นโยบาย ด้านการอุดมศึกษา
ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง
มอบให้แก่ ผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
วันพุธ ที่ 31 กรกฎาคม 2556
1. สกอ. จัดให้มีการศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนระดับอุดมศึกษาของประเทศ ในสาขาวิชาต่างๆ และประกาศให้มหาวิทยาลัยและสาธารณชนทราบ ทุกๆ สามปี
2. หามาตรการในการควบคุมปริมาณการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของชาติ ไม่ขยายวิทยาเขต/ศูนย์บริการนอกเขตพื้นที่บริการ แต่เน้นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานให้มากขึ้น จัดทำระบบ accreditation อุดมศึกษา ทั้งมิติของสถาบัน และหลักสูตรการศึกษา
3. จัดให้มีระบบจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศ และประกาศผลการจัดอันดับให้สาธารณชนทราบทุกปี โดยอาจร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สื่อมวลชน
4. จัดให้มีโครงการ “มหาวิทยาลัยระดับโลก” (World Class University) ตามนโยบายรัฐบาล โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ โดยให้มีการกำหนดเงื่อนไขและคุณลักษณะของการเป็น WCU ที่ชัดเจน และผลักดันให้มหาวิทยาลัยติดอันดับการจัดอันดับของนานาชาติให้มากขึ้น จำนวนไม่น้อยกว่า 7 มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลา 5 ปี
5. เร่งรัดให้มีพระราชบัญญัติอุดมศึกษา เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษา และรัฐสามารถกำกับเชิงนโยบาย และคุณภาพมาตรฐาน และพัฒนาโครงสร้างและหน้าที่ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเชิงนโยบายและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานอุดมศึกษาให้มากขึ้น
6. ส่งเสริมให้วิทยาลัยชุมชนให้สามารถเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็ง พัฒนาอาชีพ และสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชน โดยจะเร่งผลักดัน พ.ร.บ. วิทยาลัยชุมชนให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
7. พัฒนาระบบผลิตครูแห่งชาติ และศึกษาความต้องการและวางแผนผลิตครูของประเทศในระยะยาว มีระบบคัดเลือกเพื่อให้สถาบันการผลิตครูที่มีคุณภาพสูงเข้าร่วมโครงการ โดยการกำกับคุณสมบัติของสถาบันให้ชัดเจน
8. ปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนด้าน “ศิลปะวิทยาศาสตร์” (Liberal Arts Education) เพื่อมุ่งให้เกิดความเข้มแข็งในสาขาวิชาพื้นฐานอย่างแท้จริง
• กำหนดทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นให้เป็นคุณสมบัติของบัณฑิต ให้ สกอ. ร่วมกับ สทศ. หรือสถาบันการศึกษา สร้างระบบแห่งชาติสำหรับประเมินความสามารถด้านภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่นเดียวกันกับระบบ TOEFL หรือ IELSE
• สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งศูนย์ภาษา
9. พัฒนากองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (ICL) ให้สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสและผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
10. พัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลให้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
11. เร่งรัดให้มีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและกองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นองค์กรในกำกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นหน่วยงานด้านนโยบายและวางแผน วิจัยและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
12. พัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติสำหรับภูมิภาคอาเซียน : สนับสนุนให้มีสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกมาเปิดดำเนินการในประเทศไทย เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากประเทศอาเซียนมาศึกษาในประเทศไทย
13. ส่งเสริมการวิจัยระดับอุดมศึกษา และการนำผลการวิจัยและเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์
14. พัฒนาอาจารย์ระดับอุดมศึกษาให้มีขีดความสามารถทางวิชาการสูง โดยมีมาตรฐานทัดเทียมอาจารย์มหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ : จัดให้มีทุนพัฒนาอาจารย์ สนับสนุนให้มีแหล่งผลิตอาจารย์ภายในประเทศให้มากขึ้น
15. ส่งเสริมเอกชนให้เข้ามาร่วมจัดอุดมศึกษา โดยรัฐกำกับ เท่าที่จำเป็น เพื่อรักษาคุณภาพ มาตรฐาน และปรับปรุงระเบียบให้ยืดหยุ่นมากขึ้น
2. หามาตรการในการควบคุมปริมาณการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของชาติ ไม่ขยายวิทยาเขต/ศูนย์บริการนอกเขตพื้นที่บริการ แต่เน้นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานให้มากขึ้น จัดทำระบบ accreditation อุดมศึกษา ทั้งมิติของสถาบัน และหลักสูตรการศึกษา
3. จัดให้มีระบบจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศ และประกาศผลการจัดอันดับให้สาธารณชนทราบทุกปี โดยอาจร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สื่อมวลชน
4. จัดให้มีโครงการ “มหาวิทยาลัยระดับโลก” (World Class University) ตามนโยบายรัฐบาล โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ โดยให้มีการกำหนดเงื่อนไขและคุณลักษณะของการเป็น WCU ที่ชัดเจน และผลักดันให้มหาวิทยาลัยติดอันดับการจัดอันดับของนานาชาติให้มากขึ้น จำนวนไม่น้อยกว่า 7 มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลา 5 ปี
5. เร่งรัดให้มีพระราชบัญญัติอุดมศึกษา เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษา และรัฐสามารถกำกับเชิงนโยบาย และคุณภาพมาตรฐาน และพัฒนาโครงสร้างและหน้าที่ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเชิงนโยบายและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานอุดมศึกษาให้มากขึ้น
6. ส่งเสริมให้วิทยาลัยชุมชนให้สามารถเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็ง พัฒนาอาชีพ และสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชน โดยจะเร่งผลักดัน พ.ร.บ. วิทยาลัยชุมชนให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
7. พัฒนาระบบผลิตครูแห่งชาติ และศึกษาความต้องการและวางแผนผลิตครูของประเทศในระยะยาว มีระบบคัดเลือกเพื่อให้สถาบันการผลิตครูที่มีคุณภาพสูงเข้าร่วมโครงการ โดยการกำกับคุณสมบัติของสถาบันให้ชัดเจน
8. ปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนด้าน “ศิลปะวิทยาศาสตร์” (Liberal Arts Education) เพื่อมุ่งให้เกิดความเข้มแข็งในสาขาวิชาพื้นฐานอย่างแท้จริง
• กำหนดทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นให้เป็นคุณสมบัติของบัณฑิต ให้ สกอ. ร่วมกับ สทศ. หรือสถาบันการศึกษา สร้างระบบแห่งชาติสำหรับประเมินความสามารถด้านภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่นเดียวกันกับระบบ TOEFL หรือ IELSE
• สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งศูนย์ภาษา
9. พัฒนากองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (ICL) ให้สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสและผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
10. พัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลให้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
11. เร่งรัดให้มีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและกองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นองค์กรในกำกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นหน่วยงานด้านนโยบายและวางแผน วิจัยและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
12. พัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติสำหรับภูมิภาคอาเซียน : สนับสนุนให้มีสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกมาเปิดดำเนินการในประเทศไทย เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากประเทศอาเซียนมาศึกษาในประเทศไทย
13. ส่งเสริมการวิจัยระดับอุดมศึกษา และการนำผลการวิจัยและเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์
14. พัฒนาอาจารย์ระดับอุดมศึกษาให้มีขีดความสามารถทางวิชาการสูง โดยมีมาตรฐานทัดเทียมอาจารย์มหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ : จัดให้มีทุนพัฒนาอาจารย์ สนับสนุนให้มีแหล่งผลิตอาจารย์ภายในประเทศให้มากขึ้น
15. ส่งเสริมเอกชนให้เข้ามาร่วมจัดอุดมศึกษา โดยรัฐกำกับ เท่าที่จำเป็น เพื่อรักษาคุณภาพ มาตรฐาน และปรับปรุงระเบียบให้ยืดหยุ่นมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น