โรคเส้นเลือดในสมองแตก
หลอดเลือดในสมองแตก
เรื่องเศร้าที่คาดไม่ถึง
ปวดหัว-แขนไม่มีแรง-ตาพร่ามัว
สัญญาณเตือน
ความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มาโดยไม่รู้ตัว
เหมือนแขกที่ไม่ได้รับเชิญที่จะมาเคาะประตูชีวิตเราเมื่อไหร่ก็ไม่รู้
หลายคนวันนี้ยังดีอยู่ พรุ่งนี้อาจพิการ คนที่รู้จักมักคุ้นกันอยู่ดีๆ เมื่อวันวาน
วันนี้อาจกลายเป็นเจ้าหญิง หรือเจ้าชายนิทราไปเสียแล้ว
โรคหลอดเลือดในสมองแตก
พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตอย่างเฉียบพลัน
โดยผู้ป่วยอาจไม่ทันสังเกตสัญญาณที่ร่างกาย ได้พยายามส่งคำเตือนมาให้แล้ว
เหตุเพราะคาดไม่ถึงว่าผลที่ตามมาอาจร้ายแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้
อาการของโรค
โรคหลอดเลือดสมองแตก คือ อาการที่หลอดเลือดในสมองฉีกขาด
จึงทำให้เลือดออกในสมอง ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตได้
สาเหตุสำคัญเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง บางคนเรียกโรคนี้ว่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดของโรคทางระบบประสาท ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มคนสาขาอาชีพใดก็ตาม
ล้วนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จากโรคหลอดเลือดสมองแตกได้
ยกตัวอย่างบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคนที่รู้จักกันดี
และต้องประสบกับโรคหลอดเลือดสมองแตก เช่น เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ลินดา
ค้าธัญเจริญ หมอลำบุญเพ็ง ไฝผิวชัย ศิลปินแห่งชาติ ศรีหนุ่ม เชิญยิ้ม
เป็น
นพ.ประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ แพทย์ประจำศูนย์สมองและระบบประสาท
โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า โรคหลอดเลือดในสมองแตก ก่อให้เกิดอาการต่างๆ
ทางระบบประสาท ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการอย่างเฉียบพลันทันทีทันใด
แต่กลับใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างนาน
ซึ่งหากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วตั้งแต่แรก
จะสามารถลดอัตราการตายและพิการลงได้มาก หรือสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบคนปกติได้
โดยหลอดเลือดในสมองแตกสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
ดังนี้
1.หลอดเลือดแตกในเนื้อสมอง
มีผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทขึ้นมาทันที
เนื่องจากเลือดที่ออกจะไปกดเบียดเนื้อสมอง ทำให้สมองทำงานผิดปกติ
และนอกจากนี้ยังเกิดความดันในโพรงกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยมักเกิดอาการปวดศีรษะ
คลื่นไส้ อาเจียน ถ้ามีเลือดออกมาเป็นจำนวนมาก หรือเลือดออกในก้านสมอง
ผู้ป่วยอาจหมดสติ หรือเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว
2.หลอดเลือดแตกในชั้นเยื่อหุ้มสมอง
สาเหตุมักเกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดสมองบริเวณฐานกะโหลกศีรษะ
เมื่อมีเลือดออกในทันทีทันใด
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน บางคนอาจหมดสติ
หรือเสียชีวิตได้ตั้งแต่ระยะแรก
จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
จากสถิติเมื่อปี 2550 พบว่าคนไทยกว่า 13 ล้านคน
เสี่ยงพิการจากหลอดเลือดสมองแตก/ตีบ/ตัน และมีผู้ป่วยเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ปีละ 1.5
แสนคน เสียชีวิตจากโรคนี้ปีละกว่า 4.5 หมื่นคน สาเหตุเกี่ยวข้องมาจากหลายโรค
โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป 2-17 เท่าตัว
รวมทั้งโรคหัวใจ
รู้ทันปัจจัยเสี่ยง
เลี่ยงโรคร้าย
ความน่ากลัวของโรคหลอดเลือดในสมองแตก คือวันนี้คุณอาจพูดคุย
หรือทะเลาะกับใครต่อใครได้ เดินวิ่ง ทำอะไรด้วยตัวเองได้
แต่วันพรุ่งนี้อาจต้องทนทรมานกับการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรง
มีลมหายใจแต่ไร้ความรู้สึก ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้
ซึ่งไม่อาจทราบได้ว่าอนาคตจะหาย หรือต้องรอความตายอย่างช้าๆ
ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว
สามารถป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานหนัก
ละเลยการออกกำลังกาย บริโภคแต่สิ่งที่ชอบแต่ไร้ประโยชน์ ความอ้วน ความเครียด
สูบบุหรี่ ดื่มสุรา การใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ และส่วนหนึ่งมาจากโรคประจำตัว เช่น
โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งส่งผลให้เกิดหลอดเลือดในสมองแตกได้
เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้
แต่หากปล่อยปละละเลยก็จะค่อยๆ สะสมโดยไม่รู้ตัว
รู้ตัวก็ต่อเมื่อปรากฏอาการรุนแรงจนสายเกินแก้เสียแล้ว
สาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น อายุที่สูงวัยขึ้น
พันธุกรรม เชื้อชาติ เป็นต้น
สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
อาการส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล คือ
มีอาการแขนขาอ่อนแรง อาจเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย บางคนหน้าเบี้ยว
หรืออาจมาด้วยอาการชา ตาอาจจะมองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นข้างหนึ่ง
หรือมองเห็นแค่ครึ่งหนึ่งของตาแต่ละข้างก็ได้
มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน หรือเวียนศีรษะ อาเจียน
อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด ซึมลง หรือหมดสติ มีอาการชัก
ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายๆ รูปแบบ แล้วแต่ตำแหน่งของสมองที่มีการขาดเลือด
หรือมีเลือดออกในสมอง
แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของคนไทยที่พบ คือ
รอจนโรคเป็นมากแล้วค่อยไปหาหมอ ทำให้กว่าจะถึงมือหมอผู้ป่วยก็เป็นอัมพาตไปแล้ว
ลองถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองดูว่า คุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ
หรือไม่
- มีอาการปวดหัวในตอนเช้าบ้างหรือไม่
- เคยรู้สึกว่าแขนไม่มีแรงบ้างหรือไม่
- เคยรู้สึกตาพร่ามัวบ้างหรือไม่
หากพบว่าคนใกล้ชิดมีอาการน่าสงสัยว่าอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ให้ลองทดสอบผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยปฏิบัติ 3 ข้อ เรียกย่อๆ ว่า
STR ดังต่อไปนี้
S: (Smile) ให้ผู้ป่วยยิ้ม
T: (Talk)
ให้ผู้ป่วยพูดประโยคที่มีสาระสมบูรณ์ เช่น
วันนี้อากาศสดใสดีจัง
R: (Raise) ให้ผู้ป่วย (ยก)
ชูแขนสองข้างขึ้น
อาการอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้าม คือ ให้ผู้ป่วยแลบลิ้นออกมา
ถ้าลิ้นม้วนหรือเบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่าส่ออาการอันตรายแล้ว
เพื่อนคนหนึ่งของผู้เขียนเคยเจอปัญหานี้มาแล้ว เธอเล่าว่า
“เคยมีรุ่นพี่คนหนึ่งหกล้มในงานบาร์บีคิวปาร์ตี้ เพื่อนในงานแนะให้ไปหาหมอ
แต่เจ้าตัวบอกว่าไม่เป็นไร เพียงแต่ใส่รองเท้าใหม่แล้วสะดุดเท่านั้น
เจ้าตัวยืนไม่ค่อยมั่นคงนัก เพื่อนๆ ช่วยปัดเสื้อผ้าให้
แล้วยกอาหารจานใหม่ให้ร่วมสนุกกันต่อ หลังจากนั้นสามีแจ้งมาว่า
ภรรยาถูกส่งเข้าโรงพยาบาล แต่แล้วก็เสียชีวิตตอน 6 โมงเย็นของวันต่อมา
ถ้าหากเพื่อนๆ รู้จักวินิจฉัยอาการโรค ป่านนี้อาจยังมีชีวิตอยู่
บางคนเส้นโลหิตในสมองแตกอาจไม่ตาย แต่ก็อาจเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต
หากผู้ป่วยถึงมือแพทย์ภายใน 3 ชม. ก็จะมีโอกาสรอด
ถ้าคนข้างเคียงไม่รู้จักวินิจฉัยอาการ สมองผู้ป่วยก็จะถูกทำลายอย่างร้ายแรง
หากคนข้างเคียงเพียงแค่ทดสอบผู้ป่วยด้วย 3 ข้อ
ก็สามารถวินิจฉัยอาการได้”
คุณหมอ กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองแตก อาจฟังดูน่ากลัว
แต่สามารถป้องกันได้ หันมาเอาใจใส่สุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวให้มากขึ้น
ตรวจสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก กินผักและผลไม้ทุกวัน
งดบุหรี่เลิกเหล้า รู้จักปล่อยวาง ไม่ปล่อยตัวเองให้จมอยู่กับความเครียด
ทำตัวให้ผ่อนคลาย เดินทางสายกลางดีที่สุด
แล้วคุณก็จะหลุดพ้นจากโรคหลอดเลือดสมองแตกได้อย่างแน่นอน
พยายามเป็นคนช่างสังเกตกับอาการผิดปกติ แม้จะเล็กๆ น้อยๆ
ในร่างกายของเราหรือคนใกล้เคียง โรคร้ายหรือรุนแรงบางอย่างอาจจะแก้ไขได้
ที่เป็นหนักก็จะได้เบาบางลง โรครุนแรงหลายโรคส่วนใหญ่ป้องกันได้
ถ้าเรารู้เสียแต่เนิ่นๆ
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
อัมพาต
อัมพาต (paralysis) หมายถึง
อาการอ่อนแรงของแขนขาหรืออวัยวะภายนอกอื่น ๆ (เช่น ใบหน้า ตา ปาก )
ทำให้ร่างกายส่วนนั้นเคลื่อนไหวไม่ได้ หรือได้น้อยกว่าปกติ โดยอาจมีอาการชา
(ไม่รู้สึกเจ็บ) ร่วมด้วย หรือไม่ก็ได้
ถ้าขาทั้งสองข้างมีอาการอ่อนแรงหรือขยับเขยื้อนไม่ได้ เราเรียกว่า อัมพาตครึ่งล่าง
(paraplegia) ถ้าแขนขาทั้ง 4 ขยับเขยื้อนไม่ได้ เรียกว่า อัมพาตหมดทั้งแขนขา
(quadriplegia)
อัมพาตทั้ง 2
ลักษณะนี้มักมีสาเหตุจากโรคของไขสันหลัง
แต่ถ้าแขนขาเพียงซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง หรือขยับเขยื้อนไม่ได้เราเรียกว่า อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia)ซึ่งเป็นเรื่องที่จะกล่าวถึงต่อไปในที่นี้ส่วนสาเหตุของอาการอัมพาตชนิดต่าง ๆ
แต่ถ้าแขนขาเพียงซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง หรือขยับเขยื้อนไม่ได้เราเรียกว่า อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia)ซึ่งเป็นเรื่องที่จะกล่าวถึงต่อไปในที่นี้ส่วนสาเหตุของอาการอัมพาตชนิดต่าง ๆ
อัมพาตครึ่งซีก
อัมพาตครึ่งซีก จัดว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้นในบ้านเราขณะนี้ มักพบในวัยกลางคนขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ และเป็นได้ทั้งหญิงและชาย โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงในสมอง กล่าวคือ อาจมีการแตก ตีบ หรือตันของหลอดเลือดเหล่านี้ ทำให้เนื้อสมองบางส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายตายไปและหยุดสั่งงาน จึงทำให้เกิดอาการอัมพาตของร่างกายส่วนนั้น ๆ ขึ้นอาการมักจะเกิดขึ้นฉับพลันทันที เรียกว่า
(Cerebrovascular accident/CVA)
สาเหตุ
อาจแบ่งเป็น 3 ประการใหญ่ ๆ ซึ่งมีความรุนแรง และวิธีการรักษาที่ต่างกัน
ดังนี้
1. หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) พบมากในคนสูงอายุ
เนื่องจากหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวหรือเสื่อม ทำให้มีโอกาสตีบตันได้ง่าย
ขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ภาวะไขมันใน
เลือดสูง, คนที่สูบบุหรี่จัด หรือดื่มเหล้าจัด หรือคนอ้วน ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้
มากกว่าคนปกติ เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มักมีการเสื่อมและตีบของหลอดเลือด
แดงเร็วขึ้น คนที่มีญาติพี่น้องเป็นอัมพาตครึ่งซีก ก็อาจมีโอกาสเป็นโรคนี้มาก
กว่าปกติสาเหตุนี้พบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่น ๆ และไม่ค่อยมีอันตรายร้ายแรง
เนื่องจากหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวหรือเสื่อม ทำให้มีโอกาสตีบตันได้ง่าย
ขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ภาวะไขมันใน
เลือดสูง, คนที่สูบบุหรี่จัด หรือดื่มเหล้าจัด หรือคนอ้วน ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้
มากกว่าคนปกติ เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มักมีการเสื่อมและตีบของหลอดเลือด
แดงเร็วขึ้น คนที่มีญาติพี่น้องเป็นอัมพาตครึ่งซีก ก็อาจมีโอกาสเป็นโรคนี้มาก
กว่าปกติสาเหตุนี้พบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่น ๆ และไม่ค่อยมีอันตรายร้ายแรง
2. หลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolism)
เนื่องจากมี
ลิ่มเลือดเล็ก ๆ (embolus) ที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดที่อยู่นอกสมอง หลุดลอย
ตามกระแสเลือดขึ้นไปอุดตันในหลอดเลือดที่อยู่ในสมอง มักพบในผู้ป่วยที่
เป็นโรคหัวใจ เช่นโรคหัวใจรูมาติก, กล้ามเนื้อหัวใจตาย, หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
ลิ่มเลือดเล็ก ๆ (embolus) ที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดที่อยู่นอกสมอง หลุดลอย
ตามกระแสเลือดขึ้นไปอุดตันในหลอดเลือดที่อยู่ในสมอง มักพบในผู้ป่วยที่
เป็นโรคหัวใจ เช่นโรคหัวใจรูมาติก, กล้ามเนื้อหัวใจตาย, หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
3. หลอดเลือดในสมองแตก หรือการตกเลือดในสมอง (Cerebral
hemorrhage) เป็นสาเหตุที่มีอันตรายร้ายแรงอาจตายได้ในเวลารวดเร็วมักมี
สาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติ
ของหลอดเลือดแดงที่เป็นมาแต่กำเนิด (congenital aneurysm), หลอดเลือด
ฝอยผิดปกติแต่กำเนิด (arteriovenous malformation/AVM) เป็นต้น หลอดเลือดผิดปกติเหล่านี้มักจะแตกและทำให้เกิดอาการอัมพาตเมื่อผู้ป่วยอยู่
ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน โรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัว เช่น
ตับแข็ง, โรคเลือดบางชนิด เป็นต้น บางครั้งก็อาจกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการ
ตกเลือดในสมองได้
hemorrhage) เป็นสาเหตุที่มีอันตรายร้ายแรงอาจตายได้ในเวลารวดเร็วมักมี
สาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติ
ของหลอดเลือดแดงที่เป็นมาแต่กำเนิด (congenital aneurysm), หลอดเลือด
ฝอยผิดปกติแต่กำเนิด (arteriovenous malformation/AVM) เป็นต้น หลอดเลือดผิดปกติเหล่านี้มักจะแตกและทำให้เกิดอาการอัมพาตเมื่อผู้ป่วยอยู่
ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน โรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัว เช่น
ตับแข็ง, โรคเลือดบางชนิด เป็นต้น บางครั้งก็อาจกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการ
ตกเลือดในสมองได้
อาการ
1. ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต เนื่องจากหลอดเลือดในสมองตีบตัน มักมีประวัติเป็นคน
สูงอายุ หรือไม่ก็อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน สูบบุหรี่จัดหรือ
ดื่มเหล้าจัดอยู่ก่อน แล้วอยู่ ๆ ก็มีอาการแขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรงลงทันทีทันใด ผู้ป่วยอาจสังเกตพบอาการอัมพาตขณะตื่นนอน หรือขณะเดินหรือทำงานอยู่ก็
รู้สึกทรุดล้มลงไป ผู้ป่วยอาจมีอาการชาตามแขนขา ตามัว ตาเห็นภาพซ้อน
พูดไม่ได้ หรือพูดอ้อแอ้ ปากเบี้ยว หรือกลืนไม่ได้ร่วมด้วยบางคนอาจมีอาการ
ปวดศีรษะ วิงเวียน หรือมีความรู้สึกสับสนนำมาก่อนที่จะมีอาการอัมพาตของ
แขนขา ผู้ป่วยมักจะมีความผิดปกติที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเพียงซีกเดียว
เท่านั้น กล่าวคือ ถ้าการตีบตันของหลอดเลือดเกิดขึ้นในสมองซีกซ้าย ก็จะมี
อาการอัมพาตที่ซีกขวา ถ้าเกิดขึ้นในสมองซีกขวาก็จะเกิดอัมพาตที่ซีกซ้าย
ผู้ป่วยส่วนมากจะรู้สึกตัวดี หรืออาจจะซึมลงเล็กน้อย ยกเว้นในรายที่เป็นรุน
แรง อาจมีอาการหมดสติร่วมด้วยอาการอัมพาตมักจะเป็นอยู่นานกว่า 24
ชั่วโมงขึ้นไป และจะเป็นอยู่นานแรมเดือนแรมปี หรือตลอดชีวิตผู้ป่วยที่เป็น
อัมพาตบางคน อาจมีประวัติแขนขาชา และอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ตามัว
หรือเวียนศีรษะ ซึ่งจะเป็นนานเพียง 2-3 นาที (บางคนอาจนานเป็นชั่วโมงแต่
จะไม่เกิน 24 ชม.) แล้วหายเป็นปกติได้เอง โดยไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่าง
ใด อาการดังกล่าวเกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากมีการอุดตันของ
หลอดเลือดแดงในสมองเป็นเพียงชั่วคราว เราเรียกว่า โรคสมองขาดเลือดชั่ว
ขณะ หรือ ทีไอเอ (TIA ซึ่งย่อมาจาก Transient ischemic attack) ผู้ป่วยอาจ
มีอาการดังกล่าวเป็น ๆ หาย ๆ มาก่อนสักระยะหนึ่ง (อาจประมาณ 6 เดือนถึง
1 ปี) จึงค่อยเกิดอาการอัมพาตอย่างถาวรตามมาในภายหลัง
2.
ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตเนื่องจากหลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตันจะมีอา
การคล้ายในข้อ 1 แต่อาการอัมพาตมักเกิดขึ้นฉับพลันทันที
การคล้ายในข้อ 1 แต่อาการอัมพาตมักเกิดขึ้นฉับพลันทันที
3. ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตเนื่องจากหลอดเลือดในสมองแตก
อาการมักเกิดขึ้น
ทันทีทันใด ขณะทำงานออกแรงมาก ๆ หรือขณะร่วมเพศ โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุ
ล่วงหน้า อาจบ่นปวดศีรษะรุนแรง หรือปวดศีรษะซีกเดียวอย่างไม่เคยเป็นมา
ก่อน แล้วก็มีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ได้ แขนขาค่อย ๆ อ่อนแรง อาจชักและ
หมดสติในเวลารวดเร็ว ถ้าตกเลือดรุนแรง ผู้ป่วยมักมีอาการหมดสติ ตัวเกร็ง
รูม่านตาหดเล็กทั้ง 2 ข้าง ซึ่งมักจะตายใน 1-2 วัน ถ้าตกเลือดไม่รุนแรงก็อาจ
มีโอกาสฟื้นและค่อย ๆ ดีขึ้น หรือถ้าได้รับการผ่าตัดได้ทันท่วงที ก็อาจช่วยให้
รอดได้
ทันทีทันใด ขณะทำงานออกแรงมาก ๆ หรือขณะร่วมเพศ โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุ
ล่วงหน้า อาจบ่นปวดศีรษะรุนแรง หรือปวดศีรษะซีกเดียวอย่างไม่เคยเป็นมา
ก่อน แล้วก็มีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ได้ แขนขาค่อย ๆ อ่อนแรง อาจชักและ
หมดสติในเวลารวดเร็ว ถ้าตกเลือดรุนแรง ผู้ป่วยมักมีอาการหมดสติ ตัวเกร็ง
รูม่านตาหดเล็กทั้ง 2 ข้าง ซึ่งมักจะตายใน 1-2 วัน ถ้าตกเลือดไม่รุนแรงก็อาจ
มีโอกาสฟื้นและค่อย ๆ ดีขึ้น หรือถ้าได้รับการผ่าตัดได้ทันท่วงที ก็อาจช่วยให้
รอดได้
สิ่งตรวจพบ
การตรวจร่างกาย นอกจากการอัมพาตของแขนขาซีกหนึ่งแล้ว อาจมีอาการ
ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึม ความดันเลือดสูง รีเฟลกซ์ของข้อ (tendon reflex) ไว
กว่าปกติ ในรายที่เกิดจากมีลิ่มเลือดอุดตันการตรวจร่างกายอาจพบความผิด
ปกติของหัวใจ เช่น ฟังได้เสียงฟู่ (murmur) หรือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
ในรายที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก อาจมีอาการหมดสติ คอแข็ง อาจ
ตรวจพบรูม่านตา 2 ข้างไม่เท่ากัน ถ้าเป็นรุนแรงอาจพบรูม่านตาหดเล็กทั้ง 2
ข้าง
อาการแทรกซ้อน
ในรายที่เป็นรุนแรง อาจตายด้วยโรคแทรกทางสมอง โรคหัวใจ หรือภาวะลิ่ม
เลือดอุดตันในหลอดเลือดดำปอด (pulmonary embolism), ปอดอักเสบ ใน
รายที่เป็นอัมพาตเรื้อรัง และลุกนั่งไม่ได้ อาจนอนมากจนมีแผลกดทับ (bed
sores) ที่ก้น หลัง ข้อต่าง ๆ, อาจสำลักอาหาร เกิดภาวะอุดกั้นของทางเดิน
หายใจ หรือปอดอักเสบ, อาจเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่าย หรืออาจ
เป็นแผลถลอกของกระจกตา หรือเป็นโรคซึมเศร้า
การรักษา
ถ้าหมดสติ ซึม คอแข็ง ชัก กินไม่ได้ ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้ามีภาวะขาดน้ำ
ควรให้น้ำเกลือมาระหว่างทางด้วย
ส่วนผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวดี ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง อาจต้องตรวจ
หาสาเหตุด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง, ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
(MRI), เจาะหลัง, ตรวจเลือด, ตรวจปัสสาวะและอื่น ๆ แล้วให้การรักษาตาม
สาเหตุ ดังนี้
1. ในรายที่เป็นเพียง ทีไอเอ (สมองขาดเลือดชั่วขณะ) คือ มีอาการของอัมพาต
ไม่เกิน 24 ชั่งโมง แล้วหายได้เอง อาจให้แอสไพริน (ย1.1) วันละ 75-325 มก.
ทุกวันตลอดไป เพื่อป้องกันมิให้มีการตีบตันของหลอดเลือดอย่างถาวรซึ่งจะทำ
ให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพาตชนิดถาวร
ในรายที่กินแอสไพรินไม่ได้ อาจให้ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เช่น
ไทโคลดิพีน (Ticlodipine) มีชื่อทางการค้า เช่น ไทคลิด (Ticlid) ขนาด 250
มก. วันละ 2 ครั้งแทน
2. ในรายที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือมีลิ่มเลือดอุดตัน
ให้การรักษาตาม
อาการ (เช่น ให้น้ำเกลือ ให้อาหารทางสายยาง ให้ยาลดความดันเลือด ให้ยา
รักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น) ให้แอสไพริน วันละ 75-325 มก. ทุกวัน หรือ
ไทโคลดิพีน 250 มก. วันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดตีบตันมากขึ้น
และให้การรักษาทางกายภาพบำบัด
ในรายที่เกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน ในระยะ 2-3 วันแรก อาจให้ยาต้านการแข็ง
ตัวของเลือด เช่น เฮพาริน (Heparin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำผู้ป่วยที่อาการไม่
รุนแรง ถ้าจะดีขึ้นก็จะเริ่มมีอาการดีขึ้นให้เห็นภายใน 2-3 สัปดาห์ และจะค่อย
ๆ ฟื้นตัวขี้นเรื่อย ๆ จนสามารถช่วยตัวเองได้ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลัง 6 เดือนไป
แล้ว ก็มักจะพิการ
อาการ (เช่น ให้น้ำเกลือ ให้อาหารทางสายยาง ให้ยาลดความดันเลือด ให้ยา
รักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น) ให้แอสไพริน วันละ 75-325 มก. ทุกวัน หรือ
ไทโคลดิพีน 250 มก. วันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดตีบตันมากขึ้น
และให้การรักษาทางกายภาพบำบัด
ในรายที่เกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน ในระยะ 2-3 วันแรก อาจให้ยาต้านการแข็ง
ตัวของเลือด เช่น เฮพาริน (Heparin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำผู้ป่วยที่อาการไม่
รุนแรง ถ้าจะดีขึ้นก็จะเริ่มมีอาการดีขึ้นให้เห็นภายใน 2-3 สัปดาห์ และจะค่อย
ๆ ฟื้นตัวขี้นเรื่อย ๆ จนสามารถช่วยตัวเองได้ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลัง 6 เดือนไป
แล้ว ก็มักจะพิการ
3. ในรายที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ให้การรักษาตามอาการ
และอาจ
ต้องผ่าตัดสมอง เมื่อปลอดภัยแล้ว ค่อยให้การรักษาทางกายภาพบำบัดต่อไป
ต้องผ่าตัดสมอง เมื่อปลอดภัยแล้ว ค่อยให้การรักษาทางกายภาพบำบัดต่อไป
ข้อแนะนำ
1. เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนพ้นระยะอันตราย เริ่มรู้สึกตัวดี หายใจสะดวก
กินอาหารได้ ควรให้การดูแลพยาบาลต่อ ดังนี้
1.1 พยายามพลิกตัวผู้ป่วยไปมาทุก 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันมิให้เกิดแผลกดทับ
(bed sores) ที่ก้น หลัง ข้อต่าง ๆ
1.2 ให้อาหารและน้ำให้เพียงพอ ถ้าขาดน้ำ ผู้ป่วยจะซึม หรืออาการเลวลง
1.3 พยายามบริหารข้อโดยการเหยียด และงอแขนขาตรงทุก ๆ ข้อต่อบ่อย ๆ
เพื่อป้องกันมิให้ข้อเกร็งแข็ง
2. เมื่ออาการดีขึ้น ผู้ป่วยต้องหมั่นบริหารกล้ามเนื้อ และพยายามใช้แขนขา
เพื่อให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ถ้าผู้ป่วยนอนเฉย ๆ ไม่พยายามใช้แขนขา กล้ามเนื้อก็จะ
ลีบ และข้อแข็ง
3. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง บางคนอาจฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยตัวเองได้ บางคนอาจ
ฟื้นตัวช้า หรือพิการตลอดไป แต่สติปัญญาของผู้ป่วยส่วนมากยังดีเช่นปกติ
ญาติควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ อย่าแสดงความรังเกียจ และคอยให้กำลัง
ใจผู้ป่วยอยู่เสมอ
4. ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ช่วยให้โรคนี้หายเป็นปกติได้ การรักษาขึ้นกับตัวผู้
ป่วยเป็นสำคัญ ในการพยายามฟื้นฟูกำลังแขนขา โดยวิธีกายภาพบำบัด ผู้ป่วย
ควรรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ไม่ควรเปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย หรือเดินทาง
ไปรักษายังโรงพยาบาลไกล ๆ เพราะการรักษาย่อมไม่แตกต่างกันมาก
5. ผู้ป่วยควรงดเหล้า บุหรี่
6. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ควรดูแลรักษาโรคนี้อย่างจริง
จัง (ดูรายละเอียดของโรคเหล่านี้เพิ่มเติม)
การป้องกัน
การป้องกันมิให้เป็นโรคอัมพาต อาจกระทำได้โดย
1. งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันมาก, ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน), และ
หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดแข็งตัวเร็ว
2. หมั่นตรวจเช็กความดันเลือดเป็นประจำ
3. ตรวจเช็กไขมันในเลือด ถ้ามีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรหาทางควบคุมให้
เป็นปกติ
4. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ควรรักษาเป็นประจำอย่าได้ขาด
เพราะเมื่อควบคุมโรคเหล่านี้ได้ ก็จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาต
5. ถ้าเคยมีอาการอัมพาตชั่วคราวจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ (ทีไอเอ) ควรรีบ
ปรึกษาแพทย์ และกินยาแอสไพริน (หรือยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด)ตาม
แพทย์สั่งเป็นประจำอย่าได้ขาด
ป้องกันอัมพาตด้วยการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน งดบุหรี่และแอลกอฮอล์
เส้นเลือดในสมองแตก โรคร้ายที่มาแบบไม่ตั้งตัว
ตอบลบสมัยนี้ โรคภัยไข้เจ็บ มาไว ไปไวแบบไม่ทันรู้ตัว วันนี้ยังคุยกันร่าเริงอยู่ดีๆ วันรุ่งขึ้นโรคร้ายคุกคาม ถึงขนาดอาจคร่าชีวิตของคุณไปอย่างไม่ทันให้ตั้งตัวเลยก็ได้ เช่นเดียวกับ "อัญชลี ศิระฉายา" หรือชื่อในการแสดงว่า "อรัญญา นามวงศ์" อดีตนางเอกยอดนิยมคน และรองนางสาวไทยในปี พ.ศ. 2508 ที่ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า อรัญญา นามวงศ์ นักแสดงรุ่นใหญ่ "เส้นเลือดในสมองแตกกระทันหัน"
ถูกหามส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กลางดึกของคืนวานนี้(7 ก.ย.) เนื่องจากมีอาการปวดหัวอย่างกะทันหัน ทั้งนี้แพทย์ได้เปิดเผยว่า หลังทำการตรวจเช็คสมองของดารารุ่นใหญ่แล้ว พบว่าเส้นเลือดในสมองมีเลือดซึมออกมา แต่ยังดีที่เจ้าตัวยังมีสติ และยังสามารถพูดได้อยู่ ถึงอย่างไรก็ตามยังต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ 48 ชั่วโมง
ด้วยการนี้ทีมงาน Sanook! Women จึงมีข้อมูล โรคเส้นเลือดในสมองแตก มาบอกกันเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ ที่มาของโรค, วิธีการรักษา, แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดโรค ค่ะ
โรคเส้นเลือดในสมองแตก
เส้นเลือดในสมองแตก คืออาการที่หลอดเลือดในสมองฉีกขาด จึงทำให้เลือดออกในสมอง ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นความผิดปกติของเส้นเลือด ที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังไต และอวัยวะทั่วร่างกาย ซึ่งผนังหลอดเลือดขยายตัวหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดมีขนาดแคบลง จึงทำให้ปริมาณเลือดที่ลำเลียงไปที่ไตมีน้อยลงและทำให้ส่วนประกอบที่อยู่ใน ไตที่เรียกว่า เร็นนิน เกิดการเพิ่มความดันในเลือดให้สูงขึ้น ทางการแพทย์เรียกโรคนี้ว่า โรคความดันโลหิตสูงจากหลอดเลือดไต
อาการของโรคเส้นเลือดในสมองแตก
อาการของเส้นเลือดในสมองแตกจากความดันสูงมักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะแต่บาง รายอาจไม่มีก็ได้ คลื่นไส้ อาเจียน อาจหมดสติหรือระดับความรู้สึกตัว แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง พูดไม่ชัดหรือถ้าเกิดในสมองเด่นทำให้พูดไม่ได้ อาการและอาการแสดงจะขึ้นกับขนาดของก้อนเลือด และอาการจะเป็นขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉียบพลัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีเส้นเลือดแตกก่อนแล้วล้มลงทำให้เข้าใจผิดว่าเลือดออกจาก ศีรษะกระแทกพื้น
อาการมักเกิดขึ้นเฉียบพลัน ผู้ป่วยจึงควรสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิด!
โรคเส้นเลือดในสมองแตก ก่อให้เกิดอาการต่างๆ ทางระบบประสาท ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการอย่างเฉียบพลันทันทีทันใด แต่กลับใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างนาน ซึ่งหากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วตั้งแต่แรก จะสามารถลดอัตราการตายและพิการลงได้มาก หรือสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบคนปกติได้ โดยหลอดเลือดในสมองแตกสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1.เส้นเลือดแตกในเนื้อสมอง มีผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทขึ้นมาทันที เนื่องจากเลือดที่ออกจะไปกดเบียดเนื้อสมอง ทำให้สมองทำงานผิดปกติ และนอกจากนี้ยังเกิดความดันในโพรงกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยมักเกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ถ้ามีเลือดออกมาเป็นจำนวนมาก หรือเลือดออกในก้านสมอง ผู้ป่วยอาจหมดสติ หรือเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว
2.เส้นเลือดแตกในชั้นเยื่อหุ้มสมอง สาเหตุมักเกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดสมองบริเวณฐานกะโหลกศีรษะ เมื่อมีเลือดออกในทันทีทันใด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน บางคนอาจหมดสติ หรือเสียชีวิตได้ตั้งแต่ระยะแรก จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
รู้ทันปัจจัยเสี่ยงเลี่ยงโรคเส้นเลือดในสมองแตก
ความน่ากลัวของโรคเส้นเลือดในสมองแตก คือวันนี้คุณอาจพูดคุย หรือทะเลาะกับใครต่อใครได้ เดินวิ่ง ทำอะไรด้วยตัวเองได้ แต่วันพรุ่งนี้อาจต้องทนทรมานกับการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรง มีลมหายใจแต่ไร้ความรู้สึก ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ ซึ่งไม่อาจทราบได้ว่าอนาคตจะหาย หรือต้องรอความตายอย่างช้าๆ
ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สามารถป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานหนัก ละเลยการออกกำลังกาย บริโภคแต่สิ่งที่ชอบแต่ไร้ประโยชน์ ความอ้วน ความเครียด สูบบุหรี่ ดื่มสุรา การใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ และส่วนหนึ่งมาจากโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งส่งผลให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้
เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ แต่หากปล่อยปละละเลยก็จะค่อยๆ สะสมโดยไม่รู้ตัว รู้ตัวก็ต่อเมื่อปรากฏอาการรุนแรงจนสายเกินแก้เสียแล้ว สาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น อายุที่สูงวัยขึ้น พันธุกรรม เชื้อชาติ เป็นต้น
.
...ต่อ...
ตอบลบสัญญาณเตือนโรคเส้นเลือดสมองแตก
อาการส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล คือ มีอาการแขนขาอ่อนแรง อาจเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย บางคนหน้าเบี้ยว หรืออาจมาด้วยอาการชา ตาอาจจะมองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นข้างหนึ่ง หรือมองเห็นแค่ครึ่งหนึ่งของตาแต่ละข้างก็ได้ มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน หรือเวียนศีรษะ อาเจียน อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด ซึมลง หรือหมดสติ มีอาการชัก ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายๆ รูปแบบ แล้วแต่ตำแหน่งของสมองที่มีการขาดเลือด หรือมีเลือดออกในสมอง
แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของคนไทยที่พบ คือ รอจนโรคเป็นมากแล้วค่อยไปหาหมอ ทำให้กว่าจะถึงมือหมอผู้ป่วยก็เป็นอัมพาตไปแล้ว ลองถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองดูว่า คุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ หรือไม่
- มีอาการปวดหัวในตอนเช้าบ้างหรือไม่
- เคยรู้สึกว่าแขนไม่มีแรงบ้างหรือไม่
- เคยรู้สึกตาพร่ามัวบ้างหรือไม่
หากพบว่าคนใกล้ชิดมีอาการน่าสงสัยว่าอาจเกิดโรคเส้นเลือดสมอง ให้ลองทดสอบผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยปฏิบัติ 3 ข้อ เรียกย่อๆ ว่า STR ดังต่อไปนี้
S: (Smile) ให้ผู้ป่วยยิ้ม
T: (Talk) ให้ผู้ป่วยพูดประโยคที่มีสาระสมบูรณ์ เช่น วันนี้อากาศสดใสดีจัง
R: (Raise) ให้ผู้ป่วย (ยก) ชูแขนสองข้างขึ้น
อาการ อีกอย่างที่ไม่ควรมองข้าม คือ ให้ผู้ป่วยแลบลิ้นออกมา ถ้าลิ้นม้วนหรือเบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่าส่ออาการอันตรายแล้ว
โรคหลอดเลือดสมองแตก อาจฟังดูน่ากลัว แต่สามารถป้องกันได้ หันมาเอาใจใส่สุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวให้มากขึ้น ตรวจสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก กินผักและผลไม้ทุกวัน งดบุหรี่เลิกเหล้า รู้จักปล่อยวาง ไม่ปล่อยตัวเองให้จมอยู่กับความเครียด ทำตัวให้ผ่อนคลาย เดินทางสายกลางดีที่สุด แล้วคุณก็จะหลุดพ้นจากโรคหลอดเลือดสมองแตกได้อย่างแน่นอน
พยายามเป็นคนช่างสังเกตกับอาการผิดปกติ แม้จะเล็กๆ น้อยๆ ในร่างกายของเราหรือคนใกล้เคียง โรคร้ายหรือรุนแรงบางอย่างอาจจะแก้ไขได้ ที่เป็นหนักก็จะได้เบาบางลง โรครุนแรงหลายโรคส่วนใหญ่ป้องกันได้ ถ้าเรารู้เสียแต่เนิ่นๆ
.