสมรสนั่นเอง ________________________________________ แต่งกับฝรั่ง________________________________________ ความรักไม่มีพรมแดนมานานก่อนยุคโลกไร้พรมแดนเสียอีก เมื่อศรรักปักอกปักใจว่าตะแต่งงานกับชายคนนี้เท่านั้น แล้วเกิดเป็นฝรั่งตาน้ำข้าวหรือชาวอื่นที่ไม่ใช่ชาวไทย ก็เริ่มสับสนหัวใจว่าจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่ แท้จริงแล้ว จะจดกับประเทศไหนก็มีผลตามกฎหมายทั้งนั้น ทั้งหญิงและชายที่ได้สามีหรือภรรยาเป็นชาวต่างชาติ คือ ไม่มีสัญชาติไทยจะแต่งงานที่ประเทศไหนก็ได้ทั้งนั้น ถ้าจดตามประเทศของเขาหรือเธอ กฎหมายไทยก็รับรองสถานภาพ ของคู่นี้ว่าเป็นสามีภรรยาตามกฎหมาย โดยไม่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย แต่ถ้าอยากจะแต่งให้ครบก็ทำได้โดยการ ไปจดทะเบียนที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ หรือถ้าอยู่ต่างประเทศ ก็ไปที่สถานกงศุลไทยในประเทศนั้น ไม่ยุ่งยากอย่างที่กังวลเลย ที่กล่าวว่าจดทะเบียนตามกฎหมายของประเทศอื่นแล้วจะจดที่ไทยบ้างนั้น ไม่ต้องไปทำเป็นทะเบียนสมรส เพียงแค่จดทะเบียน ฐานะครอบครัวก็พอ นายทะเบียนก็จะบันทึกหลักฐานเอาไว้ และมอบเอกสารให้เก็บคนละฉบับ แต่ต้องแสดงหลักฐานต่อ นายทะเบียนว่า ได้แต่งงานตามกฎหมายของประเทศไหนไปแล้ว บางคู่นึกอยากกิ๊บเก๋ไปจดทะเบียนสมรสในประเทศอื่น เช่น ไทยกับอเมริกัน แต่งงานกันที่ออสเตเรีย อย่างนี้ก็ยังมีสถานะเป็น สามีภรรยากันตามกฎหมายที่ประเทศไทยยอมรับ และที่ว่าจดทะเบียนก็อาจไม่ใช่เพราะกฎหมายประเทศนั้นมีแบบพิธีเป็นอย่างอื่น ถ้าได้ทำตามแบบของเขาแล้ว ก็ถือเป็นใช้ได้ เมื่อได้แต่งงานเรียบร้อยโรงเรียนฝรั่งหรือไทยแล้ว ความสัมพันธ์ทางกฎหมายก็ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งสัญชาติของสามี อย่างนี้หญิงไทยจะมีสามีเป็นชาวต่างชาติก็ต้องรู้กฎหมายในเรื่องนี้ไว้ด้วย โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินเงินทองที่ต้องเป็นไปตามเขา เว้นเสียแต่เป็นเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ คือ บรรดาที่ดินทั้งหลายก็ให้ใช้กฎหมายที่ที่ดินตั้งอยู่นั้นมาบังคับ อยู่กันไปก็ยุ่งยากนัก อยากจะเลิกหรือหย่าล้างขึ้นมา ก็ต้องไปว่ากันตามกฎหมายที่ไปจดไปแต่ง ซึ่งเมื่อทำแล้วกฎหมายไทยก็ ยอมรับสถานะว่าเป็นหม้ายแล้วเหมือนกัน แต่ถ้าจะหย่ากันก็ต้องได้ความว่า กฎหมายของประเทศทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่ากันได้ ไม่เช่นนั้นจะลำบาก เป็นอันว่าเขาก็ต้องรู้กฎหมายไทยบ้างเหมือนกัน นั่นเป็นเรื่องหย่าโดยความยินยอม แต่ถ้าการหย่าชนิดที่มีเรื่องทะเลาะกันจนต้องฟ้องร้องศาล หากอยู่ที่เมืองไทยก็ฟ้องได้ไม่ว่ากัน เพียงแต่ต้องให้ได้ความว่า กฎหมายแห่งสัญชาติของทั้งสามีและภรรยา ยอมให้หย่าได้ และให้ใช้เหตุหย่าตามกฎหมายไทย การแต่งการหย่านี้ ต่อให้ฝรั่งต่างชาติแต่งงานกันโดยไม่ได้ผูกพันมีสัญชาติไทย ก็สามารถจดทะเบียนได้ แต่ต้องให้ได้ความว่า กฎหมายของประเทศเหล่านั้นยอมให้แต่งได้ หรือว่าแต่งตามกฎหมายเขาแล้ว ทะเลาะเบาะแวงในเมืองไทย รอไปหย่าที่ไหน ไม่ทันใจแล้วจะต้องฟ้องศาลไทยก็ทำได้เช่นกัน กฎหมายออกมาแบบนี้ เป็นการประกันความมั่นคงของครอบครัวได้ ไม่ต้องกังวลว่าสามีภรรยาคู่ไหน ที่เข้ามาในประเทศไทยแล้ว ไม่ได้แต่งงานตามกฎหมายไทยจะกลายเป็นคนไร้คู่ตามกฎหมาย และสาวไทยหรือหนุ่มไทยหน้าไหนที่มาแย่งสามีหรือภรรยา ของเราไป ไม่ว่าชั่วคราวหรือถาวรก็จะมาอ้างกฎหมายไทยว่า ไม่มีทะเบียนสมรสไม่ได้ ถ้ารู้อยู่ว่าเขาหรือเธอนั้นมีคู่สมรส เป็นตัวเป็นตนแล้ว เมื่อได้คำพิพากษาว่าหย่าแล้ว ต้องนำไปจัดการตามแบบของกฎหมายที่ประเทศนั้นๆ บางคนไม่ได้จดทะเบียนสมรสตาม กฎหมายไทย แต่อยากจดทะเบียนหย่าไว้เป็นหลักฐานก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องจดทะเบียนฐานะครอบครัว แล้วค่อย จดทะเบียนหย่า ก็จะได้ทะเบียนหย่ามาใส่กรอบไว้ที่หัวเตียงตามประสงค์ ความรักมักไม่เลือสัญชาติ แต่เรื่องของโอกาสและสิทธิทางกฎหมายนั้น เลือกกันได้ จะแต่งกับคนไทยหรือฝรั่งก็ระวัง ข้อกฎหมายไว้เป็นดี ________________________________________ หย่าดีกว่า________________________________________ ห้ามคนไม่ให้แต่งงานอาจเป็นเรื่องยาก แต่ห้ามคนอยากหย่าน่าจะลำบากว่าหลายเท่า จะด้วยเหตุผลกลใดหรือเพราะผู้ใดเป็นตนคิด ชีวิตหลังหย่าจะไม่น่าอภิรมย์ ถ้าเอาแต่จะหย่าจะเลิกโดยไม่ใส่ใจกฎหมาย“การหย่า” ใช้ในการสมรสที่จดทะเบียนเท่านั้น เมื่อตอนเข้าสู่ชีวิตคู่ก็ต้องจด ตอนแยกคู่ขั้นตอนยิ่งมากกว่า จดทะเบียนแค่จดป้าย ปากกาเซ็นชื่อลงไปแล้วได้แผ่นกระดาษที่เขียนว่า “ทะเบียนสมรส” ก็เป็นอันหมดพีธีทางกฎหมาย แต่มันไม่ใช่ในกรณีหย่า เพรา การหย่ามีมากกว่าการแยกทางกันอยู่ ยังต้องแยกทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างร่วมชีวิตกัน ไหนจะเรื่องลูกๆ ใครจะจ่ายใครจะเลี้ยง จะมีการเกี่ยงหรือแบ่งกันลงตัวหรือไม่ คือ สิ่งที่ต้องระบุไว้ใน “บันทีก” แนบท้ายทะเบียนหย่าด้วย ไม่งามแน่ หากจะพากันไปถกวิจารณ์การแบ่งต่อหน้านายทะเบียน และถ้าตกลงกันไม่ได้ก็อาจไม่ต้องหย่า หรือต้องพากันไปเถียงต่อ ที่ศาลให้เบิกบานทั้งเวลาและหน้าตาของสองฝ่าย กว่าจะได้คำตัดสินของศาลมาจัดการเรื่องหย่าๆ เพราะฉะนั้น ควรรู้ไว้ใน สามเรื่องหลัก คือ
ระบบผ่อน ก็สุดแท้แต่ สินสมรส ถ้าไม่ตกลงกันเป็นอย่างอื่น กฎหมายให้แบ่งกันคนละครี่ง สินสมรส หมายถึง ทั้งที่ดินและเงินสด รถยนต์และหุ้นต่างๆ ไม่ว่าจะเลขตัวแดงตัวดำในธนาคาร บรรดามีที่เป็นทั้งหนึ้สินและทรัพย์สินผ่านมาได้หนึ่งด่าน ก็มาเรื่องของลูก อำนาจปกครอง และค่าอุปการะเลี้ยงดู ไม่จำเป็นต้องอยู่กับคนๆเดียวกันแล้วแต่จะตกลงกันอย่างไร แม่อาจอยากได้ลูกไว้แล้วให้พ่อจ่ายทุกอย่าง ให้ลูก หรือ ให้พ่อจ่ายค่าเล่าเรียนลูก แล้วแม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลและเครื่องใช้สอยอื่นๆ การมีอำนาจปกครองหมายถึง สิทธิในการจัดการดูแลทรัพย์สินของลูก การให้ลูกอยู่ที่ไหน เรียนที่ใด อำนาจทำโทษลูกได้ เพื่อ ว่ากล่าวสั่งสอนตามสมควร และอื่นๆอีกไม่น้อย ไมว่าอำนาจปกครองจะอยู่กับใครฝ่ายเดียว อีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิตามกฎหมาย ที่จะได้พบหน้าลูกตามสมควร นอกจากนี้ ยังอาจตกลงให้มีอำนาจปกครองลูกร่วมกัน แล้วว่ากันในรายละเอียดว่าจะให้ลูกไปอยู่บ้านใครในช่วงไหน หรืออยู่กับใคร ฝ่ายเดียวแต่ปกครองร่วมก็ได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมาย เวลาจดทะเบียนหย่าอย่าคิดว่าตกลงแบบนี้ไม่ได้ เพราะคนที่จะตัดสินใจ ไม่ใช่นายทะเบียนแต่คือสองคนที่จะหย่าต่างหาก หลายคนที่หย่ากันโดยไม่คำนึงว่าจะตกลงกันอย่างไร ขอให้ได้หย่าเป็นอันตกลง ปรากฏว่ามาได้สติเอาทีหลัง แล้วเสียดายว่ารู้อย่างนี้ ทำอย่างนั้นดีกว่า เป็นต้นว่า เรื่องให้แม่มีอำนาจปกครองเพียงเพราะแม่รู้สึกเสียหน้าที่สามีขอหย่า เลยอยากมีอำนาจไว้หน่อย ได้ลูกไว้สักคนเหมือนได้กำไร มาภายหลังไม่อยากได้แล้ว หากว่าอีกฝ่ายก็เห็นดีเห็นงามตามด้วย ต่อให้พร้อมใจกันไปบอก นายทะเบียน ให้แก้ไขในเรื่องนี้ก็ทำไม่ได้ จะต้องไปทำเรื่องร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาต แล้วนำคำสั่งศาลไปทำการแก้ไขในบันทึก การหย่าที่นายทะเบียนจึงจะเรียบร้อย ตอนสมรสอาจจดทะเบียนที่บางรัก แต่พอตอนจะลาอาจอยากไปบางผลัด บางจาก จะจดหย่าที่ไหนก็ได้ตามอำเภอใจ ไม่ต้องไปที่ จดทะเบียนสมรส และจะมีผลผูกพันบุคคลภายนอกต่อเมื่อได้มีการจดแจ้งการหย่าในทะเบียนแล้ว ถ้าหย่ากันตามคำพิพากษา ของศาล ก็ต้องรีบจัดการจดทะเบียนเสียให้เสร็จด้วย การหย่าอาจถือเป็นเรื่องอัปมงคลของคนถูกหย่า และถือเป็นมงคลแก่คนที่อยากหย่า เมื่อเข้าใจกฎหมายในเรื่องนี้ ก็คิดให้ดี สำหรับแต่ละคู่ว่าจะ “หย่าดีกว่า” หรือว่า “อย่าดีกว่า” เองก็แล้วกัน ________________________________________ แม่เลี้ยง________________________________________ แม่เลี้ยงมักจะคู่กับลูกเลี้ยง และมักจะไม่ใช่ภรรยาของพ่อเลี้ยง บ้านหนึ่งๆจึงไม่ค่อยมีทั้งพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงอยู่คู่ครัวเรือนเดียวกัน แม่เลี้ยงเป็นแม่ชนิดหนึ่งที่อุปโลกน์เรียกกันตามฐานะที่เกิดขึ้น เนื่องจากไปแต่งงานกับพ่อม่ายลูกติด ทำให้ลูกที่ติดสามีมากลาย เป็นลูกเลี้ยงของแม่เลี้ยง ทั้งๆที่แม่เลี้ยงอาจไม่ได้เลี้ยงหรือไม่เคยเลี้ยงดูลูกเลี้ยงก็ได้ เมื่อต้องร่วมเรือนเดียวกันก็อาจมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง แม้จะรักลูกห่วงลูกปานใด แต่รักเมียใหม่ก็ย่อมต้องมีไม่มากก็น้อย คนเป็นลูกก็รักพ่อ แต่จะให้รักคนที่พ่อรักมากกว่าแม่ตัวก็ทำใจลำบาก และแม้จะคาดได้ว่ากฎหมายไม่ได้รองรับฐานะของ แม่เลี้ยงให้มีสิทธิมีอำนาจบาตรใหญ่ในลูกเลี้ยงได้ แต่ก็ไม่ใช่เสียทั้งหมด เพราะแล้วแต่บทบาทของแม่เลี้ยงคนนั้นด้วยเหมือนกัน หลักมีอยู่ว่าลูกของใครก็ของคนนั้น จะมาจัดสรรให้เป็นกันตามอำเภอใจไม่ได้ ดังนั้น แม้จะมีแม่ใหม่ให้ลูกคนเดิม ก็ไม่ทำให้แม่คนใหม่ได้สิทธิอย่างแม่แท้ๆ เป็นต้นว่าสิทธิในการได้รับมรดก หากลูกเลี้ยงตาย สิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายเพราะขาดไร้อุปการะ หากว่าลูกเลี้ยงถูกคนขับรถมาชนตาย เบาๆ หน่อยก็เรื่องของอำนาจปกครองลูกเลี้ยง อันได้แก่ อำนาจในการจัดการทัพย์สินของลูก อำนาจในการกำหนดที่อยู่ของลูก หรือการว่ากล่าวสั่งสอนลูก แปลอีกที ก็คือ แม้จะศักดิ์หรือฐานะเป็นแม่เลี้ยง แต่ก็เป็นเพราะสถานะทางครอบครัวที่เกิดขึ้น ไม่ใช่สถานะทางกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าแม่เลี้ยงคนนี้จะจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายกับพ่อของลูกเลี้ยงหรือไม่ก็ตาม อำนาจปกครอง ลูกก็ยังอยู่กับพ่อหรือแม่(จริง) ตามแต่จะได้ตกลงกันไว้ในตอนหย่า หรือหากว่าแม่ตายไปแล้ว อำนาจปกครองก็ต้องอยู่ที่พ่อของลูก ไม่เผื่อแผ่มาที่แม่เลี้ยงแม้แต่น้อย อำนาจก็ไม่มี หน้าที่ก็ไม่ต้อง ปกติแล้วหากลูกยังเด็กยังเล็ก พ่อแม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูลูก และเมื่อลูกเติบใหญ่มีปัญญาหาเลี้ยง ครอบครัวได้ ลูกก็มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ด้วย แม้จะดองเป็นแม่เลี้ยงลูกเลี้ยงก็ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเลี้ยงดูกัน แต่ประการใด แต่ในโลกแห่งความจริง ผู้หญิงมักเลี้ยงลูกได้ดีกว่าผู้ขาย จึงเป็นไปได้มากที่สามีมักจะหวังให้ภรรยาคนใหม่ทำหน้าที่แทนแม่แท้ๆ ของลูก การเลี้ยงดูขับกล่อมลูกนอกไส้จึงเกิดขึ้นจนได้ แบบนี้แม้กฎหมายจะไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่เมื่อพ่อเลี้ยงมอบหมายถือว่า ให้ดูแลแทน แม่เลี้ยงย่อมอบรมเลี้ยงดู ทำโทษว่ากล่าวสั่งสอน หรือจัดการออกคำสั่งให้ต้องปฎิบัติตามประสาแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูก แม่เลี้ยงทั้งหลายก็อย่าได้ฉวยโอกาสทองที่สามีมอบความไว้วางใจการดูแลก็ต้องอยู่ในขอบเขต จะมาล่วงเกินสิทธิในตัวลูกไม่ได้ เช่น เมื่อแม่ของลูกมาเยี่ยมพบ แม่เลี้ยงจะหวงก้างวางอำนาจที่สามีให้มาห้ามเขาพบกันไม่ได้ ทั้งการทำหน้าที่ดูแลก็ต้องใช้ ความระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสียหาย หากพาไปเดินเล่นตามห้างแล้ว มือเด็กระรานไปปัดถ้วยโถโอชามเขาระเนระนาด ความ เสียหายตรงนี้เห็นทีแม่เลี้ยงต้องรับไว้ จะมาหยิบหลักฐานแสดงว่าไม่ใช่แม่ที่แท้จริงไม่ได้ เพราะกฎหมายท่านว่าไว้ว่า ถ้าเด็กอยู่ ในความดูแลของเราแล้วเด็กไปละเมิดเกิดความเสียหายขึ้นมา ทั้งเด็กและตัวเราก็ต้องร่วมกันรับผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ว่า ได้ใช้ ความระมัดระวังตามสมควร วันไหนแม่เลี้ยงอยากจะโฮมอโลน ลูกเลี้ยงที่อายุยังไม่เกิน 9 ปี โดยไม่มีใครดูแลก็มีความผิดทางอาญา ฐานทอดทิ้งเด็กได้ เป็นแม่คนนั้นแสนลำบาก เป็นแม่เลี้ยงก็ยุ่งยากหลายเท่า เมื่อรักพ่อของเด็กก็ต้องรู้ไว้ว่า กฎหมายให้แม่เลี้ยงมีฤทธิ์เดชแค่ไหน อย่าได้ล้ำเส้นออฟไซด์ถูกใบเหลืองใบแดงจนสามีปลดกลางอากาศจากตำแหน่งภรรยา เพราะไปทำหน้าที่แม่เลี้ยงใจยักษ์ ________________________________________ พรากผู้เยาว์ ________________________________________ ที่เขาว่าคบเด็กสร้างบ้านนั้น การคบเด็กก็ต้องระวังอย่าให้กลายเป็นสร้างความ สร้างคดี เพราะเรื่องของเด็กทำให้ผู้ใหญ่เดือดร้อนมา หลายรายแล้ว เรื่องการพรากผู้เยาว์ก็เป็นข้อหาหนึ่งที่พึงรู้จัก แต่อย่าไปเกี่ยวข้อง จะตกเป็นผู้ต้องหาว่าพรากผู้เยาว์นั้น สำคัญว่าเรา เข้าใจแค่ไหน เพราะบางทีเราพาเด็กไปดูแล แต่พ่อแม่กลับยัดเยียดข้อหาให้เป็นพรากผู้เยาว์ ใครว่าอายุเป็นเพียงตัวเลข มันยังผันโทษทางอาญาให้แก่เราได้หากไม่ระวัง การพรากผู้เยาว์มีเกณฑ์อายุกำกับไว้ว่า อายุเท่าไร แล้วทำอย่างไรก็ผิด หลักมีอยู่ว่า ถ้าพาเด็กอายุไม่เกิน 15 ไปเสียจากพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลโดยไม่มีเหตุอันสมคร จะต้องได้รับโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 6000 - 30000 บาท งานนี้ไม่สนใจว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ไม่ว่าจะได้พาไปเพื่อการอนาจาร หรือ ไปเที่ยวงานวัด หรือไปดูหนังฟังเพลง ว่าด้วย "เหตุอันสมควร" ก็มีเถียงกันว่ามันสมควรหรือไม่ อย่างเช่น พาเด็กไปดูหนังแล้วไม่บอกพ่อแม่ หายไปหลายชั่วโมงจึงพา มาส่งกลับก็รอรับข้อหาได้เลย อย่างนี้มีเดือดร้อน สำหรับเด็กที่หนีออกจากบ้านแล้วไปขอนอนบ้านเพื่อน บรรดาพ่อแม่ของเพื่อน จะไล่ไปก็ใช่ที่ แต่พอจะรับไว้ก็กลัวจะกลายเป็นพรากผู้เยาว์ อย่างนี้ไม่เข้าข่าย เพราะการที่เด็มาที่บ้านแล้วไม่ยอมกลับเป็นเรื่อง ที่เราไม่ได้พราก แต่เป็นเด็กหนีออกจากบ้านจากความปกครองดูแลมาเอง เคยมีเรื่องที่ฝ่ายหญิงได้เสียกับฝ่ายชายมาก่อน ก็ กลัวว่าจะไม่รับมาเป็นสะใภ้ที่บ้าน จึงแบกหน้ามาหาฝ่ายชายเสียเองเพื่อมาอยู่ด้วย คุณแม่ของลูกชายเห็นว่าเมื่อได้เสียกันอยู่แล้ว จึงยอมรับไว้เป็นสะใภ้ แม้อายุยังไม่ถึง 15 แล้วเรื่องก็ไปถึงศาลซึ่งเห็นว่า เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ต้องการเป็นภรรยาโดยสมัครใจ ไม่ใช่ การพรากผู้เยาว์ ผู้ใหญ่จึงต้องกวดขันในความปกครองของตัวเอาไว้ อย่าขับไล่หรือปล่อยให้ออกไปอยู่กับใคร มีอีกคดี ที่ลูกชายพาเด็กสาวอายุ 14ปี ไปเลี้ยงดูอยู่บ้านฉันสามีภรรยา แบบว่ารักกันก็พราหนี อย่างนี้ศาลถือว่าไม่เป็นการพรากไป โดยปราศจากเหตุอันสมควร นอกจากนี้ยังมีเรื่องของศึกชิงลุก เมื่อพ่อกันแม่ต้องแยกทางกัน แต่พ่อก็อยากได้ แม่ก็อยากเลี้ยงลูก วันดีคืนดีพ่อก็มาอุ้มลูกหนีไป ที่บ้าน ถึงแม้พ่อกับแม่จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ซึ่งทำให้พ่อกับลูกไม่ผูกผันตามกฎหมายไปด้วย แต่การพาลูกไป ก็ไม่ใช่การพรากผู้เยาว์ เพราะเขาพาไปโดยมีเหตุอันสมควร เกณฑ์อายุที่ต้องพิจารณาอีกช่วง ก็คือ เด็กที่อายุเกินกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ผู้พรากเด็กไปจะได้ข้อหาก็ต่อเมื่อเด็กนั้นไม่ยินยอม ด้วย สำหรับเด็กที่อายุเกิน 18 ไปแล้ว การพาเด็กเหล่านี้ไปแม้จะไม่มีเหตุอันสมควร ก็ไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ แต่อาจมี ความผิดอื่น เช่น การหน่วงเหนี่ยยวกักขังหรืออนาจาร แล้วแต่ว่าพาไปทำไม แล้วทำไมต้องพาไป คำว่าเด็กอายุต่างๆ ไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นเด็กหญิงหรือเด็กชาย ดังนั้น ทั้งเด็กสาวและเด็กหนุ่มทั้งหลายก็ได้รับความคุ้มครองทั้งสิ้น และผู้ที่เสียหายก็ได้แก่ตัวเด็กนั้นเอง รวมทั้งตัวผู้เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง และถ้าพาไปเพื่อการอนาจาร หรือเพื่อการค้าหากำไร ก็ได้ โทษหนักโทษสูงขึ้นไปอีก การพรากไม่ต้องฉุดกระชากลากถู ต่อให้จูงมือกันไปหรือเต็มใจก็เป็นพรากได้ กฎหมายต้องการเพียงให้ ได้ความว่า มีการแยกเด็กออกจากการปกครองดูแล แม้จะไม่ได้หลอกลวงเด็กก็ตาม และคนที่กระทำก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ใหญ่ เด็กๆด้วยกัน กระทำไปก้ได้ข้อหาเหมือนกัน ________________________________________ ภาษีของสามี-ภรรยา________________________________________ แต่งงานกันมันอยู่บนฐานแห่งความรักความเข้าใจก็ใช่อยู่ แต่เมื่อแต่งกันแล้วยังมีเรื่องเงินทองทรัพย์สินและภาระหน้าที่ติดตาม มาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะไม่ได้เค็มใส่กันสักเท่าไร แต่การทำมาหาได้ในระหว่างแต่งงานยังมีเรื่องของภาษี ที่ทั้งสามี ภรรยามีหน้าที่ต้องนำมาจ่ายให้แก่รัฐ เดี๋ยวนี้สิทธิของบุรุษและสตรีกำลังจะมีความเท่าเทียมกัน ภรรยาหลายบ้านจึงมีงานมีการเป็นของตัวเอง ทำให้มีรายได้มาเสริม ครอบครัว ไม่ว่าจะในลักษณะที่เป็นการทำงานกินเงินเดือน ทำธุรกิจเป็นเรื่องเป็นราว หรือทำการค้าเล็กน้อยพอมีรายได้มาจุนเจือ ครอบครัว ไม่ว่าสามีจะพอใจในการทำมาหาได้ของภรรยาหรือไม่ กฎหมายในเรื่องภาษีก็จะต้องเข้ามามีบทบาท หากภรรยามี รายได้เช่นนี้ เพียงแต่รู้แล้วอย่าตกใจ กฎหมายกำหนดให้เงินได้ของภรรยาถือเป็นเงินได้ของสามีอีกด้วย คุณสามีก็อย่าได้ดีใจถือโอกาสทวงรายได้มาใส่กระเป๋าตัวเอง แม้ความเป็นจริงของภรรยาจะเป็นผู้เก็บเงินได้ทั้งของตัวเองและ ของสามีเอาไว้ดูแลแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ตาม ความสำคัญยังอยู่ที่ว่า กฎหมายถือว่า เงินได้ของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี ผลก็คือ หน้าที่และความรับผิดชอบของสามีที่จะต้องนำเงินได้ของภรรยานี้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตามกฎหมายนั่นเอง และภรรยาก็อย่าเพิ่งดีใจว่าปลดปลอดจากหน้าที่เสียภาษีทั้งหลายที่ตัวหามาได้ เนื่องจากสามีจัดการาให้ตามที่กฎหมายบังคับ เพราะหากมีภาษีค้างชำระเกิดขึ้นเมื่อใด รัฐก็อาจแจ้งให้ฝ่ายภรรยาจัดการเสียโดยแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน อย่างนี้ ภรรยาก็จะผูกพันที่จะต้องร่วมรับผิดกับสามีในการจ่ายภาษีที่ค้างชำระนั้น ความจริงมันก็คนละกระเป๋าเดียวกัน แต่การนำมาคำนวณเงินได้เพื่อจ่ายภาษีในลักษณะนี้ ทำให้ฐานภาษีของสามีกว้างออกไป และนั่นหมายถึง อัตราภาษีที่ต้องจ่ายก็จะขยายสูงขึ้นไปด้วย เนื่องจากยิ่งมีเงินได้สุทธิมากเท่าไร ก็ยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้น เป็นการเสียหายทางการเงินแก่ครอบครัว ยังมีทางออกในทางกฎหมาย หากปรากฎว่าเงินได้ของภรรยาตกอยู่ในส่วนที่เป็นเงินได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน กฎหมายให้สิทธิภรรยาที่จะแยกวงมายื่นต่างหากจากสามีได้ โดยไม่ต้องถือเป็นเงินได้ของสามี ซึ่งเรา คงเคยสังเกตเห็นได้จากแบบยื่นรายการเพื่อเสียภาษีว่า มีช่องของคู่สมรสเอาไว้ให้ใส่เป็นรายการต่างหาก ดังนั้น หากต้องการ แยกจ่ายก็ยื่นไว้ในรายการฉบับเดียวกับสามี แต่แยกคำนวณภาษีต่างหากเท่านั้น อย่างนี้ก็ทำให้สามีภรรยาเสียภาษีน้อยลงไปด้วย เพราะเมื่อไม่นำไปรวมเงินได้ของสามี ฐานภาษีก็จะต่ำ อัตราภาษีก็จะพลอยต่ำไปด้วย ในการยื่นรายการจะมีเรื่องการหักค่าลดหย่อนบุตรและค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตร ถ้าแยกกันยื่นจะถือโอกาสต่างคนต่างหัก ลดหย่อนไม่ได้ มีลูกอยู่คนเดียวก็ต้องแบ่งกันหัก จะมาตีขลุมหักทั้งสองคนไม่ได้ ต้องแบ่งกันคนละครึ่งกับสามี แบบนี้มีทีเด็ด อยู่ตรงที่สมีบางคนเอาลูกที่ติดกับภรรยาเก่ามาหักลดหย่อนเต็มอัตรา เพราะภรรยาคนปัจจุบันไม่มีบุตร อย่างนี้ก็ทำไม่ได้ เพราะ ถ้าจะแยกรายการกันออกไป แม้ลูกคนละท้องแม่ก็ต้องหักลดหย่อนคนละครึ่งอยู่นั่นเอง ________________________________________ เมื่อต้องขอความยินยอม________________________________________ อยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา มีอะไรก็ค่อยพูดค่อยจากัน ส่วนใหญ่ภรรยาจะพูดมากกว่าสามี เราจึงมักเห็นชายไทยมีอาการสุขุมนุ่มลึก ไม่ค่อยเจรจาหลังแต่งงาน อาการนี้ได้กลายเป็นเหตุผลหนึ่งที่สามีใช้อ้างเมื่อภรรยากล่าวหาว่า ทำไมไม่บอก การจัดการสินสมรสบางอย่าง กฎหมายกำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เป็ฯต้นว่าการขาย จำนอง หรือทำประการใดๆ เกี่ยวกับที่ดินที่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการให้เช่าเกินกว่า 3 ปี การให้เขาอาศัยในบ้าน หรือไปมีเรื่องมีราวแล้วทำสัญญา ประนึประนอม หรือนำหลักทรัพย์ไปเป็นประกัน หรือกลักประกันกับตำรวจหรือศาล รวมทั้งการให้คนกู้ยืมเงิน จะต้องขอความยินยอม จากคู่สมรสเสียก่อน ที่สำคัญ การจะยกข้าวของเงินทองให้ใครก็ต้องยินยอมเช่นกัน เว้นเสียแต่เป็นการให้ตามฐานะนุรูปเพื่อการ กุศลหรือการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา เช่น บริจาคช่วยน้ำท่วม ซื้อบัตร ฟังปาฐกาถาในงานดินเนอร์ ให้ของขวัญงานแต่ง ยกตัวอย่างเช่น ประวิทย์ไปซื้อคอนโดให้สาวอื่นอยู่ ความมาแตกเมื่อ "ดาว" ภรรยาของเขาจับได้ แต่สามีก็หัวไวไหวตัว โดยบอกว่า ไม่ได้มีอะไรกับหญิงคนนั้น คอนโดหลังนี้ "สิริมา" ต้องการซื้อแต่ไม่มีเงินจึงขอยืมเขา เห็นเป็นเพื่อนเก่าของภรรยาก็เลยใจอ่อน ยอมให้ยืมเงิน แล้วช่วยติดต่อดูแลการเซ็นสัญญาเท่านั้น ผู้รู้กฎหมายอย่างดาว ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายคอนโดทันที แม้การซื้อคอนโดนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องความยินยอม เพราะไม่ใช่การขาย แต่ซื้อแล้วเอาไปให้สิริมานี่ต่างหากที่ไม่ถูกต้อง จะอ้างว่าให้ยืมเงินก็ยิ่งเข้าล็อกของกฎหมายไปอีก เพราะการให้ใครกู้ยืมเงินต้องขอความยินยอมอยู่ดี งานนี้ ประวิทิย์เองยัง ปากแข็งว่าไม่ได้ปดภรรยา ถ้าจะพลาดก็เพราะพลั้งเผลอโดยสุจริตเท่านั้น การขอความยินยอมนั้น ไม่ต้องถึงกับขออนุมัติเป็นทางการ เพียงบอกแล้วเขาไม่โต้แย้งคัดค้านก็ใช้ได้ เว้นแต่เป็นเรื่องที่ต้องมี ขั้นตอนตามกฎหมาย เช่น จะจำนองที่ดินต้องจดทะเบียนจำนองที่สำนักงานที่ดิน เจ้าหน้าที่ก็ต้องให้คู่สมรสจัดการยินยอมเป็น ลายลักษณ์อักษร และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บางรายไม่ได้ยินได้ยอม แต่มารู้ทีหลังก็ไม่ว่ากระไร กฎหมายถือเป็นการให้สัตยาบัน คือรับรอง การที่ได้ทำไปโดยปราศจากความ ยินยอมในตอนต้น อย่างนี้จะมาโวยทีหลังแล้วขอเพิกถอนไม่ได้ เช่น สามีให้เพื่อนยืมเงินไปสองแสน มีกำหนดหนึ่งปี ทำสัญญา กันไว้ดิบดี ตกลงให้เพื่อนชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน วันหนึ่งเพื่อนก็เอาเช็คค่าดอกเบี้ยมาให้ที่บ้าน พบภรรยาเลยให้เซ็นรับไว้ ภรรยาก็ไม่ว่าอย่างไร เพราะถือว่าภรรยาได้ให้สัตยาบันการกู้ยืมนี้แล้ว จะมาอ้างเพิกถอนทีหลังไม่ได้ ตามปกติ เราไม่มีวันรู้ว่าสามีภรรยาเขาเออออห่อหมกยินยอมกันจริงไหม วันดีคืนดี สามีเอาภรรยามาร้องเพิกถอน คนนอก็เสียหาย ได้ กฎหมายจึงป้องการการฮัวไว้ว่า ถ้าคนที่ได้รับผลจากการทำนิติกรรมนั้นๆ ได้ทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแล้ว ก็เพิกถอน ไม่ได้เช่นกัน สามีภรรยาได้แต่ไปจัดการเอาเรื่องกันเอง กรณีแบบนี้มักเกิดกับการซื้อขายที่ดินที่ไปใส่ชื่อสามีเพียงคนเดียวไว้ เพื่อให้จัดการได้คล่องแคล่ว ต่อมาสามีไปแอบบขายที่ดินโดย ไม่บอกภรรยามารู้ทีหลังจะจัดการเพิกถอนเอาที่ดินคืนไม่ได้ เพราะผู้ซื้อได้ซื้อไปโดยสุจริต และได้จ่ายค่าที่ดินแล้ว การเพิกถอน นิติกรรมนี้ไม่ใช่เดินไปบอกให้เขาถอน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับที่ดิน จะไปบอกเจ้าพนักงานที่ดินไม่ได้ ต้องนำความไปห้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลเพิกถอน แล้วนำคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นไปให้เจ้าพนักงานจดแจ้ง และกำหนดเวลาในการฟ้องร้อง ก็จำกัดไว้ว่า ต้องทำภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้เหตุเพิกถอน หรือไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรม หมายความว่า ถ้าสามีนำสินสมรสไปให้ ภรรยาน้อยเมื่อ 8 ปีที่แล้ว เราต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้ แต่ถ้าสามีให้ไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แม้จะเพิ่งรู้ก็สายเกินไป ไม่ต้อง กลัวว่าขอแล้วเขาหรือเธอไม่ยินยอม การดื้อแพ่งกแล้งไม่ยอมโดยไม่มีเหตุผล อีกฝ่ายหนึ่งก็อาศัยกฎหมายบังคับโดยการร้องขอ ต่อศาลให้สั่งอนุญาตแทนได้ หรือบางทีสามี หรือภรรยาอยู่ในสภาพที่ไม่อาจให้ความยินยอม เช่น อาการโคม่า หรือทิ้งร้างหายไป อีกฝ่ายก็อาศัยการร้องขอต่อศาลเป็นช่องทางในการทำนิติกรรมได้เช่นกัน |
ที่มา : นสพ คมชัดลึก คอลัมน์ “รู้ทันกฎหมาย” โดยคุณ ศรัณยา ไชยสุต |
สัญญาก่อนสมรส
ตอบลบก่อนที่ชายหญิงจะจดทะเบียนสมรสกัน กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสที่จะทำสัญญาก่อนสมรส กำหนดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามี ภริยา ในเรื่องทรัพย์สินได้ ซึ่งหากไม่มีสัญญาก่อนสมรสได้ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาในเรื่องทรัพย์สิน ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
สินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายคือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น เงิน ทอง เพชร รถ ฯลฯ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจจัดการได้ตามลำพัง เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ได้แก่บ้าน ที่ดิน คอนโด ที่เป็นการขาย จำหน่าย จำนองที่กฎหมายบังคับให้คู่สมรสจะต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนการซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นการได้มา คู่สมรสย่อมจัดการตามลำพังได้อยู่แล้ว
ที่กล่าวมาคือ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ในเรื่องการจัดการทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ดังนั้นคู่สมรสใดที่ต้องการที่จะจัดการเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ตามลำพัง โดยไม่ต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องขอความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง จึงอาจทำได้โดยการทำสัญญาก่อนสมรส
สัญญาก่อนสมรสทำได้โดยการจดแจ้งสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรส พร้อมกันไปกับ การจดทะเบียนสมรส หรือจะทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคน แนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส พร้อมทั้งจดไว้ในทะเบียนสมรส ในขณะจดทะเบียนสมรสว่า ได้มีสัญญาดังกล่าวแนบไว้ สัญญาก่อนสมรสใดที่ตกลงกันไว้ถ้าไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนดแนบไว้ สัญญาก่อนสมรสนั้นจะตกเป็นโมฆะ
อย่างไรก็ตาม การทำสัญญาก่อนสมรส จะต้องเป็นเรื่องของการจัดทรัพย์สิน ดังนั้นเงื่อนไขข้อที่ 2 ของคุณว่า ต้องการหย่าขาดกัน ให้สินสมรสทั้งหมดตกเป็นของภริยาฝ่ายเดียว โดยสามีไม่มีสิทธิในสินสมรสนั้น สัญญาก่อนสมรสตราเงื่อนไขข้อที่ 2 ใช้บังคับไม่ได้ เพราะไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน แต่เป็นสัญญาเกี่ยวกับ การแบ่งทรัพย์สินหลังจากการหย่า เงื่อนไขที่ 2 ถึงแม้จะเขียนไว้ก่อน เป็นสัญญาก่อนสมรสในทะเบียนสมรสก็ไม่อาจใช้บังคับได้
โดยทั่วไปสัญญาก่อนสมรส เมื่อได้ทำขึ้นตามแบบที่กฎหมายกำหนดคือ บันทึกไว้ในทะเบียนสมรส ในขณะที่มีการจดทะเบียนสมรสแล้ว จะทำให้ผูกพันคู่สมรสตลอดไป การจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสที่ทำไว้จะทำไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล และแม้จะมีข้อความในสัญญาก่อนสมรสไว้ให้สามีภริยามีสิทธิที่จะตกลงเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสได้ ข้อตกลงเช่นนี้บังคับไม่ได้
การเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรส ต้องร้องขอต่อศาลให้อนุญาตเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คู่สมรสที่อยู่กินจดทะเบียนกันแล้วซึ่งต่อไปอาจตกอยู่ใต้อิทธิพลของอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสฝ่ายที่เสียประโยชน์อาจถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรส โดยเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ได้ เพื่อให้การคุ้มครองในเรื่องนี้ จึงต้องให้ศาลอนุญาต แต่สัญญาก่อนสมรสที่ได้ทำ และต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หากยังไม่มีการจดทะเบียนสมรส ย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
.