ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

14 พฤศจิกายน 2564

วันลอยกระทง 2564 ประวัติวันลอยกระทง ตำนานและความเชื่อวันลอยกระทง

 

วันลอยกระทง 2564 ประวัติวันลอยกระทง ตำนานและความเชื่อวันลอยกระทง




วันลอยกระทง 2564 (Loy Krathong Festival) 

ลอยกระทง เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564

ประเพณีลอยกระทง (Loy Krathong Festival) มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้รวบรวมมาบอกเล่าให้ทราบกันดังต่อไปนี้



ทำไมถึงลอยกระทง

การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา

วัตถุประสงค์ของวันลอยกระทง

นอกจากนี้ ลอยกระทง ก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่ ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย

พระยาอนุมานราชธน ได้สันนิษฐานว่า ต้นเหตุแห่งการลอยกระทง อาจมีมูลฐานเป็นไปได้ว่า การลอยกระทงเป็นคติของชนชาติที่ประกอบกสิกรรม ซึ่งต้องอาศัยน้ำเป็นสำคัญ เมื่อพืชพันธุ์ธัญชาติงอกงามดี และเป็นเวลาที่น้ำเจิ่งนองพอดี ก็ทำกระทงลอยไปตามกระแสน้ำไหล เพื่อขอบคุณแม่คงคา หรือเทพเจ้าที่ประทานน้ำมาให้ความอุดมสมบูรณ์ เหตุนี้ จึงได้ลอยกระทงในฤดูกาลน้ำมาก และเมื่อเสร็จแล้ว จึงเล่นรื่นเริงด้วยความยินดี เท่ากับเป็นการสมโภชการงานที่ได้กระทำว่า ได้ลุล่วงและรอดมาจนเห็นผลแล้ว ท่านว่าการที่ชาวบ้านบอกว่า การลอยกระทงเป็นการขอขมาลาโทษ และขอบคุณต่อแม่คงคา ก็คงมีเค้าในทำนองเดียวกับการที่ชาติต่างๆ แต่ดึกดำบรรพ์ได้แสดงความยินดี ที่พืชผลเก็บเกี่ยวได้ จึงได้นำผลผลิตแรกที่ได้ ไปบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ เพื่อขอบคุณที่บันดาลให้การเพาะปลูกของตนได้ผลดี รวมทั้งเลี้ยงดูผีที่อดอยาก และการเซ่นสรวงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ เสร็จแล้วก็มีการสมโภชเลี้ยงดูกันเอง

ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญแล้ว การวิตกทุกข์ร้อน เรื่องเพาะปลูกว่าจะไม่ได้ผลก็น้อยลงไป แต่ก็ยังทำการบวงสรวง ตามที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี เพียงแต่ต่างก็แก้ให้เข้ากับคติลัทธิทางศาสนาที่ตนนับถือ เช่น มีการทำบุญสุนทานเพิ่มขึ้นในทางพุทธศาสนา เป็นต้น แต่ที่สุด ก็คงเหลือแต่การเล่นสนุกสนานรื่นเริงกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การลอยกระทงจึงมีอยู่ในชาติต่างๆทั่วไป และการที่ไปลอยน้ำ ก็คงเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา ที่มนุษย์โดยธรรมดา มักจะเอาอะไรทิ้งไปในน้ำให้มันลอยไป





ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว 

ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอก ของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่า เป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำ ตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลาย ตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้น ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศพระสนมเอก ก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษ ที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน 

ตำนานและความเชื่อวันลอยกระทง 

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า การลอยกระทง ในแต่ละท้องที่ก็มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่างกัน บางแห่งก็มีตำนานเล่าขานกันต่อๆมา ซึ่งจะยกตัวอย่างบางเรื่องมาให้ทราบ ดังนี้

เรื่องแรก ว่ากันว่าการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง

กล่าวคือก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส (ข้าวกวนหุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ ด้วยแรงสัตยาธิษฐาน และบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล

พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลายและพระยานาค ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม และดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำ เพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำเสมอมา และต่อๆ มาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทง ตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน


ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐาน ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลาย จึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้ จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป ส่วนที่ว่าลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ หลังการจำพรรษา 3 เดือน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดานั้น ก็ด้วยวันดังกล่าว เหล่าทวยเทพและพุทธบริษัท พากันมารับเสด็จนับไม่ถ้วน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา และเป็นวันที่พระพุทธองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์ และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ คนจึงพากันลอยกระทง เพื่อเฉลิมฉลองรับเสด็จพระพุทธเจ้า

สำหรับคติที่ว่า การลอยกระทงตามประทีป เพื่อไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ว่าเป็นเพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาด ลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐาน พระอินทร์จึงนำผอบแก้วมาบรรจุ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ตามประทีป คือ การจุดประทีป หรือจุดไฟในตะเกียง /โคม หรือผาง-ถ้วยดินเผาเล็กๆ) ซึ่งทางเหนือของเรา มักจะมีการปล่อยโคมลอย หรือโคมไฟที่เรียกว่า ว่าวไฟ ขึ้นไปในอากาศเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีด้วย

เรื่องที่สอง ตามตำราพรหมณ์คณาจารย์กล่าวว่า

พิธีลอยประทีปหรือตามประทีปนี้ แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม เป็นประเภทคู่กับลอยกระทง ก่อนจะลอยก็ต้องมีการตามประทีปก่อน ซึ่งตามคัมภีร์โบราณอินเดียเรียกว่า “ทีปาวลี” โดยกำหนดทางโหราศาสตร์ว่า เมื่อพระอาทิตย์ถึงราศีพิจิก พระจันทร์อยู่ราศีพฤกษ์เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลาตามประทีป และเมื่อบูชาไว้ครบกำหนดวันแล้ว ก็เอาโคมไฟนั้นไปลอยน้ำเสีย ต่อมาชาวพุทธเห็นเป็นเรื่องดี จึงแปลงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท และการรับเสด็จพระพุทธเจ้า ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยมักถือเอาเดือน 12 หรือเดือนยี่เป็งเป็นเกณฑ์ (ยี่เป็งคือเดือนสอง ตามการนับทางล้านนา ที่นับเดือนทางจันทรคติ เร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน) 

เรื่องที่สาม เป็นเรื่องของพม่า

เล่าว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระประสงค์จะสร้างเจดีย์ให้ครบ 84,000 องค์ แต่ถูกพระยามารคอยขัดขวางเสมอ พระองค์จึงไปขอให้พระอรหันต์องค์หนึ่ง คือ พระอุปคุตช่วยเหลือ พระอุปคุตจึงไปขอร้องพระยานาคเมืองบาดาลให้ช่วย พระยานาครับปาก และปราบพระยามารจนสำเร็จ พระเจ้าอโศกมหาราช จึงสร้างเจดีย์ได้สำเร็จสมพระประสงค์ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 12 คนทั้งหลายก็จะทำพิธีลอยกระทง เพื่อบูชาคุณพระยานาค เรื่องนี้ บางแห่งก็ว่า พระยานาค ก็คือพระอุปคุตที่อยู่ที่สะดือทะเล และมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงปราบมารได้ และพระอุปคุตนี้ เป็นที่นับถือของชาวพม่า และชาวพายัพของไทยมาก 

เรื่องที่สี่ เกิดจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณในล้านนาว่า

เกิดอหิวาต์ระบาด ที่อาณาจักรหริภุญชัย ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่ไม่ตายจึงอพยพไปอยู่เมืองสะเทิม และหงสาวดีเป็นเวลา 6 ปี บางคนก็มีครอบครัวอยู่ที่นั่น ครั้นเมื่ออหิวาต์ได้สงบลงแล้ว บางส่วนจึงอพยพกลับ และเมื่อถึงวันครบรอบที่ได้อพยพไป ก็ได้จัดธูปเทียนสักการะ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคดังกล่าวใส่ สะเพา ( อ่านว่า “ สะ - เปา หมายถึง สำเภาหรือกระทง ) ล่องตามลำน้ำ เพื่อระลึกถึงญาติที่มีอยู่ในเมืองหงสาวดี ซึ่งการลอยกระทงดังกล่าว จะทำในวันยี่เพง คือ เพ็ญเดือนสิบสอง เรียกกันว่า การลอยโขมด แต่มิได้ทำทั่วไปในล้านนา ส่วนใหญ่เทศกาลยี่เพงนี้ ชาวล้านนาจะมีพิธีตั้งธัมม์หลวง หรือการเทศน์คัมภีร์ขนาดยาวอย่างเทศน์มหาชาติ และมีการจุดประทีปโคมไฟอย่างกว้างขวางมากกว่า (การลอยกระทง ที่ทางโบราณล้านนาเรียกว่า ลอยโขมดนี้ คำว่า “ โขมด อ่านว่า ขะ-โหมด เป็นชื่อผีป่า ชอบออกหากินกลางคืน และมีไฟพะเหนียงเห็นเป็นระยะๆ คล้ายผีกระสือ ดังนั้น จึงเรียกเอาตามลักษณะกระทง ที่จุดเทียนลอยในน้ำ เห็นเงาสะท้อนวับๆ แวมๆ คล้ายผีโขมดว่า ลอยโขมด ดังกล่าว)

เรื่องที่ห้า กล่าวกันว่าในประเทศจีนสมัยก่อน

ทางตอนเหนือ เมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมเสมอ บางปีน้ำท่วมจนชาวบ้านตายนับเป็นแสนๆ และหาศพไม่ได้ก็มี ราษฎรจึงจัดกระทงใส่อาหารลอยน้ำไป เพื่อเซ่นไหว้ผีเหล่านั้นเป็นงานประจำปี ส่วนที่ลอยในตอนกลางคืน ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะต้องการความขรึม และขมุกขมัวให้เห็นขลัง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีๆสางๆ และผีก็ไม่ชอบปรากฏตัวในตอนกลางวัน การจุดเทียนก็เพราะหนทางไปเมืองผีมันมืด จึงต้องจุดให้แสงสว่าง เพื่อให้ผีกลับไปสะดวก ในภาษาจีนเรียกการลอยกระทงว่า ปล่อยโคมน้ำ (ปั่งจุ๊ยเต็ง) ซึ่งตรงกับของไทยว่า ลอยโคม จากเรื่องข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า การลอยกระทง ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความกตัญญู ระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อมนุษย์ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระแม่คงคา และบรรพชน เป็นต้น และแสดงความกตเวที (ตอบแทนคุณ) ด้วยการเคารพบูชาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ โดยเฉพาะการบูชาพระพุทธเจ้า หรือรอยพระพุทธบาท ถือได้ว่าเป็นคติธรรมอย่างหนึ่ง ที่บอกเป็นนัยให้พุทธศาสนิกชน ได้เจริญรอยตามพระบาทของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทั้งปวงนั่นเอง

ประเพณีลอยกระทง นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่า ในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว ประเพณีนี้ยังมีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทำให้ชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญ ก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนา และในหลายๆ แห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย

ขอขอบคุณ :  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม  ,  https://prapasara.blogspot.com/2021/11/2564.html



งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (งานวิจัยต่างประเทศ)

 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

(งานวิจัยต่างประเทศ)





#กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

#งานวิจัยต่างประเทศ


https://online.pubhtml5.com/zdig/fdtf/


https://online.pubhtml5.com/zdig/fdtf/


16 สิงหาคม 2564

ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) คืออะไร?

 Professional Learning Community (PLC) คืออะไร


ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) คืออะไร?






แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)

 

1. ความเป็นมาของชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC)

ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพหรือ Professional Learning Community (PLC) เป็นชุมชนที่ช่วยเติมองค์ความรู้ของบุคคลในกลุ่ม และสร้างความมั่นใจในการทำงาน ให้ประสบผลสำเร็จตามเจตจำนงค์ของการปฏิบัติงาน โดยมีนักวิชาการหลายท่าน กล่าวถึงความเป็นมาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพไว้ ดังนี้

เสถียร อ่วมพรหม (2560) กล่าวว่า เหตุผลที่องค์กรจำเป็นที่ต้องมีการเรียนรู้เนื่องมาจากระดับคุณภาพของการปฏิบัติงานและต้องมีการปรับปรุงงานอยู่เสมอ ต้องอาศัยการเรียนรู้เป็นฐานที่สำคัญยิ่ง ประกอบกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนส่วนใหญ่ยังมีแนวทางสู่ความสำเร็จของตนเอง ตลอดจนแนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติงานก็ยังขาดความชัดเจน ที่สำคัญหัวใจในการปฏิบัติงานนั้น มาจากฐานความเชื่อที่ว่าศักยภาพอันมหาศาลที่ซ่อนอยู่ภายในบุคคลและบุคคลนั้นยังไม่ได้รับการพัฒนา และปฏิบัติกับองค์กรเท่าที่ควร ดังนั้น ด้วยความเชื่อดังกล่าวจึงเชื่อมั่นได้ว่าถ้าบุคคลทั้งหมดในองค์กรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ และได้ใช้ศักยภาพสูงสุดเท่าที่ตนมีเพื่อนในการปฏิบัติงานภายใต้การมีวิสัยทัศน์เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของตัวบุคคล องค์กรที่สอดคล้องกัน สมาชิกแต่ละคนก็จะทุ่มเทและปลดปล่อยศักยภาพที่ตนมีสูงสุดนั้นให้กับงานที่ทำอย่างเต็มที่ในที่สุด

นริศ ภูอาราม (2560) ได้ให้แนวคิดว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ของนักเรียนมากกว่าการสอนของครู มีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. การสร้างความมั่นใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเกิดจากสมมติฐานที่ว่า ภารกิจหลักของการศึกษาในโรงเรียนไม่ได้เพียงนักเรียนได้รับการสอนแต่เป็นการทำให้นักเรียนเกิดการ

2. วัฒนธรรมของการทำงานร่วมกัน การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพนั้นต้องมีโครงสร้างที่ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้สำหรับทุกคน

3. มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพประเมินประสิทธิภาพได้จากผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย การปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

วรลักษณ์ ชูกำเนิด (2557) กล่าวว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพมีแนวคิดมาจากอุปมาให้ “โรงเรียน” เป็น “องค์กร” นั้นคงไม่เหมาะแต่แท้จริงแล้วโรงเรียนมีความเป็น “ชุมชน” มากกว่า ซึ่งองค์กรซึ่งเป็นชุมชนที่มีความแตกต่างกัน และเป็นชุมชนมีความผูกพันร่วมกันของทุกคนที่เป็นสมาชิกแตกต่างจากองค์กร คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่เป็นลักษณะยึดลำดับการลดหลั่นอำนาจกันลงมา

เรวณี ชัยเชาวรัตน์ (2556) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ว่าหมายถึง กระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมกันเพื่อทางานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมกันวางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และตรวจสอบ สะท้อนผลการปฏิบัติทั้งในส่วนบุคคลและผลที่เกิดขึ้นโดยรวม ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์วิจารณ์ การทางานร่วมกัน การร่วมมือรวมพลัง โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม

พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ (2555) ได้ให้ความหมาย ชุมชนการเรียนรู้ ไว้ว่าเป็นชุมชนสายจิตปัญญาศึกษา ที่มองหาคนที่มีความคิดเหมือนกันใช้พื้นที่ (Space) ในการสร้างชุมชนที่รองรับความหลากหลายของปัจเจกบุคคล การสร้างชุมชนทำให้เกิดความภูมิใจที่ได้ทำด้วยตนเอง เป็นเหมือน (Container) ที่ทำให้เติมเต็ม คนที่ฝึกฝนเรื่องนี้ จะมีความโดดเดี่ยวค่อนข้างมาก ไม่เป็นเป้าประสงค์ในการประสบความสำเร็จหรือมีอะไรเหมือนคนอื่น หากเพียงอยากรู้ว่ามีอะไรในตัวเราซึ่งจะนำไปสู่การเกิดคุณค่าที่แท้จริงในตัวเรา (Individuality) เป็นตัวของตัวเรา ชุมชนต้องมีพื้นที่ให้มากเพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้ค้นหาตัวเอง ได้มีแนวทางของตนเองเห็นคุณค่าในตัวเองชุมชนควรมีการเดินทางเป็นที่ตั้ง มีการสนทนา ไม่มีการตัดสินผิดถูก

แสงรุนีย์ มีพร (2563) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง การร่วมมือรวมพลังของครูในการทำ งานเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะต้องพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มุ่งไปสู่ความสำเร็จภายใต้เป้าหมายเดียวกัน โดย การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การร่วมมือรวมพลัง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิก ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ต้องอาศัยความซื่อสัตย์ และมีมนุษยสัมพันธ์ มีทางเลือก และมีความจริงใจ เปิดเผย มีความอดทน ความเพียรพยายาม ความมีประสิทธิภาพ และความกระตือรือร้น ซึ่งครูผู้สอนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพต้องเชื่อเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยเชื่อว่านักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ร่วมกันสะท้อนผลการปฏิบัติการสอน และร่วมกันตัดสินใจเลือกแนวทางที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด ซึ่งกระบวนการที่ใช้ในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพนั้นมีหลายกระบวนการด้วยกัน เป็นต้นว่า การจัดการความรู้ การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน กลุ่มศึกษาทั้งคณะ การชี้แนะ ระบบพี่เลี้ยง และชุมชนแห่งการปฏิบัติ ทั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสนับสนุนส่งเสริมให้ครูผู้สอนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีโอกาสสังเกตการสอน วิพากษ์วิจารณ์ และสะท้อนการปฏิบัติการสอนอย่างต่อเนื่อง จึงจะเกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพได้อย่างสมบูรณ์ อันจะส่งผลให้ครูผู้สอนเกิดการพัฒนาในวิชาชีพครูที่ยั่งยืน

วิจารณ์ พานิช (2554) ได้ให้นิยามของคำว่า ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) หมายถึง การรวมตัวกันของครูในสถานศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้ให้ศิษย์เรียนรู้ได้ทักษะ 21st Century Skills โดยที่ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการ สถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารการศึกษาระดับประเทศ เข้าร่วมจัดระบบสนับสนุน ให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อเนื่อง มีการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของศิษย์อย่างต่อเนื่อง เป็นวงจรไม่รู้จบ หรือ CQI (Continuous Quality Improvement) หรืออาจเรียกว่าเป็น R2ในวงการศึกษาก็ได้

Sergiovanni (1998) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ว่าการเปรียบเทียบให้โรงเรียนเป็นองค์การนั้น น่าจะไม่เหมาะสมและถูกต้องที่เดียวนัก โดยเขาเห็นว่าควรเป็นโรงเรียนเป็นชุมชนจะมีความเหมาะสมมากกว่าโดยเรียกร้องให้เปลี่ยนมุมมองโรงเรียนในฐานะที่เป็นองค์การแบบทางการไปสู่ความเป็นชุมชนแทนความเป็นชุมชนจะยึดโยงภายในต่อกันด้วยค่านิยม แนวคิด และความผูกพันร่วมกันของทุกคนที่เป็นสมาชิก ซึ่งเป็นแนวคิดตรงกันข้ามกับความเป็นองค์การที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในลักษณะที่ยึดตามระดับที่ลดหลั่นกันลงมามีกลไกการควบคุมและมีโครงสร้างแบบตึงตัวที่เต็มไปด้วยกฎระเบียบและวัฒนธรรมของการใช้อำนาจเป็นหลัก ในขณะที่ชุมชนใช้อิทธิพลที่เกิดจากการมีค่านิยมและวัตถุประสงค์ร่วมกัน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเชิงวิชาชีพ มีความเป็นกัลยาณมิตรเชิงวิชาการหรือวิทยสัมพันธ์ต่อกัน และยึดหลักต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้องค์การยังทำให้เกิดคุณลักษณะบางอย่างขึ้น เช่น ลดความเป็นกันเองต่อกันลงมีความเป็นราชการมากขึ้น และถูกควบคุมจากภายนอกให้ต้องรักษาสถานภาพเดิมของหน่วยงานไว้ดังนั้น ถ้ามองโรงเรียนในฐานะแบบองค์การดังกล่าวแล้ว ก็จะทำให้โรงเรียนมีความเป็นแบบทางการที่สร้างความรู้สึกเป็นระหว่างบุคคลมีมากยิ่งขึ้น มีกลไกที่บังคับควบคุมมากมาย และมักมีจุดเน้นในเรื่องที่เป็นงานด้านเทคนิคเป็นหลัก แต่ทางตรงข้ามถ้ายอมรับว่า โรงเรียนมีฐานะแบบที่เป็นชุมชนแล้วบรรยากาศที่ตามมาก็คือ สมาชิกมีการผูกพันต่อกันด้วยวัตถุประสงค์ร่วม มีการสร้างสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดสนิทสนม และเกิดการร่วมสร้างบรรยากาศที่ทุกคนแสดงออกถึงความห่วงหาอาทรต่อกันและช่วยดู และสวัสดิภาพร่วมกันจากแนวคิดและความเป็นมาของนักวิชาการ

มาร์การ์ด และเรย์โนล (Marguardt and Reynolds, 1994) ให้ความหมายว่า เป็นที่ซึ่งมีบรรยากาศของการเรียนรู้รายบุคคลและกลุ่ม มีการสอนคนของตนเองให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อช่วยให้เข้าใจในสรรพสิ่ง ขณะเดียวกันก็ช่วยชุมชนเรียนรู้จากความผิดพลาดและความสำเร็จซึ่งผลทำให้ทุกคนตระหนักในการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          Hord (1997) ได้กล่าวว่า ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) คือ มองในมุมมองเดียวกัน โดยมองการรวมตัวกันดังกล่าว มีนัยแสดงถึงการเป็นผู้นำร่วมกันของ ครู หรือเปิดโอกาสให้ครูเป็น “ประธาน” ในการเปลี่ยนแปลง


กล่าวไว้สรุปได้ว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพหรือ Professional Learning  Community (PLC) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถตามศักยภาพของบุคคลนั้น โดยให้กลุ่มบุคคลเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง และสร้างความเชื่อมั่นหรือความมั่นใจให้กับบุคคลนั้นและต่อมาโรงเรียนในหลาย ๆ ประเทศได้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โดยนำแนวทางการดำเนินชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ดังกล่าว มาประยุกต์ใช้เพื่อหวังให้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ นี้พัฒนาครูให้มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายสู่การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีประสิทธิผล

 


อ่านต่อฉบับเต็มได้ที่...










19 กรกฎาคม 2564

ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

 ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ



2551การศึกษาการจัดนิทรรศการศิลปะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาธิษาเนตร ศรีแก้วณวรรณ
2549การศึกษาการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครจันทิมา ปกครอง
2546การศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครบุษบา มธุรัสสกุล
2560รูปแบบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรู้ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยในพิพิธภัณฑ์ศิลปะปทุมมา บำเพ็ญทาน
2547แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผาโดยการใช้ Discipline-Base Art Education เป็นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสุโขทัยณริศรา พฤกษะวัน, 2519-
2546การศึกษาแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนศิลปศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544กิตติมา เก่งเขตรกิจ
2546การพัฒนาแบบประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ช่วงชั้นที่สองวิทิศา ชื่นอารมณ์, 2518-
2549การศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสาระทัศนศิลป์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะช่วงชั้นที่ 2 ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดลำปางนันทิยา สมสรวย
2553แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การทอผ้าลายตาจัก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรีวรามัย ใจมั่น
2559การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกันสริตา เจือศรีกุล
2545การศึกษาการจัดการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542อัฏฐพล คงพัฒน์
2559การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเรื่อง ผ้าทอไทยทรงดำในบริบทร่วมสมัย ของจังหวัดสุพรรณบุรีกิตติศักดิ์ คนแรงดี
2548การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะด้านทัศนศิลป์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยการใช้ภูมิปัญญาไทยเบญจพร เกียรติกำจรวงศ์
2556การสร้างสรรค์หน่วยเคลื่อนที่ของฐานความรู้นิทรรศการศิลปะมนวิไล โรจนตันติ
2555การศึกษาทัศนะของอาจารย์ ผู้บริหาร และนิสิตเกี่ยวกับการใช้พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ในการเรียนรู้ศิลปะ : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยธมน ศรีขาว
2554สภาพและปัญหาการบูรณาการสันติศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ศิริขวัญ ชิณศรี
2561การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษา โรงละครสยามนิรมิตและพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCAชุติกาญจน์ แจ้งเสนาะ
2550การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ : การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหาทัศวรรณ คำทองสุข
2551การศึกษาการจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษาโดยบูรณาการพุทธธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธ ระดับประถมศึกษา จังหวัดสงขลาชัยวัฒนภัทร เลาสัตย์
2554การวิเคราะห์คุณภาพงานวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครูระดับชำนาญการพิเศษปัทมา จันทร์แก้ว
2553แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสาระทัศนศิลป์ตามแนวพุทธศิลป์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาอัจฉรา หนูใหม่
2558แนวทางการสอนศิลปะไทยที่บูรณาการกับวัฒนธรรมอิสลามสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมัณนาน มามะ
2559แนวทางในการพัฒนาลักษณะทางกายภาพของโรงแรมเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาโรงแรมรติล้านนา ริเวอร์ไซด์ สปา รีสอร์ท และโรงแรมแทมมารีน วิลเลจ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่จุรณิตา เอกภักดิ์สกุล
2559การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวมระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นณัฎฐกาญจน์ อนันทราวัน

ที่มา  ::  Chulalongkorn University



การจัดการพื้นที่ย่านตรอกบ้านจีน อำเภอเมือง จังหวัดตาก เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรม = The Management of Trok Baan Chin, Tak Province for art and cultural learning center / จุฑารัตน์ ขำศิริ / 2557 /Full Text


การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ = Development of creative thinking of prathom suksa 1 students through arts learning activities / สำลี มิ่งเชื้อ / 2550 /Full Text


การพัฒนาสารานุกรมดนตรีออนไลน์ด้วยโปรแกรมมีเดียวิกิสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ = Development of online music encyclopedia using mediaWiki program for arts area of Upper Secondary Education, Dara Academy, Chiang Mai Province / สุวัฒน์ ปุกมณี / 2556 /Full Text


ที่มา  ::   สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

05 กรกฎาคม 2564

ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2 รูปแบบ

 ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2 รูปแบบ





การเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระหวํางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์ที่สํงเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติเรื่องตรรกศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


วราภรณ์ วินทะสมบัติ
2564


การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องลำดับและอนุกรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ


เอกภพ เฟื่องสำรวจ
2562


การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์เรื่องระบบจำนวนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ


ฐิตินันท์ บุญเสริม
2562


การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ


ชัยวัฒน์ ยลรดีโฆษิต
2562


การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


ปชัญญะ ถานันตะ
2562


การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องทศนิยมและเศษส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ


ปวริศา บุญจันทร์
2562


การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและใช้โครงงานเป็นฐาน


ธีรวัฒน์ จันทะโมคา, ว่าที่ ร.ต.
2562



การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เพื่อเสริมทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


สมฤดี แววไทสง
2561



การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค DAPIC เรื่องโจทย์ปัญหาระคนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4


ปัทมาภรณ์ พูลสมบัติ
2560



การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่องเศษส่วนและการประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5


ณัฐฐนิภา ประทุมชาติ
2560


ขอบคุณที่มา  ::    สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม