STEM Education คือ
STEM Education คือการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics) ซึ่งล้วนเป็นวิชาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความสามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความเป็นโลกาภิวัฒน์ ตั้งอยู่บนฐานความรู้ และเต็มไปด้วยเทคโนโลยี อีกทั้งวิชาทั้งสี่เป็นวิชาทีมีความสำคัญอย่างมากกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ความมั่นคงของประเทศ (รักษพล ธนานุวงศ์ . นักวิชาการ สสวท.)
สะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และ คณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
ดังนั้น สะเต็มศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการต่อยอดหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ (หรือ กระบวนการทางเทคโนโลยี) เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง และการประกอบอาชีพในอนาคต
สะเต็มศึกษาจึงส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ไขปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มจะมีความพร้อมในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในภาคการผลิตและการบริการที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ
อนึ่ง การทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มไม่ได้จำกัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี แต่สามารถนำความรู้ในวิชาอื่น เช่น ศิลปะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา เป็นต้น มาบูรณาการได้อีกด้วย (จากวิกิพีเดีย)
ดังนั้น สะเต็มศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการต่อยอดหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ (หรือ กระบวนการทางเทคโนโลยี) เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง และการประกอบอาชีพในอนาคต
สะเต็มศึกษาจึงส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ไขปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มจะมีความพร้อมในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในภาคการผลิตและการบริการที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ
อนึ่ง การทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มไม่ได้จำกัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี แต่สามารถนำความรู้ในวิชาอื่น เช่น ศิลปะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา เป็นต้น มาบูรณาการได้อีกด้วย (จากวิกิพีเดีย)
จุดเริ่มต้นของแนวคิด สะเต็มศึกษา (STEM EDUCATION)
เนื่องจากว่าประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาเรื่อง ผลการทดสอบ PISA ของสหรัฐอเมริกา ที่ต่ำกว่าหลายประเทศ และส่งผลต่อขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิศวกรรม ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบาย ส่งเสริมการศึกษาโดยพัฒนา STEM Education ขึ้นมา เพื่อหวังว่าจะช่วยยกระดับผลการทดสอบ PISA (Program for International Student Assessment) และ TIMSS การทดสอบด้านคณิตวิทยาศาสตร์ระดับสากล (Trends in International Mathematics and Science Study)ให้สูงขึ้น และจะเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (21st Century skills) เช่น
1. ด้านปัญญา ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหา
2. ด้านทักษะการคิด ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการคิด โดยเฉพาะการคิดขั้นสูง เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
3. ด้านคุณลักษณะ ผู้เรียนสามารถมีทักษะการทำงานกลุ่มทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
1. ด้านปัญญา ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหา
2. ด้านทักษะการคิด ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการคิด โดยเฉพาะการคิดขั้นสูง เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
3. ด้านคุณลักษณะ ผู้เรียนสามารถมีทักษะการทำงานกลุ่มทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นสะเต็มศึกษานั้นจึงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นการต่อยอดหลักสูตรโดยการบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตรวมทั้งเพื่อให้สามารถพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต อีกทั้งวิชาทั้งสี่เป็นวิชาทีมีความสำคัญอย่างมากการกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ความมั่นคงของประเทศ ซึ่งล้วนเป็นวิชาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความสามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกศตวรรษที่ 21
แนวทางการนำ STEM Education ในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
ในประเทศไทย
เพื่อการนำ STEM Education มาใช้ในประเทศไทยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึง การทำความเข้าใจ การศึกษาถึงแนวทางที่ถูกต้อง ผลการศึกษาวิจัยและองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จะสร้างศูนย์เรียนรู้นำร่อง 10 จังหวัด แต่ละจังหวัดจะมีจำนวน 3 โรงเรียน รวม 30 โรงเรียน ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อสร้างแนวทางการดำเนินงานและวัดผลให้เป็นรูปธรรม และหลังจากนั้นจึงจะได้ขยายไปสู่วงกว้างต่อไป จึงอาจกล่าวได้ว่า โครงการ “สะเต็มศึกษา” เป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างคนไทยรุ่นใหม่ ให้มีทักษะในการสร้างนวัตกรรม ที่จะช่วยเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
แนวทางการนำ STEM Education ในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
ในประเทศไทย
เพื่อการนำ STEM Education มาใช้ในประเทศไทยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึง การทำความเข้าใจ การศึกษาถึงแนวทางที่ถูกต้อง ผลการศึกษาวิจัยและองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จะสร้างศูนย์เรียนรู้นำร่อง 10 จังหวัด แต่ละจังหวัดจะมีจำนวน 3 โรงเรียน รวม 30 โรงเรียน ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อสร้างแนวทางการดำเนินงานและวัดผลให้เป็นรูปธรรม และหลังจากนั้นจึงจะได้ขยายไปสู่วงกว้างต่อไป จึงอาจกล่าวได้ว่า โครงการ “สะเต็มศึกษา” เป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างคนไทยรุ่นใหม่ ให้มีทักษะในการสร้างนวัตกรรม ที่จะช่วยเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา
สติยา ลังการ์พินธุ์ ได้กล่วาถึงแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาไว้ดังนี้
1. เชื่อมโยงเนื้อหาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี สู่โลกจริง
คุณครูหลายท่านน่าจะทำอยู่แล้วอย่างสม่ำเสมอ เพียงนักเรียนมองเห็นว่าแนวคิดหลัก
หรือกระบวนการที่เรียนรู้นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในธรรมชาติ
ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
ก็เป็นก้าวแรกสู่การบูรณาการความรู้สู่การเรียนอย่างมีความหมาย
เพราะปรากฏการณ์หรือประดิษฐกรรมใดๆ รอบตัวเรา
ไม่ได้เป็นผลของความรู้จากศาสตร์หนึ่งศาสตร์ใดเพียงศาสตร์เดียว การประยุกต์ความรู้ง่ายๆ
เช่น การคำนวณพื้นที่ของกระดาษชำระแบบม้วน
เชื่อมโยงสู่ความรู้ความสงสัยด้านวัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีการผลิต
และการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมวิเคราะห์ปัญหาและสร้างสรรค์วิธีแก้ไขได้อย่างหลากหลายจนน่าแปลกใจ
2. การสืบเสาะหาความรู้ การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ศึกษาประเด็นปัญหา
หรือตั้งคำถาม แล้วสร้างคำอธิบายด้วยตนเอง
โดยการรวบรวมประจักษ์พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง สื่อสารแนวคิดและเหตุผล
เปรียบเทียบแนวคิดต่างๆ โดยพิจารณาความหนักแน่นของหลักฐาน
ก่อนการตัดสินใจไปในทางใดทางหนึ่ง นับเป็นกระบวนการเรียนรู้สำคัญ ที่ไม่เพียงแต่สนับสนุนการเรียนรู้ในประเด็นที่ศึกษาเท่านั้น
แต่ยังเป็นช่องทางให้มีการบูรณาการความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำถาม
นับเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สนับสนุนจุดเน้นของสะเต็มศึกษาได้เป็นอย่างดี
3. การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน การทำโครงงานเป็นการสืบเสาะหาความรู้ในรูปแบบหนึ่ง
แต่ผู้เขียนได้แยกโครงงานออกมาเป็นหัวข้อเฉพาะ
เนื่องจากเป็นแนวทางที่สามารถส่งเสริมการบูรณาการความรู้สู่การแก้ปัญหาได้ชัดเจน
การสืบเสาะหาความรู้บางครั้งครูเป็นผู้กำหนดประเด็นปัญหา
หรือให้ข้อมูลสำหรับศึกษาวิเคราะห์ หรือกำหนดวิธีการในการสำรวจตรวจสอบ
ตามข้อจำกัดของเวลาเรียน วัสดุอุปกรณ์ หรือปัจจัยแวดล้อมต่างๆ
แต่การทำโครงงานนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้สำคัญในทุกขั้นตอนด้วยตนเอง
ตั้งแต่การกำหนดปัญหา ศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้อง ออกแบบวิธีการรวบรวมข้อมูล
ดำเนินการ ลงข้อสรุป และสื่อสารสิ่งที่ค้นพบ (บางครั้งครูอาจกำหนดกรอบกว้างๆ เช่น
ให้ทำโครงงานเกี่ยวกับพลังงานทดแทน
โครงงานเกี่ยวกับการใช้คณิตศาสตร์ในผลิตภัณฑ์ของชุมชน เป็นต้น)
โครงงานในรูปแบบสิ่งประดิษฐ์จะมีการบูรณาการกระบวนการทางวิศวกรรมได้อย่างโดดเด่น แต่โครงงานในรูปแบบอื่น
ทั้งโครงงานเชิงทดลอง เชิงสำรวจ หรือเชิงทฤษฎี
ก็มีคุณค่าควรแก่การสนับสนุนไม่แพ้กัน
แม้นักเรียนจะมีบทบาทหลักในการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงาน
แต่บทบาทของครูในการให้คำปรึกษาระหว่างนักเรียนทำโครงงานนั้นเป็นบทบาทที่สำคัญและท้าทาย
เนื่องจากครูมีความรับผิดชอบในการสนับสนุนให้นักเรียนเกิดความรู้ความสามารถตามเป้าหมายการจัดการเรียนรู้
โดยครูต้องเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ไปพร้อมๆ
กับนักเรียนในทุกหัวข้อโครงงาน
4. การสร้างสรรค์ชิ้นงาน แนวคิดนี้ไม่ได้เป็นแนวคิดใหม่เลยเสียทีเดียว
ผู้เขียนยังจดจำประสบการณ์วัยเด็กได้ว่า มีโอกาสประดิษฐ์สิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ
มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสานพัด การร้อยมาลัย การประดิษฐ์เครื่องดนตรี สมุดภาพ
การจัดป้ายนิเทศ เด็กๆ
ทุกวันนี้อาจได้รับการมอบหมายให้สร้างสรรค์ชิ้นงานที่แตกต่างไปจากยุคก่อน เช่น
ประดิษฐ์ป้ายไฟ รถแข่งพลังงานแสงอาทิตย์ ถ่ายหนังสั้น
ทำมัลติมีเดียสำหรับนำเสนองาน ประสบการณ์การทำชิ้นงานเหล่านี้ สร้างทักษะการคิด
การออกแบบ การตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นงานที่ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนคิดอย่างอิสระและสร้างสรรค์
การประดิษฐ์ชิ้นงานเหล่านี้ประยุกต์ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
อย่างไม่รู้ตัว
บางครั้งครูอาจจัดให้นักเรียนสะท้อนความคิดว่าได้เกิดประสบการณ์หรือเรียนรู้อะไรบ้างจากงานที่มอบหมายให้ทำ
เพราะเป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่กระบวนการทำงานด้วยเช่นกัน
หากนักเรียนมองเพียงเป้าหมายชิ้นงานที่สำเร็จอย่างเดียว
อาจไม่ตระหนักว่าตนเองได้เรียนรู้บทเรียนสำคัญมากมายระหว่างทาง
5. การบูรณาการเทคโนโลยี
เพียงครูบูรณาการเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
ครูก็ได้ก้าวเข้าใกล้เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอีกก้าวหนึ่งแล้ว
เทคโนโลยีที่ครูสามารถใช้ประโยชน์ในชั้นเรียนปัจจุบันมีได้ตั้งแต่การสืบค้นข้อมูลลักษณะต่างๆ
การบันทึกและนำเสนอข้อมูลด้วยภาพนิ่ง วีดิทัศน์ และมัลติมีเดีย การใช้อุปกรณ์ sensor/data
logger บันทึกข้อมูลในการสำรวจตรวจสอบ การใช้ซอฟต์แวร์จัดกระทำ
วิเคราะห์ข้อมูล และเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมาย การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้
กระตุ้นให้นักเรียนสนใจการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ประยุกต์ใช้ความรู้ แก้ปัญหา
และทำงานร่วมกัน
รวมทั้งสร้างทักษะสำคัญในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพต่อไปในอนาคตด้วย
6. การมุ่งเน้นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาพัฒนาพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่
21 ได้เป็นอย่างดี
ยกตัวอย่างทักษะการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม (Learning and Innovation
Skills) ตามกรอบแนวคิดของ Partnership for 21st Century
Skills ที่ครอบคลุม 4C คือ Critical
Thinking (การคิดเชิงวิพากษ์) Communication (การสื่อสาร)
Collaboration (การทำงานร่วมกัน) และ Creativity (การคิดสร้างสรรค์) จะเห็นได้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน
หรือการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นสามารถสร้างเสริมทักษะเหล่านี้ได้มาก
อย่างไรก็ตามในบริบทของโรงเรียนทั่วไป
ครูอาจไม่สามารถให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการทำโครงงาน
หรือการสร้างสรรค์ชิ้นงานเท่านั้น ดังนั้นในบทเรียนอื่นๆ
ถ้าครูมุ่งเน้นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในทุกโอกาสที่เอื้ออำนวย
เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ทำงานร่วมกัน เรียนรู้การหาที่ติ
(ฝึกคิดเชิงวิพากษ์) หาที่ชมหรือเสนอวิธีการใหม่ (ฝึกคิดเชิงสร้างสรรค์)
ก็นับว่าครูจัดการเรียนการสอนเข้าใกล้แนวคิดสะเต็มศึกษามากขึ้น
ตามสภาพจริงของชั้นเรียน
7. การสร้างการยอมรับและการมีส่วนร่วมจากชุมชน
ครูหลายท่านอาจเคยมีประสบการณ์กับผู้ปกครองที่ไม่เข้าใจแนวคิดการศึกษาที่พัฒนานักเรียนให้เป็นคนเต็มคน
แต่มุ่งหวังให้สอนเพียงเนื้อหา ติวข้อสอบ อยากให้ครูสร้างเด็กที่สอบเรียนต่อได้
แต่อาจใช้ชีวิตไม่ได้ในสังคมจริงของการเรียนรู้และการทำงาน
เมื่อครูมอบหมายให้นักเรียนสืบค้น สร้างชิ้นงาน หรือทำโครงงาน
ผู้ปกครองไม่ให้การสนับสนุน หรืออีกด้านหนึ่งผู้ปกครองรับหน้าที่ทำให้ทุกอย่าง
อย่างไรก็ตาม หวังว่าผู้ปกครองทุกคนจะไม่เป็นไปตามที่กล่าวข้างต้น
ผลงานจากความสามารถของเด็ก
เป็นอาวุธสำคัญที่ครูจะนำมาเผยแพร่จัดแสดงเพื่อชนะใจผู้ปกครองและชุมชนให้ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา
ครูสามารถนำนักเรียนไปศึกษาในแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
สำรวจสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในท้องถิ่น
ศึกษาและรายงานสภาพมลพิษหรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ให้ชุมชนรับทราบ
ตลอดจนศึกษาและแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในชุมชน
กิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ เกิดประโยชน์สำหรับนักเรียนเอง
อาจเป็นประโยชน์สำหรับชุมชน และสามารถสร้างการมีส่วนร่วม ความภาคภูมิใจ
และที่สำคัญอย่างยิ่งคือความรู้สึกเป็นเจ้าของ
ร่วมรับผิดชอบคุณภาพการจัดการศึกษาในท้องถิ่นตัวเองให้เกิดขึ้นได้
8. การสร้างการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น การให้นักเรียนศึกษาปัญหาปลายเปิดตามความสนใจของตนเองในลักษณะโครงงาน
ตลอดจนการเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่การใช้ประโยชน์ในบริบทจริงนั้น
บางครั้งนำไปสู่คำถามที่ซับซ้อนจนต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง
ครูไม่ควรกลัวจะยอมรับกับนักเรียนว่าครูไม่รู้คำตอบ หรือครูช่วยไม่ได้ แต่ควรใช้เครือข่ายที่มี
เชื่อมโยงให้ผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นมาช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน
เครือข่ายดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้ง ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ปราชญ์ชาวบ้าน
เจ้าหน้าที่รัฐ หรืออาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น
ครูสามารถเชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายหรือสาธิตในบางหัวข้อ หรือใช้เทคโนโลยี เช่น
การประชุมผ่านวีดิทัศน์ เอื้ออำนวยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถพูดคุย ให้ความคิดเห็น
หรือวิพากษ์ผลงานของนักเรียน เป็นต้น
9. การเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ (informal learning) เด็กๆ
นั้นรักความสนุก หากเราจำกัดความสนุกไม่ให้กล้ำกรายใกล้ห้องเรียน
ความสุขคงอยู่ห่างไกลจากครูและจากเด็กไปเรื่อยๆ
แต่จะบูรณาการความสนุกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาอย่างไร
ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ของครูในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ท้าทาย
เพลิดเพลิน ให้การเรียนเหมือนเป็นการเล่น
แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความรู้และความสามารถตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรด้วย
การเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการที่ได้รับความนิยม คือ การจัดกิจกรรมค่าย
การเรียนรู้จากเพลง เกม ละคร หรือการประกวดแข่งขัน
กิจกรรมเหล่านี้เป็นโอกาสดีที่จะสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน เช่น
อาจเชิญผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นเป็นวิทยากรในค่าย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หรือให้การสนับสนุนของรางวัล
10. การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (non-formal learning) เมื่อครูได้ดำเนินการ
9 ข้อข้างต้นแล้ว อาจมองออกนอกขอบเขตรั้วโรงเรียน
สร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เป็นวัฒนธรรมของชุมชน
ร่วมกันสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านสะเต็มในท้องถิ่น เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
หรือประยุกต์ความรู้สะเต็มเพื่อสนับสนุนแหล่งเรียนรู้วิถีชุมชน เช่น
ส่งเสริมให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมนำเสนอข้อมูลภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
และวัฒนธรรมในชุมชน สร้างหอเกียรติยศสะเต็มของหมู่บ้าน
เพื่อนำเสนอเรื่องราวการใช้ความรู้สะเต็มในการพัฒนาอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น
ผลงานด้านการเกษตร ด้านสาธารณสุข ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์
หรือด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เป็นต้น
12 ลักษณะสำคัญการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลตามแนวทางสะเต็มศึกษา
1. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2. มีจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน
สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
3. ประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ทั้งเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และเพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้
4. ให้ข้อมูลตอบกลับแก่นักเรียนอย่างสม่าเสมอเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
5. ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมที่พัฒนาทักษะแห่งศษวรรษที่
21
6. ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
7. ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน
8. มีเครื่องมือ
อุปกรณ์การเรียนรู้ที่สนับสนุนการตั้งคำถามปลายเปิด และหากเป็นไปได้
9. สนับสนุนการเรียนรู้รายบุคคล
10. มีเนื้อหาหลักสูตรในรูปแบบดิจิทัลให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
11. มีระบบจัดการและติดตาม
การเรียนการสอน และการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี
12. เน้นการบูรณาการ
รวมทั้งระหว่างวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์กายภาพ
7 จุดเน้นการพัฒนาวิชาชีพครูสู่เส้นทางสะเต็มศึกษา
1. ใช้วิธีการสอนที่ผ่านการวิจัยและพัฒนามาแล้ว
2. สร้างโอกาสการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนครู
3. มีโอกาสเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา
4. บูรณาการเทคโนโลยีในกระบวนการพัฒนาครู
5. สร้างความสามารถในการสนับสนุนผู้เรียนในกระบวนการวิจัย
และกระบวนการออกแบบ
6. สร้างศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนแบบ
blended learning
7. เน้นย้าการบูรณาการระหว่างสาขาวิชา
ครูสะเต็ม ครูแห่งศตวรรษที่ 21
1. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2. สอนได้สอดคล้องกับมาตรฐานและจุดประสงค์การเรียนรู้
3. วัดประเมินผลทั้งแบบ
formative และ summative
4. ให้ข้อมูลตอบกลับเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
5. พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้และทักษะแห่งศตวรรษที่
21
6. จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
7. สร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียนเป็นรายบุคคล
8. ใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลและใช้
ICT เป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้
9. มีความสามารถในการใช้คำถามเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
10. ใช้สารสนเทศสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการวัดประเมินผล
แหล่งที่มา::
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556, เมษายน-มิถุนายน). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2, หน้า49-56.
สติยา ลังการ์พินธุ์ Intel Education Thailand การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมิน
http://www.krusmart.com/stem-education-innovation-thailand/
http://lekratiporn.wordpress.com/2013/08/04/stem-education/http://secondsci.ipst.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=331:stemeduworkshop&catid=19:2009-05-04-05-01-56&Itemid=34
http://secondsci.ipst.ac.th/images/article/2013_2/stem_workshop_report.pdf
http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_13/pdf/aw07.pdf
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบกระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้เร่งผลักดันแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM) หรือที่เรียกว่า ระบบ "สเต็มศึกษา" เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่การศึกษาไทยและการศึกษาในประชาคมอาเซียน เริ่มจากความร่วมมือในการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้บริหารสถานศึกษาในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรู้ ความเข้าใจ และกลวิธีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครูในโรงเรียนต่อไป ซึ่งการประชุมนี้ได้นำไปขยายผลภายในประเทศเพื่อระดมความคิดมาแล้วหลายครั้ง
ตอบลบทั้งนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี พ.ศ. 2555 –2559 โดยตั้งเป้าจะพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถระดับนานาชาติภายในปี 2570 หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของนักเรียนทุกช่วงชั้นจะต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งจะวัดผลจากการสอบโอเน็ต ซึ่งเป้าหมายนี้จะใช้ระบบ“สเต็มศึกษา”เป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนา
จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “สเต็มศึกษา” คืออะไร เพราะจากการศึกษาข้อมูลพบว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ มีความตื่นตัวในเรื่องสเต็มศึกษากันมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน อเมริกา อินเดีย ฯลฯ โดยในปี 2558 ประเทศจีนจะผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สเต็มดีกรี (STEM Degree) ออกมาประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมปริญญาโทและเอก ทำให้จำนวนบัณฑิตที่จีนจะผลิตออกมานั้นเกินครึ่งของทุกประเทศที่รวมกันผลิตออกมา
ดร.เปกกา เคส ผู้เชี่ยวชาญการศึกษา จากมหาวิทยาลัยโอลู ประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า “พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ เราสอนให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก สร้างจิตสำนึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว เราไม่รู้ว่าเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เราสร้างพื้นฐานให้เด็กของเรามีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากมันในอนาคต” ประเทศฟินแลนด์จึงเป็นประเทศที่พัฒนาการศึกษาได้ดีที่สุดในโลก เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จึงมีความเข้มงวดในการคัดเลือกบุคคลที่จะมาประกอบอาชีพครูในทุกระดับชั้น โดยต้องจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาโท นอกจากนี้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานที่เท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเมืองหรือนอกเมือง และการแข่งขันเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่สูง เพราะทุกมหาวิทยาลัยมีคุณภาพเท่ากัน
ในขณะที่ ชอง ชุง จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเพื่อการสร้างสรรค์ กล่าวว่า ประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับระบบสเต็ม โดยเริ่มมีการนำระบบนี้มาใช้เมื่อ สามปีที่ผ่านมา และพยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้บ่อยขึ้น เพื่อตอบสนองเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ถึงตรงนี้คงพอสรุปได้แล้วว่า สเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) คือ การสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์(Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และคณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน เพราะในการทำงานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้น ต้องใช้ความรู้หลายด้านในการทำงานทั้งสิ้น ไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ ดังนั้น ผู้เรียนที่มีประสบการณ์จากการทำกิจกรรมหรือโครงงานสเต็มจะมีความพร้อมในการประกอบอาชีพที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม การพลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพ การคมนาคม และลอจิสติกส์ เป็นต้น
จุดเด่นของระบบ“สเต็มศึกษา” จึงตอบโจทย์การแก้ปัญหาสำหรับประเทศไทยที่การศึกษาเน้นการเรียนภาคทฤษฎีของวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี อีกทั้งยังเรียนแบบแยกส่วน และไม่เน้นด้านการปฏิบัติหรือการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เน้นท่องจำ หรือ “เรียนเพื่อสอบ”
http://www.aseanthai.net/special-news-detail.php?id=127
สะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และ คณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
ตอบลบดังนั้น สะเต็มศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการต่อยอดหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ (หรือ กระบวนการทางเทคโนโลยี) เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง และการประกอบอาชีพในอนาคต
สะเต็มศึกษาจึงส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ไขปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มจะมีความพร้อมในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในภาคการผลิตและการบริการที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ
มารู้จักกับสเต็มศึกษา (Stem education) ว่าทำไมจึงมีความสำคัญ
ตอบลบ“สเต็มศึกษา”(science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM Education) การเรียนรู้ที่บูรณาการ การจัดการศึกษาทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ตั้งแต่ระดับขั้นการศึกษาพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษาและรวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ประชากรรุ่นใหม่ได้มีความรู้และทักษะการเรียนรู้ในทางสร้างสรรค์แบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ที่โลกเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิต เพื่อให้เยาวชนไทยก้าวสู่การแข่งขันกับประชากรโลกได้ รวมทั้งเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558(คศ.2015) “เสต็มศึกษา”นั้นจะช่วยพลิกโฉมการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิชา เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา รวมทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ โดยสเต็มศึกษานั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่เน้นการบูรณาการการเรียนรู้การนำไปใช้และการฝึกการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการใหม่ ๆไม่ใช่การเรียนที่เน้นการท่องจำหรือการเรียนเพื่อนำไปสอบเท่านั้น ซึ่งการเรียนแบบสเต็มศึกษานั้น จะเน้นการลงมือปฏิบัติจริง โดยครูผู้สอนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะตั้งคำถามให้เด็กสนใจและเรียนรู้ว่าสิ่งที่เรียนในห้องเรียนนั้นเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันของเรา การพัฒนาขีดความสามารถของครู องค์ประกอบในการถ่ายทอดความรู้และการกระตุ้นให้นักเรียนแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ งบประมาณที่จะมาดำเนินการโดยการกระทำที่เป็นระบบในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าองค์กรปกครองท้องถิ่น กระทรวงไอซีที มหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและชุมชนที่จะต้องให้ความร่วมมือ เพื่อให้การเรียนการสอนแนวใหม่นี้ให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล รวมทั้งการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนได้
ดร.เปกกา เคส จากมหาวิทยาลัยโอลู ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา กล่าวว่า “การศึกษาในระบบสะเต็ม ทำให้ระบบการเรียนการสอนในประเทศฟินแลนด์ ถือว่าดีที่สุดในโลก รัฐบาลให้ความสำคัญกับระบบการศึกษา เพราะเป็นพื้นฐานการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยบุคคลที่ประกอบอาชีพครูในทุกระดับชั้น ต้องจบการศึกษาขั้นต่ำในระดับปริญญาโท นอกจากนี้ทุกโรงเรียนต้องปรับปรุงให้ได้มาตรฐานเท่ากันหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในเมืองหรือนอกเมืองและการสอบแข่งขันมหาวิทยาลัยก็ไม่สูง เพราะทุกมหาวิทยาลัยมีคุณภาพเท่าเทียมกัน
ชองชุง จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเพื่อการสร้างสรรค์ กล่าวว่าประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับระบบสะเต็ม โดยเริ่มมือสามปีที่ผ่านมาและพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้บ่อยขึ้นเพื่อตอบสนองเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมาแต่ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและการคิดค้นวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์เพื่อใช้ในอนาคต
โอบามา ก็ได้สนับสนุนนโยบายการศึกษาของระบบสเต็ม โดยการให้องค์กรเอกชนที่ลงทุนโดยไม่หวังผลกำไรมาสนับสนุนผลักดันการศึกษาระบบสเต็มเพื่อเพิ่มคุณภาพนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่งเกณฑ์ประเมินตัวชี้วัดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์จากการวัดของหน่วยงาน Tim และ Pissa ได้ดำเนินการอยู่ ในหน่วยงานความร่วมือในระหว่างประเทศรวมทั้งประเทศไทยเราด้วย
สำหรับประเทศที่มีการตื่นตัวกับการศึกษาในเรื่องสเต็มกันมากไม่วาจะเป็นประเทศจีน อเมริกา อนเดีย ฯลฯ โดยจากการศึกษาพบว่าในจีนจะผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสเต็มออกมาประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งประเทศไทยนั้นยังไม่ตื่นตัวและยกระดับในเรื่องนี้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก สำหรับคนไทยในอนาคต
สเต็มศึกษา(STEM Education) คืออะไร?
ตอบลบSTEM Education (Science Technology Engineering and Mathematics Education) คือแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และความรู้ด้านคณิตศาสตร์ เพื่อเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตรวมทั้งเพื่อให้สามารถพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต
สเต็มศึกษา(STEM Education) มีความสำคัญอย่างไร?
ในสังคมโลกในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยความก้าวหน้าเทคโนโลยีการสื่อสารก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่มีข้อมูลข่าวสารจำนวนมหาศาลอยู่ในแหล่งต่างๆ รวมถึงการที่ต้องแข่งขันกันเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าทำให้ทุกประเทศต้องเร่งพัฒนาประชากรของตนให้มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและแข่งขันในตลาดแรงงานกับนานาอารยะประเทศได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปรับหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงและการประกอบอาชีพในอนาคต ส่วนของผู้สอนและผู้เรียนก็ต้องมีปรับเปลี่ยนตนเองให้มีทักษะที่จำเป็นในการเป็นผู้สอนและผู้เรียนสำหรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจกล่าวถึงกันอย่างมากในวงวิชาการ
สำหรับในประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งผลักดันแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมเทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM)หรือที่เรียกว่า ระบบ “สเต็มศึกษา”เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่การศึกษาไทยและการศึกษาในประชาคมอาเซียนเริ่มจากความร่วมมือในการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้บริหารสถานศึกษาในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรู้ความเข้าใจ และกลวิธีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครูในโรงเรียนต่อไปซึ่งการประชุมนี้ได้นำไปขยายผลภายในประเทศเพื่อระดมความคิดมาแล้วหลายครั้ง โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี พ.ศ. 2555 –2559 โดยตั้งเป้าจะพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถระดับนานาชาติภายในปี 2570 หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของนักเรียนทุกช่วงชั้นจะต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปีซึ่งจะวัดผลจากการสอบโอเน็ตซึ่งเป้าหมายนี้จะใช้ระบบ“สเต็มศึกษา”เป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนา(อ้างอิง :นางสาวปัณญานัตย์ วิเศษสมวงศ์ ส่วนอาเซียนสำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศจากบทความออนไลน์ http://www.aseanthai.net/special-news-detail.php?id=127)
STEM Educationหรือระบบ“สเต็มศึกษา”แก้ปัญหาระบบการศึกษาไทยได้หรือ
ตอบลบขณะที่ 10 ชาติอาเซียนกำลังเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แน่นอนว่า ความพร้อมย่อมเป็นเรื่องที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างกำลังเร่งดำเนินการ ซึ่งหมายรวมถึงระบบการศึกษาของไทยด้วย ทว่า ตลอด 20 ปี ของการปฏิรูปการศึกษา ผลการวิจัยกลับชี้ว่า การศึกษาไทยยังไม่กระเตื้อง ล่าสุดผลการวิจัย เรื่อง “ระบบการศึกษาไทยขั้นพื้นฐาน (จากอนุบาลถึงมัธยมปลาย) ความก้าวหน้าและความล้มเหลว” ที่ใช้ระยะเวลาศึกษากว่า 2 ปี ของบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)ได้เปิดเผยว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา การศึกษาไทยไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนเลย และผลการวิจัยยังชี้ชัดว่า ระบบการศึกษาไทยอ่อนแอทุกส่วน ไม่ว่าจะจับจุดไหนของระบบก็พบปัญหาทั้งนั้น โดยเฉพาะเรื่องผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่ตกต่ำ เทียบจากผลทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และผลสอบโครงการวิจัยนานาชาติ (พิซา)
หากมองไปยังสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การไหลบ่าของข่าวสารข้อมูล และสภาพสังคมและเศรษฐกิจการค้าที่แข่งขันกันอย่างหนักหน่วง ยิ่งทำให้ทุกประเทศต้องเร่งพัฒนาประชากรของตนให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพราะฉะนั้น การเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมเจริญก้าวหน้า จึงเป็นกลยุทธ์ของการพัฒนาชาติแนวทางหนึ่งซึ่งหากไทยยังไม่ตื่นตัวที่จะยกระดับคุณภาพและเพิ่มจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ก็จะตกขบวนเมื่อเข้าสู่ยุคประชาคมอาเซียนที่การเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปอย่างเสรี
กระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้เร่งผลักดันแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM) หรือที่เรียกว่า ระบบ "สเต็มศึกษา" เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่การศึกษาไทยและการศึกษาในประชาคมอาเซียน เริ่มจากความร่วมมือในการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้บริหารสถานศึกษาในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรู้ ความเข้าใจ และกลวิธีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครูในโรงเรียนต่อไป ซึ่งการประชุมนี้ได้นำไปขยายผลภายในประเทศเพื่อระดมความคิดมาแล้วหลายครั้ง
ทั้งนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี พ.ศ. 2555 –2559 โดยตั้งเป้าจะพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถระดับนานาชาติภายในปี 2570 หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของนักเรียนทุกช่วงชั้นจะต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งจะวัดผลจากการสอบโอเน็ต ซึ่งเป้าหมายนี้จะใช้ระบบ“สเต็มศึกษา”เป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนา
จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “สเต็มศึกษา” คืออะไร เพราะจากการศึกษาข้อมูลพบว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ มีความตื่นตัวในเรื่องสเต็มศึกษากันมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน อเมริกา อินเดีย ฯลฯ โดยในปี 2558 ประเทศจีนจะผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สเต็มดีกรี (STEM Degree) ออกมาประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมปริญญาโทและเอก ทำให้จำนวนบัณฑิตที่จีนจะผลิตออกมานั้นเกินครึ่งของทุกประเทศที่รวมกันผลิตออกมา
ดร.เปกกา เคส ผู้เชี่ยวชาญการศึกษา จากมหาวิทยาลัยโอลู ประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า “พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ เราสอนให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก สร้างจิตสำนึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว เราไม่รู้ว่าเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เราสร้างพื้นฐานให้เด็กของเรามีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากมันในอนาคต” ประเทศฟินแลนด์จึงเป็นประเทศที่พัฒนาการศึกษาได้ดีที่สุดในโลก เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จึงมีความเข้มงวดในการคัดเลือกบุคคลที่จะมาประกอบอาชีพครูในทุกระดับชั้น โดยต้องจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาโท นอกจากนี้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานที่เท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเมืองหรือนอกเมือง และการแข่งขันเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่สูง เพราะทุกมหาวิทยาลัยมีคุณภาพเท่ากัน
ในขณะที่ ชอง ชุง จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเพื่อการสร้างสรรค์ กล่าวว่า ประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับระบบสเต็ม โดยเริ่มมีการนำระบบนี้มาใช้เมื่อ สามปีที่ผ่านมา และพยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้บ่อยขึ้น เพื่อตอบสนองเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
พอสรุปได้แล้วว่า สเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) คือ การสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์(Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และคณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน เพราะในการทำงานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้น ต้องใช้ความรู้หลายด้านในการทำงานทั้งสิ้น ไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ ดังนั้น ผู้เรียนที่มีประสบการณ์จากการทำกิจกรรมหรือโครงงานสเต็มจะมีความพร้อมในการประกอบอาชีพที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม การพลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพ การคมนาคม และลอจิสติกส์ เป็นต้น
ตอบลบจุดเด่นของระบบ“สเต็มศึกษา” จึงตอบโจทย์การแก้ปัญหาสำหรับประเทศไทยที่การศึกษาเน้นการเรียนภาคทฤษฎีของวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี อีกทั้งยังเรียนแบบแยกส่วน และไม่เน้นด้านการปฏิบัติหรือการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เน้นท่องจำ หรือ “เรียนเพื่อสอบ”
เมื่อต้นปี 2556 ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานบอร์ด สสวท.จึงประกาศใช้ “สเต็มศึกษา” มาพลิกโฉมการเรียนวิทย์-คณิตของไทย ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมไปถึงการศึกษาตลอดชีวิต เพราะหากเรายังไม่พัฒนาความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราจะสูญเสีย
ศักยภาพการแข่งขันไปเรื่อยๆ เพราะระบบสเต็มจะตอบคำถามให้ผู้เรียนวิทยาศาสตร์ได้ว่า เรียนไปแล้วสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง และระบบสเต็มยังทำให้เกิดการบูรณาการในความรู้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
“ถ้าเราไม่พัฒนา เราจะตกอยู่ในช่วง Middle income trap หรือตกอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง และเอสเอ็มอีเราจะตายหมด เหลือเพียงธุรกิจผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ดังนั้น เราต้องหลุดจากช่วงนี้ไปให้ได้ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต้องเปลี่ยนความคิดพื้นฐานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ พลิกสถานการณ์ หรือที่เรียกว่า Game changer ยกตัวอย่างเช่นการมีระบบ 3 G หรือสมาร์ทโฟน ก็เป็น Game changer”
ระบบสเต็มศึกษายังสามารถสร้างเครือข่ายการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านระบบเครือข่าย 3 G ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาระหว่างโรงเรียนที่อยู่ในเขตเมือง และโรงเรียนห่างไกลในชนบท ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถช่วยสร้างแรงจูงใจในการเข้าสู่เส้นทางอาชีพ โดยให้ความร่วมมือบอกโจทย์หรือความต้องการในการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้นักศึกษาในระดับการศึกษาต่าง ๆ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และข้อเสนอแนะที่สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมนั้นๆได้
การเกิดสะเต็มศึกษานั้นจะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร เปลี่ยนวิธีสอน และการประเมินผล โดยทาง สสวท.จะจัดตั้งสำนักสเต็มศึกษาขึ้นใน สสวท.และทุกจังหวัดเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและให้ข้อมูล โดยจะมีการดำเนินโครงการนำร่องสเต็มศึกษาขึ้นในโรงเรียนเครือข่ายที่มีความพร้อมประมาณ 5-10 จังหวัด ขณะเดียวกัน จะคัดเลือกทูตสเต็ม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีประสบการณ์ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ แพทย์ วิศวกร ในเบื้องต้นจำนวน 100คน มาเป็นผู้แนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แก่ครู เพื่อต่อยอดในการสอนนักเรียน และจะเริ่มระบบสเต็มศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 หากเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมก็จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศเป็นวาระแห่งชาติต่อไป
ขณะที่ นางชมัยพร ตั้งตน หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ มัธยมศึกษา ของ สสวท. เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่สัมพันธ์กับระบบ สเต็มศึกษา ว่าขณะนี้ได้ส่งหลักสูตรที่ สสวท.ปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ประเทศ ตรวจสอบอีกครั้ง โดย สสวท.คาดว่าหลักสูตรจะแล้วเสร็จและส่งมอบให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้จริงในปี 2558
ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยภาวะผู้นำทางวิชาการด้าน STEM (science technology engineering and mathematics) ของผู้บริหารสถานศึกษาจาก 9 ประเทศอาเซียน ซึ่งแสดงถึงความร่วมมือของภูมิภาคที่ต้องการเร่งสร้างกำลังคนให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียนด้วยระบบสเต็ม
...จึงเป็นสิ่งท้าทายความสามารถไม่น้อย หากสังคมไทยจะรู้จักและเข้าใจหลักสูตร “สเต็มศึกษา” ในวงกว้าง ในฐานะที่ได้รับการเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ ในปี 2557...