แบคทีเรีย E. coli (อี. โคไล)
Escherichia coli ("เอสเชอริเชีย โคไล" หรือ "เอเชอรีเกีย โคไล" /ˌɛʃəˈrɪkiə ˈkoʊlaɪ/) หรือเรียกโดยย่อว่า E. coli (อี. โคไล) เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก ได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือ มือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร
บทบาทในการเกิดโรค
การติดเชื้อในทางเดินอาหาร
คุณสมบัติที่ทำให้เกิดโรค
E. coli ในทางเดินอาหารอาจแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ตามคุณสมบัติทางวิทยาภูมิคุ้มกันและคุณสมบัติในการทำให้เกิดโรค การแบ่งชนิดตามคุณสมบัติที่ทำให้เกิดโรคอาจแบ่งได้ดังนี้
- Enterotoxigenic E. coli (ETEC) ที่สร้างสารซึ่งเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้ท้องเสีย
- Enteropthogenic E. coli (EPEC)
- Enteroinvasive E. coli (EIEC) ซึ่งรุกรานเซลล์เยื่อบุลำไส้ คล้ายโรคบิดจากเชื้อชิเกลลา ทำให้มีไข้สูง ท้องเสียรุนแรง
- Enterohemorrhagic E. coli (EHEC) ทำให้มีถ่ายเป็นเลือด เชือในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือเชื้อชนิด O157:H7 นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิด Hemolytic-uremic syndrome และไตวายเฉียบพลันได้
- Enteroaggregative E. coli (EAEC)
อ้างอิง
1. ^ บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.
เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli)
เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) หรือ อี โคไล เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้ทั่วไปในทางเดินอาหารของสัตว์เลือดอุ่นและคน ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคและเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย การปนเปื้อนในอาหารนั้นมักพบทั่วไปในอาหารดิบ หรือปนเปื้อนกับอาหารที่ปรุงสุกแล้วด้ายการใช้มือสัมผัส หรือติดไปกับภาชนะบรรจุ หรืออุปกรณ์ หรือน้ำที่ไม่สะอาด เมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อตัวนี้เข้าไป จะมีอาการท้องเสีย อุจจาระเหลว แต่ไม่มีมูกเลือด การพบเชื้อในอาหารแสดงว่าอาหารมีการปนเปื้อนอุจจาระ และมีการผลิต ปรุง หรือเก็บรักษาอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ
E.coli O157 : H7 จัดอยู่ในกลุ่ม Enterohaemorrhagic Escherichia coli (EHEC) พบในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย และผลิตภัณฑ์ของมัน เช่น เนื้อ นม และปนเปื้อนทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเส้นทางติดต่อจากอุจจาระไปสู่ปาก (fecal to oral) คืออุจจาระปนเปื้อนอาหารนั่นเอง บางครั้งพบการระบาดเกิดจากน้ำ
มีการตรวจพบว่ามีการปนเปื้อน E.coli O157 : H7 ในอาหารทะเลแช่แข็ง เช่น กุ้งดิบ กุ้งสุก ปลาหมึกดิบ และปลาหมึกสุก เป็นต้น
E.coli O157 : H7 จัดอยู่ในกลุ่ม Enterohaemorrhagic Escherichia coli (EHEC) พบในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย และผลิตภัณฑ์ของมัน เช่น เนื้อ นม และปนเปื้อนทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเส้นทางติดต่อจากอุจจาระไปสู่ปาก (fecal to oral) คืออุจจาระปนเปื้อนอาหารนั่นเอง บางครั้งพบการระบาดเกิดจากน้ำ
มีการตรวจพบว่ามีการปนเปื้อน E.coli O157 : H7 ในอาหารทะเลแช่แข็ง เช่น กุ้งดิบ กุ้งสุก ปลาหมึกดิบ และปลาหมึกสุก เป็นต้น
แบคทีเรียชนิดที่มีในร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่จะไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย แต่สำหรับแบคทีเรียที่มีชื่อว่า อีโคไล หรือ Escherichia ซึ่งพบได้ในลำไล้ของมนุษย์และสัตว์ สามารถทำให้เกิดโรคหรืออาการต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และอาการท้องร่วง เป็นต้น แบคทีเรียชนิด อีโคไลจะมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะในมูลสัตว์
หลักจากพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ระบาดในประเทศอังกฤษ วันนี้ Telegraph นำข้อมูลเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดนี้มาให้ได้รู้จักกันเพื่อเป็นการป้องกันและรับมือหากได้รับเชื้อชนิดนี้
เชื้ออีโคไล แพร่สู่คนได้อย่างไร
เชื่อแบคทีเรียอีโคไลจะแพร่สู่คนได้จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ
จำนวนผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
หน่วยงานด้านการป้องกันโรคในประเทศอังกฤษรายงานว่าในปี 2551 มีผู้ได้รับเชื้ออีโคไลและมีอาการป่วยที่เกิดจากการได้รับเชื้อ 950 ราย
หน่วยงานด้านการป้องกันโรคในประเทศอังกฤษรายงานว่าในปี 2551 มีผู้ได้รับเชื้ออีโคไลและมีอาการป่วยที่เกิดจากการได้รับเชื้อ 950 ราย
การระบาดของเชื้ออีโคไล
การแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไลเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษและคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่รับประทานอาหารขณะร่วมพิธีในโบสถ์แห่งหนึ่งในปี 2539-2540
การแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไลเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษและคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่รับประทานอาหารขณะร่วมพิธีในโบสถ์แห่งหนึ่งในปี 2539-2540
อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
จะพบอาการแต่เริ่มท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ
จะพบอาการแต่เริ่มท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ
ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไล
ระยะฟักตัวของเชื้ออยู่ที่ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อยยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
ระยะฟักตัวของเชื้ออยู่ที่ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อยยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
ผู้เสี่ยงได้รับเชื้ออีโคไล
เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่าคนทั่วไป
เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่าคนทั่วไป
การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้ออีโคไล
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น แต่ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มสเตอรอยด์ เช่นยาแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลทำลายไตของผู้รับประทาน นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ขนาดคนเรายังเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงเมฆครึ้มเข้ากับฝนตก แบคทีเรียและยีสต์ก็เช่นเดียวกัน พวกมันเรียนรู้ว่าเหตุการณ์หนึ่งจะนำไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่ง
เอเมอร์ มิทเชลล์ นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ในอิสราเอลและคณะ รายงานผลการศึกษานี้ในวารสารNature โดยกล่าวว่า สำหรับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์การเรียนรู้หลักแห่งเหตุและผลเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง หากเราเห็นเมฆดำเราจะรู้ทันทีว่าฝนกำลังมาพร้อมกับพกร่มติดตัวออกไปด้วย
สิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการศึกษานี้คือ แบคทีเรีย Escherichia coliและยีสต์ที่ใช้ในกระบวนการหมักชื่อว่า Saccharomyces cerevisiaeซึ่งเป็นยีสต์ที่เรานิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหมักบ่ม นักบ่มไวน์จะใช้ยีสต์ตัวนี้เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์มาเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว ส่วน Escherichia coliเป็นแบคทีเรียก่อโรคท้องร่วงที่สามารถท่องไปในระบบทางเดินอาหารของเราได้
ภาพ: แบคทีเรีย Escherichia coliหรือ อีโคไล (นิยมใช้ชื่อย่อ E. coli) แบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์
ภาพ: Saccharomyces cerevisiaeเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เพิ่มจำนวนโดยการแตกหน่อ (budding) (บริเวณลูกศรชี้)
ภาพ: ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมัก ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ เอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์
ในระบบทางเดินอาหารของเรา จะเกิดน้ำตาลแลคโตสขึ้นก่อนน้ำตาลมอลโตส การที่แบคทีเรีย E.coli เดินทางเข้ามาเจอน้ำตาลแลคโตสไม่เพียงแต่เป็นการกระตุ้นยีนที่ช่วยให้ E.coli ย่อยแลคโตสได้เท่านั้นแต่ยังเป็นการกระตุ้นการทำงานของยีนที่ใช้ย่อยมอลโตสอีกด้วย แม้ตอนนี้เจ้า E.coli จะยังไม่พบมอลโตส ทว่าในอนาคตหากมันพบ การย่อยมอลโตสก็จะสามารถเกิดขึ้นได้ทันที
คราวนี้ลองมาดูในขวดไวน์กันบ้าง ในกระบวนการหมักนั้นจะมีความร้อนเกิดขึ้น และผู้ผลิตไวน์หรือยีสต์ที่ว่านี้จะต้องทนความร้อนและสารเคมีที่เกิดจากปฏิริยาออกซิเดชันให้ได้ ขณะที่ขวดไวน์กำลังร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ยีสต์จะเกิดการกระตุ้นยีนที่ช่วยให้พวกมันทนความร้อนและปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดขึ้นได้
เอเมอร์ มิทเชลล์ นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ในอิสราเอลและคณะ รายงานผลการศึกษานี้ในวารสารNature โดยกล่าวว่า สำหรับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์การเรียนรู้หลักแห่งเหตุและผลเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง หากเราเห็นเมฆดำเราจะรู้ทันทีว่าฝนกำลังมาพร้อมกับพกร่มติดตัวออกไปด้วย
สิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการศึกษานี้คือ แบคทีเรีย Escherichia coliและยีสต์ที่ใช้ในกระบวนการหมักชื่อว่า Saccharomyces cerevisiaeซึ่งเป็นยีสต์ที่เรานิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหมักบ่ม นักบ่มไวน์จะใช้ยีสต์ตัวนี้เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์มาเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว ส่วน Escherichia coliเป็นแบคทีเรียก่อโรคท้องร่วงที่สามารถท่องไปในระบบทางเดินอาหารของเราได้
ภาพ: แบคทีเรีย Escherichia coliหรือ อีโคไล (นิยมใช้ชื่อย่อ E. coli) แบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์
ภาพ: Saccharomyces cerevisiaeเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เพิ่มจำนวนโดยการแตกหน่อ (budding) (บริเวณลูกศรชี้)
ภาพ: ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมัก ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ เอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์
ในระบบทางเดินอาหารของเรา จะเกิดน้ำตาลแลคโตสขึ้นก่อนน้ำตาลมอลโตส การที่แบคทีเรีย E.coli เดินทางเข้ามาเจอน้ำตาลแลคโตสไม่เพียงแต่เป็นการกระตุ้นยีนที่ช่วยให้ E.coli ย่อยแลคโตสได้เท่านั้นแต่ยังเป็นการกระตุ้นการทำงานของยีนที่ใช้ย่อยมอลโตสอีกด้วย แม้ตอนนี้เจ้า E.coli จะยังไม่พบมอลโตส ทว่าในอนาคตหากมันพบ การย่อยมอลโตสก็จะสามารถเกิดขึ้นได้ทันที
คราวนี้ลองมาดูในขวดไวน์กันบ้าง ในกระบวนการหมักนั้นจะมีความร้อนเกิดขึ้น และผู้ผลิตไวน์หรือยีสต์ที่ว่านี้จะต้องทนความร้อนและสารเคมีที่เกิดจากปฏิริยาออกซิเดชันให้ได้ ขณะที่ขวดไวน์กำลังร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ยีสต์จะเกิดการกระตุ้นยีนที่ช่วยให้พวกมันทนความร้อนและปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดขึ้นได้
เชื้อแบคทีเรียอีโคไลกลายพันธุ์
การระบาดของเชื้ออีโคไลสร้างความหวาดผวาให้หลายประเทศ โดยเฉพาะรัสเซียที่มีคำสั่งห้ามนำเข้าผักสดจากประเทศในแถบยุโรป 27 ประเทศ และผลการตรวจสอบจากห้องแล็บของเยอรมนีและจีน พบว่าเชื้ออีโคไลที่ระบาดอยู่นี้เป็นสายพันธุ์ที่ร้ายแรง และดื้อยาปฏิชีวนะ อีกทั้งสามารถพัฒนาตัวเองให้ระบาดเป็นวงกว้างได้
เกษตรกรประมาณ 50 คน นำผลไม้และผักซึ่งรวมถึงแตงกวา ไปเททิ้งหน้าสถานกงสุลของเยอรมนีในแคว้นบาเลนเซีย เพื่อแสดงความไม่พอใจที่เยอรมนีกล่าวหาว่าแตงกวาของสเปน เป็นต้นตอการระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล จนทำให้หลายประเทศสั่งระงับการนำเข้าผักสดจากสเปน ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้สัปดาห์ละมากกว่า 200 ล้านยูโรหรือประมาณ 8,600 ล้านบาท และอาจทำให้คนตกงานประมาณ 70,000 คน
ผู้เชี่ยวชาญของเยอรมนี และจีนร่วมกันถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้ออีโคไลที่กำลังระบาด ในเบื้องต้นพบว่าเป็นเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ที่ร้ายแรงมากและดื้อยาปฏิชีวนะ มีความเป็นไปได้ว่าเป็นเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ 0104 ที่พบได้ยาก และเชื้อสายพันธุ์นี้สามารถพัฒนาตัวเองให้ระบาดในวงกว้าง แต่ว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของเชื้อได้
ปัจจุบัน การระบาดได้ขยายวงเพิ่มเป็นสิบประเทศ มีผู้เสียชีวิต 18 คน ในจำนวนนี้อยู่ในเยอรมนี 17 คน ส่วนอีก 1 คนเป็นชาวสวีเดนที่เคยเดินทางไปที่เยอรมนี ส่วนผู้ติดเชื้อมีมากกว่า 2,000 คน ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อในสหรัฐ 3 คนซึ่งเคยเดินทางไปที่เยอรมนี การระบาดซึ่งยังไม่ทราบที่มาทำให้หลายประเทศระงับการนำเข้าผักจากเยอรมนี และสเปนรวมถึงประเทศในแถบยุโรปที่มีการระบาด
ขณะที่รัสเซียถึงขั้นระงับการนำเข้าผักสดจากประเทศในแถบยุโรปทั้งหมด 27 ประเทศ สร้างความไม่พอใจให้สหภาพยุโรปที่ขอให้รัสเซียยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นมาตรการที่ไม่เหมาะสม
ทั้งนี้องค์กรเพื่อสิทธิของผู้บริโภคในรัสเซียออกแถลงการณ์แนะรัฐบาลว่า รัสเซียควรจะยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าผักผลไม้จากยุโรป หลังจากสหภาพยุโรปสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว และต้องกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในอนาคตด้วย
องค์การอนามัยโลกให้คำเตือนเบื้องต้นในการรับประทานผักผลไม้สดว่าควรล้างมือก่อนรับประทานหรือก่อนปรุงอาหาร และระหว่างการทำอาหารไม่ว่าจะเป็นตอนล้าง หรือตอนปรุงจะต้องแยกเนื้อสัตว์ และผักผลไม้ไม่ให้ปนกัน
เกษตรกรประมาณ 50 คน นำผลไม้และผักซึ่งรวมถึงแตงกวา ไปเททิ้งหน้าสถานกงสุลของเยอรมนีในแคว้นบาเลนเซีย เพื่อแสดงความไม่พอใจที่เยอรมนีกล่าวหาว่าแตงกวาของสเปน เป็นต้นตอการระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล จนทำให้หลายประเทศสั่งระงับการนำเข้าผักสดจากสเปน ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้สัปดาห์ละมากกว่า 200 ล้านยูโรหรือประมาณ 8,600 ล้านบาท และอาจทำให้คนตกงานประมาณ 70,000 คน
ผู้เชี่ยวชาญของเยอรมนี และจีนร่วมกันถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้ออีโคไลที่กำลังระบาด ในเบื้องต้นพบว่าเป็นเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ที่ร้ายแรงมากและดื้อยาปฏิชีวนะ มีความเป็นไปได้ว่าเป็นเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ 0104 ที่พบได้ยาก และเชื้อสายพันธุ์นี้สามารถพัฒนาตัวเองให้ระบาดในวงกว้าง แต่ว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของเชื้อได้
ปัจจุบัน การระบาดได้ขยายวงเพิ่มเป็นสิบประเทศ มีผู้เสียชีวิต 18 คน ในจำนวนนี้อยู่ในเยอรมนี 17 คน ส่วนอีก 1 คนเป็นชาวสวีเดนที่เคยเดินทางไปที่เยอรมนี ส่วนผู้ติดเชื้อมีมากกว่า 2,000 คน ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อในสหรัฐ 3 คนซึ่งเคยเดินทางไปที่เยอรมนี การระบาดซึ่งยังไม่ทราบที่มาทำให้หลายประเทศระงับการนำเข้าผักจากเยอรมนี และสเปนรวมถึงประเทศในแถบยุโรปที่มีการระบาด
ขณะที่รัสเซียถึงขั้นระงับการนำเข้าผักสดจากประเทศในแถบยุโรปทั้งหมด 27 ประเทศ สร้างความไม่พอใจให้สหภาพยุโรปที่ขอให้รัสเซียยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นมาตรการที่ไม่เหมาะสม
ทั้งนี้องค์กรเพื่อสิทธิของผู้บริโภคในรัสเซียออกแถลงการณ์แนะรัฐบาลว่า รัสเซียควรจะยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าผักผลไม้จากยุโรป หลังจากสหภาพยุโรปสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว และต้องกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในอนาคตด้วย
องค์การอนามัยโลกให้คำเตือนเบื้องต้นในการรับประทานผักผลไม้สดว่าควรล้างมือก่อนรับประทานหรือก่อนปรุงอาหาร และระหว่างการทำอาหารไม่ว่าจะเป็นตอนล้าง หรือตอนปรุงจะต้องแยกเนื้อสัตว์ และผักผลไม้ไม่ให้ปนกัน
แบคทีเรียชนิดที่มีในร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่จะไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย แต่สำหรับแบคทีเรียที่มีชื่อว่า อีโคไล หรือ Escherichia ซึ่งพบได้ในลำไล้ของมนุษย์และสัตว์ สามารถทำให้เกิดโรคหรืออาการต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และอาการท้องร่วง เป็นต้น แบคทีเรียชนิด อีโคไลจะมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะในมูลสัตว์
หลักจากพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ระบาดในประเทศอังกฤษ วันนี้ Telegraph นำข้อมูลเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดนี้มาให้ได้รู้จักกันเพื่อเป็นการป้องกันและรับมือหากได้รับเชื้อชนิดนี้
เชื้ออีโคไล แพร่สู่คนได้อย่างไร
เชื่อแบคทีเรียอีโคไลจะแพร่สู่คนได้จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ
จำนวนผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
หน่วยงานด้านการป้องกันโรคในประเทศอังกฤษรายงานว่าในปี 2551 มีผู้ได้รับเชื้ออีโคไลและมีอาการป่วยที่เกิดจากการได้รับเชื้อ 950 ราย
การระบาดของเชื้ออีโคไล
การแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไลเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษและคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่รับประทานอาหารขณะร่วมพิธีในโบสถ์แห่งหนึ่งในปี 2539-2540
อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
จะพบอาการแต่เริ่มท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ
ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไล
ระยะฟักตัวของเชื้ออยู่ที่ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อยยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
ผู้เสี่ยงได้รับเชื้ออีโคไล
เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่าคนทั่วไป
การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้ออีโคไล
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น แต่ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มสเตอรอยด์ เช่นยาแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลทำลายไตของผู้รับประทาน นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หลักจากพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ระบาดในประเทศอังกฤษ วันนี้ Telegraph นำข้อมูลเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดนี้มาให้ได้รู้จักกันเพื่อเป็นการป้องกันและรับมือหากได้รับเชื้อชนิดนี้
เชื้ออีโคไล แพร่สู่คนได้อย่างไร
เชื่อแบคทีเรียอีโคไลจะแพร่สู่คนได้จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ
จำนวนผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
หน่วยงานด้านการป้องกันโรคในประเทศอังกฤษรายงานว่าในปี 2551 มีผู้ได้รับเชื้ออีโคไลและมีอาการป่วยที่เกิดจากการได้รับเชื้อ 950 ราย
การระบาดของเชื้ออีโคไล
การแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไลเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษและคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่รับประทานอาหารขณะร่วมพิธีในโบสถ์แห่งหนึ่งในปี 2539-2540
อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
จะพบอาการแต่เริ่มท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ
ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไล
ระยะฟักตัวของเชื้ออยู่ที่ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อยยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
ผู้เสี่ยงได้รับเชื้ออีโคไล
เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่าคนทั่วไป
การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้ออีโคไล
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น แต่ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มสเตอรอยด์ เช่นยาแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลทำลายไตของผู้รับประทาน นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ความรู้ เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
ตอบลบ(Enterohaemorrhagic E.coli O104)
----------------------
ข้อมูลทั่วไป
เชื้อ E.coli เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ส่วนใหญ่ของเชื้อ E.coli จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย มีบางสายพันธุ์ของเชื้อ E.coli เช่น enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) สามารถก่อให้เกิดอาการที่รุนแรง
เชื้อ enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) ทำให้เกิดโรคโดยการสร้างและปล่อยสารพิษชื่อ Shiga toxin ซึ่งสามารถทำลายเม็ดเลือดแดงและไตได้
ตัวอย่างที่สำคัญของเชื้อสายพันธุ์ enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) เช่น สายพันธุ์ E.coli O157:H7 และE.coli serogroup O104 ที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุการระบาดที่เยอรมัน ณ ขณะนี้
การติดต่อ
เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายโดยการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อน เช่น เนื้อสัตว์ดิบหรือปรุงไม่สุก นมที่ไม่ได้ผ่านขบวนการทำลายเชื้อ นอกจากนี้การปนเปื้อนของเชื้อโรคจากอุจจาระ สู่อาหารและน้ำ อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการเตรียมและการปรุงอาหาร เช่น ผิวของห้องครัวหรืออุปกรณ์ปรุงอาหารที่มีการปนเปื้อน
เชื้อจะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิระหว่าง 7 – 50 องศาเซลเซียส และจะถูกทำลายได้โดยความร้อนที่ 70 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
นอกจากนี้เชื้อ EHEC ยังเคยมีรายงานว่าสามารถเพาะเชื้อขึ้นจากบ่อน้ำ เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นเดือน ในแหล่งน้ำ
ระยะฟักตัว - ระหว่าง 3 – 8 วัน เฉลี่ย 3 – 4 วัน
ส่วนใหญ่จะก่อโรคในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ โดยมักจะเป็นการระบาดชนิดประปราย น้อยครั้งที่จะมีการระบาดใหญ่เหมือนกรณีที่เยอรมัน ซึ่งพบว่าผู้ป่วย 86% เกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
อาการ
• อาการของระบบทางเดินอาหารที่รุนแรง (อุจจาระเหลวมักมีเลือดปน หรือมีมูกเลือด)
• มีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีไข้
• ปวดท้อง อาเจียน
• อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต จากไตวาย ซึ่งมักพบกับเด็กเล็ก พบได้ร้อยละ 3 – 7 ของผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าว
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการหายภายใน 10 วัน อัตราการป่วย – ตาย ประมาณร้อยละ 3-5
การป้องกัน
คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป ควรปฏิบัติตน เหมือนกับการป้องกันโรคติดต่อทางอาหารและน้ำอื่นๆ คือ สุก ร้อน สะอาด “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ”
สุก
ปรุงอาหารให้สุกอย่างทั่วถึง ห้ามรับประทานอาหารดิบ หรือ ดิบๆ สุกๆ เนื่องจาก เชื้อจะถูกทำลายได้โดยความร้อนที่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์
ร้อน
• ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกทันที หรือสุกใหม่ๆ
• เก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้วอย่างระมัดระวัง เช่น ข้าวกล่อง อาหารถุง
• กรณีจะนำมารับประทาน ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อนรับประทานอีก
• สำหรับอาหารทารก ต้องนำมารับประทานทันทีหลังปรุงสุก และไม่ควรเก็บไว้ค้างมื้อ
สะอาด
1. เลือกอาหารที่มีขบวนการผลิตที่ปลอดภัย
2. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังรับประทานอาหาร และภายหลังการเข้าส้วม
3. อย่าใช้มือสัมผัสอาหารที่ปรุงสุกแล้วโดยตรง ควรใช้ช้อนกลาง
4. รักษาสิ่งแวดล้อมในครัวให้สะอาด โดยเฉพาะโต๊ะที่ใช้ปรุงอาหาร
5. น้ำดื่ม และน้ำใช้ต้องสะอาด
6. หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนระหว่างอาหารด้วยกัน เพื่อไม่ให้อาหารที่ปรุงสุกแล้วปนเปื้อนกับอาหารดิบ เช่น การใช้มีด เขียง ต้องแยกระหว่างอาหารดิบ และอาหารสุก เป็นต้น
การทำความสะอาดผัก ผลไม้
• เลือกซื้อผัก ผลไม้ที่สะอาด ปลอดสารเคมี และยาฆ่าแมลง
• ล้างผัก และผลไม้ให้สะอาด ก่อนนำมารับประทาน โดยการเด็ดใบ คลี่ใบล้างผ่านน้ำให้สะอาดหลายๆ ครั้ง
คำแนะนำ
สำหรับผู้ปรุงอาหาร ผู้เสิร์ฟอาหาร ผู้ขายอาหาร
• ปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดของวัตถุดิบ และน้ำ ที่นำมาประกอบอาหาร ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรค รวมทั้งการล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
• หากผู้ที่ป่วยเป็นผู้ปรุงอาหาร ผู้เสิร์ฟอาหาร ผู้ขายอาหาร ควรหยุดงานจนกว่าจะหายเป็นปกติ
สำหรับผู้ที่มีอาการดังกล่าว และเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการระบาด ควรพบแพทย์โดยเร็ว
แปลและเรียบเรียงโดย : นายแพทย์พรชนก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
เอกสารอ้างอิง
1. Outbreak of haemolytic uraemic syndrome in Germany
http://www.who.int/csr/don/2011_05_27/en/index.html
2. WHO fact sheet on enterohaemorrhagic E.coli
http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs125/en/
.
แนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วย E.coli ชนิดรุนแรง
ตอบลบ(Enterohemorrhagic E.coli ; EHEC O104)
(ปรับปรุงฉบับวันที่ 6 มิถุนายน 2554)
ผู้ป่วยสงสัย คือ
1. ผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากทวีปยุโรป หรือ คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยด้วยอาการท้องเสียเพิ่งกลับมาจากทวีปยุโรปภายในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนวันเริ่มป่วย ร่วมกับมีอาการต่อไปนี้
• ถ่ายเป็นเลือด หรือมูกเลือด
• ปวดท้อง ถ่ายเหลว ร่วมกับผลการเก็บตัวอย่างอุจาระ (Fresh stool) ส่งตรวจ Stool examination พบเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว มากผิดปกติ
2. ผู้ที่มีอาการ Hemolytic uremic syndrome (HUS) ภายหลังจากอาการท้องเสีย โดยไม่จำเป็นต้องมีประวัติเดินทางไปทวีปยุโรป
นิยามผู้ป่วยสำหรับ HUS
มีอย่างน้อย 2 ใน 3 ของอาการหรืออาการแสดงต่อไปนี้
• ซีดจากภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia)
• มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ (น้อยกว่า 150,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร)
• พบความผิดปกติในการทำงานของไต (Renal dysfunction) ซึ่งได้แก่ มีค่า creatinine เพิ่มขึ้น มีอาการปัสสาวะน้อยผิดปกติ หรือน้อยกว่า 500 ซีซีภายใน 24 ชั่วโมง มีภาวะไตวาย พบไข่ขาวผิดปกติในปัสสาวะ หรือพบเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติในปัสสาวะ
การดำเนินงานสอบสวนโรคในผู้ป่วยสงสัย
• สอบสวนโรคโดยใช้แบบฟอร์มสอบสวนผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ E.coli ชนิดรุนแรง
• ส่งเพาะเชื้อจากอุจจาระ (Rectal swab culture) โดยระบุว่าขอส่งตรวจหา shiga-toxin
• รายงานผู้ป่วยสงสัยทุกรายมาที่สำนักระบาดวิทยาภายใน 24 ชั่วโมง โดยส่งทางโทรสารหมายเลข 02-5918579 หรือ e-mail: outbreak@health.moph.go.th
• ทำลายเชื้อในบริเวณสถานที่ที่ผู้ป่วยขับถ่าย โดยใช้คลอรีนเข้มข้น (ผงปูนคลอรีน 1 ช้อนชา ต่อ น้ำ 20 ลิตร) หรือ น้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไลโซล
• เฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย 7 วัน หากมีอาการอุจจาระร่วงให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที
• ไม่ให้จ่ายยาปฏิชีวนะในชุมชนโดยเด็ดขาด!!!
.
สรุปข้อมูลเรื่อง Shiga-toxin producing Escherichia coli O104
ตอบลบShiga-toxin producing Escherichia coli (STEC) คือ เชื้อ E. coli ที่สามารถสร้างสารพิษ Shiga toxin
ปัจจุบันพบเชื้อ STEC มากกว่า 100 O-Serotypes ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการลำไส้ใหญ่อักเสบมี
เลือดออก (Haemorrhagic colitis) คืออาการปวดเกร็งอย่างรุนแรงในช่องท้อง ถ่ายเป็นเลือดสดไม่มีไข้ หรือมีไข้
ต่ำ ผู้ป่วยบางรายเช่นเด็กเล็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนที่เรียกว่า Haemorrhagic
uremic syndrome (HUS) ทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการแสดงของโรคสามารถถ่ายทอดเชื้อให้ผู้อื่นได้
เชื้อ STEC ที่มีรายงานว่าเป็นสาเหตุการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษที่พบบ่อย เช่น O157:H7, O26, O111,
O145 เป็นต้น
กลไกการเกิดโรคของเชื้อ STEC
เชื้อสามารถสร้าง Shiga toxin ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ Shiga toxin 1 (STX1) และ Shiga
toxin 2 (STX2) เชื้อสร้างโปรตีนชื่อ Intimin (gene ที่ควบคุมการสร้าง Intimin คือ eae) ซึ่งเชื้อใช้ในการเกาะติด
กับเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ และสร้าง enterohaemolysin
การระบาดของ STEC O104 ในทวีปยุโรป
ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2554 ได้มีรายงานผู้ป่วย Haemolytic uremic syndrome เพิ่มมากขึ้นอย่าง
ผิดปกติ ในประเทศเยอรมันนี ผู้ป่วยอย่างน้อย 3 ราย เสียชีวิต และพบผู้ป่วยมากทางภาคเหนือของประเทศ
อ้างอิงข้อมูล จากสถาบัน Robert Koch (http://www.eurosurveillance.org/ViewArticle.aspx?ArticleId=19878)
ผลการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
• ตัวอย่างเชื้อของผู้ป่วย 2 รายจากเมือง Hesse and Bremerhaven พบเชื้อ STEC O104 ซึ่งมี
คุณสมบัติคือสร้าง STX 2, ไม่พบ ยีนส์ eae, และไม่สร้าง enterohaemolysin เชื้อดื้อยา third
generation cephalosporins (extended spectrum beta-lactamases, ESBL) และดื้อยาหลายชนิด
คือ trimethoprim/sulphonamide และ tetracycline
• ตัวอย่างเชื้อของผู้ป่วย 13 ราย จากเมือง Muenster, Paderborn, Hamburg and Frankfurt พบ
เชื้อ STEC O104 ซึ่งมีคุณสมบัติคือสร้าง STX 2, ไม่พบ ยีนส์ eae
• การระบาดของเชื้อ STEC ในประเทศเยอรมันนีที่ผ่านมาในอดีต มักเกิดจากเชื้อ STEC
O157:H7 การพบเชื้อ STEC O104 จากผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นครั้งนี้ นับเป็นสิ่งผิดปกติ
นอกจากนี้ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 มีรายงานจากประเทศสวีเดน พบผู้ป่วย HUS 9 ราย โดยผู้ป่วย 4 รายได้
เดินทาง (ผู้ร่วมเดินทาง 30 คน) ไปยังทางตอนเหนือของประเทศเยอรมัน ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2554
ส่วนประเทศเดนมาร์กได้รายงานผู้ป่วยติดเชื้อ STEC 4 ราย และมี 2 รายที่มีอาการ HUS ผู้ป่วยทุกรายมีประวัติ
การเดินทางไปทางตอนเหนือของประเทศเยอรมันนี
การสอบสวนหาต้นเหตุการระบาดของ STEC O104
จากการสอบสวนการระบาดพบว่า การระบาดของ STEC O104 ในหลายเมือง ต้นเหตุไม่ได้เกิดจาก
อาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรือ นม เหมือนการระบาดของ STEC ที่ผ่านๆ มา จากการศึกษา Case-control ของ
สถาบัน Robert Koch และ หน่วยงานสาธารณสุขของเมือง Hamburg พบความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับการ
รับประทาน มะเขือเทศสด แตงกว่า และ ผักสลัด ขณะนี้กำลังดำเนินการสอบสวนหาแหล่งอาหารแพร่โรค
.
เชื้อแบคทีเรียอีโคไล
ตอบลบตามปกติแล้ว อี.โคไล เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของมนุษย์เราเองนี่แหละ เชื้อนี้จะถูกขับออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ เขาไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป เพราะความจริงแล้วเจ้าเชื้อนี้ในขณะที่อยู่ในร่างกายเราจะช่วยทำประโยชน์เยอะ ตัวอย่างเช่นการนำกากอาหารที่ร่างกายเราเองไม่ต้องการใช้แล้วมาเปลี่ยนให้เป็นวิตามินหลายชนิด รวมไปถึงยังทำหน้าที่เป็นทหารยามช่วยขัดขวางการเจริญของแบคทีเรียตัวร้ายอื่นๆ ป้องกันเราเองไม่ให้เกิดโรคบางชนิดอีกด้วย เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ประเภทร้าย
เชื้ออีโคไลนี้มันเป็นเชื้อแบคทีเรียมีหลายร้อยสายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงเท่าใดนัก อย่างเช่นสายพันธุ์ที่เป็นจุลชีพทหารยามอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารส่วนลำไส้เราที่กล่าวมา โดยไม่ทำให้เกิดโรคแต่อย่างใด แต่มันก้อมีสายพันธุ์จิ้กโก๋อย่างเช่นเชื้ออีโคไล O157:H7 ที่มีความสามารถในการสร้างโปรตีนที่เป็นพิษ ทำให้เกิดโรคที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้
เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ประเภทร้ายมาแวะเยี่ยมเราหลายครั้งแล้ว
แต่ก้อยังมีอี.โคไล หลายสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้เช่นกันตามที่กล่าวมา ตัวอย่างที่กำลังโด่งดังก้อคือเจ้า อี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) นี่แหละ ที่ผ่านมาโลกเรามีการระบาดของเขามาหลายครั้งแล้ว ตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการแพร่ระบาดของ อี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) ในรัฐมิชิแกนและรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา โดยพบเชื้อปนเปื้อนมากับเนื้อสัตว์ที่ใช้ทำแฮมเบอร์เกอร์ จนต้องมีการเก็บแฮมเบอร์เกอร์เหล่านี้กลับคืนมาเพื่อทำลายทิ้ง การระบาดครั้งนี้ทำให้มีผู้ป่วยหลายราย ต่อมาได้มีการพบ การแพร่ระบาดในบ้านพักคนชราของเมืองออนตาริโอ ประเทศคานาดา โดยพบเชื้อปนเปื้อนมากับอาหารพวกแซนด์วิช ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากและมีผู้เสียชีวิต 19 ราย ในเดือนมีนาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2539 ได้พบการแพร่ระบาด ของ อี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) ในญี่ปุ่นทำให้มีผู้ป่วย มากกว่า 1,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 11 ราย
ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2540 ได้มีการแพร่ระบาดของ อี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) ในฮ่องกง โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขฮ่องกง ได้ตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อนี้ในเนื้อวัวที่จำหน่าย ในซุปเปอร์มาเก็ตจากการสอบสวนทางระบาดวิทยาพบว่า อี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) มีปะปนมากับวัว ที่ส่งมาจากประเทศจีนและเมื่อนำวัวดังกล่าว มาฆ่าที่โรงฆ่าสัตว์ในฮ่องกง โดยมิได้ระมัดระวัง ในด้านสุขอนามัยเท่าที่ควรจึงทำให้เชื้อไม่ถูกทำลายทั้งหมด เป็นผลให้มีปนเปื้อนอยู่ในเนื้อสัตว์ที่นำไปจำหน่าย กระทรวงสาธารณสุขฮ่องกงจึงได้มีประกาศเตือนประชาชน ให้นำเนื้อวัวไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส หรือ 167 องศาฟาเรนไฮต์ จะทำลายเชื้อนี้ได้ อย่างไรก็ตามได้เคยมีการแพร่ระบาด ของเนื้อนี้ในฮ่องกงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2537
การระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ในประเทศเยอรมนี ติดเชื้อมากว่า 1,000 และมีผู้เสียชีวิตแล้วถึง 16 คน
...
เชื้อแบคทีเรียอีโคไล การติดเชื้อและอาการ
ตอบลบหากเราต้องไปผจญกับเชื้อตัวร้ายหล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น อย่างเจ้าอี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) มันจะแพร่กระจายในสภาพแวดล้อมรอบกายเรา หากเข้าสู่ร่างกายได้โดยการปนเปื้อนไปกับอาหารและน้ำ แล้วเราเผลอไปสัมผัสหรือกินเข้าไปโดยตรง เชื้อนี้จะใช้เวลาฟักตัวในร่างกายเรา 1-8 วัน ตัวเขาเองไม่มีปัญหา แต่ระหว่างนี้มันจะสร้างสารพิษที่ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงตามมา ในบางรายอาการอาจไม่รุนแรงมากและหายได้ภายใน 7-10 วัน แต่น้อยรายที่จะถ่ายอุจจาระปกติ โรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการติดเชื้อนี้มักจะไม่มีไข้ แต่ผู้ป่วยจะปวดท้องมาก ถึงขั้นปวดบิดได้
ที่น่ากลัวคือมีการเสียชีวิตจากเชื้อนี้ เนื่องจากสารพิษของเชื้อ จะทำลายเม็ดเลือดแดง จึงเกิดภาวะไตวายได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันพร่องไปหรือยังไม่สมบูรณ์เช่นเด็กอ่อนหรือผู้สูงอายุ หากมีอาการรุนแรง จะมีอุจจาระร่วงบ่อยครั้ง ปวดท้อง ท้องเสียมีเลือดปน ในเด็กอ่อนอายุน้อยกว่า 5 ปีหรือในผู้สูงอายุ มักจะเกิดโรคแทรกซ้อน เม็ดเลือดแดงถูกทำลายและทำให้ไตวาย เรียกชื่อว่า กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย (hemolytic uremic syndrome) ทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย เนื่องจากเกร็ดเลือดถูกทำลาย จึงมีอาการเสียชีวิตได้ง่าย อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 1
เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ป้องกันอย่างไร
โลกเราเดี๋ยวนี้แคบมาก ทำให้การป้องกันทำได้ค่อนข้างยาก เพราะการคมนาคมเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว การแพร่ระบาดของโรคจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง จึงรวดเร็วตามไปด้วย อย่างไรก็ตามการที่จะช่วยป้องกัน มิให้ติดเชื้อที่ดีที่สุดก็คือ จะต้องสร้างสุขนิสัยในการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง เริ่มต้นด้วย กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำที่สะอาด หรือดื่มน้ำที่ผ่านการต้มแล้ว ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร
หากคุณชอบดื่มนมนั้น ควรดื่มนมที่ผ่านขบวนการ ฆ่าเชื้อมาแล้ว เช่น นมปาสเจอไรซ์ นมสเตอริไรซ์หรือนมยูเอชที เป็นต้น ทั้งนี้เพราะ อี.โคไล ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน โดยถูกทำลายได้ง่ายที่อุณหภูมิน้ำเดือดหรือ 100 องศาเซลเซียส ประมาณ 15 นาที จึงทำให้อาหารที่ผ่านความร้อน มีความปลอดภัยต่อการบริโภคมาก
ในผู้ป่วยที่ปรากฏอาการอุจจาระร่วงนั้น หากอาการไม่รุนแรงนักก็ให้รับประทานน้ำดื่มเกลือแร่ (electrotytes) เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำ แต่ถ้าหากอาการยังไม่ทุเลา ก็ต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อให้การรักษาพยาบาลต่อไป
โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล http://www.oknation.net/blog/DIVING
.
ถั่วงอก อาจเป็นต้นตอ อี.โคไล เหยื่อแบคทีเรียมรณะเพิ่มเป็น 22 ศพ [วันที่ 7 มิ.ย. 2554 ]
ตอบลบรอยเตอร์/เอเอฟพี - รัฐมนตรีเกษตรแห่งรัฐนีเดอร์ซัคเซิน(Niedersachsen) ของเยอรมนีแถลงเมื่อวันอาทิตย์ (6) ว่า"ถั่วงอก" และผักงอกอื่นๆ จากสวนผักแห่งหนึ่งในรัฐซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศแห่งนี้ อาจเป็นแหล่งต้นตอการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียมรณะ "อี.โคไล"ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 22 รายโดยเกือบทั้งหมดเป็นชาวเยอรมันนอกจากนี้ ยังมีผู้ติดเชื้ออีกมากกว่า 2,200 รายในหลายประเทศของยุโรป รวมทั้งสหรัฐฯ จนส่งผลให้รัฐบาลรัสเซียประกาศระงับการนำเข้าผักและผลไม้จากสหภาพยุโรปอย่างไม่มีกำหนด
แกร์ท ลินเดมานน์ รัฐมนตรีเกษตรของรัฐนีเดอร์ซัคเซิน(โลว์เออร์ แซกโซนี ในภาษาอังกฤษ) กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่า ผลการตรวจสอบเบื้องต้นของคณะผู้เชี่ยวชาญ ได้พบร่องรอยแบคทีเรีย เอนเทอโรเฮโมร์ราจิก อี.โคไล (enterohaemorrhagic E.coli อี.โคไลชนิดที่มีเลือดออก) หรือเรียกย่อๆว่า อีเฮค (EHEC) ซึ่งกำลังแพร่ระบาดในยุโรปโดยเฉพาะเยอรมนีจากในถั่วงอกของสวนผักแห่งหนึ่งในเขตอืลเซิน เมืองบีเนนบืทเทลซึ่งตั้งอยู่ห่างจากนครรัฐฮัมบูร์กไปทางใต้ 70 กิโลเมตร ทั้งนี้ฮัมบูร์ก เมืองใหญ่อันดับสองของเยอรมนีพบผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดเมื่อสามสัปดาห์ก่อน
นอกเหนือจากถั่วงอกแล้วเขาระบุด้วยว่า ผลิตผลอื่นๆ จากสวนผักแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นถั่วอัลฟาฟางอก, ถั่วอาซูกิงอก,หัวไช้เท้างอก, ผักสลัดงอก,กะหล่ำงอก เป็นต้น ก็อาจเป็นตัวการแพร่ระบาดด้วยเช่นกัน
ลินเดมานน์อธิบายต่อไปว่าทีมผู้เชี่ยวชาญได้พบความเชื่อมโยงกันระหว่างผลิตผลพืชผักต่างๆ ที่ได้มาจากสวนผักแห่งนี้กับอาหารที่เหยื่อรับประทานเข้าไปก่อนเสียชีวิต โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นนีเดอร์ซัคเซินให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ถั่วงอก รวมทั้งผักงอกชนิดอื่นๆ จากสวนดังกล่าวถูกจัดส่งไปยังภัตตาคารในนครรัฐฮัมบูร์ก, รัฐชเลสวิก-โฮลชไตน์,เมคเลนบูร์ก-โปเมราเนีย, เฮสเซินรวมถึงในนีเดอร์ซัคเซินเอง ทั้งโดยตรงและผ่านพ่อค้าคนกลาง
รัฐมนตรีลินเดมานน์ระบุว่าตอนนี้ "มีลูกจ้างหญิง 2 คนในสวนผักแห่งนี้ได้ล้มป่วยด้วยอาการท้องร่วง และ 1 รายในนั้นก็วินิจฉัยพบเชื้ออี.โคไลด้วย"
เขากล่าวเสริมว่า ถั่วงอกและผักงอกสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งระดับอุณหภูมิดังกล่าว "เอื้อต่อการดำรงชีวิตของเชื้อแบคทีเรียทุกชนิด"
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีผู้นี้บอกว่าจนถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์แน่ชัดว่าถั่วงอกที่ปนเปื้อนแบคทีเรียอี.โคไลจากสวนผักดังกล่าว เป็นสาเหตุแท้จริงที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตไปหลายสิบราย และเป็นต้นตอหลักของการแพร่ระบาดขณะนี้หรือไม่นอกจากนี้ สวนผักดังกล่าวก็อาจเป็นเพียงหนึ่งในหลายแหล่งต้นตอของแบคทีเรียมรณะชนิดนี้ด้วยโดยทั้งหมดยังจะต้องผ่านการตรวจสอบเพิ่มเติม เพื่อยืนยันต่อไปซึ่งการประกาศผลน่าจะมีออกมาในวันจันทร์(6) ตามเวลาท้องถิ่น (ช่วงค่ำวันอาทิตย์ตามเวลาเมืองไทย)
....
ข่าวความคืบหน้าสำคัญนี้มีขึ้นหลังจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหภาพยุโรป(อีซีดีซี) ในกรุงสตอกโฮล์มรายงานว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรียมรณะดังกล่าวได้ขยับเพิ่มขึ้นอีก 3 รายรวมเป็น22 ราย โดยเหยื่อ 21 รายเป็นชาวเยอรมัน และอีกหนึ่งรายเป็นชาวสวีเดน ขณะที่มากกว่า 12 ประเทศระบุว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้แล้ว เช่น ออสเตรีย,อังกฤษ,สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก,ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, สเปน,สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐฯ เป็นต้น โดยทั้งหมดล้วนเดินทางมาจากเยอรมนี
ตอบลบอย่างไรก็ตาม เคลาซ์ เวอร์เบคเจ้าของสวนผักในบีเนนบืทเทลแห่งนี้ ให้สัมภาษณ์สื่อท้องถิ่นว่าเขาไม่ได้ใช้ปุ๋ยในการปลูกต้นงอกในแปลงเพาะของเขาเลย ดังนั้นจึงรู้สึกงุนงงว่าพืชเหล่านี้ปนเปื้อนแบคทีเรียชนิดนี้ได้อย่างไร
ทางด้าน แดเนียล บาห์รรัฐมนตรีสาธารณสุขของนครรัฐฮัมบูร์ก ซึ่งได้ออกเยี่ยมผู้ป่วยติดเชื้อ EHEC หลายคนที่คลินิกของมหาวิทยาลัยเอพเพนดอร์ฟในฮัมบูร์ก เมื่อวันอาทิตย์ระบุว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านอาหารกำลังทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อสืบสาวต้นตอของการติดเชื้อให้ได้ พร้อมกับเตือนด้วยว่าอย่าเพิ่งด่วนสรุปกับผลการทดสอบเบื้องต้นที่ออกมานี้
ขณะที่โฮลเกอร์ เอลเชเลโฆษกกระทรวงการเกษตรและผู้บริโภคของเยอรมนี ได้สั่งการให้รัฐบาลท้องถิ่นตรวจสอบสวนผักปลูกถั่วงอกและเมล็ดที่นำเข้าแล้ว
ส่วนบรรดารัฐมนตรีเกษตรของสหภาพยุโรปก็เตรียมจะประชุมวาระฉุกเฉินในวันนี้ (7)เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตการแพร่ระบาดและผลกระทบต่อผลิตผลพืชผักของพวกตน
บรรยายใต้ภาพ
ต้นตอ 'อี.โคไล'? - ถุงบรรจุผลิตภัณฑ์ "ถั่วงอก" ของสวนผักแห่งหนึ่งในเขตอืลเซิน เมืองบีเนนบืทเทลที่ตั้งอยู่ห่างจากนครรัฐฮัมบูร์กไปทางใต้ 70 กิโลเมตร สวนผักออร์แกนิกแห่งนี้กำลังถูกสงสัยว่าน่าจะเป็นต้นตอสำคัญของเชื้อแบคทีเรียอี.โคไล ที่แพร่ระบาดไปในเยอรมนีและอีกหลายประเทศ เวลานี้นักวิทยาศาสตร์กำลังตรวจสอบอย่างเคร่งเครียดเพื่อให้เกิดความแน่นอนชัดเจน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน
.