คำนวณปริมาณไขมันในร่างกาย คลิกที่นี่ค่ะ
http://iandmybody.com/percent-fat/
ตารางเปอร์เซนต์ไขมันในร่างกาย
ผู้หญิง (% Fat) | ผู้ชาย (% Fat) | ลำดับ | คำอธิบาย |
10-13% | 2-5% | Essential Fat | มีไขมันค่อนข้างน้อย เท่าที่จำเป็น |
14-20% | 6-13% | Athletes | มีไขมันพอประมาณ (กลุ่มนักกีฬา) |
21-24% | 14-17% | Fitness | มีไขมันพอประมาณ (กลุ่มคนออกกำลังกายเป็นประจำ) |
25-31% | 18-25% | Acceptable | มีไขมันพอประมาณ อยู่เกณฑ์พอดี (กลุ่มคนทั่วไป) |
32% + | 25% + | Obese | มีไขมันมากเกินไป ควรลดปริมาณไขมัน |
เปอร์เซนต์ไขมัน บอกปริมาณไขมันในร่างกาย
โดยปกติในร่างกายเราจะประกอบด้วย ธาตุต่างๆประกอบเป็นร่างกายของเรา จะให้เข้าใจง่ายๆ คือ น้ำ กระดูก เนื้อเยื่อ มวลกล้ามเนื้อ ไขมัน ฯลฯ แต่ที่เราสนใจคือ มวลของไขมันในร่างกายของเรา การทราบ % ของไขมัน คือ การทราบปริมาณของไขมันในร่างกาย
เช่น ชมพู่หนัก 60 กิโลกรัม มีเปอร์เซนต์ไขมัน 25% หมายความว่า ร่างกายชมพู่ (60 x 25) / 100 = มีไขมันหนัก 15 กิโลกรัม
ทำไม…หนักเท่ากัน แต่เปอร์เซนต์ไขมันไม่เท่ากัน?
ยกตัวอย่างเช่น คน 2 คนที่หนักเท่ากัน สูงเท่ากัน แต่ เปอร์เซนต์ไขมันไม่เท่ากัน
ชมพู่ สูง 162 ซม. | หนัก 60 กก. | เปอร์เซนต์ไขมัน 25%
อั้ม สูง 162 ซม. | หนัก 60 กก.| เปอร์เซนต์ไขมัน 35%
หมายความว่า ชมพู่ มีองค์ประกอบอื่นในร่างกายที่หนักกว่า เช่น กล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อมีการเรียงตัวของเซลแน่นและกระชับมากกว่าไขมัน ดังนั้น จากข้อมูลด้านบน จะเห็นได้ว่า ร่างกายของชมพู่จะเพรียวกระชับมากกว่าอั้ม
ชมพู่ สูง 162 ซม. | หนัก 60 กก. | เปอร์เซนต์ไขมัน 25%
อั้ม สูง 162 ซม. | หนัก 60 กก.| เปอร์เซนต์ไขมัน 35%
หมายความว่า ชมพู่ มีองค์ประกอบอื่นในร่างกายที่หนักกว่า เช่น กล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อมีการเรียงตัวของเซลแน่นและกระชับมากกว่าไขมัน ดังนั้น จากข้อมูลด้านบน จะเห็นได้ว่า ร่างกายของชมพู่จะเพรียวกระชับมากกว่าอั้ม
ทำไม…เราจึงควรทราบเปอร์เซนต์ไขมันในร่างกาย?
การทราบปริมาณไขมันในร่างกาย จะช่วยให้เราตั้งเป้าหมายในการควบคุมน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยต่างๆ การควบคุมอาหาร กิจกรรมในแต่ละวัน และการจัดโปรแกรมออกกำลังกายให้เหมาะสม โดยปกติ เราควรจะวัดเปอร์เซนต์ไขมันเป็นระยะๆ ความถี่อาจจะ สัปดาห์ละครั้ง หรือ เดือนละครั้ง เพื่อติดตามผลความคืบหน้าในการออกกำลังกายของเรา และจัดโปรแกรมการทานอาหารให้ได้ปริมาณพลังงานและไขมันที่เหมาะสม โดยเราสามารถตรวสอบ ปริมาณพลังงาน หรือ แคลอรี่ในอาหารได้จาก ตารางแคลอรี่ ในแต่ละมื้อที่เราทานเลยค่ะ
คำนวนอัตราการเผาผลาญพลังงานของคุณ
http://iandmybody.com/bmr/
BMR คืออะไร?
BMR ย่อมาจาก Basal Metabolic Rate หรือ อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย “ขณะพักผ่อน” คือเมื่อร่างกายอยู่นิ่งๆ ไม่มีกิจกรรมอื่นๆ เป็นขณะที่ระบบย่อยพักงาน ซึ่งเป็นพลังงานที่ถูกใช้ไปเพียงเพื่อรักษาระดับการมีชีวิต เช่น หัวใจเต้น ปอด ตับ กล้ามเนื้อ ผิวหนัง และ อื่นๆ
การวัดค่า BMR เพื่อการนำไปเป็นฐานของการคำนวณพลังงานที่ต้องการต่อวัน โดยคำนวณจาก กิจกรรมต่อวันของแต่ละคน โดยเฉลี่ย จะใช้ BMR คูณด้วย 1.2 ถึง 1.9 ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและรูปแบบชีวิตของแต่ละคน โดยคุณสามารถคำนวณ ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมต่อวันได้จาก Daily Calorie Calculator หรือ สูตรปริมาณแคลอรี่ต่อวัน ตามกิจกรรมของคุณ
คำนวณหาดัชนีมวลกายของคุณ
http://iandmybody.com/bmi/
BMI คืออะไร?
BMI ย่อมาจาก Body Mass Index
โดยคำนวณจาก 2 ปัจจัย คือ น้ำหนัก และ ส่วนสูง แต่ BMI ไม่สามารถ วัดปริมาณไขมัน หรือ กล้ามเนื้อในร่างกายได้ จึงใช้ได้คร่าวๆในการประเมิณน้ำหนักที่เหมาะสม ให้สมส่วนตามความสูง ค่าของ BMI จึงเป็นตัวชี้มวลร่างกายได้คร่าว ถึงความพอดี ความอ้วน ความผอม จากการประเมิณของน้ำหนัก และ ส่วนสูง
โดยคำนวณจาก 2 ปัจจัย คือ น้ำหนัก และ ส่วนสูง แต่ BMI ไม่สามารถ วัดปริมาณไขมัน หรือ กล้ามเนื้อในร่างกายได้ จึงใช้ได้คร่าวๆในการประเมิณน้ำหนักที่เหมาะสม ให้สมส่วนตามความสูง ค่าของ BMI จึงเป็นตัวชี้มวลร่างกายได้คร่าว ถึงความพอดี ความอ้วน ความผอม จากการประเมิณของน้ำหนัก และ ส่วนสูง
ค่าประเมิณ BMI สำหรับผู้ใหญ่
ค่าประเมณนี้ กำหนโดย WHO องค์กรณ์อนามัยโลก ได้แนะนำน้ำหนักที่เหมาะสมจากค่า BMI สูตรนี้สามารถใช้ได้ทั้ง ผู้หญิง และ ผู้ชาย ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป
ค่า BMI | หมวดหมู่ |
น้อยกว่า 16 | ผอมมากไป |
16 -17 | ผอมพอสมควร |
17 – 18.5 | ผอม |
18.5 – 25 | อยู่ในเกณฑ์ปกติ |
25 – 30 | น้ำหนักเกิน |
30 – 35 | น้ำหนักเกิน ระดับ 1 |
35 – 40 | น้ำหนักเกิน ระดับ 2 |
มากกว่า 40 | น้ำหนักเกิน ระดับ 3 |
คำนวณน้ำหนักที่เหมาะสมของคุณ
http://iandmybody.com/ideal-weight-calculator/
ค่าน้ำหนักที่เหมาะสม
การคำนวณคำนวณค่าน้ำหนักที่เหมาะสม คือการแสดงผลช่วงน้ำหนัก 2 ตัวเลข ที่เป็นค่าน้ำหนักเหมาะสม เพื่อดูน้ำหนักที่ควรจะเป็นให้เหมาะกับส่วนสูงของแต่ละคนอย่างคร่าวๆ ค่าน้ำหนักที่สมส่วน และ สุขภาพดี จึงควรอยู่ระหว่าง ตัวเลขสองช่วงดังกล่าว
• หากคุณหนักน้อยกว่าช่วงน้ำหนักที่แนะนำ แปลว่าคุณน้ำหนักน้อยเกินเกณฑ์ ควรเพิ่มน้ำหนัก
• หากคุณหนักมากกว่าช่วงน้ำหนักที่แนะนำ แปลว่าคุณน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ ควรลดน้ำหนัก
• หากคุณหนักมากกว่าช่วงน้ำหนักที่แนะนำ แปลว่าคุณน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ ควรลดน้ำหนัก
Daily Calorie Calculator
คำนวณแคลอรี่เหมาะสมต่อวันคำนวณแคลอรี่เหมาะสมต่อวัน คลิกที่นี่ค่ะ
http://iandmybody.com/daily-calorie-calculator/
คำนวณแคลอรี่เหมาะสมต่อวัน
การรู้ว่าแคลอรี่ที่เหมาะกับเราคืออะไร จะสามารถทำให้เราควบคุมสมดุลร่างกายได้ทางหนึ่ง แม้ว่าแคลอรี่เหมาะสมต่อวัน สามารถคำนวณได้คร่าวๆ จากปัจจัยของร่างกาย คือ ความสูง น้ำหนัก อายุ และ กิจกรรมต่อวัน แต่จริงๆแล้ว พลังงานที่ต้องการในแต่ละวันของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความถี่ในการออกกำลังกาย ปริมาณไขมัน และ กล้ามเนื้อ รวมทั้ง กิจกรรมในสายอาชีพที่ต่างกัน และ ประสิทธิภาพการทำงานร่างกาย ภาวะอารมณ์ รวมทั้งเป้าหมายการควบคุมน้ำหนักที่ต่างกัน
ตามสูตรคำนวณต่างๆและคำแนะนำทั้งหลาย ไม่มีหลักตายตัว ทางที่ดีที่สุดคือ คุณจะต้องใช้หลายๆสูตร เพื่อดูองค์ประกอบโดยรวมเพื่อจัดปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมสำหรับตัวคุณเอง ความเป็นจริงคือ ร่างกายของเราใช้พลังงาน 60% จากปริมาณแคลอรี่เพื่อการดำเนินชีวิตพื้นฐานในอัตราปกติ(รักษาสภามีชีวิตที่ไม่มีกิจกรรมอื่น) จำนวนแคลอรี่ที่เราสามารถเผาผลาญในอัตรานี้เรียกว่า BMR (basal metabolic rate) ปัจจับอื่นที่มีผลต่อการเผาผลาญ คือ “ปริมาณกล้ามเนื้อ” การที่ร่างกายมีปริมาณกล้ามเนื้อมาก ก็จะสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่า
พลังงานที่เหลืออีก 40% ร่างกายจะใช้ไปกับกิจกรรมประจำวัน และ การขับถ่าย โดย 30% ของพลังงานใช้ไปกับกิจกรรมทางกาย และ 10%ใช้กับการขับถ่ายของเสีย ด้วยกระบวนการดังกล่าว จึงทำให้การคำนวณปริมาณแคลอรี่ที่กินต่อวัน มีประโยชน์ในการวางแผนรักษาสมดุลย์ของเราได้ และเห็นผลชัดเขนต่อน้ำหนักตัวของเรานั่นเอง
คำนวณค่า BMI ดัชนีมวลกาย
ค่า BMI คือค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งสามารถระบุได้ว่า ตอนนี้รูปร่างของคนคนนั้นอยู่ในระดับใด ตั้งแต่อ้วนมากไปจนถึงผอมเกินไป
Body Mass Index (BMI) มีสูตรการคำนวณ = น้ำหนักตัว[Kg] / (ส่วนสูง[m] ยกกำลังสอง) สูตรคำนวณเหมาะสำหรับใช้ประเมินผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ประโยชน์ของการวัดค่า BMI เพื่อดูอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตรวจสอบภาวะไขมันและความอ้วน ดังนั้นการทำให้ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว
ค่าที่ได้
= N/A
อ้วนมาก (30.0 ขึ้นไป)
ค่อนข้างอันตราย เพราะเข้าเกณฑ์อ้วนมาก เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน หากค่า BMI อยู่ในระดับนี้ จะต้องระวังการรับประทานไขมัน และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหากเลขยิ่งสูงกว่า 40.0 ยิ่งแสดงถึงความอ้วนที่มากขึ้น
อ้วน (25.0 - 29.9)
คุณอ้วนในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก ๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
น้ำหนักเกิน (23.0 - 24.9)
พยายามอีกนิดเพื่อลดน้ำหนักให้เข้าสู่ค่ามาตรฐาน เพราะค่า BMI ในช่วงนี้ยังถือว่าเป็นกลุ่มผู้ที่มีความอ้วนอยู่บ้าง แม้จะไม่ถือว่าอ้วน แต่หากประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก็ถือว่ายังมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ
น้ำหนักปกติ เหมาะสม (18.6 - 22.9)
น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทยคือค่า BMI ระหว่าง 18.5-22.9 จัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ห่างไกลโรคที่เกิดจากความอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ น้อยที่สุด ควรพยายามรักษาระดับค่า BMI ให้อยู่ในระดับนี้ให้นานที่สุด
ผอมเกินไป (น้อยกว่า 18.5)
น้ำหนักน้อยกว่าปกติก็ไม่ค่อยดี หากคุณสูงมากแต่น้ำหนักน้อยเกินไป อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย การรับประทานอาหารให้เพียงพอ และการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อสามารถช่วยเพิ่มค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
วิธีและสูตรคำนวณ BMI
สูตรคำนวณดัชนีมวลกายแบบเมตริกซ์ (Metric BMI Formula): น้ำหนัก (กิโลกรัม) / [ส่วนสูง (เมตร)]2
ตัวอย่าง: น้ำหนัก = 68 กิโลกรัม, ส่วนสูง = 165 เซนติเมตร (เท่ากับ 1.65 เมตร)
วิธีคิด: 68 / (1.65)2 = 24.98
สูตรคำนวณดัชนีมวลกายแบบอังกฤษ (English BMI Formula): น้ำหนัก (ปอนด์) / [ส่วนสูง (นิ้ว)]2 x 703
ตัวอย่าง: ถ้าคุณมีน้ำหนัก 150 ปอนด์ และสูง 5 ฟุต 5 นิ้ว(เท่ากับ 65 นิ้ว)
วิธีคิด: [150 / (65)2] x 703 = 24.96
BMI (ค่าดัชนีมวลกาย) คืออะไร
ดัชนีมวลกาย หรือตัวย่อว่า BMI มาจากคำเต็มว่า Body Mass Index เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักและส่วนสูง การคำนวณดัชนีมวลกายไม่ใช่การวัดโดยตรงแต่ก็เป็นตัวชี้วัดไขมันในร่างกายที่ค่อนข้างเชื่อถือได้สำหรับคนส่วนใหญ่
ค่า BMI สามารถใช้บ่งบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด ระบบหัวใจ รวมไปถึงมะเร็งบางชนิด ในปัจจุบันการวัดค่า BMI โดยรวมของประชาชนในประเทศเป็นตัวบ่งบอกสุขภาพทางโภชนาการที่ประชาชนได้รับตั้งแต่เด็กจนถึงโต
อย่างไรก็ตาม ค่า BMI ไม่สามารถบอกน้ำหนักตัวตามเกณฑ์หรือปริมาณไขมันหรือได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากคุณจำเป็นต้องนำปัจจัยอื่นๆ มาประกอบด้วย ทั้งเรื่องของพันธุกรรม พฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต การออกกำลังกาย และอื่นๆ แต่งานวิจัยพบว่าการหาดัชนีมวลกายนี้มีความสัมพันธ์อย่างมากกับวิธีการวัดปริมาณไขมันในร่างกายโดยตรงวิธีอื่นที่ซับซ้อนกว่า เช่น การหาน้ำหนักใต้น้ำ (underwater weighing) เนื่องจากดัชนีมวลกายมีวิธีคำนวณที่ง่าย ทำให้ใครๆ ก็สามารถประเมินความเสี่ยงจากการมีปริมาณไขมันในร่างกายเกินได้
ข้อจำกัดของการใช้ดัชนีมวลกายในการวัดปริมาณไขมันในร่างกาย
แม้ว่าดัชนีมวลกายจะสัมพันธ์กับการวัดไขมันในร่างกายค่อนข้างมาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดยขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และความสามารถทางกีฬา ข้อจำกัดเหล่านี้ได้แก่
- ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าผู้ชาย
- คนที่อายุมากกว่ามีแนวโน้มที่จะมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า
- นักกีฬาที่ฝึกฝนมาอย่างดีจะมีดัชนีมวลกายสูงเนื่องจากมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่า ทำให้น้ำหนักตัวที่มากนั้นมาจากมวลกล้ามเนื้อ ไม่ใช่ไขมัน องค์ประกอบของร่างกาย ไขมันในร่างกาย และดัชนีมวลกาย
นักกีฬาซึ่งมีมวลกล้ามเนื้อมากจำเป็นจะต้องปรับวิธีการคำนวณดัชนีมวลกาย เพราะว่าค่าดัชนีมวลกายไม่สามารถแยกแยะสัดส่วนองค์ประกอบต่างๆ ของร่างกายที่รวมกันเป็นน้ำหนักตัวทั้งหมดได้ ดังนั้นนักกีฬาจึงใช้วิธีการวัดองค์ประกอบของร่างกายและปริมาณไขมันในร่างกายโดยตรงจะแม่นยำกว่า
ความเสี่ยงของสุขภาพจากการมีดัชนีมวลกายสูง
เหตุผลที่ใช้ดัชนีมวลกายในการคัดกรองสุขภาพของประชากรทั่วไปเนื่องจากการมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนนั้นมีความสัมพันธ์อย่างมากกับปัญหาสุขภาพ การเกิดโรคเรื้อรัง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่อไปนี้เพิ่มขึ้น
- เบาหวานชนิดที่ 2
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน
- โรคหลอดเลือดสมอง
- มะเร็งบางชนิด
- หยุดหายใจขณะหลับหรือมีปัญหาทางเดินหายใจ
วิธีการเพิ่มหรือลดค่า BMI
ค่า BMI จะแปรผันตามน้ำหนักตัว หากน้ำหนักตัวเพิ่มก็จะทำให้ค่า BMI เพิ่มขึ้น ถ้าน้ำหนักตัวลดก็จะทำให้ค่า BMI ลดลงเช่นเดียวกัน
หากได้ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 นั่นหมายถึงมีน้ำหนักน้อยจนเกินไป ต้องเพิ่มน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารให้มากขึ้น โดยเน้นให้มีสารอาหารและปริมาณให้มากเกินพอ รวมทั้งรับประทานอาหารประเภทไขมันและน้ำตาลให้มากขึ้น
หากได้ค่า BMI มากกว่า 35 ขึ้นไป นั่นหมายถึงมีน้ำหนักมากเกินไปสำหรับส่วนสูง การลดน้ำหนักสำหรับคนอ้วน คือต้องออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญไขมันอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งต้องจำกัดอาหารให้มีแคลอรีต่ำควบคู่กันไปด้วย
ทั้งนี้การคัดเลือกเข้ารับการเกณฑ์ทหารยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายอย่าง อาจขึ้นอยู่กับดุลพินิจและความต้องการในพื้นที่ที่คัดเลือกด้วย อย่างเช่น ถ้าในเขตนั้นมีคนสมัครเต็ม ความต้องการทหารเกณฑ์ก็จะน้อยลง ผู้ที่มีค่า BMI เกิน 35 ก็จะถูกคัดออก แต่หากความต้องการทหารในพื้นที่นั้นมีมากและโรคอ้วนไม่เป็นอุปสรรคในขณะฝึก ก็อาจได้รับการเข้าคัดเลือกเพื่อเสี่ยงจับใบดำใบแดงอีกด้วย
BMI บ่งชี้โรคได้จริงหรือ ?
1. โรคอ้วน ภาวะที่ร่างกายสะสมไขมันมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ บางคนกล่าวว่าภาวะน้ำหนักเกิน มีความรุนแรงน้อยกว่า แต่ในทางการแพทย์ทั้งสองสภาวะถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งนอกจากเราจะดูว่าร่างกายของเรานั้นก้าวเขาสู่ภาวะ “อ้วน” จากการสังเกตเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ได้แล้ว BMI ก็เป็นอีกตัวบ่งชี้หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน จัดเป็นเครื่องมือวัดปริมาณไขมันในร่างกายชิ้นหนึ่งที่น่าเชื่อถือทีเดียว
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด สืบเนื่องจากการเป็นโรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วนล้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งสิ้น เนื่องจากไขมันที่สะสมในร่างกายในปริมาณที่มากเกินไปนั้นอุดตันในเส้นเลือด หรือหากจะกล่าวให้เห็นภาพก็คือไขมันที่สะสมนั้นไปเกาะอยู่บนผนังของหลอดเลือดนั่นเอง หลอดเลือดแดงจึงตีบและมีขนาดแคบลง ส่งผลให้เลือดเดินทางผ่านได้น้อยจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจอาจตายได้ในที่สุด
3. โรคเบาหวาน ระดับไขมันในเลือดที่สูงนั้น จะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น หลอดเลือดแดงตีบแคบลงและเลือดไหลเวียนน้อยลงไปด้วย มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับโรคหัวใจและหลอดเลือดนั่นเอง
4. โรคกระดูกพรุน BMI อาจไม่ได้บ่งชัดถึงโรคกระดูกพรุนโดยตรง แต่น้ำหนักและส่วนสูงของคุณสามารถบอกถึงความเสี่ยงได้ กล่าวคือคุณอาจมีน้ำหนักตัวมากเกินจนทำให้กระดูกหักในอนาคตได้
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด สืบเนื่องจากการเป็นโรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วนล้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งสิ้น เนื่องจากไขมันที่สะสมในร่างกายในปริมาณที่มากเกินไปนั้นอุดตันในเส้นเลือด หรือหากจะกล่าวให้เห็นภาพก็คือไขมันที่สะสมนั้นไปเกาะอยู่บนผนังของหลอดเลือดนั่นเอง หลอดเลือดแดงจึงตีบและมีขนาดแคบลง ส่งผลให้เลือดเดินทางผ่านได้น้อยจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจอาจตายได้ในที่สุด
3. โรคเบาหวาน ระดับไขมันในเลือดที่สูงนั้น จะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น หลอดเลือดแดงตีบแคบลงและเลือดไหลเวียนน้อยลงไปด้วย มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับโรคหัวใจและหลอดเลือดนั่นเอง
4. โรคกระดูกพรุน BMI อาจไม่ได้บ่งชัดถึงโรคกระดูกพรุนโดยตรง แต่น้ำหนักและส่วนสูงของคุณสามารถบอกถึงความเสี่ยงได้ กล่าวคือคุณอาจมีน้ำหนักตัวมากเกินจนทำให้กระดูกหักในอนาคตได้
ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรคเท่านั้น และค่า BMI นี้ก็เป็นเพียงเครื่องมือวัดแบบคร่าว ๆ เบื้องต้นเช่นกัน เพราะบางคนมีค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ตามปกติ แต่เขาอาจมีปริมาณไขมันสะสมซึ่งนำไปสู่แนวโน้มโรคอ้วนก็ได้เหมือนกัน ดังนั้น การวัดค่าแบบ BMI อาจไม่สามารถวินิจฉัยโรคของคนไข้ได้เพียงอย่างเดียว เราอาจต้องดูปัจจัยเรื่องอายุ เพศ เชื้อชาติ และพันธุกรรมควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการปรึกษาแพทย์ด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมว่า BMI เป็นค่าวัดที่ช่วยบ่งชี้ว่าร่างกายและน้ำหนักของคุณอยู่ในเกณฑ์ไหน
สิ่งสำคัญคือ เมื่อคุณรู้ว่าตนอยู่ในเกณฑ์ใดแล้ว คุณควรเรียนรู้ที่จะควบคุมวินัยการรับประทานอาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณ ลองหันมารักษาสุขภาพด้วยการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ควบคุมปริมาณอาหารอย่างเหมาะสม จำกัดอาหารหวานและปริมาณแป้งที่บริโภคเข้าไป และจงอย่าหลงผิดหาทางลัดในการลดน้ำหนักโดยใช้สารเคมีหรือกินยา เนื่องจากอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้
BMI คนไทย
คนไทยมากกว่า 30% น้ำหนักเกินมาตรฐาน และมีจำนวนมากถึง 10% ที่ค่า BMI ระบุว่าอ้วน ที่น่ากังวลคือแนวโน้มว่ามีเด็กอนุบาลและเด็กปฐมวัยที่มีภาวะอ้วนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่ดี น้ำหวานและไขมันที่มากเกินไป ดังนั้นหากจะทำให้คนไทยมีค่า BMI ในเกณฑ์มาตรฐาน จึงต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่าย
การคำนวนค่าดัชนีมวลกายในเด็ก
ค่าดัชนีมวลกายหรือค่า BMI ในเด็กจะขึ้นอยู่กับอายุและเพศด้วย จึงมักเรียกว่า ค่าดัชนีมวลกายต่ออายุ (BMI-for-age) โดยจะแสดงว่าลูกของคุณมีการเจริญเติบโตอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ที่มีอายุเท่ากัน
หลังจากคิดค่า BMI ของเด็กแล้ว จะเปรียบเทียบควบคู่ไปกับตารางการเจริญเติบโต (growth chart) ซึ่งเป็นกราฟที่รวบรวมค่า BMI ของเด็กในแต่ละปีตามอายุและเพศ
- หากลูกของคุณน้ำหนักมากกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 95 หรือมากกว่าแปลว่าลูกของคุณอยู่ในภาวะอ้วน
- หากลูกของคุณน้ำหนักอยู่ระหว่างเปอร์เซนไทล์ที่ 85 และ 95 แปลว่าน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์
- หากลูกของคุณน้ำหนักอยู่ระหว่างเปอร์เซนไทล์ที่ 5 และ 85 แปลว่าน้ำหนักที่เหมาะสม
- หากลูกของคุณน้ำหนักน้อยกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 5 หรือมากกว่าแปลว่าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
ทำไมการวัดค่า BMI ในเด็กจึงต่างกับผู้ใหญ่?
1. เด็กยังอยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโต ซึ่งเด็กชายและเด็กหญิงมีอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน
2. เด็กมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของไขมันในร่างกายตามช่วงอายุ ดังนั้นช่วงน้ำหนักที่เหมาะสมจึงมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีความสูงเพิ่มขึ้น แต่ผู้ใหญ่มักจะไม่ได้มีความสูงเพิ่มขึ้น ฉะนั้นหากน้ำหนักของเด็กเข้าข่ายมากกว่าเกณฑ์ แต่ปีต่อมาสูงขึ้นมากและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ค่าดัชนีมวลกายก็อาจอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติได้
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคและวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ใช้ค่าดัชนีมวลกายในการคัดกรองภาวะน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์และอ้วนในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 2-20 ปี ซึ่งจะทำให้พ่อแม่ติดตามความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและให้คำแนะนำในเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายตามต้องการได้
วิธีอื่นๆ ในการวัดระดับไขมัน
มีหลากหลายวิธีในการประเมินเปอร์เซ็นต์ของไขมันและกล้ามเนื้อในร่างกาย นอกเหนือจากการคำนวณดัชนีมวลกาย อย่างไรก็ตามแต่ละวิธีจำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษและการฝึกอบรม ซึ่งวิธีคำนวณเหล่านี้เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition Analysis) เช่น
- การวัดความหนาของชั้นผิวหนัง (skinfold thickness) ด้วยเครื่องวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Calipers) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก
- การชั่งน้ำหนักใต้น้ำ (underwater weighing) หรือไฮโดรเดนซิโตเมตทรี (hydrodensitometry) ซึ่งยุ่งยากและซับซ้อน จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก
- การวัดองค์ประกอบของร่างกายด้วยกระแสไฟฟ้า (bioelectrical impedance) หรือ (Bioelectrical Impedance Analysis: BIA) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้บ่อยเพื่อประเมินปริมาณไขมันในร่างกาย วิธีนี้จะบอกน้ำหนักทั้งหมด สัดส่วนและปริมาณไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ปริมาณน้ำ และมวลกระดูก โดยการประมวลผลอาจคลาดเคลื่อนได้จากปริมาณน้ำในร่างกายและปัจจัยอื่นๆ แต่จะแม่นยำมากขึ้นเมื่อวัดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง และเครื่องวัดไขมันในร่างกายที่ใช้กันตามบ้านก็ใช้วิธีนี้ในการวัด ซึ่งเป็นวิธีการวัดองค์ประกอบของร่างกายจากความต้านทานไฟฟ้า โดยใช้กระแสไฟฟ้าระดับต่ำ (น้อยกว่า 1 มิลลิแอมแปร์) ผ่านร่างกาย ด้วยความเร็วที่เหมาะสมและปลอดภัย สัญญาณไฟฟ้าจะไหลผ่านกล้ามเนื้อ ไขมัน และของเหลวในร่างกาย โดยที่ส่วนของกระดูก ไขมัน จะนำไฟฟ้าได้ไม่ดีและมีแรงต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าสูง ในขณะที่เลือด อวัยวะภายใน และกล้ามเนื้อจะนำไฟฟ้าได้ดีและมีแรงต้านทานต่ำ และใช้ข้อมูลอายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง ร่วมกับค่าความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ตรวจได้มาประเมินผลเป็นองค์ประกอบของร่างกาย
- Dual Energy X-ray Absorption (DEXA) คือการ X-Ray กระดูกโดยใช้เครื่องมือวัดความหนาแน่นกระดูกที่มีรังสี X-Ray ต่างกันสองระดับโดยมีซอฟต์แวร์ในการคำนวณความหนาแน่นของกระดูก
- การลดลงของไอโซโทป (Isotope dilution)
ค่า BMI กับการเกณฑ์ทหาร
จากกฎกระทรวงฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2540) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 และมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 2 โรคหรือสภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจ ซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้ตามมาตรา 41 คือข้อ 8 (จ) ภาวะอ้วน (Obesity) ซึ่งมีดัชนีความหมายของร่างกาย (Body Mass Index) ตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป
นั่นหมายความว่านอกจากเกณฑ์ที่ไม่สามารถเข้ารับราชการทหาร ซึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคที่กำหนดโดยกฎของกระทรวงแล้ว โรคอ้วนยังถูกกำหนดให้ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร หากคนนั้นมีค่า BMI มากกว่า 35 ขึ้นไปนั่นเอง โดยจะต้องได้รับการบริการจากโรงพยาบาลของทหาร และการนำหลักฐานใบรับรองแพทย์มายืนยันเพียงเท่านั้น
ที่มา :: iamdmybody.com , เว็บไซต์ honestdocs
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น