ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

17 สิงหาคม 2557

แนวทางการวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัย

แนวทางการวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัย





แนวทางการวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัย



ชื่อเรื่อง Title
1.  สะท้อนเรื่องที่วิจัยหรือไม่
2. กระชับหรือไม่
3. มีการระบุตัวแปรที่สำคัญหรือไม่
4. มีการระบุประชากรที่ศึกษาหรือไม่
5. มีการระบุสถานที่ศึกษาหรือไม่
6. สะท้อนแนวทางวิธีการศึกษาและวิเคราะห์หรือไม่

บทคัดย่อ Abstract
1. มีการกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธี ผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะหรือไม่
2. มีจำนวนคำและความยาวที่เหมาะสมหรือไม่
3. กระชับและชัดเจนหรือไม่
4. สะท้อนเรื่องที่ศึกษาหรือไม่

ปัญหาการวิจัย Research Problem
1. ปัญหาการวิจัยมีเขียนไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ มีการกล่าวถึงในส่วนเริ่มต้นของรายงานวิจัยหรือไม่ มีการเขียนแบบข้อคำถาม หรือเป็นประโยคบอกเล่า
2. มีข้อสนับสนุนความเป็นมาความสำคัญหรือความรุ่นแรงของปัญหาหรือไม่
3. มีการกล่าวถึงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และมีการชี้ให้เห็นไม่ว่างานวิจัยนี้ เหมือนหรือต่างจากเรื่องอื่นอย่างไร หรืองานงานวิจัยนี้จะเติมช่องว่างของความรู้ได้อย่างไร
4. มีการระบุตัวแปรหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่จะศึกษาหรือไม่
5. มีการระบุธรรมชาติของประชากรที่ศึกษาหรือไม่
6. มีการมองปัยหาภายใต้บริบทของกรอบแนวคิดทฤษฏีที่เหมาะสมหรือไม่
7. ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการศึกษาปัญหานี้มีความสำคัญอย่างไรต่อการปฏิบัติการพยาบาล การสร้างองค์ความรู้หรือประเด็นอื่น

วัตถุประสงค์การวิจัย  Purpose,Objective,Aim
1. มีความเหมาะสมกับเรื่องที่วิจัยหรือไม่
2. เขียนชัดเจนหรือไม่ว่าผู้วิจัยมีแผนจะทำอะไร จะเก็บข้อมูลจากใคร ที่ไหน
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง Review of literature
1. เป็นการศึกษาอย่างขว้างขวางลึกซึ้งเกี่ยวข้องและครอบคลุมตัวแปรต่างๆที่วิจัยหรือไม่
2. นำเสนอต่อจากบทนำและปัญหาการวิจัยหรือไม่
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่มีอยู่ ช่องว่างของความรู้ และบทบาทของงานวิจัยเรื่องนี้ในการขยายหรือทดสอบความรู้หรือไม่
4. มีการใช้ข้อมูลทั้งเชิงทฤษฏีและงานวิจัยหรือไม่
5. แหล่งอ้างอิงส่วนใหญ่เป็นปฐมภูมิ หรือ ทุติยภูมิ มีความเป็นปัจจุบันหรือไม่
6. แหล่งอ้างอิงสำคัญหรือข้อมูลสำคัญ มีการกล่าวไว้ถึงครบถ้วนหรือไม่
7. การเขียนเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องหรือไม่ น่าอ่าน น่าติดตามหรือไม่
8. การเขียนเรียบเรียงใหม่โดยใช้ภาษาตนเอง หรือเป็นการคัดลองคำพูดมาจากแหล่งปฐมภูมิโดยตรง
9. สะท้อนอคติของผู้วิจัยหรือไม่
10. มีการเขียนเชิงวิพากษ์ เปรียบเทียบหรือไม่
11. มีการสรุปสถานภาพองค์ความรู้ในหัวข้อนั้น State of the art หรือไม่

คำจำกัดความ Definition
1. มีการให้ความหมายตัวแปรสำคัญๆในเชิงปฏิบัติการที่สอดคล้องกับความหมายเชิงทฤษฏีหรือไม่
2. มีการให้ความหมายตัวแปรสำคัญครบถ้วนหรือไม่

กรอบแนวคิดทฤษฏี
1. มีการระบุกรอบแนวคิดทฤษฏีอย่างชัดเจนหรือไม่
2. แนวคิด ทฤษฏี สอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษาหรือไม่
3. ให้ความหมายของตัวแปรสำคัญอย่างชัดเจนหรือไม่
4. สมมุติฐานได้มาจากกรอบแนวคิดทฤษฏีหรือไม่
5. มีการระบุข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือไม่
6. การใช้เแนวคิด ทฤษฏี มีความสม่ำเสมอตลอดงานวิจัยหรือไม่
7. ทฤษฏีที่ใช้มาจากศษสตร์ทางการพยาบาลหรือสาขาวิชาใด หรือเป็นแนวคิดที่เกิดจากการผสมผสานงานวิจัยและทฤษฏีต่างๆ

เครื่องมือการวิจัย
1. มีการระบุเครื่องมือ แหล่งที่มา วัตถุประสงค์ ลักษณะ จุดแข็ง จุดอ่อน ของเครื่องมือครบถ้วนหรือไม่ มีการให้เหตุผลเรื่องการเลือกเครื่องมือหรือไม่
2. เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษา ประชากรหรือไม่
3. มีวิธีการใช้เครื่องมือกับตัวอย่างทุกคนเหมือนกันหรือไม่
4. ได้รายงานความตรงของเครื่องมือหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่
5. ได้รายงานค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือหรือไม่ว่าทำอย่างไร ค่าเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่
6. ถ้าผู้วิจัยสร้างเครื่องมือเอง มีการอธิบายที่มา/แนวคิดของการสร้างเครื่องมือว่าอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร ค่าความตรงและค่าความเชื่อมั่นเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่
7. เครื่องมือแต่ละชนิดมีการควบคุมคุณภาพ วิธีการใช้ที่เหมาะสมหรือไม่
แบบสังเกต ใครสังเกต มีคู่มือไหม มีการฝึกหรือไม่ การสัง้กตมีผลต่อการวิจัยไหม
แบบสัมภาษณ์ ใครสัมภาษณ์ ข้อความที่ใช้ ภาษา ระยะเวลา เหมาะสมหรือไม่
แบบสอบถาม เนื้อหาครอบคลุมหรือไม่ มีความชัดเจนหรือไม่ เป็นคำถามปลายปิด หรือปลายเปิด
เครื่องมือวัด ทำไมจึงใช้เครื่องมือนั้น มีวิธีควบคุมความถูกต้องแม่นตรง และความไวของเครื่องมืออย่างไร

วิธีการรวบรวมข้อมูล Data collection procedure
1. ข้อมูลมีการรวบรวมอย่างไร มีกี่วิธี
2. วิธีรวบรวมข้อมูลมีความเหมาะสมกับการวิจัยหรือไม่
3.มีขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนสำหรับตัวอย่างทุกคนหรือไม่
4. ใครรวบรวมข้อมูล ผู้รวบรวมข้อมูลมีความเหมาะสมหรือไม่ ได้รับการฝึกอบรมอย่างไร
5. ข้อมูลรวบรวมในสถานการณ์เช่นไร มีความกดดันไหม มีคนอื่นอยู่ในขณะเก็บข้อมูลไหม ผู้ให้

ข้อมูลมีความเสี่ยงหรือไม่
การวิเคราะห์ข้อมูล Data analysis
1. เลือกใช้สถิติที่เหมาะสมหรือไม่กับระดับข้อมูลประชากร
2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ หรือทดสอบสมมุติฐานครบถ้วนหรือไม่
3. มีการนำเสนอข้อมูลชัดเจนหรือไม่ นำเสนอรูปแบบต่างๆหรือไม่
4. ในการทดสอบสมมุติฐานมีการกำหนดระดับความนัยสำคัญหรือไม่
5. ถ้าใช้กราฟ ตาราง มีการนำเสนอที่เหมาะสม หรือไม่ ให้ข้อมูลเสริม เพื่อลดการบรรยายหรือไม่ มีชื่อตาราง หัวตารางที่ถูกต้องหรือไม่ ซ้ำซ้อนกับเนื้อหา การบรรยายในรายงานหรือไม่

การอภิปรายผลและการสรุปผล Discussion conclusion
1. มีการอภิปรายผลโดยแสดงเหตุผลของผลการวิจัยว่าทำไมจึงเกิดเช่นนั้นหรือไม่
2. มีการนำผลการวิจัยอื่น แนวคิด ทฤษฏีที่อ้างไว้มาใช้ประกอบการอ๓ปรายผลหรือไม่ อย่างไร
3. สะท้อนให้เห็นว่าผลการวิจัยเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ เพราะเหตุใด
4. มีกาสรุปผลการวิจัยที่ชัดเจน ตอบคำถามการวิจัย หรือนำเสนอผลการทดสอบสมมุติฐานหรือไม่
5. มีการระบุจุดอ่อน หรือข้อจำกัด  Limitation ของการวิจัยครั้งนี้หรือไม่ ว่าอย่างไร ประโยชน์ของการวิจัยว่าอย่างไร เหมาะสมชัดเจนหรือไม่

ข้อบ่งชี้ ข้อเสนอแนะ Implication,Recommendation
1. มีการเสนอข้อบ่งชี้ในการนำผลการวิจัยไปใช้คลินิกหรืออื่นๆหรือไม่
2. ให้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปว่าอย่างไร สอดคล้องกับงานวิจัยหรือไม่
เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม Reference,Bibliography
1. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมครอบคลุมเอกสารที่อ้างอิงในส่วนเนื้อหาหรือไม่
2. เขียนตามรูปแบบที่กำหนดของแบบอ้างอิงนั้นๆหรือไม่

อื่นๆ
1. เขียนกระชับ ชัดเจน เป็นระบบหรือไม่ เขียนถูกต้องตามหลักภาษา รูปประโยควรรคตอนหรือไม่
2. เขียนเชิงวิชาการหรือไม่
3. ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่
4. ผู้วิจัยเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องที่วิจัยหรือไม่

 

ขอบคุณที่มา       ::    http://www.gotoknow.org/posts/15259  
                        ที่   ::   GotoKnow โดย 
ติดตามเราได้ที่   ::   https://www.facebook.com/prapasara.blog







ธนาคารสมองคืออะไร

ธนาคารสมองคืออะไร



ธนาคารสมองเป็นศูนย์รวมผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่เกษียณอายุแล้วทั้งจากภาคราชการหรือเอกชนที่เป็นผู้ทรงความรู้ ความสามารถ มากด้วยประสบการณ์การทำงาน มีสุขภาพดี มีความพร้อมและสมัครใจที่จะนำปัญญา ความรู้ และประสบการณ์ มาช่วยพัฒนาประเทศโดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตัว แต่มุ่งถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ โดยธนาคารสมองจะทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้วุฒิอาสาได้ทำงานสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ
แม้ในปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศดำเนินการในเรื่องนี้อยู่บ้างแล้ว เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เกษียณอายุได้มีโอกาสทำประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่อาจจะยังขาดการประสานความเชื่อมโยงการทำงานและเครือข่ายข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ดังนั้นธนาคารสมองจึงทำหน้าที่เป็นหน่วยทะเบียนกลาง ประสานเครือข่ายหน่วยทะเบียนต่าง ๆ ที่มีการรวบรวมรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้อยู่แล้ว โดยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงกัน ตลอดจนประสานเชื่อมโยงเครือข่ายขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้วุฒิอาสาสามารถนำความรู้และประสบการณ์มาช่วยเชื่อมรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศเผชิญอยู่ในปัจจุบันและอนาคต 


ที่มาของธนาคารสมอง




สืบเนื่องจากพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานในที่ประชุมมหาสมาคม ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2543 เนื่องในมงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งมีประเด็นรับสั่งเกี่ยวกับเรื่องธนาคารสมอง โดยการนำผู้ที่เกษียณอายุแล้ว แต่ยังมีความรู้ความสามารถมาช่วยงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศชาติและพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่งที่ให้นำผู้ที่เกษียณอายุแล้วแต่ยังมีความรู้ความสามารถมาร่วมเป็นพลังในการพัฒนาประเทศ

คณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการเพื่อสนองพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในการจัดตั้งธนาคารสมอง โดยมีมติเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 มอบหมายให้ทุกกระทรวง/ทบวงสำรวจทรัพยากรบุคคลที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้วด้วยการลาออกหรือเกษียณอายุ แต่ยังมีสุขภาพดี มีความรู้ความสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น การวิจัย หรือการพัฒนาประเทศ มีความพร้อมและสมัครใจเป็นวุฒิอาสาธนาคารสมอง แล้วแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทราบ และให้ สศช. มีฐานะเป็นหน่วยทะเบียนกลางธนาคารสมอง มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล จัดทำบัญชีหรือทำเนียบผู้ทรงคุณวุฒิ จำแนกเป็นรายสาขาให้ตรงตามความต้องการในการพัฒนาประเทศ และเป็นตัวกลางประสานเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้วุฒิอาสาได้นำความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญมาช่วยงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเสนอแนะมาตรการต่อคณะรัฐมนตรีในอันที่จะนำวุฒิอาสาเหล่านี้มาร่วมทำงานเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป



           จะเห็นได้ว่าแนวคิดเรื่องธนาคารสมองมีความสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทยที่ให้ความเคารพนับถือต่อผู้อาวุโส ผู้เกษียณอายุแล้วที่มีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ มาแล้วมากมาย สามารถถ่ายทอดภูมิความรู้และประสบการณ์อันดีงามจากผู้อาวุโสสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติในช่วงชีวิตหลังเกษียณอายุได้เป็นอย่างดี



บทบาทภารกิจของธนาคารสมอง

เพื่อเป็นการสนองพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการนำผู้ที่เกษียณอายุแล้วแต่ยังมีความรู้ ความสามารถมาช่วยงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ ดังนั้นธนาคารสมองจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า "วุฒิอาสาธนาคารสมองเป็นคลังปัญญาของประเทศ ที่พร้อมอาสาร่วมพัฒนาสังคมและประเทศชาติในลักษณะการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ในอันที่จะสร้างความอยู่ดีมีสุขแก่ประชาชน โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตน แต่มุ่งถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันเป็นการสนองพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการจัดตั้งธนาคารสมอง" ดังนั้นเพื่อให้วุฒิอาสาธนาคารสมองได้นำความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญมาช่วยงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในการพัฒนาอย่างกว้างขวาง และเพื่อสนับสนุนให้ธนาคารสมองสามารถทำหน้าที่เป็นคลังปัญญาของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารสมองจึงได้กำหนดบทบาทและภารกิจการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้สใน 4 ประการ คือ
1. การให้ความช่วยเหลือทั้งในลักษณะเชิงรับและเชิงรุก
การให้ความช่วยเหลือในลักษณะเชิงรับเป็นการให้ความช่วยเหลือตามคำขอของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ส่วนการให้ความช่วยเหลือในลักษณะเชิงรุก เป็นการให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยการริเริ่มจากกลุ่มวุฒิอาสา ซึ่งเป็นการผนึกกำลังร่วมกันของวุฒิอาสา หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. การนำปัญญาความรู้ของวุฒิอาสามาร่วมพัฒนาอย่างกว้างขวาง
ธนาคารสมองได้กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานเชิงรุก โดยการเจาะกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยตรง เพื่อกระตุ้นความสนใจให้มาใช้บริการจากธนาคารสมองมากขึ้น โดยการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานต่าง ๆ ของธนาคารสมอง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ได้แก่
++ กลุ่มหน่วยงานในระดับพื้นที่ อันประกอบด้วยหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากธนาคารสมองมีวุฒิอาสากระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศและมีการสร้างเครือข่ายการทำงานของวุฒิอาสาทั่วทุกจังหวัด ดังนั้นวุฒิอาสาธนาคารสมองสามารถให้ความช่วยเหลือในการเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำต่าง ๆ ในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มหน่วยงานในระดับพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยธนาคารสมองได้จัดส่งทำเนียบวุฒิอาสาธนาคารสมอง ซึ่งแยกตามประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และตามภูมิลำเนาของวุฒิอาสาให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ตลอดจนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพื่อให้ทราบถึงบริการของธนาคารสมอง
++ กลุ่มหน่วยงานระดับกระทรวง เนื่องจากธนาคารสมองมีผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ ที่มีประสบการณ์ในงานระดับชาติมากมาย ซึ่งสามารถจะช่วยสนับสนุนภารกิจที่หลากหลายของกระทรวงและกรมต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ธนาคารสมองได้เชิญปลัดกระทรวงต่าง ๆ รวมทั้งปลัดกรุงเทพมหานครมาร่วมหารือ เพื่อกำหนดลักษณะงานที่แต่ละกระทรวงต้องการให้วุฒิอาสาเข้าไปให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งได้จัดทำหนังสือถึงหน่วยงาน เพื่อกระตุ้นให้มีการนำวุฒิอาสาไปสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานเป็นประจำทุกปี
++ กลุ่มงานของ สศช. ภารกิจที่สำคัญของ สศช. คือ การผลักดันให้วาระแห่งชาติ อันได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทุนทางสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ มากมาย

3. การมุ่งเผยแพร่องค์ความรู้และประสบการณ์ของวุฒิอาสา
ธนาคารสมองได้ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์จัดทำโครงการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และประสบการณ์ของวุฒิอาสาธนาคารสมอง โดยจัดรายการวิทยุชื่อ "ธนาคารสมองของคนไทย" ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารสมองได้รวบรวมรายการที่ออกอากาศแล้ว จำนวน 364 ตอน จัดทำเป็นหนังสือ "ธนาคารสมองของคนไทย" จำนวน 2 ชุด เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ และสาธารณชนอย่างกว้างขวางต่อไป นอกจากนี้ ธนาคารสมองยังได้เชิญชวนวุฒิอาสาร่วมเขียนบทความที่น่าสนใจจากความรู้และประสบการณ์ของวุฒิอาสา เพื่อนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ของธนาคารสมอง


4. การสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน
ธนาคารสมองได้มีการจัดระดมสมองวุฒิอาสาในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และระดมความคิดเห็นในการกำหนดแนวทางการดำเนินการเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ และมีการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับส่วนราชการ ทั้งในระดับกระทรวง ระดับกรม และในระดับพื้นที่ ตลอดจนทำงานเชื่อมโยงกับมูลนิธิ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ต่าง ๆ ที่ทำงานเชิงอาสาสมัคร




องค์กรและกลไกการทำงานของธนาคารสมอง

พื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการธนาคารสมองบรรลุวัตถุประสงค์และ เป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการธนาคารสมองขึ้นในคำสั่งที่ 6/2549 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2549
เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบในคณะอนุกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง และเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการธนาคารสมองชุดใหม่ขึ้นในคำสั่งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมี ฯพณฯ พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ องคมนตรี เป็นประธานที่ปรึกษา นายสุเมธ ตันติเวชกุล และนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นที่ปรึกษา และนายกิติศักดิ์ สินธุวนิช เป็นประธานอนุกรรมการ
ทั้งนี้คณะอนุกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้


1) วางกรอบทิศทางนโยบายและกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานธนาคารสมองเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้วุฒิอาสาธนาคารสมองได้นำความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ มาร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2) ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อการดำเนินมาตรการ แผนงานเชิงรุกที่สามารถเชื่อมโยงบทบาทวุฒิอาสาธนาคารสมองมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ตลอดจนผลักดันเสริมสร้างเครือข่ายวุฒิอาสาธนาคารสมองให้เกิดการทำงานที่เชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายด้านต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ชุมชน

3) กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานธนาคารสมอง และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพงานธนาคารสมอง

4) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการในเรื่องที่คณะอนุกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง มอบหมาย


5) รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทราบเป็นระยะ

6) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย



นอกจากนี้ สศช. ได้มีการกำหนดโครงสร้างองค์กร โดยการจัดตั้ง "กลุ่มงานประสานและอำนวยการธนาคารสมอง" ซึ่งเป็นกลุ่มภารกิจเฉพาะที่รับผิดชอบงานธนาคารสมอง โดยมีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

1) เป็นหน่วยทะเบียนกลางธนาคารสมองในการรวบรวมข้อมูลผู้ที่เกษียณอายุแล้วจากภาครัฐและเอกชนที่มีความพร้อมจะอาสาทำงานเพื่อประเทศโดยไม่หวังผลตอบแทนทางธุรกิจ โดยจัดทำบัญชีหรือทำเนียบผู้ทรงคุณวุฒิจำแนกตามประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนความสนใจที่จะให้ความช่วยเหลือในสาขาพัฒนาต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาค รวมทั้งปรับปรุงทะเบียนข้อมูลวุฒิอาสาให้เป็นปัจจุบันทุก ๆ ปี
2) ประสานเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้วุฒิอาสาได้ทำงานสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรหรือชุมชนต่าง ๆ
3) ศึกษา วิเคราะห์เพื่อกำหนดกลยุทธ์การทำงาน เพื่อให้วุฒิอาสาได้นำความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญมาช่วยงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในการพัฒนาประเทศอย่างกว้างขวางและเกิดประโยชน์สูงสุด
4) เป็นตัวกลางประสานให้ฝ่ายที่ขอรับความช่วยเหลือได้พบและทำความตกลงในรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทำงานกับวุฒิอาสา ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
5) ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานของวุฒิอาสา เพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งธนาคารสมอง
6) ประสานการจัดประชุมหารือระดมความคิดเห็นของวุฒิอาสากลุ่มต่าง ๆ
7) ประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของวุฒิอาสาให้เป็นที่รุ้จักแพร่หลาย และสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นความสนใจของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ให้มาใช้บริการจากธนาคารสมองเพิ่มขึ้น
8) เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง



จากแนวทางการดำเนินงานของธนาคารสมองที่มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งในระดับกระทรวง ระดับกรม และในระดับพื้นที่ ตลอดจนทำงานประสานเชื่อมโยงกับมูลนิธิ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ต่าง ๆ ที่ทำงานเชิงอาสาสมัคร ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดกลไกการประสานงานกับธนาคารสมองดังนี้
1) ระดับกระทรวง กรม โดยแต่ละกระทรวงจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเครือข่ายธนาคารสมอง โดยมอบหมายให้รองปลัดกระทรวงเป็นประธานและมีผู้แทนจากกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ เพื่อพิจารณาแผนงาน/โครงการ ที่หน่วยงานในสังกัดมีความประสงค์จะให้วุฒิอาสาเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้เครือข่ายระดับกระทรวงสามารถ Online เข้ามาในระบบฐานข้อมูลของธนาคารสมองเพื่อค้นหารายชื่อวุฒิอาสาที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ โดยแต่ละกระทรวงสามารถประสานโดบตรงกับวุฒิอาสาหรือให้ธนาคารสมองเป็นผู้ประสานกับวุฒิอาสา
2) ระดับพื้นที่ เนื่องจากในขณะนี้ได้มีการสร้างเครือข่ายการทำงานของวุฒิอาสาในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ ประกอบกับ สศช. มีสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละภูมิภาคที่จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา ดังนั้นเพื่อให้วุฒิอาสาสามารถนำความรู้และประสบการณ์เข้าไปช่วยสนับสนุนภารกิจที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับจังหวัดต่าง ๆ โดยจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดขึ้น มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานและมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และวุฒิอาสาธนาคารสมองร่วมเป็นกรรมการ โดยมีสำนักงานจังหวัดและสำนักพัฒนาภาคฯ ของ สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม เพื่อพิจารณาแผนงาน/โครงการทั้งในลักษณะเชิงรับและเชิงรุกที่จะนำความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของวุฒิอาสามาร่วมเป็นพลังในการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเครือข่ายในระดับจังหวัดสามารถเข้ามาในระบบฐานข้อมูลของธนาคารสมอง จึงสามารถค้นหารายชื่อของวุฒิอาสาและประสานงานกับวุฒิอาสาได้เช่นเดียวกับในระดับกระทรวง ทั้งนี้สำนักงานจังหวัดจะให้ความอนุเคราะห์สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของวุฒิอาสาธนาคารสมอง อาทิ สถานที่ประชุมและเจ้าหน้าที่ธุรการ โดยธนาคารสมองจะร่วมสนับสนุนค่าตอบแทนใช้สอยที่จำเป็น อาทิ ค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจของวุฒิอาสาในพื้นที่ต่าง ๆ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าทำงานล่วงเวลาของเจ้าหน้าที่ธุรการ เป็นต้น




การให้บริการของธนาคารสมอง

ธนาคารสมองให้บริการอะไร
การให้บริการของธนาคารสมองเป็นลักษณะการให้ความช่วยเหลือ เพื่อเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำทั้งทางด้านวิชาการและด้านการบริหารงาน แก่หน่วยงานผู้ขอความช่วยเหลือ โดยการจัดการสาธิต ฝึกอบรม ติดตามดูงาน เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานหรือให้คำแนะนำเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ธนาคารสมองได้ให้บริการในการเสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นกลาง ไม่มีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลในประเด็นนโยบายต่างๆ ตลอดจนเป็นวิทยากรหรือบรรยายพิเศษ เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ประสบการณ์จากวุฒิอาสาสู่คนรุ่นใหม่

ธนาคารสมองให้บริการแก่ใคร
หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาคราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ตลอดจนมูลนิธิ องค์กร ชุมชนต่าง ๆ ภาคประชาชนและภาคีการพัฒนาต่าง ๆ สามารถขอความช่วยเหลือจากธนาคารสมองหรือวุฒิอาสาธนาคารสมอง
ธนาคารสมองให้บริการอย่างไร
+++ การให้บริการผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต (Internet)
1) เนื่องจากขณะนี้ธนาคารสมองได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลวุฒิอาสาทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยแยกตามประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ถึง 21 สาขาพัฒนา และได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวผ่านทางระบบเครือข่าย Internet ซึ่งฐานข้อมูลนี้ใช้ระบบการค้นหาคำสำคัญ (Keyword) ทำให้สามารถสืบหาผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ได้ตรงตามความต้องการอย่างรวดเร็ว
2) ดังนั้นหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ และภาคประชาชน ที่ประสงค์จะขอความช่วยเหลือจากวุฒิอาสาธนาคารสมองเพื่อเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ จัดการสาธิต ฝึกอบรม ตลอดจนเป็นวิทยากรบรรยายเผยแพร่ความรู้ประสบการณ์แก่หน่วยงานต่าง ๆ สามารถค้นหาผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ตามความต้องการผ่านทางระบบเครือข่าย Internet ของสศช. (www.nesdb.go.th) และสามารถประสานโดยตรงกับวุฒิอาสาหรือแจ้งธนาคารสมองเพื่อประสานกับวุฒิอาสาต่อไป

+++ การให้บริการผ่านธนาคารสมอง
1) ในกรณีที่หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ไม่สะดวกที่จะสืบค้นวุฒิอาสาจากฐานข้อมูลของ สศช. สามารถกรอกแบบฟอร์มขอรับความช่วยเหลือจากธนาคารสมอง โดยระบุปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ตลอดจนลักษณะความช่วยเหลือที่ต้องการ ทั้งนี้อาจระบุคณสมบัติของวุฒิอาสาที่ต้องการหรือระบุชื่อวุฒิอาสาที่ต้องการและส่งแบบฟอร์มดังกล่าวมายังธนาคารสมองหรือเครือข่ายต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนกลาง:
--- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
962 ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 หรือ ตู้ ปณ. 49 ปทฝ. หลานหลวง กรุงเทพฯ 10102 วงเล็บมุมซอง "ธนาคารสมอง" หรือ โทร. 0-2282-9967, 0-2280-4085 ต่อ 2404, 2413 โทรสาร 0-2281-6127 หรือ E-mail address: brainbank@nesdb.go.th
--- คณะกรรมการประสานงานเครือข่ายระดับกระทรวง
ส่วนภูมิภาค:
--- สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามภูมิภาคต่าง ๆ ของ สศช, ได้แก่
- สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง
ตั้งอยู่ที่ 88/38 หมู่ 4 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 0-2526-7074-6 โทรสาร 0-2526-2467,0-2526-7052 E-mail address: ceso@nesdb.go.th

- สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ
ตั้งอยู่ที่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร. 0-5311-2689-92 เบอร์มหาดไทย 0-2281-1466 ต่อ 25591 โทรสาร 0-5311-2693 E-mail address: neso@nesdb.go.th
- สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตั้งอยู่ที่ ศาลากลาง จังหวัดขอนแก่น ชั้น 5 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 โทร. 0-4323-5595-6, 0-4323-6784 เบอร์มหาดไทย 0-2281-1466 ต่อ 40491 โทรสาร 0-4324-9912 E-mail address: seso@nesdb.go.th
- สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้
ตั้งอยู่ที่ 170/8 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 โทร. 0-7431-2702 เบอร์มหาดไทย 0-2281-1466 ต่อ 73491 โทรสาร 0-7431-1594 E-mail address: seso@nesdb.go.th
- สำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด

2. ธนาคารสมองมีขั้นตอนการพิจารณาให้ความช่วยเหลือดังนี้
กรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือระบุวุฒิอาสาที่ต้องการ
- ธนาคารสมองจะประสานงานกับวุฒิอาสาให้ทราบถึงความต้องการของผู้ขอรับความช่วยเหลือ หากวุฒิอาสาไม่ขัดข้องธนาคารสมองจะได้แจ้งผู้ขอรับความช่วยเหลือเพื่อประสานโดยตรงกับวุฒิอาสา หากวุฒิอาสาไม่สะดวกที่จะรับงานดังกล่าว ธนาคารสมองจะดำเนินการคัดเลือกวุฒิอาสาท่านอื่นให้ตรงตามความต้องการของผู้ขอรับความช่วยเหลือต่อไป
กรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือระบุประเด็นปัญหาแต่ไม่ระบุวุฒิอาสา
- ธนาคารสมองจะพิจารณาวุฒิอาสาที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญสอดคล้องกับประเด็นปัญหาหรือความต้องการของผู้ขอรับความช่วยเหลือ ซึ่งอาจเป็นวุฒิอาสา 1 ท่านหรืออาจเป็นทีมงานวุฒิอาสาที่มีประสบการณ์หลากหลายขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของประเด็นปัญหา ทั้งนี้จะพิจารณาจากวุฒิอาสาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ของผู้ขอรับความช่วยเหลือก่อนเป็นอันดับแรก หากไม่มีวุฒิอาสาในพื้นที่ธนาคารสมองจะพิจารณาวุฒิอาสาที่มีภูมิลำเนาในที่อื่น
- ธนาคารสมองจะเป็นตัวกลางประสานให้ฝายที่ขอรับความช่วยเหลือมาพบปะหารือกับทีมงานวุฒิอาสาเพื่อทำความรู้จักและให้ข้อมูลรายละเอียดของประเด็นปัญหา ตลอดจนการลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงก่อนกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือต่อไป ส่วนกรณีที่ปัญหาไม่มีความซับซ้อน ธนาคารสมองอาจเลือกวุฒิอาสาเพียงท่านเดียวเพื่อให้ความช่วยเหลือโดยธนาคารสมองจะเป็นผู้ประสานงานและทาบทามวุฒิอาสาเหมือนเช่นกรณีแรก
ทั้งนี้หากไม่สามารถหาวุฒิอาสาได้ตรงตามความต้องการของผู้ขอรับความช่วยเหลือ ธนาคารสมองจะประสานเครือข่ายต่าง ๆ ที่ทำงานด้านอาสาสมัครเพื่อค้นหาผู้ทรงคุณวุฒิให้สอดคล้องกับความต้องการหรืออาจทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิที่เหมาะสมเพือให้ความช่วยเหลือต่อไป







ขอบคุณที่มา   ::    http://brainbank.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=128
ติดตามเราได้ที่   ::   https://www.facebook.com/prapasara.blog







13 สิงหาคม 2557

วิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์

วิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์






คำว่า “วิทยานิพนธ์”นั้นในภาษาอังกฤษมีคำที่ใช้อยู่สองคำ คือคำว่า “Thesis” ใช้กับวิทยานิพนธ์ปริญญาโท และ 
Dissertation” ใช้กับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก (Glatthorn & Joyner 2005) โดยทั่วไปแล้วกระบวนการเขียนจะคล้ายกัน ความแตกต่างที่สำคัญจะอยู่ที่ขอบเขตและความซับซ้อนของงานเท่านั้น (Glatthorn & Joyner 2005) แนวคิดนี้เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาแต่ในอังกฤษมักจะใช้คำว่า “Thesis”เหมือนกันทั้งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับในภาษาไทยในปัจจุบันนี้วิทยานิพนธ์ใช้กับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทส่วนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกนั้นใช้คำว่า  “ดุษฎีนิพนธ์” ในที่นี้จะใช้คำว่า  “ดุษฎีนิพนธ์”  หรือ  ”วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก”โดยถือว่ามีความหมายเดียวกัน



ผลผลิตสุดท้ายของการเรียนปริญญาเอกก็คือดุษฎีนิพนธ์ (Phillips & Pugh 1994) การเขียนดุษฎีนิพนธ์จึงเป็นหัวใจของการเรียนปริญญาเอก และเนื่องจากว่าการเรียนปริญญาเอกเป็นการผลิตนักวิจัยมืออาชีพ ซึ่งได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกชุมชนวิชาการระดับโลก (Phillips & Pugh 1994) ดุษฎีนิพนธ์จึงต้องได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของนานาชาติด้วย เพื่อให้เป็นที่แน่ใจได้ว่ามหาวิทยาลัยได้ทำการผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของชุมชนวิชาการระหว่างประเทศ โดยปกติทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพดุษฎีนิพนธ์เอาไว้เป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบตั้งแต่ต้น และถือปฏิบัติในการทำดุษฎีนิพนธ์ของตน และมอบให้คณะกรรมการหรือผู้ทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกใช้เป็นแนวทางในการตรวจพิจารณาตัดสินขั้นสุดท้ายในการสอบดุษฎีนิพนธ์

                             

วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต (Dissertation)


 ผู้วิจัยได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีวิธีการกระทำที่ถูกต้องและลึกซึ้งตามหลักวิชาการ และมีข้อมูลซึ่งบ่งชัดเจนถึงสิ่งที่ได้ ค้นพบใหม่ ซึ่งอาจจะนำไปใช้ในการสร้างทฤษฎีใหม่ หรือนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้


วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (Thesis)


 ผู้วิจัยได้ทำการทดลองค้นคว้าและทำการวิจัยมาอย่างดีพอสมควร ได้ข้อมูลที่อาจจะเป็นข้อมูลเพิ่มเติมหรือที่ได้ค้นพบใหม่ แต่ข้อมูลนั้น อาจจะยังต้องมีการทำวิจัยเพิ่มขึ้นอีกเพื่อยืนยันความถูกต้องแน่นอน


สารนิพนธ์ (Thematic Paper)


 ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าอิสระที่กำหนด สำหรับผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรระดับมหาบัณฑิต แผน ข คือ รายงานขนาดยาวเกี่ยวกับ ข้อมูลต่างๆ ซึ่งได้มาจากการอ่าน รวบรวม และการวิเคราะห์ของผู้เขียน ข้อมูลเหล่านั้นได้มาจากผลงานของผู้อื่น ผู้เขียนไม่ได้ลงมือทำการวิจัยเอง แต่ได้สรุปผลของ ความคิดเห็นไว้เป็นเรื่องเดียวกัน



วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ภาคนิ
พนธ์สารนิพนธ์


วิทยานิพนธ์ และปริญญานิพนธ์ หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่นําเสนออย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานจากการค้นคว้าและวิจัย เป็นข้อกําหนดอย่างหนึ่งในการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รูปแบบของวิทยานิพนธ์เป็นไปตามข้อกําหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า thesis.

ภาคนิพนธ์ และสารนิพนธ์ กล่าวโดยรวมหมายถึง งานที่ต้องศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจารณ์ เพิ่มเติม โดยการใช้หลักและทฤษฎีศึกษา รวมถึงการเขียนในบริบทต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาในวิชานั้น ๆ แล้ว สรุปผลเรียบเรียงเป็นรายงานในวิชาที่เรียนประจําภาคน้ัน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า term paper.

ภาคนิพนธ์ เป็นคําเรียกรายงานผลการศึกษาค้นคว้าในวิชาการสาขาใดสาขาหนึ่งของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาที่เขียนเป็นรายงานทางวิชาการ เพื่อฝึกฝนความสามารถในการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ ผู้สอนวิชาน้ันเป็นที่ปรึกษา ทําให้มีความสามารถในการเขียนงานวิชาการ. ภาคนิพนธ์มักใช้เป็นส่วนประกอบ ในการวัดผลร่วมกับการสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า. ภาคนิพนธ์ทําให้ผู้สอนประเมินผู้เรียนได้ว่า มีความสามารถในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองต่อไปได้หรือไม่ และผู้เรียนมีความสามารถในการประมวล ความรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เนื้อหา รวมทั้งมีความสามารถในการเขียนบรรยายมากน้อยเพียงใดด้วย

สารนิพนธ์ เป็นคําเรียกรายงานผลการศึกษาค้นคว้าในสาขาวิชาการสาขาใดสาขาหนึ่งของ นักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท เพื่อฝึกฝนให้มีความสามารถในการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ ผู้สอนเป็นที่ปรึกษา. วิชาที่เรียนเรียกว่า Individual Study ในภาษาไทยใช้ว่า การศึกษาเฉพาะบุคคล หรือ การศึกษาเอกเทศ. รายงานผลการศึกษาน้ันต้องเขียนเป็นเอกสารเสนอต่ออาจารย์ผู้สอน

สารนิพนธ์เป็นการประมวลความรู้จากผู้อื่น หรือความรู้ที่ได้ใหม่ หรือเป็นผลการศึกษาเฉพาะ ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหน่ึงของวิชา ผลการศึกษาของสารนิพนธ์อาจนําไปใช้เป็นส่วนหนึ่ง ของวิทยานิพนธ์ก็ได้



ที่มา ::  http://board.eduzones.com/question.php?qid=20110310133554gHfRbh8
            http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/ThesisWriting2009/different_th.html





ติดตามเราได้ที่   ::   https://www.facebook.com/prapasara.blog


09 สิงหาคม 2557

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  หมายถึง







                เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นนักเรียนที่มีมองเห็นความบกพร่องได้ไม่ชัดเจน ซึ่งจะแตกต่างไปจากนักเรียนที่ความบกพร่องประเภทอื่น ๆ เช่น นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย เป็นต้น จึงทำให้นักเรียนเหล่านี้ไม่ได้รับการช่วยเหลือมากนัก นักจิตวิทยาและนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า “ความบกพร่องทางการเรียนรู้” ไว้อย่างสอดคล้องกัน เช่น กุลยา ก่อสุวรรณ (2553: 33 – 34) ได้ให้ความหมายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง ความผิดปกติของกระบวนการทางจิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจ การใช้ภาษา การพูด หรือการเขียนอย่างน้อยหนึ่งด้าน ซึ่งเห็นได้จากปัญหาด้านการฟัง การคิด การพูด การอ่าน การเขียน การสะกด หรือการคิดหาคำตอบทางคณิตศาสตร์ แต่ที่นี้ไม่รวมถึงนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียนที่เกิดจากความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว ความบกพร่องทางสติปัญญา ปัญหาทางอารมณ์ หรือขาดการกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ส่วนในงานวิจัยของดารณี ศักดิ์ศิริผล (2549: 20 – 21) ที่ได้พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางการเรียนรู้ ได้ให้ความหมายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางเรียนรู้ว่า หมายถึง เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องของขบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ หรือเกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม ทำให้นักเรียนมีปัญหายุ่งยากในการดำเนินชีวิตประจำวัน การแสดงออกทางพฤติกรรม การรับรู้ทางสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ซึ่งมีผลโยงไปถึงการมีปัญหาในการใช้ภาษา ทั้งด้านการฟัง การอ่าน การพูด การเขียน และการสะกาดคำ หรือการคำนวณ ตลอดจนปัญหาในเรื่องของการเคลื่อนไหว การรับรู้อารมณ์พฤติกรรม โดยไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางสติปัญญา ความบกพร่องทางประสาทสัมผัสปัญหาทางพฤติกรรม ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อการเรียนของนักเรียน ทำให้นักเรียนไม่ประสบผลสำเร็จทางการเรียนหนังสือ โดยวิธีเดียวกันกับนักเรียนปกติได้ จำเป็นต้องให้บริการทางการศึกษาที่แตกต่างไปจากนักเรียนปกติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการศึกษาพิเศษ นอกจากนี้ สมทรัพย์ สุขอนันต์ (2547: 1 – 2) ได้ให้ความหมายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง ภาวะบกพร่องในการเรียนรู้เป็นความผิดปกติตั้งแต่หนึ่งด้านขึ้นไปของกระบวนการทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจ การใช้ภาษา การพูด การเขียนของนักเรียน ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวนี้แสดงออก โดยนักเรียนที่มีความสามารถย่อหย่อนในการฟัง การคิด การพูด การอ่าน การเขียน การสะกดคำ และการคำนวณภาวะบกพร่องในการเรียนรู้นี้ ยังนับเนื่องมาถึงความบกพร่องในการรับรู้ (perceptual handicaps) การกระทบกระเทือนทางสมอง (brain injury) การทำงานที่ผิดปกติเล็กน้อยของระบบสมอง (minimal branin dysfunction) ความผิดปกติในการอ่านและการสะกดคำ (dyslexia) ภาวะขาดความสามารถในการเข้าใจถ้อยคำ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการพัฒนาการโดยเฉพาะ (developmental aphasia) ทั้งนี้คำว่า Learning Disabilities ไม่นับรวมไปถึงปัญหาทางการเรียน อันมีสาเหตุสำคัญมาจากความพิการทางสายตา การได้ยิน หรือการควบคุมกล้ามเนื้อ ไม่นับรวมถึงปัญหาทางการเรียน อันมีสาเหตุหลักมาจากการเป็นปัญญาอ่อน (mental retardation) การมีความผิดปกติทางอารมณ์ (emotional disturbance) ตลอดจนการอยู่ในสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม หรือฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่าผู้อื่น
                ในต่างประเทศมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความหมายของความบกพร่องทางการเรียนรู้ดังนี้ คณะกรรมการภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้แห่งชาติ (กุลยา ก่อสุวรรณ. 2553: 34; อ้างอิงจาก The Nation Joint Committee for Learning Disabilities: NJCLD.  1997: 29) ได้ให้คำจำกัดความว่าเป็นกลุ่มของความผิดปกติที่ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน การให้เหตุผล หรือความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งความผิดปกตินี้เกิดเฉพาะบุคคล ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าความผิดปกตินี้เกิดจากการทำงานของระบบประสาทสมองส่วนกลางบกพร่อง ผู้ที่มีภาวะนี้แล้วจะเป็นไปตลอดชีวิต และอาจมีปัญหาด้านการกำกับตนเอง การรับรู้ทางสังคม และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ร่วมด้วยแต่ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เกิดภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้สอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐ (U.S. Office of Education) (ผดุง อารยะวิญญู.  2544: 2 – 3) ซึ่งนิยามไว้ว่า “ความบกพร่องทางการเรียนรู้” หมายถึง ความผิดปกติของกระบวนการทางจิตวิทยา (psychological process) อย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษา การพูด หรือการเขียน ทำให้บุคคลที่มีความผิดปกติดังกล่าวด้อยสามารถในการฟัง การคิด การพูด การอ่าน การเขียน หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ คำนี้มีความหมายรวมไปถึงความบกพร่องทางการรับรู้ การได้รับบาดเจ็บทางสมอง ความบกพร่องในการฟังและพูด (aphasia) ความบกพร่องทางการอ่าน (dyslexia) ด้วย แต่ไม่ครอบคลุมไปถึงผู้ที่มีปัญหาในการเรียนรู้ อันเนื่องมากจากความบกพร่องทางสายตา ความบกพร่องทางการได้ยิน ความบกพร่องทางร่างกาย ความบกพร่องสติปัญญา การด้อยโอกาสทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และสมาคมความบกพร่องทางการเรียนรู้แห่งออสเตรเลีย (The Australian Learning Disability Association (ALDA).  2009: online) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นความหลากหลายของความบกพร่องที่มีผลต่อการรับข้อมูลความเข้าใจ การจัดระบบข้อมูล รวมทั้งการใช้ภาษาทั้งวจนภาษาและอวัจนภาษา ความบกพร่องเหล่านี้เป็นผลมาจากความผิดปกติของกระบวนการทางจิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงการคิดและการใช้เหตุผล

                จากความหมายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง นักเรียนที่มีความผิดปกติในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยา ทำให้นักเรียนมีปัญหาในด้านการใช้ภาษา การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การสะกดคำ และการคิดคำนวณ ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางการเห็นการได้ยินการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือปัญญาอ่อน รวมทั้งความเสียเปรียบทางสภาพแวดล้อม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้บริการทางการศึกษาที่แตกต่างไปจากนักเรียนปกติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการศึกษาพิเศษ






ติดตามเราได้ที่   ::   https://www.facebook.com/prapasara.blog

การสอนซ่อมเสริม

การสอนซ่อมเสริม



             ความหมายของการสอนซ่อมเสริม
การสอนซ่อมเสริมมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะนักเรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคลจึงต้องจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน การสอนซ่อมเสริมเป็นการจัดการเรียนการสอนลักษณะหนึ่ง ซึ่งตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน (ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ. 2550: 99) สอดคล้องกับศรียา นิยมธรรม (2546: 21) ที่กล่าวว่าการสอนซ่อมเสริมเป็นวิธีที่จะช่วยให้เด็กเหล่านี้เอาชนะอุปสรรคและปัญหาต่างๆ แม้ว่าปัญหาบางอย่างไม่มีคำตอบที่ตายตัวได้ผลดี รวดเร็ว และในความเป็น
จริงแล้ว ตัวครูเองก็มีเวลาจำกัดในการช่วยเหลือเด็ก จึงจำเป็นที่ครูต้องใช้หลักหรือวิธีการสอนที่ดีมาพิจารณาร่วมกับการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาแก้ไขตามลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้น นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงการสอนซ่อมเสริม หรือการสอนเพื่อบรรดิการ (Remedial Teaching) ไว้ดังนี้
ไพจิตร นาคแย้ม (2545:17) กล่าวว่า การสอนซ่อมเสริมคือการจัดกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนปกติแก่นักเรียนที่มีความบกพร่องและประสบปัญหาเกี่ยวกับการเรียนโดยมุ่งแก้ไขข้อบกพร่องและเพิ่มประสิทธิผลในการเรียน และในขณะเดียวกันอาจจัดขึ้นเพื่อเป็นการเสริมทักษะการเรียนรู้ใหม่ให้นักเรียนได้พัฒนาอย่างเต็มความสามารถ
ศรียา นิยมธรรม (2546: 21) ได้ให้ความหมายการซ่อมเสริมว่า หมายถึงการสอนเด็กที่ยังพัฒนาด้านการเรียนได้ไม่เต็มความสามารถในการเรียนตามปกติ โดยการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆที่จะมีผลต่อการเรียน ขจัดการเรียนรู้ที่ไม่ถูกวิธี ตลอดจนเสริมทักษะในการเรียนรู้ใหม่ๆการสอนซ่อมเสริมต้องเน้นเด็กเป็นหลัก เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตน
เอเดลแมนและเทย์เลอร์ (Adelman and Taylor. 1993 : 228) ได้กล่าวถึงหลักสูตรซ่อมเสริมที่มีลักษณะแตกต่างจากหลักสูตรปกติทั่วไปที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้
1. ลำดับการนำไปใช้ หลักสูตรซ่อมเสริมจะถูกนำไปใช้เมื่อพบว่าหลักสูตรปกติที่ดีที่สุดแล้วไม่สามารถช่วยเหลือในการเรียนรู้ของเด็กได้
2. ความเพียงพอของบุคลากรและเวลา สิ่งที่แตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งระหว่างหลักสูตรปกติกับหลักสูตรซ่อมเสริมคือ ความเพียงพอของครูในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งหลักสูตรซ่อมเสริมต้องอาศัยอัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียนที่น้อยและที่ดีที่สุด คือการสอนแบบตัวต่อตัว ซึ่งวิธีดังกล่าวทำให้ต้องใช้ครูผู้สอนที่มีจำนวนมากพอกับความต้องการของนักเรียน และครูยังต้องผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มาแล้ว นอกจากนั้นแล้วในเรื่องของระยะเวลาในหลักสูตรซ่อมเสริมยังเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จะต้องใช้เวลาในการจัดการเรียน
การสอนมาก เพื่อจะได้ค้นพบสมรรถภาพที่แท้จริงของนักเรียน การค้นพบจุดแข็งและจุดอ่อนในตัวนักเรียนจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลา ซึ่งจะทำให้ควบคุมปัญหาในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
3. เนื้อหาและผลที่ได้รับหลักสูตรซ่อมเสริมจะมีเนื้อหาที่เน้นการแก้ไขความรู้ ทักษะพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อที่จะลดปัญหาของสิ่งที่บกพร่องเหล่านั้น ทั้งด้านทักษะการเรียนรู้ พฤติกรรม และทัศนคติต่าง ๆ เป็นสำคัญ
4. กระบวนการ กระบวนการในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทั่วไปกับหลักสูตรซ่อมเสริมยังคงมีหลักการเดียวกัน แต่หลักสูตรซ่อมเสริมจะได้ความสำคัญในด้านการนำไปใช้ และลดระดับของสิ่งที่เป็นนามธรรมลง การกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อาจจะต้องใช้สื่อต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมในการเรียนรู้มากขึ้น
5. ทรัพยากร/ค่าใช้จ่าย เนื่องจากหลักสูตรซ่อมเสริมจะต้องใช้บุคลากร เวลา สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงค่อนข้างใช้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าเมื่อเทียบกับหลักสูตรปกติ
6. ผลกระทบทางด้านจิตวิทยา สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักอยู่เสมอก็คือการนำหลักสูตรซ่อมเสริมไปใช้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น หรือหลักสูตรปกติทั่วไปไม่สามารถช่วยเหลือ ในการเรียนรู้ของนักเรียนได้ เพราะลักษณะของการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรซ่อมเสริมย่อมทำให้นักเรียนรู้สึกแตกต่างจากเพื่อนในวัยเดียวกัน นอกจากนั้นยังต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองของนักเรียนด้วย
ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือ ครูพึงระลึกอยู่เสมอว่ามีวิธีการต่างๆอย่างหลากหลายวิธีที่ครูสามารถเลือกมาจัดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อขจัดข้อบกพร่องของนักเรียนได้ ดังจะเสนอแนะไว้เป็นแนวทางบางประการดังนี้ (Ashlock. 1982 : 14-17)
1. กระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการประเมินตนเอง ด้วยการมีส่วนร่วมในกระบวนการวัดและประเมินผล เพื่อหาข้อบกพร่องในการเรียนของตนเอง
2. คำนึงถึงความพร้อมของนักเรียนในแง่ของการมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอดย่อย ก่อนที่จะเรียนรู้ความคิดรวบยอดใหม่ซึ่งซับซ้อนกว่าเดิม
3. ค านึงถึงความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อตนเอง คือ ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกว่าตนเองยังเป็นคนมีคุณค่าและสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองได้
4. การสอนซ่อมเสริมควรพยายามให้เป็นการสอนรายบุคคลให้มากที่สุด แม้ว่าบางครั้งครูจำเป็นต้องสอนซ่อมเสริมเป็นกลุ่ม นักเรียนแต่ละคนก็ต้องได้รับการดูแลแก้ไขเป็นรายบุคคลด้วย
5. สร้างโปรแกรมการสอนซ่อมเสริมบนรากฐานของการวินิจฉัยการเรียน
6. วางแผนการสอนซ่อมเสริมอย่างเป็นลำดับขั้น พยายามให้ง่าย ไม่ซับซ้อน
7. พยายามเลือกวิธีสอนที่แตกต่างไปจากวิธีสอนเดิมที่เคยเรียนไปแล้ว เพราะนักเรียนมักมีความกังวล หรือเกิดความรู้สึกกลัวต่อวิธีการเดิม ซึ่งทำให้ตนไม่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว
8. ใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย เพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ที่กว้างขวางให้กับนักเรียน ซึ่งประสบการณ์ที่หลากหลายเหล่านี้ จะส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
9. สนับสนุนให้นักเรียนได้จัดกระทำกับวัตถุให้มากที่สุด เท่าที่ตนเองเห็นว่าจะช่วยให้เข้าใจบทเรียน ได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นการเสียเวลา
10. เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงออกถึงความเข้าใจด้วยภาษาของตนเอง
11. เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจจากกิจกรรมที่ครูเตรียมไว้ให้ โดยที่กิจกรรมเหล่านั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
12. จัดประสบการณ์เพื่อให้นักเรียนพัฒนาความคิดด้วยความรอบคอบ โดยเริ่มจากประสบการณ์รูปธรรม ไปสู่ประสบการณ์กึ่งรูปธรรมและไปสู่การใช้สัญลักษณ์หรือนามธรรมในที่สุด
13. เน้นการจัดระบบการเรียนรู้โดยนำผลการเรียนรู้ใหม่ไปผสมผสานกับผลการเรียนรู้เดิม ซึ่งจะช่วยให้เกิดผลการเรียนรู้ใหม่ที่มีความหมายต่อตัวนักเรียนดียิ่งขึ้น
14. เน้นทักษะและความสามารถอันเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน เช่น นักเรียนที่คิดคำนวณผิดจะสามารถคิดคำนวณได้แม่นยำขึ้น ถ้ามีความสามารถในการกะประมาณ ซึ่งจะช่วยในการพิจารณาคำตอบว่าน่าจะถูกต้องหรือไม่
15. ให้ความสนใจเรื่องลายมือ เพราะนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่คำนวณผิดพลาด เนื่องมาจากการเขียนตัวเลขที่ไม่ชัดเจน ทำให้ตนเองอ่านตัวเลขผิด จึงคำนวณผิดพลาดไปด้วย
16. การทำแบบฝึกหัดควรให้นักเรียนทำหลังจากที่นักเรียนเข้าใจเรื่องที่เรียนดีแล้ว
17. สร้างแรงจูงใจโดยเลือกกิจกรรมการฝึก ซึ่งเห็นผลได้ทันทีว่าคำตอบของนักเรียนถูกหรือผิด
18. ในเรื่องการฝึกทักษะการคิดคำนวณ ควรฝึกโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆแต่ฝึกบ่อยๆ
19. ฝึกให้นักเรียนสนใจและเอาใจใส่ต่อความก้าวหน้าของตนเอง เช่น ให้นักเรียนบันทึกหรือเก็บแผนภูมิและกราฟแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของตนเองไว้
อาจกล่าวโดยสรุปในด้านความหมายของการสอนซ่อมเสริม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมให้กับนักเรียนที่เรียนอ่อน สามารถพัฒนาปรับปรุงทักษะของตนเองให้ได้ดีขึ้น และจัดการส่งเสริมทักษะให้กับนักเรียนที่มีความสามารถสูงให้ได้พัฒนาทักษะตนเองได้เรียนรู้มากขึ้นเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล การสอนซ่อมเสริมครูควรมีการจัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการสอนที่หลากหลายรูปแบบ ผ่านการเรียนของนักเรียนที่มีหลากหลายช่องทางผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อตอบสนองความสามารถตามศักยภาพของนักเรียนที่แตกต่างกันไปอย่างมีวัตถุประสงค์และต้องมีการวางแผนจึงจะทำให้การสอนซ่อมเสริมสามารถดำเนินไปอย่าง
มีประสิทธิภาพได้



ความสำคัญของการสอนซ่อมเสริม         
การสอนซ่อมเสริม มีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาให้มีประสิทธิภาพทั้งนี้เพราะผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงต้องการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน
           การสอนซ่อมเสริมเป็นการจัดการเรียนการสอนลักษณะหนึ่ง ซึ่งตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน  การจัดการศึกษาควรตั้งอยู่บนพื้นฐานดังต่อไปนี้ (ผดุง อารยะวิญญู 2539 : 17)
1. ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม
2. ผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน และแต่ละคนจะต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวเข้าหากัน และให้ทันโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
3. ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความสามารถอยู่ในตัวมากบ้างน้อยบ้าง การศึกษาจะช่วยให้ความสามารถของผู้เรียนปรากฏเด่นชัดขึ้น
4. ในสังคมมนุษย์นั้นย่อมมีทั้งคนปกติและคนพิการ ในเมื่อเราไม่สามารถแยกคนพิการออกจากสังคมของคนปกติได้ เราก็ไม่ควรแยกให้การศึกษาแก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสเรียนร่วมกับคนปกติเท่าที่สามารถจะทำได้
5. การให้การศึกษาควรมีหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีศักยภาพการเรียนรู้ได้เต็มที่
          ในปัจจุบันมีผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริมมากเพราะเห็นว่าสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนโดยองค์รวม  การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
จากการเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมดังกล่าว นักการศึกษาจึงได้พยายามแสวงหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบต่างๆ ดังจะแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง ดังนี้ (ดวงเดือน อ่อนน่วม  2533 :15)
1. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กสามารถพิเศษ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กที่มีความสามารถเด่นกว่าเด็กปกติ ซึ่งจัดทำในหลากหลายลักษณะ เช่น
    1.1 จัดชั้นเรียนให้เฉพาะเด็กสามารถพิเศษ  การจัดชั้นเรียนแบบนี้เป็นการจัดกลุ่มตามความสามารถ โดยแยกกลุ่มเด็กสามารถพิเศษออกมาจากกลุ่มเด็กปกติ การแยกกลุ่มอาจเป็นแบบเต็มวัน ครึ่งวัน หรือเฉพาะบางเวลา โดยอาจจัดทำหลายครั้งต่อสัปดาห์ หรือเพียงสัปดาห์ละครั้ง
     1.2 โรงเรียนฤดูร้อน เป็นการใช้เวลาว่างช่วงฤดูร้อนส่งเสริมความสามารถทางวิชาการให้แก่เด็กสามารถพิเศษ ซึ่งอาจทำในรูปของการเร่งการเรียน คือเรียนหลักสูตรที่สูงกว่าระดับปกติ หรืออาจเป็นการเสริมหลักสูตรปกติ
2. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กด้อยกว่าปกติ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความด้อยกว่าปกติทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม  ตัวอย่างเช่น              
     2.1 เด็กเรียนช้า (ไอคิว ระหว่าง 80-95)              
     2.2 เด็กปัญญาทึบ (ไอคิว ระหว่าง 60-80)              
     2.3 เด็กที่บกพร่องทางสายตา              
     2.4 เด็กที่บกพร่องทางการฟัง
สำหรับไอคิว เด็กปกติ ประมาณ 90-109
3. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปกติ  หมายถึง การจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนปกติที่อยู่ในชั้นเรียนทั่วไป ตัวอย่างเช่น
     3.1 การแบ่งกลุ่มตามความสามารถ ซึ่งอาจทำโดยแบ่งแยกผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม คือ เก่ง  ปานกลาง และอ่อน โดยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถใกล้เคียงกันเรียนอยู่ห้องเดียวกัน หรืออาจจะเป็นการแบ่งกลุ่มภายในห้องเรียนเดียวกัน
3.2 การสอนตามเอกัตภาพ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนแต่ละคนเรียนก้าวหน้าไปตามความสามารถของตนเอง ตัวอย่างเช่น โปรแกรม IPI (Individually Prescribed Instruction) ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพิตสเบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา  โปรแกรมนี้ประกอบด้วยชุดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณ ซึ่งประกอบด้วยสื่อการสอนหลายประเภท เช่น แบบเรียน แผ่นปลิวสำหรับฝึกทักษะ แบบสอบ  ครูมีหน้าที่บันทึกความก้าวหน้าของผู้เรียนวินิจฉัยการเรียนและกำหนดโปรแกรม  นอกจากนี้ครูอาจสอนเพิ่มเติมเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มย่อยตามความต้องการของผู้เรียน เมื่อสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดก็เรียนเรื่องอื่นต่อไป 
             อย่างไรก็ตามนักการศึกษาได้พยายามแสวงหารูปแบบใหม่
อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น การจัดการเรียนการสอนแบบ IGE (Individually Guided Education) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยWisconsin Research and development Center for Cognitive Learning          กล่าวโดยสรุป การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนสามารถทำกันได้หลายลักษณะ ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ 


ชนิดของการสอนซ่อมเสริม        
ศรียา นิยมธรรม และ ประภัสร  นิยมธรรม ได้กล่าวถึงชนิดของการสอนซ่อมเสริม โดยการจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม มีคำหลักๆ 2 คำ ได้แก่ คำว่า “การสอนซ่อม” และ “การสอนเสริม”  ซึ่งกล่าวไว้มีดังนี้ (2525 : 47) 
                การสอนซ่อม  เป็นการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง  การสอนซ่อมและการวินิจฉัยเป็นของ คู่กัน กล่าวคือ การวินิจฉัยที่มีคุณค่าจะต้องติดตามด้วยการสอนซ่อม เช่นเดียวกับการสอนซ่อมที่มีคุณค่าจะต้องเป็นการสอนซ่อมที่ดำเนินการต่อจากการวินิจฉัย  การสอนซ่อมใดที่ดำเนินไปโดยปราศจากการวินิจฉัย กล่าวคือ สอนไปโดยไม่ทราบข้อบกพร่องของนักเรียนการสอนซ่อมนั้นย่อมไร้จุดหมายที่แน่นอน จึงไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร
การสอนเสริม  หลังจากการเรียนการสอนตามจุดประสงค์แล้ว ครูอาจพบว่ามีผู้เรียนบางคนที่มี
ความสามารถสูง สามรถทำความเข้าใจบทเรียนได้เร็ว ทำแบบฝึกหัดเสร็จก่อนคนอื่น แสดงว่ามีความพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องอื่นได้ ครูจึงควรมีวิธีการสอนเสริม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  เพื่อให้การสอนเสริมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้ (ดวงเดือน อ่อนน่วม 2533 : 135-136)  
1. สิ่งที่ไม่ควรทำ
     1.1 ไม่ควรให้การสอนเสริมเป็นเพียงเพื่อให้ผู้เรียนมีอะไรทำเท่านั้น เพราะจะไม่ช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้สูงขึ้น
     1.2 ไม่ควรให้การสอนเสริมอยู่ในรูปของการให้งานแก่ผู้เรียนมากกว่าเดิม เช่นให้แบบฝึกหัดเพิ่ม เพราะการกระทำนี้นอกจากจะไม่เร้าความสนใจแล้วยังอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเหมือนถูกทำโทษ
                2. สิ่งที่ควรทำ
     2.1 การเสริมการเรียนในแนวกว้างและแนวลึก ซึ่งมีความหมายดังนี้    
2.1.1 การเสริมการเรียนในแนวกว้าง  หมายถึง การขยายขอบเขตของหลักสูตรปกติให้กว้างขึ้น
โดยยังสัมพันธ์หรือต่อเนื่องกับหลักสูตรปกติและอยู่ในวิสัยที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้    
2.1.2 การเสริมการเรียนในแนวลึก  หมายถึง การที่ผู้เรียนศึกษาตามหลักสูตรปกติอย่างลึกซึ้ง
และเข้มข้นขึ้น เช่น ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับสูง  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาและแก้ปัญหาที่ท้าทายความสามารถ เสริมทักษะการคิดระดับสูง เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
     2.2 กิจกรรมควรมีลักษณะต่างๆเหล่านี้ เช่น ท้าทาย เร้าความสนใจสนุก ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาสติปัญญา ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา การคิดอย่างมีเหตุผล
     2.3 ประสบการณ์ที่จัดให้กับผู้เรียนควรมีทั้งแบบทั่วไปและแบบเจาะลึก กล่าวโดยสรุป  ในการสอนซ่อมเสริม ครูควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความสามารถตามศักยภาพของผู้เรียนที่แตกต่างกันอย่างมีวัตถุประสงค์และต้องมีการวางแผน จึงจะทำให้การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ 


ประเภทของผู้เรียนที่ควรรับการสอนซ่อมเสริม
             ผู้ที่ควรได้รับการสอนซ่อมเสริม อาจจำแนกได้เป็น 6 ประเภท คือ (ศรียา นิยมธรรม และ ประภัสร  นิยมธรรม 2525 : 47)
                1. ผู้ที่เรียนช้า  ได้แก่ ผู้ทีที่มีไอคิวระหว่าง 70-90 คนเหล่านี้มีความสามารถจำกัด จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และเรียนรู้ช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ยังขาดทักษะเบื้องต้นต่างๆ ซึ่งทำให้การเรียนยิ่งช้าลงไปอีก เป็นผลให้เด็กเกิดความท้อแท้และมีปัญหาจึงควรได้รับการสอนเสริม 
2. ผู้ทีมีปัญญาเลิศ  ปกติคนกลุ่มนี้จะถูกละเลยเพราะครูคิดว่าเป็นผู้ที่สามารถช่วยตัวเองได้ การสอนตามปกติมักทำให้เกิดความเบื่อหน่าย จึงควรได้รับการสอนซ่อมเสริม เพื่อพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ให้เต็มตามศักยภาพ
3. ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา  ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาการเรียนอันเนื่องมาจากความบกพร่องทางสภาพร่างกาย เช่น หูหนวก ตาบอด ปัญญาอ่อน ฯลฯ เป็นต้น 
4. ผู้ที่มีปัญหาในการเรียนรู้เฉพาะอย่าง   คนเหล่านี้ไม่ใช้ผู้พิการ แต่มีความบกพร่องเกี่ยวกับระบบประสาท มีปัญหาในการเรียนบางเรื่อง เช่น การรับรู้ การฟัง การพูด การอ่าน หรือการเขียนและมักมีช่วงความสนใจสั้น จึงควรได้รับการสอนซ่อมเสริมตามความจำเป็น
5. ผู้ที่มีปัญหาทางพฤติกรรม  ทำให้มีผลการเรียนต่ำกว่าระดับสติปัญญา และขีดความสามารถที่มี ทั้งนี้อันเนื่องมาจากการไม่ตั้งใจเรียน ขาดแรงจูงใจในการเรียน   มีความไม่มั่นคงทางอารมณ์ หรือมีจิตใจแปรปรวนง่าย 
6. ผู้ทีมีประสบการณ์และภูมิหลังจำกัด  ได้แก่ ผู้ที่มาจากครอบครัวซึ่งยึดมั่นในวัฒนธรรมหรือความเชื่อบางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ รวมถึงผู้ที่มาจากครอบครัวที่อยู่ห่างไกลความเจริญ มีปัญหาทางภูมิศาสตร์ เช่น ชาวเขา ชาวเรือ ทำให้ขาดโอกาสที่จะแสวงหาประสบการณ์ ความรู้ อย่างที่บุคคลทั่วไปรู้จักและเรียนรู้ ดังนั้นเมื่อคนเหล่านี้มาเรียนในโรงเรียนปกติจึงต้องการการสอนซ่อมเสริม

การนำความคิดการสอนซ่อมเสริมไปใช้ในชั้นเรียนปกติสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ได้รับการเห็นชอบจากกระทรวงศึกษาธิการ และได้กำหนดให้มีการสอนซ่อมเสริมแก่ผู้เรียน ซึ่งไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาในประเด็นที่ว่า ครูยังมีความเข้าใจไม่ตรงกันและมักมีความเข้าใจผิดกันอยู่ไม่น้อย ทั้งในเรื่องของการจัดประเภทผู้เรียนที่จะเข้ารับบริการสอนซ่อมเสริม  การวินิจฉัยปัญหา ตลอดจนวิธีการสอนซ่อมเสริม  คือ ผู้ที่เรียนช้า  สติปัญญาต่ำ การสอนซ่อมเสริมจึงมุ่งเฉพาะผู้ที่เรียนอ่อน และจุดประสงค์ในการสอนซ่อมเสริมก็เพื่อที่จะให้เรียนทันเพื่อน ทันหลักสูตร และสอบผ่านเท่านั้น  วิธีการสอนก็มักทำโดยการสอนพิเศษ คือ เพิ่มเวลาสอนโดยสอนซ้ำวิธีการเดิม ให้ทำแบบฝึกหัดมากขึ้น ไม่ได้พิจารณาถึงการนำสื่อการสอนที่เหมาะสมมาใช้ ผลก็คือผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย เคร่งเครียดจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และหาทางออกด้วยการเกเร แกล้งเพื่อน หนีโรงเรียน ฯลฯ เป็นต้น (ศรียา นิยมธรรม และ ประภัสร  นิยมธรรม 252549)