อิตาลี (อิตาลี: Italia) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (อิตาลี: Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8
มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประวัติศาสตร์
ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคจักรวรรดิโรมัน
คาบสมุทรอิตาลีมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า ดินแดนลุ่มแม่น้ำไทเบอร์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลตั้งแต่เมื่อประมาณ 5 หมื่นปีที่แล้ว และด้วยอิตาลีนั้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีอารยธรรมโบราณกล่าวคือ อารยธรรมมิโนอันและไมซีเนียน อารยธรรมที่เกี่ยวพันกับอารยธรรมกรีกโบราณ อิตาลีเป็นประเทศที่มีอารยธรรมมาช้านานและแผ่ขยายดินแดนอื่น ๆ ในทวีปยุโรป
ในช่วง 1,600 ปีก่อนคริต์ศักราช พวกอีทรัสคัน จากเอเชียไมเนอร์ก็ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นแคว้นทัสกานีในปัจจุบัน พร้อมกับนำอารยธรรมกรีกเข้ามาเผยแพร่ ส่วนพวกกรีกเองก็ได้เดินทางมาตั้งอาณานิคมชื่อว่า “แมกนากราเซีย” (อิตาลี: Magna Graecia) ในตอนใต้ของอิตาลีใน 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณตั้งแต่เมืองเนเปิลส์จนถึงเกาะซิซิลี
ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช พวกอีทรัสคันได้มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอิตาลีตั้งแต่หุบเขาโป จนถึงบริเวณเมืองนาโปลี และดินแดนรอบ ๆ กรุงโรม ขณะเดียวกันชนเผ่าอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีก็รวมตัวกันจัดตั้งเป็นนครรัฐขึ้น เพื่อต่อต้านการขยายตัวและอำนาจของพวกอีทรัสคันและกรีก ชนเผ่าที่สำคัญในการต่อต้านอำนาจเหล่านี้ได้แก่พวกละติน หรือโรมัน ซึ่งเมื่อถึง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกละตินก็ได้มีอำนาจเหนือดินแดนอิตาลี เกาะซาร์ดิเนียและซิซิลี ทั้งหมดแล้ว
ใน 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นระบอบจักรวรรดิ โดยมีจักรพรรดิออกเตเวียน เป็นจักรพรรดิพระองค์แรก นครหลวงแห่งนี้ได้เจริญถึงขีดสุดและสามารถขยายอำนาจปกครองอิทธิพลไปทั่วทั้งยุโรป และบริเวณรายรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและความเจริญในด้านวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ แทนอารยธรรมกรีกที่เสื่อมถอยลง ระหว่างปี ค.ศ. 96 – 180 เป็นช่วงระยะเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองของจักรพรรดิที่ปกครอง 5 พระองค์ แต่หลังจากนั้น โรมต้องประสบปัญหาทั้งในทุก ๆ ด้าน รวมไปถึงการรุกรานของพวกอนารยชน รวมทั้งการเสื่อมโทรมทางศีลธรรมจรรยา ใน ค.ศ. 312 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมรับคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งมีผลให้คริสต์ศาสนามีโอกาสได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของโรม และทรงแบ่งจักรวรรดิโรมันออกเป็นสองส่วน คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก และจักรวรรดิไบแซนไทน์
ในคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันตกและกรุงโรมได้ถูกพวกอนารยชนชาวเยอรมันเข้าปล้นสะดม ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 476 จักรพรรดิโรมันพระองค์สุดท้ายก็ถูกพวกอนารยชนขับออกจากบัลลังก์ คาบสมุทรอิตาลีถูกแบ่งออกเป็นนครรัฐทั้งหลายซึ่งมีอิสระต่อกันกว่า 14 รัฐ
ยุคกลาง
ในช่วงต้นของยุคกลาง ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปได้ตกอยู่ในสภาวะระส่ำระส่ายที่บ้านเมืองขาดผู้นำ ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมถูกทำลาย แต่ในขณะเดียวกันบิชอบแห่งโรม ก็ได้สามารถสถาปนาอำนาจสูงสุดในคริสตจักรซึ่งต่อมาคือ“สันตะปาปา” และสามารถจัดตั้งรัฐสันตะปาปา อีกทั้งยังเป็นผู้สืบทอดอารยธรรมโรมันที่ยังหลงเหลือให้คงอยู่ต่อไป อย่างไรก็ดี แม้นครรัฐต่าง ๆ ในคาบสมุทรอิตาลีจะขาดเอกภาพทางการเมือง แต่นครรัฐเหล่านั้นยังเป็นศูนย์กลางของความเจริญมั่งคั่งและการฟื้นตัวของศิลปะและวัฒนธรรมของยุโรป
ในกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 14 อิตาลีได้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของอารยธรรมกรีกและโรมัน โดยเรียกว่า ยุคเรอเนซองส์ และเป็นผู้นำของลัทธิมนุษยนิยม ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปยังตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบศักดินา แต่เมื่อเข้าปลายคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 15 อิตาลีได้ตกเป็นสมรภูมิแย่งชิงอำนาจระหว่างฝรั่งเศส สเปน และออสเตรีย กล่าวคือ เมื่อปี ค.ศ. 1494 พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศสได้เปิดการโจมตีคาบสมุทร ซึ่งได้ดำเนินเรื่อยมาถึงกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 16 และการโจมตีเพื่อแย่งการเป็นเจ้า ระหว่างฝรั่งเศสและสเปน
ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1861-1946)
ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการชุมนุมของขบวนการชาตินิยม เพื่อต้องการรวมอิตาลีจนเป็นผลสำเร็จ โดยการนำของพระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่ 2 นับแต่นั้นมา อิตาลีจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบกษัตริย์ เรื่อยมาจนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอิตาลี เมื่อมีการประกาศยกเลิกความเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนได้รับสมญานามว่าเป็น 1 ใน 4 มหาอำนาจ (The Big Four) ต่อมาสงครามได้ยุติลงด้วยชัยชนะของสัมพันธมิตร อิตาลีจึงได้ดินแดนบางส่วนของออสเตรียมาครอบครอง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 ระบบเผด็จการฟาสซิสต์ ถูกนำมาใช้ในประเทศอิตาลีกว่า 20 ปี โดยการนำของเบนิโต มุสโสลินี ถึงแม้ว่าจะมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ก็เป็นเพียงในนามเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง อิตาลีเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะซิซิลีได้ มุสโสลินีจึงถูกปลดออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งปีเอโตร บาโดลโย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และประกาศสงครามกับนาซีเยอรมนี จนได้รับชัยชนะ โดยมุสโสลินีถูกกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์จับกุม และถูกสังหารที่เมืองมิลานสาธารณรัฐอิตาลี
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลง อิตาลียังคงมีพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 เป็นประมุขอยู่ ต่อมาพระองค์สละราชสมบัติให้กับพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 ขึ้นครองราชย์แทน แต่ครองราชย์ได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น ประชาชนต่างลงประชามติให้อิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบกษัตริย์มาเป็นระบบสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1948 จนถึงปัจจุบัน
ภูมิประเทศ
ประเทศอิตาลีตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ถูกล้อมรอบด้วยทะเลในทุกๆ ด้านยกเว้นด้านเหนือ อาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียโดยมีเทือกเขาแอลป์กั้นแบ่ง โดยในเทือกเขามีภูเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป คือภูเขามอนเตบีอังโก (อิตาลี: Monte Bianco) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี เทือกเขาที่สำคัญอีกแห่งคือ เทือกเขาแอเพนไนน์ (อิตาลี: Appennini) พาดผ่านตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในอิตาลีคือแม่น้ำโป (Po) และแม่น้ำไทเบอร์ที่ไหลผ่านกรุงโรม อิตาลีมีดินแดนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำราว 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยที่ราบลุ่มแม่น้ำโป ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณพื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุด อิตาลีมีเกาะมากมาย แต่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย สามารถเดินทางได้โดยเรือและเครื่องบิน
ทางตอนเหนือของอิตาลีมีทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่มากมาย เช่น ทะเลสาบการ์ดา โกโม มัจโจเร และทะเลสาบอีเซโอ เนื่องจากประเทศอิตาลีถูกล้อมรอบด้วยทะเล ดังนั้นจึงมีชายฝั่งทะเลยาวหลายพันกิโลเมตร ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และนักท่องเที่ยวก็นิยมเที่ยวสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีอีกด้วย ประเทศอิตาลีมีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟมากอันดับหนึ่งของโลก เมืองหลวงของประเทศอิตาลีคือกรุงโรม และเมืองสำคัญอื่น ๆ เช่นเมืองมิลาน ตูริน ฟลอเรนซ์ เนเปิลส์ และเวนิส และภายในประเทศอิตาลียังมีประเทศแทรกอยู่ 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ คือ ปรอท โพแทช (โพแทสเซียมคาร์บอเนต) หินอ่อน กำมะถัน แก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบ ปลาและถ่านหิน
อิตาลีมีปัญหาด้านสภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะเป็นพิษจากอุตสาหกรรมและการสันดาบ ชายฝั่งแม่น้ำเน่าเสียจากอุตสาหกรรม และสารตกค้างจากการเกษตร ฝนกรด การขาดการดูแลบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอ และปัญหาด้านภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ดินและโคลนถล่ม ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม รวมถึงปัญหาแผ่นดินทรุดตัวในเวนิส
ภูมิอากาศ
ประเทศอิตาลีมีลักษณะอากาศหลากหลายแบบ และอาจมีความแตกต่างจากภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนตามลักษณะพื้นที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ เช่นเมืองตูริน มิลาน และโบโลญญา มีลักษณะแบบอากาศภาคพื้นทวีปที่ค่อนข้างร้อนชึ้น (การแบ่งลักษณะภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Cfa) พื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลของแคว้นลิกูเรียและส่วนใหญ่ของคาบสมุทรที่อยู่ใต้ลงไปจากฟลอเรนซ์เป็นภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (การแบ่งลักษณะภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Csa) คือมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี โดยมีลมจากแอฟริกาพัดเอาความร้อนและความชี้นเข้ามา พื้นที่ชายฝั่งของคาบสมุทรอิตาลีสามารถมีความแตกต่างกันได้มากจากระดับความสูงของภูเขาและหุบเขา โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูหนาวในที่สูงก็จะมีอากาศหนาว ชื้น และมักจะมีหิมะตก ภูมิภาคริมทะเลมีอากาศไม่รุนแรงในฤดูหนาว อากาศอุ่นและมักจะแห้งในฤดูร้อน และพื้นที่ต่ำกลางหุบเขามีอากาศค่อนข้างร้อนในฤดูร้อน
ประเทศอิตาลีมีฤดู 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง
การเมืองการปกครอง
การปกครองของประเทศอิตาลีเป็นรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีรัฐสภา และใช้ระบบพรรคผสม รัฐสภาของอิตาลีประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนของทั้งสองสภาดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปีรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วนอำนาจนิติบัญญัติควบคุมโดยสภานิติบัญญัติสองสภา ประเทศอิตาลีใช้รูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยมาตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 หลังจากการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยโดยการลงประชามติของประชาชน มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกประกาศใช้เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1948
รัฐสภาอิตาลีประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประธานรัฐสภา คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร การบัญญัติกฎหมายใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภา วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาคือ 5 ปี และการเลือกตั้งจะทำพร้อมกันทั้ง 2 สภา โดยจะมีขึ้นทุก ๆ 5 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจสรรหานายกรัฐมนตรีที่สามารถจัดตั้ง คณะรัฐบาลให้ทั้ง 2 สภาให้ความเห็นชอบได้ การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ 9 - 10 เมษายน พ.ศ. 2549 (มีการเลือกตั้ง 2 วันโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนมาลงคะแนนมากขึ้น) สภาผู้แทนราษฎร (อิตาลี: Camera dei Deputati) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 630 คน โดย 475 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอีก 155 คนมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจากแคว้นต่างๆ ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งจะต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป วุฒิสภา (อิตาลี: Senato della Repubblica) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 326 คน โดย 315 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป จากแคว้น ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีวุฒิสมาชิกตลอดชีพอีกจำนวนหนึ่ง (ปัจจุบันมี 7 คน) ซึ่งจะแต่งตั้งจากบุคคลชั้นนำของสังคม
ประเทศอิตาลีมีประธานาธิบดีคือ จอร์โจ นาโปลีตาโน ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 และจะสิ้นสุดวาระในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 (ประธานาธิบดีของอิตาลีดำรงวาระ 7 ปี) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 7 แห่งสาธาณรัฐอิตาลี ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีการ์โล อาเซลโย ชัมปี อิตาลีมีประธานาธิบดีคนแรกคือ เอนรีโก เด นีโกลา ส่วนนายกรัฐมนตรีในขณะนี้คือ ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี ขึ้นดำรงตำแหน่งในช่วงเดียวกัน
ประเทศอิตาลีเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรกทั้งหมด 11 ประเทศที่เข้าร่วมในสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 2002 และอิตาลีก็ได้เปลี่ยนสกุลเงินมาเป็นยูโร ซึ่งก่อนหน้านั้นอิตาลีใช้สกุลเงินลีรา (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881)
การปกครองส่วนท้องถิ่น อิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น แบ่งเป็นแคว้น 15 แคว้น และแคว้นปกครองตนเอง 5 แคว้น โดยในแต่ละแคว้นจะมีองค์กรการปกครองหลักอยู่ 3 องค์กร คือ
- คณะมนตรีแคว้น (Regional Council) ทำหน้าที่ตรากฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเขตอำนาจ
- คณะมนตรีกรรมการ (The Junta) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
- ประธานคณะกรรมการ (The President of the Junta) ทำหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรีในเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ ก็จะมีผู้แทนของรัฐบาลคนหนึ่งอยู่ประจำ ณ นครหลวงของแคว้นนั้น ๆ คอยควบคุมดูแลการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง
การแบ่งเขตการปกครอง
สาธารณรัฐอิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 แคว้นหรือ เรโจนี (อิตาลี: Regioni) และ 5 แคว้นปกครองตนเอง หรือ เรโจนีเอาโตโนเม (อิตาลี: Regioni autonome) และแต่ละแคว้นก็จะแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัด (อิตาลี: Province) และแต่ละจังหวัดก็จะแบ่งออกเป็นเทศบาลหรือ โกมูนี (อิตาลี: Comuni)
เอียง หมายถึง เป็นแคว้นปกครองตนเอง)
# | แคว้น | เมืองหลวง | พื้นที่ (ตร.กม.) | ประชากร |
---|---|---|---|---|
1 | อาบรุซโซ (Abruzzo) | ลากวีลา (L'Aquila) | 10,794 | 1,334,675 |
2 | บาซีลีกาตา (Basilicata) | โปเตนซา (Potenza) | 9,992 | 590,601 |
3 | กาลาเบรีย (Calabria) | กาตันซาโร (Catanzaro) | 15,080 | 2,008,709 |
4 | กัมปาเนีย (Campania) | เนเปิลส์ (นาโปลี) (Naples; Napoli) | 13,595 | 5,812,962 |
5 | เอมีเลีย-โรมัญญา (Emilia-Romagna) | โบโลญญา (Bologna) | 22,124 | 4,337,979 |
6 | ฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย (Friuli-Venezia Giulia) | ตรีเอสเต (Trieste) | 7,855 | 1,230,936 |
7 | ลาซีโอ (Lazio) | โรม (โรมา) (Rome; Roma) | 17,207 | 5,626,710 |
8 | ลิกูเรีย (Liguria) | เจนัว (เจโนวา) (Genoa; Genova) | 5,421 | 1,615,064 |
9 | ลอมบาร์ดี (ลอมบาร์เดีย) (Lombardy; Lombardia) | มิลาน (มีลาโน) (Milan; Milano) | 23,861 | 9,742,676 |
10 | มาร์เก (Marche) | อังโกนา (Ancona) | 9,694 | 1,569,578 |
11 | โมลีเซ (Molise) | กัมโปบัสโซ (Campobasso) | 4,438 | 320,795 |
12 | ปีเอมอนเต (Piemonte) | ตูริน (โตรีโน) (Turin; Torino) | 25,399 | 4,432,571 |
13 | ปูลยา (Puglia) | บารี (Bari) | 19,362 | 4,079,702 |
14 | ซาร์ดิเนีย (ซาร์เดญญา) (Sardinia; Sardegna) | กาลยารี (Cagliari) | 24,090 | 1,671,001 |
15 | วัลเลดาออสตา (วาเลโดสต์) (Valle d'Aosta; Vallée d'Aoste) | อาออสตา (Aosta) | 3,263 | 4,337,979 |
16 | ทัสกานี (ตอสกานา) (Tuscany; Toscana) | ฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ) (Florence; Firenze) | 22,997 | 3,707,818 |
17 | เตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ (Trentino-Alto Adige) | เตรนโต (Trento) | 13,607 | 1,018,657 |
18 | อุมเบรีย (Umbria) | เปรูจา (Perugia) | 8,456 | 894,222 |
19 | ซิซิลี (ซีชีเลีย) (Sicily; Sicilia) | ปาแลร์โม (Palermo) | 25,708 | 5,037,799 |
20 | เวเนโต (Veneto) | เวนิส (เวเนเซีย) (Venice; Venezia) | 18,391 | 4,885,548 |
เมืองสำคัญ
อันดับ | เมือง | แคว้น | ประชากร | อันดับ | เมือง | แคว้น | ประชากร | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โรม | ลาซีโอ | 2,724,347 | 11 | เวนิส | เวเนโต | 270,098 | |||
2 | มิลาน | ลอมบาร์ดี | 1,295,705 | 12 | เวโรนา | เวเนโต | 265,368 | |||
3 | เนเปิลส์ | กัมปาเนีย | 963,661 | 13 | เมสซีนา | ซิซิลี | 243,381 | |||
4 | ตูริน | ปีเอมอนเต | 908,825 | 14 | แพดัว | เวเนโต | 211,936 | |||
5 | ปาแลร์โม | ซิซิลี | 659,433 | 15 | ตรีเอสเต | ฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย | 205,341 | |||
6 | เจนัว | ลิกูเรีย | 611,171 | 16 | ตารันโต | ปูลยา | 194,021 | |||
7 | โบโลญญา | เอมีเลีย-โรมัญญา | 374,944 | 17 | เบรชชา | ลอมบาร์ดี | 190,844 | |||
8 | ฟลอเรนซ์ | ทัสกานี | 365,659 | 18 | เรจโจกาลาเบรีย | กาลาเบรีย | 185,621 | |||
9 | บารี | ปูลยา | 320,677 | 19 | ปราโต | ทัสกานี | 185,091 | |||
10 | กาตาเนีย | ซิซิลี | 296,469 | 20 | ปาร์มา | เอมีเลีย-โรมัญญา | 182,389 | |||
ประมาณการจาก ISTAT ของวันที่ 31 ธันวาคม 2008 |
เศรษฐกิจ
ในช่วงหลังของทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของอิตาลีจัดอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เริ่มประสบปัญหาในทศวรรษต่อมา ทำให้รัฐบาลไม่สามารถควบคุมปัญหาการขาดดุลสาธารณะได้ เดิมอิตาลีเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่หลังจากปี ค.ศ. 1945 ได้เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนกระทั่งปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 7 อยู่ในภาคการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้และมีฐานะยากจนกว่าทางภาคเหนือและกลาง พืชหลักที่เพาะปลูก ได้แก่ ต้นบีต ข้าวสาลี ข้าวโพด มันเทศและองุ่น (อิตาลีใช้องุ่นทำไวน์และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกด้วย)
ประเทศอิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร และพลังงาน อิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรมแบบพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศมี รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้า แฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่มจี 8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ เช่น สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจ และแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลดบทบาทของพรรคการเมือง โดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายอย่าง เช่น การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (แคว้นลอมบาร์ดี เอมีเลีย-โรมัญญา และทัสกานี) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่ประมาณ 40% ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่นี้มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 ของประชากรทั้งประเทศ และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20
ทรัพยากร
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 อิตาลีเป็นประเทาที่มีทรัพยากรมากที่สุดและยังมีทรัพยากรจากแหล่งอาณานิคม ทรัพยากรของอิตาลีมี เหล็ก ทองแดง กำมะถันพบมากในซาร์ดิเนียทางตอนใต้ของอิตาลีมีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก อิตาลียังมีถ่านหิน ดีบุกส่วนเกาะซิซิลีของอิตาลีมีก๊าซธรรมชาติมาก เกาะซาร์ดิเนียมีบีตและโรงงานทำน้ำตาลซึ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป (น้ำตาลในยุโรปส่วนใหญ่มาจากอิตาลี) อิตาลีปลูกกาแฟมากที่สุดในยุโรป เป็นที่มาของคาปูชิโนและเอสเปรสโซทั้งสองมีต้นกำเนิดที่อิตาลี ทางตอนเหนือของอิตาลีนิยมปลูกองุ่นที่ใช้ทำไวน์ อิตาลีเป็นประเทศที่ค้าไวน์รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก
การคมนาคม
ประเทศอิตาลีมีถนนความยาวทั้งหมด 487,700 กิโลเมตร เชื่อมต่อ 13 ประเทศรอบอิตาลี มีสนามบินทั้งหมด 132 แห่ง โดยที่เป็นศูนย์กลางการบิน 2 แห่ง คือ สนามบินนานาชาติเลโอนาร์โด ดา วินชี ในกรุงโรม และสนามบินนานาชาติมัลเปนซา ในมิลาน มีสายการบินสู่ประเทศ 44 ประเทศ (ค.ศ. 2008) มีทางรถไฟความยาวทั้งหมด 19,460 กิโลเมตร เชื่อมต่อ 16 ประเทศ
ประชากรและวัฒนธรรม
ประชากร
ประชาชนที่อยู่ในประเทศอิตาลีเรียกว่า ชาวอิตาเลียน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยโรมันโบราณ จำนวนประชากรของประเทศอิตาลีมีประมาณ 60 ล้านคน โดยประมาณ 2.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโรม และอีก 1.5 ล้านคนอยู่ในมิลาน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก มีภาษาทางการคือภาษาอิตาลี และบางพื้นที่ในประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสก็พูดด้วย แต่จะเป็นภาษาซิซิลี และภาษาซาร์ดีเนีย ซึ่งคล้ายกับภาษาอิตาลีแต่ต่างกันที่สำเนียงเท่านั้น
ประชากรส่วนใหญ่ในอิตาลีมีเชื้อชาติอิตาลีถึง 94.2% ของประชากรทั้งประเทศ และอื่นๆอีก เช่น อัลบาเนีย ยูเครน โรมาเนีย 1.94% แอฟริกัน 1.34% เอเชีย 0.92% อเมริกาใต้ 0.46% และอื่นๆ 1.14%ประเทศอิตาลีมีสถานที่ที่เป็นแหล่งมรดกโลกอยู่มากกว่าประเทศอื่นในโลก ซึ่งมีทั้งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างมาก ประมาณ 60% ของงานจิตรกรรมทั้งหมดในโลกสรรค์สร้างขึ้นในประเทศอิตาลี และประเทศนี้ยังผลิตไวน์ที่มากกว่าประเทศอื่นอีกด้วย
ศาสนา
ศาสนาที่ผู้คนส่วนใหญ่ในอิตาลีนับถือคือ คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ชาวอิตาลีถึง 87.8% เป็นโรมันคาทอลิกโดยพฤตินัย แม้ว่ามีเพียงประมาณหนึ่งในสามที่มีเหตุผลในการเลือกนับถือศาสนาคริสต์ (36.8%) ส่วนคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์มีผู้นับถือมากกว่า 700,000 คน ประกอบด้วยกรีกออร์โทดอกซ์ 180,000 คน และอีก 550,000 คนนับถือนิกายเพ็นเทคอสและอิแวนเจลิคัล (0.8%) ส่วนสมาชิกของนิกายแห่งพระเจ้ามีประมาณ 400,000 คน กลุ่มพยานพระยะโฮวา 235,685 คน (0.4%) นิกายวัลเดนเชียนส์ 30,000 คน นิกายการกำเนิดแห่งวันที่ 7 มีประมาณ 22,000 คน นิกายมอรมอน 22,000 คน นิกายแบ็พทิสต์ 15,000 คน นิกายลูเธอรัน 7,000 คน และนิกายเมธอดิสต์ 4,000 คน ส่วนศาสนาชนกลุ่มน้อยที่เก่าแก่ที่สุดคือศาสนายูดาย มีคนนับถือ 45,000 คน ประเทศอิตาลีมีกลุ่มศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ไม่ค่อยมากนัก เช่นการอพยพเข้ามาของประชากรจากส่วนอื่นๆ ของโลก เป็นผลทำให้อิตาลีมีมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 825,000 คน (1.4% ของประชากรทั้งประเทศ) แต่เป็นพลเมืองอิตาลีเพียง 50,000 คน นอกจากนี้ อิตาลีมีชาวพุทธ 50,000 คน โดยที่ศาสนาพุทธ รัฐบาลอิตาลี ได้รับรองสถานะของสมาคมชาวพุทธในอิตาลี เมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2543 และมีวัดไทยสำคัญคือ วัดสันตจิตตาราม อยู่ห่างจากกรุงโรม 52 กิโลเมตร ซิกข์ 70,000 คน และชาวฮินดู 70,000 คน
การศึกษา
การศึกษาในอิตาลี แบ่งเป็นประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา ใช้เวลาเรียน 13 ปี (ใช้ระบบ 5-3-5) และระดับอุดมศึกษาซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและมีความแตกต่างจากระบบการศึกษาในประเทศอื่น การแบ่งวุฒิการศึกษาจากระดับต่างๆ ในขั้นสูง แบ่งได้ 4 ระดับ ได้แก่
1. ระดับเทียบเท่าปริญญาตรี (Diploma Universitario)
2. ระดับเทียบเท่าปริญญาโท (Laurea Speciallstica)
3. ระดับเทียบเท่าสูงกว่าปริญญาโท (Laurea Specializzazione)
4. ระดับเทียบเท่าปริญญาเอก (Dottorato di Ricerca)
เทศกาลสำคัญ
- เทศกาลคาร์นิวัล จัดในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ จัดตามเมืองต่างๆ แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดอยู่ที่เมืองเวนิส แคว้นเวเนโต มีลักษณะของงานคือเน้นการแต่งการแฟนซีและสวมหน้ากาก
- เทศกาลทางศาสนา เช่น เทศกาลอีสเตอร์ ประกอบด้วยการเดินขบวนกู๊ดฟรายเดย์หรือเรียกว่าวันอาทิตย์อีสเตอร์ จัดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน ภายในเทศกาลจะมีการเฉลิมฉลอง พระสันตะปาปาจะมีกระแสรับสั่งถึงคริสตศาสนิกชนในวันอาทิตย์อีสเตอร์ ซึ่งจัดขึ้นที่นครรัฐวาติกัน
- เทศกาลศิลปะและดนตรี (อิตาลี: Maggio Musicale Fiorentino) จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่เมืองฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี
- เทศกาลโอเปร่า ที่เมืองเวโรนา แคว้นเวเนโต
- เทศกาลลดราคาสินค้าประจำปี จัดขึ้นทั่วประเทศในช่วงเดือนกรกฎาคม และเดือนต่อมาก็จะเป็นช่วงแห่งการพักร้อน ร้านค้าและกิจการในเมืองจะปิด และผู้คนจะไปพักร้อนตามทะเล
- เทศกาลฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวองุ่นที่ใช้ทำไวน์
- เทศกาลภาพยนตร์ จัดที่เมืองฟลอเรนซ์ ในเดือนพฤศจิกายน
- พิธีมิสซา (ศีลมหาสนิท) ตามโบสถ์ต่างๆ และในคืนวันที่ 24 ธันวาคม สมเด็จพระสันตะปาปาจะเสด็จออกจากบนพระระเบียงมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ นครรัฐวาติกัน
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ด้านการทูต
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิตาลีมา ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) โดยไทยและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญาฉบับแรกคือ สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1868 ต่อมาอิตาลีได้แต่งตั้งกงสุลอิตาลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429
ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อิตาลีโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ
ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตไทยประเทศอิตาลีที่กรุงโรม และมีสถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศไทย 5 แห่ง คือ ที่เมืองตูริน เจโนวา มิลาน นาโปลี และคาตาเนีย และที่มีสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยที่กรุงเทพ
การค้าและเศรษฐกิจ
ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอิตาลีเป็นคู่ค้าของไทยอันดับที่ 4 ในสหภาพยุโรป และอันดับที่ 21 ในโลก โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.2 ของการค้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2548 ร้อยละ 0.24 โดยไทยส่งออก 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการลงทุน ในปี พ.ศ. 2549 การลงทุนของอิตาลีในไทย มีมูลค่ารวม 481.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปี พ.ศ. 2548 โดยเป็นด้านแร่ธาตุและเซรามิค 1 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและเส้นใย 2 โครงการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 3 โครงการ ด้านเคมีภัณฑ์และกระดาษ 1 โครงการและด้านบริการ 2 โครงการ
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ปลาหมึกสดแช่เย็น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าผืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ เป็นต้น
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น
การท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวอิตาลีมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยประมาณ 130,000 คนต่อปี โดยมีจำนวนมากน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีและยุโรป ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปอิตาลีปีละประมาณ 12,350 คน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และสายการบินไทยมีเส้นทางการบินจากกรุงเทพสู่มิลาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากเดิมมีเพียงการบินจากโรมเข้าสู่กรุงเทพทั้งสิ้น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
ไทยมีสถานกงสุล 5 แห่งในอิตาลี คือ เมืองตูริน เมืองเจนัว เมืองมิลาน เมืองนาโปลี และเมืองคาตาเนีย
ตอบลบกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำเมืองตูริน ชื่อนาย Benazzo Achille
Via Genovesi 2 Torino
Tel. 011 5097214
Fax. 011 5806180
Email: achille@benazzo.net
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำเมืองเจนัว ชื่อนาย Franco Novi
Via D. Fiasella 4/14 - 16121 Genova
Tel. 010 5492500
Email: thailandia@burkenovi.com
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำเมืองมิลาน ชื่อนาย Alberto Virgilio
Viale Berengario 15 - 20149 Milan
Tel. 02 460299
Fax. 02 4812617
Email: royalthaicongenmilan@libero.it
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ที่เมืองเนเปิลส์ ชื่อนาย Igor Suprina Petrovic
Viale Virgilio N.5 - Napoli
Tel. 081 - 7690959
Fax. 081 - 5536107
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ที่เมืองคาตาเนีย ชื่อนาย Nania Giovanni
Via Ethea, 196 - Catania
Tel. 338 - 1299863
Fax. 095 - 7153273
thaiconsicily@interfree.it
.
หน่วยราชการของไทยในอิตาลี
ตอบลบ1. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม(สอท.โรม)
Royal Thai Embassy Tel (3906) 8622-051
Via Nomentana 132, Fax (3906) 8622-0555
00162 ROME Email สถานทูตไทยที่โรม
2. สำนักงานผู้ช่วยทูตทหาร
Office of Defence Attache Via Aldo della Rocca 49, int 10
Tel (3906) 5086809 Trepini, Fax (3906) 508689
00128 ROME
3. สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.)
3.1 สคต.ณ กรุงโรม
Office of Trade Promotion Viale Erninio Spella, 41Tel (3906) 5030804, 503080500142 ROME Fax (3906) 5035225
E-mail : thcomrm@mbox.vol.it
3.2 สคต. มิลาน
Office of Trade Promotion
Via A. Allbricci, 8 Tel (392) 89011467
20122 MILAN Fax (392) 89011478
E-mail : thailand@comm2000.it
4. สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
Tourism Authority of Thailand
Via Barberini, 68 4th floor Tel (3906) 487479, 4818927
00187 ROME Fax (3906) 4873500
E-mail : tat.rome@iol.it
5. สำนักงานการเกษตร
Office of Agricultural Affairs
Via Zara 9, Tel (3906) 4402234
00198 ROME Fax (3906) 4402029
E-mail : thagri.rome@flashnet.it
.
ประเทศอิตาลี
ตอบลบข้อมูลทั่วไป
กดที่นี่ เพื่อไปเว็บไซต์สถานทูตอิตาลีที่มีแบบฟอร์มวีซ่าอยู่ด้านล่าง
อิตาลีอยู่ในตอนใต้ของทวีปยุโรป และตอนเหนือของแอฟริกา โดยมีลักษณะเป็นคาบสมุทรยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่ร้อยละ 75 เป็นภูเขาและที่ราบสูง
ทิศเหนือติดประเทศสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรีย ทิศใต้ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลไอโอเนียน ทิศตะวันตกติดประเทศฝรั่งเศสและทะเลไทเรเนียน ทิศตะวันออกติดทะเลอาเดรียติก และอยู่ตรงข้ามกับสโลเวเนีย โครเอเชีย บอสเนีย มอนเตเนโกร และแอลเบเนีย
ออร์เดอร์ออฟมอลตา ซานมาริโน แอลเบเนีย และไซปรัสอยู่ในความดูแลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม เนื่องจากไทยไม่มีตัวแทนทางการทูตในประเทศดังกล่าว
อิตาลีมีเนื้อที่ 116,303 ตารางไมล์ หรือ 301,225 ตารางกิโลเมตร นอกจากพื้นที่ที่เป็นคาบสมุทรแล้ว อิตาลียังประกอบด้วยเกาะซาร์ดิเนียและซิซิลีด้วย พื้นที่ร้อยละ 57 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ 21 เป็นป่าและภูเขา
ภูมิอากาศ แบบเมดิเตอร์เรเนียน
ประชากร 58.1 ล้านคน ความหนาแน่นของประชากร 193 คน ต่อ 1 ตารางกม. อัตราการเพิ่ม 0.0% มีประชากรในวัยทำงาน (workforce) 24.3 ล้านคน (โดยอยู่ในภาคบริการ 63 % ภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ 32 % ภาคเกษตร 5% และว่างงาน 7.9%) เชื้อชาติ ส่วนใหญ่คืออิตาเลียน และมีชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติอื่นๆคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส สโลเวเนีย และแอลเบเนีย
ผู้หญิงอิตาลีมีบุตรจำนวนน้อยที่สุดในสหภาพยุโรป (1.33 คน โดยเฉลี่ย)
เมืองหลวง โรม (Rome) ประชากร 2.7 ล้านคน
เมืองสำคัญ โรม มิลาน เนเปิลส์ ตูริน เจนัว
ภาษาราชการ อิตาเลียน และมีภาษาเยอรมันเป็นภาษารอง โดยเฉพาะบริเวณแคว้น Trentino-Alto Adige ที่ติดกับออสเตรีย และภาษาฝรั่งเศสในแคว้น Valle d’Aosta นอกจากนี้ สามารถใช้ภาษาสเปนกับชาวอิตาเลียนได้ อนึ่ง ในอิตาลีมีภาษาท้องถิ่น อาทิ TUSCAN dialect
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (98%) แต่ให้เสรีภาพทุกศาสนาอิตาลีรับรองสถานะพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการตั้งแต่มีนาคม ค.ศ. 2000
สกุลเงิน ยูโร (Euro)
วันหยุดราชการ วันขึ้นปีใหม่, วัน Epiphany (6 ม.ค.), วัน Easter Sunday and Monday วัน Liberation Day (25 เม.ย), วันแรงงาน (1 พ.ค.), วัน Assumption (15 ส.ค.), วัน All Saints Day (1 พ.ย.),วัน Immaculate Conception (8 ธ.ค.), วัน Christmas (25-26 ธ.ค.)
ประธานาธิบดี Mr. Giorgio Napolitano
นายกรัฐมนตรี Mr. Sivio Berlusconi
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Mr. Franco Frattini
ประธานสภาผู้แทนราษฎร Mr. Fausto Bertinotti
อิตาลีเพิ่งมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 13-14 เมษายน 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งประชากรอิตาลีในประเทศไทยสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของอิตาลีได้โดยทางไปรษณีย์
.
ไทยและอิตาลีมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ โดยผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการจะสามารถเดินทางไปราชการที่ประเทศอิตาลีได้ภายในระยะเวลา 90 วัน
ตอบลบการขอวีซ่าไปอิตาลี จะสามารถทำได้โดยโทร 1900 222 344 (Italian Visa Call Center) เพื่อนัดเวลายื่นเอกสารทำวีซ่า โดยจะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม มิฉะนั้นอาจถูกปฏิเสธและต้องโทรนัดใหม่
เอกสารประกอบการทำวีซ่าอิตาลี มีดังนี้
1. จดหมายรับรองการทำงานจากบริษัทหรือนายจ้าง
2. สำเนายอดบัญชีในธนาคาร 4 เดือนล่าสุด
3. หลักฐานรับรองความรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่ประเทศอิตาลี
4. สำเนาการจองตั๋วเครื่องบิน ระบุวันที่เดินทางไปกลับ
5. เอกสารรับรองการจองที่พักหรือจดหมายเชิญ
6. เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่เดินทางไปกับบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่ง จะต้องมีหนังสือยินยอมจากบิดาหรือมารดาที่ไม่ได้ไปด้วย ซึ่งเขตหรืออำเภอเป็นผู้ออกเอกสาร
7. ใบอนุญาตทำงาน และวีซ่ากลับเข้าไทย (กรณีคนต่างด้าว)
8. สำเนาการประกันสุขภาพ(ภาษาอังกฤษหรืออิตาเลียน)วงเงินขั้นต่ำ 30,000 ยูโร
World Economic Forum จัดให้อิตาลีอยู่ลำดับที่ 82 ในการจัดลำดับความง่ายในการทำธุรกิจ (Rankings on the Ease of Doing Business หรือ Global Competitiveness Index) ในปี 2550 (ไทยอยู่ลำดับที่ 18)
การเมืองการปกครอง
บริเวณที่เป็นอิตาลีในปัจจุบันมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนคริสตกาล และถูกรวมอยู่ในอาณาจักรโรมันตะวันตกในระหว่างศตวรรษที่ 1-5 จากนั้นกลายเป็นสมรภูมิหลายครั้งในความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างสันตปาปาที่กรุงโรมกับจักรพรรดิของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (the Holy Roman Empire) ดินแดนภาคกลางและภาคเหนือของอิตาลีเริ่มรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางการค้าในศตวรรษที่ 11 และเสื่อมลงหลังศตวรรษที่ 16 แต่ในช่วงศตวรรษที่ 16-17 อิตาลีเข้าสู่ยุค Renaissance และได้เป็นแหล่งกำเนิดศิลปวิทยาการตลอดจนวรรณกรรมชิ้นเอกจำนวนมากที่เป็นพื้นฐานของอารยธรรมตะวันตกยุคต่อมา อาทิ ผลงานของ Machiavelli, Boccaccio, Petrash, Tasso, Raphael, Botticelli, Michaelangelo และ Leonardo da Vinci ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เกิดขบวนการชาตินิยมที่นำไปสู่การรวมอิตาลีได้ทั้งหมด ในปี ค.ศ.1870 และจากนั้นมาจนปี ค.ศ. 1922 อิตาลีอยู่ภายใต้ระบบกษัตริย์ที่มีรัฐสภาและการเลือกตั้งแบบจำกัด
ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 อิตาลีเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี แต่กลับมาเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงเกือบสิ้นสุดสงครามในปี ค.ศ. 1915 จึงได้รับดินแดนบางส่วนของออสเตรียมาอยู่ใต้อิตาลี ในปี ค.ศ. 1922 Benito Mussolini ขึ้นมามีอำนาจกว่า 2 ทศวรรษต่อมา อิตาลีตกอยู่ใต้ระบอบ Fascism ซึ่งเรียกกันว่า “Corporate State” โดยยังมีกษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐเพียงในนาม
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีเข้าข้างฝ่ายอักษะ แต่หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะซิซิลีได้ในปี ค.ศ. 1943 มุสโสลินีถูกกษัตริย์ปลดจากตำแหน่ง นายพล Pietro Badaglio ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และอิตาลีหันไปประกาศสงครามกับเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบกษัตริย์ถูกล้มเลิก และอิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1948 ซึ่งยังใช้มาจนปัจจุบัน
.
ระบบการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญอิตาลีกำหนดให้อิตาลีมีรูปแบบการปกครอง ฅามระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร และมีฝ่ายตุลาการแยกเป็นอิสระ
ตอบลบประธานาธิบดี ได้รับเลือกตั้งจาก รัฐสภาและผู้แทนภูมิภาค (Regional Representatives) ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 7 ปี
ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นาย Giorgio Napolitano เป็นตำแหน่งประมุขของประเทศ มีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คัดค้านการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ และยุบสภา
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Silvio Berlusconi เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2551 เป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลีเป็นสมัยที่ 3
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้จัดตั้งคณะรัฐบาล (Council of Ministers) โดยได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บางทีเรียกว่า President of the Council of Ministers จึงอาจเกิดความสับสนได้
ระบบการเลือกตั้งของอิตาลีในปัจจุบัน เป็นการลงคะแนนเสียงผสมระหว่างแบบเสียงข้างมาก (first-past-the post) ร้อยละ 75 และแบบสัดส่วนอีกร้อยละ 25 การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีเมื่อวันที่ 9-10 เม.ย. 49 อิตาลีได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นเวลา 2 วัน โดยมีประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 37.98 ล้านคน เท่ากับร้อยละ 83.6 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 45.43 ล้านคน โดยในส่วนของการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มพันธมิตรกลางซ้าย นำโดยนายโรมาโน โพรดี (Romano Prodi) ได้รับชัยชนะเหนือกลุ่มพันธมิตรกลางขวา นำโดยนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี่ (Silvio Berlusconi) นายกรัฐมนตรีคนก่อน โดยได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งร้อยละ 49.8 ต่อ ร้อยละ 49.7 ซึ่งมีผลให้กลุ่มพันธมิตรกลางซ้ายได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 348 ที่นั่ง ในขณะที่กลุ่มพันธมิตรกลางขวาได้ 281 ที่นั่ง และมีพรรคอิสระได้ 1 ที่นั่ง ส่วนผลการเลือกตั้งวุฒิสภาอิตาลี กลุ่มพันธมิตรกลางซ้ายได้รับเลือกตั้งมากกว่ากลุ่มพันธมิตรกลางขวาเพียงสองเสียง โดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 50.2 ต่อ ร้อยละ 48.9 นับเป็นที่นั่งในสภา 158 ที่นั่ง ต่อ 156 ที่นั่ง โดยมีพรรคอิสระได้ 1 ที่นั่ง
รวมทั้งได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ โดยเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมโดยสมาชิกรัฐสภาและผู้ว่าการรัฐ แทนนาย Azeglio Ciampi ซึ่งหมดวาระ ผลปรากฏว่านายจอร์จิโอ้ นาโปลิตาโน (Giorgio Napolitano) ได้รับชัยชนะด้วยคะแนน 543 จาก 1010 คะแนน โดยนายนาโปลิตาโนได้ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 49 และประธานาธิบดีคนใหม่ได้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคือนายโรมาโน โพรดี ผู้นำกลุ่มพรรคพันธมิตรกลางซ้ายซึ่งเคยเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีในระหว่างปี พ.ศ. 2539 -2541 และประธานกรรมาธิการสหภาพยุโรปในระหว่างปีพ.ศ. 2532-2537 การแต่งตั้งนายโพรดีและครม.ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 19 และ 23 พ.ค.49 ตามลำดับ
การเลือกตั้งของอิตาลีจะมีขึ้นทุก 5 ปี หรือเร็วกว่านั้น การเลือกตั้งของทั้ง 2 สภาจะมีขึ้นในเวลาเดียวกันผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
รัฐสภา รัฐสภาอิตาลีประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประธานรัฐสภาได้แก่ประธานสภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies) การบัญญัติกฎหมายใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภาวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาคือ 5 ปี และการเลือกตั้งจะทำพร้อมกันทั้ง 2 สภา โดยจะมีขึ้น ทุก 5 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจสรรหานายกรัฐมนตรีที่สามารถจัดตั้งคณะรัฐบาลให้ทั้ง 2 สภาให้ความเห็นชอบได้ การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ 9 - 10 เมษายน 2549 (เลือก 2 วันโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนมาลงคะแนนมากขึ้น) สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies/Camera dei Deputati)
ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 630 คน โดย 475 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอีก 155 คนมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจากแคว้นต่างๆ (regional proportion representation) ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งจะต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบันคือนาย วุฒิสภา (Senate/Senato della Repubblica) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 326 คน โดย 315 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป (popular vote) จากแคว้น (regions) ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีวุฒิสมาชิกตลอดชีพอีกจำนวนหนึ่ง (ปัจจุบันมี 7 คน) ซึ่งจะแต่งตั้งจากบุคคลชั้นนำของสังคม ประธานวุฒิสภาคนปัจจุบันคือนาย Franco Marini โดยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2549
.
การปกครองส่วนท้องถิ่น อิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น
ตอบลบหรือภูมิภาค (regions) (และแบ่งเป็น 94 จังหวัด) ได้แก่ Abruzzo, Basilicata, Calabria,Campania, Emilia-Romagna,Fuiuli-Venezia Giulia, Lazio,Liguria, Lombardia, Marche,Molise, Piemonte, Puglia,Sardegna (Sardinia), Sicilia (Sicily)Toscana, Trentino-Alto Adige, Umbria, Valle d’Aosta, Veneto,โดยมี 5 แคว้นคือ Fuiuli-Venezia Giulia,Sardinia, Sicily, Trentino-Alto Adige, และ Valle d’Aosta ได้รับสถานะพิเศษตามรัฐธรรมนูญให้ปกครองตนเอง
ในแต่ละแคว้นจะมีองค์กรการปกครองหลักอยู่ 3 องค์กร คือ
- คณะมนตรีแคว้น (Regional Council) ทำหน้าที่ตรากฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเขตอำนาจ
- คณะมนตรีกรรมการ (The Junta) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
- ประธานคณะกรรมการ (The President of the Junta) ทำหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรีในเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ ก็จะมีผู้แทนของรัฐบาลคนหนึ่งอยู่ประจำ ณ นครหลวงของแคว้นนั้นๆ คอยควบคุมดูแลการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง
บทบาทของอิตาลีในเวทีระหว่างประเทศ
บทบาทของอิตาลีทางด้านการเมืองระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ นับตั้งแต่อิตาลีเป็นประธานสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 1996 โดยมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง การส่งกองกำลังเข้าไปรักษาสถานการณ์ในยูโกสลาเวียและแอลเบเนีย การคัดค้านการเสนอขอให้เยอรมนีและญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ การผลักดันให้อิตาลีเข้าสู่สหภาพเศรษฐกิจการเงิน (Economic and Monetary Union - EMU) กลุ่มแรกในปี ค.ศ.1999 นอกจากนี้ อิตาลีได้สนใจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายให้มากขึ้น
ในเรื่องการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ อิตาลีไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนสมาชิกถาวรอีก 2 ประเทศ (ญี่ปุ่นและเยอรมนี) เพราะจะทำให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีอภิสิทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก และเห็นว่าคณะมนตรีความมั่นคงฯ ควรปฏิรูปโดยการเพิ่มจำนวนสมาชิกไม่ถาวรฯ และให้ประเทศเล็กได้เข้าเป็นสมาชิก โดยให้เพิ่มจำนวน 8-10 ที่นั่ง และใช้ระบบหมุนเวียนตามสัดส่วนของภูมิภาค (ถ้าเพิ่ม 10 ที่นั่ง 5 ที่นั่งควรเป็นของทวีปแอฟริกาและเอเชีย 2 ที่นั่งเป็นของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา 2 ที่นั่งเป็นของยุโรปตะวันตกและ 1 ที่นั่งเป็นของยุโรปตะวันออก) โดยมีวาระดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ สมัชชาฯ จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกสมาชิกไม่ถาวร โดยผู้รับเลือกจะต้องได้รับคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกสมัชชาฯ และห้ามเลือกตั้งซ้ำและลงสมัครติดต่อกัน
.
- อิตาลีมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูบูรณะ Kosovo และคาบสมุทรบอลข่าน โดยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาว Kosovo ในรูปของโครงการพัฒนาต่างๆ รวมทั้งสร้างที่พักและสถานพยาบาล ให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้ลี้ภัย หรือ Operation Rainbow ซึ่งได้รับเงินบริจาคจากชาวอิตาเลียน นอกจากนี้ยังบริจาคให้การปฏิบัติงานของ UNHCR ให้ความช่วยเหลือสำหรับการฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ผ่านองค์กรกองทุนระหว่างประเทศสำหรับการพัฒนาการเกษตร (IFAD) และ UNOPS และให้กับโครงการอาหารโลก (WFP) สำหรับผู้ได้รับผลกระทบวิกฤตการณ์ในคาบสมุทรบอลข่าน นอกจากนั้น รัฐบาลอิตาลียังหาทางให้นักธุรกิจอิตาลีมีช่องทางเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงานและกระบวนการประมูลในโครงการฟื้นฟูบูรณะคาบสมุทรบอลข่านตั้งแต่ต้น รวมทั้งกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้าไปมีบทบาทในการสร้างตลาดการค้าที่ทันสมัยในคาบสมุทรบอลข่าน และรัฐบาลยังเพิ่มบทบาทในการสร้างเครือข่ายในภูมิภาคเพื่อการร่วมมือกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการเร่งกระชับความสัมพันธ์
ตอบลบทวิภาคีกับประเทศในภูมิภาคยุโรปใต้
รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน
นายกรัฐมนตรี Mr. Silvio Berlusconi
รมว. ต่างประเทศ Mr. Franco Frattini
รมว. พาณิชย์ Mr. Giulio Tremonti
รมว. มหาดไทย Mr. Roberto Maroni
รมว. ยุติธรรม Mr. Angelino Alfano
รมว. กลาโหม Mr. Ignazio La Russa
รมว. การพัฒนาเศรษฐกิจ Mr. Claudio Scajola
รมว. สวัสดิการสังคม Mr. Maurizio Sacconi
รมว. เกษตร Mr. Luca Zaia
รมว. สิ่งแวดล้อม Mrs. Stefania Prestigiacomo
รมว. โครงสร้างพื้นฐานและคมนาคมขนส่ง Mr. Altero Matteoli
รมว. ศึกษาธิการ Mrs. Maria Stella Gelmini
รมว. วัฒนธรรม Mr. Sandro Bondi
.
เศรษฐกิจการค้า
ตอบลบหน่วยเงินตรา ยูโร (Euro) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร เท่ากับ 41.22 บาท (กุมภาพันธ์ 2554)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 1,782 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2553)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 30,700 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2553)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.1 (ปี 2553)
โครงสร้างทางเศรษฐกิจทั่วไป
อิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร (net food importer) และพลังงาน ปัจจุบันอิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรมเป็นสำคัญมาเป็นแบบมีอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีเป็นโมเดลของไทยในด้านอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยมีอุตสาหกรรมที่สำคัญ อาทิ รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้าและแฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่ม G8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ ด้านสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจและแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลด บทบาทของพรรคการเมืองโดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ อย่างไรก็ตาม อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (Lombardy, Emilia, Tuscany) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะ Sicily และ Sardinia ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่รวมกันเป็นร้อยละ 40 ของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20
ธุรกิจการค้าปลีก/ค้าส่งในอิตาลี
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่ง บทบัญญัติที่สำคัญๆ เกี่ยวกับ SMEs ในกฎหมายที่ 114 ว่าด้วยการปฏิรูปวินัยในภาคธุรกิจการค้า (Reform of the Disciplines on Commercial Sector) มีดังนี้
1. มาตรา (6) ข้อ (2) บัญญัติว่า รัฐบาลแคว้น (regional authority) จะพิจารณากำหนดเขตพื้นที่การพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจการค้าต่างๆ อย่างสมดุล
2. มาตรา (6) บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐบาลแคว้นเป้นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสถานประกอบการขนาดใหญ่ รัฐบาลแคว้นจะจัดทำมาตรฐานผังเมือง (urban planning) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุญาตให้จัดตั้งสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่
3. มาตรา (7) บัญญัติว่า ในการขอจัดตั้งกิจการของผู้ประกอบการรายย่อย เพียงส่งแบบฟอร์มแจ้งต่อเทศบาล (city council) เท่านั้น มาตรา (8) และ (9) บัญญัติว่า การเปิดกิจการของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลและแคว้น
4. มาตรา (8) เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการเปิดสถานประกอบการขนาดกลาง ซึ่งระบุว่า เทศบาลและรัฐบาลแคว้นจะรับฟังข้อคิดเห็นจากสมาคมการค้า และองค์กรพิทักษ์ผู้บริโภคในการอนุญาตให้จัดตั้งสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่
.
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่งในอิตาลี
ตอบลบ- กฎหมายที่ 114 ให้ประโยชน์แก่ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (พื้นที่ 150-200 ตารางเมตร) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการดำเนินธุรกิจของครอบครัว อาทิ การเปิดกิจการร้านค้าปลีกใหม่ทำได้โดยง่ายโดยไม่ต้องขออนุญาต (แต่เดิมต้องขอใบอนุญาตจากเทศบาล) เพียงแต่จัดส่งแบบฟอร์มแจ้งเทศบาล
- ร้านค้าปลีกขนาดกลาง (พื้นที่ 250-2,500 ตารางเมตร) เช่น supermarket, convenient store, outlet เป็นต้น และร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ (พื้นที่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป) จะต้องได้รับการอนุญาตจัดตั้งโดยคำนึงถึงการแบ่งเขตพื้นที่ (zoning) และการตรวจสอบความจำเป็นทางเศรษฐกิจ (economic needs test) ต่างๆ เช่น จำนวนประชากร การกระจายการจัดตั้งร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ ผลกระทบต่อสภาพจราจร การจ้างงาน และการสร้างงานใหม่ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลแคว้นจะพิจารณาร่วมกับเทศบาลเมือง และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตให้จัดตั้งร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการชะลอความเติบโตในภาคการค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ของอิตาลีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
- ปัจจุบัน รัฐบาลอิตาลีมีนโยบายสนับสนุนให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กปิดกิจการหรือรวมตัวกัน เช่น ให้เงินชดเชยแก่เจ้าของร้านที่เลิกกิจการก่อนเกษียณอายุ สนับสนุนให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันปิดกิจการและและรวมตัวเพื่อเปิดกิจการร้านค้าปลีกขนาดกลางในเขตอื่น สนับสนุนร้านค้าปลีกรายย่อยให้จำหน่ายสินค้าเฉพาะประเภทเพื่อลดการแข่งขันระหว่างการค้าปลีกอื่นๆ ในย่านเดียวกัน เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาล(โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า) ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ไว้ประมาณ 1 แสนล้านลีร์
ข้อกำหนดสำหรับกิจการของต่างชาติ
- ธุรกิจการค้าปลีก/ค้าส่ง ของอิตาลีมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ในสภาพตลาดที่พัฒนาแล้วและไม่มีข้อกีดกันต่อผู้ประกอบการต่างชาติในกิจการค้าปลีก/ค้าส่ง ที่แตกต่างจากมาตรการที่กำหนดไว้สำหรับผู้ประกอบการอิตาลี
- ปัจจุบัน มีร้านค้าปลีก/ค้าส่ง ขนาดใหญ่ของต่างชาติเปิดกิจการในอิตาลี อาทิ Carrefour (ฝรั่งเศส) Auchan (ฝรั่งเศส) Metro (เยอรมัน) Lidl (เยอรมัน) Rewe (เยอรมนี) Tenglemann (เยอรมนี) IKEA (สวีเดน)
.
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอิตาลี
ตอบลบความสัมพันธ์ทางด้านการทูต
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิตาลีมาเป็นเวลา 141 ปี ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2411 (ค.ศ. 1868) โดยไทยและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญาฉบับแรกคือ สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1868 ต่อมาอิตาลีได้แต่งตั้งกงสุลอิตาลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1886 (พ.ศ. 2429)
ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อิตาลีโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ
การค้า
ในปี 2553 ไทยและอิตาลีมูลค่าการค้ารวม 3,167 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 1,708 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1,459 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยได้ดุลอิตาลีอยู่ 249 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)อิตาลีป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของไทยในกลุ่มสหภาพยุโรป
และอันดับ 27 ของไทยในตลาดโลก โดยไทยส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา เครื่องปรับอากาศ และนำเข้าผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกล และเครื่องจักรไฟฟ้าจากประเทศอิตาลี
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา ปลาหมึกสดแช่เย็น/แช่แข็ง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าผืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น
สินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า ข้าว อาหารทะเลกระป๋อง ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ และยางพารา เป็นต้น
สินค้านำเข้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันดิบ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องมือเครื่องมือใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เครื่องบินและอุปกรณ์การบิน เป็นต้น
.
การลงทุน
ตอบลบในปี 2553 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก BOI จำนวน 8 โครงการ มูลค่ารวม 1,335 ล้านบาท(อันดับที่ 7 ในกลุ่มสหภาพยุโรป)
ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน การลงทุนจากอิตาลีในไทยที่ผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวนค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหมวดผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (อาทิ กิจการผลิตเครื่องจักร หรืออุปกรณ์สำหรับงานอุตสาหกรรมต่อเรือ การผลิตชิ้นส่วน ยานพาหนะ และการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ) การลงทุนในหมวดเคมีภัณฑ์กระดาษและพลาสติก และการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมเบา (อาทิ การผลิตเครื่องประดับ การผลิตรองเท้า การผลิตเครื่องกีฬา การผลิตของเด็กเล่น เป็นต้น)
การท่องเที่ยว
ในปี 2553 มีนักท่องเที่ยวอิตาลีมาไทย 159,329 คน
เนื่องจากในปัจจุบัน สายการบินไทยได้เปิดเส้นทางการบินใหม่ กรุงเทพฯ-มิลาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากเดิมซึ่งทำการบินจากโรมเข้าสู่กรุงเทพฯ ทั้งสิ้น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
ไทยมีศักยภาพที่จะรองรับนักท่องเที่ยวอิตาลีทั้งในกลุ่มตลาดแบบเดิมและกลุ่ม niche market อาทิ กลุ่ม MICE (Meetings, Incentives, Conferences, Exhibitions) เช่นชมรมดำน้ำ โครงการตรวจสุขภาพ (physical check-up) และท่องเที่ยวในไทย ซึ่งเป็นแผนดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดของไทยในปัจจุบัน
กลไกของความร่วมมือ ไทยและอิตาลีได้ลงนามความตกลงพื้นฐานว่าด้วยความร่วมมือไทย-อิตาลี (the Basic Agreement on Cooperation between the Kingdom of Thailand and the Republic of Italy) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ในระดับของรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ โดยไทยและอิตาลีจะสลับกันเป็นเจ้าภาพการประชุมทุก 2 ปี ซึ่งได้มีการประชุม JC มาแล้ว 4 ครั้ง (ค.ศ. 1984, ค.ศ. 1986, ค.ศ.1989, ค.ศ.1998) โดยการประชุม JC ครั้งที่ 5 กำหนดมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในภาคเอกชนมีกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ความตกลงว่าด้วย การจัดตั้งคณะมนตรีธุรกิจไทย-อิตาลีระหว่างสภาอุตสาหกรรมไทยกับ CONFINDUSTRIA ของอิตาลีลงนามเมื่อ 14 มีนาคม ค.ศ.1994 และข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยีระหว่างสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยกับสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอ (Federtessile) ของอิตาลี ลงนามเมื่อ 27 มีนาคม ค.ศ.1999
.
ไทยและอิตาลีมีความร่วมมือภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม 1st Working Group on Thai-Italian SMEs Cooperation ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 10-11 พ.ย. 48
ตอบลบความตกลง
ความตกลงที่เสร็จสิ้นแล้ว
- ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (มีผล 15 ธันวาคม ค.ศ. 1955)
- สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี (ลงนามเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงทหารไทย-อิตาลี ฝ่ายอิตาลีเสนอมาเมื่อปี ค.ศ. 1990 และรื้อฟื้นในปี ค.ศ. 1994
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการเงิน ลงนามเมื่อ 22 เมษายน ค.ศ.1988
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการลงทุนไทย-อิตาลี ลงนามเมื่อมีนาคม ค.ศ. 1992 ระหว่าง BOI กับ Italian Trade Commission กระทรวงการค้าอิตาลี
- ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะมนตรีธุรกิจไทย-อิตาลี ลงนามเมื่อ 14 มีนาคม ค.ศ. 1994 ระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (CONFINDUSTRIA)
- ข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยี ระหว่างสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย กับสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอของอิตาลีเมื่อ 27 มีนาคม ค.ศ. 1999
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 2004
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ลงนามเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 2004
.
ความร่วมมือด้านวิชาการ
ตอบลบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-อิตาลี ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985-1994 มีหน่วยงานต่างๆได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอิตาลีจำนวน 11 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน และมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร คมนาคม สาธารณูปโภค อาชีวศึกษา และการแพทย์
ความร่วมมือในรูปของทุนฝึกอบรม/ดูงาน
รัฐบาลอิตาลีได้จัดสรรทุนด้านพลังงาน การเกษตร เศรษฐศาสตร์ อาชีวศึกษา การโรงแรมและท่องเที่ยว ให้แก่ไทยค่อนข้างสม่ำเสมอจนถึงปี ค.ศ. 1993 และหยุดไประยะหนึ่งในช่วง ปี ค.ศ. 1994-1997 และเริ่มให้ทุนการศึกษาใหม่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 เป็นต้นมา
- สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย มีทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยประมาณปีละ 5 ทุน ในระดับปริญญาตรีและ post graduate โดยให้ในสาขาวิชาต่างๆ ตามแต่จะได้รับมาจากสถาบันอุดมศึกษาของอิตาลี
ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม
ไทยและอิตาลีมีความร่วมมือด้านวัฒนธรรมมานาน โดยในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทยได้ว่าจ้างสถาปนิก จิตรกร และศิลปินชาวอิตาเลียนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบอาคาร สถานที่สำคัญๆ ของไทย อาทิ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทำเนียบรัฐบาล บ้านพิษณุโลก กระทรวงกลาโหม สถานีรถไฟหัวลำโพง วังบางขุนพรหม พระที่นั่งอภิเษกดุสิต พระที่นั่งสวนอัมพร ห้องสมุดเนลสัน เฮยส์ สำหรับชาวอิตาเลียนที่มีบทบาทในวงการศิลปะของไทยมากที่สุดคือ อาจารย์ศิลป์ พีระศรี (นาย Corrado Feroci) ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม และความร่วมมือในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ระหว่างสอท. อิตาลีประจำประเทศไทยและบริษัทต่างๆ ของอิตาลีในไทย ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของไทยทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมหาวิทยาลัยของไทย
สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ได้มีส่วนร่วมในโครงการบูรณะ วังพญาไท (Phya Thai Palace Restoration Project) ของมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า (Phra Mongkut Klao Hospital Foundation) โดยได้นำคณะผู้เชี่ยวชาญเชิงอนุรักษ์จากอิตาลีมาชมโครงการ และเสนอให้ความร่วมมือสนับสนุนการบูรณะ และต่อมา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ได้ประสานเรื่องนี้ กับทางรัฐบาลอิตาลี ซึ่งได้ขอให้ทางโครงการฯ ประสานรายละเอียดกับฝ่ายอิตาลีโดยตรงต่อไป อนึ่ง จากการหารือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยกับนาย Valentino Martelli รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี ในระหว่างการประชุม UNGA สมัยที่ 54 เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1999 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้มีการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมให้กระชับยิ่งขึ้น ปัจจุบันอิตาลีได้รับรองสถานะพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2000 นายกรัฐมนตรีอิตาลีได้ลงนามความตกลงกับประธานสหภาพสมาคมพุทธในอิตาลี เพื่อให้พุทธศาสนามีสถานะเป็นทางการในอิตาลี ทำให้ผู้เสียภาษีสามารถแสดงความจำนงให้แบ่งภาษีในอัตราร้อยละ 0.8 ของภาษีรายได้ส่วนบุคคลที่ต้อง ชำระให้แก่รัฐบาล เพื่อบริจาคให้องค์กรทางพุทธศาสนาได้ ปัจจุบันมี พุทธศาสนิกชนในอิตาลีประมาณ 40,000 คน
.
ความตกลงที่ได้มีการลงนามแล้ว
ตอบลบ- ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (ลงนามเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2498)
- ความตกลงพื้นฐานว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ (ลงนามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2526)
- สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (ลงนามเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2527)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการเงิน ลงนามเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2531
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการลงทุนไทย-อิตาลี ระหว่างคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กับ Italian Trade Commission กระทรวงการค้าอิตาลี (ลงนามเมื่อเดือนมีนาคม2535)
- ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะมนตรีธุรกิจ ระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (CONFINDUSTRIA) (ลงนามเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2537)
- ข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยี ระหว่างสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยกับสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอของอิตาลี (ลงนามเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2542)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ลงนามเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2547)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ลงนามเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2547)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกับสถาบันเพื่อการค้าต่างประเทศของอิตาลี (อิเช่ - ICE) (ลงนามเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548)
- บันทึกความเข้าใจเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจของอิตาลีในต่างประเทศระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกับสถาบันการเงินของอิตาลี (ลงนามเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในเรื่องการส่งเสริมและการตลาดอาหารไทยและอิตาลีในระดับระหว่างประเทศระหว่างสถาบันอาหารของไทยกับสถาบันเพื่อการค้าต่างประเทศของอิตาลี (ICE) (ลงนามเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมสินค้า OTOP และ SMEs ระหว่างหอการค้าไทย - อิตาลีกับบริษัทส่งเสริมการค้าเอสเอ็มอีจำกัด (STP) (ลงนามเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548)
.
ความตกลงที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจัดทำ
ตอบลบ- ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
- ความตกลงเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้
- ความตกลงว่าด้วยความความร่วมมือทางการศาลในคดีแพ่งและพาณิชย์
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการเมืองระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและอิตาลี
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกิจการอวกาศ
- การจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อแก้ไขปัญหาค่าธรรมเนียมการทอดสมอ ภาษีศุลกากร และอากรท่าเรือ
.
การเยือนที่สำคัญ
ตอบลบฝ่ายไทย
ระดับพระราชวงศ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ปี 2440 และ 2450 เสด็จฯ เยือนอิตาลี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- วันที่ 28 กันยายน – 1 ตุลาคม 2503 เสด็จฯ เยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการในฐานะ พระราชอาคันตุกะของประธานาธิบดี Giovanni Gronchi และ นายกรัฐมนตรี Amintore Fanfani
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- วันที่ 3 – 16 เมษายน 2531 เสด็จฯ เยือนอิตาลี เพื่อทรงเป็นกรรมการตัดสินหนังสือเด็กที่เมืองโบโลญญา และเป็นพระราชอาคันตุกะของรัฐบาลอิตาลี
- วันที่ 18 - 20 กุมภาพันธ์ 2539 เสด็จฯ เยือนอิตาลี
- วันที่ 8 - 11 เมษายน 2545 เสด็จฯ เยือนจังหวัดคาตาเนีย แคว้นซิซิลี ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของประธานจังหวัดคาตาเนีย
- วันที่ 11 - 14 ตุลาคม 2547 เสด็จฯ เยือนอิตาลี เพื่อกล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการอาหารโลก ครั้งที่ 3 และรับการถวายตำแหน่ง Special Ambassador of the United Nations World Food Programme for School Feeding
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
- วันที่ 23 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2539 เสด็จเยือนอิตาลี
- วันที่ 22-26 ตุลาคม 2552 เพื่อทรงรับการถวายรางวัล 2009 Ramazzini Award และทรงเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีของสถาบัน Collegium Ramazzini
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
หม่อมเจ้าหญิงสิริวัณวรี มหิดล
- วันที่ 24 – 29 กันยายน 2547 เสด็จเยือนมิลาน เพื่อร่วมงานวิถีแห่งเอเชีย
รัฐบาล
- วันที่ 20 - 21 มกราคม 2529 ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนอิตาลีเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิตาลี ครั้งที่ 2
- วันที่ 19 - 21 กันยายน 2537 นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการ
- วันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2541 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนอิตาลี เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิตาลี ครั้งที่ 4
- วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เยือนอิตาลี เพื่อหาเสียงสำหรับการลงสมัครตำแหน่งผู้อำนวยการ WTO
- วันที่ 14 - 16 พฤศจิกายน 2541 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เยือนอิตาลี
- วันที่ 4 - 8 พฤษภาคม 2541 นายวัฒนา อัศวเหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เยือนอิตาลี เพื่อดูงานฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
- วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2542 นายสุทัศน์ เงินหมื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เยือนอิตาลี
- วันที่ 12 - 14 พฤษภาคม 2542 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เยือนอิตาลี
- วันที่ 22 มิถุนายน 2542 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยือนอิตาลี
- วันที่ 10 - 14 พฤศจิกายน 2542 นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยือนอิตาลี
- วันที่ 24 - 26 มีนาคม 2543 นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เยือนอิตาลี
- วันที่ 6 – 9 เมษายน 2543 ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เยือนอิตาลี
- วันที่ 21 - 24 ตุลาคม 2546 นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เยือนอิตาลี
- วันที่ 20 - 22 กันยายน 2547 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี เยือนอิตาลี
- วันที่ 21 - 23 กันยายน 2547 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการ
- วันที่ 27 - 29 พฤษภาคม 2548 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เยือนอิตาลี
วันที่ 14-21 มกราคม 2010 นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้แทนการค้าไทย ได้นำ
คณะภาคเอกชนภายใต้สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับกว่า 70 บริษัท เยือนอิตาลีตามคำเชิญของ สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยฯ เพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้ามาเชฟ มิลาโน และวิเชนซ่า โอโร เฟิร์ส และได้เข้าพบหารือข้อราชการกับนายอดอลโฟ เออร์โซ รมว.กระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจอิตาลี (ด้านการค้าต่างประเทศ)
.
ฝ่ายอิตาลี
ตอบลบ- วันที่ 7 - 8 พฤษภาคม 2529 นาย Giulio Andreotti รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 19 - 21 มกราคม 2530 นาย Bruno Corti รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 12 - 17 ตุลาคม 2530 นาย Giulio Andreotti รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมสหภาพรัฐสภา
- วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2533 นาย Gianni De Michelis รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- เดือนสิงหาคม 2538 นาย Emmanuele Scammacca De Murgo รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ 1 - 3 มีนาคม 2539 นาย Lamberto Dini นายกรัฐมนตรีอิตาลี เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 1
- วันที่ 23 - 26 มีนาคม 2541 นาง Patrizia Toia รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 11 - 12 ธันวาคม 2541 นาย Oscar Luigi Scalfaro ประธานาธิบดีอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 1 - 2 เมษายน 2542 นาย Marco Pezzoni ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ รัฐสภาอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 27 ธันวาคม 2545 - 2 มกราคม 2546 นาย Pier Ferdinando Casini ประธานสภาผู้แทนราษฎรอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 16 – 18 กุมภาพันธ์ 2546 นาง Margherita Boniver รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2546 นาย Silvatore Cicu รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2546 นาง Margherita Boniver รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 18 - 19 มกราคม 2547 นาง Margherita Boniver รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2547 นาย Roberto Antonione รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 2 - 3 ธันวาคม 2547 นาย Paolo Scarpa รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 8 - 10 มกราคม 2548 นาง Margherita Boniver รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 21 - 22 มกราคม 2548 นาย Gianfranco Fini รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ 9 - 11 พฤศจิกายน 2548 นาย Adolfo Urso รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการผลผลิตอิตาลี เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุม Thai-Italian Working Group for SMEs Cooperation ครั้งที่ 1
- วันที่ 21 – 24 มีนาคม 2550 นาย Goffredo Bettini วุฒิสมาชิกรัฐสภาอิตาลี เยือนไทย ตามคำเชิญของกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 22 ต.ค. 2550 นาย Gianni Vernetti รมช.กต. อิตาลี เยือนไทย (เป็นรมต.ของประเทศในกลุ่ม EU คนแรกที่มาเยือนไทยภายหลังเหตุการ 19 ก.ย. 2549)
ที่มา : กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5133-4 Fax. 0 2643 5132 E-mail : european03@mfa.go.th
.