ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

23 ธันวาคม 2553

รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ

รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ   

  


ปัจจุบันการสอนภาษาอังกฤษได้มีวิวัฒนาการ และมีทฤษฎีการสอนหลากหลายวิธี ที่ครูจะเลือกแนวทางที่เหมาะสมนำไป ดัดแปลงใช้สอนนักเรียนแต่ละคน ดังวิธีสอนต่อไปนี้



1. วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล (Grammar Translation )

เป็นวิธีการสอนที่ เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน

ลักษณะเด่น

1.1 ครูจะบอกและอธิบายกฎเกณฑ์ตลอดจนข้อยกเว้นต่างๆ
1.2 ในด้านคำศัพท์ ครูจะสอนครั้งละหลายคำ บอกคำแปลภาษาไทย บางครั้งเขียนคำอ่านไว้ด้วย
1.3 ครูเน้นทักษะการอ่าน และการเขียน
1.4 ครูเน้นวัดผลด้านความรู้ ความจำ คำศัพท์ กฎเกณฑ์ ความสามารถในการแปล
1.5 ครูมีบทบาทสำคัญมากที่สุด
1.6 นักเรียนเป็นผู้รับฟัง และจดสิ่งที่ครูบอกลงในสมุด
1.7 นักเรียนจะต้องท่องจำกฎเกณฑ์ตลอดจนชื่อเฉพาะต่างๆ ทางไวยากรณ์
1.8 นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับเกณฑ์ไวยากรณ์นั้นๆ
1.9 นักเรียนไม่ได้ฝึกนำคำศัพท์มาใช้ในรูปประโยค


2. วิธีสอนแบบตรง


เป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจก่อน แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียนโดยมีความเชื่อว่า เมื่อนักเรียนสามารถฟังและพูดได้แล้ว ก็สามารถอ่านและเขียนได้ง่าย และเร็วขึ้น ไม่เน้นไวยากรณ์กฎเกณฑ์มากนัก บทเรียนส่วนใหญ่เป็นกิจกรรสนทนา นักเรียนได้ใช้ภาษาเต็มที่

ลักษณะเด่น
2.1 ครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนพูดโต้ตอบ
2.2 ครูสร้างสภาพแวดล้อมหรือใช้สื่อที่เอื้อต่อการการเรียนการสอน
2.3 อธิบายคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ และใช้ตัวอย่างประกอบเป็นของจริง
2.4 การวัดผลเน้นทักษะการฟัง และพูด เช่นการเขียนตามคำบอก การปฏิบัติตามคำสั่ง



3. วิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audio – Lingual Method)

เป็นวิธีการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์ และวิธีสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน สอนครบองค์ประกอบลำดับจากง่ายไปหายาก

ลักษณะเด่น

3.1 ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาที่เรียนให้แก่ผู้เรียนในการเลียนแบบ
3.2 ครูจะจัดนำคำศัพท์และประโยคมาสร้างเป็นรูปประโยคให้นักเรียนพูดตามซ้ำๆ กัน ในรูปแบบต่างกัน
3.3 ครูมุ่งเรื่องการฝึกรูปประโยคทางภาษาในห้องเรียนมากกว่าประโยชน์การใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
3.4 นักเรียนจะต้องฝึกภาษาที่เรียนซ้ำๆ
3.5 นักเรียนเป็นผู้ลอกเลียนแบบ และปฏิบัติตามครูจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากจนเกิดเป็นนิสัยสามารถพูดได้อย่างอัตโนมัติ



4. วิธีการสอนตามทฤษฏีการเรียนแบบความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Code Learning theory)

วิธีการสอนแบบนี้ยึดแนวคิดที่ว่าภาษาเป็นระบบที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ความเข้าใจ และการแสดงออก ทางภาษาขึ้นอยู่กับความเข้าใจ กฎเกณฑ์ เมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจรูปแบบของภาษาและความหมายแล้ว ก็จะสามารถใช้ภาษาได้

ลักษณะเด่น

4.1 ครูมุ่งฝึกทักษะทุกด้านตั้งแต่เริ่มสอน โดยไม่จำเป็นต้องฝึกฟังและพูดให้ดีก่อน แล้วจึงอ่านและเขียน ตามวิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audio – Lingual Method)
4.2 ครูสอนเนื้อหาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างของนักเรียน ที่มีความสามารถในทักษะฟังพูดอ่านเขียนที่แตกต่างกัน
4.3 สนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ความคิด สติปัญญา และมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ
4.4 ใช้ภาษาไทยในการช่วยอธิบาย แต่อธิบายในเรื่องการฟังและพูด
4.5 การวัดและประเมินผลในด้านภาษาของนักเรียนนั้น คือ ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาแต่ ละขั้นตอน


5. วิธีสอนตามเอกัตภาพ (Individualized Instruction)

จากวิวัฒนาการสอน ภาษาอังกฤษ จะเห็นว่า ผู้เรียนเริ่มมีบทบาทจากการเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียวมาเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม ในการเรียนการสอนมากขึ้นเป็นลำดับ

ลักษณะเด่น


5.1 การสอนเปลี่ยนจากครูเป็นหลัก เป็นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
5.2 ครูพยายามให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคลให้ได้มากที่สุด5.3 ครูเตรียมสื่อการเรียนการสอนไว้ให้
5.4 ครูจะเตรียม สื่อ เอกสาร บทเรียนโปรแกรม ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
และแนวคำตอบไว้ให้ ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง


6. วิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response Method)

แนวการสอนแบบนี้ ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี

ลักษณะเด่น

6.1 ในระยะแรกของการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่ต้องพูด แต่เป็นเพียงผู้ฟังและทำตามครู
6.2 ครูเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของนักเรียนทั้งหมด ครูจะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง เมื่อถึงระยะเวลาที่สมควรพูดแล้วเรียนอ่านและเขียนต่อไป


6.3 ภาษาที่นำมาใช้ในการสอนเน้นที่ภาษาพูด เรียนเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์ และคำศัพท์มากกว่าด้านอื่นๆ โดยอิงอยู่กับประโยคคำสั่ง
6.4 นักเรียนจะเข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจนจากการแสดงท่าทางของครู
6.5 ครูทราบได้ทันทีว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ จากการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของนักเรียนเมื่อครูสั่ง
6.6 ครูต้องทำพร้อมกับนักเรียนในระยะแรก
6.7 ต้องสั่งจากง่ายไปหายาก



7. วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)

เป็นวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รวมพลังความคิดเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา หาข้อเท็จจริง

ลักษณะเด่น

7.1 ฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นกล้าพูด อย่างมีเหตุผล ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัย และอดทนที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
7.2 ครูสร้างสถานการณ์ใหนักเรียนทำงานว่า สมมุตินักเรียนจะเข้าค่ายพักแรมเป็นเวลา 5 วันนักเรียนจะต้องเตรียมเครื่องใช้อะไรไปบ้างช่วยกันอภิปราย และสรุปผลออกมาเป็นรายงานส่งครู เป็นต้น

8. วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)

เป็นวิธีที่สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ใดกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือตามที่ครูมอบหมายให้ทำ

ลักษณะเด่น

8.1 นักเรียนจะดำเนินการอย่างอิสระ
8.2 ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะช่วยเหลือและติดตามผลงานของนักเรียนว่าการดำเนินการ ความก้าวหน้า
อุปสรรคการประเมินผลงานใดบ้าง
8.3 นักเรียนจะมีอิสระในการใช้ภาษาได้อย่างเต็มที่



9. วิธีสอนภาษาแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning)

วิธีการ สอนแบบนี้มีแนวคิดที่ต่างไปจากแนวคิดอื่น

ลักษณะเด่น

9.1 ยึดผู้เรียนเป็นหลัก
9.2 เน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
9.3 นักเรียนแต่ละคนร่วมกิจกรรม
9.4 ครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านภาษาเท่านั้น ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
9.5 เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สิ่งที่นำมาเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การฝึกให้ผู้เรียนใช้โครงสร้างประโยค คำศัพท์และเสียง ตามวิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์
9.6 การประเมินผลการเรียนนั้นจะเป็นการทดสอบแบบบูรณาการโดยให้นักเรียนประเมินตนเอง ดูจากการเรียนรู้ของตนเอง และความก้าวหน้าของตน
9.7 ถ้านักเรียนมีที่ผิด ครูจะพยายามแก้ไข โดยไม่ใช้วิธีคุกคาม โดยให้ฝึกทำซ้ำๆ กัน



10. วิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Approach)

จากข้อเท็จจริงพบว่า ถึงแม้นักเรียน จะเรียนรู้โครงสร้างของภาษามาแล้วเป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่สามารถพูดได้หรือสื่อสารได้ดีนัก ด้วยเหตุผลนี้นักภาษาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาต่างประเทศ ได้เสนอแนวการสอนแบบใหม่ คือ การสอนเพื่อการสื่อสาร โดยมีความเชื่อว่าภาษาไม่ได้เป็นเพียงระบบไวยากรณ์ที่ประกอบด้วยเสียง ศัพท์ และโครงสร้างเท่านั้น แต่ภาษาคือ ระบบที่ใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการสอน จึงควรให้นักเรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้ และจะต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสภาพสังคมด้วย

11. โปรแกรม CIRC (Cooperative Intergrated Reading and Composition)

CIRC คือ โปรแกรมสำหรับสอนการอ่าน การเขียนและทักษะทางภาษา (Language arts) ใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โดยเน้นที่หลักสูตรและวิธีการสอน โดยการพยายามนำการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้ โปรแกรม CIRC พัฒนาขึ้นโดย Madden, Slavin และ Stevens ในปี 1986 นับว่าเป็นโปรแกรมที่ใหม่ที่สุดของวิธีการเรียนรู้เป็นทีม ซึ่งเป็นโปรแกรมการเรียนแบบร่วมมือที่น่าสนใจยิ่ง เนื่องจากเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนที่นำการเรียนแบบร่วมมือมาใช้กับการอ่านและการเขียนโดยตรง
CIRC-Reading สำหรับการอ่าน นักเรียนจะได้รับการสอนภายในกลุ่มการอ่าน หลังจากนั้นให้นักเรียนแยกออกเป็นทีม เพื่อทำงานตามกิจกรรมแบบร่วมมือ โดยการจับคู่กันอ่าน การทำนายเรื่องที่อ่าน การสรุปเรื่องให้อีกคนหนึ่งฟัง การเขียนตอบคำถามจากเรื่อง การฝึกสะกดคำศัพท์ การถอดรหัสและฝึกเรื่องคำศัพท์ นักเรียนทำงานร่วมกันในทีมเพื่อให้นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ และได้ทักษะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในการอ่าน
CIRC-Writing/Language Arts สำหรับการเขียน วิธีการที่ใช้ขึ้นอยู่กับรูปแบบกระบวนการเขียน ซึ่งใช้รูปแบบทีมเหมือนกับโปรแกรม CIRC สำหรับการอ่าน วิธีการนี้นักเรียนทำงานร่วมกันเพื่อวางแผน (plan) ร่างต้นฉบับ (draft) ทบทวนแก้ไข (revise) รวบรวมและลำดับเรื่อง (edit) และพิมพ์หรือแสดงผลงาน (publish) เรื่องที่แต่งออกมา โดยครูเป็นผู้เสนอเนื้อหาเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทาง (style) เนื้อหา และกลวิธีของการเขียน
CIRC สำหรับการอ่านและการเขียนนั้น โดยปกติแล้วจะใช้ควบคู่ไปด้วยกัน แต่กระนั้นก็สามารถใช้โปรแกรมนี้แยกในการสอนอ่าน หรือสอนการเขียนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้
โปรแกรมการเรียนแบบร่วมมือ มีลักษณะกิจกรรมโดยรวมดังนี้คือ
1. การสอนเริ่มต้นจากครู (Teacher Instruction)
2. การฝึกปฏิบัติภายในทีม (Team Practice) นักเรียนทำงานในกลุ่มซึ่งมีสมาชิก 4-5 คนโดยมีความสามารถแตกต่างกัน เรียนรู้กันจากที่ครูได้มอบหมายให้โดยการใช้ Worksheet หรืออุปกรณ์การฝึกอื่นๆ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เรียน นักเรียนจะได้ประเมินเพื่อนสมาชิกในกลุ่มซึ่งกันและกัน
3. นักเรียนได้ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (Individual Assessment) ในเรื่องของข้อความรู้หรือทักษะที่เขาได้รับในบทเรียน
4. คะแนนจากการประเมินนักเรียนแต่ละคน จะรวมเป็นคะแนนของทีม (Team Recognition) ทีมใดที่ได้คะแนนถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับใบประกาศนียบัตรหรือรางวัลอื่นๆ
การจัดกลุ่มนักเรียน
นักเรียนจะทำงานตามกิจกรรมที่กำหนด ภายในกลุ่มการเรียนรู้ที่มีนักเรียนซึ่งมีความสามารถแตกต่างกันในกลุ่มการอ่าน (Reading Groups) นั้น นักเรียนจะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่ม การอ่าน จำนวน 2-3 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับระดับการอ่านของเขา โดยครูเป็นผู้กำหนดให้ว่า นักเรียน คนใดจัดว่าอยู่ในกลุ่มเก่ง ปานกลาง หรืออ่อน



12.การจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT

การจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT มีพื้นฐานความคิดมาจากเรื่องสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Style) และการทำงานของสมอง สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับสไตล์ การเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นเสนอโดยแมค คาธี (Mc Carthy) ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของ เดวิด คอล์บ David Kolb ซึ่งอธิบายว่าสไตล์การเรียนรู้เกิดจากมิติ 2 มิติ คือ
1. การเรียนรู้ (Perception)
2. การจัดการข้อมูล (Processing)
1. การรับรู้ (Perception) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
1.1 การรับรู้ผ่านประสบการณ์รูปธรรม (Concrete Experience)
1.2 การรับรู้ผ่านการสร้างมโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม (Abstract Conceptualization)
2. การจัดการข้อมูล (Processing) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
2.1 การสังเกตแล้วนำมาคิดไตร่ตรอง (Reflective Observation)
2.2 การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Active Experiment)
ลักษณะการเรียนของผู้เรียนแต่ละแบบ มีลักษณะที่ต่างกันดังนี้

ผู้เรียนแบบที่ 1 (Type 1) เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมผ่านการสังเกตแล้วคิดอย่างไตร่ตรองจัดเป็นผู้เรียนที่เรียกว่า ผู้เรียนถนัดจินตนาการ (Imaginative Learner) เขาจะพยายามค้นหาความหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มักชอบถามว่าทำไม (Why)

ผู้เรียนแบบที่ 2 (Type 2) เรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมผ่านการคิดอย่างไตร่ตรองจนเกิดเป็นมโนทัศน์จัดเป็นผู้เรียนที่เรียกว่า ผู้เรียนถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learner) มักชอบถามว่าอะไร (What)

ผู้เรียนแบบที่ 3 (Type 3) เรียนรู้จากการรับรู้มโนทัศน์ แล้วนำมโนทัศน์มาผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จัดเป็นผู้เรียนที่เรียกว่า ผู้เรียนถนัดการใช้สามัญสำนึก (Common Sense Learner) มักชอบถามว่าอย่างไร (How)

ผู้เรียนแบบที่ 4 (Type 4) เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์ซึ่งตนเองยอมรับได้ จัดเป็นผู้เรียนที่เรียกว่า ผู้เรียนยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Dynamic Learner) มักชอบถามว่า ถ้า…แล้ว (If…then…)


การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

การจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT จัดเป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการ เรียนรู้ ที่สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
แมค คาธี ได้นำผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน และผลการศึกษาด้านการพัฒนาสมอง 2 ซีก มาพัฒนาเป็นแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ เหมาะสมกับผู้เรียนทุกลักษณะผสมผสานกัน กระบวนการจัดการเรียนรู้ได้แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนแบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ 2 ขั้นตอน จึงทำให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและยืดหยุ่น ตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มีรูปแบบหรือลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกัน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การนำเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน ขั้นตอนนี้เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเรื่องที่เรียน ค้นพบเหตุผลของตนเองว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนั้น แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ
1.1 การเสริมสร้างประสบการณ์ ขั้นนี้ผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์หรือใช้จินตนาการของตนใน สิ่งที่กำลังเรียน (เน้นการพัฒนาสมองซีกขวา)
1.2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับ เป็นขั้นที่หาเหตุผลเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับใน ขั้น 1.1 ด้วยการคิด วิเคราะห์ (เน้นการพัฒนาสมองซีกซ้าย)

ขั้นตอนที่ 2 การเสนอเนื้อหา สาระ ข้อมูลแก่ผู้เรียน ขั้นนี้เป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้จาก ขั้น 1.2 มาสู่การสร้างมโนทัศน์เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสิ่งที่เรียนนั้นคืออะไร แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ
2.1 การบูรณาการประสบการณ์เพื่อสร้างมโนทัศน์ (Concept) ขั้นนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ของตนกับสิ่งที่เรียน เพื่อให้เกิดความ เข้าใจ (เน้นการพัฒนาสมองซีกขวา)
2.2 การพัฒนาเป็นมโนทัศน์ เป็นขั้นตอนของการทำให้ผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียน จนสร้างเป็นมโนทัศน์ได้ (เน้นการพัฒนาสมองซีกซ้าย)

ขั้นตอนที่ 3 การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนามโนทัศน์ เป็นการพัฒนามโนทัศน์มาสู่การปฏิบัติจริง เป็นการหาคำตอบว่าจะทำได้อย่างไร แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ
3.1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอน ขั้นนี้ผู้เรียนจะได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ (เน้นการพัฒนาสมองซีกซ้าย)
3.2 การนำเสนอผลการปฏิบัติงาน ขั้นนี้เป็นการบูรณาการและสร้างสรรค์ของผู้เรียน ที่จะแสดงถึงความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดหรือความ สนใจของตน (เน้นการพัฒนาสมองซีกขวา)

ขั้นตอนที่ 4 การนำความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ เกิดจากการลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อชี้ให้เห็นว่า ถ้าจะนำไปใช้ในชีวิตจริงแล้วเป็นอย่างไร แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ
4.1 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือการพัฒนางาน ในขั้นนี้ผู้เรียนจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือกระทำงานของตนเองทุกขั้นตอน จนสำเร็จเป็นผลงาน (เน้นการพัฒนาสมองซีกซ้าย)
4.2 การนำเสนอผลงานหรือการเผยแพร่ เป็นขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของตนในรูปแบบต่าง ๆ (เน้นการพัฒนาสมองซีกขวา)

คำอธิบายเกี่ยวกับความสามารถในการทำงานของสมอง
1. ความสามารถของสมองซีกขวา คือ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การใช้สามัญสำนึก การคิดแบบหลากหลาย การคิดแบบองค์รวม การคิดจินตนาการ ฯลฯ
2. ความสามารถของสมองซีกซ้าย คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดหาเหตุผล การคิดแบบปรนัย การคิดแบบมีทิศทาง ฯลฯ


13. การจัดการเรียนการสอนแบบStory line

วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว


ลักษณะเด่นของวิธีสอน

1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้

2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง ซึ่งมีดังนี้
1) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากที่สุด
2) ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
3) ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการควบคู่กับความรู้
4) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Head) ด้านอารมณ์ เจตคติ (Heart) และด้านทักษะปฏิบัติ (Hands) เป็นวิธีสอนที่ให้อำนาจแก่ ผู้เรียน (Learner Empowerment) คือ ให้โอกาสสร้างความรู้หรือปรับแต่งโครงสร้างความรู้ด้วย ตนเองอย่างเป็นอิสระ และแสดงถึงกระบวนการในการได้มาซึ่งความรู้นั้นๆ รับผิดชอบต่อ ความรู้ที่สร้างขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning)

4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)

5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้

6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไข

บทบาทของครูและผู้เรียนเมื่อใช้วิธีสอนแบบสตอรีไลน์


บทบาทของครู

1.เป็นผู้เตรียมการ ในเรื่องต่างๆ ได้แก่

1)กรอบแนวคิดของเรื่องที่จะสอนโดยเขียนเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และกำหนดเรื่องเป็นตอนๆ (Episode) โดยแต่ละหัวข้อเรื่องในแต่ละตอนได้จากการบูรณาการ
2)เตรียมคำถามสำคัญหรือคำถามหลัก เพื่อใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ

2.เป็นผู้อำนวยความสะดวกระหว่างการเรียนการสอน เช่น

1)เป็นผู้นำเสนอ (Presenter) เช่น นำเสนอประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน
2)เป็นผู้สังเกต (Observer) สังเกตขณะผู้เรียนตอบคำถาม ถามคำถาม ปฏิบัติกิจกรรม รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมอื่นๆ ของผู้เรียน
3) เป็นผู้ให้กระตุ้น (Motivator) กระตุ้นความสนใจ ผู้เรียน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแท้จริง
4) เป็นผู้ให้การเสริมแรง (Reinforcer) เพื่อให้เพิ่มความถี่ของพฤติกรรมการเรียน
5) เป็นผู้แนะนำ (Director)
6) เป็นผู้จัดบรรยากาศ (Atmosphere Organizor) ให้บรรยากาศการเรียนการสอนดีทั้งด้านกายภาพและด้านจิตสังคม เพื่อให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
7)เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Reflector) ให้การวิพากย์วิจารณ์ข้อดี ข้อบกพร่อง เพื่อให้พฤติกรรมคงอยู่ หรือปรับปรุง แก้ไข พฤติกรรมการเรียน
8)เป็นผู้ประเมิน (Evaluator) ควรมีการประเมินผลเป็นระยะๆ ประเมินกระบวนการ (Process) พฤติกรรมระหว่างหาความรู้ (Performance) และประเมินผลงาน (Product) ซึ่งอาจเป็นองค์ความรู้ และ/หรือ ผลงาน

3.เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการ (Process Oriented) มากกว่าเนื้อเรื่อง เนื้อหาสาระ (Content Oriented)

4.เน้นการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration) หรือผสมผสานระหว่างวิชาในหลักสูตร (Interdisciplinary)

5.เป็นแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้แหล่งหนึ่งที่ให้ผู้เรียนซักถาม ปรึกษาเพื่อค้นคว้าหาความรู้

6.เป็นผู้ริเริ่มประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน และต้องจัดกิจกรรมเพื่อจบลงด้วยความตื่นเต้น ความพอใจ ทั้งครู ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และคนในชุมนุม เป็นต้น


บทบาทของผู้เรียน

1.เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองในทุกเรื่องตามที่ครูกำหนด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
2.ดำเนินการเรียนด้วยตนเอง เพื่อให้การเรียนสนุกสนาน ตื่นเต้น มีชีวิตชีวา และท้าทายอยู่ตลอดเวลา
3.มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งร่างกาย จิตใจและการคิด ในทุกสถานการณ์ที่ครูกำหนดขึ้น อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนสถานการณ์ในชีวิตจริง
4.เรียนทั้งในห้องเรียน (Class) และในสถานการณ์จริง (Reality) เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม
5.ตอบคำถามสำคัญ หรือคำถามหลัก (Key Questions) ที่ครูกำหนดจากประสบการณ์ของตนเอง หรือประสบการณ์ในชีวิตจริง
6.มีความกระฉับกระเฉง ว่องไว ในการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เช่น สามารถจำ พิจารณา ทำตามคำแนะนำของครูได้อย่างดี
7.ทำงานด้วยความร่วมมือร่วมใจ อาจจะทำงานเดี่ยว เป็นคู่ เป็นกลุ่ม ได้ด้วยความเต็มใจและด้วยเจตคติที่ดีต่อกัน
8.มีความสามารถในการสื่อสาร เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน มีทักษะสังคม รวมทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนในกลุ่ม เพื่อนในกลุ่มอื่นๆ และกับครู
9.เป็นผู้มีความสามารถแก้ปัญหา คิดริเริ่มสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์
10.เป็นผู้สามารถสร้างความรู้ (Construct) ด้วยตนเอง และเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสตอรีไลน์
1.เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนจำได้ถาวร (Retention) ซึ่งการเรียนแบบนี้ต้องเริ่มต้นด้วยการทบทวนความรู้เดิม และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
2.ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน (Participate) ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม เป็นการพัฒนาทั้งตัว
3.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามประสบการณ์ชีวิตของตน และเป็นประสบการณ์จริงในชีวิตของผู้เรียน
4.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่มีการเบื่อหน่าย
5.ผู้เรียนจะได้สร้างจินตนาการตามเรื่องที่กำหนด เป็นการเรียนรู้ด้านธรรมชาติ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง วิถีชีวิต ผสมผสานกันไป อันเป็นสภาพจริงของชีวิต
6.ผู้เรียนจะได้พัฒนาความคิดระดับสูง คิดไตร่ตรอง คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิด แก้ปัญหา คิดริเริ่ม คิดสร้างสรรค์
7.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2 คน 4 คน 6 คน รวมทั้งเพื่อนทั้งห้องเรียน ขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรม เป็นการพัฒนาให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์
8.ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวสู่สิ่งไกลตัว เช่น เรียนตัวของเรา บ้านของเรา ครอบครัวของเรา ชุมชนของเรา ประเทศของเรา และประเทศเพื่อนบ้าน เป็นไปตามระดับสติปัญญาของผู้เรียน
9.ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นสุข สนุกสนาน เห็นคุณค่าของงานที่ทำ และงานที่นำไปนำเสนอต่อเพื่อนต่อชุมนุม ทำให้เกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง



14. การสอนโดยใช้ B-SLIM Model

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ B-SLIM Model หมายถึง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนภาษาที่สองตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communication Language Teaching – CLT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้น ดังนี้

1.1 ขั้นวางแผนและเตรียม (Planning and Preparation) หมายถึง ขั้นที่ครูเลือกกิจกรรมและเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและความสนใจของผู้เรียน รวมทั้งการจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

1.2 ขั้นทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้สอนป้อน (Comprehensible Input) หมายถึง ขั้นที่ครูอธิบายความรู้ ข้อมูลหรือตัวป้อนใหม่ เรียกว่า Input โดยตั้งอยู่บนฐานความรู้เดิมของผู้เรียนครูสามารถทำให้ตัวป้อนเหล่านี้ง่ายในการที่ผู้เรียนจะเข้าใจเกิดการเรียนรู้ โดยการขยายความอธิบายเพิ่มเติม พูดช้า ๆ ซ้ำ ๆ ชัดเจน ใช้รูปภาพ สาธิต และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย
ตัวป้อนมี 9 ชนิด ดังนี้

1.2.1 การรับรู้ภาษา (Language Awareness)

1.2.2 การออกเสียง (Pronunciation)

1.2.3 ศัพท์ (Vocabulary)

1.2.4 ไวยากรณ์ (Grammar)

1.2.5 สถานการณ์และความคล่องแคล่ว (Situation and Fluency)

1.2.6 วัฒนธรรม (Culture)

1.2.7 กลวิธีการเรียนรู้ (Learning Strategy)

1.2.8 ทัศนคติ (Attitude)

1.2.9 ทักษะ (Skill)

1.3 ขั้นกิจกรรมเพื่อความเข้าใจและฝึก (Intake Activity) หมายถึง ช่วงเวลาที่ผู้เรียนเรียนรู้ เนื้อหาหรือตัวป้อน (Input) ผู้สอนพึงระลึกเสมอว่า ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสารหรือตัวป้อนในขั้นแรก ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสทำสองประการ คือ

1.3.1 ประการแรก ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตัวป้อนเรียกว่ากิจกรรมเพื่อความเข้าใจ (Intake-Getting-It)

1.3.2 ประการที่สอง หลังจากที่ผู้เรียนเข้าใจ Input แล้ว ผู้สอนออกแบบกิจกรรมที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกเรียกว่า กิจกรรมขั้นใช้ภาษา(Intake-Using-IT)

1.4 ขั้นผล (Output) หมายถึง ขั้นส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษานอกห้องเรียนทั้งทักษะฟัง พูด อ่านและเขียน ลักษณะกิจกรรมในขั้นนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ประกอบกับความสามารถทางภาษา โดยส่วนมากจะเป็นกิจกรรมเดี่ยว (Individual Activity)

1.5 ขั้นประเมินผล (Evaluation) หมายถึง ขั้นที่ครูรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากการสังเกตหรือการซักถามผู้เรียนในชั้นต่าง ๆ เพื่อต้องการทราบปัญหาต่าง ๆ และแก้ปัญหาในการสอนครั้งต่อไป เป็นการประเมินการสอนของครูเอง ส่วนการประเมินการเรียนของผู้เรียนครูใช้การประเมินพฤติกรรมการเรียน ใบงาน การทดสอบย่อย และการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน




ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสอนกลุ่มสาระต่างประเทศ


ท่านสามารถเปิดดูงานวิจัยและก๊อปได้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader การโหลดและการติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Reader





การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร




การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ป.5
การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ป.5




การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ม.1




ผลการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยการจัดการเรียนรู้การอ่านตามแนวการสอนมหภาษาและการจัดการเรียนรู้การอ่านตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร




การสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร




การสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบการสื่อสาร





การสอนภาษาอังกฤษ ชั้น ป.1




การสอนภาษาอังกฤษ ชั้น ป.3




การสอนภาษาอังกฤษ ชั้น ป.3




การสอนภาษาอังกฤษ ในห้องปฏิบัติการทางภาษา





การสอนภาษาอังกฤษ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ





การสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้ผู้สอนในกลุ่มย่อย





การใช้สื่อประกอบในการสอนภาษาอังกฤษ





การสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ




การศึกษาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่สอนโดยเน้นผู้เรียน ..http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full14/nong1192/titlepage.pdf


การศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ..http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full8/niran651/titlepage.pdf



การศึกษาปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษ ของครูผู..http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full93/nongnuch9002/titlepage.pdf




การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการสอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษา ตอ..
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full115/mayuree11310/titlepage.pdf




การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อให้สอดคล้องกับสไตล์การเร..
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full51/prapasiri4424/titlepage.pdf



การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนภาษาอังกฤษ โด..
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full41/natthaya3845/titlepage.pdf




ความคิดเห็นเกี่ยวกับการอบรมการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอน ชั้น..
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full17/thittiya1482/titlepage.pdf



ความต้องการการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอน สังกัดสำนักง..
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full104/phatay9928/titlepage.pdf








ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนก สา..
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full103/prapariphat9883/titlepage.pdf



ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ต..
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full83/chairat8406/titlepage.pdf


ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกา..
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full13/natthapong1107/titlepage.pdf


ปัญหาเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษของครูในสาขาโรงเรียนมัธยมศึกษา.
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full114/rachanee11176/titlepage.pdf


ปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีท
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full10/prapatsorn854/titlepage.pdf


พฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานก..
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full99/patcharinporn9495/titlepage.pdf


สภาพและปัญหาการสอนภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหล..
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full113/tuanjai11089/titlepage.pdf
























4 ความคิดเห็น:

  1. 15. วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ

    ความหมาย

    วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ หมายถึง วิธีสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมุติขึ้นจากความเป็นจริง มาให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ผู้เรียนคิดว่าจะเป็น ผู้สอจะใช้การแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ ความคิด และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียน อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนอย่างลึกซึ้ง และรู้จักปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรม และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

    ความมุ่งหมาย

    1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น

    2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม

    3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ

    4. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน

    5. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น

    ลักษณะของบทบาทสมมุติ

    บทบาทสมมุติที่ผู้เรียนแสดงออกแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

    1. การแสดงบทบาทสมมุติแบบละคร เป็นการแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้วผู้แสดงจะได้รับทราบเรื่องราวทั้งหมด แต่จะไม่ได้รับบทที่กำหนดให้แสดงตามอย่างละเอียดผู้แสดงจะต้องแสดงออกตามความคิดของตน และดำเนินเรื่องไปตามท้องเรื่องที่กำหนดไว้แล้วซึ่งมีลักษณะเหมือนละคร

    2. การแสดงบทบาทสมมุติแบบแก้ปัญหา เป็นการแสดงบทบาทสมมุติที่ผู้เรียนได้รับทราบสถานการณ์หรือเรื่องราวแต่เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น ซึ่งมักเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือมีความขัดแย้งแฝงอยู่ ผู้แสดงบทบาทจะใช้ความคิดของตนในการแสดงออกและแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเสรี



    ขั้นตอนวิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ สรุปได้ดังนี้

    1.ขั้นเตรียมการสอน
    - เตรียมจุดประสงค์

    - เตรียมสถานการณ์สมมุติ


    2. ขั้นตอนการดำเนินงาน

    - ขั้นนำเข้าสู่การแสดง

    - เลือกผู้แสดง

    - เตรียมความพร้อมผู้แสดง

    - จัดฉากการแสดง

    - เตรียมผู้สังเกตการณ์

    - การแสดง

    - การตัดบท

    3. ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผลการแสดง

    - ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น


    4. ขั้นแสดงเพิ่มเติม

    - ผู้เรียนเสนอแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา

    5. ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป

    - ผู้เรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์

    และสรุปร่วมกันกับผู้สอน

    ขั้นตอนการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ

    การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ มี 5 ขั้นตอน ในแต่ละขั้นตอนมีวิธีการสอน ดังนี้

    1. ขั้นเตรียมการสอน เป็นการเตรียมใน 2 หัวข้อใหญ่ ได้แก่

    1.1 เตรียมจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมุติให้แน่ชัดและเฉพาะเจาะจงว่าต้องการ

    ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างจาการแสดง

    1.2 เตรียมสถานการณ์สมมุติ เพื่อเล่าให้ผู้เรียนฟังโดยให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ การเตรียมสถานการณ์และบทบาทสมมุตินี้อาจเตรียมเขียนไว้อย่างละเอียดเพื่อมอบให้แก่ผู้เรียนหรือเตรียมเฉพาะสถานการณ์เพื่อเล่าให้ผู้เรียนฟัง ส่วนรายละเอียดผู้เรียนต้องคิดเอง

    การเตรียมสถานการณ์แลกะบทบาทสมมุตินี้ ควรให้มีความชัดเจน มีความยากง่ายให้เหมาะสมกับระดับผู้เรียน มีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง และควรให้มีความขัดแย้งหรือปัญหาที่จะต้องแก้ไข เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกคิดและแก้ปัญหา

    2. ขั้นดำเนินการสอน จัดแบ่งย่อยได้ 7 ขั้นตอน ดังนี้

    1.1 ขั้นนำเข้าสู่การแสดงบทบาทสมมุติ เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ

    และกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรม โยผู้สอนอาจใช้วิธีโยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียน เล่าเรื่องราว หรือสถานการณ์สมมุติ ชี้แจงประโยชน์ของการแสดงบทบาทสมมุติ และการร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหา

    2.2 เลือกผู้แสดง เมื่อผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมแล้วผู้สอนจะจัดตัวผู้แสดงในบทบาทต่าง ๆ ในการเลือกผู้แสดงนั้นอาจใช้วิธีดังนี้

    1) เลือกอย่างเจาะจง เช่นเลือกผู้ที่มีปัญหาออกมาแสดง เขาได้รู้สึกในปัญหาและเห็นวิธีแก้ปัญหา



    ที่มา : อาภรณ์ ใจเที่ยง. หลักการสอน(ฉบับปรับปรุง).พิมพ์ครั้งที่ 3 .กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2546

    ตอบลบ
  2. วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ (Role-Play Method)


    1. แนวคิด
    การแสดงบทบาทสมมุติเป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกการแสดงออกตามสถานการณ์ที่กำหนดไว้เพื่อเป็นประสบการณ์ที่จะนำไปแก้ไขปัญหาและสถานการณ์ในชีวิตจริง
    2. ลักษณะสำคัญ
    การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติเป็นการให้ผู้แสดง แสดงออกถึงความรู้สึก ความคิด ทัศนคติต่าง ๆ ออกมาเพื่อเป็นแนวทางการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
    3. วัตถุประสงค์
    1) เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกโดยตัวผู้เรียนเอง
    2) เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกวางแผนการทำงานและทำงานร่วมกันได้
    3) เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและของผู้อื่น
    4) เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงและผู้ดูที่ดี
    5) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้จากการแสดงบทบาทสมมุติ
    4. จำนวนผู้เรียน
    การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ จะใช้ในห้องเรียนปกติแต่จะแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
    1) กลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่แสดงตามบทบาทที่กำหนด โดยครูหรือตามที่มอบหมายจากเพื่อน ซึ่งจะมีเท่าใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหา
    2) กลุ่มผู้สังเกตการณ์ อาจจะเป็นผู้เรียนที่อยู่นอกเหนือจากการแสดงทั้งหมดหรืออาจจะวางให้ชัดเจนว่าผู้เรียนคนใดจะเป็นผู้สังเกตการณ์ ทั้งนี้อาจจะเลือกโดยผู้สอนหรือผู้เรียนเองก็ได้แต่ที่สำคัญผู้สังเกตการณ์ต้องมีไหวพริบความสามารถในการนำเสนอได้
    3) กลุ่มอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก 2 กลุ่มข้างต้น
    5. ระยะเวลา
    การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ จะใช้เวลาค่อนข้างมากเพราะต้องมีการเตรียมการ การแสดง และสรุปผลที่ได้จากการแสดงบทบาทสมมุติ บางครั้งอาจต้องใช้เวลามากกว่ากิจกรรมอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้สอน
    6. ลักษณะห้องเรียน
    การแสดงบทบาทสมมุติอาจจะใช้ในห้องเรียนธรรมดา หรืออาจจะสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมือนจริงก็ได้
    7. ลักษณะเนื้อหา
    การแสดงบทบาทสมมุติจะใช้ได้ดีในเนื้อหาที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของคน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงบทบาทที่สมมุติขึ้นมาหรือบทบาทที่เป็นของผู้แสดงเอง ต่างก็เป็นเรื่องของพฤติกรรมนิสัย หรือบุคลิกภาพของมนุษย์ทั้งสิ้น แต่ผู้สอนก็อาจจะปรับใช้ในวิชาอื่น ๆ ก็ได้
    8. บทบาทผู้สอน
    การสอนบทบาทสมมุติผู้สอนมีบทบาทดังนี้คือ
    1) ผู้สอนเป็นผู้พัฒนาหรือช่วยกันวิเคราะห์ร่วมกับผู้เรียนว่าจะกำหนดเรื่องราวใด ปัญหาใดที่จะกำหนดบทบาทสมมุติและตั้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้น ภายหลังการแสดงบทบาทสมมุติแล้ว
    2) ผู้สอนจะต้องเป็นผู้เตรียมคำถามเพื่อถามผู้เรียนให้แสดงความคิดเห็นมากที่สุด
    3) ผู้สอนจะต้องเตรียมประเด็นที่จะให้ผู้เรียนที่ทำหน้าที่สังเกตการณ์ได้สังเกตการณ์ประเด็นที่กำหนด
    4) ผู้สอนมีส่วนร่วมชี้แนะและคอยดูแลกำกับให้การแสดงบทบาทเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
    5) ผู้สอนต้องเป็นผู้คัดเลือกผู้แสดง ทั้งนี้เพื่อให้การแสดงเป็นไปตามที่คาดหวัง
    6) เป็นผู้ประเมินกระบวนการทั้งหมดร่วมกับผู้เรียน
    9. บทบาทผู้เรียน
    1) เป็นผู้แสดงบทบาทสมบูรณ์ตามที่ผู้สอนกำหนด
    2) เป็นผู้สังเกตการณ์
    3) เป็นผู้ชม
    4) เป็นผู้แสดงความคิดเห็นหรือร่วมอภิปรายและสรุป
    10. ขั้นตอนการสอน
    ขั้นเตรียมการ
    ผู้สอนเป็นผู้กำหนดสถานการณ์หรือช่วยกันวิเคราะห์เหตุการณ์หรือประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับผู้เรียน แล้วกำหนดผู้แสดงบทบาทหรือประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับผู้เรียน ทั้งนี้ส่วนใหญ่การแสดงบทบาทสมมุติจะแสดงทันทีทันใด โดยไม่ต้องมีการฝึกซ้อมมาก่อน โดยผู้สอนเพียงเป็นผู้อธิบายหรือซักซ้อมคร่าว ๆ เท่านั้น บางครั้งการแสดงบทบาทสมมุติ อาจจะใช้วิธีการทันทีทันใดแต่กำหนดหรือเลือกให้แสดงทันทีทันใด ผู้สอนต้องกำหนดผู้สังเกตการณ์และมอบหมายประเด็นที่จะสังเกตการณ์ให้ชัดเจน
    ขั้นแสดง
    ให้ผู้เรียนได้แสดงบทบาทตามที่ได้รับมอบหมายหรือเตรียมมาซึ่งบางครั้งก็แสดงทันทีทันใด
    ขั้นสรุป
    เมื่อการแสดงจบลงผู้เรียนควรจะวิเคราะห์ อภิปราย และสรุป ด้วยตัวนักเรียนเอง ทั้งนี้อาจจะมีรูปแบบการอภิปรายตามความเหมาะสม บางครั้งการแสดงบทบาทสมมุติอาจจะต้องแสดงซ้ำเพราะว่าการแสดงในครั้งแรกเร็วเกินไปหรือไม่ชัดเจน
    11. สื่อการสอนเมื่อสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ
    สื่อที่ใช้ในการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติส่วนใหญ่คือ ผู้เรียน เพราะผู้เรียนเป็นผู้ถ่ายทอดแนวคิด เนื้อหา และพฤติกรรมต่าง ๆ แต่ละขั้น และในการสรุปอาจจะใช้สื่ออื่นเสริมเพิ่มเติมก็ได้
    12. การวัดและประเมินผล
    ในส่วนของการแสดงบทบาทสมมุตินั้น ผู้สอนเป็นผู้ประเมินว่าผู้แสดงแสดงได้ในระดับใด แต่สิ่งที่ได้หรือข้อสรุปหรือแนวคิดที่ได้ผู้เรียนเป็นผู้สรุป ผู้สอนก็ใช้วิธีสังเกตว่า ในพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นอย่างไร


    .

    ตอบลบ
  3. ต่อ...

    13. ข้อดีและข้อจำกัด
    ข้อดี
    1) ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเอง
    2) ผู้เรียนได้เข้าใจถึงพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น
    3) ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    4) ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
    5) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เป็นจริงของชีวิต
    6) ทำให้ผู้เรียนรู้จักฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น
    7) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกได้มาก
    ข้อจำกัด
    1. หากการเตรียมการไม่ดีก็จะเสียเวลามาก
    2. หากผู้แสดงอายหรือขัดเขินก็จะทำให้การแสดงนั้นไม่ชัดเจนแนบเนียน ทำให้เรื่อราวเปลี่ยนไป
    3. หากการแสดงบางอย่างไปกระทบจิตใจผู้เรียนมากเกินไป อาจทำให้สถานการณ์
    ของการแสดงเปลี่ยนไป
    4. ผู้สอนที่ไม่สามารถเข้าถึงปัญหาได้เองทั้งหมดก็อาจจะทำให้การแสดงนั้นมีอุปสรรคมาก
    5. บางครั้งถ้าคาดหวังในสถานการณ์มากเกินไปก็ต้องเตรียมตัวมาก ซึ่งทำให้ไม่คุ้ม
    กับการลงทุน
    14. การปรับใช้การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    การแสดงบทบาทสมมุติจะได้ผลดีและตรงกับแนวคิดผู้เรียนเป็นสำคัญต้องคำนึงถึง
    1) ผู้สอนควรศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ก่อนที่จะให้ผู้เรียนได้แสดง
    2) ผู้สอนต้องคาดหวังถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นแล้วหาทางแก้ปัญหาไว้ก่อน
    3) การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการเลือกสถานการณ์ บทบาท กำหนดผู้แสดง
    การวิเคราะห์ผล และสรุป อภิปรายผลโดยนักเรียนเอง จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
    4) ครูผู้สอนจะต้องมีความสามารถในการกระตุ้นให้ผู้เรียน อยากคิด อยากทำ อยากแสดง และต้องการมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
    5) บรรยากาศของการแสดงบทบาทสมมุติ ควรจะเป็นบรรยากาศของประชาธิปไตยไม่อึดอัดหรือไม่เต็มใจ
    6) ขั้นการวิเคราะห์และสรุปผลเป็นขั้นที่สำคัญมาก ผู้สอนต้องกำกับและถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้เข้าใจและสรุปผลได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้




    .

    ตอบลบ
  4. การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ
    การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) คือ เทคนิคการสอนที่ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมติขึ้น นั่นคือ แสดงบทบาทที่กำหนดให้ การแสดงบทบาทสมมติมี 2 ประเภท ประเภทแรก ผู้แสดงบทบาทสมมติจะต้องแสดงบทบาทของคนอื่นโดยละทิ้งแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง บทบาทของบุคคลอื่นอาจเป็นบุคคลจริง เช่น คนที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ เพื่อนร่วมห้อง หรือการเปลี่ยนบทบาทซึ่งกันและกันกับเพื่อน หรือเป็นบุคคลสมมติ เช่น สมมติว่าเป็นครูใหญ่ สมมติว่าเป็นชาวนา เป็นต้น ผู้แสดงบทบาทสมมติจะพูด คิด ประพฤติหรือมีความรู้สึกเหมือนกับบุคคลที่ตนสวมบทบาท ประเภทที่สอง ผู้แสดงบทบาทจะยังคงรักษาบทบาทและแบบแผนพฤติกรรมของตนเองแต่ปฏิบัติอยู่ในสถานการณ์ที่อาจพบในอนาคต เช่น การสมัครงานสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้แนะแนวให้คำปรึกษาแก่นักเรียน บทบาทสมมติประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนทักษะเฉพาะ เช่น การแนะแนว การสัมภาษณ์ การสอน การจูงใจ การควบคุมความขัดแย้ง เป็นต้น
    การแสดงบทบาทสมมติแตกต่างจากเกมจำลองสถานการณ์ตรงที่ไม่มีกฎเกณฑ์ และการแข่งขัน

    ตอบลบ