ตัวอย่างงานวิจัย โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ท่านสามารถเปิดดูงานวิจัยบทที่ 1-5 และก๊อปได้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader การโหลดและการติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Reader
การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือที่ใช้แบบฝึกทักษะกับกลุ่มร่วมมือที่ใช้แผนผังความคิด / วิทยานิพนธ์ ของ เครือวัลย์ ภูมิศรีแก้ว
การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะประสมด้วยภาพกับแผนผังความคิด
การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมด้วยบทเรียนการ์ตูนและแบบฝึกทักษะ / วิทยานิพนธ์ ของ เกศสุรีพร แสนบุญ
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชา ภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการสะกดคำสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 / วิทยานิพนธ์ ของ อุษา ขันแข็ง
การพัฒนากระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อภิรักษ์ จงวงศ์
การพัฒนาการเขียนเรียงความโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วิวัฒน์ เมฆจรัสกุล
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะ การคิดคำนวณเรื่อง ทฤษฏีของปีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพิมายวิทยา อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นันท์นลิน แหล่งสนาม
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะการ คิดคำนวณ เรื่อง จำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของนักเรียนโรงเรียนเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ทิพปภา ศิริธีรพันธ์
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่องพหุนามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนิคมพิมายศึกษา อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นวลอนงค์ แช่มพุทรา
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะเรื่องสมการ และอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรวมมิตรวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ละออง เลี้ยงจอหอ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนผังความคิดและแบบฝึกทักษะเรื่องการประสมคำในแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ มยุรี วรรณสุข
การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ชฎารักษ์ บูรณ์เจริญ
การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ชุลี กลิ่นสุวรรณ
การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดและแบบฝึกทักษะ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สมควร น้อยเสนา
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ปนัฏดา บุญเสนาะ
การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุดใจ พงษ์เพียจันทร์
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พรทิภา มากมูลดี
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนในแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ โสภิต พันธ์วิริยะกุล
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกิจกรรมแจกลูกสะกดคำโดยใช้แผนผังความคิดและแบบฝึกทักษะ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นพวรรณ ธีระชลาลัย
การพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยด้วยแบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ รุจิรัตน์ สระหอม
การพัฒนาทักษะการแจกลูกสะกดคำภาษาไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มี่ปัญหาในการเรียนรู้ที่เรียนรวมกับ นักเรียนปกติโดยใช้แบบฝึกทักษะ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ดาราวรรณ แข่งขัน
การพัฒนาทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการกลุ่มร่วมมือโดยใช้แบบฝึกทักษะ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วรรณภา นิลผาย
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทยเรื่อง เจ้าตูบผู้มีความสุขสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ชุติกาญจน์ เทศยรัตน์
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาโดยใช้หนังสือและแบบฝึกทักษะเรื่องแย้เพื่อนรัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ มนู เฮงขวัญ
การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ถนอมเกียรติ ศรีชัยเชิด
การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ปาริชาติ นุริศักดิ์
การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ บุญรุ่ง จันทวงษ์วาณิชย์
การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ระบบนิเวศ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นฤมล สังข์พุทธินันทน์
การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องบรรยากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พนัดดา สุหญ้านาง
การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กลุ่มสร้างเสริม ประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ แก้วอุดร เชื้อหาญ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เกษกาญจน์ มาเวียง
การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นุจรี เทียมลม
การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เพ็ญประภา ศรีทอนสุทธิ์
การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เจริญ วรนาถนฤมล
การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเรื่อง พลังงานกับชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ น้ำฝน แสงลา
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สมบูรณ์ พรมท้าว
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาระคนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นภาพร พรมแดง
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนประโยคจากภาพชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 / วิทยานิพนธ์ ของ นัชรี บูรณะ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนต่ำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [electronic resource] / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อิทธิพล เหล็กกล้า
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังและทักษะการพูดวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 [electronic resource] / วิทยานิพนธ์ ของ ยิ่ง ประโกสันตัง
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 / วิทยานิพนธ์ ของ ศิริพร สุทธิยา
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการสะกดคำยากวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นิพาพร วงษ์ศิลา
การพัฒนาแบบฝึกทักษะคิดเลขเร็ว วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จรรยา มีสิมมา
การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณ และการหารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ กรองกาญจน์ ประจำเมือง
การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เปตา กิ่งชัยวงค์
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สมศรี นิยมสุข
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จารุวรรณ เขียวอ่อน
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จริยา เจือจันทร์
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ธรรมนูญ มีเสนา
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การคูณทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จรูญ สุทธิยานุช
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบร่วมมือโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการแต่งกลอนแปดชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เยาวภา ชาวสามทอง
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ คำตา นัดกล้า
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณเรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร วิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุภาพร จุลศิริวัฒนกุล
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะเรื่องฟังก์ชันลอการิทึม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นรงค์ ทองศรี
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง พื้นที่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นราพร ธุระหาญ
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วราภรณ์ ระบาเลิศ
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์เรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ รัตนา สุทธิประภา
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ Learning Together โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องอัตราส่วนและร้อยละ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ประนอม ประทุมแสง
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสมการและการแก้สมการกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ทัศนีย์ บุตรอุดม
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ศักดิ์ชาย ทองศรี
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องเงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ โสภณ บุญไชย
การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์เรื่องการบวกลบเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สรรพสิริ เอี่ยมสะอาด
การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ(STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ รินรดา จันทะวัน
การพัฒนาแผนการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องคู่อันดับและกราฟ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วัชรี คำเดช
การพัฒนาแผนการสอนและแบบฝึกทักษะเรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จริง ภาประเวศ
ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ญาณินทุ์ บุญศาสตร์
ผลการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องบทประยุกต์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ หยาดนภา ยัพราษฎร์
ผลการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกลุ่มร่วมมือที่ใช้แผนผังความคิดและกลุ่มร่วมมือที่ใช้แบบฝึกทักษะ / วิทยานิพนธ์ ของ ผานิตา เพิ่มพูลทรัพย์
ผลการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการอ่านและการเขียนคำยากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ณีรนุช เบ้าวันดี
ผลการเรียนรู้เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาประกอบแบบฝึกทักษะ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ฉัตรา ธนสีลังกูร
ผลการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จุรีพันธ์ ภาษี
เรียบเรียงโดย :: ประภัสรา โคตะขุน ; http://prapasara.blogspot.com
การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งของงานวิจัย อย่าลืมอ้างอิงที่มาด้วยนะคะ
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะคือ...
ตอบลบชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2535 : 16) ให้ความหมาย แบบฝึกเสริมทักษะว่า หมายถึง สิ่งที่นักเรียนต้องใช้ควบคู่กับการเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบฝึกที่ครอบคลุมกิจกรรมที่นักเรียนพึงกระทำ อาจกำหนดแยกเป็นแต่ละหน่วย หรืออาจรวมเล่มก็ได้
ลักษณา อินทะจักร (2538 : 161) ให้ความหมาย แบบฝึกเสริมทักษะว่า หมายถึง แบบฝึกที่ครูสร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ศศิธร ธัญลักษณานันท์ (2542 : 375) ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่า หมายถึง แบบฝึกเสริมทักษะที่ใช้ฝึกความเข้าใจ ฝึกทักษะต่าง ๆ และทดสอบความสามารถของนักเรียนตามบทเรียนที่ครูสอนว่า นักเรียนเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด
กู๊ด (Good 1973 : 224, อ้างถึงใน ลักษณา อินทะจักร 2538 : 160) ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่า หมายถึง งานหรือการบ้านที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำ เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาแล้ว และเป็นการฝึกทักษะการใช้กฎใช้สูตรต่าง ๆ ที่เรียนไป
พจนานุกรม เวบสเตอร์ (Webster 1981 : 64) ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่าหมายถึง โจทย์ปัญหา หรือตัวอย่างที่ยกมาจากหนังสือ เพื่อนำมาใช้สอนหรือให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้ดีขึ้น หลังจากที่เรียนบทเรียนไปแล้ว
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า แบบฝึกเสริมทักษะ หมายถึง งานหรือกิจกรรมที่ครู สร้างขึ้น โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น และช่วยฝึกทักษะต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง อาจจะให้นักเรียนทำแบบฝึกขณะเรียนหรือหลังจากจบบทเรียนไปแล้วก็ได้
ความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะ
ภายหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปแล้ว การเรียนการสอนนั้นย่อม ไม่เกิดผลอย่างเต็มที่ถ้าไม่ได้รับการฝึกทักษะให้เกิดความชำนาญและเข้าใจอย่างแท้จริงโดยเฉพาะวิชาภาษาไทย เพราะภาษาไทยเป็นวิชาทักษะซึ่งเป็นวิชาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ และการดำเนินชีวิตประจำวันตามที่หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ต้องการ ดังนั้นในการสอนภาษาไทยจึงต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญคล่องแคล่ว เพื่อช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษาเพิ่มขึ้นตามวัยและความสามารถของตนที่จะทำได้ และเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ฝึกทักษะทางภาษาให้ได้ผลดีก็คือ แบบฝึกเสริมทักษะ ดังที่นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
กมล ดิษฐกมล (2526 : 18, อ้างถึงใน ลักษณา อินทะจักร 2538 : 163) กล่าวว่า แบบฝึกเสริมทักษะเป็นหัวใจของการสอนวิชาทักษะอยู่ที่การฝึก การฝึกอย่างถูกวิธีเท่านั้นจะทำให้เกิดความชำนิชำนาญ คล่องแคล่วว่องไวและทำได้โดยอัตโนมัติ
วีระ ไทยพานิช (2528 : 11) ได้อธิบายว่า แบบฝึกเสริมทักษะทำให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำจริง เป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนมีจุดประสงค์แน่นอน ทำให้สามารถรู้และจดจำสิ่งที่เรียนได้ดี จนนำไปใช้ในสถานการณ์เช่นเดียวกันได้
เพตตี้ (Petty 1963 : 269) ได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะไว้อย่างชัดเจนว่าแบบฝึกเสริมทักษะเป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครูได้มาก ช่วยส่งเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทน ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะการให้นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง จะทำให้ประสบผลสำเร็จทางด้านจิตใจมาก ทั้งยังช่วยให้นักเรียนสามารถทบทวนสิ่งที่เรียนได้ด้วยตนเองและใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนได้อีกด้วย
ดังนั้น แบบฝึกเสริมทักษะจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น แบบฝึกเสริมทักษะจึงนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนวิชาที่ต้องการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนมากยิ่งขึ้น
.
ลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะ
ตอบลบการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักในการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย ซึ่งมีผู้รู้ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักในการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย ซึ่งมีผู้รู้ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
นิตยา ฤทธิ์โยธี (2520 : 1) ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ว่า แบบฝึกเสริมทักษะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนมาแล้ว เหมาะสมกับระดับ วัย หรือความสามารถของเด็ก มีคำชี้แจงสั้น ๆ ที่ทำให้เด็กเข้าใจวิธีทำได้ง่าย ใช้เวลาเหมาะสมหรือใช้เวลาไม่นาน และเป็นสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายให้แสดงความสามารถ
สามารถ มีศรี (2530 : 28) กล่าวว่า แบบฝึกเสริมทักษะที่ดีต้องเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียนมาแล้วเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีคำสั่งและคำอธิบาย มีคำแนะนำการใช้แบบฝึก เสริมทักษะ มีรูปแบบที่น่าสนใจและมีกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบ
โรจนา แสงรุ่งระวี (2531 : 22) กล่าวว่า แบบฝึกเสริมทักษะที่ดีนอกจากมีคำอธิบายชัดเจนแล้วควรเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ใช้เวลาในการฝึกไม่นานเกินไปและมีหลายรูปแบบ
ฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า แบบฝึกเสริมทักษะที่ดี ครูผู้สร้างจะต้องยึดหลักจิตวิทยา ใช้สำนวนภาษาที่ง่าย เหมาะสมกับวัย ความสามารถของผู้เรียน มีกิจกรรมหลากหลาย มีคำสั่ง คำอธิบาย และคำแนะนำการใช้แบบฝึกเสริมทักษะที่ชัดเจนเข้าใจง่าย ใช้เวลาในการฝึกไม่นานและที่สำคัญมีความหมายต่อชีวิต เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
.
หลักการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
ตอบลบการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีผู้เสนอแนะไว้ดังนี้
วรนาถ พ่วงสุวรรณ (2518 : 34 – 37) ได้ให้หลักการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
1. ตั้งจุดประสงค์
2. ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหา
3. ขั้นต่าง ๆ ในการสร้าง
3.1 ศึกษาปัญหาในการเรียนการสอน
3.2 ศึกษาหลักจิตวิทยาของเด็กและจิตวิทยาการเรียนการสอน
3.3 ศึกษาเนื้อหาวิชา
3.4 ศึกษาลักษณะของแบบฝึกเสริมทักษะ
3.5 วางโครงเรื่องและกำหนดรูปแบบให้สัมพันธ์กับโครงเรื่อง
3.6 เลือกเนื้อหาต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาบรรจุในแบบฝึกเสริมทักษะให้ครบตามที่กำหนด
เกสร รองเดช (2522 : 36 – 37) ได้เสนอแนะแนวทางในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะดังนี้
1. สร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน คือ ไม่ง่ายไม่ยากจนเกินไป
2. เรียงลำดับแบบฝึกเสริมทักษะจากง่ายไปหายาก โดยเริ่มจากการฝึกออกเสียงเป็นพยางค์ คำ วลี ประโยค และคำประพันธ์
3. แบบฝึกเสริมทักษะบางแบบควรใช้ภาพประกอบ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการฝึก และจะช่วยยั่วยุให้ติดตามต่อไปตามหลักของการจูงใจ
4. แบบฝึกเสริมทักษะที่สร้างขึ้นเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ง่าย ๆ ใช้เวลาในการฝึกประมาณ 30 ถึง 45 นาที
5. เพื่อป้องกันความเบื่อหน่าย แบบฝึกต้องมีลักษณะต่าง ๆ เช่น ประสมคำจากภาพ เล่นกับบัตรภาพ เติมคำลงในช่องว่าง อ่านคำประพันธ์ ฝึกร้องเพลง และใช้เกมต่าง ๆ ประกอบ
บ็อค (Bock 1993 : 3) ได้ให้ข้อพิจารณาในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ ดังนี้
1. กำหนดจุดประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบจุดมุ่งหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
2. ให้รายละเอียดต่าง ๆ เช่น คำแนะนำในการทำแบบฝึกเสริมทักษะหรือขั้นตอนในการทำอย่างละเอียด
3. สร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนมากที่สุด เช่น แบบฝึกเสริมทักษะอาจใช้รูปแบบง่าย ๆ โดยเริ่มจากการให้นักเรียน ตอบคำถามในลักษณะถูกผิดจนถึงการให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
4. แบบฝึกเสริมทักษะควรสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียน เช่น การให้นักเรียนเขียนเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลงในตารางหรือแผนภูมิที่กำหนดให้
จากแนวคิดข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะควรมีหลักใน การสร้างดังนี้
1. ต้องยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย ต้องคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ แรงจูงใจของนักเรียน
2. ต้องตั้งจุดประสงค์ในการฝึกว่าต้องการฝึกเสริมทักษะใด เนื้อหาใด ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไร
3. แบบฝึกเสริมทักษะต้องไม่ยากไม่ง่ายจนเกินไป คำนึงถึงความสามารถของเด็กและต้องเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
4. ต้องศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ ปัญหาและข้อบกพร่องของนักเรียน
5. แบบฝึกเสริมทักษะต้องมีคำชี้แจง และควรมีตัวอย่างเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจมากขึ้น และสามารถทำได้ด้วยตนเอง
6. แบบฝึกเสริมทักษะควรมีหลายรูปแบบ หลายลักษณะ เพื่อจูงใจในการทำ ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกว่ามีจำนวนไม่มาก
7. ควรมีรูปภาพประกอบที่สวยงามเหมาะสมกับวัยของเด็ก
8. ควรใช้ภาษาสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหรือคำสั่ง
9. ควรมีการทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่องต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้จริง
10. ควรจัดทำเป็นรูปเล่ม ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้ง่าย นักเรียนสามารถนำมาทบทวนก่อนสอบได้
หลักจิตวิทยาที่นำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพ สำหรับนำไปใช้กับนักเรียนนั้น ต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเรียนรู้ และทฤษฎีที่ถือว่าเป็นแนวความคิดพื้นฐานของการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะเข้าช่วย เพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของนักเรียน
เดโช สวนานนท์ (2521 : 159 – 163) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดค์ และสกินเนอร์ (Thorndike and Skinner) ดังนี้ ธอร์นไดค์ ได้ตั้งกฎการเรียนรู้ขึ้น 3 กฎ ซึ่งนำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ ได้แก่
1. กฎแห่งผล (Law of Effect) มีใจความว่าการเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองจะดียิ่งขึ้นเมื่อผู้เรียนแน่ใจว่าพฤติกรรมตอบสนองของตนถูกต้อง การให้รางวัลจะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ อีก
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) มีใจความว่า การที่มีโอกาสได้กระทำซ้ำ ๆ ในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งนั้น ๆ จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การฝึกหัดที่มีการควบคุมที่ดีจะส่งเสริมผลต่อการเรียนรู้
.
ดีมากเจ้า
ตอบลบ