ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

09 กุมภาพันธ์ 2557

แนวคิดการบริหารแบบ Balanced Scorecard

     แนวคิดการบริหารแบบ Balanced  Scorecard


 
Balanced  Scorecard  คืออะไร
 


Balanced  Scorecard (BSC)   คือ ระบบหรือกระบวนในการบริหารงานชนิดหนึ่งที่อาศัยการกำหนดตัวชี้วัด (KPI)  เป็นกลไกสำคัญ Kaplanและ Norton  ได้ให้นิยามล่าสุดของ Balanced  Scroecard ไว้ว่า เป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ(Strategic  Implementationโดยอาศัยการวัดหรือประเมิน(Measurement)  ที่จะช่วยทำให้องค์กรเกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร(Alignment  and  focused) ”  
 
แนวคิดแบบ  Balanced  Scroecard   เกิดจาก Professor  Robert  Kaplan  อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Harvard  และ  Dr. David Norton  ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ  โดยทั้งสอง ได้ศึกษาและสำรวจถึงสาเหตุของการที่ตลาดหุ้นของอเมริกาประสบปัญหาในปี 1987  และพบว่าองค์กรส่วนใหญ่ในอเมริกานิยมใช้แต่ตัวชี้วัดด้านการเงินเป็นหลัก  ทั้งสองจึงได้เสนอแนวคิดในเรื่องของการประเมินผลองค์กร  โดยพิจารณาตัวชี้วัดในสี่มุมมอง  (Perspectives)  แทนการพิจารณาเฉพาะมุมมองด้านการเงินเพียงอย่างเดียว  
 
มุมมองทั้ง ประกอบด้วย มุมมองด้านการเงิน (Financial  Perspective)  มุมมองด้านลูกค้า (Customer  Perspective)    มุมมองด้านกระบวนการภายใน  (Internal  Process  Perspective)  และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning  and  Growth  Perspective)  
แนวคิดพื้นฐานของ Balanced  Scroecard  
Balanced  Scroecard  ประกอบด้วยมุมมอง (Perspcetives) 4ด้าน คือ มุมมองด้านการเงิน (Financial  Perspective)  มุมมองด้านลูกค้า (Customer  Perspective)    มุมมองด้านกระบวนการภายใน  (Internal  Process  Perspective)  และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา  (Learning  and  Growth  Perspective)   มุมมองทุกด้านจะมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรเป็นศูนย์กลาง ในแต่ละด้านประกอบด้วย 4องค์ประกอบ  คือ
 
1.วัตถุประสงค์ (Objectiveคือสิ่งที่องค์กรมุ่งหวังหรือต้องการที่จะบรรลุในแต่ละด้าน
 
2.ตัวชี้วัด (Measures หรือ Key Performance Indicators)คือ ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์ในแต่ละด้าน และตัวชี้วัดเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดว่าองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละด้านหรือไม่  
 
3.เป้าหมาย (Target)คือ เป้าหมายหรือตัวเลขที่องค์กรต้องการจะบรรลุในตัวชี้วัดแต่ละประการ
 
4.แผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรม (Initiatives)  ที่องค์กรจะจัดทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น  โดยในขั้นนี้ยังไม่ใช่แผนปฏิบัติการที่จะทำ      แต่เป็นเพียงแผนงาน  โครงการ หรือกิจกรรม เบื้องต้นที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
 
นอกจากองค์ประกอบทั้ง แล้ว ในทางปฏิบัติมักจะเพิ่มอีก องค์ประกอบ คือ ข้อมูลในปัจจุบัน (Baseline  Data)  ของตัวชี้วัดแต่ละตัว   การหาข้อมูลในปัจจุบันจะเป็นตัวช่วยในการกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดแต่ละตัวให้มีความชัดเจนมากขึ้น
 
Balanced  Scorecard  สามารถช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
 
ปัจจุบันพบว่าจุดอ่อนที่สำคัญของผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่การวางแผน หรือการจัดทำกลยุทธ์แต่อยู่ที่ความสามารถในการนำกลยุทธ์ที่ได้กำหนดขึ้นไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ดังเช่น นิตยสารFortune ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำด้านธุรกิจได้ระบุว่าจากการสำรวจผู้บริหารทั่วโลกเกี่ยวกับความล้มเหลวในการนำกลยุทธ์ที่วางไว้ไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการชื่อRenaissance ร่วมกับนิตยสาร CFO นั้น คือ
 
1.วิสัยทัศน์ขององค์กรไม่ได้รับการถ่ายทอดสู่สิ่งที่เข้าใจและปฏิบัติได้ร้อยละ 40 ของผู้บริหารระดับกลางและร้อยละ ของผู้บริหารระดับล่างเท่านั้นที่เข้าใจในวิสัยทัศน์ขององค์กร
 
2.เป้าหมายในการทำงานและผลตอบแทนของผู้บริหารและพนักงานไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์กับกลยุทธ์ขององค์กร  เพียงร้อยละ 50 ของผู้บริหารระดับสูง ร้อยละ 20 ของผู้บริหารระดับกลาง  และน้อยกว่าร้อยละ 10ของพนักงานทั่วไปของบริษัทที่สำรวจมีเป้าหมายในการทำงานและผลตอบแทนมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ขององค์กร
 
3.การจัดสรรทรัพยากรหรือการจัดทำงบประมาณขององค์กรมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์เพียงร้อยละ 43 ของบริษัทที่สำรวจ
 
Balanced  Scroecard จะช่วยให้มีการนำกลยุทธ์ขององค์กรไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเนื่องจาก การจัดทำ Balanced Scroecard
ต้องเริ่มต้นด้วยกระบวนการด้านกลยุทธ์ก่อน คือ การวิเคราะห์ด้านกลยุทธ์ และการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อให้ได้กลยุทธ์หลักขององค์กร  (Strategic  Themes)    การจัดทำแผนที่ทางกลยุทธ์  (Strategy  Map)  ซึ่งจะเป็นแผนที่ที่แสดงความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลของวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ภายใต้มุมมองของ Balanced  Scroecard ทั้ง ด้าน (มุมมองด้านการเงิน   มุมมองด้านลูกค้า   มุมมองด้านกระบวนการภายใน  และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา)โดยวัตถุประสงค์เหล่านี้ต้องสอดคล้องและสนับสนุนต่อวิสัยทัศน์และกลยุทธ์หลักขององค์กร    จากนั้นจึงกำหนดตัวชี้วัด  เป้าหมาย  และ แผนงานโครงการ กิจกรรม ของวัตถุประสงค์แต่ละประการ จึงจะถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการในการพัฒนา Balanced  Scroecard  ในระดับองค์กร (Corporate  Scorecard)


 
กระบวนการในการพัฒนาและจัดทำ  Balanced  Scroecard  

 
กระบวนการจัดทำ  Balanced  Scroecard   ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
 
1.การวิเคราะห์ทางกลยุทธ์  ได้แก่   การทำ SWOT  Analysis     เพื่อให้ได้ทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรที่ชัดเจน
 
2.กำหนดวิสัยทัศน์ และ กลยุทธ์ขององค์กร โดยกำหนดเป็นกลยุทธ์หลัก (Strategic  Themes)  ที่สำคัญขององค์กร
 
3.วิเคราะห์และกำหนดว่า Balanced  Scroecard  ขององค์กรควรจะมีทั้งหมดกี่มุมมอง และแต่ละมุมมองควรจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร  (แนวคิดของ Kaplan and  Norton  กำหนดไว้ มุมมองตามลำดับความสำคัญ คือ ด้านการเงิน มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน  และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา)
 
4.จัดทำแผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategy Mapระดับองค์กรโดยกำหนดวัตถุประสงค์ที่สำคัญภายใต้แต่ละมุมมอง โดยพิจารณาว่าในการที่องค์กรจะสามารถดำเนินงานและบรรลุวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ขององค์กรได้นั้น ต้องบรรลุวัตถุประสงค์ด้านใดบ้าง
 
5.กลุ่มผู้บริหารระดับสูงต้องมีการประชุมร่วมกันเพื่อยืนยันและเห็นชอบในแผนที่ทางกลยุทธ์ที่สร้างขึ้น
 
6.ภายใต้วัตถุประสงค์แต่ละประการ  ต้องกำหนดรายละเอียดของวัตถุประสงค์ในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านของตัวชี้วัด ฐานข้อมูลในปัจจุบัน เป้าหมายที่ต้องบรรลุ  รวมทั้งแผนงาน  กิจกรรม  หรือโครงการ (Initiativesที่ต้องทำ ซึ่งภายในขั้นตอนนี้สามารถแยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ ดังนี้
 
6.1การจัดทำตัวชี้วัด
 
6.2การกำหนดเป้าหมาย โดยอาศัยข้อมูลในปัจจุบัน
 
6.3การจัดทำแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่จะต้องทำเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น
 
7.เมื่อจัดทำแผนงานหรือโครงการเสร็จแล้ว สามารถจะแปลงตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์กรให้เป็นของผู้บริหารรองลงไปเพื่อให้ผู้บริหารระดับรอง ๆ ลงไปได้จัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนงานหรือโครงการหลักและกำหนดตัวชี้วัดให้กับผู้บริหารในระดับรอง ๆ ลงไป
 
Balanced  Scroecard  เป็นหลักการที่มีความยืดหยุ่น
 
แม้ว่าแนวทางของ Kaplan and  Norton  จะมีความเป็นลำดับที่ชัดเจน แต่ Balanced  Scroecard  ก็ยังเป็นแนวคิดที่ยึดหยุ่น เช่น มุมมองภายใต้ Balanced  Scroecard  ไม่จำเป็นต้องมี มุมมองตามแนวคิดดั้งเดิม (แนวคิดของ Kaplan and  Norton  กำหนดไว้ มุมมองตามลำดับความสำคัญ คือ ด้านการเงิน  มุมมองด้านลูกค้า   มุมมองด้านกระบวนการภายใน  และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนาการที่จะมีกี่มุมมองขึ้นอยู่กับปรัชญาและพื้นฐานที่สำคัญของงานมากกว่า   หน่วยงานบางแห่งอาจจะมีมุมมองด้านอื่นเพิ่มขึ้นได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของหน่วยงานนั้น ๆ นอกจากนั้นการจัดเรียงลำดับของมุมมองต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการเงิน  ลูกค้า  กระบวนการภายใน และการเรียนรู้ในหน่วยงานก็ได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปรัชญาและพื้นฐานขององค์กรนั้น  เช่น หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจวัตถุประสงค์ด้านการเงินอาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดที่องค์กรต้องการจะบรรลุ  แต่อาจจะเป็นในด้านลูกค้าแทนก็ได้  และมุมมองด้านการเงินอาจจะอยู่ล่างสุดในฐานะที่เป็นมุมมองที่สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และกิจกรรมต่าง ๆ  ภายในองค์กรก็ได้  เป็นต้น

 



ประโยชน์ที่ได้จากการนำ Balanced  Scroecard  ไปใช้
 

1.ช่วยให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น  
 
2.ทำให้ทั้งองค์กรมุ่งเน้น  และ ให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กร       โดยต้องให้เจ้าหน้าที่ทั่วทั้งองค์กรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้น และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
 
3.ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ วัฒนธรรมขององค์กรโดยอาศัยการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่
 
4. ทำให้พนักงานเกิดการรับรู้และเข้าใจว่างานแต่ละอย่างมีที่มาที่ไปอีกทั้งผลของงาน
ตนเองจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้อื่นและขององค์กรอย่างไร  


 
อะไรคือข้อควรระวังและข้อคิดในการจัดทำ Balanced  Scroecard  
 

1.ผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
 
2.ทุกคนภายในองค์กรต้องมีส่วนรับรู้และให้การสนับสนุนในการนำระบบการประเมินไปใช้ เนื่องจากการนำ Balanced  Scroecard  ไปใช้ต้องเกี่ยวข้องกับทุกคนในองค์กร
 
3.การเริ่มนำระบบ Balanced  Scroecard  มาใช้ภายในองค์กรต้องระวังว่าเมื่อทำแล้วควรจะรีบทำให้เห็นผลในระดับหนึ่งโดยเร็ว เพราะจะส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของพนักงาน
 
4.ต้องระวังอย่างให้ระบบ Balanced   Scroecard       กลายเป็นเครื่องมือในการจับผิดเจ้าหน้าที่  จะเป็นการใช้  Balanced  Scroecard  อย่างผิดวัตถุประสงค์
 
5.ต้องระวังไม่ให้การจัดทำระบบ Balanced  Scroecard  เป็นเพียงแค่โครงการที่มีกำหนดระยะเวลา  ทั้งนี้เพราะ Balanced  Scroecard  เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาไม่มีการสิ้นสุด ต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเพื่อให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
 
6.ต้องระวังไม่ให้การจัดทำตัวชี้วัดและเป้าหมายมีความง่ายหรือยากเกินไป
 
7.ในการนำเครื่องมือหรือสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ภายในองค์กร  อาจจะต้องพบการต่อต้านจากผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่บางกลุ่ม
 
8.การนำระบบ Balanced  Scroecard  ไปผูกกับระบบการจ่ายค่าตอบแทนขององค์กร ไม่ควรจะเร่งรีบทำตั้งแต่การเพิ่งพัฒนา Balanced  Scroecard   ได้ใหม่ ๆ ควรต้องรอให้ระบบทั้งหมดนิ่งก่อน
 
9.บางครั้งผู้บริหารชอบที่จะกำหนดค่าน้ำหนักความสำคัญในการกำหนดวัตถุประสงค์หรือตัวชี้วัด เพื่อเป็นการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยแต่ละตัว แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่าค่าน้ำหนักความสำคัญนี้เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารให้ทุกคนเห็นความสำคัญของปัจจัยแต่ละตัวเท่านั้น  ถ้าองค์กรเสียเวลากับค่าน้ำหนักเหล่านี้มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดการผิดเพี้ยนจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้
 
10.ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำ Balanced  Scroecard  ทุกคนต้องระลึกว่าสิ่งที่กำลังทำเป็นเพียงสมมติฐาน เท่านั้น ทุกสิ่งสามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้ตลอดเวลา
หากจะจัดทำและนำ Balanced  Scroecard  ไปใช้ในองค์กรต้องเตรียมการอะไรบ้าง

 
ผศดรพสุ  เดชะรินทร์ ระบุว่าในการนำเอา Balanced  Scroecard  มาใช้ภายในองค์กร จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ พอสมควร   ดังนั้นผู้บริหารขององค์กรควรจะเตรียมตัวองค์กรให้พร้อมก่อนที่จะมีการนำเอาBalanced  Scroecard   มาใช้จริง ๆ  เพื่อให้กระบวนการในการปรับเปลี่ยนเป็นไปด้วยความราบรื่นมากขึ้น และสิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อม คือ
 
1.ผู้นำต้องเป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลง
 
2.ผู้บริหารระดับสูงต้องสร้างบรรยากาศในการเปลี่ยนแปลง
 
3.ผู้บริหารต้องทำการสื่อสารและทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ทุกคนให้ชัดเจน
 
4.ผู้บริหารต้องมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังที่จะทำให้ Balanced  Scroecard  ประสบผล
 
5.เตรียมความพร้อมในระบบข้อมูลภายในองค์กร



หน่วยงานของท่านพร้อมหรือยังที่จะนำ Balanced  Scroecard  ไปใช้ ?


 
การบริหารระบบงานกับ Balance Scorecard

โดย ปัจเวกขณ์
 

               Balance Scorecard เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการปรับปรุง สมรรถภาพการทำงานขององค์กรซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านการเงิน ระบบบริหารงานภายในองค์กร และการบริหารทรัพยากรบุคคล
 

                   การที่องค์กรจะดำเนินการให้ได้ตามภารกิจหลักขององค์กรตามแนวทาง Balance Scorecard นั้น มีดัชนีชี้วัดที่สำคัญประการ ได้แก่

 

1. การจัดการด้านการเงิน (Financial  Perspective)

                   ในองค์กรด้านธุรกิจการค้า ดัชนีแรกที่ควรคำนึงถึง คือ การจัดการด้านการเงิน  จะเป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่า ธุรกิจจะดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ การวัดผลด้านการเงิน ควรพิจารณาด้านต่อไปนี้  
 
                   1.1 อัตราเติบโตของรายได้ วัดจากการเติบโตของยอดขาย กำไรจากลูกค้า และผลิตภัณฑ์  สัดส่วนรายได้จากลูกค้าใหม่ เป็นต้น
 
                   1.2 ลดต้นทุน  วัดจากรายได้/พนักงาน  ต้นทุนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง  อัตราการลดต้นทุน  เป็นต้น
 
                   1.3 การใช้สินทรัพย์  ต้องคำนึงถึงการลงทุน  การทำวิจัยและพัฒนา  ผลตอบแทนจากการลงทุน
 

 

2. ลูกค้า (Customer Perspective)
 

                   ลูกค้าเปรียบเสมือนตัวบ่งชี้ ที่สำคัญสำหรับองค์กรที่ประกอบธุรกิจ และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร การวัดผลด้านลูกค้า  ควรพิจารณาด้านต่อไปนี้

                   2.1 ความพอใจของลูกค้า เป็นดัชนีที่สำคัญที่สุด เพราะหากลูกค้าเกิดความ พึงพอใจในสินค้าและบริการ ลูกค้าจะเกิดความจงรักภักดีและกลับมาใช้บริการใหม่ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าเสมอ
 
                   2.2 การรักษาลูกค้าเก่า ต้องมีการติดตามความต้องการของลูกค้าและประเมินผล การสั่งซื้อตลอดเวลา
 
                   2.3 ลูกค้าใหม่ ต้องพัฒนาสินค้าและบริการ เพื่อดึงดูดให้มีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
 
                   2.4 ส่วนแบ่งการตลาด  

 

3. กระบวนการทำงานในองค์กร (Internal Business Process)
 

                    ระบบการทำงานภายในองค์กรเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อด้านการเงิน และ ลูกค้า นั่นคือ  หากองค์กรพัฒนาและมีการบริหารการทำงานภายในที่ดีจะส่งผลให้ผลิตสินค้า ได้รวดเร็ว จัดส่งสินค้าตามเวลา มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า  มีบริการหลัง การขาย  ส่งผลให้องค์กรมีการเติบโตทางรายได้สูงขึ้น

 

4. การเรียนรู้และการเติบโต (Learning and Growth)
 

                    การเรียนรู้และการพัฒนาของพนักงานในองค์กร  จะเป็นดัชนีที่ส่งผลต่อ กระบวนการทำงานภายในองค์กร  หากพนักงานเกิดการเรียนรู้  มีการพัฒนาขีดความสามารถ ของการเรียนรู้ จะทำให้กระบวนการทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพ สินค้า และบริการที่ดีต่อลูกค้า
 

                     จะเห็นได้ว่าหลักการนำ Balance Scorecard  มาเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานนั้นจะต้องให้ความสำคัญต่อดัชนีทั้ง ด้านอย่างสมดุลกันซึ่งดัชนีแต่ละด้าน จะส่งผลถึงด้านอื่นๆ โยงกันเป็นระบบ  แต่ทั้งนี้องค์กรจะต้องกำหนดภารกิจหลักให้ชัดเจน และวิเคราะห์ดัชนีทั้ง ด้าน ให้สอดคล้องกับภารกิจหลักขององค์กรนั้น นอกจากนี้ ในการ นำหลักการของBalance Scorecard มาปรับปรุงใช้ประสิทธิภาพการทำงานนั้น  ผู้ปฏิบัตงานทุกฝ่ายจะต้องปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ที่วางไว้  และมีดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ การทำงานที่เรียกว่า  Key Performance Indicator (KPI)  เพื่อให้องค์กร ดำเนินงานได้บรรลุวัตถุประสงค์  และสอดคล้องกับภารกิจขององค์กรต่อไป




 
หมายเหตุ  :  จากวารสาร สคล.สาร ปีที่ 10 ฉบับที่ 11  ตุลาคม 2545คอลัมน์อาหารสมอง :  เกร็ดความรู้ทางการบริหาร   หน้า   7 - 8  ของสำนักเลขาธิการรัฐมนตรี





อ้างอิง กฤษณี  มหาวิรุฬห์.2547. แนวคิดการบริหารแบบ Balanced  Scorecard.[Online]. Available: URL : http://www.geocities.com/vichakarn2002/scorcard.doc





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น