ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

24 กันยายน 2561

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ MIA

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ MIA







เมอร์ดอร์ค (Murdoch. 1986 : 9 - 10) อาจารย์สอนภาษาที่มหาวิทยาลัยคูเวต (Kuwait University) ได้คิดหาวิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษแนวใหม่ขึ้นโดยยึดหลักจิตวิทยาภาษาศาสตร์ (Psycholinguistics) เป็นจิตวิทยาในการคิดและการสอนเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ชื่อว่า "A More Integrated Approach to the Teaching of Reading" นอกจากยึดหลักดังกล่าวนี้แล้ว เมอร์ดอค ยังเน้นการฝึกการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ทักษะต่างๆ คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน ควบคู่กันไปตลอดเวลา และเนื่องจากการสอนของครูผู้สูอนเท่าที่ ผ่านมา ส่วนใหญ่จะแยกทักษะแต่ละทักษะออกจากกันโดยเด็ดขาด ซึ่ง เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะการสอนเช่นนี้ไม่เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้รอบรู้ทางภาษา รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน การสอนปัจจุบันนี้
มักจะแยกทักษะต่างๆ ออกจากกันอย่างเห็นได้ชัดเจน นอกจากนั้นทักษะการอ่าน มักจะถูกแยกจากทักษะอื่นๆ โดยสิ้นเชิง ซึ่งถือว่าเป็นการปิดกั้นโอกาสในการพัฒนาทักษะอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย  ซึ่งโดยปกติแล้วทักษะต่างๆ จะต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่เสมอ ดังนั้น ในการสอนแต่ละครั้งจึงควรมีทักษะทั้ง 4 ทักษะควบคู่กันไป แต่จะมุ่ง ความสนใจไปสู่ทักษะใด ทักษะหนึ่งเท่านั้นในขณะเดียวกันทักษะอื่นๆ ที่ไม่ได้เน้นก็จะได้รับการพัฒนาไปพร้อมกัน
นอกจากนั้นจากการศึกษายังพบว่า การสอนอ่านโดยให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดแบบเลือกตอบ (Multiple Choices) หรือแบบถูก-ผิด (True-False) เป็นการฝึกอ่านที่ยังไม่เหมาะสมเท่าไรนัก เนื่องจากผู้เรียนจะไม่ได้พัฒนาทักษะเท่าที่ควร และบางครั้งอาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนมากขึ้นเนื่องจากแบบฝึกทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีประโยชน์ในการทดสอบมากกว่าการฝึกฝนทักษะ ดังนั้นแบบฝึก ที่ดีควรจะเป็นแบบฝึกที่ต้องคิดแล้วเขียนออกมาเป็นคำพูดของตัวผู้เรียนเอง ซึ่งเป็นการฝึกกระบวนการคิด (Thinking Process) และแบบฝึกเช่นนี้ยังถือเป็นการสอนอ่านเพื่อการสื่อสารที่ดีมาก
ขั้นตอนการสอนอ่านแบบ เอ็ม ไอ เอ (A More Integrated Approach to the
Teaching of Reading : MIA ที่เมอร์ดอกช์ (Murdoch) ได้คิดพัฒนาขึ้นมีแนวการสอน ดังนี้
1. คำถามนำก่อนการอ่าน (Priming Questions) คือ ขั้นตอนที่ครูผู้สอนจะต้องตั้ง
คำถาม หรือข้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะอ่าน เพื่อเป็นการกระตุ้นและทำให้เกิดการอภิปรายร่วมกัน ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนก่อนที่จะอ่านเรื่อง ซึ่งเป็นการโน้มน้าวให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะอ่าน
2. ทำความเข้าใจกับคำศัพท์ (Understanding Vocabulary) จุดประสงค์ของขั้นตอน
นี้คือ เพื่อให้ผู้อ่าน เกิดความมั่นใจว่าคำศัพท์บางคำที่เป็นตัวบ่งชี้ความหมายนั้นผู้อ่านมีความเข้าใจถูกต้องแล้วหรือยัง โดยครูผู้สอนจะเป็นผู้เลือกคำศัพท์เหล่านั้นขึ้นมาเอง คำบางคำนั้นผู้เรียนอาจจะรู้ความหมายแล้วหรือบางคำที่มีความหมายหลายความหมาย ครูผู้สอนอาจจะเขียนความหมายของคำศัพท์นั้นในสถานการณ์ที่พบเห็นก็ได้ เพื่อผู้เรียนจะได้ไม่เกิดความสับสนและทำให้เข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่านได้ง่ายขึ้น
3. อ่านเนื้อเรื่อง (Reading the Text) คือ ครูผู้สอนแจกเนื้อเรื่องให้ผู้เรียนอ่านตาม
เวลาที่กำหนด หลังจากที่ได้ทราบความหมายของคำศัพท์แล้ว และในเนื้อเรื่องที่อ่านนั้นจะมีคำถามย่อยแทรกอยู่ เพื่อให้ผู้อ่านได้วิเคราะห์เนื้อเรื่อง เช่น วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำสรรพนาม ในเนื้อเรื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านให้มากยิ่งขึ้น โดยในการวิเคราะห์ เนื้อหาแบบนี้ ยังจะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวเพราะต้องคิดอยู่ตลอดเวลา และต้องพยามยาม ทำความเข้าใจเนื้อเรื่องโดยตลอดด้วย
4. ทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง (Understanding the Text) เมอร์ดอค เชื่อว่า วิธีการ
หนึ่งทจี่ ะใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้อ่านได้ดี คือ การให้ผู้อ่านเติมข้อความจากประโยคปลายเปิดที่ครูผู้สอนกำหนดให้เด็กเขียนประโยคเหล่านั้นให้เป็นประโยคข้อความที่สมบูรณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่านโดยใน การเติมข้อความนั้นต้องพิจารณาว่าผู้อ่านจะไม่สามารถไปลอกประโยคจากเนื้อเรื่องมาตอบได้ แต่ถ้า ครูผู้สอนเห็นว่าความสามารถของผู้อ่านไม่สามารถใช้ภาษาและสำนวนของตัวเองได้อาจจะแก้ไขโดยวิธีเลือกประโยคที่เป็นใจความสำคัญของเรื่องมาเป็นประโยค ให้ผู้เรียนเติมใจความให้สมบูรณ์แทน
5. การถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบอื่น (Information Transfer) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียน
นำความรู้หรือข้อมูลที่ได้จากการอ่านมาเสนอใหม่ในรูปแบบอื่น เช่น อาจนำความรู้หรือข้อมูลที่ได้จากการอ่านมาเสนอใหม่ในรูปตาราง แผนภูมิ กราฟ หรือแผนที่อย่างใดอย่างหนึ่งตามความเหมาะสม
6. การทำแบบฝึกหัดต่อชิ้นส่วนประโยคและเรียงโครงสร้างอนุเฉท (Jigsaw Exercise and Paragraph Structure) ครูผู้สอนเตรียมชิ้นส่วนของประโยคให้จำนวนหนึ่ง แล้วให้แต่ละกลุ่มพยายามต่อชิ้นส่วนต่างๆ ของประโยคเหล่านั้นให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ และเรียงตามลำดับที่ถูกต้องด้วย กิจกรรมนี้อาจจะทำเป็นกลุ่มหรือทำเป็นรายบุคคลก็ได้ ประโยคที่ให้ต้องเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง และกิจกรรมนั้นๆ ก็เพื่อต่อประโยคให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่ การแก้ปัญหาหรือทราบเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งการทำกิจกรรมโดยให้แต่ละคนนำข้อมูลมาต่อกันนั้น ต้องพูดและถามกัน แล้วพิจารณาเลือกข้อมูลมาต่อกันให้เป็นเรื่องราวที่ถูกต้อง จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและเกิดแรงจูงใจในการเรียน
7. การประเมินผลและการแก้ไข (Evaluation and Correction) ขั้นตอนนี้เป็น
การประเมินผลงานอีกครั้ง หลังจากที่ได้ทำการประเมินผลในเกือบทุกขั้นตอนก่อนนี้แล้ว และเป็นการแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องของภาษาที่ผู้เรียนใช้ในการอภิปรายและเขียนในแบบฝึกหัด เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานที่ดีแก่ผู้เรียนต่อไป
จากขั้นตอนดังกล่าว การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ดอค MIA
เป็นการสอนการอ่านที่เน้นการฝึกใช้ทักษะต่างๆ คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่านและทักษะการเขียนควบคู่กันไปตลอด โดยมีลำดับขั้นการสอนคือ คำถามนำก่อนการอ่าน การให้ความรู้ ด้านคำศัพท์ การอ่านและวิเคราะห์เรื่อง การทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง การถ่ายโอนข้อมูลการทำ แบบฝึกหัดต่อชิ้นส่วนประโยคและเรียงโครงสร้างอนุเฉท การประเมินผล และการแก้ไขข้อผิดพลาด ซึ่งเป็นไปตามลำดับเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเป็นหลัก ตลอดจนความสามารถด้านอื่นๆพร้อมกันไปด้วย

.....................................

ขอบคุณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
http://www.library.msu.ac.th/
เรียบเรียงโดยประภัสรา โคตะขุน  










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น