What
is Active Learning?
Active
learning
Active learning is an umbrella term that refers
to several models of instruction that focus the responsibility of learning, on
learners. Bonwell and Eison (1991) popularized this approach to instruction
(Bonwell
& Eison 1991). This "buzz word" of the 1980s became their 1990s
report to the Association for the Study of Higher Education (ASHE). In this
report they discuss a variety of methodologies for promoting "active learning."
While there has been much enthusiasm for active learning, a variety of research
studies since the 1990s, has since promoted and important principle: Guidance
early, and then practice later is suggested for the best results.
Active learning
exercises
Bonwell and Eison (1991) suggested learners work in pairs, discuss materials while role-playing, debate, engage in case study, take part in cooperative learning, or produce short written exercises, etc. The argument is when should active learning exercises be used during instruction. While it makes some sense to use these techniques as a "follow up" exercise or as application of known principles, it may not make sense to use them to introduce material. Proponents argue that these exercises may be used to create a context of material, but this context may be confusing to those with no prior knowledge. The degree of instructor guidance students need while being "active" may vary according to the task and its place in a teaching unit.
Examples of
"active learning" activities include:
- A class discussion may be held in person or in an online environment. Discussions can be conducted with any class size, although it is typically more effective in smaller group settings. This environment allows for instructor guidance of the learning experience. Discussion requires the learners to think critically on the subject matter and use logic to evaluate their and others' positions. As learners are expected to discuss material constructively and intelligently, a discussion is a good follow-up activity given the unit has been sufficiently covered already.
- A think-pair-share activity is when learners take a minute to ponder the previous lesson, later to discuss it with one or more of their peers, finally to share it with the class as part of a formal discussion. It is during this formal discussion that the instructor should clarify misconceptions. However students need a background in the subject matter to converse in a meaningful way. Therefore a "think-pair-share" exercise is useful in situations where learners can identify and relate what they already know to others. So preparation is key. Prepare learners with sound instruction before expecting them to discuss it on their own.
- A learning cell is an effective way for a pair of students to study and learn together. The learning cell was developed by Marcel Goldschmid of the Swiss Federal Institute of Technology in Lausanne (Goldschmid, 1971). A learning cell is a process of learning where two students alternate asking and answering questions on commonly read materials. To prepare for the assignment, the students will read the assignment and write down questions that they have about the reading. At the next class meeting, the teacher will randomly put the students in pairs. The process begins by designating one student from each group to begin by asking one of their questions to the other. Once the two students discuss the question. The other student will ask a question and they will alternate accordingly. During this time, the teacher is going around the class from group to group giving feedback and answering questions. This system is also referred to as a student dyad.
- A short written exercise that is often used is the "one minute paper." This is a good way to review materials and provide feedback. However a "one minute paper" does not take one minute and for students to concisely summarize it is suggested[who?] that they have at least 10 minutes to work on this exercise.
- A collaborative learning group is a successful way to learn different material for different classes. It is where you assign students in groups of 3-6 people and they are given an assignment or task to work on together. This assignment could be either to answer a question to present to the entire class or a project. Make sure that the students in the group choose a leader and a note-taker to keep them on track with the process. This is a good example of active learning because it causes the students to review the work that is being required at an earlier time to participate. (McKinney, Kathleen. (2010). Active Learning. Normal, IL. Center for Teaching, Learning & Technology.)
- A student debate is an active way for students to learn because they allow students the chance to take a position and gather information to support their view and explain it to others. These debates not only give the student a chance to participate in a fun activity but it also lets them gain some experience with giving a verbal presentation. (McKinney, Kathleen. (2010). Active Learning. Normal, IL. Center for Teaching, Learning & Technology.)
- A reaction to a video is also an example of active learning because most students love to watch movies. The video helps the student to understand what they are learning at the time in an alternative presentation mode. Make sure that the video relates to the topic that they are studying at the moment. Try to include a few questions before you start the video so they will pay more attention and notice where to focus at during the video. After the video is complete divide the students either into groups or pairs so that they may discuss what they learned and write a review or reaction to the movie. (McKinney, Kathleen. (2010). Active Learning. Normal, IL. Center for Teaching, Learning & Technology.)
- A class game is also considered an energetic way to learn because it not only helps the students to review the course material before a big exam but it helps them to enjoy learning about a topic. Different games such as jeopardy and crossword puzzles always seem to get the students minds going. (McKinney, Kathleen. (2010). Active Learning. Normal, IL. Center for Teaching, Learning & Technology.)
Active learning method: Learning by teaching (LdL)
Main
article: Learning by
teaching
An efficient instructional strategy that mixes guidance with active learning is "Learning by teaching" (Martin 1985, Martin/Oebel 2007). This strategy allows students to teach the new content to each other. Of course they must be accurately guided by instructors. This methodology was introduced during the early 1980s, especially in Germany, and is now well-established in all levels of the German educational system. "Learning by teaching" is integration of behaviorism and cognitivism and offers a coherent framework for theory and practice.
Active learning and Policy
Policy may be satisfied by demonstrating the instructional effectiveness of instruction. Educational rubrics are a good way to evaluate "active learning" based instruction. These instructional tools can be used to describe the various different qualities of any activity. In addition, if given to the student, they can provide additional guidance (here is an example rubric).
In the past few years outcome-based education policy has begun to limit instructors to only using those techniques that have been shown to be effective. In the United States for instance, the No Child Left Behind Act requires those developing instruction to show evidence of its "effectiveness."
Research supporting active learning
One study has shown evidence to support active learning. Bonwell and Eison (1991) state that active learning strategies are comparable to lectures for achieving content mastery, but superior to lectures for developing thinking and writing skills.
See also
Notes
^ Renkl, A., Atkinson, R. K., Maier, U. H., & Staley, R. (2002). From example study to problem solving: Smooth transitions help learning. Journal of Experimental Education, 70 (4), 293–315.
^ McKeachie, W.J., Svinicki,M. (2006). Teaching Tips: Strategies, Research, and Theory for College and University Teachers. Belmont, CA. Wadsworth.
^ Jean-Pol Martin: Zum Aufbau didaktischer Teilkompetenzen beim Schüler. Fremdsprachenunterricht auf der lerntheoretischen Basis des Informationsverarbeitungsansatzes. Dissertation. Tübingen: Narr. 1985; Jean-Pol Martin, Guido Oebel (2007): Lernen durch Lehren: Paradigmenwechsel in der Didaktik?, In: Deutschunterricht in Japan, 12, 2007, 4–21 (Zeitschrift des Japanischen Lehrerverbandes, ISBN 1342-6575)
^ http://advan.physiology.org/cgi/content/short/30/4/159
^ Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Digest, Bonwell & Eison, 1991.
active learning means active engagement and understrshijoup.
References
^ Renkl, A., Atkinson, R. K., Maier, U. H., & Staley, R. (2002). From example study to problem solving: Smooth transitions help learning. Journal of Experimental Education, 70 (4), 293–315.
^ McKeachie, W.J., Svinicki,M. (2006). Teaching Tips: Strategies, Research, and Theory for College and University Teachers. Belmont, CA. Wadsworth.
^ Jean-Pol Martin: Zum Aufbau didaktischer Teilkompetenzen beim Schüler. Fremdsprachenunterricht auf der lerntheoretischen Basis des Informationsverarbeitungsansatzes. Dissertation. Tübingen: Narr. 1985; Jean-Pol Martin, Guido Oebel (2007): Lernen durch Lehren: Paradigmenwechsel in der Didaktik?, In: Deutschunterricht in Japan, 12, 2007, 4–21 (Zeitschrift des Japanischen Lehrerverbandes, ISBN 1342-6575)
^ http://advan.physiology.org/cgi/content/short/30/4/159
^ Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Digest, Bonwell & Eison, 1991.
- Bonwell, C.; Eison, J. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom AEHE-ERIC Higher Education Report No. 1. Washington, D.C.: Jossey-Bass. ISBN 1-87838-00-87.
- McKinney, K. (2010). Active Learning. Illinois State University. Center for Teaching, Learning & Technology. http://www.cat.ilstu.edu/resources/teachTopics/tips/newActive.php.
Further references
- Martyn, Margie (2007). "Clickers in the Classroom: An Active Learning Approach". EDUCAUSE Quarterly (EQ) 30 (2). http://www.educause.edu/EDUCAUSE+Quarterly/EDUCAUSEQuarterlyMagazineVolum/ClickersintheClassroomAnActive/157458.
External links
- Prince, M. (2004). Does Active Learning Work? A Review of the Research. Journal of Engineering Education, 93(3), 223-232.
- Making Active Learning Work
- New Directions for Cooperative Education. ERIC Digest.
- The Essential Elements of Cooperative Learning in the Classroom. ERIC Digest.
- Active learning section of Geoff Petty's practical guide on improving teaching and learning.
- Active Learning and Library Instruction
- Platform for Active Learning (University of Hull). Includes bank of examples.
- Educational psychology in classroom settings. A developing open-source Wikibook related to learning as discussed in this article.
- Learning by teaching - by Jody Skinner
- Action-oriented learning area teaching at vocational schools - Rainer Gerke, Ph.D. (Weimar University)
Active
Learning
คือกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว
ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ,
และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่
การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่า ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า Active
Learning
คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป(Bonwell,
1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1)
การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์, และ 2)
แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน(Meyers and Jones, 1993)
โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive)
ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้
(co-creators)( Fedler and Brent, 1996)
(co-creators)( Fedler and Brent, 1996)
ลักษณะของ Active Learning
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (มปป.) ได้อธิบายถึงลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ดังนี้
- เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การแก้ปัญหาและการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้
- เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสใหผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
- ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
- ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
- เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง
- เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ, และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอดความคิดรวบยอด
- ผู้สอนจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
- ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน
บทบาทของครู กับ Active Learning
ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ (2550) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ดังนี้
- จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน
- สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
- จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย
- วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม
- ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดเของที่ผู้เรียน
รูปแบบของ Active Learning
การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล, การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก, และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ McKinney (2008) ได้เสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี ได้แก่
- การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดคนเดียว 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)
- การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ 3-6 คน
- การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา
- การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน, การสอน, การมอบหมายงาน, และหรือขั้นการประเมินผล
- การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม
- การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม
- การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
- การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้, วางแผนการเรียน, เรียนรู้ตามแผน, สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน, และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(problem-based learning)
- การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด
- การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน
- การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ
- การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Active Learning
จาก: Active Learning … สู่: Action Research
Using Active Learning in the Classroomhttp://learningforlife.fsu.edu/ctl/explore/onlineresources/docs/Chptr8.pdf
http://www.mhhe.com/cps/docs/CPSWP_TechnologyActiveLearning.pdf
http://www.icte.org/T01_Library/T01_245.pdf
http://www4.ncsu.edu/unity/lockers/users/f/felder/public/Papers/ALpaper(ASQ).pdf
Active Learning
เรียนเชิงรุก-ปลุกเด็กสนุกเรียน
|
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ Active Learning
ตอบลบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมโดยตรงในกิจกรรมการเรียนรู้ได้พัฒนาการเรียนรู้ตามศักยภาพความต้องการ ความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล โดยได้คิดเอง ทำเอง ลงมือปฏิบัติ ได้มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อีกทั้งได้มีโอกาสประยุกต์ใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
Active Learning Design
องค์ประกอบการจัดกิจกรรมการสอนแบบใฝ่รู้ Active Learning ประกอบด้วย
องค์ประกอบสำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ
1. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (ประสบการณ์)
2. การสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน (สะท้อนความคิดและอภิปราย)
3. การนำเสนอความรู้ (ความคิดรวบยอด)
4. การลงมือปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ (ประยุกต์แนวคิด)
1. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
เป็นองค์ประกอบที่ผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงประสบการณ์เดิมของตนมาเชื่อมโยงหรืออธิบาย ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่ แล้วนำไปสู่การขบคิดเพื่อเกิดข้อสรุปหรือองค์ความรู้ใหม่ และแบ่งปันประสบการณ์ของตนกับผู้อื่นที่อาจมีประสบการณ์เหมือนหรือต่างจากตนเอง เป็นการรวบรวมมวลประสบการณ์ที่หลากหลายจากแต่ละคน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน
1. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
องค์ประกอบนี้ทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้
ผู้เรียน รู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนในฐานะสมาชิก มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเอง และได้รับรู้เรื่องราวของคนอื่น นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้ว ยังทำให้สัมพันธภาพในกลุ่มผู้เรียนเป็นไปด้วยดี
ผู้สอน ไม่เสียเวลาในการอธิบายหรือยกตัวอย่าง เพียงแต่ใช้เวลาเล็กน้อย กระตุ้นให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน และยังช่วยให้ผู้สอนได้ทราบถึงความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป
1. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ในกรณีที่ผู้เรียนไม่มีประสบการณ์ในเรื่องที่สอนหรือมีน้อย ผู้สอนอาจต้องจัดประสบการณ์ให้ ซึ่งทำได้ทั้งทรงตรง เช่น การนำตัวอย่างดินเหนียว ดินร่วนและดินทราย ให้เด็กได้สัมผัส เพื่อสังเกตความแตกต่าง และทางอ้อม เช่น การเล่าประสบการณ์ชีวิตของผู้ติดเชื้อเอดส์ เนื่องจากเรื่องเช่นนี้ไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรงได้
.
กิจกรรม
ตอบลบกิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นไปได้ 2 ลักษณะ คือ การตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มาจากประสบการณ์หลากหลายของผู้เรียน และจัดประสบการณ์ที่จำเป็นให้ผู้เรียนเพื่อความเข้าใจหรือกระตุ้นให้เกิดการคิด โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน ดังนี้
1. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ด้านความรู้ เป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่สอน
ด้านเจตคติ เป็นการจัดประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่สอดคล้องกับจุดประสงค์และนำไปสู่การสะท้อนความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยว กับความคิดความเชื่อต่อไป
ด้านทักษะ เป็นการให้ผู้เรียนได้ทดลองทักษะนั้น ๆ ตามประสบการณ์เดิมหรือสาธิตการทำทักษะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจชัดเจน
2. การสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน
เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์มวลประสบการณ์ ข้อมูลความคิดเห็น ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจน หรือเกิดข้อสรุป / องค์ความรู้ใหม่ หรือตรวจสอบ / ปรับ / เปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง
.
กิจกรรม
ตอบลบกิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นกิจกรรมกลุ่มที่เน้นการตั้งประเด็นให้ผู้เรียนได้คิด สะท้อนความคิดหรือบอกความคิดเห็นตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ และได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิด ระหว่างกันอย่างลึกซึ้งจนเกิดความเข้าใจชัดเจน ได้ข้อสรุปหรือองค์ความรู้ใหม่ หรือเกิด / ปรับ / เปลี่ยนความคิดความเชื่อตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน ดังนี้
2. การสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน
ด้านความรู้ ตั้งประเด็นให้อภิปรายและเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสรุปความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ นำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การสรุปสาระสำคัญ การวิเคราะห์กรณีศึกษา การวิเคราะห์เปรียบเทียบ การ วิเคราะห์ประเด็นความรู้เพื่อหาข้อสรุปและนำไปสู่ความคิดรวบยอด ฯลฯ
ด้านเจตคติ ตั้งประเด็นอภิปรายที่ท้าทาย กระตุ้นให้เกิดความคิดหลากหลาย เน้นในเรื่องคุณค่าอารมณ์ ความรู้สึก ให้ผู้เรียน ความคิดความเชื่อ มีความสอดคล้องกับความรู้สึกของผู้เรียนและนำไปสู่จุดประสงค์ที่ต้องการ ข้อสรุปจากการอภิปรายและความคิดรวบยอดที่ได้ จะสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนด
ด้านทักษะ ตั้งประเด็นให้อภิปรายโต้แย้งกันในเรื่องขั้นตอนการลงมือทำทักษะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ในแนวทางปฏิบัติทักษะนั้น และเกิดความมั่นใจก่อนจะได้ลงมือปฏิบัติจนชำนาญ
.
3. การนำเสนอความรู้
ตอบลบเป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้ แนวคิด ทฤษฎี หลักการ ขั้นตอน หรือข้อสรุปต่าง ๆ โดยครูเป็นผู้จัดให้เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือช่วยให้การเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์
กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ได้แก่
- การให้แนวคิด ทฤษฎี หลักการ ข้อมูลความรู้ ขั้นตอนทักษะ ซึ่งทำได้โดยการ บรรยาย ดูวิดีทัศน์ ฟังแถบเสียง อ่านเอกสาร / ใบความรู้ / ตำรา ฯลฯ
- การรวบรวมประสบการณ์ของผู้เรียนที่เป็นผลให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระเพิ่มขึ้น
ความคิดรวบยอดที่ได้จากการรวบรวมข้อสรุปของการสะท้อนความคิดและอภิปราย
ประเด็นที่ได้มอบหมายให้
3. การนำเสนอความรู้
กิจกรรมเหล่านี้ควรทำเป็นขั้นตอนและประสานกับองค์ประกอบการเรียนรู้อื่น ๆ โดยมีจุดเน้น สำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน ดังนี้
ด้านความรู้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระ ข้อมูลความรู้อย่างชัดเจน
ด้านเจตคติ ผู้เรียนเกิดความรู้สึกและความคิดความเชื่อที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดให้ ผู้เรียนรับรู้แนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะนั้น ๆ อย่างชัดเจน
ด้านทักษะ ผู้เรียนรับรู้แนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะนั้น ๆ อย่างชัดเจน
.
4. การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
ตอบลบเป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบยอดหรือข้อสรุปหรือองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้ หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้ได้ เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักการนำไปใช้ในชีวิตจริง ไม่ใช่แค่เรียนรู้เท่านั้น
4. การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
จุดเน้นของกิจกรรมในองค์ประกอบนี้ สำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน มีดังนี้
ด้านความรู้ เป็นการผลิตซ้ำความคิดรวบยอดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สร้างคำขวัญ ทำแผนภาพ จัดนิทรรศการ เขียนเรียงความ ทำรายงานสรุปสาระสำคัญ ทำตารางวิเคราะห์ / เปรียบเทียบ ฯลฯ
ด้านเจตคติ เป็นการแสดงออกที่สอดคล้องกับเจตคติที่เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ เช่น เขียนจดหมายให้กำลังใจผู้ติดเชื้อเอดส์ สร้างคำขวัญรณรงค์รักษาความสะอาดในโรงเรียน ฯลฯ
ด้านทักษะ เป็นการลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะที่ได้เรียนรู้
การนำองค์ประกอบทั้ง 4 มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จะใช้องค์ประกอบใดก่อนหลัง หรือให้องค์ประกอบใดกี่ครั้งในแต่ละแผนการเรียนรู้ สามารถออกแบบตามความเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด ควรต้องให้มีครบทั้ง 4 องค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ Active Learning
.
การเรียนเชิงรุก (Active Learning)
ตอบลบดร.ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ
การเรียนเชิงรุกเป็นการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ และสร้างความรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติในระหว่าง
การเรียนการสอน โดยเน้นการพัฒนาทักษะ ความสามารถที่ตรงกับพื้นฐานความรู้เดิม ส่งผลให้ผู้เรียน
เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมที่มีจากการปฏิบัติและความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ
กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนเชิงรุก ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเข้า
เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนั้นๆ (Active Engage Student) การสัมมนา การใช้การแก้ปัญหา การสอนกลุ่ม
ย่อยแบบไม่เป็นทางการ การสำรวจข้อมูล การทดลอง การแก้ไขปัญหา กรณีศึกษา การสัมมนา การ
อภิปราย เป็นต้น โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า การเรียนเชิงรุกเป็นการจัดการเรียนการสอนลดกระบวนการ
สื่อสาร และการถ่ายทอดเนื้อหาให้กับผู้เรียนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนา
ความคิดระดับสูง (Higher order Thinking), เป็นการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติมากกว่าการฟังบรรยาย,
เป็นการเรียนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ, เน้นการวัดประเมินด้านความคิดระดับสูง และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่
ผู้เรียนเป็นหลัก
จากลักษณะของการเรียนเชิงรุกข้างต้น นักการศึกษาจำเป็นต้องทราบองค์ประกอบสำหรับการ
เรียนเชิงรุกเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอน Meyers & Jones (1993) กล่าวว่า
องค์ประกอบของการเรียนเชิงรุก ประกอบด้วยปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกัน 3 ประการ ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐาน
(Basic Elements) กลวิธีในการเรียนการสอน (Learning Strategies) และทรัพยากรทางการสอน
(Teaching Resources) โดยมีรายละเอียดดังนี้
...
1. ปัจจัยพื้นฐาน
ตอบลบ(Basic Elements)
การพูดและการฟัง
การเขียน
การอ่าน
การโต้ตอบความคิดเห็น
2. กลวิธีในการเรียน (Learning
Strategies)
กลุ่มเล็กๆ การทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ กรณีศึกษา สถานการณ์จำลอง การอภิปราย
การแก้ปัญหา การเขียนบทความ
3. ทรัพยากรทางการสอน
(Teaching Resources)
การอ่าน การกำหนดการบ้าน วิทยากรจากภายนอก การใช้เทคโนโลยีในการสอน
การเตรียมอุปกรณ์การศึกษา ทีวีทางการศึกษา
.
2หลักการเรียนเชิงรุก
ตอบลบAlaska Pacific University; Oklahoma University ได้เสนอรูปแบบการจัดการเรียนเชิงรุกใน
มหาวิทยาลัยประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
1. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรงกับการแก้ปัญหาตามสภาพ
จริง (Authentic situation)
2. จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้กำหนดแนวคิด การวางแผน การยอมรับ การประเมินผล และการ
นำเสนอผลงาน
3. บูรณาการเนื้อหารายวิชา เพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจวิชาต่างๆ ที่แตกต่างกัน
4. จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)
5. ใช้กลวิธีของกระบวนการกลุ่ม (Group processing)
6. จัดให้มีการประเมินผลโดยกลุ่มเพื่อน (Peer assessment)
ทรงศรี ตุ่นทอง (2545) กล่าวว่า เป้าหมายและตัวบ่งชี้ลักษณะการจัดการเรียนตามสถานการณ์
จะต้องมีความชัดเจนในทุกขั้นตอน เพื่อแสดงถึงคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนดังนั้นจึงต้องมีการ
กำหนดตัวบ่งชี้เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดการเรียนตามสถานการณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
.
เป้าหมายของการเรียนเชิงรุก
ตอบลบตัวบ่งชี้ลักษณะการจัดการเรียนเชิงรุก
1. การคิดระดับสูง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนจัดกระทำกับข้อมูลข่าวสารและสามารถสร้างความหมายได้ด้วยถ้อยคำของผู้เรียนเอง หรือเมื่อผู้เรียนรวบรวมมาแล้ว ผู้เรียนสามารถตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมาย และสรุปผลได้อย่างชัดเจน
2. ความลึกซึ้งในความรู้ที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและข้อโต้แย้ง โดยใช้เหตุผลในการอธิบาย หรือแสดงการแก้ไขปัญหา และสามารถเสนอทางเลือกในการปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อน ซึ่งแสดงออกซึ่งความรู้ความเข้าใจทางวิชาการในสาขาต่างๆ
3 . ค ว า ม เ ชื่อ ม โ ย ง กับสถานการณ์ภายนอก
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตามความสนใจ หรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสังคม หรือเป็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจของสังคม โดยนำความรู้ที่เรียนไปใช้ปฏิบัติ
.
เป้าหมายของการเรียนเชิงรุก
ตอบลบตัวบ่งชี้ลักษณะการจัดการเรียนเชิงรุก
4. การสื่อสารสาระสำคัญได้ชัดเจน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความคิดเกี่ยวกับหัวข้อ หรือประเด็นที่กำหนดให้ดังนี้
1. ผู้เรียนสามารถกล่าวถึงสาระสำคัญ หรือความคิดรวบยอดของเนื้อหาทางด้านวิชาการที่ใช้ในการปฏิบัติภาระงาน และต้องบอกได้ว่าประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง โดยสามารถยกตัวอย่างประกอบมิใช่เพียงการรายงานข้อเท็จจริงหรือบอกวิธีดำเนินการเท่านั้น
2. ผู้เรียนสามารถอธิบายเหตุผลด้วยถ้อยคำของผู้เรียนเอง
3. ผู้เรียนสามารถสร้างบทสนทนาที่สมเหตุสมผลในการนำเสนอความคิด ซึ่งเป็นการแสดงถึงความเข้าใจในสาระสำคัญ
5. การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนจากบุคคลภายนอก
1. ผู้สอนจะต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนยอมรับซึ่งกันและกัน และมีส่วนร่วมในความสำเร็จของการเรียน
2. ผู้สอนควรยอมรับในวุฒิภาวะของผู้เรียน โดยการให้คำแนะนำผู้เรียนที่มีความรู้น้อย และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความพยายามและเล็งเห็นคุณค่าของตนเอง
.
บทบาทของผู้สอน
ตอบลบจากกิจกรรมและวิธีการปฏิบัติตามแนวทางของการเรียนเชิงรุก ผู้สอนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญกล่าวคือ การจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนเชิงรุกหรือไม่ ผู้สอนควรมีบทบาทดังนี้
1. จัดให้ผู้สอนเป็นศูนย์กลางของการเรียน กิจกรรมหรือเป้าหมายที่ต้องการต้องสะท้อนความต้องการที่จะพัฒนาผู้เรียน และเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน
2. สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจาจราโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอน และเพื่อนในชั้นเรียน
3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่สนใจรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน กิจกรรมที่เป็นพลวัต ได้แก่ การฝึกแก้ปัญหาการศึกษาด้วยตนเอง เป็นต้น
4. จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaboratory Learning) ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน
5. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลายมากกว่าการบรรยายเพียงอย่างเดียว แม้รายวิชาที่เน้นทางด้านการบรรยายหลักการ และทฤษฎีเป็นหลักก็สามารถจัดกิจกรรมเสริม อาทิ การอภิปราย การแก้ไขสถานการณ์ที่กำหนด เสริมเข้ากับกิจกรรมการบรรยาย
6. วางแผนในเรื่องของเวลาการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของเนื้อหา และกิจกรรมในการเรียนทั้งนี้เนื่องจากการเรียนเชิงรุกจำเปน็ ต้องใช้เวลาการจัดกิจกรรมมากกว่าการบรรยาย ดังนั้นผู้สอนจำเป็นต้องวางแผนการสอนอย่างชัดเจน โดยสามารถกำหนดรายละเอียดลงในประมวลรายวิชา เป็นต้น
7. ใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดเห็นที่ผู้เรียนนำเสนอ
บรรณานุกรม
Meyers, Chet and Jones, Thomas B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for the Collage Classroom. San Francisco: Jossey-Bass.
ทรงศรี ตุ่นทอง. (2545) การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงของผู้เรียน.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาทดสอบและวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2545.
.
เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning)
ตอบลบActive Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง “ความรู้” ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ดังกล่าวนั่นเองหรือพูดให้ง่ายขึ้นมาหน่อยก็คือ หากเปรียบความรู้เป็น “กับข้าว” อย่างหนึ่งแล้ว Active learning ก็คือ “วิธีการปรุง” กับข้าวชนิดนั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้กับข้าวดังกล่าว เราก็ต้องใช้วิธีการปรุงอันนี้แหละแต่ว่ารสชาติจะออกมาอย่างไรก็ขึ้นกับประสบการณ์ความชำนาญของผู้ปรุงนั่นเอง (ส่วนหนึ่งจากผู้สอนให้ปรุงด้วย) ความน่าสนใจของ Active Learning ก็คือเป็นกระบวนการที่นำผู้เรียนไปสู่พัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และเป็น How to อย่างหนึ่งในการจัดการเรียน การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-centered)
Active Learning มีกระบวนการอย่างไร เริ่มจากการนำหลักสูตรกางออกมาให้หมดว่าแต่ละวิชามีเนื้อหาอะไรบ้างที่ผู้เรียนจะต้องรู้ จากนั้นก็เลือกหัวข้อเรื่องของแต่ละวิชาที่มีความคล้ายคลึงกันหรือมีความเกี่ยวข้องกันมาปรับเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การที่นำเนื้อหาที่สอดคล้องกันมาใช้ร่วมกันก็เป็นการเรียนการสอนที่เรียกว่า “บูรณาการ” ซึ่งอันนี้บางสถาบันอาจจะทำ Active learning แบบแยกส่วนเป็นวิชาๆ ไปก็ได้ก็จะเป็นการลดขั้นตอนในการทำงานลงไปหน่อยไม่ต้องปวดหัวกับการจับมารวมกัน แล้วดัดแปลงให้ลงตัวเหมือน บูรณาการหลังจากได้เนื้อหาที่ต้องการแล้วก็นำมาประยุกต์ให้เป็นการปฏิบัติ โดยมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนปฏิบัติหรือได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้ และเข้าใจเนื้อหาดังกล่าว ซึ่งตอนนี้แหละที่เป็นภาระขั้นแรกของผู้สอนที่ไหนจะต้องกังวลว่าเนื้อหาไม่ครบ แล้วไหนจะต้องออกแบบกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนทำอีก แล้วหลังจากนั้นการให้ผู้เรียนทำกิจกรรมก็อาจจะเป็นกลุ่มบ้าง เดี่ยวบ้าง ซึ่งผู้เรียนได้มีส่วนร่วมตั้งแต่การคิดวางแผนงาน การแก้ปัญหา การลงมือทำ และการนำเสนอกิจกรรมที่ทำเสร็จแล้ว นี่แหละประเด็นสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเองโดยมีผู้สอนเป็นที่ปรึกษา
.
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ตอบลบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สองปัจจัยที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ก็คือ ผู้สอนและสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนว่า ผู้สอนจะค่อนข้างสบาย (เพราะผู้เรียนต้องทำเองหมด) แต่ความจริงแล้วผู้สอนจะเหนื่อยในการเตรียมตัวค่อนข้างมากเพราะผู้สอนจะต้องเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมของผู้เรียน อาจจัดแบ่งเป็นหลากหลายมุมเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้จากสิ่งที่ผู้เรียนปฏิบัติ โดยการกระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการหาคำตอบช่วยให้ผู้เรียนคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ผู้สอนเป็นผู้ให้คำปรึกษามากกว่าผู้ให้คำตอบ อีกปัจจัยสำคัญก็คือบรรยากาศในการเรียนรู้ในที่นี้หมายรวมถึงอุปกรณ์ในการเรียนรู้ด้วยจะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมและครบครันให้ผู้เรียนหรือไม่ ผู้สอนอาจจะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผนและการทำอุปกรณ์ประกอบการทำกิจกรรม ซึ่งก็แล้วแต่การวางแผนของผู้สอนแต่ปัญหาของการใช้ Active learning ก็คือเมื่อผู้เรียนเรียนรู้ชั้นสูงขึ้นไปเนื้อหาเริ่มยากและซับซ้อนมากขึ้นโจทย์ของผู้สอนในการเปลี่ยนเนื้อหาให้เป็นกิจกรรมจึงยากขึ้นตามไปด้วยหลายสถาบันจึงยังคงทำอย่างจริงจังไม่ได้เท่าที่ควร
กิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างกิจกรรมและหัวข้อเรื่องอาจจะเป็นเรื่องง่ายที่สุดไล่ไปถึงยากที่สุดก็ได้และลักษณะกิจกรรมก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามผู้ที่วางแผนการสอนและผู้สอน เช่น สมมุติว่าเนื้อหาที่เรียนเป็นเรื่อง “พืช” ผู้สอนอาจจะแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนช่วยกันคิดว่าอยากรู้อะไรเกี่ยวกับพืช (ผู้สอนต้องคอยดึงประเด็นไม่ให้นอกเรื่องมากเกินไปด้วย) แล้วให้แต่ละกลุ่มก็ไปหาเมล็ดพืชที่ตัวเองสนใจมาปลูก สัปดาห์แรกอาจจะกำหนดเป็นพืชผักสวนครัว เมื่อปลูกเสร็จก็ให้ผู้เรียนวางแผนการขาย และขั้นตอนสุดท้ายคือนำเสนอผลงานหน้าห้องกิจกรรมนี้สิ่งที่ผู้เรียนรู้ก็คือพืชสวนครัวมีอะไรบ้าง แล้วขั้นกิจกรรมนี้สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ก็คือพืชสวนครัวมีอะไรบ้างแล้วขั้นตอนการปลูก การวางแผนการขายต้องกำหนดต้นทุน ราคา และคิดหากำไร
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ การลงมือทำผู้เรียนจะเกิดประสบการณ์ตรง แล้วใช้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนสำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงให้ดีขึ้นผู้เรียนมีการปฏิบัติสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ อย่างหลากหลาย ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ มากมายผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้เมื่อได้ลงมือปฏิบัติผู้เรียนจะจำความรู้ได้แม่นและนานกว่าการท่องจำเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ จากการทำกิจกรรม
ที่มา : http://www.yufaidelivery.com/knowledge04.html
.
Active Learning
ตอบลบActive Learning เป็น กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ในระดับทักษะการคิดขั้นสูง (Higher Order Learning Level) ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า เทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่ใช้
กันส่วนใหญ่ ได้แก่ การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problembased Learning) การศึกษากรณี (Case Study) และการจำลองสถานการณ์ (Simulations) เป็นต้น
Active Learning มีลักษณะอย่างไร ?
จากบทนำ ซึ่งได้กล่าวถึงความหมายของ Active Learning มาแล้วนั้น อาจนำมาขยายความให้เห็นเป็นลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้ดังนี้
1. เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหาและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
2. เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
3. ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
5. ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทำงาน การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6. เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
7. เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง
8. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ และหลักการความคิดรวบยอด
9. ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
10. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน
ครูมืออาชีพกับการพัฒนา Active Learning
ครู หรือนักการศึกษามืออาชีพ (The Professional Teacher or Educator) โดยทั่วไป จะมีคุณสมบัติ และมีสมรรถนะในด้านต่างๆ ที่สำคัญหลายประการ และสมรรถนะเหล่านี้ จะช่วยให้เกิดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้เป็นอย่างดี ดังนี้
1. มีความรู้ความเข้าใจด้านเนื้อหา หรือหลักสูตร (Understands Content)
2. มีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนา (Understands Development)
3. มีความรู้ความเข้าใจด้านความแตกต่าง (Understands Difference)
4. ออกแบบยุทธศาสตร์การเรียนการสอนได้ (Designs Instructional Strategies)
5. จัดการและจูงใจได้ (Manages and Motivates)
6. ติดต่อสื่อสารได้ (Communicates)
7. วางแผนและบูรณาการได้ (Plans and Integrates)
8. ประเมินได้ (Evaluates)
9. สะท้อนการปฏิบัติได้ (Reflects on Practice)
10. มีส่วนร่วมในชุมชนวิชาชีพต่างๆ (Participates in the Professional Community)
.