ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

08 มิถุนายน 2555

การถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินของชาวต่างชาติในประเทศไทย

การถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินของชาวต่างชาติในประเทศไทย



การได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ของคนต่างด้าว

คนต่างด้าวที่ได้นำเงินมาลงทุนตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาทอาจขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่ และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยในการขอได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ วิธิการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ตามนัยมาตรา ๙๖ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนี้
๑. กรณีคนต่างด้าวซึ่งได้นำเงินมาลงทุน มีความประสงค์จะขออนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๑ ตามแบบ ต.๔ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
๑.๑ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวซึ่งออกให้โดยสถานีตำรวจท้องที่ที่คนต่างด้าวมีภูมิลำเนาอยู่ หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ซึ่งออกให้โดย กองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือเอกสารหนังสือเดินทางแสดงสัญชาติของคนต่างด้าว
๑.๒ หลักฐานเกี่ยวกับการลงทุนในประเภทของธุรกิจหรือกิจการประเภทหนึ่งประเภทใดที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังนี้
๑.๒.๑ หนังสือรับรองการลงทุนจากผู้ขายพันธบัตร และพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินหรือดอกเบี้ย
๑.๒.๒ หนังสือรับรองการลงทุนจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว่าได้ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักฐานการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว
๑.๒.๓ หลักฐานการลงทุนในการลงทุนเรือนหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคล และบัตรส่งเสริมที่แสดงว่านิติบุคคลดังกล่าวได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
๑.๒.๔ หลักฐานการลงทุนในกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็น กิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคล และหนังสือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ระบุว่ากิจการที่นิติบุคคลดังกล่าวดำเนินการอยู่เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้
อนึ่ง หลักฐานตาม ๑.๒.๑ ถึง ๑.๒.๔ จะใช้ข้อหนึ่งข้อใดหรือหลายข้อรวมกัน ก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท
๑.๓ หลักฐานการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ หรือหลักฐานการถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ เพื่อการลงทุน
อนึ่ง หลักฐานดังกล่าวจะใช้อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท
๑.๔ หนังสือรับรองจากผังเมืองจังหวัดว่าที่ดินที่จะขอให้ได้มาอยู่ภายในบริเวณที่กำหนดเป็นประเภทที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เฉพาะกรณีที่ดินนั้นอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล
๑.๕ หนังสือรับรองจากกระทรวงกลาโหมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าที่ดินอยู่นอกเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร
๑.๖ แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งของที่ดินขออนุญาต
๑.๗ ในกรณีที่ผู้ขอเป็นผู้มีสิทธิ์ในที่ดินอยู่แล้วในขณะที่ยื่นคำขอให้ได้มาซึ่งที่ดิน ให้แสดงหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวด้วย
๒. ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำรงการลงทุนไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี และแสดงหลักฐานการถือครองการลงทุน ตาม ๑.๒ แล้วแต่กรณีที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๑ ปีละครั้ง ก่อนหรือภายในวันครบรอบปีของการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินเป็นระยะเวลาห้าปีติดต่อกัน
๓. ผู้ได้รับอนุญาตต้องใช้ที่ดินนั้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับตนเองหรือครอบครัวโดยไม่ขัดต่อศีลธรรม จารีตประเพณี หรือวิถีชีวิตอันดีของชุมชนในท้องถิ่นนั้น
๔. ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจ้งการใช้ที่ดินนั้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๑ ทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่เริ่มใช้ที่ดินนั้น
๕. เมื่อได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควรในการกำกับดูแลการใช้ที่ดินนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
๖. ถ้าผู้ได้รับอนุญาตถอนการลงทุนในธุรกิจหรือกิจการที่ลงทุนก่อนครบกำหนดเวลาการดำรงทุนตาม ๒ ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๑ ทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ถอนการลงทุน
๗. ผู้ได้รับอนุญาตต้องใช้ที่ดินนั้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยภายในกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันจดทะเบียนการได้มา
๘. ถ้าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตาม ๒ หรือ ๖ ดังกล่าว อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดการจำหน่ายที่ดิน ในส่วนที่ผู้ได้รับอนุญาตมีสิทธิ์ภายในเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวอธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และถ้าไม่ปฏิบัติตาม ๗ อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น
๙. เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย ส่วนการรับรองความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาไทย ให้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙
๑๐. กรณีนำเงินลงทุนมาลงทุนแล้วสี่สิบล้านบาท และซื้อที่ดินไม่ครบ ๑ ไร่ ต่อมาต้องการซื้อที่ดินเพิ่มอีกภายในระยะเวลาที่ดำรงการลงทุน สามารถใช้หลักฐานการลงทุนเดิมมาใช้ประกอบคำขอได้

การขอได้มาซึ่งที่ดินหรือห้องชุดของคนต่างด้าว และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าว

๑. กรณีคนต่างต่างด้าวขอได้มาซึ่งที่ดิน ปัจจุบันคนต่างด้าวสามารถที่จะขอได้มาซึ่งที่ดินในประเทศไทยได้ใน ๓ กรณี คือ
๑.๑ โดยการขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ตามมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเมื่อรวมกับที่ดินที่มีอยู่เดิมแล้ว (หรือยังไม่เคยมี) ต้องไม่เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ ตามความในมาตรา ๘๗ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น ที่อยู่อาศัยไม่เกิน ๑ ไร่
๑.๒ คนต่างด้าวทึ่ได้นำเงินมาลงทุนตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท อาจขอให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่ได้เกินหนึ่งไร่ และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยในการขอได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวต้องไปเป็นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ตามนัยมาตรา ๙๖ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
๑.๓ คนต่างด้าวอาจขอได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โทร ๐-๒๕๓๗-๘๑๑๑ หรือพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๒ โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร ๐-๒๒๕๓-๐๕๖๑ หรือ ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
๒. กรณีคนต่างด้าวขอถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวจะถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดในประเทศไทยได้ ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ หากขาดหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่อาจจะถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดดังกล่าวได้ กล่าวคือ
๒.๑ ต้องเป็นคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) เป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นทิ่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยแสดงหลักฐาน หนังสือเดินทางแสดงสัญชาติของคนต่างด้าว และใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (แบบ ตม.๑๑, ตม.๑๕ หรือ ตม.๑๗ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี) ซึ่งออกให้โดยกองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือสำหรับคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวซึ่งออกให้โดยสถานีตำรวจ ท้องที่ที่คนต่างด้าวมีภูมิลำเนาอยู่ ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานขอได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดในกรณีนี้ได้ โดยไม่ต้องนำหนังสือเดินทางมาแสดงอีก
(๒) เป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน โดยแสดงหลักฐานหนังสือเดินทางแสดงสัญชาติของคนต่างด้าว และหนังสือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่รับรองว่าเป็นคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(๓) เป็นนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๗ และ มาตรา ๙๘ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจดทะเบียนเป็นจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาบไทย โดยแสดงหลักฐานการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย เช่น บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว ต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนจำกัด กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
(๔) เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน โดยแสดงหลักฐานหนังสือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่รับรองว่าเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมาว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(๕) คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร หรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ต้องแสดงหลักฐานดังต่อไปนี้
๒.๒ การถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าวและนิติบุคคลดังกล่าวในข้อ ๒.๑ เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินอัตราร้อยละสี่สิบเก้าของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา ๖ โดยมีข้อยกเว้นดังนี้
ก. สำหรับอาคารชุดใดที่จะมีคนต่างด้าวและหรือนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในข้อ ๒.๑ ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดเกินกว่าอัตราร้อยละสี่สิบเก้า อาคารชุดนั้นจะต้องอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล หรือเขตเมืองพัทยา มีที่ดินที่ตั้งอาคารชุดรวมกับที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้ หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมทั้งหมดไม่เกินห้าไร่ มีห้องชุดไม่น้อยกว่าสี่สิบห้องชุด ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่จะขอให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดเกินร้อยละสี่สิบเก้า และอาคารชุดนั้นต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร
ข. เมื่อครบกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับ(วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๒) กฎหมายบัญญัติให้ยกเลิกความในข้อ ก. และให้คนต่างด้าวและนิติบุคคลที่ได้ห้องชุดมาตามข้อ ก. หรือคนต่างด้าวและนิติบุคคลที่ระบุไว้ในข้อ ๒.๑ ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดต่อเนื่องจากคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลดังกล่าว ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดนั้นต่อไปได้ แม้ว่าจะเกินอัตราร้อยละสี่สิบเก้าของเนื้อที่ของห้องชุด
๓. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีหรือเคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวและบุคคลสัญชาติไทยที่เป็นบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าว ขอได้มาซึ่งที่ดิน
๓.๑ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสโดยชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดินในกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกันในระหว่างสมรส หรือในระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากับคนต่างด้าว แล้วแต่กรณี หากสอบสวนแล้ว ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่าเงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงผู้เดียว มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ต่อไปได้
สำหรับกรณีที่คู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทย ที่ประสงค์จะซื้อที่ดินหรือห้องชุดนั้นอยู่ต่างประเทศและไม่สามารถไปยืนยัน เป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันกับคู่สมรสต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวไปดำเนินการบันทึกถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษรที่สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือโนตารีปัปลิค ให้ได้ใจความว่า เงินทั้งหมดที่คู่สมรสที่เป็นบุคคลสัญชาติไทยนำไปซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของคู่สมรสที่เป็นบุคคลสัญชาติไทยทั้งหมด ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นสินสมรส หรือเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วยแต่อย่างใด และให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับรองว่าบุคคลที่ทำหนังสือนั้นเป็นคู่สมรสของ บุคคลสัญชาติไทยจริง เสร็จแล้ว ถือมามอบให้เจ้าพนักงานที่ดินที่จะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ ก็จะดำเนินการได้
อนึ่ง สำหรับกรณีคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวที่ซื้อ หรือถือครองที่ดินหลังสมรส โดยแจ้งหรือยื่นเอกสารที่เป็นเท็จว่าเป็นโสดหรือไม่ได้สมรสกับคนต่างด้าวต่อเจ้าหน้าที่ก่อนที่กระทรวงมหาดไทยจะมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๗๙๒ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๒ หรือซื้อ หรือถือครองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดหลังสมรส โดยแจ้งหรือยื่นเอกสารเป็นเท็จว่าเป็นโสด หรือไม่ได้สมรสกับคนต่างด้าวก่อน กรมที่ดินมีหนังสือ มท ๐๗๑๐/ว ๓๔๑๖๗ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๒ ให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายมายืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันกับคู่สมรสต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินหรือห้องชุดทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวหรือ ทรัพย์ส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เสร็จแล้วเจ้าพนักงานที่ดินเก็บเข้าสารบบไว้ และหากคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวอยู่ต่างประเทศ และไม่สามารถไปยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันกับคู่สมรสต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ก็ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทย ที่ประสงค์จะซื้อที่ดินหรือห้องชุดอยู่ต่างประเทศ เสร็จแล้วนำมามอบให้เจ้าพนักงานที่ดินเก็บเข้าสารบบไว้
๓.๒ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวขอรับให้ที่ดินในระหว่างสมรส หรือระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากัน หากสอบสวนแล้วเป็นการรับให้ในฐานะเป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้ทำให้คนต่างด้าวเป็นเจ้าของในที่ดินร่วมด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ต่อไป
๓.๓ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว แต่ได้หย่าขาดกัน หรือเลิกร้างกันแล้ว หรือบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าวที่มีสัญชาติไทยขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน หากสอบสวนแล้วไม่ปรากฏพฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อไป
๔. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีหรือเคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวและบุคคลสัญชาติไทยที่เป็นบุตรผู้เยาว์ของคนต่างชาติขอถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
๔.๑ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว ขอซื้อหรือขอรับให้กรรมสิทธิ์ในห้องชุด ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว (ย่อมถือว่ากรรมสิทธิ์ในห้องชุดเป็นของบุคคลสัญชาติไทย) หรือกรณีที่บุคคลสัญชาติไทย ที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวแต่ได้หย่าขาดจากกันหรือเลิกร้างกันแล้ว หรือกรณีบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าวที่มีสัญชาติไทยขอได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดให้พิจารณาเช่นเดียวกับกรณี ตาม ๓.๑ ถึง ๓.๒ โดยอนุโลม
๔.๒ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวนำเงินที่เป็นสินสมรส หรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แล้วแต่กรณี มาขอซื้อห้องชุดไม่ว่าจะใช้ชื่อบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือใช้ชื่อร่วมกับคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว ต้องพิจารณาตัวบุคคลต่างด้าวเป็นสำคัญ โดยคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวนั้นต้องเป็นคนต่างด้าวตามนัยมาตรา ๑๙ (๑) หรือ (๒) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่เป็นคนไทยจึงมีสิทธิขอซื้อห้องชุดได้ตามสิทธิของคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว และต้องถือว่าห้องชุดนั้น คนต่างด้าวเป็นผู้ถือสิทธิ์ทั้งหมด เพราะกรรมสิทธิ์ในห้องชุดไม่อาจแบ่งแยกได้ และการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดนั้นต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติตามมาตรา ๑๙ ทวิ
๔.๓ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว ขอรับให้กรรมสิทธิ์ในห้องชุด ในฐานสินสมรส หรือทำให้คนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วย คนต่างด้าวซึ่งเป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยนั้น ต้องเป็นคนต่างด้าวตามนัยมาตรา ๑๙ (๑) หรือ (๒) และต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในห้องชุดนั้นเป็นของคนต่างด้าวทั้งหมด และอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา ๑๙ ทวิ ด้วย ส่วนบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว ตามมาตรา ๑๙ (๕) ไม่อาจรับให้กรรมสิทธิ์ในฐานะสินสมรสได้ เนื่องจากกรณีตามมาตรา ๑๙ (๕) เป็นการขอได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าวในลักษณะของการซื้อขายซึ่งต้องมีการชำระค่าห้องชุด



Source: สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน

คนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้เพียงใด ?


คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ (คือ เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน 1 ไร่/ครอบครัว เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่/ครอบครัว เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน 5 ไร่ และสุสานของตระกูลต้องไม่เกิน 1/2 ไร่) นอกจากนี้ นับแต่ปี 2542 คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่





· คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุดได้หรือไม่ ?

ได้ หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใช่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม





· บุคคลสัญฃาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติและพำนักอยู่ในต่างประเทศ จะขอซื้อที่ดิน หรือขอรับโอนที่ดิน หรือ ขอซื้อห้องชุด ได้หรือไม่ ?

ได้



· ทำอย่างไร ?

ให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างชาติไปติดต่อสถานทูตไทยเพื่อบันทึกถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษร และรับรองว่าบุคคลที่ทำหนังสือรับรองนั้นเป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยจริง และนำหนังสือรับรองนี้มามอบให้เจ้าพนักงานที่ดินที่จะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยไม่ต้องใช้สำเนา



๙. คำถามเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทย
๙.๑ คำถาม คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือบ้านที่อยู่อาศัยได้หรือไม่
คำตอบ ได้ ถ้าบุคคลสัญชาติไทยที่จดทะเบียนสมรสกับคนต่างด้าวยังถือสัญชาติไทยอยู่โดยมิได้สละสัญชาติไทยแต่อย่างใด ก็มีสิทธิที่จะซื้อที่ดินและบ้านที่อยู่อาศัย โดยสำนักงานที่ดินจะให้คนไทยและคู่สมรสที่เป็นต่างด้าวยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันในหนังสือรับรองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ว่าด้วยเงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของคนไทยเพียงฝ่ายเดียว
๙.๒ คำถาม คนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้เพียงใด
คำตอบ คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้
- เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน ๑ ไร่/ครอบครัว
- เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน ๑ ไร่
- เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน ๑๐ ไร่
- เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน ๑๐ ไร่/ครอบครัว
- เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน ๑ ไร่
- เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน ๕ ไร่
- สุสานของตระกูลต้องไม่เกิน ½ ไร่
นอกจากนี้ นับแต่ปี ๒๕๔๒ คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า ๔๐ ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน ๑ ไร่



คำแนะนำเรื่องชาวต่างชาติซื้อที่ดิน

ในกรณีนี้ปัจจุบันกฎหมายไทยยังไม่อนุญาตที่จะให้คนต่างด้าวมาถือครองที่ดินในเมืองไทยได้ครับ แต่จะมีการยกเว้นไว้ในกรณีนี้ คือการที่คนต่างด้าวที่จะถือครองที่ดินในประเทศไทยนั้นจะต้องมีการนำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า40ล้านบาทและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีมหาดไทยด้วยจึงจะสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ไม่เกิน1ไร่ โดยต้องมีการลงทุนและเงินลงทุนที่แน่นอนส่วนการได้ถือครองในกรณีที่ไม่ใช่นักลงทุนที่นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า40ล้านบาทนั้นกฎหมายไม่เปิดช่องให้คนต่างด้าวประเภทอื่นทำได้ครับ(พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน)

แต่ทางแก้ก็ยังมี โดยในพระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับที่3พ.ศ.2534นั้นได้กำหนดให้อาคารชุดแต่ละอาคารนั้นจะมีคนต่างด้าวถือครองในกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน49เปอร์เซ็นต์ของห้องชุดทั้งหมด หมายความว่าในการที่จะให้คนต่างด้าวถือครองห้องชุดได้นั้น คนต่างด้าวจะต้องถือครองได้ไม่เกิน49%ก็คือถ้าอาคารชุดนั้นมี100ห้องคนต่างด้าวก็จะถือครองได้ไม่เกิน49ห้องนั่นเองครับ แต่ในช่วงนี้กฎหมายยังให้สิทธิพิเศษอีกก็คือ ภายในระยะเวลา5ปี นับแต่วันที่28 เมษายน พ.ศ.2542จนถึง 27เมษายน พศ.2547กฎหมายได้อนุโลม ให้คนต่างด้าวมีสิทธิ์ถือครองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดทั้งหมดของเนื้อที่อาคารชุดทั้งหมดที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นไว้ แต่ต้องกระทำไปในใต้เงื่อนไขดังนี้

1อาคารชุดดังกล่าวต้องตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล หรือเขตราชการอื่น๐ที่กฎกระทรวงกำหนด
2 ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดรวมกับที่ดินทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุดแล้วต้องไม่เกิน5ไร่
คนต่างด้าวที่มีสิทธิ์ถือครองห้องชุดได้
- คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยคนเฃ้าเมือง คือมีใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่(Residence Permit) และสามารถใช้เงินบาทซื้อห้องชุดได้
- คนต่างด้าวที่มาในไทยตามกฎหมายว่าด้วยการลงทุน คือมีเงินไม่ต่ำกว่า10ล้านนำมาลงทุนและต้องไดรับอนุญาตในการลงทุนจาก BOI และการเข้าเมืองต้องได้รับอนุญาตจาก ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3.คนต่างด้าวอื่นทั่วไปรายอื่น(มีถิ่นที่อยู่ชั่วคราว)
4.คู่สมรสของคนต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าจะหย่าหรือไม่ก็ตาม
5.บุตรของคนต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทย
ระเบียบปฏิบัติและหลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดหลักฐานที่ใช้

1.เอกสารหนังสือเดินทางที่แสดงสัญชาติของคนต่างด้าว
2.ใบสำคัญถิ่นที่อยู่(ตม.11 ตม.15 ตม.17) ซึงออกโดยสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่สถานีตำรวจท้องที่ที่คนต่างด้าวอยู่เพียงอย่างเดียว
3.หนังสือรับรองว่าเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทยตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากBOI สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาด้วยตามกฎหมายการลงทุน
4.หลักฐานในการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชยืที่ได้รับอนุญาต(ธต.3)ซึ่งลงลายมือชื่อประทับตราธนาคาร
5.หลักฐานแบบสำแดงเงินตราต่างประเทศที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรหรือหลักฐานใบรับซื้อเงินตราต่างประเทศซึ่งออกให้โดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
6.หลักฐานการถอนเงินสกุลต่างประเทศจากบัญชีเงินฝากในประเทศไทยหรือหลักฐานการถอนเงินบาทจากบัญชีเงินฝากในหรือนอกประเทศ
นี่ก็คือวิธีการขั้นต้นในการให้คนต่างด้าวมีสิทธิ์ในการครอบครองมีกรรมสิทธิ์แม้จะไม่สามารถที่จะครอบครองที่ดินได้แต่ก็สามารถมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดไว้อยู่อาศัยได้


การขอได้มาซึ่งที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว
เอกสารตัวอย่างนี้ สำหรับเพื่อนๆที่แต่งงานกับชาวต่างชาติและเอกสารในเมืองไทยเปลี่ยนเป็นมีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติเรียบร้อยแล้ว (ผู้ที่แต่งงานในเมืองไทย)ต้องใช้เอกสารตัวนี้ และพาสปอร์ต ของสามี และทะเบียนสมรส เพิ่มเติมจากเอกสารเดิมที่ต้องใช้ด้วยค่ะ หลักๆคือ ดังนี้ค่ะ

1. ทะเบียนบ้าน
2.บัตรประชาชน
3.ทะเบียนสมรส
4.หนังสือรับรอง ยินยอมจากสามีชาวต่างชาติ พร้อมราบระเอียดของที่ดิน
5.พาสปอร์ต ของสามี
6.สามีต้องไปเซ็นต์รับรอง ต่อเจ้าหน้าที่ ที่ดิน ในเขตนั้นๆด้วยค่ะ



Image


การขอได้มาซึ่งที่ดินหรือห้องชุดของคนต่างด้าว และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าว



๑. กรณีคนต่างด้าวขอได้มาซึ่งที่ดิน ปัจจุบันคนต่างด้าวสามารถที่จะขอได้มาซึ่งที่ดินในประเทศไทยได้ใน ๓ กรณี คือ

๑.๑ โดยการขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ตามมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเมื่อรวมกับที่ดินที่มีอยู่แล้ว (หรือยังไม่เคยมี) ต้องไม่เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ ตามความในมาตรา ๘๗ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น ที่อยู่อาศัยไม่เกิน ๑ ไร่

๑.๒ คนต่างด้าวที่ได้นำเงินมาลงทุนตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท อาจขอให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่ และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยในการขอได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ตามนัยมาตรา ๙๖ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

๑.๓ คนต่างด้าวอาจขอได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.๒๕๒๐ ซึ่งสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โทร. ๐-๒๕๓๗-๘๑๑๑ หรือพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ.๒๕๒๒
โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร ๐-๒๒๕๓
ข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมที่ดินนะคะhttp://www.dol.go.th/guide/menu_foreigner.php
http://www.dol.go.th/guide/guide_sst/mt0515tv39288.pdf

การซื้อขายบ้านและที่ดินของคนที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ เอากฏหมายมาฝากด้วยค่ะ ของเวบ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

การซื้อขายบ้านและที่ดิน



1 ความคิดเห็น:

  1. คนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้เพียงใด ?



    คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ (คือ เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน 1 ไร่/ครอบครัว เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่/ครอบครัว เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน 5 ไร่ และสุสานของตระกูลต้องไม่เกิน 1/2 ไร่) นอกจากนี้ นับแต่ปี 2542 คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่






    · คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุดได้หรือไม่ ?


    ได้ หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใช่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม





    · บุคคลสัญฃาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติและพำนักอยู่ในต่างประเทศ จะขอซื้อที่ดิน หรือขอรับโอนที่ดิน หรือ ขอซื้อห้องชุด ได้หรือไม่ ?

    ได้




    · ทำอย่างไร ?


    ให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างชาติไปติดต่อสถานทูตไทยเพื่อบันทึกถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษร และรับรองว่าบุคคลที่ทำหนังสือรับรองนั้นเป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยจริง และนำหนังสือรับรองนี้มามอบให้เจ้าพนักงานที่ดินที่จะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยไม่ต้องใช้สำเนา













    .

    ตอบลบ