นโยบายด้านการศึกษาของบรูไนดารุสซาลาม
กระทรวงศึกษาธิการบรูไนดารุสซาลาม ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2550-2555 และการจัดทำ วิสัยทัศน์ด้านการศึกษาของบรูไนดารุสซาลาม พ.ศ. 2578 โดยได้ให้ความสำคัญต่อการสร้างสังคมบนพื้น ฐานแห่งทักษะ และความรอบรู้ภายใต้ระบบการศึกษา "World Class Education System” ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยให้การศึกษาเป็นหนึ่งใน 8 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ พร้อมทั้งได้ใช้เงินกองทุน พัฒนาในการลงทุนการศึกษาในอัตราร้อยละ 8.7 รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
ระบบการศึกษาของบรูไนดารุสซาลาม มุ่งตอบสนองความต้องการของศตวรรษที่ 21 โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกเรียนสาขาวิชาการต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา ที่มีเป้าหมายในการสร้างสรรค์สันติภาพและความรุ่งเรืองของชาติ
ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาแห่งชาติของบรูไนดารุสซาลาม เน้นในเรื่องต่างๆ ดังนี้
● การลงทุนทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
● การนำแนวปฏิบัติที่ดีจากนานาชาติมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของประเทศ
● การพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษา และอาชีวศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดธุรกิจและอุตสาหกรรม
● การส่งเสริมสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สำหรับผู้เรียน ครู บุคลากรการศึกษา รวมทั้งการบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในหลักสูตรของโรงเรียน
● การดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเปิดโอกาสให้สามารถศึกษาต่อได้ในระดับอุดมศึกษา
● การส่งเสริมการวิจัย การพัฒนาและนวัตกรรม ทั้งจากงบประมาณภาครัฐ เอกชน และความร่วมมือกับต่างประเทศ
● การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
● การพัฒนาการจัดการของสถาบันการศึกษานอกจากนี้ บรูไนดารุสซาลาม ยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ดังนี้
● การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการจัดการศึกษาในโรงเรียนวิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษา
● การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมในปัจจุบันและอนาคต
● การพัฒนาโรงเรียน เช่น การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ในชั้นเรียน
● การพัฒนาผู้นำนักเรียน การพัฒนาหุ้นส่วนความร่วมมือในชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ด้วยการพัฒนาองค์การวิชาชีพที่มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนา การเรียนการสอน
ความร่วมมือด้านการศึกษาในภูมิภาค
บรูไนดารุสซาลาม ให้ความสนใจในการพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษาระดับต่างๆ ดังนี้
● ระดับการอุดมศึกษา
- ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา
- การพัฒนาสถาบันนานาชาติ
- การส่งเสริมโครงการ Twining Schools
- การแลกเปลี่ยนนักเรียนและบุคลากร
● ระดับการอาชีวศึกษา
- การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา
- การฝึกปฏิบัติงานของนักเรียนและบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม
- การสร้างนวัตกรรม
● ระดับการศึกษาพื้นฐาน
- การพัฒนาเยาวชนให้มีพื้นความรู้ที่แข็งแกร่งในด้านภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การคิดคำนวณ การรังสรรค์นวัตกรรม และการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์
- การบูรณาการการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในหลักสูตรต่างๆ
- การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์
- การศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- การศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาต่อเนื่อง
โดย สำนักงาน ก.พ.
ขอบคุณที่มา :: http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=5798&filename=index
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น