วิทยฐานะครู
คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตาม ว 17 (52) |
บทความที่เกี่ยวข้อง :: วิทยฐานะครู 5 อันดับล่าสุด
ตัวอย่างการเขียนแบบรายงาน ก.ค.ศ.3/1 เพื่อยื่นประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ 31 ม.ค. 2557
ตัวอย่างการเขียนแบบรายงาน ก.ค.ศ.2 เพื่อยื่นประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ 31 ม.ค. 2557
ตัวอย่างการเขียนแบบรายงาน ก.ค.ศ.1 เพื่อยื่นประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ 31 ม.ค. 2557
การประเมินตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) ระดับเชี่ยวชาญ 8 ต.ค. 2556
เกณฑ์เชิงประจักษ์ฉบับใหม่(1) 23 ส.ค. 2556
ที่มา :: http://www.krupunmai.com/teacher-id33.html
https://www.facebook.com/prapasara.blog
7 ขั้นตอนการทำผลงานวิชาการเพื่อขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ คศ.3 เกณฑ์ใหม่
ตอบลบขั้นที่ 1 เราควรพิจารณาตนเองก่อน นั่นคือ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเราได้รับภาระการสอนในกลุ่มสาระใด ตรงกับวิชาเอกของเราหรือไม่ ถ้าเป็นเกณฑ์เก่า ผู้ตรวจมักอ้างว่าขอชำนาญการไม่ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมา แต่พอเป็นเกณฑ์ใหม่เราไม่ต้องกังวล เนื่องจากหลักเกณฑ์การตรวจเขาเข้ามาตรวจที่โรงเรียน ดังนั้นให้เลือกทำผลงานฯ ในสาระที่เรารับผิดชอบและมีความถนัด และนำผลงานฯ นั้นไปใช้สอนนักเรียนได้จริง
ขั้นที่ 2 เราควรพิจารณาเลือกหัวข้อที่จะทำผลงาน หรือจะเรียกอีกอย่างว่า ชื่องานวิจัยนั่นแหละค่ะ เพราะมันมีความสำคัญในการเป็น key word ของงานวิจัยอย่างมาก แต่ตอนแรกไม่ต้องไปกังวลกับชื่อมาก เพราะสามารถปรับแต่งให้สวยแค่ไหนก็ได้ตามใจเรา แต่ให้นึกถึงหลักสำคัญคือ key word ที่เราจะทำงาน โดยเราควรวิเคราะห์จากปัญหาที่พบในชั้นเรียน ลองดูสิว่า คะแนนในหน่วยใดที่นักเรียนทำได้น้อยมากกว่าหน่วยอื่นๆ ถ้าคนที่เคยเห็นหรือเคยชินกับการทำผลงานฯ สมัยก่อนที่เน้นการทำแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ให้พักไว้ก่อนเลยนะคะ เพราะว่าหลักในการทำวิจัยนั้น เราควรมองถึงหน่วยย่อยหรือจุดเล็กๆ แล้วนำมาขยายเป็นจุดใหญ่เพื่อโฟกัสเป็นงานวิจัยค่ะ เพื่อที่จะให้ผลของงานสัมฤทธิ์ผลกับเด็กจริง เราจึงค่อยสร้างให้เขาจากจุดเล็กๆ ค่ะ ถ้าคุณครูนำไปใช้จริงผลเกิดกับเด็กนักเรียนแน่นอนค่ะ เช่น ถ้าเราสอนสาระภาษาไทย ชั้นป.1 นักเรียนของเรามีความเข้าใจหรือทำแบบฝึกหรือข้อสอบในเรื่องสระลดรูปได้น้อยมาก เราก็ควรเลือกสระลดรูปมาทำการวิจัยค่ะ
ขั้นที่ 3 หลังจากที่เราได้หัวข้อในการทำแล้ว เราควรศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นว่า ถ้าเราจะทำเรื่องนี้ เราควรพัฒนานวัตกรรมใดมาใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนานักเรียนของเราให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อาทิ แบบฝึกทักษะ บทเรียนสำเร็จรูปประกอบภาพการ์ตูน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดการสอน ชุดสื่อประสม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หนังสือเล่มใหญ่ หนังสืออ่านเพิ่มเติม นิทาน โปรแกรมการสอน เช่น เราจะทำเรื่องสระลดรูป เราก็ควรศึกษางานวิจัยของผู้ที่เขาเคยทำเรื่องนี้ เพื่อดูความเป็นไปได้ในการพัฒนานวัตกรรมที่นำมาใช้กับนักเรียนของเราให้เหมาะสมกับตัวนักเรียน เหมาะสมกับบริบทของสภาพแวดล้อม ความพร้อมของครู นักเรียน และโรงเรียน เป็นต้น เมื่อเราเลือกได้แล้วว่าเราจะทำนวัตกรรมนั้นๆ เราึจึงกำหนดชื่อเรื่องที่ต้องการทำแน่นอน เช่น การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สระลดรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ส่วนความสละสลวยหรือตั้งชื่อให้เก๋ไก๋น่าสนใจเราค่อยมาเปลี่ยนทีหลังก็ได้ค่ะ แต่หลักสำคัญต้องคงไว้นะคะ) ส่วนท่านใดมีความประสงค์ที่จะใช้เทคนิคการสอนอื่นๆ มาเพิ่มเติมให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ยิ่งขึ้น ก็สามารถใส่เข้าไปได้ตามความประสงค์ เช่น การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สระลดรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นต้น
ขั้นที่ 3.1 เมื่อเราได้ชื่อเรื่องหรือกำหนด key word ในการทำวิจัยได้แล้ว ถ้าครูท่านใดยังไม่เคยผ่านการอบรมเพื่อขอรับการประเมินวิทยฐานะ ท่านควรติดต่อไปทางเขตพื้นที่การศึกษาฯ ที่ท่านสังกัดอยู่ เพื่อสอบถามถึงการขอเข้ารับการอบรมให้เรียบร้อย (ซึ่งมีการเสียค่าธรรมการอบรม) ในระหว่างการอบรมจะมีวิทยากรและพี่เลี้ยงคอยช่วยดูงานของเรา ท่านสามารถนำเรื่องที่ท่านสนใจทำไปปรึกษาเพื่อคำแนะนำเพิ่มเติม และแนวทางการจัดทำผลงานฯ ได้
ขั้นที่ 3.2 ในระหว่างที่เราทำการอบรมอยู่นั้น เราควรมองหาผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3-5 ท่าน เพื่อให้ท่านเป็นที่ปรึกษาในการทำผลงานวิชาการของเรา พร้อมทั้งศึกษาข้อมูลลงลึกเกี่ยวกับงานวิจัยและแนวทางที่เกี่ยวข้องในการทำผลงานของเรา เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำผลงาน
ขั้นที่ 3.3 เตรียมความพร้อมและลงมือทำนวัตกรรม เราควรศึกษาหลักสูตรและตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนที่เราต้องการแก้ปัญหาหรือพัฒนานักเรียน เพื่อทำตารางวิเคราะห์และออกแบบนวัตกรรม โดยกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การสอน กำหนดหน่วยการสอน กำหนดสาระการเรียนรู้ และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากนั้นดำเนินการสร้างนวัตกรรม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ขั้นที่ 3.4 เมื่อทำนวัตกรรมและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเสร็จแล้ว หรือขณะทำเราควรนำไปปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของเราเป็นระยะว่าเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้เสียเวลาในการต้องมาแก้ไขงานในภายหลัง ขณะที่เราทำนวัตกรรมแต่ละชุด เราควรทำควบคู่ไปกับแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้มีความสอดคล้องกัน หลังจากเราทำนวัตกรรมเสร็จแล้ว เราจึงรวบรวมแผนทำคู่มือการใช้ฯ ขึ้น จากนี้งานประเมินด้าน 3 ก็เสร็จไป 2 อย่างแล้ว
...
ขั้นที่ 3.5 การทดลองใช้นวัตกรรม โดยทำการติดต่อโรงเรียนใกล้เคียงที่มีบริบทใกล้เคียงกับโรงเรียนเราเพื่อขอนำนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ ตามหลักการทดลองหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม (ตอนนี้ถ้าครูท่านใดยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลแล้วมาอ่านอาจจะงงไปบ้าง เมื่อท่านเข้าไปศึกษาแล้วจะเข้าใจมากขึ้น เอาโอกาสหน้าจะมาอธิบายถึงขั้นตอนการทดลองหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมเพิ่มเติมนะคะ) ในการทดลองแต่ละขั้น เมื่อมีสิ่งที่ต้องปรับปรุง เราจะนำผลนั้นมาพิจารณาและมาปรับปรุงผลงานของเราให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น หลังจากนั้นนำมาใช้จริงกับนักเรียนของเราค่ะ เก็บผลการทดลองตามจริง เพื่อนำมาใช้ในการเขียนรายงานผลฯ
ตอบลบขั้นที่ 3.6 การเขียนรายงานผลฯ พอมาถึงขั้นนี้แล้ว แทบจะเป็นขั้นตอนเกือบสุดท้ายแล้วนะคะ ให้ดำเนินการเขียนตามหลักของการเขียนวิทยานิพนธ์ของมหาลัยใดมหาลัยหนึ่ง ให้ยึดแบบฟอร์มของที่นั่นเลยค่ะ ผู้ตรวจเขาเข้าใจค่ะ หรือถ้าพอทราบว่า เขตตนเอง ผู้ตรวจเป็นใครหรือถนัดการเขียนรายงานที่ไหนเราก็ใช้แบบฟอร์มการเขียนของที่นั่นเลยค่ะ แต่ส่วนใหญ่การเขียนตามแบบฟอร์มราชภัฏจะเป็นการเขียนแบบกลางๆ ไม่ได้มีเอกลักษณ์การเขียนเหมือนกับมหาวิทยาลัยดังๆ เท่าไรนักค่ะ (คราวหน้าจะเขียนรายละเอียดและตัวอย่างการเขียนรายงานผลฯ ให้อีกทีนะคะ ติดไว้ 2 เรื่องแ้ล้วนะเนี่ย!!!)
ขั้นที่ 4 เมื่อเราเตรียมความพร้อมทำผลงานวิชาการฯ ไว้พร้อมสรรพแล้ว ตอนนี้เรามาสู่ขั้นตอนการยื่นขอรับการประเมินวิทยฐานะกันนะคะ พอเราอบรมเสร็จแล้วได้รับใบประกาศฯ แล้ว เราจะยื่นขอรับการประเมินฯ กับเขตพื้นที่การศึกษาที่สังกัดอยู่ โดยจะมีการประเมินทั้ง 3 ด้าน คือ การประเมินด้านที่ 1 เป็นการประเมินด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ การประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ ในการประเมิน 2 ด้านนี้ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาค่ะ โดยเขียนแบบรายงาน ก.ค.ศ. 1/1, ก.ค.ศ. 2 และส่งรายงานพร้อมกับรอตรวจ ซึ่งคณะกรรมการชุดที่ 1 จำนวน 3 ท่าน จะทำหน้าที่ประเมินด้าน 1 และ 2 ซึ่งจะเป็นคนละชุดกับผู้ประเมินด้าน 3 ค่ะ โดยการประเมินด้าน 1 และ 2 จะทำการประเมินให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน เมื่อผ่านแล้วเราจะส่งประเมินด้าน 3 โดยมีหลักเกณฑ์ในการขอรับการประเมินยื่นคำขอได้ตลอดปี รอบปีละ 1 ครั้ง โดยส่งคำขอพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) จำนวน 4 ชุด
ขั้นที่ 5 ในระหว่างนี้ เราควรเขียน ก.ค.ศ.3/1 ซึ่งในการเขียนส่วนนี้มีคะแนนถึง 60 คะแนน ส่วนผลงานนวัตกรรมนั้นมีคะแนน 40 คะแนน เพราะฉะนั้นการเขียน ก.ค.ศ.3/1 จึงมีความสำคัญมากทีเดียว ต้องเขียนให้รอบคอบ รัดกุม ไม่เยิ่นเย้อ และเว่อร์จนเกินเหตุ และเขียนให้สอดคล้องกับการทำงานจริงๆ ของเราให้มากที่สุด เพราะเวลาที่คณะกรรมการมาตรวจที่โรงเรียนจะให้ผลประกอบกัน
ขั้นที่ 6 เมื่อเราเตรียมความพร้อมทุกอย่างในการประเมินด้าน 3 เรียบร้อยแล้ว เราจึงส่งผลงานฯ เพื่อขอรับการประเมิน รอผลการประเมินจากคณะกรรมการ
ขั้นที่ 7 ประกาศผล ซึ่งผลการผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้รับการประเมินจะต้องได้รับการพิจารณาเห็นสมควรจากคณะกรรมการ 2 ใน 3 ท่าน จึงจะผ่าน โดยอาจจะผ่านการประเมินเลย หรือผ่านแบบปรับปรุงก็ได้
ขอบคุณที่มา :: http://easyeasythesis.blogspot.co.uk/2013/02/7-3.html