ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

08 พฤษภาคม 2562

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ ? งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ ? งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ


การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  คือ ?

วิดีโอ YouTube


























การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นศัพท์บัญญัติทิ่ีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นํามาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2541 โดยให้มีความหมายตรงกับคําว่า Ecotourism ใน ภาษาอังกฤษ ศัพท์บัญญัตินี้ได้รับความเห็นชอบจากราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญญัติศัพท์แล้ว

Ecotourism เป็นคําที่เกิดใหม่ในวงการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยนําคำ 2 คํามารวมกัน ได้แก่ eco และ tourism คําว่า eco แปลตามรูปศัพท์ว่า บ้านหรือที่อยู่อาศัย ส่วน tourism แปลว่า การท่องเที่ยว ecotourism จึงแปลว่า การท่องเที่ยวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย หมายความถึง การท่องเที่ยวที่เน้นในด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์  

ส่วนคําว่า นิเวศ ซึ่งเป็นคําภาษาสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทย ก็แปลว่า บ้านหรือที่อยู่ อาศัยเช่นกัน (ดูพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) ฉะนั้น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จึงเป็นศัพท์บัญญัติที่ม่ีีความหมายตรงกับคําในภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม  

นอกจากคําว่า ecotourism แล้ว ยังมีคำอื่นๆที่ม่ีีความหมายใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกันอีกหลายคํา ได้แก่ green tourism แปลว่า การท่องเที่ยวสีเขียว หมายถึง การท่องเที่ยวสถานที่ทางธรรมชาติ โดยสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ bio tourism แปลว่า การท่องเที่ยวเชิงชีวภาพ ซึ่งหมายถึง การท่องเที่ยวที่เน้นการศึกษาสิ่งมชีวิตตามธรรมชาติ และ agro tourism แปลว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นในด้านเกษตรกรรม เพื่อให้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของพืชผลไร่นา และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร  

ตุลยราศรี ประเทพ (2556 : 17) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นในด้านการรักษาสภาพแวดล้อมความสมดุลทางธรรมชาติการรักษาระบบนิเวศรวมไปถึงรักษาวัฒนธรรม ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตให้คงไว้ซึ่งความยั่งยืนความเป็นเอกลักษณ์สืบไป และรวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อความสอดคล้องของงานวิจัย

ลักษณ์ชนก ชินเจริญทรัพย์ (2555 : 6) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งให้เกิดจิตสํานึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน



สรุปได้ว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือ Ecotourism  หมายถึง  การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น  และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ  สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว  โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง  ภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน



          หลักพื้นฐานของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  ประกอบด้วย

1)   ✅ ความยั่งยืน

2)   องค์ประกอบสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

3)   ปัจจัยทางด้านความรู้และการสื่อความหมาย

4)   การมีส่วนร่วมหรือผลประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่น

5)   ความพึงพอใจของผู้ใช้หรือผู้บริโภค



ในการพัฒนาหรือจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  มีเป้าหมายที่สำคัญ  คือ

  📌 ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว

   📌ด้านนักท่องเที่ยวและประชาชนในท้องถิ่น



การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  จึงมีลักษณะเป็นกระบวนการจัดการ การท่องเที่ยวแนวใหม่  ที่ใช้ในการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยว  โดยให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ร่วมกัน  และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนท้องถิ่น  สิ่งสำคัญที่ทำให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแตกต่างจากการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นก็คือ  เป็นการท่องเที่ยวและศึกษาเรียนรู้ในแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีความดั้งเดิมของระบบนิเวศ  หรือมีระบบชุมชนและวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศเป็นหลัก  และมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนโดยให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในทุกระดับทุกขั้นตอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ



ดังนั้น  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  จึงจัดเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่มุ่งสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)



องค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญมี  4  ประการ  ได้แก่

1.  ✳️ องค์ประกอบด้านพื้นที่

2.  ✳️ องค์ประกอบด้านการจัดการ

3.  ✳️ องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการ

4.  ✳️ องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม



วิดีโอ YouTube





งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ




การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช




แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี




ผลของการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร






แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดปราจีนบุรี






การจัดการความรู้ในชุมชน : กรณีศึกษาด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดสมุทรสงคราม




การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาตลาด 100 ปีสามชุก ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี






การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาน้ำตกเก้าโจน ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี






ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจระหว่างชุมชนกับการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวนอุทยานปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์






ทุนทางสังคมกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา บ้านเกาะพิทักษ์ ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร






แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์






แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม




ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา หมู่บ้านแสมชาย ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี






ศักยภาพชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาชุมชนสมุทรเจดีย์ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง




วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น