ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

24 กันยายน 2561

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus


การอ่านแบบปฏิสัมพันธ์ด้วยวิธี KWL-Plus เป็นเทคนิคการสอนการอ่านที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งพัฒนาและเผยแพร่โดย โอเกิล(Donna M. Ogle) ในปี 1986 รูปแบบการสอนประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ Know–Want–Learn (KWL) ต่อมาในปี 1987 คาร์และโอเกิล (Eileen Carr and Donna Ogle) ได้พัฒนารูปแบบ KWL เป็นรูปแบบ KWL-Plus Strategy ด้วยการเพิ่มการทำแผนภูมิบทอ่าน และการสรุปความ
ความหมายของการอ่านแบบปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธี KWL-Plus หมายถึง กลวิธีการสอน
อ่านเพื่อความเข้าใจและการสรุปความที่มีขั้นตอนเป็นกระบวนการโดยตัวย่อต่างๆ มีความหมายดังนี้
K = Know หมายถึง ความรู้ที่มีอยู่แล้ว
W = Want to Know หมายถึง สิ่งที่ต้องการรู้จากการอ่าน
L = Learned หมายถึง สิ่งที่รู้หลังจากการอ่าน
Plus = หมายถึงการเขียนแผนภูมิและการเขียนสรุปความ


Pardo และ Raphael (1991 : 558) ได้กล่าวว่าการอ่านแบบปฏิสัมพันธ์ด้วยวิธี
KWL-Plus เป็นยุทธวิธีในการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจ (Comprehension Strategy) เป็นวิธีหนึ่ง ซึ่งช่วยนักเรียนในการสร้างประสบการณ์เดิม และมีส่วนร่วมในประสบการณ์ วิธีนี้ทำให้นักเรียนได้ใช้ความคิดเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้
1. ความรู้ของประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้อง
2. คำถามซึ่งสะท้อนจุดประสงค์ในการอ่าน
3. ข้อมูลที่ได้จากบทอ่าน การอ่านโดยใช้วิธี KWL ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านโดยมี
จุดประสงค์ และจำข้อมูลหรือสารสนเทศได้
Flood และ Lapp (1900 : 494) ได้กล่าวว่าการอ่านแบบปฏิสัมพันธ์ด้วยวิธี KWL
เป็นวิธีการอ่านที่ช่วยพัฒนาความเข้าใจในการอ่านวิธีหนึ่งในหลักการที่ว่าความเข้าใจเกิดจากการสร้างของตัวผู้อ่าน (Constructivist Principles) โดยที่ผู้อ่านเป็นผู้ค้นหา และค้นพบความหมายด้วยคำถามของครูว่า “นักเรียนรู้ได้อย่างไร?” ผู้อ่าน (นักเรียนจะต้องเป็นผู้หาหลักฐานจากบทอ่านหรือความรู้ที่มีมาก่อน มาตอบคำถามของครู วิธีการ KWL นี้มุ่งกระตุ้น (Activate) ทบทวน (Review) และพัฒนาประสบการณ์เดิม (Develop Background Knowledge) ของผู้อ่าน รวมทั้งการตั้งจุดประสงค์ที่เน้นประโยชน์สาหรับผู้อ่าน(นักเรียนให้สามารถเป็นผู้เรียนที่ตื่นตัว (Active)และเป็นอิสระ (Independent) ในที่สุด
กระบวนการ KWL-Plus ได้รับการพัฒนาโดยคาร์ และโอเกิล (Carr and Ogle.
1987 : 626-631) เป็นกลวิธีการคิดขณะอ่าน ซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้
ในกระบวนการ KWL-Plus หมายถึง Know เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนตรวจสอบ
หัวข้อเรื่องว่า ตนเองมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องมากน้อยเพียงใด โดยนาความรู้เดิมมาใช้
ในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในกระบวนการ KWL-Plus หมายถึง Want to Know เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียน
จะต้องถามตนเองว่า ต้องการรู้อะไรในเรื่องที่อ่านบ้าง ซึ่งคำถามที่ผู้เรียนสร้างขึ้นก่อนการอ่านนี้เป็นการตั้งเป้าหมายในการอ่านและเป็นการคาดหวังว่าจะพบอะไรในบทอ่านบ้าง
ในกระบวนการ KWL-Plus หมายถึง Learned เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนสำรวจว่า
ตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน โดยผู้เรียนจะหาคำตอบให้กับคำถามที่ตนเองตั้งไว้ในขั้นตอน
และจดบันทึกสิ่งที่ตนเองเรียนรู้
Plus หมายถึง การสร้างแผนภูมิและเขียนสรุปความหลังการอ่านการนำขั้นตอนการสร้างแผนภูมิ และการเขียนสรุปความมาใช้ร่วมกับกระบวนการ
KWL-Plus นั้นเนื่องจาก การเขียนและการจัดโครงสร้างบทอ่านเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้เรียนเรียงลำดับขั้นตอนของข้อมูลได้ อีกทั้งยังสร้างความหมายจากบทอ่านได้
1. ขั้นตอนการสอนอ่านแบบปฏิสัมพันธ์ด้วยวิธี KWL-Plus มีดังนี้
1.1 กิจกรรมก่อนการอ่าน
การจัดกิจกรรมก่อนการอ่าน เป็นการเตรียมผู้เรียนในการเรียนรู้เนื้อหาใหม่
ซึ่งบูรณาการระหว่างความรู้พื้นฐานและเรื่องที่ผู้เรียนจะอ่าน เป็นสิ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความหมายของบทอ่านได้ดี และผู้อ่านควรได้รับการกระตุ้นความรู้พื้นฐานให้เหมาะสม ดังนั้นในขั้นตอนนี้ทฤษฎีประสบการณ์เดิมจึงมีความสำคัญมาก เพราะเป็นทฤษฎีว่าด้วยหลักการนาความรู้พื้นฐาน ความรู้เดิมและประสบการณ์เดิมมาใช้ในการเรียนการสอน ขั้นกิจกรรมก่อนการอ่าน มีดังนี้
    1.1.1 ผู้สอนกระตุ้นความรู้พื้นฐาน โดยให้ผู้เรียนระดมพลังสมองแสดงความคิดและอภิปรายสิ่งที่รู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้น ถ้ามีคำถามที่ไม่สามารถตอบในช่วงขณะอ่านเมื่อเสร็จสิ้นการระดมพลังสมองและการอภิปรายแล้ว ให้ผู้เรียนเขียนสิ่งที่ตนเองคิดว่ารู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้นลงในตารางที่เตรียมไว้บันทึกข้อมูลที่ช่อง K
    1.1.2 ผู้เรียนจัดประเภทข้อมูลที่เขียนไว้ในช่อง K ผู้สอนสาธิตการจัดแยกประเภทข้อมูล และรวบรวมข้อมูลประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่
    1.1.3 ผู้เรียนตั้งคำถาม ถามตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการทราบในขณะอ่านแล้วเขียนลงในช่อง W คำถามเหล่านี้อาจเป็นคำถามจากข้อมูลที่ได้จากการอภิปราย หรือเป็นคำถามที่ได้รับจากการพิจารณาถึงหัวข้อหลักที่คาดว่าจะพบในบทอ่านก็ได้ การตั้งคำถามในลักษณะนี้ผู้เรียนสามารถกาหนดเป้าหมายการอ่านได้อย่างอิสระ ซึ่งเป็นผลให้ผู้เรียนมุ่งประเด็นกับบทอ่านและตรวจสอบตนเองในขณะเรียนรู้ด้วย
1.2 กิจกรรมระหว่างการอ่าน
    1.2.1 ขณะที่ผู้เรียนอ่านบทอ่าน ผู้เรียนอาจจะหยุดอ่านเป็นบางช่วงเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง โดยตรวจคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ในช่อง W ก่อนที่ผู้เรียน
จะอ่านขบบทอ่านหนึ่งตอนหรือหนึ่งบท ผู้เรียนจะรู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างและยังไม่เข้าใจตรงไหนบ้าง
    1.2.2 ในขณะที่ผู้เรียนอ่านและได้พบข้อมูลใหม่ๆ ผู้เรียนจะตั้งคำถามเพิ่มเติมลงไปในช่อง W ด้วยก็ได้ วิธีนี้ผู้เรียนจะสามารถอ่านบทอ่านได้จนจบ โดยที่ผู้เรียนจะพิจารณาสิ่งที่อ่านไปแล้วเป็นการกากับการเรียนรู้ด้วยตนเอง และอาจสร้างคำถามเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการอ่าน
1.2.3 นอกจากนี้ในขณะที่อ่านผู้เรียนจะต้องจดบันทึกข้อมูลใหม่ๆลงในช่อง L การทำเช่นนี้จะช่วยให้เลือกข้อมูลที่เป็นประเด็นสำคัญของแต่ละย่อหน้าได้ประเด็นสำคัญนี้จะเป็นพื้นฐานให้กับการเขียนในขั้นต่อไปและช่วยในการทบทวนเนื้อหาด้วย
1.3 กิจกรรมหลังการอ่านดังนี้
    1.3.1 ผู้เรียนอภิปรายถึงสิ่งที่เรียนรู้ในช่วงขณะอ่าน โดยนำคำถามที่ตั้งไว้
ในช่วงก่อนอ่านและขณะอ่านมาทบทวนหาคำตอบ ถ้าคำถามใดไม่มีคำตอบจากเนื้อเรื่องผู้เรียนสามารถหาคำตอบได้จากการอ่านเพิ่มเติมหรือถามผู้รู้
    1.3.2 ผู้เรียนเขียนแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล
    1.3.3 ผู้เรียนเขียนสรุปความรู้ที่ได้จากการอ่าน
การสอนกระบวนการอ่านแบบปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธี KWL-Plus นั้น ผู้สอนจะเป็น
แบบอย่างให้ในเบื้องต้น โดยผู้สอนเป็นผู้นาและให้ผู้เรียนค่อยๆ ปฏิบัติตนเองและเพิ่มบทบาทความรับผิดชอบในการเรียนของตนเองมากขึ้น โดยผู้สอนจะคอยดูแลให้คาแนะนำ ตรวจแก้ไขบอกข้อบกพร่อง ซึ่งผู้เรียนจะรับผิดชอบต่อการเรียนด้วยตนเอง ในที่สุดผู้เรียนจะกลายเป็นผู้เรียนรู้คือ ผู้เรียนจะอ่านอย่างเข้าใจและสรุปความได้จนสามารถนำกระบวนการ KWL-Plus ไปใช้กับบทอ่านอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การสรุปความกับการอ่านแบบปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธี KWL-Plus
การสรุปความเป็นกิจกรรมที่นำมาเสริมในกระบวนการ KWL-Plus เพื่อช่วยให้
ผู้เรียนมีความเข้าใจดีขึ้น โดยพิจารณาใคร่ครวญถึงสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ไปแล้ว โดยใช้ภาษาของตนเอง
การสรุปความนั้นผู้เรียนต้องตรวจสอบข้อมูลจากบทอ่านทั้งหมด แยกประเด็น
สำคัญออกมาสังเคราะห์และสร้างบทอ่านขึ้นมาใหม่ โดยใช้สานวนภาษาของตนเอง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุมีผลเข้าใจง่าย และสามารถใช้เป็นตัวแทนของบทอ่านได้
การสรุปความเป็นการรวบรัดข้อมูลให้เห็นใจความสำคัญในบทอ่าน การเขียนสรุป
ความช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านคำและความเข้าใจมากขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนอ่านอย่างมีวิจารณญาณและช่วยให้การเรียนโดยทั่วไปดีขึ้นด้วย


ขอบคุณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
http://www.library.msu.ac.th/
เรียบเรียงโดยประภัสรา โคตะขุน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น