ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

26 กันยายน 2554

การสร้างบทเรียนออนไลน์ด้วย Moodle



การสร้างบทเรียนออนไลน์ด้วย Moodle



คู่มือสาหรับอบรมบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://cc.rmu.ac.th/file/6Moodle.pdf



การสร้างบทเรียนออนไลน์ด้วย moodlehttp://elearning.siam.edu/course/view.php?id=118



ผศ.ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





คู่มือการใช้งาน Moodle (เวอร์ชัน 1.4.2) โดย…กิตติพงษ์ พุ่มพวง , อรรคเดช โสสองชั้น









คู่มือการใช้งาน moodle ที่รวบรวมจากที่ต่าง ๆ


1.(ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน (สพฐ) 33 หน้า 3.71 MB

2.คู่มือผู้ดูแล (thaimoodle.net) http://www.thaimoodle.net/inst_moodle/install_Moodle_02.pdf 883 KB

3.คู่มือนักเรียน (SUT-LMS ม.เทคโนโลยีสุรนารี) http://sutonline.sut.ac.th 1.14 MB

4.คู่มือครู (ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี เภสัชศาสตร์ จุฬา) https://camel.me.psu.ac.th 4.4 MB

5.คู่มือครู (ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.วลัยลักษณ์) https://camel.me.psu.ac.th 1.63 MB

6.เอกสารจากการประชุมวิชาการด้าน e-Learning ที่ ม.ขอนแก่น http://www.idc.su.ac.th

7.คู่มือติดตั้ง moodle 1.7 ใช้ appserv-win32-2.4.7 http://www.cmsthaicenter.com

8.คู่มือผู้ดูแล (อ.เสรี ชิโนดม ม.บูรพา) http://course.buu.ac.th

9.คู่มือผู้ดูแล (ดร.กานดา รุณนะพงศา ม.ขอนแก่น) http://e-learning.en.kku.ac.th

10.คู่มือผู้ดูแล (อ.นวพร กิตติพัฒนบวร ม.วลัยลักษณ์) http://mlearning.wu.ac.th/doc/manualMoodle1.pdf

11.คู่มือผู้ดูแล (อ.สรวง(ศักดิเดช) ศรีแก้วทุม 01-5685296 รร.แม่เมาะวิทยา) http://www.comlampang.com

12.คู่มือผู้ดูแล (อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ม.โยนก) http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm


17.install_Moodle_01.pdf การสร้างบทเรียนออนไลน์ด้วย moodle (3หน้า) การแก้ไขไฟล์ config.php
18.
install_Moodle_02.pdf การ install โปรแกรม (15หน้า)
19.
manual.pdf วิมลลักษณ์ สิงหนาท (115หน้า) การนำเข้าข้อมูลแบบทดสอบรูปแบบต่างๆ
20.
Moodle_Manual.pdf อดิศร ก้อนคำ สยาม จวงประโคน (160หน้า)
21.
TeacherDoc.pdf คู่มือการใช้ระบบการเรียนการสอน Moodle ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี (31หน้า)
22.
admin.pdf แนวปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลระบบsystem Admin4 (33หน้า)
23.
e.pdf e-learning แนวทางในการพัฒนา (19หน้า)
24.
member.pdf การสมัครสมาชิก (3หน้า)
25.
moodle-mambo.pdf การทำให้ moodle ทำงานร่วมกับ mambo.pdf (20หน้า)
26.
Moodle.pdf จากกระดานชนวน สู่กระดานอิเล็กทรอนิกส์ ครูสุขม แป้นศรี (3หน้า)
27.
Moodle_teacher.pdf เอกสารประกอบการใช้โปรแกรม Moodle สำหรับครูผู้สอน ครูสุขุม แป้นศรี (32หน้า)
28.
student.pdf การเข้าศึกษาในรายวิชาสำหรับนักเรียน ครูสุขม แป้นศรี(6หน้า)
29.
เชียงใหม่.pdf คู่มือการใช้งานสำหรับอาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(74หน้า)
30.
chgPwd.pdf การเปลี่ยนรหัสผ่าน(2หน้า)
31.
teacher.pdf แนวปฏบัติสำหรับครูผู้สอน 5(86หน้า)



1. มูเดิ้ล คืออะไร (What is Moodle?)
มูเดิ้ล (Moodle = Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment) คือ โปรแกรมที่ประมวลผลในเครื่องบริการ (Server-Side Script) ทำหน้าที่ให้บริการระบบอีเลินนิ่ง ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดบริการแก่ครู และนักเรียน ผ่านบริการ 2 ระบบ คือ 1)ระบบซีเอ็มเอส หรือระบบจัดการเนื้อหา (CMS = Course Management System) บริการให้ครูสามารถจัดการเนื้อหา เตรียมเอกสาร สื่อมัลติมีเดีย แบบฝึกหัดตามแผนการจัดการเรียนรู้ 2)ระบบแอลเอ็มเอส หรือระบบจัดการเรียนรู้ (LMS = Learning Management System) บริการให้นักเรียนเข้าเรียนรู้ตามลำดับ ตามช่วงเวลา ตามเงื่อนไขที่ครูได้จัดเตรียมอย่างเป็นระบบ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน พร้อมแสดงผลการตัดเกรดอัตโนมัติ
ปัจจุบันมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเพียงระบบซีเอ็มเอส(ไม่มีระบบแอลเอ็มเอสในตัว) สามารถสร้างวัตถุเรียนรู้จากนอกมูเดิ้ล แล้วนำเข้าไปใช้งานในมูเดิ้ล เช่น สกอร์ม (SCORM = Sharable Content Object Reference Model) ที่สามารถนำไปติดตั้งเป็นส่วนหนึ่งในมูเดิ้ล หรือโปรแกรมเลินสแควร์ (Learnsquare) ได้
ผู้พัฒนามูเดิ้ล คือ Martin Dougiamas โปรแกรมมีลักษณะเป็นโอเพนท์ซอร์ท (Open Source) ภายใต้ข้อตกลงของจีพีแอล (General Public License) สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรีจาก moodle.org โดยผู้ดูแลระบบ (Admin) นำไปติดตั้งในเครื่องบริการ (Server) ที่บริการเว็บเซอร์ฟเวอร์ (Web Server) รองรับภาษาพีเอชพี (PHP Language) และมายเอสคิวแอล(MySQL)
ความหมายของอีเลินนิ่ง หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกัน คือ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา
#1 อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
#2 อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)
เลิร์นนิ่งออฟเจ็ค (Learning Object) คือ แฟ้มดิจิทอลเพื่อใช้นำเสนอให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของสื่อ มักอยู่ในรูปของสื่อผสมที่มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ # # #
    ความสามารถของมูเดิ้ล
  1. เป็น Open Source ที่ได้รับการยอมรับ (13,544 sites from 158 countries 2549-07-19)
    ตัวนี้ฟรี : ปัจจุบันสถาบันการศึกษาในไทย ยังไม่มีข้อตกลงเป็นเอกฉันท์ว่าจะใช้อีเลินนิ่งตัวใด แต่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปใช้มูเดิ้ลเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
  2. รองรับทั้ง ซีเอ็มเอส(CMS = Course Management System) และ แอลเอ็มเอส(LMS = Learning Management System)
    ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหาของครู พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา บันทึกกิจกรรมของนักเรียน และตัดเกรด
  3. เป็นแหล่งเผยแพร่เอกสารออนไลน์ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น
    ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย
  4. มี ระบบติดต่อสื่อสารระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และครู เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น
    นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งการบ้านไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อนเข้าเรียน ก็ได้
  5. มี ระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบให้คะแนนที่หลากหลาย
    ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel ได้
  6. สำรองข้อมูลเป็น .zip แฟ้มเดียวได้ ทำให้ครูหรือนักเรียนนำไปกู้คืนในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้
    อย่างของผมทำวิชาระบบปฏิบัติการ แล้วเก็บเป็น .zip เปิดให้ Download ใครจะนำไปทดสอบกู้คืนในเครื่องตนเองก็ได้
  7. ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และใจกว้าง ส่งเสริมเรื่องนี้เพราะ ครูได้ทำหน้าที่ นักเรียนได้เรียนรู้ และสถาบันยกระดับการให้บริการ
    ครูเตรียมสอนเพียงครั้งเดียว แต่นักเรียนเข้ามาเรียนกี่รอบก็ได้ จบไปเข้าแล้วกลับมาทบทวนก็ได้



2. ข้อควรทราบเกี่ยวกับมูเดิ้ล
  1. สิ่งที่ควรมี ก่อนใช้มูเดิ้ล (Requirement)
    1. มี เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เพื่อติดต่อกับโปรแกรมมูเดิ้ล จำเป็นทั้งต่อครู และนักเรียน
    2. มี เว็บเซอร์ฟเวอร์ (Web Server) เพื่อบริการรับการเชื่อมต่อเข้าไป โดยรองรับภาษาพีเอชพี (php) และฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (mysql)
    3. มี ผู้ติดตั้ง (Installer) และ ผู้ดูแลระบบ (Admin) เพื่อทำให้ระบบเกิดขึ้น และให้บริการแก่ผู้ใช้
    4. มี ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่ยอมรับเทคโนโลยี ดังนั้นมูเดิ้ลเหมาะสำหรับนักเรียนที่รับผิดชอบ ครูที่มุ่งมั่น และผู้บริหารที่ให้งบประมาณ
    5. มี การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย (Network) เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
  2. จำนวนเว็บไซต์ที่ใช้มูเดิ้ล (ข้อมูลจาก http://moodle.org/sites/ )
    + 2554-07-17 : 54,373 + 9,500 sites (Thailand 787 sites + private 45 sites)
    + 2552-09-30 : 39,180 + 6,347 sites (Thailand 659 sites + private 637 sites)
    + 2549-07-19 : 13,544 sites (Thailand 462 sites)
    + 2547-03-18 : 1,216 sites (Thailand 34 sites)
  3. บทบาทของผู้เข้าใช้มูเดิ้ล (Who are them?)
    1. ผู้ดูแล (Admin) มีหน้าที่ ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น กำหนดสิทธ์การเป็นครู แก้ไขปัญหาให้แก่ครู และนักเรียน
    2. ครู (Teacher) มีหน้าที่ เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรม ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสารกับนักเรียน
    3. นักเรียน (Student) มีหน้าที่ เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน
    4. ผู้เยี่ยมชม (Guest) สามารถเข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และถูกจำกัดสิทธ์ในการทำกิจกรรม
  4. แหล่งเรียนรู้ (Resources)
    1. หน้าตัวหนังสือ (Plain Text) คือ การเขียนข้อความตามปกติ
    2. หน้าเว็บเพจ (Webpage) คือ การเขียนตามแบบเว็บเพจ
    3. ลิงก์ไปไฟล์ หรือเว็บไซต์ (Link) คือ การสร้างจุดเชื่อมโยงแฟ้ม หรือเว็บไซต์ภายนอก
    4. แสดงไดเรคทอรี่ (Directory) คือ การแสดงรายชื่อแฟ้มในดาวน์โหลด
    5. ลาเบล (Label) คือ การเขียนข้อความประกาศอย่างสั้น
  5. กิจกรรม (Activities)
    1. สกอร์ม (Scorm) คือ แหล่งข้อมูลที่รวมเนื้อหา หรือแฟ้มข้อมูลจากภายนอก ถูกยอมรับเป็นมาตรฐานหนึ่งของ Learning Object
    2. สารานุกรม (wiki) คือ ระบบจัดการนิยามศัพท์ หรือให้ความหมายที่ยืดหยุ่น เป็นระบบเปิดที่เข้าจัดการแต่ละความหมายร่วมกันได้
    3. กระดานเสวนา หรือเว็บบอร์ด (Webboard) คือ แหล่งที่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการแสดงความคิดเห็น หรือถามตอบ
    4. การบ้าน (Assignment) คือ การมอบหมายให้ทำงานแล้วกลับมาส่ง ด้วยการอัพโหลด พิมพ์คำตอบ หรือส่งนอกเว็บไซต์ก็ได้
    5. บทเรียนสำเร็จรูป (Lesson) คือ เนื้อหาบทเรียนที่ออกแบบเส้นทางการศึกษา ที่แต่ละเนื้อหามีคำถามประเมินความเข้าใจก่อนไปเนื้อหาต่อไป
    6. ห้องปฏิบัติการ (Workshop) คือ การกำหนดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ สามารถให้คะแนนทีละองค์ประกอบ หรือทีละระดับได้
    7. ห้องสนทนา (Chat) คือ การสนทนาระหว่างผู้เรียน กับผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันแบบออนไลน์ในเวลาจริง ผ่านแป้นพิมพ์
    8. อภิธานศัพท์ (Glossary) คือ ให้นักเรียนได้ร่วมกันสร้างพจนานุกรมออนไลน์ โดยให้ความหมายแก่ศัพท์ทีละคำ
    9. แบบทดสอบ (Quiz) คือ ข้อสอบวัดผลการเรียนรู้ เพื่อประเมินก่อนเรียน หรือหลังเรียน
    10. แบบสอบถาม (Survey) คือ การสอบถามที่ใช้รูปแบบคำถามที่แตกต่างกัน อาจนำผลมาใช้ปรับปรุงการสอนได้
    11. โพลล์ (Choice) คือ การสอบถามความคิดเห็น เพื่อระดมความคิดเห็นอย่างเร็ว ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
  6. กิจกรรมของครู (Teacher Activities)
    1. สมัครสมาชิกด้วยตนเอง และรอผู้ดูแล อนุมัติ ให้เป็นครู หรือผู้สร้างคอร์ส
    2. ครูสร้างคอร์ส และกำหนดลักษณะของคอร์สด้วยตนเอง
    3. เพิ่ม เอกสาร บทเรียน และลำดับเหตุการณ์ตามความเหมาะสม
    4. ประกาศข่าวสาร หรือนัดสนทนา กับนักเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
    5. สามารถสำรองข้อมูลในวิชา เก็บเป็นแฟ้มเพียงแฟ้มเดียวได้
    6. สามารถกู้คืนข้อมูลที่เคยสำรองไว้ หรือนำไปใช้ในเครื่องอื่น
    7. สามารถดาวน์โหลดคะแนนนักเรียนที่ถูกบันทึกจากการทำกิจกรรม ไปประมวลผลใน Excel
    8. กำหนดกลุ่มนักเรียน เพื่อสะดวกในการจัดการนักเรียนจำนวนมาก
    9. ยกเลิกนักเรียนในรายวิชา ถ้าพบว่ามีความประพฤติไม่เหมาะสม หรือเข้าเรียนผิดรายวิชา
    10. ตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน เช่น ความถี่ในการอ่านบทเรียน หรือคะแนนในการสอบ
    11. เพิ่มรายการนัดหมาย หรือกิจกรรม แสดงด้วยปฏิทิน
    12. สร้างเนื้อหาใน SCORM หรือสร้างข้อสอบแบบ GIFT แล้วนำเข้าได้สู่ระบบ
  7. กิจกรรมของนักเรียน (Student Activities)
    1. สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเองได้
    2. รออนุมัติการเป็นสมาชิก และสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง (บางระบบ สามารถสมัคร และเข้าเรียนได้ทันที)
    3. เรียนรู้จากเอกสาร หรือบทเรียน ที่ครูกำหนดให้เข้าไปศึกษาตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
    4. ฝากคำถาม หรือข้อคิดเห็น หรือสนทนาระหว่างครูและนักเรียน
    5. ทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น ทำแบบฝึกหัด หรือส่งการบ้าน
    6. แก้ไขข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้
    7. เรียนรู้ข้อมูลของครู เพื่อนนักเรียนในชั้น หรือในกลุ่ม เพื่อสร้างความคุ้นเคยได้






3. รวมแหล่งคู่มือ moodle
    ชื่อแฟ้มด้านหลัง หมายถึง ชื่อแฟ้มที่ผมเก็บไว้แล้ว แต่ไม่เปิดให้ download ทั่วไป เพราะแฟ้มใหญ่มาก
  1. คู่มือผู้ดูแล (ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน (สพฐ) 33 หน้า 3.71 MB [mdl_labschools_admin.pdf]
  2. คู่มือผู้ดูแล (ดร.กานดา รุณนะพงศา ม.ขอนแก่น) http://e-learning.en.kku.ac.th
  3. คู่มือผู้ดูแล (อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ม.โยนก) http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
  4. คู่มือนักเรียน (SUT-LMS ม.เทคโนโลยีสุรนารี) http://sutonline.sut.ac.th 1.14 MB [mdl_sut_lms.pdf]
  5. คู่มือผู้ดูแล (thaimoodle.net) http://www.thaimoodle.net/inst_moodle/install_Moodle_02.pdf 883 KB [mdl_thaimdl_inst.pdf]
  6. คู่มือครู (ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี เภสัชศาสตร์ จุฬา) https://camel.me.psu.ac.th 4.4 MB [mdl_anuchai_teacher.pdf]
  7. คู่มือครู (ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.วลัยลักษณ์) https://camel.me.psu.ac.th 1.63 MB [mdl_wucenter_teacher.pdf]
  8. เอกสารจากการประชุมวิชาการด้าน e-Learning ที่ ม.ขอนแก่น http://www.idc.su.ac.th
  9. คู่มือติดตั้ง moodle 1.7 ใช้ appserv-win32-2.4.7 http://www.cmsthaicenter.com
  10. คู่มือผู้ดูแล (อ.เสรี ชิโนดม ม.บูรพา) http://course.buu.ac.th
  11. คู่มือผู้ดูแล (อ.นวพร กิตติพัฒนบวร ม.วลัยลักษณ์) http://mlearning.wu.ac.th/doc/manualMoodle1.pdf
  12. คู่มือผู้ดูแล (อ.สรวง(ศักดิเดช) ศรีแก้วทุม 01-5685296 รร.แม่เมาะวิทยา) http://www.comlampang.com
  13. Moodle Documents :: http://moodle.org/doc/ หรือ http://class.yonok.ac.th/doc/
    1.
    About : Background, Philosophy, License, Features, Release Notes, Future, Credits, Case for Moodle, ..
    2.
    Teacher : Getting Started, Editing A Course, Activity Modules, Resources, Blocks, General Advice
    3.
    Administrator : Planning your installation, Installation, Security and performance, Configuration, Users, ..
    4.
    Developer : Guidelines, Resources and tools, How you can contribute, Plans for the future, Doc. for ..
  14. เอกสารกว่า 1000 บทความ โดย ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย (Father of Thai E-learning)



4. ดาวน์โหลด (Download)
การติดตั้งมูเดิ้ลมักทำโดยผู้ดูแลระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบัน ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี
1) ติดตั้งโปรแกรมทีละโปรแกรม ได้แก่ apache, php, mysql และ moodle
2) ติดตั้งโปรแกรมที่รวมชุดมา เช่น appserv, thaiabc, xoops
แนะนำแหล่งโปรแกรม
+ Moodle http://download.moodle.org
+ Apache http://httpd.apache.org/
+ Appserv http://www.appservnetwork.com
+ Thaiabc http://www.thaiabc.com
+ PHP http://www.php.net/downloads.php
+ MYSQL http://www.mysql.com
+ โปรแกรมบริหาร mysql ด้วย PHPmyadmin
+ ตัวอย่างบทเรียนวิชา ระบบปฏิบัติการที่สำรองข้อมูลไว้ นำไปกู้คืนได้ 318 KB



41. การติดตั้ง (Installation) โดย ผู้ดูแล
    การนำเสนอ
    การสอนจะใช้ Windows Picture and Fax Viewer ซึ่งมีอยู่ใน Windows XP ก็ได้
    เปิดภาพ .GIF ขนาด 800 * 600 แล้วกด F11 (Slide Show) 
    สามารถ Pause และใช้ Manual Click for Next Image ได้
    
    แฟ้มที่ใช้
    1. moodle-1.5.zip 17 MB
    2. moodle_th4902.zip# 207 KB
    
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เข้าใจเรื่อง Web Server ด้วย Apache
    2. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เข้าใจเรื่อง Server-Side Script ด้วย PHP
    3. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เข้าใจเรื่อง Database ด้วย MySQL
    4. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถติดตั้งโปรแกรมด้วยตนเองได้
    
    แฟ้มภาพ : minst01.gif - minst24.gif
    
Click to open thumbnails & details



42. สมัครสมาชิกใหม่ เป็นนักเรียน และครู โดย ผู้ดูแล
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ สามารถสมัครสมาชิกเป็นนักเรียน
    2. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ สามารถสมัครสมาชิกเป็นครู
    3. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ รู้วิธีแก้ไขข้อมูลของตนเอง
    4. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เพิ่มผู้สร้างรายวิชาได้
    5. เพื่อให้ครูสามารถสร้าง และแก้ไขวิชาได้
    6. เพื่อให้ครูสามารถแนะนำนักเรียน เข้าเรียนวิชาของตนได้
    
    แฟ้มภาพ : mnewmem01.gif - mnewmem18.gif
    
Click to open thumbnails & details



43. นำแฟ้มเนื้อหาที่เตรียมไว้ ส่งเข้าเครื่องบริการ โดย ครู
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูแก้ไขรายละเอียดในหน้าวิชาได้
    2. เพื่อให้ครูอัพโหลดแฟ้มเข้าไปในแหล่งเก็บแฟ้มได้
    3. เพื่อให้ครูเพิ่มแฟ้มที่เคยเตรียมสอน เข้าไปเป็นในแหล่งข้อมูลให้นักเรียนศึกษาเองได้
    
    แฟ้มภาพ : mcontent01.gif - mcontent17.gif
    
Click to open thumbnails & details



44. เพิ่มแหล่งข้อมูล โดย ครู
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูล
    2. เพื่อให้ครูเพิ่มแหล่งข้อมูลเว็บเพจได้
    3. เพื่อให้ครูเพิ่มแหล่งข้อมูลไดเรกทรอรี่ได้
    4. เพื่อให้ครูเพิ่มแหล่งข้อมูลป้ายประกาศได้
    
    แฟ้มภาพ : mresource01.gif - mresource09.gif
    
Click to open thumbnails & details



45. เพิ่มกิจกรรมกลุ่ม โดย ครู
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจการใช้ประโยชน์จากกิจกรรม
    2. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมกระดานเสาวนาได้
    3. เพื่อให้ครูสามารถเพิ่มกระทู้ในกระดานเสาวนาได้
    4. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมการบ้านได้
    5. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมบันทึกความก้าวหน้าได้
    6. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมห้องปฏิบัติการได้
    7. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมห้องสนทนาได้
    8. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมโพลล์ได้
    
    แฟ้มภาพ : mactivities01.gif - mactivities18.gif
    
Click to open thumbnails & details



46. เข้าสำรวจวิชา โดย นักเรียน
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจ พฤติกรรมการเข้าเรียนในวิชา
    2. เพื่อให้นักเรียนแก้ไขข้อมูลของตนเองได้
    3. เพื่อให้นักเรียนบันทึกรูปถ่ายของตนเข้าในระบบ
    4. เพื่อให้นักเรียนแสดงรายชื่อเพื่อนร่วมชั้นได้
    5. เพื่อให้นักเรียนเพิ่มกระทู้ลงกระดานเสวนาได้
    6. เพื่อให้นักเรียนส่งหรืออัพโหลดการบ้านได้
    7. เพื่อให้นักเรียนเขียนบันทึกความก้าวหน้าได้
    8. เพื่อให้นักเรียนตอบโพลล์ได้
    9. เพื่อให้นักเรียนแสดงปฏิทินได้
    
    แฟ้มภาพ : msurvey01.gif - msurvey32.gif
    
Click to open thumbnails & details



47. เข้าการตั้งค่าในการจัดการระบบ โดย ผู้ดูแล
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจว่าตั้งค่าเพื่ออะไร
    2. เพื่อให้ผู้ดูแลทราบว่าสามารถตั้งค่าได้
    3. เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถตั้งค่าต่าง ๆ ได้
    4. เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถเปลี่ยน Theme ได้
    5. เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถเลือกกรองข้อมูลที่ต้องการได้
    
    แฟ้มภาพ : mconfig01.gif - mconfig18.gif
Click to open thumbnails & details



48. เข้าจัดการสมาชิกในการจัดการระบบ โดย ผู้ดูแล
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจมีข้อมูลสมาชิกอะไรที่จัดการได้บ้าง
    2. เพื่อให้ผู้ดูแลเลือกวิธีการอนุมัติสมาชิกได้
    3. เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจว่าสามารถอัพโหลดสมาชิกจำนวนมากได้
    4. เพื่อให้ผู้ดูแลกำหนดวิธีการรับเข้าเรียนได้
    5. เพื่อให้ผู้ดูแลกำหนดครูให้กับวิชาได้
    6. เพื่อให้ผู้ดูแลลบนักเรียนออกจากระบบได้
    
    แฟ้มภาพ : mmembers01.gif - mmembers14.gif
Click to open thumbnails & details



49. เพิ่มกิจกรรม แบบทดสอบ โดย ครู
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจการสร้างแบบสอบแบบเลือกตอบ
    2. เพื่อให้ครูสร้างแบบสอบแบบต่าง ๆ ได้
    3. เพื่อให้ครูเพิ่มข้อสอบในแบบสอบได้
    4. เพื่อให้ครูทดสอบแบบสอบก่อนเปิดใช้ได้
    5. เพื่อให้ครูเข้าใจการส่งคำตอบและการจบแบบสอบ
    6. เพื่อให้ครูสามารถตรวจดูคะแนนของนักเรียนได้
    7. เพื่อให้ครูสามารถนำคะแนนไปใช้ใน Excel ได้
    
    แฟ้มภาพ : mquiz01.gif - mquiz26.gif
Click to open thumbnails & details



50. สร้างแบบทดสอบแบบ GIFT ด้วย Excel
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจการพิมพ์แบบสอบใน Excel
    2. เพื่อให้ครูเข้าใจแฟ้มตามมาตรฐาน GIFT
    3. เพื่อให้ครูสามารถนำแฟ้มแบบ GIFT เข้าไปใน Moodle ได้
    4. เพื่อให้ครูสร้างแบบสอบโดยใช้แฟ้มที่นำเข้าได้
    5. เพื่อให้ครูสามารถนำแฟ้มข้อสอบออกจากโปรแกรม Moodle ได้
    
    แฟ้มภาพ : mgiftxls01.gif - mgiftxls20.gif
    
Click to open thumbnails & details



51. สร้าง SCORM ด้วย exe แล้วนำเข้า
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจคำว่า SCORM
    2. เพื่อให้ครูเข้าใจหน้าที่ของโปรแกรม exe
    3. เพื่อให้ครูสร้าง SCORM ด้วย exe ได้
    4. เพื่อให้ครูนำ SCORM ที่สร้างขึ้นเข้า Moodle ได้
    
    แฟ้มภาพ : exescorm01.gif - exescorm20.gif
    
    หมายเหตุ
    - สร้าง SCORM ด้วย exe มีปัญหาภาษาไทย .. ผมยังไม่ได้หาวิธีแก้ไข
    - ตัวอย่างแฟ้มที่ได้จาก exe (SCORM Editor)
    
    : exescorm.zip 236 KB
    : scormexephp.zip 2,952 KB (8 Chapters in PDF) - โปรแกรมที่ทำงานบบน Handy Drive หรือ CD รุ่น 1.04
Click to open thumbnails & details



52. สร้าง SCORM ด้วย reload แล้วนำเข้า
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจคำว่า SCORM
    2. เพื่อให้ครูเข้าใจหน้าที่ของโปรแกรม reload
    3. เพื่อให้ครูสร้าง SCORM ด้วย reload ได้
    4. เพื่อให้ครูนำ SCORM ที่สร้างขึ้นเข้า Moodle ได้
    
    แฟ้มภาพ : reloadscorm01.gif - reloadscorm20.gif
    
    หมายเหตุ
    - สร้าง SCORM ด้วย reload มีปัญหาภาษาไทย ในเมนู .. ผมยังไม่ได้หาวิธีแก้ไข
    - ตัวอย่างแฟ้มที่ได้จาก reload (SCORM Editor)
    
    : thaiallscorm.zip 209 KB
    : scormreloadpl.zip 3,246 KB (12 Chapters in PDF)
Click to open thumbnails & details



92. แปลงแบบทดสอบ Excel เป็นแฟ้มสกุล GIFT
moodle 1.5 สามารถพิมพ์ข้อสอบใน excel แล้วแปลงเป็น text file แบบ GIFT เพื่อ import ไปใน moodle
โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วย php นี้ ใช้แปลงข้อมูลจาก Text ไปเป็นแฟ้มแบบ GIFT เพื่อส่งเข้า Moodle
เปิดใช้แบบออนไลน์จาก http://www.thaiall.com/php/txt2gift.php หรือ Download thaiabc5b.zip จาก thaiabc.com
:: http://www.soberit.hut.fi/sprg/resources/moodle/GiftConverter.html
:: http://learn.uci.edu/cms/help.php?module=quiz&file=formatgift.html (good)

GIFT is the most comprehensive import format available for importing Moodle quiz questions from a text file. It supports Multiple-Choice, True-False, Short Answer, Matching and Numerical questions, as well as insertion of a _____ for the Missing Word format. Various question-types can be mixed in a single text file, and the format also supports line comments, question names, feedback and percentage-weight grades.
Special Characters ~ = # { } : These symbols ~ = # { } control the operation of this filter and cannot be used as normal text within questions. Since these symbols have a special role in determining the operation of this filter, they are called "control characters." But sometimes you may want to use one of these characters, for example to show a mathematical formula in a question. The way to get around this problem is "escaping" the control characters. This means simply putting a backslash (\) before a control character so the filter will know that you want to use it as a literal character instead of as a control character.
ตัวอย่างข้อมูลในแฟ้มแบบ GIFT
- แฟ้มนี้มีสกุล .txt สามารถส่งเข้าไปเป็นแบบทดสอบใน Moodle ได้
- ตัวอย่างนี้มี 1 คำถาม คำตอบที่ถูก มีเครื่องหมาย = นำหน้า
- มีตัวอย่างข้อสอบหลายข้อเขียนในหัวข้อ 99 ด้านล่างสุด

::j0101::[html]Result of 3 & 5?{
=1
~3
~6
~7
}


 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น