ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

08 กันยายน 2560

นโยบายผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 385/2559

ให้นโยบายผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ



สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดการประชุมการมอบนโยบายการปฏิรูปการศึกษาให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศกว่า 600 คน โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมชี้แจงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2559 ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ


รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้เชิญนายกสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชนได้มารับฟังสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการทุกเรื่องในขณะนี้  เพราะนายกสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในมหาวิทยาลัย สามารถชี้ทิศทางการทำงาน และสามารถคุมกติกาการทำงานในมหาวิทยาลัยได้ จึงคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ และเมื่อได้รับฟังแล้วจะช่วยให้ทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2574) ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในเดือนตุลาคมนี้

สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นกระทรวงใหม่นั้น จะขอให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาไปพิจารณาอย่างจริงจังว่าจำเป็นจะต้องตั้งกระทรวงใหม่หรือไม่ แม้ที่ผ่านมามีข้อเสนอหลายทางที่ขอแยกเป็นกระทรวงหรือทบวงการอุดมศึกษา เช่น มติของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่ตกผลึก เพราะในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการก็ต้องถามตัวเองก่อนว่า เมื่อแยกเป็นกระทรวงใหม่แล้ว  จำเป็นจะต้องมีการควบคุมดูแลมหาวิทยาลัยตามที่เหมาะที่ควรอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งมีอิสระมากจนส่งผลถึงปัญหาธรรมาภิบาลที่เกิดขึ้น

 

โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบให้เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชี้แจงถึงนโยบายการปฏิรูปกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับแผนการศึกษาแห่งชาติและยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นปัญหาการศึกษาของไทย และ 4 ประเด็นปฏิรูปเร่งด่วน คือ ด้านการบริหารงานบุคคล งบประมาณ ทรัพยากร/สิ่งอำนวยความสะดวก/เครื่องมือ และการบริหารจัดการ รวมทั้งนโยบายการดำเนินงานอุดมศึกษา


นโยบายการดำเนินงานอุดมศึกษา
จากการที่รัฐบาลในนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 นั้น สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการต้องเน้น คือ มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรม การเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต การสร้าง Smart Farmer & Smart Startup และแรงงานเฉพาะทาง รวมทั้งใช้การศึกษาโดยยึดจังหวัดเป็นฐาน เพื่อให้สังคมไทยก้าวสู่ Value-based Economy หรือ "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม" เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการนำเข้า และเป็นสังคมที่แบ่งปัน
ในส่วนของมหาวิทยาลัย ถือว่าเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญต่อการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงลงไปช่วยโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 10,947 แห่ง
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้เป็นมหาวิทยาลัย 4.0 โดยมีบทบาทที่สำคัญ คือ การจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคนในชาติ  รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งทั้งสองส่วนจะส่งผลไปถึงเศรษฐกิจและสังคม 4.0





แนวทางการดำเนินงานมหาวิทยาลัย 4.0


อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ผ่านมาของการอุดมศึกษาไทย มีหลายประการ เช่น
  • งบประมาณด้านการศึกษาสูงเทียบกับต่างประเทศ ในขณะที่งบประมาณมีจำกัด
  • อุดมศึกษายังไม่สามารถปรับตัวรองรับการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล
  • ฐานของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีแนวโน้มลดลง
  • สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตเกินความต้องการของประเทศหรือพื้นที่
  • สถาบันอุดมศึกษาเปิดหลักสูตรที่มีความซ้ำซ้อนกัน และไม่ตรงตามศักยภาพ ความเชี่ยวชาญของสถาบัน เน้นจัดการศึกษาเชิงพาณิชย์ (จัดนอกที่ตั้งขาดคุณภาพ)
  • มีอัตราการว่างงานสูงกว่าระดับการศึกษาอื่น
  • การผลิตกำลังคนยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และบริการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ 
  • สัดส่วนผู้เรียนวิทยาศาสตร์/นักวิจัยมีจำนวนน้อย และทำงานไม่ตรงสายงาน
  • บัณฑิตสายครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ
  • ทักษะภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำ
  • ปัญหาธรรมาภิบาล การบริหารงาน
  • งานวิจัยไม่มีคุณภาพ/ไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ

จากปัญหาดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้นำมาวิเคราะห์และจัดกลุ่มปัญหาแต่ละด้านตามหลักอริยสัจ ซึ่งได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาการอุดมศึกษาที่สำคัญบางส่วน เช่น



แผนการจัดการอุดมศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะด้าน
เป้าหมายคือ Re-profiling เพื่อปรับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญของสถาบัน ให้สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและสมรรถนะสูง สร้างงานวิจัย ขยายองค์ความรู้ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม รองรับโอกาสและความท้าทายในอนาคต เพื่อยกระดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มหาวิทยาลัยสามารถปรับระบบบริหารจัดการภายในให้มีประสิทธิภาพ สร้างการมีส่วนร่วม และ มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีแผนงานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีความเป็นเป็นเลิศเฉพาะด้าน ตามภาพ


ทั้งนี้ ในการสร้างนวัตกรรมที่เป็นประเด็นของประเทศ 6 เรื่องหลัก ต้องอาศัยความร่วมมือวิจัยข้ามศาสตร์ ข้ามมหาวิทยาลัย และข้ามประเทศ เพื่อให้ประโยชน์สูงสุด



แนวทางดำเนินการในส่วนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล แห่ง ตามภาพ


แนวทางดำเนินการในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง  ควรมุ่งเน้นไปที่การผลิตและพัฒนาครู, การเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม, อุตสาหกรรมบริการ และการจัดการท่องเที่ยวชุมชน, วิทยาศาสตร์สุขภาพและการเข้าสู่สังคมสูงวัย, การจัดการทางสังคมและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามภาพล่าง


ปริญญาตรีต่อเนื่อง
นโยบายที่สำคัญ คือ ให้มีการจัดการศึกษาต่อเนื่องระดับปริญญาตรี เพื่อเปิดโอกาสในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาสายอาชีวศึกษา ที่เป็นการสร้างแรงจูงใจในการเลือกเส้นทางสู่สายอาชีพ ให้เพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลจะให้การสนับสนุนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง




 ทวิภาคี (สหกิจศึกษา (Work Integrated learning :WIL)) 
เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเข้าสู่ระบบการทำงาน รวมทั้งเพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ วิชาชีพโดยสถานประกอบการทั้งภาคเอกชนและภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ซึ่งจะส่งผลให้มีการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งผลถึงความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและสถาบันอุดมศึกษามากขึ้น




นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยในการดำเนินการด้านอื่นๆ ที่จะส่งผลให้การผลิตนักศึกษามีคุณภาพและสอดคล้องต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงใหม่ ให้เป็นระบบเอนทรานซ์ 4.0 เพื่อลดภาระในการวิ่งรอกสอบของเด็ก ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ให้เด็กใช้ชีวิตวัยเรียน ม.6 ให้สมบูรณ์ที่สุด ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยได้นักศึกษาใหม่ที่ตรงกับที่มหาวิทยาลัยต้องการด้วย
 การพัฒนางานวิจัย
การปรับงานวิจัยให้เป็นไปตามโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมตามวาระแห่งชาติ เน้นการทำงานเป็นเครือข่าย โดยกำหนดมหาวิทยาลัยแกนนำ พร้อมทั้งมีการพัฒนางานวิจัยตอบโจทย์ New s Curve ให้มากขึ้น รวมทั้งมีการทำวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมโดยใช้โจทย์จากภาคเอกชนเป็นหลัก



 

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมถึงความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยด้วยว่า มหาวิทยาลัยมีอิสระใน ส่วน คือ ด้านวิชาการ ด้านการบริหาร และด้านธรรมาภิบาล ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องกลับไปช่วยคิดด้วยว่า ต้องการความเป็นอิสระแบบไหน มีเส้นอิสระแบบไหน และผลที่เกิดขึ้นจากความเป็นอิสระเป็นอย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และจะมีผู้คนในสังคมมองเข้ามาในมหาวิทยาลัยมากขึ้น จึงขอฝากให้มหาวิทยาลัยช่วยกันดูแล และแก้ไขให้ปัญหาธรรมาภิบาลการอุดมศึกษาให้ลดลง



ขอบคุณที่มา  ::  http://www.moe.go.th/websm/2016/sep/385.html
http://www.moe.go.th/websm/2016/sep/385.html




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น