ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

09 กันยายน 2560

แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ฉบับที่ 12 พ. .2560-2564


แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ฉบับที่ 12 พ. .2560-2564  





https://www.rmu.ac.th/file/strategic_plan_full-p_12_2560-2564_new.pdf





https://www.rmu.ac.th/file/strategic_plan_full-p_12_2560-2564_new.pdf

แผนกลยุทธ์กองแผนงานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ. 2560 – 2564)


แผนกลยุทธ์กองแผนงานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (.. 2560 2564)








http://www.plan.msu.ac.th/thai/upload/datadownload/attach/2220161215PC5gP0Fplan%2060-64.pdf





แผนพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)


แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 2564) 











http://plan.msu.ac.th/thai/upload/datanews/attach/1272016101365eByN21.pdf


แผนกลยุทธ์คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2560 – 2564


แผนกลยุทธ์คณะศึกษาศาสตร์
.. 2560 2564 










แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ.2560- 2563

แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ.2560- 2563



http://www.med.msu.ac.th/web/wp-content/uploads/2016/09/PF60-63.pdf





http://www.med.msu.ac.th/web/wp-content/uploads/2016/09/PF60-63.pdf



แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์


แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 










http://plan.rmutr.ac.th/wp-content/uploads/2013/12/rmutr_plan_Actionplan60_2.pdf

การจัดทำแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2560-2564 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

การจัดทำแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2560-2564 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์









08 กันยายน 2560

การจัดทำแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2556-2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์


การจัดทำแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2556-2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์


http://plan.rmutr.ac.th/wp-content/uploads/2013/12/rmutr_plan_strategyplan60-64_edit.pdf










ทิศทางและแนวทางการดําเนินงานของ กระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย์



ทิศทางและแนวทางการดําเนินงานของ กระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย์














สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙



แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙









ที่มา   :: http://ils.swu.ac.th:8991/exlibris/aleph/a22_1/apache_media/INU2JEVL3QQILQGE3NS5R7FLKN8JDK.pdf


รายงานการวิจัยเพื่อจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง


รายงานการวิจัยเพื่อจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง





http://ils.swu.ac.th:8991/exlibris/aleph/a22_1/apache_media/6N6IL5RVUA6PYUL6PNXDLUIS63XB2N.pdf




สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 


โครงการสนับสนุนหลักสูตรการศึกษาร่วมระดับอุดมศึกษา

โครงการสนับสนุนหลักสูตรการศึกษาร่วมระดับอุดมศึกษา








ที่มาของโครงการ

สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในผู้นำในการดำเนินการหลักสูตรร่วม (Transnational Education) ทั่วโลก โดยมีนักเรียนเข้าร่วมหลักสูตรกว่า 360,000 คน และมีมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรกว่า 80 มหาวิทยาลัยที่มีการเปิดหลักสูตรร่วม จากสถิติดังกล่าวสามารถประมาณการณ์ได้ว่าหลักสูตรการศึกษาร่วมจากสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก
งานวิจัย “The Shape of Things to Come” โดยบริติช เคานซิลในการสัมมนาระดับนานาชาติ Going Global 2013 ได้มีการกล่าวถึงกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพในการเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการหลักสูตรร่วม โดยประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มปานกลาง (3) 
จากข้อมูลดังกล่าว บริติช เคานซิลประเทศไทยตระหนักถึงศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในการพัฒนาไปสู่กลุ่มประเทศลำดับที่ 1 และ 2 และการเปิดหลักสูตรร่วมระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทยเป็นการเพิ่มคุณค่าทางการศึกษาและเป็นประตูสู่การแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญจากทั้งสองประเทศอย่างแท้จริง 
บริติช เคานซิล จึงได้จัดโครงการส่งเสริมความเป็นนานาชาติในสถาบันอุดมศึกษาไทยผ่านหลักสูตรการศึกษาร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร เพื่อพัฒนาหลักสูตรร่วมระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทย รวมถึงสนับสนุนการสร้างความเข้าใจเรื่องหลักสูตรร่วมต่อสถาบันการศึกษาอื่นๆรวมถึงสาธารณชน นำไปสู่การพัฒนาด้านการศึกษาและสถานภาพทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศต่อไป โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา แห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยทั้ง 9 แห่ง ได้แก่
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 ที่มา. ::  
https://www.britishcouncil.or.th/programmes/education/our-work-support-higher-education-and-research-sector/uk-thailand-transnational-education-development-project

    แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา



    แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา





    ที่มา  ::    http://www.stou.ac.th/Offices/Opr/planning/pl_main_v2.1/roadmap20/Document/07.pdf



    กรอบแนวทางปฏิรูปการศึกษา

    กรอบแนวทางปฏิรูปการศึกษา 








    ที่มา      http://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/edu/download/article/article_20141127130525.pdf


    แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

    แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ





    ที่มา. ::    http://stri.kmutnb.ac.th/research/images/news/07-60/IT-178-60/IT-178-60.pdf






    แนวคิดและนโยบายการศึกษาชาติและความสำคัญของเกณฑ์มาตรฐานหลักสตูร พ.ศ.2558

    แนวคิดและนโยบายการศึกษาชาติและความสำคัญของเกณฑ์มาตรฐานหลักสตูร พ.ศ.2558



    https://technology.kku.ac.th/education/wp-content/uploads/2017/02/เกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษา-2558.pdf




    ที่มา  ::  https://technology.kku.ac.th/education/wp-content/uploads/2017/02/เกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษา-2558.pdf


    ทิศทางและนโยบายอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนประเทศ

    ทิศทางและนโยบายอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนประเทศ










    นโยบายด้านการศึกษาของบรูไนดารุสซาลาม

    นโยบายด้านการศึกษาของบรูไนดารุสซาลาม


    กระทรวงศึกษาธิการบรูไนดารุสซาลาม ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2550-2555 และการจัดทำ วิสัยทัศน์ด้านการศึกษาของบรูไนดารุสซาลาม พ.ศ. 2578 โดยได้ให้ความสำคัญต่อการสร้างสังคมบนพื้น ฐานแห่งทักษะ และความรอบรู้ภายใต้ระบบการศึกษา "World Class Education System” ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยให้การศึกษาเป็นหนึ่งใน 8 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ พร้อมทั้งได้ใช้เงินกองทุน พัฒนาในการลงทุนการศึกษาในอัตราร้อยละ 8.7 รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)


    ระบบการศึกษาของบรูไนดารุสซาลาม มุ่งตอบสนองความต้องการของศตวรรษที่ 21 โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกเรียนสาขาวิชาการต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา ที่มีเป้าหมายในการสร้างสรรค์สันติภาพและความรุ่งเรืองของชาติ
    ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาแห่งชาติของบรูไนดารุสซาลาม เน้นในเรื่องต่างๆ ดังนี้
    ● การลงทุนทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย 
    ● การนำแนวปฏิบัติที่ดีจากนานาชาติมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของประเทศ 
    ● การพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษา และอาชีวศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดธุรกิจและอุตสาหกรรม
    ● การส่งเสริมสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สำหรับผู้เรียน ครู บุคลากรการศึกษา รวมทั้งการบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในหลักสูตรของโรงเรียน 
    ● การดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเปิดโอกาสให้สามารถศึกษาต่อได้ในระดับอุดมศึกษา 
    ● การส่งเสริมการวิจัย การพัฒนาและนวัตกรรม ทั้งจากงบประมาณภาครัฐ เอกชน และความร่วมมือกับต่างประเทศ 
    ● การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
    ● การพัฒนาการจัดการของสถาบันการศึกษานอกจากนี้ บรูไนดารุสซาลาม ยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 
    ● การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการจัดการศึกษาในโรงเรียนวิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษา 
    ● การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมในปัจจุบันและอนาคต 
    ● การพัฒนาโรงเรียน เช่น การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ในชั้นเรียน 
    ● การพัฒนาผู้นำนักเรียน การพัฒนาหุ้นส่วนความร่วมมือในชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ด้วยการพัฒนาองค์การวิชาชีพที่มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนา การเรียนการสอน



     ความร่วมมือด้านการศึกษาในภูมิภาค
    บรูไนดารุสซาลาม ให้ความสนใจในการพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษาระดับต่างๆ ดังนี้
    ● ระดับการอุดมศึกษา 
    - ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา 
    - การพัฒนาสถาบันนานาชาติ 
    - การส่งเสริมโครงการ Twining Schools 
    - การแลกเปลี่ยนนักเรียนและบุคลากร 
    ● ระดับการอาชีวศึกษา 
    - การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา 
    - การฝึกปฏิบัติงานของนักเรียนและบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 
    - การสร้างนวัตกรรม 
    ● ระดับการศึกษาพื้นฐาน 
    - การพัฒนาเยาวชนให้มีพื้นความรู้ที่แข็งแกร่งในด้านภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การคิดคำนวณ การรังสรรค์นวัตกรรม และการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ 
    - การบูรณาการการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในหลักสูตรต่างๆ 
    - การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ 
    - การศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย 
    - การศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาต่อเนื่อง

    โดย สำนักงาน ก.พ.



    ขอบคุณที่มา   ::    http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=5798&filename=index


    นโยบาย ด้านการอุดมศึกษา ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

    นโยบาย ด้านการอุดมศึกษา
    ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

    นายจาตุรนต์ ฉายแสง
    มอบให้แก่ ผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
    วันพุธ ที่ 31 กรกฎาคม 2556


    1. สกอ. จัดให้มีการศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนระดับอุดมศึกษาของประเทศ ในสาขาวิชาต่างๆ และประกาศให้มหาวิทยาลัยและสาธารณชนทราบ ทุกๆ สามปี

    2. หามาตรการในการควบคุมปริมาณการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของชาติ ไม่ขยายวิทยาเขต/ศูนย์บริการนอกเขตพื้นที่บริการ แต่เน้นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานให้มากขึ้น จัดทำระบบ accreditation อุดมศึกษา ทั้งมิติของสถาบัน และหลักสูตรการศึกษา

    3. จัดให้มีระบบจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศ และประกาศผลการจัดอันดับให้สาธารณชนทราบทุกปี โดยอาจร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สื่อมวลชน

    4. จัดให้มีโครงการ “มหาวิทยาลัยระดับโลก” (World Class University) ตามนโยบายรัฐบาล โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ โดยให้มีการกำหนดเงื่อนไขและคุณลักษณะของการเป็น WCU ที่ชัดเจน และผลักดันให้มหาวิทยาลัยติดอันดับการจัดอันดับของนานาชาติให้มากขึ้น จำนวนไม่น้อยกว่า 7 มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลา 5 ปี

    5. เร่งรัดให้มีพระราชบัญญัติอุดมศึกษา เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษา และรัฐสามารถกำกับเชิงนโยบาย และคุณภาพมาตรฐาน และพัฒนาโครงสร้างและหน้าที่ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเชิงนโยบายและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานอุดมศึกษาให้มากขึ้น

    6. ส่งเสริมให้วิทยาลัยชุมชนให้สามารถเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็ง พัฒนาอาชีพ และสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชน โดยจะเร่งผลักดัน พ.ร.บ. วิทยาลัยชุมชนให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว

    7. พัฒนาระบบผลิตครูแห่งชาติ และศึกษาความต้องการและวางแผนผลิตครูของประเทศในระยะยาว มีระบบคัดเลือกเพื่อให้สถาบันการผลิตครูที่มีคุณภาพสูงเข้าร่วมโครงการ โดยการกำกับคุณสมบัติของสถาบันให้ชัดเจน

    8. ปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนด้าน “ศิลปะวิทยาศาสตร์” (Liberal Arts Education) เพื่อมุ่งให้เกิดความเข้มแข็งในสาขาวิชาพื้นฐานอย่างแท้จริง
    • กำหนดทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นให้เป็นคุณสมบัติของบัณฑิต ให้ สกอ. ร่วมกับ สทศ. หรือสถาบันการศึกษา สร้างระบบแห่งชาติสำหรับประเมินความสามารถด้านภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่นเดียวกันกับระบบ TOEFL หรือ IELSE
    • สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งศูนย์ภาษา

    9. พัฒนากองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (ICL) ให้สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสและผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

    10. พัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลให้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

    11. เร่งรัดให้มีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและกองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นองค์กรในกำกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นหน่วยงานด้านนโยบายและวางแผน วิจัยและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

    12. พัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติสำหรับภูมิภาคอาเซียน : สนับสนุนให้มีสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกมาเปิดดำเนินการในประเทศไทย เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากประเทศอาเซียนมาศึกษาในประเทศไทย

    13. ส่งเสริมการวิจัยระดับอุดมศึกษา และการนำผลการวิจัยและเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์

    14. พัฒนาอาจารย์ระดับอุดมศึกษาให้มีขีดความสามารถทางวิชาการสูง โดยมีมาตรฐานทัดเทียมอาจารย์มหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ : จัดให้มีทุนพัฒนาอาจารย์ สนับสนุนให้มีแหล่งผลิตอาจารย์ภายในประเทศให้มากขึ้น

    15. ส่งเสริมเอกชนให้เข้ามาร่วมจัดอุดมศึกษา โดยรัฐกำกับ เท่าที่จำเป็น เพื่อรักษาคุณภาพ มาตรฐาน และปรับปรุงระเบียบให้ยืดหยุ่นมากขึ้น



    แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)



    แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) 


                       
          
           กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) สำหรับเป็นเครื่องมือในการกำกับทิศทางการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการ/หน่วยงานในสังกัด โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน เพื่อสร้างผลผลิต ผลลัพธ์ให้เกิดกับผู้เรียนได้อย่างมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) และยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ซึ่งได้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์  และกลยุทธ์ ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศได้ทั้งมิติความมั่นคง มติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติการบริหารจัดการภาครัฐ ได้อย่างเป็นรูปธรรม 

        ขอให้ทุกส่วนราชการ/หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณานำแผนพัฒนาการศึกษาฯ ไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะระดมสรรพกำลังร่วมกันผลักดันการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาฯ ฉบับนี้ ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ต่อไป

     สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
    สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
          กระทรวงศึกษาธิการ










    นโยบายผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

    ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 385/2559

    ให้นโยบายผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ



    สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดการประชุมการมอบนโยบายการปฏิรูปการศึกษาให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศกว่า 600 คน โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมชี้แจงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2559 ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ


    รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้เชิญนายกสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชนได้มารับฟังสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการทุกเรื่องในขณะนี้  เพราะนายกสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในมหาวิทยาลัย สามารถชี้ทิศทางการทำงาน และสามารถคุมกติกาการทำงานในมหาวิทยาลัยได้ จึงคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ และเมื่อได้รับฟังแล้วจะช่วยให้ทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2574) ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในเดือนตุลาคมนี้

    สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นกระทรวงใหม่นั้น จะขอให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาไปพิจารณาอย่างจริงจังว่าจำเป็นจะต้องตั้งกระทรวงใหม่หรือไม่ แม้ที่ผ่านมามีข้อเสนอหลายทางที่ขอแยกเป็นกระทรวงหรือทบวงการอุดมศึกษา เช่น มติของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่ตกผลึก เพราะในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการก็ต้องถามตัวเองก่อนว่า เมื่อแยกเป็นกระทรวงใหม่แล้ว  จำเป็นจะต้องมีการควบคุมดูแลมหาวิทยาลัยตามที่เหมาะที่ควรอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งมีอิสระมากจนส่งผลถึงปัญหาธรรมาภิบาลที่เกิดขึ้น

     

    โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบให้เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชี้แจงถึงนโยบายการปฏิรูปกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับแผนการศึกษาแห่งชาติและยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นปัญหาการศึกษาของไทย และ 4 ประเด็นปฏิรูปเร่งด่วน คือ ด้านการบริหารงานบุคคล งบประมาณ ทรัพยากร/สิ่งอำนวยความสะดวก/เครื่องมือ และการบริหารจัดการ รวมทั้งนโยบายการดำเนินงานอุดมศึกษา


    นโยบายการดำเนินงานอุดมศึกษา
    จากการที่รัฐบาลในนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 นั้น สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการต้องเน้น คือ มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรม การเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต การสร้าง Smart Farmer & Smart Startup และแรงงานเฉพาะทาง รวมทั้งใช้การศึกษาโดยยึดจังหวัดเป็นฐาน เพื่อให้สังคมไทยก้าวสู่ Value-based Economy หรือ "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม" เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการนำเข้า และเป็นสังคมที่แบ่งปัน
    ในส่วนของมหาวิทยาลัย ถือว่าเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญต่อการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงลงไปช่วยโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 10,947 แห่ง
    นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้เป็นมหาวิทยาลัย 4.0 โดยมีบทบาทที่สำคัญ คือ การจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคนในชาติ  รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งทั้งสองส่วนจะส่งผลไปถึงเศรษฐกิจและสังคม 4.0





    แนวทางการดำเนินงานมหาวิทยาลัย 4.0


    อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ผ่านมาของการอุดมศึกษาไทย มีหลายประการ เช่น
    • งบประมาณด้านการศึกษาสูงเทียบกับต่างประเทศ ในขณะที่งบประมาณมีจำกัด
    • อุดมศึกษายังไม่สามารถปรับตัวรองรับการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล
    • ฐานของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีแนวโน้มลดลง
    • สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตเกินความต้องการของประเทศหรือพื้นที่
    • สถาบันอุดมศึกษาเปิดหลักสูตรที่มีความซ้ำซ้อนกัน และไม่ตรงตามศักยภาพ ความเชี่ยวชาญของสถาบัน เน้นจัดการศึกษาเชิงพาณิชย์ (จัดนอกที่ตั้งขาดคุณภาพ)
    • มีอัตราการว่างงานสูงกว่าระดับการศึกษาอื่น
    • การผลิตกำลังคนยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และบริการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ 
    • สัดส่วนผู้เรียนวิทยาศาสตร์/นักวิจัยมีจำนวนน้อย และทำงานไม่ตรงสายงาน
    • บัณฑิตสายครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ
    • ทักษะภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำ
    • ปัญหาธรรมาภิบาล การบริหารงาน
    • งานวิจัยไม่มีคุณภาพ/ไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ

    จากปัญหาดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้นำมาวิเคราะห์และจัดกลุ่มปัญหาแต่ละด้านตามหลักอริยสัจ ซึ่งได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาการอุดมศึกษาที่สำคัญบางส่วน เช่น



    แผนการจัดการอุดมศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะด้าน
    เป้าหมายคือ Re-profiling เพื่อปรับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญของสถาบัน ให้สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและสมรรถนะสูง สร้างงานวิจัย ขยายองค์ความรู้ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม รองรับโอกาสและความท้าทายในอนาคต เพื่อยกระดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มหาวิทยาลัยสามารถปรับระบบบริหารจัดการภายในให้มีประสิทธิภาพ สร้างการมีส่วนร่วม และ มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีแผนงานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีความเป็นเป็นเลิศเฉพาะด้าน ตามภาพ


    ทั้งนี้ ในการสร้างนวัตกรรมที่เป็นประเด็นของประเทศ 6 เรื่องหลัก ต้องอาศัยความร่วมมือวิจัยข้ามศาสตร์ ข้ามมหาวิทยาลัย และข้ามประเทศ เพื่อให้ประโยชน์สูงสุด



    แนวทางดำเนินการในส่วนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล แห่ง ตามภาพ


    แนวทางดำเนินการในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง  ควรมุ่งเน้นไปที่การผลิตและพัฒนาครู, การเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม, อุตสาหกรรมบริการ และการจัดการท่องเที่ยวชุมชน, วิทยาศาสตร์สุขภาพและการเข้าสู่สังคมสูงวัย, การจัดการทางสังคมและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามภาพล่าง


    ปริญญาตรีต่อเนื่อง
    นโยบายที่สำคัญ คือ ให้มีการจัดการศึกษาต่อเนื่องระดับปริญญาตรี เพื่อเปิดโอกาสในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาสายอาชีวศึกษา ที่เป็นการสร้างแรงจูงใจในการเลือกเส้นทางสู่สายอาชีพ ให้เพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลจะให้การสนับสนุนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง




     ทวิภาคี (สหกิจศึกษา (Work Integrated learning :WIL)) 
    เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเข้าสู่ระบบการทำงาน รวมทั้งเพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ วิชาชีพโดยสถานประกอบการทั้งภาคเอกชนและภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ซึ่งจะส่งผลให้มีการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งผลถึงความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและสถาบันอุดมศึกษามากขึ้น




    นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยในการดำเนินการด้านอื่นๆ ที่จะส่งผลให้การผลิตนักศึกษามีคุณภาพและสอดคล้องต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงใหม่ ให้เป็นระบบเอนทรานซ์ 4.0 เพื่อลดภาระในการวิ่งรอกสอบของเด็ก ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ให้เด็กใช้ชีวิตวัยเรียน ม.6 ให้สมบูรณ์ที่สุด ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยได้นักศึกษาใหม่ที่ตรงกับที่มหาวิทยาลัยต้องการด้วย
     การพัฒนางานวิจัย
    การปรับงานวิจัยให้เป็นไปตามโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมตามวาระแห่งชาติ เน้นการทำงานเป็นเครือข่าย โดยกำหนดมหาวิทยาลัยแกนนำ พร้อมทั้งมีการพัฒนางานวิจัยตอบโจทย์ New s Curve ให้มากขึ้น รวมทั้งมีการทำวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมโดยใช้โจทย์จากภาคเอกชนเป็นหลัก



     

    รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมถึงความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยด้วยว่า มหาวิทยาลัยมีอิสระใน ส่วน คือ ด้านวิชาการ ด้านการบริหาร และด้านธรรมาภิบาล ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องกลับไปช่วยคิดด้วยว่า ต้องการความเป็นอิสระแบบไหน มีเส้นอิสระแบบไหน และผลที่เกิดขึ้นจากความเป็นอิสระเป็นอย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และจะมีผู้คนในสังคมมองเข้ามาในมหาวิทยาลัยมากขึ้น จึงขอฝากให้มหาวิทยาลัยช่วยกันดูแล และแก้ไขให้ปัญหาธรรมาภิบาลการอุดมศึกษาให้ลดลง



    ขอบคุณที่มา  ::  http://www.moe.go.th/websm/2016/sep/385.html
    http://www.moe.go.th/websm/2016/sep/385.html