วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 / วิจารณ์ พานิช. | ||
URL: |
http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he | |
URL: |
| |
รายงานการวิจัยการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 / โดย สุมาลี สังข์ศรี. | ||
URL: |
| |
ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21 : สหราชอาณาจักร = Learning for the Twenty - First Century / สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ; พิศวาส ปทุมุต์ตรังษี, แปล. | ||
URL: |
| |
ยุทธศาสตร์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 / ผู้วิจัย, สุมาลี สังข์ศรี ; ผู้สรุปและเรียบเรียง กุลวิตรา ภังคานนท์, กอบสุข อัตถิ. | ||
URL: |
| |
|
URL: |
| |
ขอบคุณที่มา :: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เรียบเรียงโดย :: ประภัสรา โคตะขุน ; http://prapasara.blogspot.com |
ครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องช่วยแก้ไขความรู้ผิดๆ ของนักเรียน
ตอบลบโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๔ ธ.ค. ๕๕
การเป็นครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องฝืนใจ ๒ ต่อ คือ (๑) ฝืนใจไม่บอกสาระความรู้แก่ศิษย์
และ (๒) ฝืนใจทำหน้าที่ที่ไม่เคยทำ คือหน้าที่ ช่วยศิษย์สลัดความรู้ผิดๆ ออกไปจากตัว
ครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องช่วยแก้ไขความรู้ผิดๆ ของนักเรียน
ผมปิ๊งแว้บจากการอ่านและตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ที่ผมเตรียมตีความลง บล็อก ๑๖ ตอน และลงตอนที่ ๑ ไปแล้วเมื่อวานซืน อ่านได้ที่บันทึกที่เกี่ยวข้องข้างล่าง
ผมตีความว่า ต้นตอของเรื่องนี้เริ่มที่โลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ทำให้เด็กเปลี่ยน เด็กสมัยนี้ไม่ได้เรียนความรู้และข้อมูลสำคัญเฉพาะจากโรงเรียนอีกต่อไป หรือกล่าวให้หนักยิ่งขึ้นได้ว่า สมัยนี้นักเรียนรับความรู้จากโรงเรียนเป็นแหล่งรอง ไม่ใช่แหล่งหลัก แหล่งหลักคือเขารับจากสังคมโดยรอบ โดยเฉพาะจากสื่อมวลชน และ อินเทอร์เน็ต
ความรู้จากแหล่งต่างๆ นอกโรงเรียนนั้น เด็กรับมาอย่างถูกต้องบ้าง รับมาแบบเข้าใจผิดบ้าง และที่ร้ายกว่านั้น คือความรู้บางส่วนเด็กรับมาอย่างถูกต้อง แต่ความรู้นั้นมันผิด เด็กนักเรียนในสมัยแห่งข้อมูลข่าวสารอุดมสมบูรณ์จึงมีทั้งความรู้ที่ถูกต้อง และความรู้ผิดๆ อยู่ในสมอง ต่างจากเด็กสมัย ๖๐ ปีก่อนอย่างผม ที่ความรู้หายาก ต้องไปเรียนจากโรงเรียน และโรงเรียนก็มีหน้าที่เติมความรู้ให้แก่เด็ก ไม่ต้องสนใจเลยว่าเด็กจะมีพื้นความรู้ผิดๆ ติดตัวมา
วิชาการด้านความเป็นครูสมัยใหม่ (ใหม่เอี่ยม จากหนังสือที่อ้างแล้ว ซึ่งมาจากการสังเคราะห์ผลงานวิจัย) บอกว่า ครูสมัยใหม่นอกจากไม่มีหน้าที่เติมความรู้แก่ศิษย์แล้ว ยังต้องช่วยให้เด็กสลัดความรู้ผิดๆ ออกจากหัว (สมอง) อีกด้วย
จะเห็นว่า การเป็นครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องฝืนใจ ๒ ต่อ คือ (๑) ฝืนใจไม่บอกสาระความรู้แก่ศิษย์ และ (๒) ฝืนใจทำหน้าที่ที่ไม่เคยทำ คือหน้าที่ช่วยศิษย์สลัดความรู้ผิดๆ ออกไปจากตัว
โปรดสังเกตว่าในการทำหน้าที่ทั้งสองอย่างนี้ ครูไม่ใช่ผู้ลงมือทำ ผู้ลงมือทำคือตัวเด็กเอง ครูเป็นเพียงผู้ช่วย หรือ “คุณอำนวย” แต่ถ้าครูไม่ทำหน้าที่นี้ ศิษย์ก็จะไม่สามารถ Learn ตามข้อ ๑ และ Delearn ตามข้อ ๒ ได้
แต่เมื่อครูทำหน้าที่ดังกล่าว ศิษย์ก็จะได้ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่สำคัญ คือ Learning Skills และ Delearning Skills ไปพร้อมกัน
ตอบลบการพัฒนาครูในศตวรรษที่ ๒๑
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๐ พ.ย.๕๕
ที่จริงบันทึกนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูของประเทศไทย ในบริบทปัจจุบัน และผมเขียนบันทึกนี้จากแรงบันดาลใจ ที่ได้เข้าร่วมประชุม ๒ การประชุมในวันที่ ๑๙ และ ๒๐ พ.ย.๕๕ ติดกันสองวัน และเกี่ยวข้องกับ สสค. ทั้งสองวัน คือวันที่ ๑๙ พ.ย. เป็นการประชุม เสวนาโต๊ะกลมนานาชาติทางการศึกษา ครั้งที่ ๑ จัดโดย สสค. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยจัดที่ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มี Assoc. Prof. Ora Kwo คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง มาปาฐกถานำเรื่อง “Teachers’ Challenges in 21st Century : Pedagogy, Standardized Testing, and Paychecks” ตามด้วยการเสวนาโต๊ะกลม ๒ เรื่อง คือ “บทบาทหน้าที่ของครู และการทดสอบมาตรฐานในศตวรรษที่ ๒๑” และ “การวัดผลการทำงานครู และการผูกโยงเงินเดือนครูเข้ากับคะแนนการทดสอบมาตรฐาน” การประชุมนี้จัดช่วงเช้า
ส่วนการประชุมวันที่ ๒๐ จัดช่วงบ่าย จัดโดย สกว. กับสถาบันรามจิตติ แต่ไปใช้สถานที่ที่ สสค. เรื่อง “โครงการจับกระแสความเคลื่อนไหว และนวัตกรรมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน” มี ดร. จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ เสนอผลการทบทวนองค์ความรู้ เรื่อง “จับกระแสการพัฒนาครูใน ศตวรรษที่ ๒๑ : ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย” ซึ่งทบทวนความรู้สากลมาได้กว้างขวาง แต่ยังเก็บข้อมูลของไทยมาได้น้อย โดยข้อสรุปที่สำคัญยิ่งที่ได้จากการทบทวนความรู้ของ ดร. จุฬากรณ์ คือยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดของการพัฒนาการศึกษาที่เวลานี้ใช้กันทั่วโลก คือเน้นที่การพัฒนาครู
ที่จริงเมื่อจบการประชุมวันแรก ผมก็มีความสุขมาก ที่เห็นช่องทางการพัฒนาครูไทยชัดเจนแจ๋วแหวว ตามมุมมองของผม ซึ่งเป็นการมองหลักการ ส่วนการดำเนินการจริงนั้น สิ่งน่าหนักใจคือยุทธศาสตร์ Change Management หรืออุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงระบบนั่นเอง
ในการประชุมวันที่ ๒ ผมจึงฟันธงเสนอที่ประชุม ว่าวิธีพัฒนาครูไทยที่จะให้ได้ผลต้องเริ่มที่การให้คุณ (reward) แก่ครู ผ่านผลงานการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน (Learning Outcomes) ของศิษย์ โดยหน่วยงานต้นสังกัดและโครงการพิเศษต่างๆ เข้าไปส่งเสริม(empower)ให้ครู โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา หรือชุมชน ที่รวมตัวกันทำแผนยุทธศาสตร์และดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน
การ empower ดังกล่าวทำโดยส่งเสริมการเรียนรู้ของครู ให้ทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ได้ดีขึ้น ให้ครูรวมตัวกันเรียนรู้จากการทำงานประจำ คือหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งต้องไม่เน้นสอนสาระวิชา แต่เน้นสร้างแรงบันดาลใจ และอำนวยความสะดวกในการเรียนแบบลงมือทำของนักเรียน การรวมตัวกันเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูนี้ เรียกว่า PLC (Professional Learning Community)
จะให้รางวัลแก่ครูได้ ต้องมีหลักฐานว่าครูได้ทำหน้าที่ยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของศิษย์ได้ผลดีกว่าเดิมจริง ซึ่งทางกระทรวงศึกษาฯ ได้มีดำริว่า จะผูกโยงเงินเดือนครูเข้ากับคะแนนการทดสอบมาตรฐานของศิษย์ และในวงเสวนาเมื่อวันที่ ๑๙ พ.ย. ครูและ ผอ. สถานศึกษาหลายแห่งมาบอกว่าเป็นวิธีคิดที่ตื้นเขินเกินไป เพราะการทดสอบมาตรฐานนั้น วัดเพียง ๑ ด้านใน ๔ ด้านของการเรียนรู้เท่านั้น นอกจากนั้นเด็กนักเรียนของต่างโรงเรียนอาจมีขีดความสามารถหรือพื้นฐานแตกต่างกันมาก จากการประชุม ผมคิดว่า ได้มติที่ชัดว่า ควรผูกโยงเงินเดือนหรือการให้คุณแก่ครูและผู้บริหารการศึกษา เข้ากับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนที่ตนรับผิดชอบ โดยมีวิธีวัดผลสัมฤทธิ์ที่รอบด้าน และดูที่ผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มขึ้นจากฐานเดิม ซึ่งผมคิดว่าต้องมีวิธีวัดทักษะ (แห่งศตวรรษที่ ๒๑) สำคัญ รวมทั้งให้ครูมีส่วนสร้างสรรค์วิธีวัดผลสัมฤทธิ์ด้านที่เป็นามธรรม และด้านคุณลักษณะด้วย
ตอบลบ
นั่นหมายความว่า กระทรวงศึกษาฯ ต้องเลิกคิดพัฒนาครูโดยการจับมาเข้าหลักสูตรฝึกอบรมตามที่ตนจัด ควรเอาเงินจำนวนนั้นไปสนับสนุนการจัดกิจกรรม PLC ของครู คือต้องพัฒนาครูโดยเน้นที่ Learning ไม่ใช่ที่ Training หรือใช้ในสัดส่วน Learning : Training = 80-90 : 10-20 และส่วน Training นั้น ให้ตัวครูเองเป็นผู้ตัดสินใจบอกความต้องการเองว่าต้องการเรียนอะไร จากหลักสูตรฝึกอบรมใด
Learning ในที่นี้คือ in-service learning หรือ PLC นั่นเอง
ผมได้เสนอที่ประชุมว่า เรื่องการพัฒนาครูในภาพใหญ่นั้น น่าจะพิจารณาสถาบันผลิตครู ซึ่งก็คือคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ นั่นเอง ผมคิดว่า สถาบันเหล่านี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบของสถาบันผลิตครูแห่งศตวรรษที่ ๒๐ เวลานี้ประเทศที่ครูมีคุณภาพเขาไม่ได้ผลิตครูแบบที่เราทำกันแล้ว และตัวสถาบันเขาก็เปลี่ยนแปลงไปมากมาย เป็นสถาบันผลิตครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ แต่ของเรายังคงที่ยึดมั่นอยู่กับรูปแบบของศตวรรษที่ ๒๐
ผมเสนอในย่อหน้าบนด้วยความเจียมตนว่าอาจเป็นความเห็นที่ผิด แต่ท่าน ศ. สุมน อมรวิวัฒน์ ท่านบอกว่า ท่านเสนอตามที่ผมพูดเป๊ะตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ แต่ไม่มีคนยอมทำตาม
สรุปอีกทีว่า การพัฒนาครูในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเน้นที่การเรียนรู้ของครู ที่เป็นการเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูโดยตรง เพื่อให้ทำหน้าที่ครูได้ผลดีขึ้น โดยวัดที่ผลการเรียนของศิษย์ เน้นที่การเรียนให้ได้ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
ตอบลบMUIDS โรงเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๓ พ.ย. ๕๕
ในการประชุมสภามหาวิทยาบัยมหิดล เมื่อวันที่ ๑๗ ต.ค. ๕๕ มีวาระ รายงานความคืบหน้าและแผนการดำเนินงาน โครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเมื่อผมฟังแล้ว ก็บอกตัวเองว่า นี่คือโรงเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ในระดับมัธยมศึกษา
โดย ดร. เพ็ญนี หล่อวัฒนพงษา ผู้รักษาการในตำแหน่ง ผอ. โรงเรียนบอกว่า โรงเรียนมีเป้าหมายของการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ (คัดมาจากรายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๔๖๕)
"มีการจัดการศึกษาที่พัฒนานักเรียนให้เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทั้งทักษะชีวิต และทักษะความรู้ โดยนำเรื่องจิตวิญญาณ และมโนสำนึกของชาวมหิดล ความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและเป็นพลเมืองดีของประเทศ มีวิสัยทัศน์และกระบวนการคิดแบบสากล ความตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นพลโลก และความสามารถที่จะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยโรงเรียนสาธิตนานาชาติจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลของการวิจัยจะนำมาปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการให้เป็นแบบอย่างของสถานศึกษาที่มีคุณภาพในระดับมัธยมศึกษา ทั้งนี้ จะมีความแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปดังนี้
โรงเรียนทั่วไป
โรงเรียนสาธิตนานาชาติ
เน้นการท่องจำและเลียนแบบ
เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และการแก้ปัญหา
เรียนรู้จากตำรา
เรียนรู้จากสถานการณ์จริง
สอนเนื้อหา
เน้นกระบวนการเรียนรู้
หลักเลี่ยงข้อผิดพลาด
เรียนรู้จากข้อผิดพลาด
Passive Learners
Active-Reflective-Generative Learners
เรียนรู้จากครู
เรียนรู้จากหลากหลายแหล่งความรู้
ครูถาม-นักเรียนตอบ
Inquiry Learning
โรงเรียนสาธิตนานาชาติ นับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและโดดเด่นด้วยการผสานความร่วมมือจากคณะ/สถาบันและหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยอาทิวิทยาลัยนานาชาติ, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์, คณะวิทยาศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ,สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้, คณะทันตแพทยศาสตร์,วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและศูนย์จิตตปัญญาศึกษาโดยคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการหลักสูตร ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครองกลุ่มนักเรียน นักศึกษากลุ่มผู้บริหารและเจ้าของโรงเรียนนานาชาติ โรงเรียน E.P. และโรงเรียนทางเลือก
สำหรับแนวทางการวางหลักสูตร ได้มีการศึกษา Core Value ของมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นลักษณะพึงประสงค์ของผู้เรียน มีตัวชี้วัดที่ประเมินได้ และอยู่ในทุกสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ สาระด้วยกัน โดยนำเอาความรู้และทักษะของศตวรรษที่ ๒๑ และของประชาคมอาเซียน ส่วนการเรียนรู้จะนำมากระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับการวิจัยว่าเป็น Best Practice ซึ่งจะใช้จิตคุณธรรมของชาวมหิดล ดังนี้
จิตคุณธรรม
ของชาวมหิดล
ศตวรรษที่๒๑ และ
ประชาคมอาเซียน
กระบวนการเรียนรู้
เป็นผู้มียุทธศาสตร์ในการเรียนรู้
คิดพิจารณาทบทวนการศึกษาของตนเองและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
กระบวนการสืบสาวค้นคว้าด้วยตนเอง และเรียนรู้จากประสบการณ์
เป็นผู้สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะการสื่อสาร
ฟังข้อมูลที่หลากหลายคิดวิเคราะห์และเข้าใจสิ่งที่รับฟังได้ อย่างมีวิจารณญาณพูดแสดงความคิดเห็นและโต้ตอบได้อย่างเหมาะสมและมีกาลเทศะ
เป็นนักคิดเชิงสร้างสรรค์
ทักษะในการคิดสร้างสรรค์การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ทักษะในการแก้ปัญหา
การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานหรือภาระงานเพื่อการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
จิตคุณธรรม
ของชาวมหิดล
ศตวรรษที่๒๑ และ
ประชาคมอาเซียน
กระบวนการเรียนรู้
เป็นพลเมืองโลกที่มีจิตใจมุ่งมั่นเพื่อส่วนรวม
เป็นพลเมืองดีของประเทศ/โลก เข้าใจ/เข้าถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย
การเรียนรู้นอกห้องเรียนพัฒนาจิตอาสาด้วยการรับใช้สังคม
เป็นผู้มีจิตตปัญญา
มีความรับผิดชอบต่อตนเอง/สังคม
ฝึกสมาธิค่ายคุณธรรม
เป็นผู้นำในอนาคต
กำหนดเป้าหมายในการดำเนินชีวิตและเป้าหมายการศึกษา
พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและทักษะในการทำงานกลุ่มและมีความมุ่งมั่นเพื่ออนาคตทำกิจกรรมสภานักเรียน
เด็กที่เรียนที่โรงเรียนสาธิตนานาชาติฯ จะได้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาอังกฤษที่สอนให้เป็นผู้ที่มีจิตปัญญา มีความรับผิดชอบ และรู้จักการตัดสินใจ โดยมีตัวชี้วัด เพื่อให้เห็นว่า การเรียนการสอนที่วางไว้ ทั้งวิชาพื้นฐาน วิชาเลือก และกิจกรรมเสริมหลักสูตร จะสอดคล้องกัน ซึ่งใน ๓ ปีให้ได้หน่วยกิตของทางนานาชาติโดยอิงหลักสูตรอเมริกัน และของไทย ที่สำคัญ คือต้องการให้สามารถนำมาบูรณาการ ทำโครงการแก้ปัญหา หรือทำจิตอาสา เป็นโรงเรียนไร้ผนัง ซึ่งเป็นโครงการที่ทุกปีจะต้องออกไปเรียนรู้จากสถานที่จริง สำหรับรายวิชาและวิชาเลือกหรือ pathway to college (ตามแผนการศึกษาของผู้เรียนแต่ละคน) ซึ่งส่วนงานต่างๆ ก็ได้เข้ามาให้ความร่วมมือด้วย
ตอบลบทั้งนี้ คาดว่า จะเปิดโรงเรียนฯ ประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยใช้สถานที่ของคณะพยาบาลศาสตร์ ก่อน และจึงย้ายไปที่สถานก่อสร้างใหม่ของโรงเรียน ในปี ๒๕๕๗"
MUIDS (Mahidol University International Demonstration School) ไม่ได้แค่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดบริการการศึกษาแก่เด็กเท่านั้น แต่วัตถุประสงค์ใหญ่ คือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้ของประเทศไทย
ตอบลบอาคารเรียนและห้องเรียนในศตวรรษที่ ๒๑
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๓ พ.ย. ๕๕
การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ เปลี่ยนไปจากเดิม (ศตวรรษที่ ๒๐) อย่างมากมาย รูปแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนเปลี่ยนจากการถ่ายทอดหรือบอกความรู้ (สมัยผมเรียน ครูบอกให้จด แม้ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ก็ยังเป็นการเล็กเชอร์ให้จด) มาเป็นเรียนโดย นร./นศ. ทำกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจขึ้นในสมองและจิตใจของตน
ห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนจาก “ห้องเรียนโดยครูสอนหน้าชั้น” มาเป็น “ห้องเรียนโดย นร. ลงมือทำเป็นทีม” การออกแบบก่อสร้างห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนไป จากออกแบบ classroom เป็นออกแบบ studio (ห้องทำงาน) เพราะเวลานี้ นร. ต้องเรียนโดยการ “ทำงาน” หรือเรียนโดยลงมือทำ
ผมจึงตั้งข้อสังเกต/คำถาม ว่า เวลานี้หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ (และในมหาวิทยาลัย) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร ทราบแล้วหรือยัง ว่าต้องเปลี่ยนแบบมาตรฐานของห้องเรียนเสียใหม่ สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญการออกแบบอาคารการศึกษา ทราบเรื่องนี้แล้วหรือยัง
สถาปัตยกรรมมีส่วนช่วยหนุน หรือขัด การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ วงการสถาปัตยกรรมไทย ตระหนักถึงความจำเป็น ที่จะต้องเปลี่ยนหลักการออกแบบโครงสร้างทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ แล้วหรือยัง
วงการออกแบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัย น่าจะได้มีการสัมมนากันสักครั้ง ว่ารูปแบบที่เหมาะสมของอาคาร และบริเวณโรงเรียน สำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ควรเป็นอย่างไร และน่าจะมีการประกวด อาคารสถานที่โรงเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑