ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

24 กันยายน 2561

การสอนทักษะการอ่านด้วยกิจกรรมการอ่านที่เน้นสมองเป็นฐาน Brain-based Learning (BBL)

การสอนทักษะการอ่านด้วยกิจกรรมการอ่านที่เน้นสมองเป็นฐาน 
Brain-based Learning (BBL)








1. ความเป็นมาของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Brain-based Learning (BBL)
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐาน (Brain-based Learning Activity)เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนฝึกคิด ค้นหาคำตอบจากเนื้อเรื่องที่อ่าน โดย Caine และ Caine (1990) ได้กล่าวถึงแนวคิด 12 ข้อ ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นสมองเป็นฐานไว้ ดังนี้
1. กระบวนการทำงานของสมองเป็นไปในเชิงขนาน
2. การเรียนรู้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสรีระทุกส่วน
3. มนุษย์มีความกระหายใคร่รู้ติดตัวมาแต่กำเนิด
4. มนุษย์มีรูปแบบในการค้นหาความหมาย
5. อารมณ์ส่งผลอย่างยิ่งต่อรูปแบบการเรียนรู้
6. สมองของทุกคนนั้นสามารถทำงานเป็นส่วนๆ และแบบทั้งหมดได้ในเวลาเดียวกัน
7. การเรียนรู้เกี่ยวข้องทั้งการจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและการสนใจต่อสิ่งรอบข้าง
8. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งในขณะที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
9. มนุษย์มีความจำอยู่สองประเภท คือ ระบบการจดจำจากการเรียนรู้และทำความเข้าใจ และระบบการเรียนรู้แบบท่องจำ
10. สมองเข้าใจและจดจำเมื่อความจริงและทักษะต่างๆ ถูกปลูกฝังในสมองส่วนของ
ระบบการจดจำจากการเรียนรู้และความเข้าใจ (Natural Spatial Memory)
11. สมองเกิดการเรียนรู้เกิดเมื่อถูกกระตุ้นด้วยความท้าทายและการเรียนรู้จะถูกยับยั้ง
จากภัยคุกคาม
12. สมองของมนุษย์มีลักษณะเฉพาะของตน
จากแนวคิดทั้ง 12 ข้อ สรุปได้ว่า สมองเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อีกทั้งยังส่งผลต่อการพัฒนาทักษะต่างๆ ของนักเรียน ครูจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิตในอนาคต

2. สมองกับความสามารถในการอ่าน
จากแนวคิดทั้ง 12 ข้อที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าสมองเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะต่างๆของมนุษย์ สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้น ทักษะการอ่านเองก็
เกี่ยวข้องกับกลไกลการทำงานของสมองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน Sousa (2005) ได้อธิบายเกี่ยวกับความสามารถในการอ่านนั้นว่า ความสามารถในการอ่านสัมพันธ์กับประสบการณ์หรือเรื่องราวที่ผู้อ่านได้เจอในอดีต ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จนสมองของเราจัดเก็บประสบการณ์เหล่านั้นไว้ หรือที่เราเรียกว่า schemata โดยสมองจะจัดเก็บประสบการณ์เดิมที่ได้พบเจอในรูปแบบของความทรงจำระยะยาว (long term memory) และเมื่อเราได้พูดคุยถึงเรื่องราวหรือเจอประสบการณ์ที่คล้ายกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น เราจะลำดับเหตุการณ์จากประสบการณ์เดิมเหล่านั้นและนำมาใช้ในการจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น หากเรากำลังพูดคุยกับเพื่อนถึงเรื่องการรับประทานอาหารในภัตตาคารใหม่ๆที่เรายังไม่เคยไป เพื่อนของเราไม่จำเป็นต้องบอกเราถึงลำดับขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การจองโต๊ะการสั่งรายการอาหาร การจ่ายเงิน แต่เราจะใช้ความทรงจำจากเหตุการณ์ในอดีตที่เราเคยไปรับประทานในภัตตาคารและสามารถคาดเดาถึงลำดับขั้นตอนได้เองและอาจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ
Schemata ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องของความเข้าใจเนื้อหาจากเรื่องที่อ่าน โดยเมื่อเรา
อ่านเรื่องใดๆก็ตาม เราจะใช้ Schemata ของตนในการแปลความหมาย วิเคราะห์ถึงสาเหตุและผลลัพธ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เปรียบเทียบข้อแตกต่างในบทอ่านนั้นๆ และสรุปความหมายของเพื่อค้นหาสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อถึงผู้อ่านในเนื้อเรื่องนั้นๆ แต่ถ้าผู้อ่านไม่มี Schemata เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เมื่ออ่านเรื่องนั้นๆอาจไม่เข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือเข้าใจเนื้อเรื่องคลาดเคลื่อนไปจากสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อออกมา สิ่งนี้จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราประสบปัญหาในการอ่านเรื่องต่างๆ ที่เราไม่มีประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อ่านและไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์ทุกคำที่ปรากฏในเรื่องที่อ่านอย่างไรก็ตาม ความสามารถในการอ่านของผู้อ่านยังมีความสัมพันธ์กับระบบการอ่านด้วยโดยเราจะเข้าใจเรื่องที่อ่านได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ Schemata และระดับความสามารถในการอ่านของแต่ละบุคคล อีกทั้งระบบการจดจำภายในสมองของผู้ที่มีความสามารถในการอ่านแต่ละระดับยังแตกต่างกัน โดยผู้ที่ขาดทักษะในการอ่านอาจจำเป็นต้องใช้ทั้งภาพ เสียงและข้อความในขณะที่อ่าน หรืออ่านออกเสียงในขณะที่อ่านข้อความใดๆ โดยส่วนของสมองที่ทำหน้าที่ดังกล่าวคือ Parieto-temporal Area ซึ่งเป็นส่วนในการวิเคราะห์คำและสมองส่วน Broca’s Area จะช่วยใน
การแปลความหมายคำ ส่งผลให้สมองแปลความหมายได้ช้ากว่าผู้เรียนที่มีทักษะที่ดีในการอ่าน
Goodman (2014) อธิบายถึงกระบวนการอ่านที่สัมพันธ์กับสมองไว้ 5 ประการ คือ
1. Recognition-initiation เป็นขั้นที่สมองจดจำภาพต่างๆ จากการมอง เช่นภาษาที่เขียนและการอ่านในขั้นเริ่มต้น
2. Prediction เป็นขั้นที่สมองคาดเดาความหมายหรือหาคำตอบของสิ่งที่อ่าน
3. Confirmation เมื่อสมองคาดเดาคำตอบหรือความหมายจากสิ่งที่อ่าน สมองจะ
พิสูจน์สิ่งที่คาดเดาว่าถูกต้องหรือไม่
4. Correction เป็นขั้นที่สมองเริ่มกระบวนการการอ่านกลับไปขั้นที่ 1 ใหม่อีกครั้ง
เมื่อคิดว่าคำตอบนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการยืนยันคำตอบที่ถูกต้อง
5. Termination สมองจะหยุดอ่านเมื่อภาระงานหรือกิจกรรมการอ่านนั้นสิ้นสุดลง
แต่ขั้นนี้อาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น เรื่องที่อ่านเป็นเรื่องทั่วไปหรือเป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว หรือเรื่องราวที่อ่านนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าสนใจ เป็นต้น
3. ขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด Brain-based Learning Jansen (2008) ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด BBL
ไว้ 7 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 Pre-exposure
ในขั้นนี้ ครูมีหน้าที่ช่วยผู้เรียนเข้าใจภาพรวมของเรื่องที่จะเรียนและสามารถสร้าง
แผนผังความคิดรวบยอดภายในสมองเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ โดย
1. ติดข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนบนบอร์ดต่างๆ ภายในห้องเรียน
2. สอนทักษะการเรียนรู้และกลวิธีการจำแก่นักเรียน
3. ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะชีวิตและความภาคภูมิใจในตนเอง
4. ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
5. จัดกิจกรรมตามความสนใจและระดับความรู้พื้นฐานของผู้เรียนโดยไม่อาศัยความรู้สึกนึกคิดหรือพื้นฐานความรู้ของตัวครูผู้สอนเอง
6. ให้นักเรียนกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้
7. ออกแบบกิจกรรมที่ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมได้
8. พิจารณาสภาพของผู้เรียนในขณะที่จัดกิจกรรมและปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมตามความเหมาะสม
ขั้นที่ 2 Preparation
ในขั้นนี้ ครูมีหน้าที่ส่งเสริมผู้เรียนให้รู้สึกกระหายใคร่รู้หรือตื่นเต้นกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยครูผู้สอนสามารถทำได้โดย
1. สร้างประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน โดยครูผู้สอนกระตุ้นผู้เรียนให้รู้สึกว่าเรื่องที่เรียนเป็นเรื่องไม่ไกลตัว
2. จัดเตรียมเนื้อหาที่เรียน
3. กระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อที่เรียน อาจถามคำถามให้นักเรียนตอบ โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดและแสดงเหตุผลออกมา ในช่วงแรกๆ สมองของผู้เรียนมักจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ หรือประสบการณ์ต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่านามธรรม
4. จัดเตรียมสื่อที่เป็นของจริงหรือจัดประสบการณ์จริงให้กับผู้เรียน เช่นการทดลองต่างๆ การทัศนศึกษา หรือเชิญวิทยากรภายนอกมาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียน
5. ครูอาจจัดประสบการณ์ที่สร้างความประหลาดใจแก่ผู้เรียนเพื่อสร้างแรงจูงใจ
ในการเรียนรู้
ขั้นที่ 3 Initiation and Acquisition
ในขั้นนี้ ครูผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนมีใจจดจ่อต่อเนื้อหาที่เรียน โดยให้ผู้เรียนเกิดความคิด การมีส่วนร่วมและความกระหายใคร่รู้ต่อเนื้อหา เช่น
1. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในเชิงรูปธรรม เช่น กรณีศึกษา การทดลองการทัศนศึกษา การสัมภาษณ์
2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพหุปัญญา (MultipleIntelligence)
3. จัดกิจกรรมกลุ่มหรือโครงงานที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหาและการทำงานร่วมกัน
4. สร้างทางเลือกหลายๆทางให้แก่ผู้เรียนตามความถนัดและรูปแบบ
การเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นที่ 4 Elaboration
ในขั้นนี้เป็นขั้นของกระบวนการ เป็นขั้นที่ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ใหม่จากเนื้อหาที่ตนเรียน ครูสามารถส่งเสริมผู้เรียนได้โดย
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สรุปเนื้อหาที่เรียนจากกิจกรรมก่อนหน้านี้
2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาสอดคล้องหรือต่อยอดจากกิจกรรมเดิมที่จัดไป หรือสอดคล้องกับเนื้อหารายวิชาอื่น เช่น กิจกรรมการอ่านนิยายวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอวกาศ
หลังจากที่นักเรียนได้เรียนเรื่องระบบสุริยะจักรวาล และเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆว่ามีความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เรียนก่อนหน้านี้อย่างไร
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนออกแบบกระบวนการประเมินผลหรือเกณฑ์การให้คะแนนสำหรับชิ้นงานของตนเอง เช่น การออกแบบคำถาม การมีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์ การเขียนผังความคิด (mind mapping)
4. ใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน เช่น วีดีทัศน์ ภาพสไลด์ หรือสื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
5. กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายกลุ่มพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นของตนร่วมกับกลุ่มอื่นในชั้นเรียน
6. ให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิด อาจจะเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มเพื่อสะท้อนความคิดใหม่ๆ จากเนื้อหาที่เรียน
7. เปิดโอกาสให้มีการโต้วาที อภิปราย การแข่งขันเขียนเรียงความ เป็นต้น
8. เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามประเด็นที่สงสัย
9. เปิดโอกาสให้นักเรียนเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ให้ความรู้ อาจเป็นกลุ่มย่อยหรือการนำเสนองานในชั้นเรียน
ขั้นที่ 5 Incubation and Memory Encodingในขั้นนี้ ครูมุ่งเน้นที่ความสำคัญของการพักและทบทวนเนื้อหาที่เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีเวลาในการทบทวนเนื้อหาที่เรียน ครูสามารถทำได้โดย
1. ให้เวลาสำหรับการสะท้อนเรื่องที่เรียนไป
2. ให้นักเรียนเขียนอนุทิน (journal) เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
3. ให้นักเรียนจับคู่อภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ
4. จัดกิจกรรมหรือแบบฝึกหัดที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลาย
5. จัดให้มีมุมฟังเพลง
6. ให้ผู้เรียนอภิปรายกับเพื่อนหรือครอบครัวเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
ขั้นที่ 6 Verification and Confidence Check เป็นขั้นที่นักเรียนตรวจสอบความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน ครูสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้โดย
1. เปิดโอกาสให้นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
2. ให้นักเรียนสัมภาษณ์และร่วมประเมินเพื่อนในชั้นเรียน
3. ให้นักเรียนเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนไป เช่น ให้นักเรียนเขียนอนุทินบทความ เรียงความ หรือรายงาน
4. ให้นักเรียนสาธิตโครงงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น วีดีโอ แผนผังความคิด แผ่นพับ เป็นต้น
5. ให้นักเรียนแสดงบทบาทสมมุติ (role-play) ละครสั้น หรือการแสดงบนเวที
6. ทดสอบนักเรียน (สัมภาษณ์และเขียน)
ขั้นที่ 7 Celebration and Integration
ขั้นสุดท้าย เป็นขั้นที่ให้ความสำคัญไปที่อารมณ์ของผู้เรียน ความสนุกสนาน ขั้นนี้
เป็นขั้นที่สำคัญที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรักในการเรียนรู้ ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้โดย
1. เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ผ่อนคลาย เช่น เพลงต่างๆ
3. เชิญชวนนักเรียนชั้นอื่นๆ ผู้ปกครอง หรือครูร่วมชื่นชมผลงานของนักเรียน
4จัดกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ต่อยอดความรู้เดิมกับเนื้อหาที่จะ
จัดการเรียนการสอนในอนาคต

4. รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐาน
สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานตามแนวคิดของJensen (2008) เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย สนุกสนาน และเหมาะสมกับระดับความสามาระของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง โดย Jensen (2008) ได้เสนอแนะรูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานและการประเมินการเรียนรู้ที่ลดความวิตกกังกลของผู้เรียน เพื่อให้ครูผู้สอนไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของตนเองไว้ ดังนี้
1. Internet newspaper ครูให้นักเรียนออกแบบหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของโรงเรียน
ตนเองจากหัวข้อที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นไปที่แง่คิด ประสบการณ์ของผู้เรียน
2. Class yearbook ครูให้นักเรียนออกแบบหนังสือประจำปีของชั้นเรียนตนเอง
โดยใช้เทคนิคระดมพลังสมอง Brainstorming
3. Wall-sized mural ให้นักเรียนเลือก Theme ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน จากนั้น
ให้นักเรียนวาดภาพลงบนกระดาษขนาดใหญ่และติดหรือแขวนภาพนั้นๆเพื่อนำเสนอ
4. Storyboard ให้นักเรียนวาดภาพเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์
5. Student-generated test หรือ quizzes ให้นักเรียนออกแบบแบบทดสอบง่ายๆ
โดยกำหนดเกณฑ์หรือสิ่งที่ต้องทดสอบเอง
6. Multimedia Creation ให้นักเรียนทำวีดีทัศน์ PowerPoint นำเสนองาน หรือ CD
เกี่ยวกับเนื้อหาที่ตนเรียน
7. Pre/Posttest Comparison ออกแบบแบบสำรวจความคิดเห็นก่อนและหลังเรียน
8. Storytelling ให้นักเรียนเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
9. Learning log. โดยอาจกำหนดให้นักเรียนเขียนอนุทินเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนเพื่อเป็น
การสะท้อนผลของการจัดการเรียนการสอน
10. Demonstration/student teachers ครูให้นักเรียนเปลี่ยนบทบาทจากนักเรียน
เป็นผู้ให้ความรู้ในชั้นเรียน
11. Community Project เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำโครงการต่างๆที่มีส่วนร่วมกับ
ชุมชน เช่น การเป็นอาสาสมัครให้เหตุการณ์สำคัญๆต่างๆของชุมชน
12. Theatrical Performance ให้นักเรียนเขียนบทละครสั้นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่
เรียนโดยให้นักเรียนวางแผนการทำงาน เนื้อหา และกระบวนการเอง จากนั้นให้นำเสนอผลงาน
13. Model Making ครูให้นักเรียนทำโมเดลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
14. Artwork/drawing ให้นักเรียนทำงานศิลปะหรือวาดภาพเพื่อแสดงอารมณ์
ความรู้สึกของตนออกมา
15. Sculpture
16. Music ครูควรนำเพลงมาจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน
17. Commercials/ short film ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนนำเอาเนื้อหาที่ได้เรียนไป
จัดทำเป็นภาพยนตร์สั้น
18 Case Study problem ครูสังเกตพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนและทำ
กรณีศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาของผู้เรียนแต่ละบุคคล
19. Group discussion ครูจัดกิจกรรมอภิปรายกลุ่ม หรือมอบหมายภาระงานที่
ผู้เรียนต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาเป็นกลุ่ม
20. Information Interview ครูจัดกิจกรรมการสัมภาษณ์นักเรียน พูดคุยกับนักเรียน
ให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด และบางครั้งอาจจัดกิจกรรมให้นักเรียนสัมภาษณ์เพื่อนในชั้นเรียนด้วย
21. Game Design จัดกิจกรรมในรูปแบบของเกม เช่น Simon Says, Monopoly,
Jeopardy และ Wheel of Fortune เป็นต้น
22. Personal Goal ให้นักเรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนแต่ละครั้ง
23. Mind mapping ให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิดเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
โดยแผนผังความคิดนั้นต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน
24. Debate จัดกิจกรรมการโต้วาทีเพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น การให้เหตุผล
25. Miniconference ครูให้นักเรียนจัดการประชุมเล็กๆในหัวข้อที่ตนเรียน
26. Time lines
27. Montage/college

5. ข้อดีของการสอนทักษะการอ่านด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐาน
นอกจากนี้ Taylor และ MacKenney (2008) ได้กล่าวถึงข้อดีในการการจัดการเรียนรู้ที่
เน้นสมองเป็นฐานสำหรับทักษะการอ่านไว้ดังนี้
1. การเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานเป็นแนวการจัดการเรียนการสอนที่เป็นระบบเหมาะ
แก่การนำไปปรับใช้ในการสอนทักษะการอ่าน
2. ในการที่จะนำกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานไปปรับใช้ในชั้นเรียนได้อย่าง
ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้สอนต้องมีการวางแผนและพิจารณาถึงสิ่งต่างๆเช่น วัฒนธรรม สังคม รูปแบบทางอารมณ์ รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น ผู้สอนต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้และนำไปบูรณาการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน
3. การเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐาน เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นให้ผู้สอนเข้าใจถึงกระบวนที่
เกี่ยวข้องกับการรับข้อมูลของสมอง ทำให้ผู้สอนทราบว่าจะต้องออกแบบการเรียนการสอนทักษะอ่านอย่างไร กระบวนการรับข้อมูลของสมองและทักษะการอ่านเกี่ยวข้องกันอย่างไร
4. การเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานช่วยให้ผู้สอนเข้าใจถึงข้อบกพร่องของกระบวนการรับข้อมูล(disability input) และกระบวนการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน และนำสิ่งเหล่านั้นไปออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะอ่าน
5. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานสะท้อนให้เห็นว่า สมองมีไม่ได้มีหน้าที่และ
ความสามารถแค่รับข้อมูลจากการอ่านเท่านั้น แต่สมองยังมีความยืดหยุ่นและช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
6. หน้าที่หลักของสมองคือการรับและแปลผลข้อมูลที่ได้จากการอ่านและส่งผลต่อการ
รับรู้ของทักษะอื่น
7. ในการที่จะจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้เรียนต้อง
ได้รับการส่งเสริมให้อ่านในสิ่งที่พวกเขาสนใจ
8. ในการที่จะจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านที่เน้นสมองเป็นฐานนั้น ผู้สอนต้องกระตุ้น
ผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสในระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
9. ผลการวิจัยที่ได้จากการจัดการเรียนการสอนที่เน้นสมองเป็นฐานนั้นเป็นประโยชน์
อย่างยิ่งต่อผู้สอนและสามารถนำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้
10. ครูควรนำเอากลวิธีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานมา
ปรับใช้ในชั้นเรียนของตน

............................




ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
http://www.library.msu.ac.th/


เรียบเรียงโดยประภัสรา โคตะขุน  






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น