การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ PSQ5R
ความหมายของ PSQ5R
การสอนแบบ PSQ5R เป็นการสอนอ่านอย่างมีประสิทธิภาพที่ผู้วิจัยได้ข้อมูลจาก
มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย ประเทศแคนาดา และได้มีนักวิชาการดัดแปลงนำวิธีการนี้มาใช้ในการสอนอ่าน
Metha (2007 : 62-67) กล่าวว่าการสอนแบบ PSQ5R เป็นการสอนอ่านที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการ
เรียนรู้จากบทอ่านอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน เช่น การอ่านและสำรวจเนื้อหาในบทอ่านเพื่อหาความหมายโดยรวมและประเด็นสำคัญๆของการอ่าน การถามคำถามจากหัวข้อต่างๆที่พบในขั้นตอนที่
สำรวจเนื้อหา การอ่านเนื้อหาในบทอ่าน การตอบคำถามดังๆในตอนท้ายของแต่ละข้อความเพื่อให้จำ
เนื้อหาที่อ่านได้ การทบทวนประเด็นสำคัญต่างๆในรูปของงานเขียน นอกจากนี้การอ่านเพื่อการเรียนรู้
ยังเสริมให้ผู้อ่านได้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ ผู้อ่านจะต้องอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจความคิดของผู้แต่ง การอ้างอิงสื่อต่างๆ และการเชื่อมโยงความคิดจากสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่ง เป็นต้น
การสอนแบบ PSQ5R ในแต่ละขั้นตอนนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้กลวิธีต่างๆในการ
อ่าน เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในการอ่านทั้งสิ้น ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกการเรียนรู้ต่างๆ เพราะว่าการตั้ง
จุดหมายในการอ่านเป็นการวางวัตถุประสงค์ว่าต้องการได้อะไรจากเรื่องที่อ่าน อ่านอะไร การสำรวจ
เนื้อหาเพื่อหาความหมายโดยภาพรวม การตั้งคำถามเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อ่าน โดยคำถามนั้น
ช่วยให้การอ่านเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย ที่สำคัญการได้กลับมาอ่านเนื้อหาอีกครั้ง เป็นการอ่านสำหรับ
หาคำตอบที่ได้ตั้งไว้ การใช้คำพูดของตนเองตอบคำถาม หรือพูดจากความจำออกมาเพราะการพูด
ออกมาเป็นการแสดงให้เห็นถึงความจำของตนเองว่าสามารถถอดความหมายจากเรื่องที่อ่านได้อย่าง
ครบถ้วน การบันทึกสิ่งที่ได้อ่านและตอบโดยใช้คำและกลุ่มคำที่ง่ายต่อการจดจำไม่ยากจนเกินไป อาจ
บันทึกให้ออกมาในรูปแบบของแผนภูมิหรือรูปภาพ เมื่อสามารถบันทึกสิ่งที่ได้อ่านแล้ว การเขียนสิ่งที่ได้ จากเรื่องที่อ่านสรุปใจความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อ่าน ประกอบด้วยใจความหลักของเรื่องใจความรองของเรื่อง ซึ่งจะต้องครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทักษะกระบวนการเขียนของผู้เรียนผ่านทางการเขียนสรุปความหลังจากที่ได้อ่านจนจบแล้ว การทบทวนเรื่องทั้งหมดและหากไม่แน่ใจส่วนใด ตอนใด ของเรื่องให้กลับไปอ่านซ้ำใหม่เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่อ่านได้มากขึ้น ซึ่งระหว่างการดำเนินกิจกรรมทั้ง 8 ขั้นตอน ผู้สอนสามารถสอนวิธีการเขียนสรุปความและถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาเพิ่มเติม เพื่อที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้เชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับสภาพและระดับความเหมาะสมของผู้เรียนได้
ในส่วนของการเรียนรู้จากการปฏิบัติตามกลวิธีการสอบแบบ PSQ5R ที่เพิ่มขั้นตั้งจุดมุ่งหมายและขั้นบันทึกนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายที่ถูกต้องของบทอ่านเป็นต้น นอกจากผู้เรียนจะได้ประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาแล้วยังได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอข้อมูลของสื่อต่างๆอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้กิจกรรมที่สำคัญของการเรียนรู้แบบ PSQ5R คือ กิจกรรมการจดบันทึก กิจกรรมการ
อภิปราย การได้พูดคุยหลังการอ่านช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาและการเรียนรู้เนื้อหา ผู้เรียนควร
ได้รับโอกาสให้แสดงความคิดเห็น และในระหว่างการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ผู้สอนสามารถถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะช่วยให้ผู้เรียนดึงเอาความรู้และแนวคิดในบทอ่านให้ไปปฏิสัมพันธ์ในชีวิตจริงของผู้เรียน Kiser (2005 : 28-32) ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนโดยวิธีนี้ ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนั้น คือผู้เรียนสามารถเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญ อย่างรวดเร็วเมื่อเจอเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ จากการสื่อสารการสอนแบบ PSQ5R นั้นจะช่วยสร้างนิสัยในการอ่านที่ดีคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนได้รับประโยชน์ในด้านการเรียนรู้ที่สามารถจะจับใจความสำคัญจากเนื้อเรื่องได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจเนื้อหาจากเรื่องได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยให้ผู้เรียนอ่านได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องใช้เวลานาน เมื่อมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอสอดคล้องกับ Glendale (2002 : 56-62) ที่ได้กล่าวว่าวิธีการที่จะช่วยให้การอ่านมีประสิทธิภาพที่ดีคือการอ่านแบบ PSQ5R เพราะสามารถช่วยผู้เรียนด้านการอ่าน ช่วยแก้ปัญหา และตั้งจุดมุงหมายในการอ่านได้อย่างชัดเจน ในขั้นตั้งจุดมุ่งหมายขั้นสำรวจบทเรียน ผู้เรียนสามารถมองภาพรวมของเรื่องที่อ่านเพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดถึงเรื่องที่จะอ่านและอ่านเพื่ออะไร นอกจากนี้การตั้งคำถามจะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกหาคำตอบจากคำถามที่ได้ตั้งไว้ วิธีการนี้ช่วยฝึกการคิดของผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเนื่องจากมีจุดมุ่งหมายต่อการอ่านได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่การอ่านเพื่อให้ตอบคำถามได้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องอ่านให้เข้าใจอีกด้วย นอกจากนี้ PSQ5R ยังช่วยให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านเพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่ออ่านจบผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจ ของตนเองได้โดยใช้การเขียนสรุปความ ซึ่งผู้เรียนสามารถรู้และใช้ความสามารถทำความเข้าใจในเรื่องที่อ่านได้นอกจากนี้การสอนแบบ PSQ5R ยังมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นความรู้เดิมของผู้เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาที่อ่านและการสอนองค์ประกอบของภาษาที่จำเป็นสำหรับการอ่าน รวมไปถึงการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้อยากอ่าน เพราะส่งผลต่อความเข้าใจในการอ่าน Carrell และ Eisterhold (1983 : 79-84) กล่าวว่า ยังไม่มีเทคนิคใดที่ดีที่สุดในการระดมและดึงความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนอ่าน จึงขึ้นอยู่กับผู้สอนในการทดลองใช้เทคนิคใดเทคนิคหนึ่งให้สอดคล้องและเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหานั้นๆ อย่างไรก็ตามการสอนแบบPSQ5R นั้นสามารถใช้เทคนิคต่างๆ เช่น เทคนิคการกวาดสายตา การสำรวจบทอ่านเพื่อหาประเด็นสำคัญ เช่น ชื่อเรื่องหัวข้อย่อย บทสรุป เป็นต้น
การสอนแบบ PSQ5R มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ตั้งเป้าหมาย (purpose)
ขั้นที่ 2 สำรวจ (survey)
ขั้นที่ 3 ตั้งคำถาม (question)
ขั้นที่ 4 อ่าน (read selectively)
ขั้นที่ 5 พูดจากความจำ (recite)
ขั้นที่ 6 บันทึก (write)
ขั้นที่ 7 สะท้อนความคิด (reflect)
ขั้นที่ 8 ทบทวน (review)
1.1 ขั้นตั้งเป้าหมาย (Purpose)
ครูผู้สอนให้นักเรียนตั้งเป้าหมายหรือตั้งคำถามในการอ่านว่านักเรียนจะอ่านอะไรใน
เรื่องนี้หรือต้องการคำตอบอะไรในเรื่องนี้
1.2 ขั้นสำรวจ (Survey)
ผู้สอนให้นักเรียนสำรวจเรื่องราวที่ได้อ่านอย่างคร่าวๆเพื่อหาจุดสำคัญของเรื่องการอ่านขั้นนี้ไม่ควรใช้เวลานานเกินไปใช้การอ่านแบบกวาดสายตา(skimming)
1.3 ขั้นตั้งคำถาม (Question)
ผู้สอนให้ผู้เรียนตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่านเพื่อให้ได้ใจความสำคัญ แล้วให้ผู้เรียนเขียนคำถามที่ต้องการออกมาเพื่อที่จะหาคำตอบต่อไป โดยครูเป็นผู้ชี้แนะในกรณีที่ผู้เรียนมีปัญหาในการตั้งคำถามเพื่อจะใช้เป็นแนวทางในการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมายและมีความเข้าใจมากขึ้น
1.4 ขั้นอ่าน (Read selectively)
การอ่านข้อความในบทหรือตอนนั้นๆซ้ำอย่างละเอียดและในขณะเดียวกันก็ค้นหาคำตอบสำหรับคำถามที่ได้ตั้งไว้ในขั้นนี้เป็นการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญโดยแท้จริงและตอบคำถามที่ตั้ง
ไว้
1.5 ขั้นท่องจำ (Recite)
ผู้สอนให้นักเรียนนึกคำตอบโดยไม่ต้องดูหนังสือ โดยให้นักเรียนใช้คำพูดของนักเรียนให้
มากที่สุด
1.6 ขั้นบันทึก (write)
เมื่อได้คำตอบแล้วให้ผู้เรียนจดบันทึกข้อมูลต่างๆที่ได้อ่านจากขั้นตอนที่ 3 โดยใช้ภาษาของตนเองเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและสามารถจาคำตอบนั้นได้โดยคำตอบนั้นต้องคงความหมายเดิมของ
เรื่องเอาไว้
1.7 ขั้นสะท้อนความคิด (Reflect)
ผู้เรียนใช้ข้อมูลหรือเนื้อหาที่ได้จากการอ่านนั้นมาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่ตนมีอยู่เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนหรือได้อ่าน โดยการเขียนสรุปใจความสำคัญซึ่งประกอบด้วยใจความหลักและใจความรองโดยพยายามใช้ภาษาของตนเองถ้ายังไม่แน่ใจบทใดหรือตอนใดให้กลับไปอ่านซ้ำใหม่
1.8 ขั้นทบทวน (Review)
ให้ผู้เรียนวิเคราะห์วิจารณ์บทอ่านที่ผู้เรียนได้อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ผู้เรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องหรือความคิดเห็นไม่สอดคล้องเป็นการทบทวนเรื่องที่อ่านทั้งหมดในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนว่าจดจำหรือเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดได้มากน้อยแค่ไหนหากส่วนไหนที่ยังจดจำไม่ได้ก็กลับไปอ่านซ้ำซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดที่ชัดเจนและมีความ
คงทนในการจดจำอีกด้วย
ที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ PSQ5R เป็นวิธีการจัดการเรียนที่เน้น
ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ ขั้นตั้งเป้าหมาย
(Purpose) ขั้นสำรวจ (Survey) ขั้นตั้งคำถาม (Question) ขั้นอ่าน (Read) ขั้นท่องจำ (Recite)
ขั้นบันทึก (write) สะท้อนความคิด (Reflex) ขั้นทบทวน (Review) การเรียนรู้จากการปฏิบัติตามกลวิธี
การสอบแบบ PSQ5R ที่เพิ่มขั้นตั้งจุดมุ่งหมายและขั้นบันทึกนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายที่
ถูกต้องของบทอ่าน Glendale (2002) นอกจากผู้เรียนจะได้ประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาแล้วยังได้
เรียนรู้วิธีการนาเสนอข้อมูลของสื่อต่างๆอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้กิจกรรมที่สำคัญของการเรียนรู้แบบ
PSQ5R คือ กิจกรรมการจดบันทึก กิจกรรมการอภิปราย การได้พูดคุยหลังการอ่านช่วยให้เกิดการ
เรียนรู้ทางภาษาและการเรียนรู้เนื้อหา ผู้เรียนควรได้รับโอกาสให้แสดงความคิดเห็น และในระหว่างการ
ดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ผู้สอนสามารถถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะช่วยให้ผู้เรียนดึงเอาความรู้และ
แนวคิดในบทอ่านให้ไปปฏิสัมพันธ์ในชีวิตจริงของผู้เรียนนอกจากนี้ PSQ5R ยังช่วยให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอ่านเพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่ออ่านจบผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจของตนเองได้โดยใช้การเขียนสรุปความ
...............................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น