ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

14 มิถุนายน 2555

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า



โรคซึมเศร้า หรือ ภาวะซึมเศร้ารุนแรง (อังกฤษ: Major depressive disorder, Clinical depression, Major depression, Unipolar depression) เป็นความผิดปกติของจิตใจซึ่งมีลักษณะโดยรวมคือ มีภาวะซึมเศร้าร่วมกับขาดความเคารพตนเอง รวมทั้งมีภาวะสิ้นยินดี (anhedonia) คือไม่มีความสนใจหรือพึงพอใจในกิจกรรมที่โดยปกติเป็นที่น่าพึงพอใจ ชื่อโรคเป็นทางการนี้ในภาษาอังกฤษ "major depressive disorder" ถูกเลือกขึ้นมาโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) เพื่ออธิบายกลุ่มอาการเหล่านี้ในเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ. 1980 และถูกใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่บัดนั้น ส่วนคำว่า ภาวะซึมเศร้า (depression) นั้นมักใช้อธิบายความผิดปกติแต่สามารถใช้เพื่ออธิบายชนิดของภาวะซึมเศร้าทั่วไปอื่นๆ ซึ่งในทางคลินิกและทางการวิจัยแล้วนั้นมักใช้คำศัพท์ที่แน่นอนกว่านี้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะผิดปกติซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัวของผู้ป่วย ชีวิตการเรียนหรือการทำงาน พฤติกรรมการนอนและการกิน รวมทั้งสุขภาพโดยทั่วไป ในสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึงประมาณร้อยละ 3.4 ที่ฆ่าตัวตายและมากถึงร้อยละ 60 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อื่นๆ


อาการ

ภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรงมีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อครอบครัวผู้ป่วย ความสัมพันธ์ส่วนตัว การทำงานหรือการเรียน การนอนหลับและการรับประทานอาหาร และสุขภาพทั่วไป
ผู้ป่วยที่มีลักษณะภาวะซึมเศร้าจะมีอารมณ์หดหู่ และไม่อยากทำกิจกรรมที่ปกติเคยชอบทำ มักจะหมกมุ่น มีความคิดหรือรู้สึกถึงการไม่มีคุณค่า ความเสียใจหรือรู้สึกผิดอย่างไม่มีเหตุผล ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หมดหวัง และเกลียดตัวเอง ในรายที่รุนแรงจะแสดงอาการของภาวะทางจิต (psychosis) เช่น เห็นภาพหลอน (hallucination) หรือหลงผิด (delusion) ส่วนอาการอื่นๆ ได้แก่ สมาธิแย่ลงและความจำสั้นในผู้ป่วยที่มีภาวะใจลอยร่วมด้วย การแยกตัวจากสังคมและกิจกรรมต่างๆ ความต้องการทางเพศลดลง และมีความคิดเกี่ยวกับความตายหรือการฆ่าตัวตาย
โรคนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นลักษณะหนึ่งของการซึมเศร้า โดยทั่วไปจะตื่นนอนตอนเช้ามากและเมื่อต้องการนอนหลับก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งโรคนอนหลับมากเกินไป (hypersomnia) ก็เป็นอาการของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
ลักษณะทางกายภาพ เช่น เหนื่อยง่าย ปวดหัว หรือมีปัญหาทางระบบย่อยอาหาร ความอยากทานอาหารลดลงทำให้น้ำหนักลดลง ซึ่งถึงการกินอาหารมากเกินไปและน้ำหนักขึ้นก็สามารถเกิดขึ้นได้ในบางราย คนใกล้ตัวสามารถสังเกตเห็นได้ว่าพฤติกรรมผู้ป่วยมีลักษณะอาการร้อนรนหรือเอื่อยเฉื่อย (agitated or lethargic)




การป้องกัน

ในปี 2008 มีการค้นพบว่า interpersonal therapy(IPT) ใช้ได้ผลและมีประสิทธิภาพเมื่อใช้กับรายบุคคลหรือกลุ่มเล็กๆ และโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ท

 

การดูแล

การรักษาโรคซึมเศร้าหลักๆ มี 3 วิธี คือ การบำบัดทางจิต การจ่ายยา และการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า โดยการบำบัดทางจิตจะใช้รักษาผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 18 ปี และการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าจะใช้เป็นทางเลือกท้ายสุดของการรักษา

 

 อ้างอิง

  • American Psychiatric Association (2000a). Diagnostic and statistical manual of mental disorders, Fourth Edition, Text Revision: DSM-IV-TR. Washington, DC: American Psychiatric Publishing, Inc.. ISBN 0890420254.
  • Barlow DH; Durand VM (2005). Abnormal psychology: An integrative approach (5th ed.). Belmont, CA, USA: Thomson Wadsworth. ISBN 0534633560.
  • Beck, Aaron T.; Rush J, Shaw BF, Emery G (1987) [1979]. Cognitive Therapy of depression. New York, NY, USA: Guilford Press. ISBN 0898629195.
  • Freeman, Arthur; Epstein, Norman & Simon, Karen M. (1987). Depression in the Family. Haworth Press. ISBN 0866566244.
  • Hergenhahn BR (2005). An Introduction to the History of Psychology (5th edition ed.). Belmont, CA, USA: Thomson Wadsworth. ISBN 0534554016.
  • May R (1994). The discovery of being: Writings in existential psychology. New York, NY, USA: W. W. Norton & Company. ISBN 0393312402.
  • Parker, Gordon; Dusan Hadzi-Pavlovic, Kerrie Eyers (1996). Melancholia: A disorder of movement and mood: A phenomenological and neurobiological review. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 052147275X.
  • Royal Pharmaceutical Society of Great Britain (September 2008). British National Formulary (BNF 56). UK: BMJ Group and RPS Publishing. ISBN 9780853697787. http://www.bnf.org/bnf/.
  • Sadock, Benjamin J.; Sadock, Virginia A. (2002). Kaplan and Sadock's Synopsis of Psychiatry: Behavioral Sciences/Clinical Psychiatry (9th ed.). Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 0781731836.

 

แหล่งข้อมูลอื่น

 

7 ความคิดเห็น:

  1. โรคซึมเศร้า (Major depression)
    โรคซึมเศร้า (Major depression)

    เกณฑ์วินิจฉัย


    โรคซึมเศร้า หรือ Major depression (เรียกอีกชื่อว่า unipolar depression) ในทางการแพทย์มีเกณฑ์วินิจฉัยดังนี้

    ต้องมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยห้าอย่างภายในระยะ 2 สัปดาห์เดียวกัน โดยในห้าอย่างนั้นต้องมีอย่างที่ 1 และ 2 อยู่ด้วย

    1. มีอารมณ์ซึมเศร้า

    2. ไม่สนใจเรื่องใดๆ หรือสิ่งบันเทิงใดๆ

    3. น้ำหนักลด หรือน้ำหนักเพิ่มผิดตา

    4. นอนไม่หลับ หรือเอาแต่นอนหลับทั้งวัน

    5. การเคลื่อนไหวลนลาน หรือเชื่องช้าผิดจากเดิม

    6. เปลี้ยล้าหรือหมดพลัง

    7. รู้สึกตัวเองไร้ค่า

    8. ตั้งสติไม่ได้ คิดอะไรไม่ตก ตัดสินใจอะไรไม่ได้

    9. คิดวนเวียนเรื่องความตาย อยากตาย การฆ่าตัวตาย



    อาการต้องไม่ใช่แบบสลับกับอาการโอ่อ่าร่าเริงดีใจเกินเหตุ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจะถูกจัดให้เป็นโรคจิตชนิด bipolar disorder ไม่ใช่ภาวะซึมเศร้า

    อาการเป็นมากถึงขั้นทำให้การทำงานปกติเสียไป

    อาการไม่ได้เกิดจากโรคทางกายหรือการใช้ยาหรือสาร

    ไม่ใช่ความเศร้าจากการสูญเสียญาติหรือคนสนิท (bereavement) ซึ่งกรณีเช่นนั้นจะเป็นนานไม่เกินสองเดือน



    บ่อยครั้งที่ภาวะซึมเศร้าแสดงออกด้วยอาการทางร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ถ้าเป็นผู้สูงอายุอาจแสดงออกด้วยอาการสมรรถนะในการทำงานประจำวันลดลง หรือสมองมึนงงสับสน หรืออาการไม่ยอมทำอะไรคล้ายคนเป็นโรคสมองเสื่อม (pseudodementia) ในกรณีที่เป็นเด็กโรคนี้อาจแสดงออกด้วยอาการเรียนหนังสือตก หงุดหงิดโมโหง่าย หรือแยกตัวจากเพื่อนๆ
    ยาหลายตัวทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ เช่นยาลดความดัน (ยากั้นเบต้า ยาต้านแคลเซียม) ยาสะเตียรอยด์ ยากระเพาะอาหาร (เช่นยาระงับการหลั่งกรด) ยากล่อมประสาท ยาคลายกล้ามเนื้อ ยากดความอยากอาหาร ยาเคมีบำบัด ฮอร์โมนเพศ และโรคของต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อฮอร์โมน เป็นต้น สารเสพติดก็เป็นตัวก่อภาวะซึมเศร้าได้ เช่น แอลกอฮอล์ โคเคน ยาบ้า กัญชา เป็นต้น

    การรักษาโรคซึมเศร้า


    หลักฐานวิจัยบ่งบอกว่าภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับการที่สารซีโรโทนินซึ่งทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลระหว่างเซลประสาทในสมองมีจำนวนลดลง มาตรการรักษาด้วยยาจึงเป็นมาตรการหลักที่แพทย์นิยมใช้ โดยมียาที่แพทย์ใช้อยู่สองกลุ่ม คือ


    (1) กลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) เช่น Sertraline (Zoloft) 25-50 มก.ต่อวัน Paroxetine (Paxil) 10-20 มก.ต่อวัน ในการให้ยา ต้องให้นาน 2-6 สัปดาห์ก่อนที่จะบอกได้ว่าการสนองตอบต่อยาดีหรือไม่ งานวิจัยแบบเมตาอานาไลซีสเพื่อเปรียบเทียบยาในกลุ่มนี้ 12 ตัว พบว่าอัตราการไม่สนองตอบต่อยาเมื่อผ่านไปแล้ว 2-6 สัปดาห์มีถึง 38% และถ้านับรวมผู้ที่สนองตอบต่อยาบ้างแต่ไม่ถึงกับอาการหายไปด้วย อัตราความล้มเหลวของยามีถึง 54%


    (2) ยากลุ่ม Tricyclic antidepressants เช่น amitriptyline วันละ 50-150 มก. ยาในกลุ่มนี้อาจทำให้ทำให้สับสนมากขึ้น และง่วงตอนกลางวันได้


    มาตรการไม่ใช้ยารวมถึงการช็อกสมองด้วยไฟฟ้า (ECT) ซึ่งยังเป็นทางเลือกมาตรฐานในการรักษาโรคนี้อยู่

    ส่วนมาตรการที่ผู้ป่วยทำได้เองรวมถึง

    (1) การหัดใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน slow down ให้ชีวิตลดความเร่งรีบลง ละเลียดกับสิ่งละอันพันละน้อยที่อยู่ตรงหน้าโดยทิ้งอดีตและอนาคตไว้ก่อน ทำอะไรให้มันน้อยลง ให้มันช้าลง

    (2) จัดตารางการใช้ชีวิตประจำวันให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนพอเพียง

    (3) ออกกำลังกายให้ได้ถึงระดับมาตรฐาน คือหนักพอควร (เหนื่อยจนร้องเพลงไม่ได้) ต่อเนื่องกันวันละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วัน ควบกับการออกกำลังกายแบบสร้างความแข็งแร็งให้กล้ามเนื้ออีกสัปดาห์ละอย่างน้อย 2 ครั้ง

    (4) ฝึกตามสังเกตความคิดตัวเองให้ทัน เพื่อดับวงจรความคิดซ้ำซาก เปลี่ยนวิธีคิดใหม่เป็นคิดบวก ทางการแพทย์เรียกการรักษาแบบนี้ว่า cognitive therapy
    (5) รับการสนับสนุนจากสังคมรอบตัว เช่นไปหาเพื่อน หาญาติ โทรศัพท์ปรับทุกข์กับคนที่สนิท ไม่ควรตัดขาดจากคนรอบข้าง

    (6) ใช้สิ่งแวดล้อมช่วยรักษา เช่น ออกไปถูกแสงแดด (phototherapy) สัมผัสธรรมชาติ



    นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์



    .

    ตอบลบ
  2. ซึมเศร้า depression


    รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ

    ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต

    น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป

    นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ

    รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า

    ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง

    อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง

    กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ

    คิดถึงแต่ความตาย และอยากที่จะฆ่าตัวตาย



    ถ้าหากคุณมีอาการเช่นนี้หลายข้อ เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ คุณอาจจะกำลังเป็นโรคซึมเศร้า




    โรคซึมเศร้าเป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเรา
    เหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
    การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ
    ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง
    เกิดได้ทั้งมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง
    และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใดๆ ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา
    การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน




    สาเหตุของโรคซึมเศร้า




    หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติของท่าน ก็เพิ่มการป่วยโรคนี้กับสมาชิกอื่นในบ้าน
    แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นกันทุกคน ปัจจัยที่กระตุ้นให้คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้
    มีโอกาสเกิดอาการก็คือ ความเครียด แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้น
    เพื่อรักษาสมดุลย์ของอารมณ์




    สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดูก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่ง
    ต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเอง
    และโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่าย
    เมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น




    นอกจากนี้ หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง
    ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงใน
    ทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้
    สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยก็คือ
    การมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทางสภาพจิตใจ
    ประจวบกับการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย






    .

    ตอบลบ
  3. การรักษา






    --------------------------------------------------------------------------------








    โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ
    และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง
    ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว
    ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี "ภูมิคุ้มกัน" สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม
    ส่วนใหญ่แล้วการรักษาโรคซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องมา
    นอนรักษาในโรงพยาบาลแต่อย่างไร




    เมื่ออาการของโรครุนแรง จนอาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย
    หรือผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
    อาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้า แต่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น





    ยารักษาโรคซึมเศร้า






    --------------------------------------------------------------------------------








    ในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าแบ่งออกได้หลายกลุ่ม
    ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์ คือ
    กลุ่ม tricyclic (คือยาที่มีโครงสร้างทางเคมีสามวง)
    กลุ่ม monoamine oxidase inhibitors เรียกย่อๆ ว่า MAOI
    และกลุ่มสุดท้ายคือยากลุ่มใหม่ชื่อ SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แต่ประสิทธิภาพการรักษาเท่าเทียมกัน
    แพทย์อาจเริ่มจ่ายยากลุ่มใดแก่ผู้ป่วย ก่อนก็ได้เพื่อดูผลตอบสนอง
    เนื่องจากเราไม่อาจทราบก่อนได้เลยว่า ผู้ป่วยคนใดจะ"ถูก"กับยาชนิดใด แล้วแพทย์จะค่อยๆปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับอาการต่อไป




    ยารักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์โดยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุลย์
    เป็นการรักษาโรคโดยตรง มิใช่เป็นเพียงยาที่ทำให้ง่วงหลับ
    จะได้ไม่ต้องคิดมากเช่นที่คนมักเข้าใจผิดกัน




    ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักต้องการหยุดกินยาเร็วกว่าที่ควรเป็น
    ข้อสำคัญและพึงปฏิบัติที่สุดก็คือ การกินยาอย่างต่อเนื่อง
    จนกว่าแพทย์จะบอกให้ท่านหยุด ถึงแม้ว่าจะรู้สึกดึขึ้นแล้วก็ตาม
    ยาบางตัวต้องค่อยๆลดขนาดลง เพื่อให้โอกาสร่างกายปรับตัว




    ไม่ต้องกังวลว่า ยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่กินแล้วติดหยุดยาไม่ได้
    อย่างไรก็ตาม ก็เช่นเดียวกับการรักษาโรคอื่นๆ
    แพทย์อาจให้ตรวจวัดระดับยาให้ถูกต้องกับอาการเป็นระยะๆ




    สิ่งที่คุณหลีกเลี่ยงก็คือ การซื้อยากินเองจากร้านขายยา ยืมยาจากเพื่อน หรือกินยาจากแพทย์ท่านอื่นปนกับโรคซึมเศร้า โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน เช่นเดียวกับแพทย์คนอื่นหรือหมอฟันด้วยว่า ท่านกำลังกินยารักษาโรคซึมเศร้าอยู่
    อย่าวางใจว่า เป็นแค่ยาพื้นบ้านธรรมดา คงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอะไรร้ายแรง
    การดื่มอัลกอฮอล์จากเหล้า เบียร์ หรือไวน์ จะลดประสิทธิภาพของยาลง




    ยานอนหลับหรือยาลดความกังวล ไม่ใช่ยาที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้โดยลำพัง
    อย่างที่กล่าวแล้ว แม้ว่าบางครั้งแพทย์จะสั่งใช้ยาชนิดนี้ควบคู่ไปกับยารักษาโรคซึมเศร้า
    เพื่อบรรเทาอาการกังวลในระยะต้นของการรักษา และไม่ควร
    ใช้ยากระตุ้นประสาทหรือยาม้าเพื่อหวังผลให้หายเพลียเพียงชั่วครั้งชั่วคราว




    ควรถามแพทย์ทุกครั้งที่ท่านมีปัญหาที่เกิดจากยา หรือเกิดปัญหาที่คิดว่าอาจเกิดจากยา






    .

    ตอบลบ
  4. ผลข้างเคียง






    --------------------------------------------------------------------------------








    ยารักษาโรคซึมเศร้ามีผลข้างเคียงอยู่บ้างกับผู้ใช้บางคน
    อันอาจก่อความรำคาญ แต่ไม่อันตราย อย่างไรก็ตาม
    เมื่อรู้สึกว่ามีผลข้างเคียงของยาเกิดขึ้น กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบ
    ผลข้างเคียงต่อไปนี้มักเกิดจากกลุ่มยา tricyclics ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ถูกสั่งใช้บ่อยที่สุด และเราได้แนะนำวิธีบรรเทาผลข้างเคียงไว้ท้ายข้อแล้วดังนี้




    1.ปากแห้งคอแห้ง




    ดื่มน้ำบ่อยๆ เคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล รักษาสุขภาพช่องปากให้ดี




    2.ท้องผูก




    กินอาหารที่มีกาก หรือมีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ ผักผลไม้ เช่น ส้มโอ มะขาม มะละกอ




    3.ปัญหาการถ่ายปัสสาวะ




    อาจมีการถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่งเช่นเคย
    อาจใช้มือกอหน้าท้องช่วยและปรึกษาแพทย์




    4.ปัญหาทางเพศ




    อาจมีปัญหาขณะร่วมเพศได้บ้าง ซึ่งปรึกษาแพทย์ได้




    5.ตาพร่ามัว




    อาการนี้จะหายไปอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องตัดแว่นใหม่




    6.เวียนศีรษะ




    ลุกจากเก้าอี้ หรือเตียงช้าๆ ดื่มน้ำมากขึ้น




    7.ง่วงนอน




    อาการอาจหายไปเอง อย่าพยายามขับรถ หรือทำงานกับเครื่องจักร หากง่วงมากในช่วงเช้าให้เลื่อนยามื้อก่อนนอนมากินหัวค่ำกว่าเดิม




    สำหรับกลุ่ม SSRI อาจมีผลข้างเคียงที่ต่างออกไป ดังต่อไปนี้




    1.ปวดศรีษะ อาจมีอาการสักช่วงหนึ่ง แล้วจะหายไป




    2.คลื่นไส้ มักเป็นเพียงชั่วคราว




    3.นอนไม่หลับหรือกระวนกระวาย พบได้ในช่วง 2ถึง3 สัปดาห์แรก
    ของการกินยา หากคงอยู่นานควรปรึกษาแพทย์






    .

    ตอบลบ
  5. การรักษาทางจิตใจ






    --------------------------------------------------------------------------------








    มีวิธีรักษาทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
    ซึ่งอาจเป็นการ"พูดคุย"กับจิตแพทย์ 10 ถึง 20 ครั้ง
    อันจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจกับสาเหตุของปัญหา
    และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยการเปลี่ยนมุมมองกับแพทย์ การรักษาทางพฤติกรรมจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีที่จะได้รับความพอใจ
    หรือความสุขจากการกระทำของเขา และพบวิธีที่จะหยุดพฤติกรรมที่
    อาจนำไปสู่ความซึมเศร้าด้วย




    การรักษาอีก 2 รูปแบบต่อไปที่มีการศึกษาแล้วว่า
    สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดี คือ
    การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
    และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม
    โดยการรักษารูปแบบแรกมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาระหว่าง
    ผู้ป่วยกับคนรอบข้างที่อาจ เป็นสาเหตุและกระตุ้นให้เกิดความซึมเศร้า ส่วนการรักษาแบบหลังจะช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิด
    และพฤติกรรมในแง่ลบกับตนเอง




    ส่วนการรักษาโดยอาศัยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ก็นำมารักษาโรคนี้ โดยช่วยผู้ป่วยค้นหาปัญหาข้อขัดแย้งภายในจิตใจผู้ป่วย
    ซึ่งอาจมีรากฐานมาจากประสบการณ์ตั้งแต่เด็ก




    โดยทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง มีอาการกำเริบซ้ำๆ จะต้องการการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจควบคู่กัน
    เพื่อผลการรักษาในระยะยาวที่ดีที่สุด




    จะช่วยรักษาตนเองได้อย่างไร






    --------------------------------------------------------------------------------








    การป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามักจะทำให้คุณรู้สึกเพลีย รู้สึกไร้ค่า
    เหมือนช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่มีความหวัง ความคิดในแง่ลบกับตนเองในแบบนี้ มักจะทำให้ผู้ป่วยบางคนท้อถอยและยอมแพ้ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบว่า
    ความคิดหรือความรู้สึก เหล่านี้เป็นเพียงแค่อาการของโรค มิได้สะท้อนเรื่องจริงในชีวิตของคุณอย่างถูกต้องแต่อย่างใด
    ความคิดเหล่านี้จะค่อยๆหมดไปเมื่อเริ่มต้นการรักษาไปสักระยะหนึ่ง




    ในระหว่างนี้คุณควรจะ






    อย่านำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน
    อย่าตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก
    หรือเข้าไปแบกความรับผิดชอบมากๆ

    พยายามย่อยงานใหญ่ให้เป็นงานเล็ก เลือกทำที่สำคัญกว่าก่อน
    แล้วทำให้เต็มที่เท่าที่จะเป็นไปได้

    อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป
    เพราะนั่นคือ คุณกำลังสร้างความล้มเหลว

    ร่วมกิจกรรมที่คุณอาจเพลินใจ เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง
    ดูกีฬา เข้ากิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม แต่อย่าหักโหมหรือหงุดหงิด
    ถ้ามันไม่ช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้นอย่างทันใจ เพราะอาจใช้เวลาบ้าง

    อย่าด่วนตัดสินใจกับเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิต เช่น ลาออก เปลี่ยนงาน
    แต่งงาน หรือหย่า โดยไม่ปรึกษาคนอื่นที่รู้จักคุณดีและ
    มีมุมมองที่เป็นกลางต่อปัญหาพอ ไม่ว่าด้วยเหตุใด พยายามเลื่อนการตัดสินใจออกไปก่อนจนกว่าอาการป่วยของคุณจะดีขึ้น

    อย่าหวังว่าจะหายจากอาการซึมเศร้าแบบ "ลัดนิ้วมือเดียว"
    เพราะเป็นไปได้ยาก จงพยายามช่วยตนเองให้มากที่สุด โดยไม่โทษตนเองว่า ที่ไม่หายเพราะตนเองไม่พยายามหรือไม่ดีพอ

    พึงระลึกว่า จะไม่ยอมรับความคิดในแง่ร้าย
    บอกตนเองว่ามันเป็นสวนหนึ่งของอาการของโรค
    และจะหายไปเมื่ออาการของโรคดีขึ้น




    .

    ตอบลบ
  6. ครอบครัวและเพื่อนก็ช่วยได้






    --------------------------------------------------------------------------------








    จากการที่โรคทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้า หมดหวัง
    คุณอาจต้องการหรือต้องพึ่งความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้าง
    อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่คนไม่เคยป่วยด้วยโรคนี้
    จะเข้าใจผลของการเป็นโรคซึมเศร้า
    พวกเขาอาจพูดหรือแสดงท่าทีที่ทำให้คุณรู้สึกเสียใจ
    โดยที่พวกเขาไม่ได้ตั้งใจ คุณอาจส่งคำแนะนำเล่มนี้
    ให้คนที่คุณอยากให้เขาเข้าใจที่สุดอ่านดู เผื่อเขาจะได้เข้าใจ
    และช่วยเหลือคุณได้บ้าง




    วิธีช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า




    สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยให้เขาได้รับการตรวจวินิจฉัย
    และรักษาที่ถูกต้องจากจิตแพทย์ ทั้งยังอาจช่วยให้กำลังใจเขา
    ให้เขาร่วมมือกับแผนการรักษาจนกว่าอาการจะทุเลา
    ในครั้งแรก เราอาจจะต้องเป็นผู้ช่วยนัดเหมายจิตแพทย์ให้
    และไปตรวจพร้อมกับเขา แล้วช่วยติดตามว่า
    ผู้ป่วยได้กินยาตามที่แพทย์สั่งมาหรือไม่




    ลำดับถัดมาคือ การช่วยเหลือทางจิตใจ
    อันได้แก่การแสดงความเข้าใจ ความอดทน ความเอาใจใส่
    และให้กกำลังใจ แก่ผู้ป่วยโดยการดึงผู้ป่วยเข้ามาร่วมวงสนทนา
    และเป็นผู้ฟังที่ดี อย่ามองข้ามคำพูดที่ว่า อยากตาย
    หรืออยากฆ่าตัวตาย ควรรีบแจังให้จิตแพทย์ทราบ




    พยายามชวนผู้ป่วยไปเดินเล่น เปลี่ยนสถานที่ ชมภาพยนต์
    หรือเข้ากิจกรรมต่างๆ ควรแสดงความตั้งใจจริงที่เราอยากให้เขาไป
    หากตอนแรกเขาปฏิเสธ อาจต้องคะยั้นคะยอให้เขา
    ทำกิจกรรมที่เขาชอบและเพลิดเพลิน เช่น งานอดิเรก กีฬา ศาสนา
    หรือสมาคมต่างๆ แต่ไม่ต้องรีบบังคับผู้ป่วยรับที่จะทำหรือเข้าร่วมกิจกรรมมากๆ
    และเร็วเกินควร แม้ผู้ป่วยเหล่านี้จะต้องการสิ่งที่มาจรรโลงใจ
    แต่การคาดหวังกับเขามากเกินไปจะยิ่งทำให้เขารู้สึกล้มเหลว




    อย่ากล่าวโทษผู้ที่กำลังป่วยด้วยโรคซึมเศร้าว่า แกล้งป่วย
    หรือเกลียดคร้าน หรือคาดคั้นให้หายซึมเศร้าในพริบตา
    ในที่สุดแล้วผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะดีขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ
    จงระลึกถึงความจริงข้อนี้และให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยเช่นกันว่า
    ด้วยการช่วยเหลือและการรักษา เขาจะหายจากโรคนี้แน่นอน



    .

    ตอบลบ
  7. คิดว่าตัวเองต้องเป็นแน่ๆ เลย
    ไม่กล้าไปหาหมอ เพราะกลัวแพง
    อยากรู้ราคาค่ะ ใครพอทราบบ้าง ว่าที่ไหนดีราคาถูก
    อยากหายค่ะ อาการยังไม่เยอะ เข้าสังคม พุดคุย ให้คำปรึกษาผู้อื่นได้อยุ่
    แต่จะกินไม่ได้นอนไม่หลับ แล้วเครียดแบบไม่มีเหตุผล

    ตอบลบ