ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

15 ธันวาคม 2553

การสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es)

รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es)


แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es) มีอะไรบ้าง

                    1. ปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ คือ ความรู้วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากการสรรสร้างของแต่ละบุคคล ซึ่งมีอิทธิพลมาจากความรู้เดิม และสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสังคม
 
                    2. แนวคิดของเพียเจต์ (Piaget) เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด คือ การที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด และการมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมนี้มีผลทำให้ระดับสติปัญญา และความคิดมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางสติปัญญาและความคิดมี 2 กระบวนการ คือ การปรับตัว (adaptation) และการจัดระบบโครงสร้าง (organization) การปรับตัวเป็นกระบวนการที่บุคคลหาหนทางที่จะปรับสภาพความไม่สมดุลย์ทางความคิดให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว และเมื่อบุคคลัมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว โครงสร้างทางสมองจะถูกจัดระบบให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม มีรูปแบบของความคิดเกิดขึ้น กระบวนการปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2 ประการ คือ
 
                          1) กระบวนการดูดซึม (assimilation) หมายถึง กระบวนการที่อินทรีย์ซึมซาบประการณ์ใหม่ เข้าสู่ประสบการณ์เดิมที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน แล้วสมองก็รวบรวมปรับเหตุการณ์ใหม่ให้เข้ากับโครงสร้างของความคิดอันเกิดจากการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม
                          2) กระบวนการปรับขยายโครงสร้าง (accomodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการดูดซึม คือภายหลังจากที่มีการซึมซาบของเหตุการณ์ใหม่เข้ามา และปรับเข้าสู่โครงสร้างเดิมแล้ว ถ้าปรากฎว่าประสบการณ์ใหม่ที่รับเข้ามามีสมบัติเหมือนกับประสบการณ์เดิม ประสบการณ์ใหม่จะถูกซึมซาบและปรับเข้าหาประสบการณ์เดิม คือ ทำให้ประสบการณ์เดิมมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถปรับปรับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับการซึมซาบเข้ามา ให้เข้ากับประสบการณ์เดิมได้ สมองก็จะสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อปรับให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่นั้น
 
                    3. ทฤษฎีการเสริมสร้างความรู้ (constructivism) ซึ่งเชื่อกันว่านักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างมาแล้วไม่มากก็น้อย ก่อนที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้เน้นว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นด้วยตัวของผู้เรียนรู้เอง และการเรียนรู้เรื่องใหม่จะมีพื้นฐานมาจากความรู้เดิม ดังนั้น ประสบการณ์เดิมของนักเรียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง กระบวนการเรียนรู้ (process of learning) ที่แท้จริงของนักเรียนไม่ได้เกิดจากการบอกเล่าของครูหรือนักเรียนเพียงแต่จดจำแนวคิดต่างๆ ที่มีผู้บอกให้เท่านั้น แต่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎี constructivism เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา สำรวจตรวจสอบ และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า ดังนั้น การที่นักเรียนจะสร้างองค์ความรู้ได้ ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสืบเสาะความรู้ (Inquiry Process)


                    นักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) ได้นำวิธีการสอนแบบ Inquiry มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเสนอขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน เรียกว่า การเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle หรือ 5Es ได้แก่ Engage Explore Explain Elaborate และ Evaluate
 
 

                   
 
 สาขาชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงต้องการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูง วิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในแต่ละขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) ซึ่งมีขอบข่ายรายละเอียด ดังนี้
 
                    1. การสร้างความสนใจ (Engage) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัยหรือความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนมารู้มาแล้วเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจะจะจัด กิจกรรมหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียนตื่นเต้น สงสัย ใครรู้ อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้า หรือการทดลอง แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหาที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะศึกษา ทำได้หลายแบบ เช่น สาธิต ทดลอง นำเสนอข้อมูล เล่าเรื่อง/เหตุการณ์ ให้ค้นคว้า/อ่านเรื่อง อภิปราย/พูดคุย สนทนา ใช้เกม ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สร้างสถานการณ์/ปัญหาที่น่าสนใจ ที่น่าสงสัยแปลกใจ
 
                    2. การสำรวจและค้นคว้า (Explore) นักเรียนดำเนินการสำรวจ ทดลอง ค้นหา และรวบรวมข้อมูล วางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง ลงมือปฏิบัติ เช่น สังเกต วัด ทดลอง รวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ
 
                    3. การอธิบาย (Explain) นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและค้นหามาวิเคราะห์ แปลผล สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวาด ตาราง แผนผัง ผลงานมีความหลากหลาย สนุบสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือโต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนดไว้ โดยมีการอ้างอิงความรู้ประกอบการให้เหตุผลสมเหตุสมผล การลงข้อสรุปถูกต้องเชื่อถือได้ มีเอกสารอ้างอิงและหลักฐานชัดเจน
 
                    4. การขยายความรู้ (Evaborate)
 
                        4.1 ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ลึกซื้งขึ้น หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นหรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่หรือนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นเพื่อให้นักเรียน ชี้แจงหรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซักถามให้นักเรียนชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้หรือเชื่อมโยงความรู้ที่ได้กับความรู้เดิม
 
                        4.2 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น อธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติมมีความละเอียดมากขึ้น ยกสถานการณ์ ตัวอย่าง อธิบายเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เป็นระบบและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือสมบูรณ์ละเอียดขึ้น นำไปสู่ความรู้ใหม่หรือความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องอื่นหรือสถานการณ์อื่นๆ หรือสร้างคำถามใหม่และออกแบบการสำรวจ ค้นหา และรวบรวมเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่
 
                    5. การประเมิน (Evaluate)
                        5.1 นักเรียนระบุสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการและผลผลิต
 
                        5.2 นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ เช่น วิเคราะห์วิจารณ์แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน คิดพิจารณาให้รอบคอบทั้งกระบวนการและผลงาน อภิปราย ประเมินปรับปรุง เพิ่มเติมและสรุป ถ้ายังมีปัญหา ให้ศึกษาทบทวนใหม่อีกครั้ง อ้างอิงทฤษฎีหรือหลักการและเกณฑ์ เปรียบเทียบผลกับสมมติฐาน เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
 
                        5.3 นักเรียนทราบจุดเด่น จุดด้อยในการศึกษาค้นคว้า หรือทดลอง
                    มาถึงตอนนี้เราก็ทราบทั้งเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครานี้ก็มาถึงเรื่องสำคัญที่จะเป็นกระจกสะท้อนให้เกิดการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กไทย เรื่องสำคัญที่ว่าก็คือ
                   
ผลการวิจัย

                    1. กระบวนการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 5Es ส่วนมากครูดำเนินการในชั้นตอนการสร้างความสนใจ (Engage) การสำรวจและค้นหา (Explore) การอธิบาย (Explain) ส่วนขั้นตอนการขยายความรู้ (Elaborate) และการประเมินผล (Evaluate) ครูดำเนินการน้อยมาก การเรียนการสอนส่วนมากบทบาทอยู่ที่ครู โดยครูเป็นผู้นำอภิปรายตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ ใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยใคร่รู้และคิด แต่คำถามส่วนมากเป็นคำถามวัดความจำ และความเข้าใจ และใช้วิธีสอนแบบแก้ปัญหาโดยอ้อม กิจกรรมการเรียนการสอนส่วนมากเป็นกิจกรรมให้คิดและปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดให้ และให้นักเรียนปฏิบัติงานกลุ่มโดยมีครูเป็นที่ปรึกษาชี้แนะ กระตุ้น
 
                    2. ความสามารถในการใช้ความคิดระดับสูงของนักเรียน ระหว่างการเรียนการสอน นักเรียนไม่ได้แสดงออกถึงความสามารถในการอธิบายให้ชัดเจน หรือให้เหตุผลในการตอบหรือลงข้อสรุปผลการสังเกตหรือทดลองอย่างสมเหตุสมผล หรือไม่ได้อภิปรายผลการทดลองและมักจะตอบสั้นๆ ไม่ครบประเด็น และผลการทดสอบก่อนและหลังสอน พบว่า ความสามารถในการคิดวิจารณญาน นักเรียนส่วนมากยังคงมีความคิดวิจารณญานอยู่ในระดับการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเชิงระบบอย่างมีเหตุผล รองลงมานักเรียนพัฒนาขึ้นเป็นระดับการคาดคะเน หรือคาดเดาอย่างสมเหตุสมผล ความสามารถในการแก้ปัญหานักเรียนส่วนมากยังไม่เข้าใจปัญหาและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนลดลงจากเดิม และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังจากได้รับการสอนแล้วนักเรียนส่วนมากมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับการระดมความคิด และเมื่อพิจารณาระดับการพัฒนา พบว่านักเรียนส่วนมากมีความคิดสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นจากระดับเดิม และจากการวิเคราะห์คำตอบของนักเรียนจากแบบทดสอบ พบว่า นักเรียนส่วนมากเขียนตอบสั้นๆ ไม่ชัดเจน ไม่ครบประเด็น ไม่อธิบายบริบท ไม่เชื่อมโยงข้อมูลกับความรู้เดิมหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ค่อยให้เหตุผล ขาดความรู้พื้นฐาน การเรียบเรียงคำบรรยายสับสน
 
                    3. ปัญหาและอุปสรรค
 
                        3.1 ปัญหาเกี่ยวกับครู

- พื้นฐานความรู้ของครูในเนื้อหาสาระบางเรื่องยังมีพื้นฐานไม่เพียงพอ
- สถานการณ์ที่ครูใช้ไม่สามารถนำไปสู่ปัญหาที่ต้องการให้นักเรียนสืบเสาะหาความรู้
- ครูขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระที่ต้องการให้นักเรียนรู้กับสิ่งที่นักเรียนสืบเสาะหาความรู้ได้
- การเรียงลำดับเนื้อหาในการสอน ยังขาดความต่อเนื่อง
- ครูขาดความมั่นใจในขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 5Es
- ครูขาดเทคนิคในการตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพ
- ครูไม่ค่อยเปิดโอกาสให้เวลานักเรียนคิดเท่าที่ควร
- ครูไม่ค่อนสนใจคำตอบของนักเรียน


                        3.2 ปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน

- ความรู้พื้นฐานหรือความรู้เดิมของนักเรียนไม่เพียงพอที่จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่
   หรือทำการสำรวจตรวจสอบ
- นักเรียนขาดความมั่นใจในการตอบคำถามครู
- นักเรียนตอบคำถามของครูแบบสั้นๆ ไม่ชัดเจน ไม่สมบูรณ์
- นักเรียนไม่แสดงออกถึงความสามารถในการอธิบายและลงข้อสรุปสิ่งที่ได้จากการสืบเสาะ
   หาความรู้อย่างสมเหตุสมผล
- คำตอบของนักเรียนอาจจะไม่ได้จากการสำรวจ สังเกต หรือทดลอง แต่ได้จาก
   การดูหนังสือตอบหรือใบความรู้


 ข้อเสนอแนะ
 
                    1. การเตรียมความพร้อมให้ครู ครูควรได้รับการฝึกอบรมให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) มากกว่านี้ และความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความคิดระดับสูง ครูควรได้รับการฝึกให้ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิด ได้รับการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าในการสอนอย่างมีวิจารณญาณ และควรได้รับการฝึกการวิเคราะห์และประเมินผลงานนักเรียน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
 
                    2. ครูควรจัดทำแผนการสอน ตามรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าว รวมทั้งจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม
 
                    3. ครูควรสอดแทรกทักษะการคิด ลักษณะการคิด และกระบวนการคิดในกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการคิด และสิ่งที่ควรเน้น คือ ในการปฏิบัติงานควรให้นักเรียนวิเคราะห์และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากกว่านี้ ให้นักเรียนเป็นผู้นำอภิปรายและมีบทบาทมากกว่านี้


ที่มา  :  สาขาชีววิทยา สสวท.














  
 
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

                1.  ปรัชญาวิทยาศาสตร์ดั้งเดิม ความรู้วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความจริงหรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ ซึ่งได้จากการตรวจสอบ การค้นคว้าทดลองอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่ปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ ความรู้วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากการสรรสร้างของแต่ละบุคคล ซึ่งมีอิทธิพลมาจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม และสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสังคมของแต่ละคน
                2.  แนวคิดของเพียเจต์ (Piaget) เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด คือ การที่คนเรามีปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด และการปะทะสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมนี้มีผลทำให้ระดับสติปัญญาและความคิด มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางสติปัญญาและความคิดมี 2 กระบวนการ คือ การปรับตัว (Adaptation) และการจัดระบบโครงสร้าง (Organization) การปรับตัวเป็นกระบวนการที่บุคคลหาหนทางที่จะปรับสภาพความไม่สมดุลทางความคิดให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว และเมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โครงสร้างทางสมองจะถูกจัดระบบให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม มีรูปแบบของความคิดเกิดขึ้น กระบวนการปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2 ประการคือ
                                1)  กระบวนการดูดซึม (Assimilation) หมายถึง กระบวนการที่อินทรีย์ซึมซาบประสบการณ์ใหม่เข้าสู่ประสบการณ์เดิมที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน แล้วสมองก็รวบรวมปรับเหตุการณ์ใหม่ให้เข้ากับโครงสร้างของความคิดอันเกิดจากการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม
                                2)  กระบวนการปรับขยายโครงสร้าง (Accomodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการดูดซึม คือ ภายหลังจากที่ซึมซาบของเหตุการณ์ใหม่เข้ามา และปรับเข้าสู่โครงสร้างเดิมแล้วถ้าปรากฏว่าประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับการซึมซาบเข้ามาให้เข้ากับประสบการณ์เดิมได้ สมองก็จะสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อปรับให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่นั้น
                3. ทฤษฎีการสร้างเสริมความรู้ (Constructivism) เชื่อว่านักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างมาแล้วไม่มากก็น้อย ก่อนที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้เน้นว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นด้วยตัวของผู้เรียนรู้เอง และการเรียนรู้เรื่องใหม่จะมีพื้นฐานมาจากความรู้เดิม ดังนั้น ประสบการณ์เดิมของนักเรียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง กระบวนการเรียนรู้ (Process of Leaning) ที่แท้จริงของนักเรียนไม่ได้เกิดจากการบอกเล่าของครู หรือนักเรียนเพียงแต่จดจำแนวคิดต่าง ๆ ที่มีผู้บอกให้เท่านั้น แต่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎี Constructivism เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้นเสาะหา สำรวจตรวจสอบ และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใด ๆ มาเผชิญหน้า ดังนั้นการที่นักเรียนจะสร้างองค์ความรู้ได้ ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process)
                4.  ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
                     การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีผู้ให้ความหมายและแนวคิดหลากหลาย ดังนี้
                อนันต์  จันทร์กวี (2523) กล่าวว่า การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วยตนเอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผล และสามารถแก้ปัญหาได้ โดยการนำเอาวิธีการต่างๆ ของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วย
                สุวัฒน์  นิยมค้า (2531) กล่าวว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ค้นคว้า หรือสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นักเรียนยังไม่เคยมีความรู้ในสิ่งนั้นมาก่อน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ
                ดวงเดือน  เทศวานิช (2535) กล่าวว่า การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นทักษะการคิดอย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งต้องมีหลักฐานสนับสนุน วิธีนี้เป็นวิธีที่นักเรียนพิจารณาเหตุผล สามารถใช้คำถามที่ถูกต้องและคล่องแคล่วสามารถสร้างและทดสอบสมมติฐานด้วยการทดลอง และตีความจากการทดลองด้วยตนเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับคำอธิบายของครู เป็นวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนมีระบบวิธีการแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง
                สมจิต  สวธนไพบูลย์ (2541) กล่าวว่า หลักการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ จะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ส่วนครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกแนะนำและให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ การสำรวจ และการสร้างองค์ความรู้
                มนมนัส  สุดสิ้น (2543) สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการหนึ่งที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ คิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีระบบของการคิด ใช้กระบวนการของการค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ครูมีหน้าที่จัดบรรยากาศ การสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ คิดแก้ปัญหาโดยใช้การทดลอง และอภิปรายซักถามเป็นกิจกรรมหลักในการสอน
                ชลสีต์  จันทาสี (2543) สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ซึ่งครูมีหน้าที่เพียงเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือ จัดเตรียมสภาพการณ์และกิจกรรมให้เอื้อต่อกระบวนการที่ฝึกให้คิดหาเหตุผล สืบเสาะหาความรู้ รวมทั้งการแก้ปัญหาให้ได้โดยใช้คำถามและสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เช่น ของจริง สถานการณ์ ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการสำรวจ ค้นหาด้วยตนเอง บรรยากาศการเรียนการสอนให้นักเรียนมีอิสระในการซักถาม การอภิปรายและมีแรงเสริม อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสอนให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้นั่นเอง
                กู๊ด (Good. 1973) ได้ให้ความหมายของการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นเทคนิคหรือกลวิธีอย่างหนึ่งในการจัดให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างของวิชาวิทยาศาสตร์ โดยกระตุ้นให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็น เสาะแสวงหาความรู้โดยการถามคำถาม และพยายามค้นหาคำตอบให้พบด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังให้ความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นวิธีการเรียนโดยการแก้ปัญหาจากกิจกรรมที่จัดขึ้น และใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรม ซึ่งปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่นักเรียนเผชิญแต่ละครั้ง จะเป็นตัวกระตุ้นการคิดกับการสังเกตกับสิ่งที่สรุปพาดพิงอย่างชัดเจน ประดิษฐ์ คิดค้น ตีความหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด การใช้วิธีการอย่างชาญฉลาดสามารถทดสอบได้ และสรุปอย่างมีเหตุผล
                ซันด์และโทรวบริดจ์ (Sun and Trowbridge. 1973) สรุปลักษณะของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ว่า เป็นการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างมโนทัศน์ด้วยตนเอง และเป็นการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ของนักเรียน เช่น ความสามารถทางวิธีการ ทักษะทางสังคม ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องให้อิสระและให้ผู้เรียนมีโอกาสคิด และเป็นการเรียนที่เน้นการทดลอง เพื่อให้ผู้เรียน ค้นพบด้วยตนเอง และการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้จะกำหนดเวลาสำหรับการเรียนรู้
                ซานดรา เค เอเบล (Sandra K. Abell. 2002) ได้กล่าวถึงความหมายของการสืบเสาะหาความรู้ตามที่ NSES และ AAAS นิยามไว้ ดังนี้
                NSES (National Science Education Standards) ได้ให้ความหมายของการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นกิจกรรมที่หลากหลายเกี่ยวกับการสังเกต การถามคำถาม การสำรวจตรวจสอบจากเอกสารและแหล่งความรู้อื่น ๆ การวางแผนการสำรวจตรวจสอบ การทดสอบตรวจสอบหลักฐานเพื่อเป็นการยืนยันความรู้ที่ได้ค้นพบมาแล้ว การใช้เครื่องมือในการรวบรวม การวิเคราะห์ และการแปลความหมายข้อมูล การนำเสนอผลงาน การอธิบายและการคาดคะเน และการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับผลงานที่ได้
                AAAS (American Association for the Advancement of Science) ได้ให้ความหมายการสืบเสาะหาความรู้ว่า เริ่มต้นด้วยคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติพร้อมทั้งกระตุ้นนักเรียนให้ตื่นเต้นสงสัยใคร่รู้ให้นักเรียนตั้งใจรวบรวมข้อมูลและหลักฐาน ครูเตรียมข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ ที่มีคนศึกษาค้นคว้ามาแล้ว เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ หรือเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนลึกซึ้งขึ้นให้นักเรียนอธิบายให้ชัดเจน ไม่เน้นความจำเกี่ยวกับศัพท์ทางวิชาการ และใช้กระบวนการกลุ่ม
                ดังนั้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ
                5.  ระดับของการสืบเสาะหาความรู้ (Level of inquiry) แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
                                1) การสืบเสาะหาความรู้แบบยืนยัน (Confirmed Inquiry) เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ตรวจสอบความรู้หรือแนวคิด เพื่อยืนยันความรู้หรือแนวคิดที่ถูกค้นพบมาแล้ว โดยครูเป็นผู้กำหนดปัญหาและคำตอบ หรือองค์ความรู้ที่คาดหวังให้ผู้เรียนค้นพบ และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่กำหนดในหนังสือหรือใบงาน หรือตามที่ครูบรรยายบอกกล่าว
2) การสืบเสาะหาความรู้แบบนำทาง (Directed Inquiry) เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้กำหนดปัญหา และสาธิตหรืออธิบายการสำรวจตรวจสอบ แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบตามวิธีการที่กำหนด
                                3) การสืบเสาะหาความรู้แบบชี้แนะแนวทาง (Guided Inquiry) เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหา และครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการสำรวจตรวจสอบ รวมทั้งให้คำปรึกษาหรือแนะนำให้ผู้เรียนปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบ
                                4)  การสืบเสาะหาความรู้แบบเปิด (Open Inquiry) เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิด เป็นผู้กำหนดปัญหา ออกแบบ และปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบด้วยตนเอง
                6.   จิตวิทยาที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
                                1) การเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นต่อเมื่อผู้เรียนได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการค้นหาความรู้นั้น ๆ มากกว่าการบอกให้ผู้เรียนรู้
                                2)  การเรียนรู้จะเกิดได้ดีที่สุด เมื่อสถานการณ์แวดล้อมในการเรียนรู้นั้นยั่วยุให้ผู้เรียนอยากเรียน ไม่ใช่บีบบังคับผู้เรียน และครูต้องจัดกิจกรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการค้นคว้าทดลอง
                                3)  วิธีการนำเสนอของครู จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด มีความคิดสร้างสรรค์ ให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้ความคิดของตนเองมากที่สุด
                ทั้งนี้กิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนทำการสำรวจตรวจสอบจะต้องเชื่อมโยงกับความรู้เดิม และผู้เรียนมีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ โดยกิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ หรือแสวงหาความรู้ใหม่
7.      รูปแบบการสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle)
นักการศึกษาจากกลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Society) ได้เสนอกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้เข้ากับประสบการณ์หรือความรู้เดิม เป็นความรู้หรือแนวคิดของผู้เรียนเอง เรียกรูปแบบการสอนนี้ว่า Inquiry cycle หรือ 5Es  มีขั้นตอนดังนี้ (BSCS. 1997)
                                1)  การสร้างความสนใจ (Engage) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการเรียนรู้ที่จะนำเข้าสู่บทเรียน จุดประสงค์ที่สำคัญของขั้นตอนนี้ คือ ทำให้ผู้เรียนสนใจ ใคร่รู้ในกิจกรรมที่จะนำเข้าสู่บทเรียน ควรจะเชื่อมโยงประสบการณ์การเรียนรู้เดิมกับปัจจุบัน และควรเป็นกิจกรรมที่คาดว่ากำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ผู้เรียนสนใจจดจ่อที่จะศึกษาความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะ และเริ่มคิดเชื่อมโยงความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะกับประสบการณ์เดิม
                                2) การสำรวจและค้นหา (Explore) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกันในการสร้างและพัฒนาความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะ โดยการให้เวลาและโอกาสแก่ผู้เรียนในการทำกิจกรรมการสำรวจและค้นหาสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ตามความคิดเห็นผู้เรียนแต่ละคน หลังจากนั้นผู้เรียนแต่ละคนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะในระหว่างที่ผู้เรียนทำกิจกรรมสำรวจและค้นหา เป็นโอกาสที่ผู้เรียนจะได้ตรวจสอบหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดรวบยอดของผู้เรียนที่ยังไม่ถูกต้องและยังไม่สมบูรณ์ โดยการให้ผู้เรียนอธิบายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เรียน ครูควรระลึกอยู่เสมอเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียนตามประเด็นปัญหา ผลจากการที่ผู้เรียนมีใจจดจ่อในการทำกิจกรรม ผู้เรียนควรจะสามารถเชื่อมโยงการสังเกต การจำแนกตัวแปร และคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นได้
                                3) การอธิบาย (Explain) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความ สามารถในการอธิบายความคิดรวบยอดที่ได้จากการสำรวจและค้นหา ครูควรให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับทักษะหรือพฤติกรรมการเรียนรู้ การอธิบายนั้นต้องการให้ผู้เรียนได้ใช้ข้อสรุปร่วมกันในการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมนี้ครูควรชี้แนะผู้เรียนเกี่ยวกับการสรุปและการอธิบายรายละเอียด แต่อย่างไรก็ตามครูควรระลึกอยู่เสมอว่ากิจกรรมเหล่านี้ยังคงเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นั่นคือ ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการอธิบายด้วยตัวผู้เรียนเอง บทบาทของครูเพียงแต่ชี้แนะผ่านทางกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้ชัดเจน ในที่สุดผู้เรียนควรจะสามารถอธิบายความคิดรวบยอดได้อย่างเข้าใจ โดยเชื่อมโยงประสบการณ์ ความรู้เดิมและสิ่งที่เรียนรู้เข้าด้วยกัน
                                4) การขยายความรู้ (Elaborate) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้ยืนยันและขยายหรือเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น และยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะและปฏิบัติตามที่ผู้เรียนต้องการ ในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือยังสับสนอยู่หรืออาจจะเข้าใจเฉพาะข้อสรุปที่ได้จากการปฏิบัติการสำรวจและค้นหาเท่านั้น ควรให้ประสบการณ์ใหม่ผู้เรียนจะได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป้าหมายที่สำคัญของขั้นนี้ คือ ครูควรชี้แนะให้ผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะเพิ่มขึ้น
                                5) การประเมินผล (Evaluate) ขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการอธิบายความรู้ความเข้าใจของตนเอง ระหว่างการเรียนการสอนในขั้นนี้ของรูปแบบการสอน ครูต้องกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินความรู้ความเข้าใจและความสามารถของตนเอง และยังเปิดโอกาสให้ครูได้ประเมินความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะของผู้เรียนด้วย

                การนำรูปแบบการสอนนี้ไปใช้ สิ่งที่ครูควรระลึกอยู่เสมอในแต่ละขั้นตอนของรูปแบบการสอนนี้ คือ การจัดเตรียมกิจกรรม ครูควรจัดเตรียมกิจกรรมให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียน เมื่อครูเตรียมกิจกรรมแล้ว ครูควรพิจารณาตรวจสอบบทบาทของครูและผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละขั้นตอนว่าสอดคล้องกับรูปแบบการสอน 5Es หรือไม่จากตารางที่ 1-2 ต่อไปนี้ เพื่อครูจะได้ปรับหรือพัฒนากิจกรรมให้สอดคล้องกับรูปแบบการสอน


ตารางที่ 1 บทบาทของครูในการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5 Es)



ขั้นตอนการเรียนการสอน
สิ่งที่ครูควรทำ
สอดคล้องกับ 5 Es
ไม่สอดคล้องกับ 5 Es
1.การสร้างความสนใจ (Engage)
        สร้างความสนใจ
      สร้างความอยากรู้อยากเห็น
       ตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด
        ดึงเอาคำตอบที่ยังไม่ครอบคลุมสิ่งที่นักเรียนรู้ หรือความคิดเกี่ยว กับความคิดรวบยอด หรือเนื้อหาสาระ
       อธิบายความคิดรวบยอด
      ให้คำจำกัดความและคำตอบ
        สรุปประเด็นให้
        จัดคำตอบให้เป็นหมวดหมู่
        บรรยาย
2.การสำรวจและค้นหา  (Explore)
        ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันในการสำรวจตรวจสอบ
        สังเกตและฟังการโต้ตอบกันระหว่างนักเรียนกับนักเรียน
        ซักถามเพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบของนักเรียน
        ให้เวลานักเรียนในการคิดข้อสงสัยตลอดจนปัญหาต่างๆ
        ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน
        เตรียมคำตอบไว้ให้
        บอกหรืออธิบายวิธีการแก้ปัญหา
        จัดคำตอบให้เป็นหมวดหมู่
        บอกนักเรียนเมื่อนักเรียนทำไม่ถูก
        ให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ใช้ในการแก้ปัญหา
        นำนักเรียนแก้ปัญหาทีละขั้นตอน
3.การอธิบาย (Explain)
       ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายความคิดรวบยอดหรือแนวคิด หรือให้คำจำกัดความด้วยคำพูดของนักเรียนเอง
        ให้นักเรียนแสดงหลักฐาน ให้เหตุผลและอธิบายให้กระจ่าง
        ให้นักเรียนอธิบาย ให้คำจำกัดความและชี้บอกส่วนประกอบต่างๆ ในแผนภาพ
        ให้นักเรียนใช้ประสบการณ์เดิมของตนเป็นพื้นฐานในการอธิบายความคิดรวบยอดหรือแนวคิด
        ยอมรับคำอธิบายโดยไม่มีหลักฐานหรือให้เหตุผลประกอบ
        ไม่สนใจคำอธิบายของนักเรียน
        นะนำนักเรียนโดยปราศจากการเชื่อมโยงแนวคิด หรือความคิดรวบยอดหรือทักษะ








ตางรางที่ 1 (ต่อ)



ขั้นตอนการเรียนการสอน
สิ่งที่ครูควรทำ
สอดคล้องกับ 5 Es
ไม่สอดคล้องกับ 5 Es
4. การขยายความรู้
    (Elaborate)
        คาดหวังให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์จากการชี้บอกส่วน ประกอบต่างๆ ในแผนภาพคำจำกัดความและการอธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
        ส่งเสริมให้นักเรียนนำสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้หรือขยายความรู้และทักษะในสถานการณ์ใหม่
        ให้นักเรียนอธิบายอย่างหลาก หลาย
        ให้นักเรียนอ้างอิงข้อมูลที่มีอยู่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานและถามคำถามนักเรียนว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง หรือได้แนวคิดอะไร (ที่จะนำกลวิธีจากการสำรวจตรวจสอบครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้)
        ให้คำตอบที่ชัดเจน
        บอกนักเรียนเมื่อนักเรียนทำไม่ถูก
        ใช้เวลามากในการบรรยาย
        นำนักเรียนแก้ปัญหาทีละขั้นตอน
        อธิบายวิธีการแก้ปัญหา
5. การประเมินผล
    (Evaluate)
        สังเกตนักเรียนในการนำความ คิดรวบยอดและทักษะใหม่ไปประยุกต์ใช้
        ประเมินความรู้และทักษะของนักเรียน
        หาหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้เปลี่ยนความคิด หรือพฤติกรรม
        ให้นักเรียนประเมินตนเองเกี่ยว กับการเรียนรู้และทักษะกระบวน การกลุ่ม
        ถามคำถามปลายเปิด เช่น ทำไมนักเรียนจึงคิดเช่นนั้น มีหลักฐานอะไรนักเรียนเรียนรู้อะไรเกี่ยว กับสิ่งนั้น และจะอธิบายสิ่งนั้นอย่างไร
        ทดสอบคำนิยามศัพท์ และข้อเท็จ จริง
        ให้แนวคิดหรือความคิดรอบยอดใหม่
        ทำให้คลุมเครือ
        ส่งเสริมการอภิปรายที่ไม่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดหรือทักษะ







ตารางที่ 2 บทบาทของนักเรียนในการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5 Es)




ขั้นตอนการเรียนการสอน
สิ่งที่นักเรียนควรทำ
สอดคล้องกับ 5 Es
ไม่สอดคล้องกับ 5 Es
1.การสร้างความสนใจ (Engage)
        ถามคำถาม เช่น ทำไมสิ่งนี้จึงเกิด ขึ้นฉันได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยว กับสิ่งนี้
        แสดงความสนใจ
        ถามหาคำตอบที่ถูก
        ตอบเฉพาะคำตอบที่ถูก
        ยืนยันคำตอบหรือคำอธิบาย
        มีวิธีการแก้ปัญหาเพียงวิธีเดียว
2.การสำรวจและค้นหา (Explore)
        คิดอย่างอิสระแต่อยู่ในขอบเขตของกิจกรรม
        ทดสอบการคาดคะเนและสมมติ ฐาน
        คาดคะเนและตั้งสมมติฐานใหม่
        พยายามหาทางเลือกในการแก้ ปัญหาและอภิปรายทางเลือกเหล่านั้นกับคนอื่น
        บันทึกการสังเกตและให้ข้อคิด เห็น
        ลงข้อสรุป
        ให้คนอื่นคิดและสำรวจตรวจสอบ
        ทำงานเพียงลำพังโดยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยมาก
        ปฏิบัติอย่างสับสนไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน
        เมื่อแก้ปัญหาได้แล้วก็ไม่คิดต่อ
3. การอธิบาย
    (Explain)
        อธิบายการแก้ปัญหาหรือคำตอบที่ซับซ้อน
        ฟังคำอธิบายของคนอื่นอย่างคิดวิเคราะห์
        ถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นได้อธิบาย
        ฟังและพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ครูอธิบาย
        อ้างอิงกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว
        ใช้ข้อมูลที่ได้จากการบันทึก/สังเกตในการอธิบาย
        อธิบายโดยไม่มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม
        ยกตัวอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
        ยอมรับคำอธิบายโดยไม่ให้เหตุผล
        ไม่สนใจคำอธิบายของคนอื่นซึ่งมีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้
4. การขยายความรู้
    (Elaborate)
        นำการชี้บอกส่วนประกอบต่างๆ ในแผนภาพ คำจำกัดความ คำ อธิบายและทักษะไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม
        ใช้ข้อมูลเดิมในการถามคำถามกำหนดจุดประสงค์ในการแก้ ปัญหาตัดสินใจ และออกแบบการทดลอง
        ลงข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากหลักฐานที่ปรากฏ
        บันทึกการสังเกตและอธิบาย
        ตรวจสอบความเข้าใจกับเพื่อน ๆ
        ปฏิบัติโดยไม่มีเป้าหมายชัดเจน
        ไม่สนใจข้อมูลหรือหลักฐานที่มีอยู่
        อธิบายเหมือนกับที่ครูจัดเตรียมไว้หรือกำหนดให้
5. การประเมินผล
    (Evaluate)
        ตอบคำถามปลายเปิด โดยใช้การสังเกต หลักฐานและคำอธิบายที่ยอมรับมาแล้ว
        แสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดหรือทักษะ
        ประเมินความก้าวหน้าด้วยตนเอง
        ถามคำถามเพื่อให้มีการตรวจสอบต่อไป
       ลงข้อสรุปโดยปราศจากหลักฐานหรือคำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับมาแล้ว
        ตอบแต่เพียงว่าถูกหรือผิดและอธิบายให้คำจำกัดความ/ความจำ
        ไม่สามารถอธิบายเพื่อแสดงความเข้าใจด้วยคำพูดของตนเอง


รูปแบบการสอนนี้สามารถสะท้อนให้เห็นว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร และผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร ดังนั้น รูปแบบการสอนนี้เป็นทั้งรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนและเป็นรูปแบบการสอนของครู
                8.  บรรยากาศการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
                อารี  พันธ์มณี (2540) กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญในการทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนการสอน คือ ครูผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนและผู้เรียนต่างมีบทบาทในการสร้างบรรยากาศ ครูจะเป็นผู้ริเริ่มสร้างบรรยากาศ ผู้เรียนเป็นผู้ตอบสนอง และเติมสีสันให้กับบรรยากาศการเรียนการสอนให้เป็นไปในรูปแบบต่าง ๆ กัน บรรยากาศการเรียนการสอนที่เป็นอิสระ ท้าทาย ตื่นเต้น ปลอดภัยเป็นประชาธิปไตย ผู้สอนให้ความอบอุ่นทั้งทางกายและจิตใจ สร้างความรู้สึกไว้วางใจให้กับผู้เรียนผู้เรียนได้รับความเข้าใจเป็นมิตร เอื้ออาทร ห่วงใย ตลอดจนให้ความดูแล ช่วยเหลือ จะทำให้ผู้เรียนมีความกล้าและอยากเรียนรู้มากขึ้น บรรยากาศการเรียนการสอนที่มีการยอมรับ มองเห็นคุณค่าในตัวผู้เรียน ผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ ผู้สอนควรแสดงความรู้สึกการยอมรับผู้เรียนอย่างจริงใจ กระตุ้นผู้เรียนให้ยอมรับกันเองและเชื่อมั่นว่าสามารถทำได้สำเร็จ
                มัสเซียลาส และค็อคซ์ (Massialas and Cox. 1968) ได้กล่าวว่า ห้องเรียนที่เป็นแบบสืบเสาะหาความรู้ ควรจะมีลักษณะดังนี้
1)      ห้องเรียนต้องเป็นประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
2)      ปัญหาที่นำมาอภิปรายน่าสนใจที่จะขบคิด และสามารถตัดสินได้ ครูมีบทบาทเพียงกระตุ้นให้กิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปด้วยดี
3)      ทุกคนในห้องเรียนต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและบทความต่างๆ สรุปได้ว่า บรรยากาศการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการคิด ควรมีลักษณะดังนี้
1. บรรยากาศภายในห้องเรียน
     1.1 เป็นบรรยากาศการโต้ตอบกันระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน อย่างสร้างสรรค์ สมเหตุสมผล
     1.3   เป็นบรรยากาศที่นักเรียนรู้สึกอบอุ่นใจ ปลอดภัย ปราศจากการตำหนิ วิพากษ์ วิจารณ์ความคิด ไม่มีการตัดสินว่าถูกหรือผิด
     1.4  บรรยากาศตื่นเต้น น่าสนใจ สนุกสนาน เพื่อให้การเรียนรู้เป็นแบบสร้างสรรค์และอิสระ
     1.5  นักเรียนสนใจ กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
2.  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
     2.1  ครูเป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เป็นกันเอง ให้กำลังใจแก่นักเรียน
     2.2  ครูใจกว้าง ให้นักเรียนโต้แย้งได้ ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน
     2.3  ครูให้คำปรึกษา ชี้แนะ และช่วยเหลือนักเรียน
3.  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน
     3.1  ร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรม ช่วยกันคิด ช่วยกันทำงาน ถ้อยที่ถ้อยอาศัย
     3.2  อภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและโต้แย้งกันอย่างสร้างสรรค์
รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบวัฎจักร
การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดระดับสูง

                ผลการวิจัยทำให้ได้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อพัฒนากระบวนการคิดระดับสูง ซึ่งเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกสังเกต ฝึกถาม-ตอบ ฝึกการสื่อสาร ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการฝึกนำเสนอ ฝึกวิเคราะห์วิจารณ์ ฝึกสร้างองค์ความรู้ โดยมีครูเป็นผู้กำกับ ควบคุม ดำเนินการให้คำปรึกษา ชี้แนะ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ เป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนคิด อยากรู้อยากเห็น และสืบเสาะหาความรู้จากการถามคำถาม และพยายามค้นหาคำตอบหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ รวมทั้งครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียน และสร้างบรรยากาศการสืบเสาะหาความรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนคิดอย่างอิสระ ขอบข่ายรายละเอียดของรูปแบบปรากฏ ดังนี้


ขั้นตอน
ลักษณะของกิจกรรม
หรือสถานการณ์
บทบาทของครู
บทบาทของนักเรียน
1. สร้างความสนใจ
(Engage)  ครูจัดกิจกรรมหรือสร้างสถานการณ์กระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทาย ทำให้นักเรียนสนใจ สงสัย ใคร่รู้ อยากรู้อยากเห็น ขัดแย้ง หรือเกิดปัญหา และทำให้นักเรียนต้องการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือแก้ปัญหา (สำรวจตรวจสอบ) ด้วยตัวของนักเรียนเอง
1. เชื่อมโยงกับความรู้หรือประสบการณ์เดิม
2. แปลกใหม่นักเรียนไม่เคยพบมาก่อน
3. ยั่วยุ ท้าทาย น่าสนใจ ใคร่รู้
4. เปิดโอกาสให้มีแนวทางการตรวจสอบอย่างหลากหลาย
5. นำไปสู่กระบวนการตรวจสอบด้วยตนเองนักเรียนเอง
1. สร้างความสนใจ
2. สร้างความอยากรู้อยากเห็น
3.ตั้งคำถาม กระตุ้นให้นักเรียนคิด
4. ให้เวลานักเรียนคิดก่อนตอบคำถาม หรือไม่เร่งเร้าในการตอบคำถาม
5. ดึงเอาคำตอบหรือความ คิดที่ยังไม่ชัดเจนไม่สมบูรณ์
6. เปิดโอกาสให้นักเรียนทำความกระจ่างในปัญหาที่จะสำรวจตรวจสอบ
7. เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกหรือกำหนดปัญหาที่จะสำรวจตรวจสอบ
1. ตั้งคำถาม
2. ตอบคำถาม
3.แสดงความคิดเห็น
4.กำหนดปัญหาหรือเรื่องที่จะสำรวจตรวจสอบให้ชัดเจน
5. แสดงความสนใจ
ขั้นตอน
ลักษณะของกิจกรรม
หรือสถานการณ์
บทบาทของครู
บทบาทของนักเรียน
2. สำรวจและค้นหา (Explore)
ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ให้นักเรียนสำรวจตรวจสอบปัญหา หรือประเด็นที่นักเรียนสนใจ ใคร่รู้
1. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
2. นักเรียนทำงานตามความ คิดอย่างอิสระ
3. นักเรียนตั้งสมมติฐานได้หลากหลาย
4. พิจารณาข้อมูลและข้อเท็จ จริงที่ปรากฏแล้วกำหนดสมมติฐานที่เป็นไปได้
5. นักเรียนวางแผนแนวทางการสำรวจตรวจสอบ
6. นักเรียนวิเคราะห์อภิปรายเกี่ยวกับกระบวน การสำรวจตรวจสอบ
7. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติในการสำรวจตรวจสอบ
1.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้วิเคราะห์กระบวนการสำรวจตรวจสอบ
2. ซักถามเพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ
3. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกันในการสำรวจตรวจสอบ
4. ให้เวลานักเรียนในการคิดไตร่ตรองปัญหา
5. สังเกตการณ์ทำงานของนักเรียน
6. ฟังการโต้ตอบกันของนักเรียน
7. ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา
8. อำนวยความสะดวก
1. คิดอย่างอิสระ แต่อยู่ในขอบเขตของกิจกรรม
2. ตั้งสมมติฐาน
3. พิจารณาสมมติฐานที่เป็นไปได้โดยการอภิปราย
4. ระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหาในการสำรวจตรวจสอบ
5. ตรวจสอบสมมติฐานอย่างเป็นระบบ ขั้นตอนถูกต้อง
6. บันทึกการสังเกตหรือผลการสำรวจตรวจสอบ อย่างเป็นระบบ ละเอียดรอบคอบ
7. กระตือรือร้นมุ่งมั่นในการสำรวจตรวจสอบ
3. อธิบายและลงข้อสรุป (Explain)  ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ให้นักเรียนวิเคราะห์อธิบายความรู้ หรืออภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือสิ่งที่ได้ค้นพบ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ที่ได้อย่างชัดเจน

1. นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบมานำเสนอในลักษณะ
   1.1 วิเคราะห์ แปลผล
   1.2 สรุปผล
   1.3 อภิปราย
2. นักเรียนนำเสนอผล งานในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปวาด ตาราง แผนผัง
3. มีการอภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานของนักเรียน
4. มีการพิสูจน์ตรวจสอบให้แน่ใจ (ทำซ้ำหรือมีเอก สารอ้างอิง หรือหลักฐานชัดเจน)
1. ส่งเสริมให้นักเรียนได้อธิบายผลการสำรวจตรวจสอบ และแนวคิดด้วยคำพูดของนักเรียนเอง
2. ให้นักเรียนอธิบายโดยเชื่อมโยงประสบการณ์ความรู้เดิม และสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือสิ่งที่ได้ค้นพบเข้าด้วยกัน
3. ให้นักเรียนอธิบายโดยมีเหตุผล หลักการ หรือหลักฐานประกอบ
4.ให้ความสนใจกับคำ อธิบายของนักเรียน
5. ส่งเสริมให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน สมเหตุสมผล
1. อธิบายการแก้ปัญหาหรือผลการสำรวจตรวจ สอบที่ได้
2. อธิบายผลการสำรวจตรวจสอบสอดคล้องกับข้อมูล
3. อธิบายแบบเชื่อมโยงสัมพันธ์และมีเหตุผลหลัก การ หรือหลักฐานประกอบ
4. ฟังการอธิบายของผู้อื่น แล้วคิด วิเคราะห์
5.อภิปรายซักถามเกี่ยวกับสิ่งที่เพื่อนอธิบาย
ขั้นตอน
ลักษณะของกิจกรรม
หรือสถานการณ์
บทบาทของครู
บทบาทของนักเรียน
4. ขยายความรู้ (Elaborate) ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ให้นักเรียนได้ขยายเพิ่ม เติม หรือเติมเต็มองค์ความรู้ใหม่ให้กว้างขวางสมบูรณ์ กระจ่างและลึก ซึ้งยิ่งขึ้น

1. ให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมไปสู่ความรู้ใหม่
2. ให้นักเรียนได้อธิบายและร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมหรือเติมเต็มเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สมบูรณ์กรจ่าง หรือลึกซึ้งขึ้นหรือขยายกรอบความรู้ความคิดให้กว้างขึ้น
3. ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า หรือทดลองเพิ่มขึ้น
4. ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ หรือสถานการณ์ใหม่
1. ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายอย่างละเอียดชัดเจน สมบูรณ์ และอภิปรายแสดงความคิด เห็นเพิ่มเติม หรือเติมเต็มหรือขยายแนวความ คิด และทักษะจากการสำรวจตรวจสอบ
2. ส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้จากการสำรวจตรวจสอบกับความรู้อื่น ๆ
3. ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมหรือเติมเต็ม หรือขยายกรอบความรู้ความคิด
1. ใช้ข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบไปอธิบายหรือทักษะ จากการสำรวจตรวจสอบไปใช้ในสถาน การณ์ใหม่ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม
2. นำข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบไปสร้างความรู้ใหม่
3. นำความรู้ใหม่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมเพื่ออธิบาย หรือนำไปใช้ในชีวิต ประจำวัน

5. ประเมินผล (Evaluate) ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือ อภิปรายซักถามแลก เปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันในเชิงเปรียบ เทียบ ประเมิน ปรับปรุง เพิ่มเติม หรือทบทวนใหม่ ทั้งกระบวนการและองค์ความรู้
มีการตรวจสอบความถูก ต้อง ความชัดเจน ความสมบูรณ์ของกระบวนการและองค์ความรู้ที่ได้โดย
1. วิเคราะห์แลกเปลี่ยนเรียน รู้ซึ่งกันและกัน
2. วิจารณ์ หรืออภิปรายเพื่อเปรียบเทียบ ประเมิน ปรับ ปรุง หรือเพิ่มเติมทั้งกระบวนการและองค์ความรู้
3. เปรียบเทียบผลการสำรวจตรวจสอบกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
1. ถามคำถามเพื่อนำไป สู่การประเมิน
2. ส่งเสริมให้นักเรียนประเมินกระบวนการและผลงานด้วยตนเอง
3. ให้นักเรียนวิเคราะห์สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในการสำรวจตรวจสอบ ทั้งกระบวนการและองค์ความรู้ที่ได้
1. วิเคราะห์กระบวนการสร้างองค์ความรู้ของตนเอง
2. ถามคำถามที่เกี่ยวข้องจากการสังเกต หลักฐานและคำอธิบายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน สมบูรณ์ และอาจนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบใหม่
3. ประเมินกระบวนการและองค์ความรู้ของตน เอง


               
นอกจากนี้แล้วยังมีบรรยากาศการเรียนการสอนก็เป็นปัจจัยสำคัญทีเอื้อให้ผู้เรียนอยากสืบเสาะหาความรู้ ครูผู้สอนและผู้เรียนต่างมีบทบาทในการสร้างบรรยากาศ ครูจะเป็นผู้ริเริ่มสร้างบรรยากาศ ผู้เรียนเป็นผู้ตอบสนองและเพิ่มสีสันให้กับบรรยากาศการเรียนการสอนให้เป็นไปในรูปแบบต่างๆ


ที่มา: เอกสารการอบรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน สาขาชีววิทยา สสวท.





ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้



 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักประกอบแผนผังความคิดและสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน








การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถการคิดวิเคราะห์และการใช้เหตุผล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องเศษส่วนและทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ








การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2ที่เรียนแบบสตอรีไลน์กับแบบสืบเสาะหาความรู้








การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน






การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบ TGT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง สถิติ






การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ เรื่อง ความน่าจะเป็น






การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และ 4MAT






การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องแรงและความดันที่เรียนโดยใช้โปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์กับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้








การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิดรวบยอด และการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่อง การอ่านวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย






การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชา คอมพิวเตอร์ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ








การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบรูณาการ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 4 MAT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น








การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น เรื่อง อาหารกับการดำ รงชีวิตกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2








การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เรื่อง คลื่นเสียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5








การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นเรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3






การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องอาหารและสารอาหารโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่4






การพัฒนาใช้สื่อประสมประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) เรื่อง นิทานแสนสนุกและสามสถาบันหลักนครา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6






การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่างๆ ในร่างกายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2







การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2






การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าน่ารู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น
 




การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  5ES กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องเอกภพ 
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3








การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืชชั้นประถมศึกษาปีที่ 5








การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ  ชั้นม.1







การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต   ชั้นม.5









การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ชั้นป.6









การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร   ชั้นม.5








การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ   ชั้นม.3






การพัฒนาแผนการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ (Inquiry Method)










ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่อง ตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2








ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้








ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อ เรื่อง กระบวนการดำรงชีวิตของพืชชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1










ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็นโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5








ผลการเรียนแบบร่วมมือสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

14 ความคิดเห็น:

  1. รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านและการเขียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E


    โดย นางบุณณดา ผลภาษี


    ครูชำนาญการ โรงเรียนวัดท่าทราย (พิมพานุสร)


    บทคัดย่อ



    รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านและการเขียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านและการเขียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านและการเขียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านและการเขียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่าทราย (พิมพานุสร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 7 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านและการเขียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.60/83.01 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนด 2) ผลการวิเคราะห์คะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่าทราย (พิมพานุสร) ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านและการเขียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการทดสอบด้วยค่าสถิติ t –test พบว่าคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่าทราย (พิมพานุสร) หลังการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านและการเขียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนก่อนใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านและการเขียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่าทราย (พิมพานุสร) ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านและการเขียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50)

    ตอบลบ
  2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

    บทคัดย่อ
    ชื่องานวิจัย : การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
    โดย : กนกวรรณ สะกีพันธ์
    ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
    สาขาวิชา : วิทยาศาสตร์ศึกษา
    ประธานกรรมการที่ปรึกษา : ดร.ประนอม แซ่จึง
    ศัพท์สำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
    การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอน รายวิชาเคมี 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนทุ่งไชยพิทยา รัชมังคลาภิเษก อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้าประกอบด้วย (1) แผนจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (2) แบบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ t-test ในการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ด้วยดัชนีประสิทธิผลนักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.10 จากผลการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เท่ากับ 79.11/75.16 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้




    .

    ตอบลบ
  3. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

    ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
    เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
    ผู้รายงาน นางนิดาพร สุธัญญรัตน์
    กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
    โรงเรียน ขุนหาญวิทยาสรรค์
    สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ปีที่พิมพ์ 2552

    บทคัดย่อ

    การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
    เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 44 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โดยการสุ่มอย่างง่าย ดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบ One – Group Pretest – Postest Design
    เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบปรนัย แบบอิงเกณฑ์ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .31 – .72 และค่าความเชื่อมั่น .91 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .27 ถึง .95 และมีความเชื่อมั่น เท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test

    ผลการพัฒนาปรากฏดังนี้

    1. คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากการทำแบบทดสอบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 125.45 จากคะแนนเต็ม 160 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.67 ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของคะแนนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.81 คิดเป็นร้อยละ 82.10 ดังนั้นประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็น 83.60/82.10 ซึ่งไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
    2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการ
    เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ .6546 ซึ่งแสดงว่า หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนจากแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นแล้วผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.46
    3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. ผลวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ 4.42






    .

    ตอบลบ
  4. การพัฒนากระบวนการคิด โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

    ชื่อเรื่อง การพัฒนากระบวนการคิด โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

    ชื่อผู้ศึกษา อัจฉรา ธีระวิทยาภรณ์

    สถานที่ศึกษา โรงเรียนสองห้องพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 จังหวัดบุรีรัมย์

    บทคัดย่อ

    การพัฒนากระบวนการคิด โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียน กับการพัฒนาสมองซีกซ้ายและซีกขวาเท่าเทียมกัน เพื่อให้ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความถนัดของนักเรียนแต่ละประเภท นักเรียนมีโอกาสประสบความสำเร็จในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่ดี มีปัญญาและมีความสุขในการเรียน กระบวนการเรียนรู้แบบ 4 MAT ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนากระบวนการคิด โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนากระบวนการคิด โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนากระบวนการคิด โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ คือ ประกอบด้วยนักเรียนชาย - หญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนสองห้องพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 28 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t - test (Dependent Sample) ผลการศึกษา พบว่า

    1. แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนากระบวนการคิด โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
    แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพกระบวนการ (E1 / E2) เท่ากับ 95.31/ 95.12 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80 / 80

    2. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของการพัฒนากระบวนการคิด โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.895

    3. ค่าเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการพัฒนากระบวนการคิด โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด



    .

    ตอบลบ
  5. รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E


    บทคัดย่อ รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5Eเรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน4) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองทุ่มวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ .45 - .75 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .22 - .73 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.26 -0 .68 และมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent Sample ผลการศึกษาพบว่า 1. ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 85.68/89.65 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 2. ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7562 หรือคิดเป็นร้อยละ 75.62 3. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E อยู่ในระดับมาก


    ละมัย วงคำแก้ว

    ตอบลบ
  6. รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตสัตว์ (แบบ 5E)


    ชื่อเรื่องวิจัย รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยการเรียนรู้
    แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว23101
    ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์
    อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    ผู้วิจัย นางอุไรรัตน์ พูนเพ็ชร

    ปีที่พิมพ์ 2552

    บทคัดย่อ

    การเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อการพัฒนานักเรียน โดยเฉพาะในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญที่ต้องจัดการเรียน การสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะกระบวนการขั้นพื้นฐานของการเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์อย่างฝังแน่น ทั้งนี้เพื่อรองรับการเรียนรู้ที่สอดคล้องในระดับการศึกษาขั้นสูงต่อไป ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องพัฒนากิจกรรมโดยใช้เทคนิควิธีการที่มีความหลากหลายตามแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบหนึ่ง ที่ผู้เรียนสามารถใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ ที่ต้องอาศัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการค้นหาคำตอบด้วยตัวผู้เรียนเอง การศึกษาครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย (1).เพื่อศึกษาค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (2). เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการใช้แผนการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และ (3). เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 จำนวน 51 คนโรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เครื่องมือศึกษา คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยแบ่งออกเป็นสาระหน่วยย่อยได้ 7 หัวข้อเรื่อง (รวมทั้งสิ้น 20 แผน) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.6 – 0.8 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.3 – 0.4 โดยมีค่าความเชื่อมั่นของชุดข้อสอบเท่ากับ 0.9 แบบสอบถามวัดความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.6 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
    ผลการวิจัยพบว่า รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีประสิทธิภาพโดยรวมของแผนการเรียนรู้ทุกหน่วยย่อยเรื่อง ชีวิตสัตว์ เท่ากับ 92.23/80.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ของมาตรฐานโรงเรียนที่ตั้งไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผลความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนจากการใช้แผนการเรียนรู้โดยรวมของหน่วยเรียนรู้ทุกหน่วยย่อยเรื่อง ชีวิตสัตว์ เท่ากับ 0.69 (69%) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีต่อแผนการเรียนรู้โดยรวมของหน่วยเรียนรู้ทุกหน่วยย่อยเรื่อง ชีวิตสัตว์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบนักเรียนมีความพึงพอใจมากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น(5E) ทุกรายขั้นโดยรวม
    การวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้สร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ที่มีประสิทธิภาพ สมารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ดังนั้นครูและผู้เกี่ยวข้องที่สนใจควรมีการพัฒนาการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ที่หลากหลาย ประยุกต์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น นำไปสู่การเรียนที่มีความภาคภูมิใจและมีความสุข

    ตอบลบ
  7. การพัฒนาสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ในการสอนแบบสืบเสาะ
    ตามกระบวนการ 5 E
    A Development of Science Teacher Competency
    In Using 5 E Inquiry Approach
    สุนันท์ สังข์อ่อง
    Sunan Sung-ong
    บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ
    1. ศึกษาสมรรถภาพด้านความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ของครูวิทยาศาสตร์หลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    2. เพื่อประเมินสมรรถภาพด้านทักษะการเขียนแผนการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ของครูวิทยาศาสตร์หลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. เพื่อศึกษารูปแบบความต้องการในการพัฒนาสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน ที่ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าร้อยละจากค่าความถี่ของคะแนนจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า
    1. หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าได้รับความรู้ความเข้าใจในระดับมากทุกหัวข้อเนื้อหา
    2. ครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีทักษะการจัดทำแผนการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ในระดับปานกลาง
    3. ครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาสมรรถภาพในด้านความรู้และทักษะในเรื่องต่างๆเพิ่มเติมเช่น เทคนิคการสอน การผลิตสื่อ
    และการประเมินตามสภาพจริง
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อศึกษาสมรรถภาพด้านความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ของครูวิทยาศาสตร์หลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    2. เพื่อประเมินสมรรถภาพด้านทักษะการเขียนแผนการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ของครูวิทยาศาสตร์หลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. เพื่อศึกษารูปแบบความต้องการในการพัฒนาสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ในการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E
    อุปกรณ์และวิธีการ
    กลุ่มตัวอย่าง
    กลุ่มตัวอย่างเป็นครูวิทยาศาสตร์ที่สอนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน ซึ่งมาเข้ารับการอบรมปฏิบัติการในโครงการกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบปัญญาพัฒนา ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เอกมัย ในวันที่ 29-30 กรกฎาคม 2545
    เครื่องมือการวิจัย
    1. โปรแกรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการใช้เวลา 2 วัน มีหัวข้อเนื้อหาดังนี้
    1.1 หลักการและแนวคิดของการสอนแบบสืบเสาะ
    1.2 กระบวนการสืบเสาะตามขั้นตอน 5 E
    1.3 กิจกรรมในแต่ละขั้นตอนของ 5 E
    1.4 บทบาทครูและนักเรียน
    1.5 การจัดทำแผนการสอนแบบสืบเสาะ
    1.6 การประเมินผลการเรียนรู้
    1.7 สื่อแหล่งเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. แบบประเมินตนเองด้านความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบสืบเสาะ
    3. แบบประเมินทักษะการจัดทำแผนการสอนแบบสืบเสาะ
    การวิเคราะห์ข้อมูล
    หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมผู้วิจัยให้ครูประเมินตนเองด้านความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบสืบเสาะและผู้วิจัยประเมินแผนการสอนที่ครูจัดทำขึ้นโดยให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดในแบบประเมิน นอกจากนี้ยังให้ครูแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการได้รับความรู้และหัวข้อเนื้อหาที่ต้องการพัฒนาเพิ่มเติม ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าร้อยละจากค่าความถี่ของคะแนนจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง และนำเสนอในรูปแบบตาราง
    วิจารณ์
    จากผลการวิจัยที่พบว่าการอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยทำให้ครูมีสมรรถภาพด้านความรู้ความเข้าใจในระดับมากในทุกหัวข้อเนื้อหา แต่เมื่อประเมินด้านทักษะพบว่าสามารถเขียนแผนการสอนได้ในระดับปานกลางอาจเป็นเพราะครูยังไม่คุ้นเคยกับกระบวนการทั้ง 5 ขั้น ต้องอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงจึงจะสามารถเขียนแผนการสอนได้ในระดับดีขึ้น และเกณฑ์การประเมินประเมินในเรื่องต่าง ๆ ที่ครูยังไม่ได้เขียนครอบคลุมทุกหัวข้อ
    สรุปและข้อเสนอแนะ
    ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการฝึกอบรมปฏิบัติการสามารถพัฒนาสมรรถภาพด้านความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ได้และในการให้ความรู้ควรครอบคลุมเนื้อหาย่อย ๆ ดังตารางที่ 1และในการประเมินการเขียนแผนการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E อาจนำเกณฑ์ตามตารางที่ 2 ไปใช้เป็นแนวในการจัดทำแผนการสอนได้

    ตอบลบ
  8. ประภารัตน์ สิงหเสนา:

    ผลของการใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้งที มีต่อผลสัมฤทธิ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการประยุกต์ความรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น.

    (EFFECTS OF USING 5E LEARNING CYCLE WITH ARGUMENT
    MAPPING ON SCIENCE LEARNING ACHIEVEMENT AND ABILITY IN APPLYING
    KNOWLEDGE OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS)

    อ. ที ปรึกษา
    วิทยานิพนธ์หลัก: อาจารย์ ดร. วัชราภรณ์ แก้วดี, 123 หน้า.


    การวิจัยครั้งนี มีวัตถุประสงค์เพื อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อน
    เรียนและหลังเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้ง 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ
    ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนระหว่างกลุ่มที เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิง
    โต้แย้งกับกลุ่มทีเรียนวิทยาศาสตรโดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการประยุกต์
    ความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้ง 4) เปรียบเทียบ
    ความสามารถในการประยุกต์ความรู้หลังเรียนระหว่างกลุ่มที เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับ
    แผนผังเชิงโต้แย้งกับกลุ่มที เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ
    นักเรียนมัธยมศึกษาปีที 2โรงเรียนจิตรลดา ปีการศึกษา 2552 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ งได้รับการจัดการเรียนการสอน
    วิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้ง และกลุ่มเปรียบเทียบซึ งได้รับการจัดการเรียนการ
    สอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ เครืองมือทีใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบผลสัมฤทธิ ทางการ
    เรียนวิทยาศาสตร์และแบบสอบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ สถิติท ใี ช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลีย
    ค่าเฉล ยี ร้อยละ ส่วนเบ ยี งเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)
    ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี
    1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉล ยี ผลสัมฤทธิ ทางการเรียนวิทยาศาสตรห์ ลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง
    มนี ัยสำคัญทางสถิติท รี ะดับ .05
    2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลียผลสัมฤทธิ ทางการเรียนวิทยาศาสตรห์ ลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่ม
    เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท รี ะดับ .05
    3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉล ยี ความสามารถในการประยุกต์ความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง
    มนี ัยสำคัญทางสถิติท รี ะดับ .05
    4. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉล ยี ความสามารถในการประยุกต์ความรู้หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่ม
    เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท รี ะดับ .05

    ตอบลบ
  9. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

    บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 48 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ระยะเวลาที่ใช้ 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมุติฐานแบบ t – test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 81.85 / 81.93 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สูงขึ้น 4. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ในภาพรวมเห็นด้วยระดับมากที่สุด ( x= 4.61) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 2.28 )

    สร้างโดย: อ.จรูญศักดิ์ รินสาธร

    ตอบลบ
  10. ชื่อเรื่อง (ไทย) : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
    โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
    (อังกฤษ) : MATHAYOMSUKSA IV STUDENTS’ LEARNING
    ACHIEVEMENT THROUGH PHYSICS TEACHING BY USING
    INQUIRY CYCLE
    2. คำสำคัญ :
    - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์
    - วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
    3. ปีที่ทำการวิจัยเสร็จ : 2551
    4. ชื่อผู้วิจัย : นายวิสาคร เศษรักษา
    Mr.Wisakorn Setraksa
    5. อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ วิจักขณาลัญฉ์
    Assoc.Prof. Dr. Santi Wijakkanalan
    6. ที่อยู่ของผู้วิจัย : บ้านเลขที่ 74 หมู่ 4 ตำบลบ้านฝาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น 40170
    7. ประเภทของงานวิจัย : การศึกษาอิสระ
    8. ที่เก็บผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ : ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ และสำนักวิทยบริการ
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    ส่วนที่ 2 สรุปผลงานวิจัย
    1. บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ของ
    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (2) เพื่อพัฒนา
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่
    น้อยกว่าร้อยละ 70 ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้น
    มัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ในภาคเรียนที่ 2
    ปีการศึกษา 2550 จำนวน 38 คน
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ใน
    การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมงแบบสังเกตการสอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล
    ใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการศึกษาพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นสร้างความสนใจ ครูจัดกิจกรรม
    ที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ โดยการสาธิตหน้าชั้นเรียนทำให้นักเรียนกำหนดประเด็นที่จะ
    ศึกษา แสดงความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ลงมือ
    ปฏิบัติการทดลองจริง นักเรียนมีความสนใจในการเรียน มีความสนุกสนาน กระฉับกระเฉงและ
    กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้อธิบายผล
    การสำรวจตรวจสอบโดยผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ นักเรียนช่วยกันอภิปรายจนได้ข้อสรุป และนักเรียน
    กล้าแสดงออก ขั้นขยายความรู้ ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้จากการสำรวจตรวจสอบ
    กับความรู้อื่นๆ นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ขั้นประเมิน ครูจัดกิจกรรมให้
    นักเรียนวิเคราะห์หรืออภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันโดยการเขียน Concept
    mapping ทำให้นักเรียนได้วิเคราะห์กระบวนการสร้างความรู้ของตนเอง ประเมินความก้าวหน้า
    และความรู้ของตนเอง (2) นักเรียนร้อยละ 73.68 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
    ของคะแนนเต็ม

    ตอบลบ
  11. ชื่อเรื่อง การศึกษาผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม เรื่อง ไฟฟ้ากระแสประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ5E(Inquiry cycle) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกุดบากพัฒนาศึกษา อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
    ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า นายอดุลย์ศักดิ์ สาริบุตร
    สังกัด โรงเรียนกุดบากพัฒนาศึกษา อำเภอกุดบาก
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2
    ปีที่พิมพ์ 2551
    บทคัดย่อ
    การศึกษาในครั้งนี้มี จุดมุ่งหมายเพื่อ
    1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม เรื่องไฟฟ้ากระแสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนเรียนรู้แบบ5E(Inquiry Cycle)
    2) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนเรียนรู้แบบ5E ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80
    3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ5E(Inquiry Cycle)
    กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกุดบากพัฒนาศึกษา อำเภอกุดบาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2551 จำนวน 1 ห้อง มี 45 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม
    รูปแบบการศึกษา ผู้ศึกษาได้ใช้กระบวนการวิจัยกึ่งทดลอง(Quisi-experimental Research)
    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
    1.แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E (Inquiry Cycle)รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม4 เรื่องไฟฟ้ากระแส จำนวน 8 แผน 19 ชั่วโมง
    2.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)เรื่อง กระแสไฟฟ้า
    3.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม4 เรื่องกระแสไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 45 คน จำนวน 40 ข้อ
    4.แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ5E(Inquiry Cycle)
    การวิเคราะห์ข้อมูล
    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนีความสอดคล้องIOC ความเที่ยงตรง อำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และ ค่า t-test (t-test Dependent Sample)
    สรุปผลการศึกษา
    1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม4 (ว40204)เรื่อง ไฟฟ้ากระแส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม4(ว40204) เรื่องไฟฟ้ากระแสประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ5E(Inquiry Cycle)สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    2. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม4(ว40204) เรื่องไฟฟ้ากระแสประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ5E(Inquiry Cycle)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.02/82.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่วางไว้
    3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม4(ว40204) เรื่องไฟฟ้ากระแส ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ5E(Inquiry Cycle)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.51)

    ตอบลบ
  12. การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

    ความหมาย


    อนันต์ จันทร์กวี(2523) การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการส่งเสริมให้นัก
    เรียนรู้จักคิดด้วยตนเอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผลและสามารถแก้ปัญหาได้ โดยการนำเอาวิธี
    การต่างๆของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้
    ดวงเดือน เทศวานิช (2535) การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นรูปแบบการสอน
    ที่เน้นทักษะการคิดอย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งต้องมี
    หลักฐานสนับสนุน
    กู๊ด (Good.1973) การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นเทคนิคหรือกลวิธีอย่างหนึ่ง
    ในการจัดให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างของวิชาวิทยาศาสตร์ โดยกระตุ้นให้นักเรียนมี
    ความอยากรู้อยากเห็น เสาะแสวงหาความรู้โดยการถามคำถามและพยายามค้นหาคำตอบ
    ให้พบด้วยตนเอง

    รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5Es)
    1.การสร้างความสนใจ (Engage) ขั้นแรกของกระบวนการเรียนรู้ เข้าสู่บทเรียน ทำให้ผู้
    เรียนสนใจ ใคร่รู้ในกิจกรรมที่จะนำเข้าสู่บทเรียน
    2. การสำรวจและค้นหา (Explore) ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกันในการสร้างแล
    พัฒนาความคิดรวบยอด กระบวนการและทักษะ

    3. การอธิบาย (Explain) ขั้นตอนนี้ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถในการ
    อธิบายความคิดรวบยอดที่ได้จากการสำรวจและค้นหา

    4. การขยายความรู้(Elaborate) ขั้นตอนนี้ผู้เรียนได้ยืนยัน ขยายหรือเพิ่มเติมความรู้ความ
    เข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
    5. การประเมินผล (Evaluate) ในขั้นตอนนี้นักเรียนจะได้รับข้อมูล เกี่ยวกับความรู้ความ
    เข้าใจ ระหว่างการเรียนการสอน ครูอธิบายและมีการประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้
    เรียนด้วย

    ตอบลบ
  13. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

    บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 48 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ระยะเวลาที่ใช้ 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมุติฐานแบบ t – test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 81.85 / 81.93 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สูงขึ้น 4. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ในภาพรวมเห็นด้วยระดับมากที่สุด ( x= 4.61) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 2.28 )

    สร้างโดย: อ.จรูญศักดิ์ รินสาธร

    ตอบลบ
  14. ชื่อเรื่อง (ไทย) : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
    โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
    (อังกฤษ) : MATHAYOMSUKSA IV STUDENTS’ LEARNING
    ACHIEVEMENT THROUGH PHYSICS TEACHING BY USING
    INQUIRY CYCLE
    2. คำสำคัญ :
    - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์
    - วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
    3. ปีที่ทำการวิจัยเสร็จ : 2551
    4. ชื่อผู้วิจัย : นายวิสาคร เศษรักษา
    Mr.Wisakorn Setraksa
    5. อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ วิจักขณาลัญฉ์
    Assoc.Prof. Dr. Santi Wijakkanalan
    6. ที่อยู่ของผู้วิจัย : บ้านเลขที่ 74 หมู่ 4 ตำบลบ้านฝาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น 40170
    7. ประเภทของงานวิจัย : การศึกษาอิสระ
    8. ที่เก็บผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ : ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ และสำนักวิทยบริการ
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    ส่วนที่ 2 สรุปผลงานวิจัย
    1. บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ของ
    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (2) เพื่อพัฒนา
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่
    น้อยกว่าร้อยละ 70 ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้น
    มัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ในภาคเรียนที่ 2
    ปีการศึกษา 2550 จำนวน 38 คน
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ใน
    การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมงแบบสังเกตการสอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล
    ใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการศึกษาพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นสร้างความสนใจ ครูจัดกิจกรรม
    ที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ โดยการสาธิตหน้าชั้นเรียนทำให้นักเรียนกำหนดประเด็นที่จะ
    ศึกษา แสดงความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ลงมือ
    ปฏิบัติการทดลองจริง นักเรียนมีความสนใจในการเรียน มีความสนุกสนาน กระฉับกระเฉงและ
    กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้อธิบายผล
    การสำรวจตรวจสอบโดยผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ นักเรียนช่วยกันอภิปรายจนได้ข้อสรุป และนักเรียน
    กล้าแสดงออก ขั้นขยายความรู้ ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้จากการสำรวจตรวจสอบ
    กับความรู้อื่นๆ นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ขั้นประเมิน ครูจัดกิจกรรมให้
    นักเรียนวิเคราะห์หรืออภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันโดยการเขียน Concept
    mapping ทำให้นักเรียนได้วิเคราะห์กระบวนการสร้างความรู้ของตนเอง ประเมินความก้าวหน้า
    และความรู้ของตนเอง (2) นักเรียนร้อยละ 73.68 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
    ของคะแนนเต็ม

    .

    ตอบลบ