ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

10 กุมภาพันธ์ 2554

โรมัน

                           โรมัน
 
โรมัน อาจหมายถึง
 
ประวัติศาสตร์
 
  • โรมโบราณ (ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 9 – ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 5)
    • ราชอาณาจักรโรมัน (753 ก่อน ค.ศ. ถึง 509 ก่อน ค.ศ.)
    • สาธารณรัฐโรมัน (509 ก่อน ค.ศ. ถึง 44 ก่อน ค.ศ.)
    • จักรวรรดิโรมัน/จักรวรรดิโรมันตะวันตก (44 ก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 476)
    • ชาวโรมัน
  • จักรวรรดิไบแซนไทน์ (ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 1453) หรือ จักรวรรดิโรมันตะวันออก ก็เรียก
  • จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 900 ถึง ค.ศ. 1806) กลุ่มอาณาจักรในบริเวณตอนกลางของยุโรปที่พูดภาษาเยอรมันและมารวมตัวกันก่อตั้งเป็นจักรวรรดิ
    • พระมหากษัตริย์แห่งชนโรมัน (King of the Romans)
 
ภูมิศาสตร์
 
  • โรม เมืองหลวงของอิตาลี
  • โรมัน, บัลแกเรีย เทศบาลเมืองใกล้เมืองปราเวทส์
  • โรมัน, โรมาเนีย เมืองแห่งหนึ่งในโรมาเนีย
  • เซนต์โรมัน ในโมนาโก
  • ถนนโรมัน
 
คริสต์ศาสนา
 
  • ศาสนจักรโรมันคาทอลิก หรือ นิกายโรมันคาทอลิก ก็เรียก
  • หนังสือมิสซาจารีตโรมัน หนังสือบทสวดและอ่านสำหรับพิธีมิสซาของนิกายโรมันคาทอลิก
 
ตัวพิมพ์
 
  • ตัวพิมพ์โรมัน (roman type) ชุดตัวอักษรละตินแบบตัวตรง ต่างจากตัวเอน (italic)
  • ไทมส์นิวโรมัน (Times New Roman) ชื่อฟอนต์ตัวอักษรละติน
 
วรรณคดี
 
  • โรมัน (roman) ใช้หมายถึงนวนิยายในภาษาหลายภาษาของยุโรป ในภาษาเหล่านั้นคำว่า novel จะหมายถึงนวนิยายขนาดสั้น (novella ในภาษาอังกฤษ)
 
 
อื่น ๆ
  • โรมัน (ภาพยนตร์)
  • ตัวอักษรโรมัน (ตัวอักษรละติน) มาตรฐานตัวหนังสือในภาษาอังกฤษ และภาษาเกือบทั้งหมดในตะวันตกและยุโรปตอนกลาง รวมทั้งพื้นที่ที่ครอบครองโดยชาวยุโรป
  • สถาปัตยกรรมโรมัน
  • กองทัพโรมัน
  • ปฏิทินโรมัน
  • กฎหมายโรมัน ระบบกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในสาธารณรัฐโรมันและจักรวรรดิโรมัน เป็นที่รู้จักกันในนาม กฎหมายสิบสองโต๊ะ
  • ปรัมปราวิทยาโรมัน
  • จมูกโรมัน
  • เลขโรมัน ระบบตัวเลขที่ใช้ตัวอักษรโรมันบางตัวแทนจำนวน
  • พื้นผิวโรมัน พื้นผิวในสามมิติแบบหนึ่ง
  • ROMANS (โรแมนซ์) กลุ่มนักร้องหญิงญี่ปุ่น สังกัดค่ายเฮลโล! โปรเจกต์
  • เดอะโรมันส์ (The Romans) เนื้อเรื่องชุดหนึ่งในซีรีส์โทรทัศน์ชุด ข้ามเวลากู้โลก (Doctor Who)
  • เบอร์นาร์ด โรมันส์ นักสำรวจ นักเดินเรือ นักทำแผนที่ นักธรรมชาติวิทยา ทหาร โปรโมเตอร์ และนักเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 18

เลขโรมัน

เลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ ณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กันดังนี้
I หรือ i มีค่าเท่ากับ 1
V หรือ v มีค่าเท่ากับ 5
X หรือ x มีค่าเท่ากับ 10
L หรือ l มีค่าเท่ากับ 50
C หรือ c มีค่าเท่ากับ 100
D หรือ d มีค่าเท่ากับ 500
M หรือ m มีค่าเท่ากับ 1,000
นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ไม่ได้ใช้ในระบบเลขโรมันปัจจุบัน แต่ปรากฏอยู่ในรหัสยูนิโคด ดังนี้
(U+2180) มีค่าเท่ากับ 1,000
(U+2181) มีค่าเท่ากับ 5,000
(U+2182) มีค่าเท่ากับ 10,000
(U+2187) มีค่าเท่ากับ 50,000
(U+2188) มีค่าเท่ากับ 100,000

การเขียนเลขโรมัน

การเขียนเลขโรมัน สามารถเขียนแทนเฉพาะจำนวนเต็มบวกเท่านั้น เนื่องจากในสมัยก่อนโรมยังไม่มีสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์หรือเลขทศนิยม โดยให้เขียนจากสัญลักษณ์ที่มีค่ามากแล้วลดหลั่นกันไปยังสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อย เช่น
  • MCCCXXV มีค่าเท่ากับ 1,000 + 300 + 20 + 5 = 1,325
  • MMMDLXVII มีค่าเท่ากับ 3,000 + 500 + 60 + 7 = 3,567
ถ้าเขียนสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อยกว่าไว้ด้านหน้าสัญลักษณ์ที่มีค่ามากกว่า ค่าของจำนวนที่ได้จะมีค่าเท่ากับจำนวนที่มีค่ามากลบด้วยจำนวนที่มีค่าน้อย และจะเขียนสัญลักษณ์เพียงคู่เดียวในแต่ละหลักเท่านั้น เช่น
  • IX มีค่าเท่ากับ 10 − 1 = 9
  • XL มีค่าเท่ากับ 50 − 10 = 40
  • MCMLXXVII มีค่าเท่ากับ 1,000 + (1,000 − 100) + 70 + 7 = 1,977
  • MMCDLXVIII มีค่าเท่ากับ 2,000 + (500 − 100) + 60 + 8 = 2,468
จำนวนที่มีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญลักษณ์ดังกล่าว จะเขียน บาร์ (ขีด) ไว้บนสัญลักษณ์เหล่านี้ ซึ่งหากบาร์ถูกกำหนดไว้บนสัญลักษณ์ใด สัญลักษณ์นั้นจะแทนจำนวนซึ่งมีค่าเท่ากับสัญลักษณ์นั้นคูณด้วย 1,000 เช่น
  • V มีค่าเท่ากับ 5 × 1,000 = 5,000
  • X มีค่าเท่ากับ 10 × 1,000 = 10,000
  • L มีค่าเท่ากับ 50 × 1,000 = 50,000
  • C มีค่าเท่ากับ 100 × 1,000 = 100,000
  • D มีค่าเท่ากับ 500 × 1,000 = 500,000
  • M มีค่าเท่ากับ 1,000 × 1,000 = 1,000,000
โดยปกติแล้ว การเขียนเลขโรมันจะไม่เขียนสัญลักษณ์เดียวกันอยู่ติดกันตั้งแต่ 4 ตัวขึ้นไป ยกเว้นบนหน้าปัดนาฬิกา ที่จะใช้ IIII แทนเวลา 4 นาฬิกาหรือ 16 นาฬิกา เพื่อป้องกันความสับสนในการอ่านเวลา

 

 

 ตัวอย่างการเขียนเลขโรมัน

เลขโรมันเลขอารบิกค่าของตัวเลขเลขโรมันเลขอารบิกค่าของตัวเลข
I1หนึ่งC100หนึ่งร้อย
II2สองCC200สองร้อย
III3สามCCC300สามร้อย
IV4สี่CD400สี่ร้อย
V5ห้าD500ห้าร้อย
VI6หกDC600หกร้อย
VII7เจ็ดDCC700เจ็ดร้อย
VIII8แปดDCCC800แปดร้อย
IX9เก้าCM900เก้าร้อย
X10สิบM1,000หนึ่งพัน
XI11สิบเอ็ดMM2,000สองพัน
XII12สิบสองMMX2,010สองพันสิบ
XX20ยี่สิบMMDLIII2,553สองพันห้าร้อยห้าสิบสาม
XXX30สามสิบMMM3,000สามพัน
XL40สี่สิบMMMCMXCIX3,999สามพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้า
L50ห้าสิบ
LX60หกสิบ
LXX70เจ็ดสิบ
LXXX80แปดสิบ
XC90เก้าสิบ

 











.

22 ความคิดเห็น:

  1. ราชอาณาจักรโรมัน (ละติน: Regnum Romanum, อังกฤษ: Roman Kingdom) เป็นอาณาจักรที่มีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์ของกรุงโรมและดินแดนภายใต้การปกครอง ประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรโรมันไม่เป็นที่ทราบแน่นอนเพราะไม่มีหลักฐานใดใดจากสมัยนั้นนอกจากประวัติศาสตร์ที่มาเขียนขึ้นภายหลังระหว่างสมัยสาธารณรัฐโรมันและในสมัยจักรวรรดิโรมันและส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาที่มาจากตำนาน แต่ประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรโรมันเริ่มด้วยการก่อตั้งกรุงโรมที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นในปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชและมาสิ้นสุดลงด้วยการโค่นราชบัลลังก์และการก่อตั้งสาธารณรัฐในปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช






    .

    ตอบลบ
  2. สาธารณรัฐโรมัน เป็นชื่อเรียกจักรวรรดิโรมันในช่วงก่อนที่จะมีการสถาปนาการปกครองระบอบจักรวรรดิที่ปกครองโดยจักรพรรดิ (ซีซาร์ ) ขึ้นแทนที่โดยมีออคเตเวียนซึ่งเป็นหลานของจูเลียส ซีซาร์ ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่ง จักรวรรดิโรมัน โดยทรงมีพระนามว่า ออกุสตุส ซีซาร์



    จักรพรรดิออกุสตุส


    ไกอัส จูเลียส ซีซาร์ ออกุสตุส (23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสตกาล — 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงปกครองแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสตกาลจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 14 พระนามเมื่อประสูติ คือ ไกอัส จูเลียส ธูรีนัส พระองค์ทรงเป็นบุตรบุญธรรมของพระมาตุลา ไกอัส จูเลียส ซีซาร์ เมื่อ 44 ปีก่อนคริสตกาล ซึ้งในระหว่างนั้นจนถึง 27 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงมีพระนามอย่างเป็นทางการว่า ไกอัส จูเลียส ซีซาร์ ในปีที่ 27 ก่อนคริสตกาล วุฒิสภาโรมันได้ถวายพระนามเฉลิมพระเกียรติ ออกุสตุส ("ผู้ได้รับความเคารพนับถือ") และทำให้พระนามของพระองค์หลังจากนั้นเป็น ไกอัส จูเลียส ซีซาร์ ออกุสตุส เนื่องจากพระองค์ทรงมีหลายพระนาม จึงมักเรียกพระองค์ว่า ออกเตเวียส เมื่อกล่าวถึงพระราชประวัติระหว่าง 63-44 ปีก่อนคริสตกาล ออกเตเวียน (หรือ ออกเตวิแอนัส) เมื่อกล่าวถึงพระราชประวัติระหว่าง 44-27 ปีก่อนคริสตกาล และ ออกุสตุส เมื่อกล่าวถึงพระราชประวัติหลัง 27 ปีก่อนคริสตกาล ในบันทึกกรีก พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักกันในนาม Ὀκτάβιος (ออกเตเวียส) Καῖσαρ (ซีซาร์) Αὔγουστος (ออกุสตุส) หรือ Σεβαστός (เซบาสตอส) ขึ้นอยู่กับบริบท

    ออกเตเวียสในวัยหนุ่มได้รับมรดกทางการเมืองภายหลังการลอบสังหารซีซาร์เมื่อ 44 ปีก่อนคริสตกาล ในปีที่ 43 ก่อนคริสตกาล ออกเตเวียนเข้าร่วมกองกำลังกับมาร์ก แอนโทนีและมาร์คัส อมีเลียส เลพิดัส ในการปกครองระบอบเผด็จการทหาร ซึ่งรู้จักกันว่า คณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สอง ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการ ออกเตเวียนมีอำนาจปกครองเหนือโรมและอีกหลายจังหวัดของสาธารณรัฐ คณะผู้สำเร็จราชการดังกล่าวล่มสลายลงหลังจากความทะเยอทะยานของผู้ร่วมคณะทั้งสาม เลพิดัสถูกเนรเทศ และแอนโทนีได้ทำอัตวินิบาตกรรมหลังจากความพ่ายแพ้ในยุทธการอักติอุม โดยกองเรือของออกเตเวียน ภายใต้บังคับบัญชาของอกริบปา ในปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล

    หลังจากการล่มสลายของคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สอง ออกเตเวียนได้ฟื้นฟูสาธารณรัฐโรมัน โดยให้อำนาจบริหารอยู่ภายใต้วุฒิสภา แต่ในทางปฏิบัติ เป็นผู้ผูกขาดอำนาจเผด็จการไว้แต่เพียงผู้เดียว ออกเตเวียนใช้เวลาหลายปีเพื่อพิจารณาโครงสร้างที่ชัดเจนที่ซึ่งสาธารณรัฐจะสามารถอยู่ภายใต้การนำของผู้นำเพียงคนเดียวได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งผลได้กลายมาเป็น จักรวรรดิโรมัน ตำแหน่งจักรพรรดิมิใช่ตำแหน่งทางการเมืองอย่างผู้เผด็จการโรมัน ซึ่งซีซาร์และซุลลาเคยรับตำแหน่งมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเขาได้ยุบตำแหน่งดังกล่าวเมื่อมหาชนโรมัน "ยอมรับให้เขามีอำนาจเผด็จการ" ตามกฎหมาย ออกุสตัสทรงมีอำนาจหลายประการที่มีอยู่ตลอดพระชนม์ชีพโดยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา รวมไปถึงทรีบูนของสภาพลีเบียนและเซ็นเซอร์ พระองค์ทรงเป็นกงสุลจนกระทั่งปีที่ 23 ปีก่อนคริสตกาล พระราชอำนาจสำคัญของพระองค์มาจากความสำเร็จทางการเงินและทรัพยากรซึ่งได้รับระหว่างการสงคราม การสร้างระบบอุปถัมภ์ตลอดทั้งจักรวรรดิ ความจงรักภักดีของนายทหารและทหารผ่านศึกจำนวนมาก อำนาจซึ่งได้รับจากวุฒิสภา และความเคารพจากประชาชน การควบคุมเหนือกองทัพโรมันส่วนใหญ่ของพระองค์ได้เป็นภัยซึ่งสามารถคุกคามต่อวุฒิสภา ทำให้พระองค์สามารถบีบบังคับการตัดสินใจของวุฒิสภาได้ ด้วยความสามารถในการกำจัดคู่แข่งในวุฒิสภาโดยการใช้กำลัง วุฒิสภาที่เหลือจึงยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์ การปกครองด้วยระบบอุปถัมภ์ อำนาจทางการทหาร และการสะสมตำแหน่งในระบบสาธารณรัฐเดิมได้กลายมาเป็นรูปแบบการปกครองสำหรับจักรพรรดิในเวลาต่อมา



    ประวัติ


    ออคเตเวียน มีความเฉลียวฉลาด ตั้งแต่เด็กและ จูเลียส ซีซาร์ ให้ออกรบด้วยกัน จนกระทั่งจูเลียส ซีซาร์ถูกลอบสังหาร เขาเป็นบุตรบุญธรรม และทายาททางการเมืองตามพินัยกรรม และ ครองอาณาจักรโรมันฝั่งตะวันตก และ มาร์ค แอนโทนี ครองฝั่งตะวันออก ออคเตเวียน ขึ้นครองราชย์เป็้นจักรพรรดิโรมพระองค์แรก เมื่ออายุ 36 ปี ในปี พ.ศ. 516 และสิ้นพระชนม์ในพ.ศ. 557





    .

    ตอบลบ
  3. จูเลียส ซีซาร์ (อังกฤษ: Julius Caesar) หรือ กายุส ยูลิอุส ไคซาร์ (ละติน: GAIVS IVLIVS CAESAR) เป็นรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เขาได้สถาปนาตนเองขึ้นปกครองกรุงโรม และได้ทำให้อาณาจักรโรมมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของชาวโลกมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ จูเลียสได้สร้างชื่อซีซาร์อันยิ่งใหญ่นี้ขึ้น และเป็นต้นแบบของกษัตริย์โรมในสมัยต่อมาที่ใช้ชื่อซีซาร์นี้ถึงสิบสององค์ แม้คำว่า ชาห์ แห่งอิหร่าน ซาร์ แห่งรัสเซีย ไกเซอร์ แห่งเยอรมัน ล้วนแล้วแต่มีรากศัพท์มาจากคำว่าซีซาร์ทั้งสิ้น และได้สืบทอดคำเรียกเหล่านี้มาจนถึงปัจจุบัน



    ชีวประวัติและผลงาน


    ช่วงต้นของชีวิต

    จูเลียส เกิดในวันที่ 12 กรกฎาคม เมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (พ.ศ. 444) ในตระกูลขุนนางเก่าตระกูลหนึ่ง มีบิดาชื่อเคอุส จูเลียส และมารดาชื่ออรอเรเลีย ซีซาร์ เป็นมนุษย์คนแรกที่เกิดโดยวิธีการผ่าตัดออกมาทางหน้าท้อง บิดาของเขาแม้จะมั่งคั่งร่ำรวย แต่ก็มิได้มีตำแหน่งสูงนักในทางราชการ จูเลียสเป็นกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุยังน้อย คงมีแต่มารดาซึ่งคอยให้ความปกป้องคุ้มครองดูแลต่อมา

    นับตั้งแต่เด็กมา จูเลียสไม่เคยคิดที่จะยึดเอาการทหารเป็นอาชีพอย่างแท้จริงเลยทั้ง ๆ ที่เขาเคยเข้าฝึกทหารอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาตั้งใจจะเป็นทนายความ หรือเป็นนักกฎหมายซึ่งเป็นอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในสมัยนั้นมากกว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกโจรสลัดจับตัวไปเรียกค่าไถ่ เมื่อเขารอดชีวิตกลับมาเขากลับรวบรวมสมัครพรรคพวกและเรือทั้งหลาย กลับไปยังเกาะที่เขาเคยถูกนำตัวไปกักไว้ ได้สู้รบกับบรรดาโจรสลัดจนได้ชัยชนะนำพวกโจรกลับมารับการลงโทษ เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า จูเลียสนั้นเป็นผู้ที่ชอบการสู้รบมาตั้งแต่เด็กๆ และก็ดูเหมือนว่าเขาจะมีชื่อเสียงที่สุดในด้านการทหาร เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้รับเหรียญกล้าหาญในฐานะที่ได้ช่วยชีวิตทหารคนหนึ่งไว้ได้จากการรบ สามารถตีชนะประเทศต่าง ๆ ถึง 300 ประเทศ ได้เมืองต่าง ๆ ไว้ในอำนาจถึง 800 เมือง แม้แต่ในวงการทหารสมัยปัจจุบันก็ยังอดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมจูเลียส ซีซาร์ จึงสามารถเดินทัพ และทำสงครามเผด็จศึก ได้อย่างรวดเร็วถึงเพียงนั้น ทัพของโรมันได้ชัยชนะตั้งแต่ยุโรปทางตอนเหนือจรดยุโรปตอนใต้ จากสเปนไปจนถึงอาเซียน้อยและเรื่อยไปจนถึงอียิปต์ ตลอดเวลาของการเดินทัพ จูเลียสจะกินอยู่หลับนอนร่วมกับทหารเลวทั้งหมด ทั้งมักจะชอบแสดงถึงความกล้าหาญ ปราศจากความกลัวในภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงให้เหล่าทหารได้เห็น ครั้งหนึ่งเขาควบม้าอย่างรวดเร็ว เต็มฝีเท้าแต่กลับปล่อยมือจากสายบังเหียน แล้วยกขึ้นประสานไว้เหนือศีรษะ และอีกครั้งหนึ่งเขาได้ขอลองขึ้นขี่ม้าที่ขึ้นชื่อว่ายพยศที่สุด จนไม่มีใครกล้าขี่ ในการบุกทุกครั้ง จูเลียสจะเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มทหาร ปฏิเสธไม่ยอมใส่แม้แต่หมวกเหล็กเพื่อให้ทหารจำได้ เขาไม่เคยตกใจจนทำอะไรไม่ถูกและไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างเชื่อมั่นในตนเอง ตลอดเวลาเขามักจะคิดถึงแต่ความสง่างามความยิ่งใหญ่ของเขาในฐานะเป็นผู้นำ

    ครั้งหนึ่งในการทำสงครามที่เฟซาเลีย ซึ่งในที่สุดโรมันก็เป็นฝ่ายได้ชัยชนะ ฟาร์เนเซส เจ้าผู้ครองแคว้นได้ก่อการกบฎขึ้น โดยปฏิเสธไม่ยอมสวามิภักดิ์ด้วย จูเลียสจึงยกทัพเข้าตะลุมบอน และได้ชัยชนะภายในเวลาเพียงวันเดียว ผลจากการสู้รบครั้งนี้เอง ทำให้เราได้รู้จักคำพูดที่เป็นอมตะประโยคหนึ่งของจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งได้รายงานกลับมาโรมว่า Veni, Vedi, Vici! ซึ่งแปลว่า "ข้าไปถึงแล้ว ข้าได้เห็น และข้าก็ได้ชัยชนะ"





    .

    ตอบลบ
  4. เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในสมัยที่ซีซาร์ครองโรม

    เหตุการณ์ที่สำคัญนั้นก็คือ การยกทัพเข้ารุกรานเกาะอังกฤษ ที่เรียกว่าสำคัญก็ด้วยเหตุผลประการหนึ่งคือ ทำให้คนรุ่นหลังได้รู้จักประวัติของเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่งซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยมีอยู่บนแผนที่เลยด้วยซ้ำ ปีนั้นตรงกับปีที่ 55 ก่อนคริสต์ศักราช ซีซาร์ได้ครองอาณาจักรโกล ซึ่งปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศสเรียบร้อยแล้ว แต่พวกโกลมักจะได้รับความช่วยเหลือจากชนชาติหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงข้ามเมืองคาเล่ส์ให้ก่อการกบฎอยู่เสมอ และถ้าพ่ายแพ้ พวกนี้ก็มักจะอพยพหนีไปพำนักพักพิงชั่วคราวอยู่ ณ เกาะเล็ก ๆ แห่งนั้น เกาะนั้นจะเป็นเกาะอะไร มีพลเมืองมากน้อยเพียงใด มีความเป็นอยู่อย่างไร จูเลียส ซีซาร์ หาได้มีความรู้แม้แต่น้อยไม่ แต่กระนั้น เขาก็ตัดสินใจยกทัพเข้ารุกรานทันที จูเลียส สั่งเตรียมทหารให้มาพร้อมกันลงเรือที่เมืองบูโลญราว 10,000 คน เพียงข้ามคืนเดียว กองทัพโรมก็จะขึ้นฝั่งได้แถบบริเวณโดเวอร์ แต่ชาวพื้นเมืองเตรียมต่อสู้อย่างเต็มที่ ทำให้จูเลียสต้องสั่งทหารให้แล่นเรือต่อไปรอบ ๆ เกาะจนถึงดีส จึงขึ้นบกและขับไล่ชาวพื้นเมืองให้หนีไปได้ เหตุการณ์เป็นปกติเรียบร้อย จนถึงวันที่สี่นับจากการยึดครองเกาะได้ คืนนั้นเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง น้ำทะเลขึ้นสูง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ชาวโรมันไม่เคยได้รู้จักมาก่อน กำลังน้ำทำลายเรือเสียมากต่อมาก ในที่สุดซีซาร์ต้องออกคำสั่งให้ถอยทัพกลับยุโรป พอดีกับเหตุการณ์วุ่นวายในแถบยุโรปตะวันออก ซึ่งซีซาร์ต้องเสียเวลาปราบปรามอยู่พักหนึ่ง

    เดือนเมษายนปีต่อมา จูเลียส ซีซาร์ สั่งให้เตรียมกองทัพเรืออีกครั้ง คราวนี้มีเรือถึง 600 ลำ กองทหารถึง 28 กอง และเมื่อถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ก็เริ่มออกเดินทาง คราวนี้ชาวเกาะมิได้คิดต่อสู้เลย คงจะเกิดความกลัวตั้งแต่เห็นความยิ่งใหญ่ของกองเรือ จึงพากันอพยพหนีขึ้นไปทางเหนือ ซีซาร์ยกทัพตามขึ้นไปจนถึงเมืองเซนต์ อาลลานส์ เมื่อฤดูหนาวใกล้เข้ามาก็ตัดสินใจยกทัพกลับโรม โดยนำเชลยติดมาด้วยเป็นจำนวนมาก ชาวโรมันตื่นเต้นกันมากในชัยชนะครั้งนี้

    เมื่อวัยหนุ่ม ซีซาร์ได้เดินทางไปรับการศึกษา ณ เกาะโรดส์ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามขึ้น และซีซาร์ก็ได้ไปร่วมรบด้วย ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้น และเมื่อกลับมายังโรม เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นมอนติเฟดส์ และเริ่มสนใจทางการเมือง เขาร่วมมือกับปอมเปย์ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทัพโรมัน และเครสซัส เศรษฐีคนหนึ่งเรียกคณะของตนว่า ไตรอุมวิเรท มีอำนาจควบคุมกิจการบริหารในสมัยนั้นอย่างมากมาย

    ต่อมาราว 59 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จูเลียสได้รับเลือกเป็นกงสุลและได้มีการแบ่งอำนาจกันระหว่างคู่สัญญาทั้งสาม ซึ่งทำให้จูเลียสได้โอกาสแผ่ขยายอำนาจต่อไปได้เต็มที่ จนปอมเปย์อิจฉา จนในที่สุดเกิดเป็นสงครามขึ้น ตอนนี้แครสซัสตายแล้ว จูเลียสได้ชัยชนะ ปอมเปย์หนีไปอียิปต์ และไปถูกฆ่าตายที่นั้น ราว 48 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขาได้เข้าเมืองอียิปต์ช่วยจัดการให้คลีโอพัตรา ซึ่งกำลังมีเรื่องแย่งราชสมบัติกับพระอนุชาให้ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ จนมีเรื่องลือกระฉ่อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับพระนางคลีโอพัตรา

    อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้จูเลียสก็ได้มีอำนาจเต็มที่ในโรมเขากลับมาถึงโรม และได้รับการยกย่องให้เป็น "ผู้มีอำนาจปกครองโดยเผด็จการ" โดยกำหนดให้มีอำนาจอยู่ครั้งละสิบปี และต่อมาเมื่อเขาปราบปรามตีดินแดนทางแถบแอฟริกาและสเปนได้ เขาจึงได้รับการอนุมัติให้เป็น "หัวหน้าผู้เผด็จการ" ตลอดชีวิต






    .

    ตอบลบ
  5. ด้านมืด และจุดจบของซีซาร์

    ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะไม่มีความชั่วติดตัวเลย จูเลียส ซีซาร์เอง แม้ว่าจะมีความสามารถเก่งกล้ายิ่งนักในการสงคราม แต่ก็มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ มีความทะเยอทะยานอย่างรุนแรง เมื่อเล็ก ๆ เขามีชื่อเสียงในเรื่องการใช้เงินเปลืองจนเป็นหนี้สินเมื่อเติบโตมีอำนาจในมือ เขาก็จับจ่ายใช้สอยอย่างมือเติบทั้ง ๆที่เงินนั้นเป็นของหลวง ในด้านการสงคราม จูเลียส ซีซาร์ ก็ถูกโจมตีว่าพาคนไปตายเสียมากต่อมาก แต่ในการรบในสมัยโน้น แต่ละฝ่ายต่างก็ยอมเสียทหารเป็นจำนวนมากเสมอ การสั่งประหารชีวิตแม่ทัพโกล ซึ่งย่อมแพ้ต่อทัพโรมันเมื่อครั้งจูเลียส ซีซาร์ พากองทัพอันเกรียงไกรเข้าไปบุกโกล เป็นตราบาปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา จูเลียสสั่งขังแม่ทัพโกลไว้ถึงหกปี แล้วจึงสั่งให้ประหารชีวิตทั้ง ๆ ที่มิได้มีความผิดใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้เป็นเครื่องส่งเสริมบารมีของเขาเพียงคนเดียวเท่านั้น

    แต่ก็น่าแปลกที่ครั้งหนึ่งจูเลียส ซีซาร์ ได้ทราบข่าวว่าปอมเปย์ คู่อริที่ยิ่งใหญ่ของเขาถูกฆ่าแล้วในอียิปต์ จูเลียสก็ถึงกับทรุดนั่ง และร้องไห้

    อย่างไรก็ตาม แม้จูเลียสจะได้ชื่อว่าทารุณ โหดร้าย แต่เขาก็เป็นแม่ทัพที่ทหารพากันจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง จนแทบจะพูดได้ว่า ไม่เคยมีทหารในสมัยใดจะ รักเจ้านายของตนยิ่งไปกว่าทหารรักซีซาร์ ที่ไหนมีอันตราย ที่นั่นซีซาร์จะเป็นคนแรกที่บุกเข้าไปก่อน ถ้าในการเดินทางกองทหารจำเป็นจะต้องข้ามแม่น้ำสักสายหนึ่งที่น่ากลัวที่สุด จูเลียสจะเป็นคนแรกที่ลงว่ายน้ำนำบรรดาทหารทั้งหลายลงไป

    ผู้ยิ่งใหญ่ทุกคนย่อมมีศัตรู ในโลกนี้มีคนอีกหลายคนที่ทนเห็นความสำเร็จของผู้อื่นไม่ได้ จูเลียส ซีซาร์ เป็นคน ๆ หนึ่งที่ถูกอิจฉาริษยา เขาเองก็รู้ตัวดี แต่เขาจำเป็นต้องทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็นเสียบ้าง คนที่คิดปองร้ายเขา คือนักโทษคนหนึ่งที่ซีซาร์เองเป็นผู้ออกคำสั่งให้ไว้ชีวิต จูเลียสไม่เคยคิดเลยว่า คน ๆ นี้จะเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ เขาผู้นั้นมีชื่อว่า มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ซึ่งเขารับเป็นลูกเลี้ยงในเวลาต่อมา

    การลอบฆ่าเป็นไปอย่างง่ายดาย ซีซาร์เองไม่เคยได้คิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย จึงไม่มีการระวังตัวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในวันที่ 14 มีนาคมก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ซึ่งเป็นวันก่อนวันเกิดเหตุร้ายเพียงหนึ่งวัน ก็ได้มีสัญญาณหลายอย่างที่แสดงว่า โลกเรากำลังจะต้องสูญเสียผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่ง พายุพัดแรงจัด มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้าคัลเฟอร์เนีย ภรรยาของจูเลียสนึกสังหรณ์ใจจนถึงกับกราบขอร้องอ้อนวอนมิให้สามีเธอเดินทางไปประชุมสภาเซเนทในวันรุ่งขึ้น แต่จูเลียสกลับหัวเราะเยาะราวกับเห็นเป็นเรื่องขบขันเสียเต็มประดา จูเลียสดื้อรั้นที่จะไปประชุมในวันนั้นให้ได้ เมื่อเขาเดินผ่านห้องโถง รูปปั้นตัวเขาเองก็หล่นลงมาแตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นอกจากนั้นระหว่างทาง มีชายคนหนึ่งแอบส่งจดหมายให้เขาฉบับหนึ่งขอร้องให้เขาอ่านก่อนที่จะเข้าประชุม แต่จูเลียสเพียงแต่กำไว้ในมือโดยไม่ทันได้อ่าน ถ้าเพียงแต่เขาจะได้มีโอกาสอ่านจดหมายฉบับนั้น ประวัติศาสตร์โรมันก็คงจะเปลี่ยนไปอีกเป็นคนละรูป เพราะในจดหมายฉบับนั้นมีรายชื่อของผู้ที่คิดวางแผนจะเอาชีวิตเขาทั้งหมด รวมทั้งแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการนั้นด้วย

    11.00 น. เช้าวันที่ 15 มีนาคม ก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ขณะที่จูเลียส ซีซาร์กำลังยืนอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการประชุมในสภาเซเนท แคสซิอุส มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ลูกเลี้ยงของเขา หนึ่งในจำนวนผู้วางแผนทรยศก็ได้ปักดาบคู่มือทะลุผ่านลำคอ ซีซาร์ยกมือขึ้นรับ แต่ก็ไม่สำเร็จ เขาล้มลงขาดใจตายจมกองเลือดอยู่ ณ ที่นั่นเอง





    .

    ตอบลบ
  6. การตีความคำพูดสุดท้ายของซีซาร์

    ซีซาร์เป็นเผด็จการแต่ก็ไม่เคยเป็นจักรพรรดิ แม้ว่าเขาจะมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนั้น อันเป็นเหตุให้ถูกลอบสังหารในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์ได้แก่ καὶ σύ, τέκνον (kaì sú, téknon) ในภาษากรีก ภาษาของบุคคลชั้นสูงในกรุงโรม (หรือแปลเป็นภาษาละตินโดยซูเอโทนว่า "Tu quoque, fili" ซึ่งแปลว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า") มีความเห็นต่างๆกันไปเกี่ยวกับความหมายในคำพูดสุดท้ายของจูเลียส ซีซาร์

    การตีความที่พบบ่อยที่สุด คือซีซาร์รู้สึกประหลาดใจที่บุตรชายของตนเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้วางแผนทรยศ
    บางคนเชื่อว่านี่เป็นคำสาปที่ซีซาร์แช่งให้บรูตุสได้รับชะตากรรมเดียวกับตน
    การตีความอีกรูปแบบมีการอ้างอิงถึงสุขภาพที่ทรุดโทรมของซีซาร์ก่อนถึงแก่อสัญกรรม เขาอาจจะเป็นโรคเรื้อน ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียนอย่างรุนแรง ไม่ฟังเสียงทัดทานของคนรอบข้าง และเลือกจะจบชีวิตตนเองในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์จึงอาจตีความได้ว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า เจ้าจะต้องแก่และอ่อนแอ และมีชะตากับเดียวกับข้า"
    และท้ายสุด เป. อาร์โนด์ ได้เสนอแนวทางตีความต่อไปนี้ เราพบว่าซูเอโทนก็ใช้คำว่า καὶ σύ, τέκνον เมื่อ ซีซาร์ออกุสตุส กล่าวถึง กัลบา บุตรชาย (ซึ่งได้กลายเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา) ในความหมายว่า "เจ้าก็ด้วย บุตรของข้า เจ้าจะสืบทอดอำนาจข้าต่อไป" แม้แต่ดิออน ซาสซิอุส ก็ใช้คำนี้เพื่อบอกเล่าเรื่องของ 'ทิเบรุส เคลาดิอุส เนโร' กล่าวกับกัลบา คนเดียวกัน ดังนั้น เมื่อซีซาร์ถูกลอบสังหารอย่างเป็นทางการเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ เขาจึงได้กล่าวโทษบรูตุสซึ่งต้องการขึ้นสู่อำนาจเช่นเดียวกับเขา และได้กล่าวทำนายการลอบสังหารบรูตุสในอนาคตว่าจะเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่เขาถูกลอบสังหาร






    .

    ตอบลบ
  7. จักรพรรดิ (อังกฤษ: Emperor) หมายถึงประมุขเพศชายผู้เป็นเจ้าครองแผ่นดินที่เป็นจักรวรรดิ หากเป็นสตรีเพศที่เป็นประมุขเรียกว่า จักรพรรดินี (Empress) แต่คำว่า “จักรพรรดินี” ก็ใช้เรียกพระมเหสีของจักรพรรดิด้วย ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีคำต่อท้ายให้เป็นที่เข้าใจคือ “Empress Consort” โดยทั่วไปถือกันว่า “จักรพรรดิ” มีฐานันดรสูงกว่า “กษัตริย์”



    ข้อแตกต่างระหว่างจักรพรรดิกับเจ้าผู้ครองแผ่นดินแบบอื่น

    ทั้งกษัตริย์และจักรพรรดิ ต่างเป็นเจ้าผู้ครองแผ่นดินเหมือนกัน ยังไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวที่บ่งบอกถึงความแตกต่างในฐานันดรทั้งสองประเภทนี้โดยชัดเจน แต่ก็มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวของได้แก่ การตีความของนักประวัติศาสตร์ ขนาดและลักษณะของอาณาจักรที่ทรงปกครอง และชื่อตำแหน่งที่ราชวงศ์นั้นๆ เลือกที่จะเรียกตนเอง ลักษณะเฉพาะที่อาจนับเป็นปัจจัยให้ใช้ฐานันดรจักรพรรดิอาจสรุปได้หลายทางดังนี้

    พระราชา หรือกษัตริย์ที่ทรงฐานันดรที่สามารถแปลตามปกติเป็นภาษาอังกฤษเป็น Emperor ได้ และ/หรือได้รับการยอมรับเป็น “จักรพรรดิ” จากความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศ
    เป็นราชาหรือกษัตริย์ (ทางพฤตินัย หรือ เป็นในนาม) ที่เป็นประมุขของรัฐาธิปไตยอื่นด้วยโดยที่ไม่ถอดถอนความเป็นราชาของรัฐอื่นที่ตนปกครอง
    เป็นราชาที่ถือว่าสืบเชื้อสายจากเทพเจ้าหรือดำรงตำแหน่งสูงทางศาสนาโดยการแสดงตนโดย
    ทางพิธีการและความเชื่อมั่นทางศาสนา เช่น โรมโบราณ หรือจักรพรรดิญี่ปุ่น
    ฝ่ายบ้านเมืองหรือพระราชามีอำนาจสูงกว่าศาสนจักร (ทวิโลกาธิปไตย (Caesaropapism)) พระราชาในยุโรปที่เป็นคริสเตียนจะถือตนเองเป็นเพียงกษัตริย์ (King) ไม่เรียกตนเป็นจักรพรรดิ์ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษที่มีปัญหาขัดแย้งกับพระสันตปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ไม่ยอมลงรอยกับโรมก็ได้เรียกตำแหน่งของพระองค์โดยใช้คำว่า “อิมพีเรียม” (imperium) และพระราชาแห่งรัสเซียก็เรียกตนเองว่าซาร์ซึ่งหมายถึงจักรพรรดิเพราะถือพระองค์ว่าอยู่เหนือศาสนารัสเชียนออร์โทดอกซ์ แต่ก็จะพระองค์จะอยู่ภายใต้พระเจ้าเท่านั้น
    เป็นประเพณียุโรป (คริสเตียน) ที่พระราชาสามารถสืบย้อนพระราชวงศ์ไปถึงสมัยโรมัน หรือที่ได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิโรมัน (ไบแซนไทน์) ในการสืบทอดอำนาจ
    การเลือกใช้ชื่อตำแหน่งโดยพระราชาได้กลายเป็นแนวคิดที่ต่างไปจากเดิมในภาษาอังกฤษ กล่าวคือความต่างที่ว่าพระราชาควรเป็นพระมหากษัตริย์หรือเป็นพระจักรพรรดิไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวอีกต่อไป ต่างจากตำแหน่งพระราชาที่เป็น ฟาโรห์ กาลิบห์ สุลต่าน หรือข่าน ซึ่งยังมีการกำหนดแยกชัดเจนอยู่


    จักรพรรดิในโลกตะวันตกและตะวันออก

    ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีการใช้ฐานันดรพระราชาในระดับ “จักรพรรดิ” ทั้งในโลกซีกตะวันตกซึ่งเริ่มจากยุคโรมันและต่อด้วยยุคคริสเตียน ทางซีกโลกตะวันออกมีประเพณีที่แตกต่างจากตะวันตก ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งจีนและญี่ปุ่นอ้างความเป็นจักรพรรดิว่าสืบเชื้อสายมาจากสรวงสวรรค์ เจงกิสข่านถือว่าพระองค์ได้อำนาจจากธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ จักรพรรดิญี่ปุ่นสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์


    รายพระนามของจักรพรรดิ

    จักรพรรดิโดยการเป็นจักรวรรดิแบบทั่วไป

    จักรวรรดิโบราณ

    จักรวรรดิเปอร์เชีย (16 ปี ก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 213) ดูรายชื่อกษัตริย์เปอร์เชีย
    จักรวรรดิแห่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (พ.ศ. 209 – พ.ศ. 262)
    จักรวรรดิโมริยะ (Mauryan Empire) (พ.ศ. 222 – พ.ศ. 358) ดู ราชวงศ์โมริยะ
    จีน (จักรวรรดิ พ.ศ. 322 – พ.ศ. 2454) ดู จักรพรรดิแห่งประเทศจีน และ ตารางพระเจ้าแผ่นดินจีน
    จักรวรรดิโรมัน (พ.ศ. 516 – พ.ศ. 1019) ดู รายชื่อจักรพรรดิโรมัน




    .

    ตอบลบ
  8. ยุคกลาง


    ประเพณีตะวันตกและไบแซนไทน์
    จักรวรรดิไบแซนไทน์ (พ.ศ. 938 – พ.ศ. 1996) ดู รายชื่อจักรพรรดิไบแซนไทน์
    จักรวรรดิละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล (พ.ศ. 1747 – พ.ศ. 1804)
    จักรวรรดิไนเซีย (Empire of Nicaea – พ.ศ. 1747 – พ.ศ. 1804) “จักรวรรดิไบแซนไทน์” ที่ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นหลังจากถูก “จักรวรรดิละติน” ยึดคอนสแตนติโนเปิล ในสงครามครูเสดครั้งที่ 4
    จักรวรรดิเทรบิซอนด์ (Empire of Trebizond -พ.ศ. 1747 – พ.ศ. 2004) การแตกแยกออกจากจักรวรรดิไบแซนไทน์อีกอาณาจักรหนึ่ง
    ราชรัฐเอปิรุส (Despotate of Epirus – พ.ศ. 1747 – พ.ศ. 1902) ปกครองโดยจักรพรรดิทีโอดอร์ ดูกาส พ.ศ. 1770 – พ.ศ. 1773
    จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (พ.ศ. 1343 และ พ.ศ. 1505 – พ.ศ. 2349) ดู รายพระนามจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
    บุลกาเรีย (จักวรรดิ พ.ศ. 1456 – พ.ศ. 1965) ดู รายพระนามพระเจ้าแผ่นดินบุลกาเรีย
    เซอร์เบีย (จักรวรรดิ พ.ศ. 1888 – พ.ศ. 1914) ดู รายพระนามพระเจ้าแผ่นดินเซอร์เบีย)
    มัสโควี (จักรวรรดิ พ.ศ. 2023 – พ.ศ. 2264) ต่อเนื่องมาถึงจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ พ.ศ. 2264



    อื่นๆ

    เจ้าผู้ปกครองเวียดนามพระองค์แรกที่ใช้ฐานันดรจักรพรรดิ (หว่างเด๊) ได้แก่จักรพรรดิดินห์ โบ ลิน ผู้สถาปนาราชวงศ์ดินห์เมื่อ พ.ศ. 1509 ดู รายพระนามราชวงศ์เวียดนาม
    ญี่ปุ่น (พระจักรพรรดิที่เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบันว่า “เทนโน” นับแต่ประมาณ พ.ศ. 1200 เป็นต้นมา ดู จักรพรรดิญี่ปุ่น และรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น
    จักรวรรดิออตโตมัน (พ.ศ. 1842 – พ.ศ. 2465) ดู ราชวงศ์อ็อตโตมาน
    เอธิโอเปีย (จักรวรรดิ พ.ศ. 1813 – พ.ศ. 2518) ดู จักรวรรดิเอธิโอเปีย และรายพระนามจักรพรรดิเอธิโอเปีย
    จักรวรรดิแอซเท็ก (พ.ศ. 1918 – พ.ศ. 2064) ดู เฮวยี ตลาโทอานิ (Hueyi Tlatoani)
    จักรวรรดิอินคา (พ.ศ. 1981 – พ.ศ. 2076) ดู ซาปา อินคา (Sapa Inca)
    จักรวรรดิเปอร์เชีย (อิหร่าน) (พ.ศ. 2044 – พ.ศ. 2522) ดู รายพระนามกษัตริย์แห่งเปอร์เชีย
    จักรวรรดิโมกุล (พ.ศ. 2059 – พ.ศ. 2400) ดู รายพระนามจักรพรรดิโมกุล
    จักรวรรดิดุรรานี (พ.ศ. 2290 – พ.ศ. 2366)
    ราชวงศ์ทาลเปอร์ (พ.ศ. 2326 – พ.ศ. 2386)






    .

    ตอบลบ
  9. จักรวรรดิโรมัน


    จักรวรรดิโรมัน (อังกฤษ: Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์[1] มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก่

    วันที่จูเลียส ซีซาร์ประกาศตัวเป็นผู้เผด็จการ (44 ปีก่อนคริสตกาล)
    ชัยชนะของออคเตเวียนในยุทธการแอคทิอุม (2 กันยายน, 31 ปีก่อนคริสตกาล)
    วันที่สภาซีเนตประกาศยกย่องออคเตเวียนให้เป็นออกุสตุส (16 มกราคม, 27 ปีก่อนคริสตกาล)
    จักรวรรดิโรมันเคยมีดินแดนอยู่ในการครอบครองมากมาย ได้แก่ อังกฤษและเวลส์ ยุโรปส่วนใหญ่ (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์) ชายฝั่งของแอฟริกาเหนือ บริเวณมณฑลใกล้เคียงของอียิปต์ แถบบอลข่าน ทะเลดำ เอเชียไมเนอร์ และส่วนใหญ่ของบริเวณลีแวนท์ ซึ่งดินแดนเหล่านี้ จากตะวันตกสู่ตะวันออกในปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี แอลเบเนียและกรีซ แถบบอลข่าน ตุรกี ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของเยอรมนี ทางภาคใต้จักรวรรดิโรมันได้รวบรวมตะวันออกกลางไว้ ซี่งในปัจจุบันก็ได้แก่ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน จากนั้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้ จักรวรรดิได้รวบรวมอียิปต์โบราณไว้ทั้งหมด และได้ทำการยึดครองต่อไปทางตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลซี่งในปัจจุบันคือประเทศลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรียและโมร็อกโก จนถึงตะวันตกของยิบรอลตาร์ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิโรมันเรียกว่าชาวโรมัน และดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายโรมัน การขยายอำนาจของโรมันได้เริ่มมานานตั้งแต่ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรืองอำนาจสูงสุดในสมัยจักรพรรดิทราจัน ด้วยชัยชนะเหนือดาเซีย (ปัจจุบันคือประเทศโรมาเนียและมอลโดวา และส่วนหนึ่งของประเทศฮังการี บัลแกเรียและยูเครน) ในปี ค.ศ. 106 และเมโสโปเตเมียในปี ค.ศ. 116 (ซึ่งภายหลังสูญเสียดินแดนนี้ไปในสมัยจักรพรรดิฮาเดรียน) ถึงจุดนี้ จักรวรรดิโรมันได้ครอบครองแผ่นดินประมาณ 5,900,000 ตร.กม. (2,300,000 ตร.ไมล์) และห้อมล้อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งชาวโรมันเรียกทะเลนี้ว่า mare nostrum "ทะเลของเรา" อิทธิพลของโรมันได้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านภาษา ศาสนา สภาปัตยกรรม ปรัชญา กฎหมายและระบบการเมืองมาจนถึงทุกวันนี้

    จักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และถือว่าจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงในช่วงเวลาประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 476 เมื่อจักรพรรดิโรมิวลุส ออกุสตุส จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกขับไล่และเกิดการจลาจลขึ้นในโรม (ดูในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน) อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่รู้จักกันในชื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ได้รักษากฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบกรีก-โรมัน รวมถึงศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ไว้ได้ในอีกสหัสวรรษต่อมา จนถึงการล่มสลายเมื่อเสียกรุงคอนแสตนติโนเปิลให้กับจักรวรรดิออตโตมัน ในปีค.ศ. 1453







    .

    ตอบลบ
  10. พัฒนาการของจักรวรรดิโรมัน

    นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งแยกช่วงการปกครองของจักรวรรดิโรมันเป็นสมัยผู้นำ (Principate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิออกุสตุสจนถึงวิกฤติการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 และสมัยครอบงำ (dominate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิไดโอคลีเชียนจนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งในสมัยผู้นำ จักรพรรดิจะมีอำนาจอยู่เบื้องหลังการปกครองแบบสาธารณรัฐ แต่ในสมัยครอบงำ อำนาจของจักรพรรดิได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยมงกุฎทองและพิธีกรรมที่หรูหรา และเมื่อเร็วๆ นี้ นักประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ว่ารูปแบบการปกครองนี้ได้ใช้ต่อจนถึงช่วงเวลาของจักรวรรดิไบแซนไทน์


    จักรพรรดิพระองค์แรก

    ไม่มีคำตอบแน่ชัดว่าใครเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของโรม อันที่จริงแล้วไม่มีตำแหน่งจักรพรรดิในระบบการเมืองของโรมัน มันเหมือนกับเป็นตำแหน่งที่แยกออกมามากกว่า

    จูเลียส ซีซาร์ได้ประกาศตัวเป็นผู้เผด็จการตลอดอายุขัย ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ผู้เผด็จการจะต้องไม่อยู่ในตำแหน่งเกิน 6 เดือน ตำแหน่งของซีซาร์จึงขัดกับกฎหมายอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เหล่าสมาชิกสภาซีเนตบางคนเกิดความหวาดระแวงว่าเขาจะตั้งตนเป็นกษัตริย์และสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้นจึงเกิดการวางแผนลอบสังหารขึ้น และในวันที่ 15 มีนาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์เสียชีวิตลงโดยฝีมือของพวกลอบสังหาร

    ออคเตเวียน บุตรบุญธรรมและทายาททางการเมืองของจูเลียส ซีซาร์ ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และไม่อ้างสิทธิในตำแหน่งผู้เผด็จการ แต่ได้ขยายอำนาจภายใต้รูปแบบสาธารณรัฐอย่างระมัดระวัง โดยเป็นการตั้งใจที่จะสนับสนุนภาพลวงแห่งการฟื้นฟูของสาธารณรัฐ เขาได้รับตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง เช่น ออกุสตุส ซึ่งแปลว่า "ผู้สูงส่ง" และพรินเซปส์ ซึ่งแปลว่า"พลเมืองชั้นหนึ่งแห่งสาธารณรัฐโรมัน" หรือ "ผู้นำสูงสุดของสภาซีเนตโรมัน" ตำแหน่งนี้เป็นรางวัลสำหรับบุคคลผู้ทำงานรับใช้รัฐอย่างหนัก แม่ทัพปอมปีย์เคยได้รับตำแหน่งนี้เช่นกัน

    นอกจากนี้ ออกุสตุสยังได้สิทธิในการสวมมงกุฎพลเมือง ที่ทำจากไม้ลอเรลและไม้โอ๊คอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งตำแหน่งต่างๆ และมงกุฎก็ไม่ได้มอบอำนาจพิเศษใดๆ ให้เขา เขาเป็นเพียงกงสุลเท่านั้น และใน 13 ปีก่อนคริสตกาล ออกุสตุสได้เป็น พอนติเฟกซ์ แมกซิมุส ภายหลังการเสียชีวิตของมาร์คุส อีมิลิอุส เลพิดุส ออกุสตุสสะสมพลังอำนาจไว้มากโดยที่ไม่ได้อ้างสิทธิในตำแหน่งต่างๆ มากเกินไป


    จากสาธารณรัฐสู่สมัยผู้นำ: ออกุสตุส

    มาร์ค แอนโทนีและคลีโอพัตรา พ่ายแพ้ในยุทธการแอคทิอุมและได้กระทำอัตวินิบาตฆาตกรรมทั้งคู่ ออคเตเวียนได้สำเร็จโทษซีซาเรียน ลูกชายของคลีโอพัตราและจูเลียส ซีซารด้วย การสังหารซีซาเรียนทำให้ออคเตเวียนไม่มีคู่แข่งทางการเมืองที่มีสายเลือดใกล้ชิดกับจูเลียส ซีซาร์แล้ว เขาจึงกลายเป็นผู้ปกครองคนเดียวของโรม ออคเตเวียนเริ่มการปฏิรูปทางทหาร เศรษฐกิจและการเมืองครั้งใหญ่ โดยมีเจตนาเพื่อทำให้อาณาจักรโรมันมั่นคงและสงบสุข และยังทำให้เกิดการยอมรับในรูปแบบการปกครองใหม่นี้ด้วย

    ในช่วงเวลาที่ออคเตเวียนปกครองโรมัน สภาซีเนตได้มอบชื่อออกุสตุสให้เขา พร้อมกับตำแหน่ง อิมเพอเรเตอร์ "จอมทัพ"ด้วย ซึ่งได้พัฒนาเป็น เอ็มเพอเรอร์' "จักรพรรดิ" ในภายหลัง

    ออกุสตุสมักจะถูกเรียกว่า ซีซาร์ ซึ่งเป็นนามสกุลของเขา คำว่าซีซาร์นี้ถูกใช้เรียกจักรพรรดิในราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน ราชวงศ์ฟลาเวียน จักรพรรดิเวสปาเซียน จักรพรรดิทิทุส และจักรพรรโดมิเชียนด้วย และยังเป็นรากศัพท์ของคำว่า ซาร์ (รัสเซีย:czar) และ ไกเซอร์ (เยอรมัน:kaiser)







    .

    ตอบลบ
  11. จักรวรรดิไบแซนไทน์หรือไบแซนทิอุม (อังกฤษ: Byzantine Empire หรือ Byzantium, กรีก: Βασιλεία των Ρωμαίων) คือคำที่ใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาเพื่อเรียกจักรวรรดิโรมันแห่งยุคกลางที่ใช้ภาษากรีกเป็นภาษาหลัก (ต่างจากจักรวรรดิโรมันในยุคคลาสสิกที่ใช้ภาษาละติน) โดยมีศูนย์กลางจักรวรรดิอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล หรืออาจเรียกได้อีกนามหนึ่งว่าเป็นจักรวรรดิโรมันตะวันออกนั่นเอง โดยชื่อหลังนี้มักจะใช้กล่าวถึงไบแซนไทน์ในยุคก่อนที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกจะล่มสลาย

    จากประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้แสดงให้เห็นว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์คือจักรวรรดิของชาวกรีก เมื่อคำนึงถึงอิทธิพลของภาษากรีก วัฒนธรรมกรีกและประชากรเชื้อสายกรีก แต่ประชาชนของจักรวรรดิเองนั้น มองจักรวรรดิของตนว่าเป็นเพียงจักรวรรดิโรมันที่มีจักรพรรดิโรมันสืบทอดตำแหน่งอย่างต่อเนื่องกันเท่านั้น

    การเริ่มต้นของจักรวรรดิไบแซนไทน์นั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยส่วนใหญ่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 849-880) แห่งโรมได้สถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็น "โรมใหม่" ในปี พ.ศ. 873 (ค.ศ. 330) และย้ายเมืองหลวงจากโรมมาเป็นคอนสแตนติโนเปิลแทน ดังนั้น จึงถือว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปโดยปริยาย แต่ก็มีบางส่วนถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นในสมัยของธีโอโดเซียสมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 922-938) ซึ่งคริสต์ศาสนาได้เข้ามาแทนที่ลัทธิเพเกินบูชาเทพเจ้าโรมันในฐานะศาสนาประจำชาติ หรือหลังจากธีโอโดเซียสสววรคตใน พ.ศ. 938 เมื่อจักรวรรดิโรมันได้แบ่งขั้วการปกครองเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตกอย่างเด็ดขาด ทั้งยังมีบ้างส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้น "อย่างแท้จริง" เมื่อจักรพรรดิโรมูลูส ออกุสตูลูส ซึ่งถือว่าเป็นจักรพรรดิโรมันตะวันตกองค์สุดท้ายถูกปราบดาภิเศก ซึ่งทำให้อำนาจในการปกครองจักรวรรดิตกอยู่ที่ชาวกรีกในฝั่งตะวันออกแต่เพียงฝ่ายเดียว และยังมีอีกบางส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิโรมันได้แปลงสภาพเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสมบูรณ์ เมื่อจักรพรรดิเฮราคลิอุสเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งในราชการ จากเดิมที่เป็นภาษาละติน ให้กลายเป็นภาษากรีกแทน

    อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงสถานะของจักรวรรดินั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงก่อนที่จักรพรรดิคอนสแตนตินจะสถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมันใน พ.ศ. 873 ก็ตาม ในตอนนั้นก็ได้มีการแปลงสภาพวัฒนธรรมจากโรมันเป็นกรีก รวมถึงการเปิดรับคริสต์ศาสนาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปแล้ว

    การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ โดยทั่วไปแล้ว เชื่อว่าเกิดขึ้นหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดโดยชาวออตโตมันเติร์ก ในปี พ.ศ. 1996 โดยกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอิสตันบูลมาจนถึงปัจจุบัน และในทางประวัติศาสตร์ยังได้ถือว่าการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นจุดสิ้นสุดยุคกลางในยุโรปอีกด้วย








    .

    ตอบลบ
  12. จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์


    จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธ์ (เยอรมัน: Heiliges Römisches Reich (HRR), ละติน: Imperium Romanum Sacrum (IRS), อังกฤษ: Holy Roman Empire) เป็นการรวมตัวของรัฐต่างๆในยุโรปกลางในสมัยยุคกลางมาจนถึงยุโรปสมัยใหม่ตอนต้นภายใต้การปกครองของจักรพรรดิ จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิคือสมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 ผู้ได้รับการสวมมงกุฎในปี ค.ศ. 962[1] และสืบเนื่องมาจนถึงจักรพรรดิองค์สุดท้ายคือสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 ผู้สละราชสมบัติและยุบจักรวรรดิในปีค.ศ. 1806 ระหว่างสงครามนโปเลียน ชื่อจักรวรรดิอย่างเป็นทางการคือ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชาติเยอรมัน (เยอรมัน: Heiliges Römisches Reich Deutscher Nation, ละติน: Imperium Romanum Sacrum Nationis Germanicæ) ที่มาใช้กันในปี ค.ศ. 1450

    ดินแดนของจักรวรรดิก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลาในประวัติศาสตร์ แต่ในจุดความเจริญอันสูงสุดก็ประกอบด้วย ราชอาณาจักรเยอรมนี, ราชอาณาจักรอิตาลี และ ราชอาณาจักรเบอร์กันดี ดินแดนเหล่านี้ครอบคลุมดินแดนที่ในปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี (ยกเว้นชเลสวิกใต้), ออสเตรีย (ยกเว้นเบอร์เกนแลนด์), ลิกเตนสไตน์, สวิสเซอร์แลนด์, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, สาธารณรัฐเช็ก, สโลวีเนีย (นอกจาก Prekmurje), และรวมทั้งบริเวณพอสมควรในฝรั่งเศส (ส่วนใหญ่ในอาร์ทัวส์, อัลซาซ, ฟรองช์-กงเต, ซาวัว และ ลอร์แรน ), อิตาลี (ส่วนใหญ่ในลอมบาร์ดี, พีดมอนต์, เอมิเลีย-โรมานยา, ทัสเคนี, ไทโรลใต้), และ โปแลนด์ (ส่วนใหญ่ในไซลีเซีย, โพเมอราเนีย และ น็อยมาร์ค) ตลอดสมัยประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิดินแดนประกอบด้วยรัฐเล็กรัฐน้อยเป็นจำนวนหลายร้อยรัฐที่เป็นราชรัฐ, อาณาจักรดยุค, อาณาจักรเคานท์, ราชนครรัฐอิสระ และดินแดนฐานะอื่นๆ แม้ว่าจะมีคำว่าโรมันอยู่ในชื่อแต่โรมก็ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ



    ที่มาของชื่อ

    จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นการพยายามฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 476 แต่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิโรมันในยุคโบราณเหมือนกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เป็นจักรวรรดิโรมันที่แท้จริงในสมัยกลาง โดยหลังจากการสละราชสมบัติของโรมิวลุส ออกัสตุลุส จักรพรรดิโรมันตะวันตกองค์สุดท้าย ในปี ค.ศ. 476 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ได้สวมมงกุฎแด่ชาร์เลอมาญในตำแหน่ง "อิพีเรเตอร์ ออกัสตัส" เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 800 และสถาปนา หลุยส์เดอะไพอัส พระราชโอรส ขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการจัดระเบียบเรื่องเจ้าขุนนายมูลเป็นเวลากว่าทศวรรษ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาสตีเฟนที่ 5 ได้กำหนดไว้ว่าผู้ที่จะเป็นจักรพรรดิได้ ต้องได้รับการสวมมงกุฎจากสมเด็จพระสันตะปาปาเท่านั้น

    การใช้คำว่า "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" นั้นมีหลากหลายในช่วงต้นๆ ในแผ่นดินของจักรพรรดิสมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 นั้นเรียกว่า "Regnum Francorum Orientalium" หรือ "Regnum Francorum" ซึ่งหมายความว่า "ราชอาณาจักรแห่งชาวแฟรงค์ตะวันออก" หรือ "อาณาจักรแฟรงค์" คำว่า จักรวรรดิโรมัน นั้นได้ใช้เมื่อปี ค.ศ. 1034 เพื่อแสดงดินแดนของจักรพรรดิจักรพรรดิคอนราดที่ 2


    ความเป็นอยู่ของจักรวรรดิ

    จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้นตั้งอยู่ในความไม่สงบของเหล่าขุนนางในแต่ละท้องที่ ที่พยายามจะแยกออกจากจักรวรรดิ เพื่อที่จะไปตั้งอำนาจของรัฐปกครองตนเองแบบฝรั่งเศสและอังกฤษ จักรพรรดิไม่มีอำนาจที่จะควบคุมท้องที่ ที่มีแหล่าขุนนางปกครอง จักรพรรดิจึงอนุญาตให้เหล่าขุนนางและเหล่าบิชอปปกครองอย่างอิสระได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11


    ดินแดนของจักรวรรดิ


    ดินแดนที่อยู่ภายใต้อำนาจโดยตรงของพระมหาจักรพรรดิแบ่งอย่างกว้างได้เป็นสามกลุ่ม:

    ราชรัฐ คือดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าชาย หรือ ดยุค
    ราชสังฆาจักร คือดินแดนของสังฆาจักรที่ได้รับราชรัฏฐาภิสิทธิ์ให้มีอำนาจปกครองตนเองขึ้นตรงต่อพระมหาจักรพรรดิโดยไม่ต้องขึ้นต่อราชรัฐท้องถิ่น ผู้ปกครองมีฐานะเป็น สังฆราช, อัครสังฆราช หรือ สมเด็จพระสังฆราช
    ราชนครรัฐอิสระ คือเมืองที่ได้รับราชรัฏฐาภิสิทธิ์ให้มีอำนาจปกครองตนเองขึ้นตรงต่อพระมหาจักรพรรดิโดยไม่ต้องขึ้นต่อราชรัฐท้องถิ่น
    ดินแดนทั้งหมดมีจำนวนมากถึง 300 รัฐ บางรัฐมีพื้นที่ไม่กี่ตารางไมล์เท่านั้น





    .

    ตอบลบ
  13. สภา

    ราชสภามีหน้าที่ออกกฎหมาย ทำการเลือกตั้ง แบ่งได้เป็น 3 สภาคือ:

    สภาผู้ออกเสียงหรือผู้มีตำแหน่งเป็นพรินซ์อีเล็คเตอร์ ได้แก่ ผู้ออกเสียงทั้ง 7 แห่งอาณาจักรเลือกตั้ง
    สภาของราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นกลุ่มเจ้าผู้ครองนครรัฐที่มิได้มีตำแหน่งเป็นพรินซ์อีเล็คเตอร์
    สภาของกลุ่มราชนครรัฐอิสระ


    ศาล

    ศาลแห่งจักรวรรดิมี 2 ประเภทได้แก่ Reichshofrat หรือ ศาลตุลาการ Reichskammergericht หรือ ศาลของจักรวรรดิ ซึ่งก่อตั้งพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงจักรวรรดิเมื่อปี ค.ศ. 1495


    สหราชรัฐแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

    สหราชรัฐแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เกิดขึ้นหลังจากการปฏิรูปจักรวรรดิ ซึ่งเริ่มโดยการก่อตั้งเป็นหกกลุ่ม (Reichskreise) ในปี ค.ศ. 1500 และต่อมาขยายเป็น 10 กลุ่มในปี ค.ศ. 1512 แต่ละกลุ่มมีหน้าที่ดูแลเฉพาะแคว้นที่อยู่ของแต่ละกลุ่ม มีหน้าที่คล้ายรัฐบาลท้องถิ่น


    ประวัติศาสตร์


    ต้นกำเนิด


    ตามขนบธรรมเนียมของชาวแฟรงค์ เมื่อจักรพรรดิชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ ได้แบ่งปันส่วนของดินแดนให้กับราชบุตรราชวงศ์แคโรลีเจี้ยนทั้ง 3 พระองค์ ตามสนธิสัญญาแห่งแวดังร์ในปี ค.ศ. 843 จึงกลายเป็น 3 ดินแดนแห่งอาณาจักรแฟรงค์ และดำเนินเอกราชจนกระทั่งดินแดนฝั่งตะวันออกพ่ายแก่หลุยส์ ชาวเยอรมัน

    แหล่าผู้นำแห่ง อาลีแมนเนีย บาวาเรีย ฟรานเซีย และแซกซอนี ได้เลือก Conrad I เป็นหัวหน้าในปี ค.ศ. 911และผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาคือ เฮนรี่ที่ 1 ชาวแซ็กซอนได้ยอมรับส่วนที่เหลือของอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกในปี ค.ศ. 919 (แต่อาณาจักรตะวันตกยังถูกปกครองโดยราชวงศ์แคโรลีเจี้ยน) และสถาปนาตนเองเป็น กษัตริย์แห่งแฟรงค์ตะวันออก และกำเนิดราชวงศ์ออตโตเนียน

    จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 1 ต้องการให้พระราชโอรส ออตโต เป็นผู้สืบพระราชสมบัติ และทำการพระราชอภิเษกกับราชินีหม้ายแห่งอิตาลี เพื่อที่จะได้เป็นกษัตริย์ทั้ง 2 อาณาจักร (แฟรค์ตะวันออก และ อิตาลี) และต่อมา พระราชโอรสออตโตได้สถาปนาตนเองขึ้นครองราชย์เป็น "จักรพรรดิออตโตที่ 1 มหาราชแห่งจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์"


    ส่วนที่เหลือในปัจจุบัน

    ในปัจจุบันนี้ยังมีรัฐที่เป็นส่วนที่เหลือของจักรวรรดิคือประเทศลิกเตนสไตน์ ซึ่งอยู่ระหว่างสวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย

    ในปัจจุบันยังมีผู้ที่มีสิทธิ์ครองบัลลังก์ตามเชื้อสายของจักรวรรดิ คือออตโต ฟอน ฮับส์บูร์ก แต่ตำแหน่งจักรพรรดินั้นได้ยกเลิกไปแล้ว









    .

    ตอบลบ
  14. พระมหากษัตริย์แห่งชนโรมัน (ละติน: Rex Romanorum, อังกฤษ: King of the Romans) เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับผู้ที่ได้รับเลือกจากสภาผู้เลือกตั้งจักพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นตำแหน่งที่เรียกว่า “Imperator futurus” (พระจักรพรรดิในอนาคต) ซึ่งเป็นตำแหน่งก่อนที่จะได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปาเป็นพระจักรพรรดิเต็มพระองค์ แต่พระจักรพรรดิหลายพระองค์ที่ทรงเป็น “พระจักรพรรดิในอนาคต” ก็ถูกเรียกกันว่า “พระจักรพรรดิ” แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปาก็ตาม ตำแหน่งนี้ต่อมาก็ใช้กับทายาทที่พระจักรพรรดิทรงเลือกผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นพระจักรพรรดิในขณะที่พระจักรพรรดิองค์ปัจจุบันยังทรงพระชนม์อยู่ ตำแหน่งนี้มาใช้กันทั่วไปในยุคกลางตอนกลาง (High Middle Ages) ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ระหว่าง ค.ศ. 1056 ถึง ค.ศ. 1084 ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เมื่อทรงครองจักรวรรดิโดยยังมิได้ทรงได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปา





    .

    ตอบลบ
  15. โรม


    โรม (อิตาลี: Roma; อังกฤษ: Rome) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลาซีโอและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์

    นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกอีกด้วย

    หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และไมเคิลแองเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในวัดน้อยซิสตีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน

    ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี)



    ที่มาของชื่อ

    เรื่องราวของที่มาของชื่อ โรมา นั้น มีข้อสันนิษฐานอยู่มากมาย ข้อสันนิษฐานที่สำคัญได้แก่

    มาจาก Rommylos (โรมูลุส) บุตรของอัสกานีอุส และเป็นผู้ก่อตั้งเมือง
    มาจาก Rumon หรือ Rumen ชื่อในสมัยโบราณของแม่น้ำไทเบอร์ มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า ῥέω (rhèo) ในภาษากรีก และคำว่า ruo ในภาษาละติน ทั้งสองคำหมายถึง "กระแสน้ำไหล"
    มาจากคำว่า ruma ในภาษาอีทรัสแคน มีรากศัพท์มาจากคำว่า *rum- หมายถึง "หัวนม" ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจอ้างอิงถึงหมาป่าที่เลี้ยงดูและให้นมสองพี่น้องแฝด โรมูลุสและเรมุส หรืออาจอ้างอิงถึงรูปร่างของเนินเขา Palatine และ Aventine
    มาจากคำว่า ῤώμη (rhòme) ในภาษากรีก หมายถึง ความแข็งแกร่ง


    ประวัติศาสตร์

    โรมมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 2,800 ปี ตั้งอยู่บนเนินเขาทั้งเจ็ดริมฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ตอนกลางของประเทศ โดยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรในอดีตมากมาย เช่น ราชอาณาจักรโรมัน สาธารณรัฐโรมัน และจักรวรรดิโรมัน โรมเคยเป็นเมืองที่มีบทบาทมากที่สุดของอารยธรรมตะวันตก และในอดีตได้เป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันได้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลีตั้งแต่ ค.ศ. 1870


    ประวัติศาสตร์ตอนต้น

    หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่เป็นโรมในปัจจุบัน มีมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างน้อย 14,000 ปีมาแล้ว แต่มีชั้นเศษหินหนาที่อายุน้อยกว่านั้นมากปกคลุมชั้นผิวดินตั้งแต่ยุคหินเก่าและยุคหินใหม่ นอกจากนี้ หลักฐานของเครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา และอาวุธหิน ก็พิสูจน์ให้เห็นว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างน้อย 10,000 ปีมาแล้ว ซึ่งตำนานการก่อตั้งโรมที่เป็นที่รู้จักดีก็อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดไปจากจุดเริ่มต้นของโรมที่แท้จริงและเกิดขึ้นมานานกว่าในตำนานมาก


    ราชาธิปไตย สาธารณรัฐ และจักรวรรดิ

    หมาป่า Capitoline ให้นมทารกแฝด โรมูลุสและเรมุสประวัติศาสตร์ตอนต้นของโรมนั้นถูกเล่าขานในรูปของตำนาน ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า โรมก่อตั้งขึ้นได้โรมูลุส เมื่อวันที่ 21 เมษายน 210 ปีก่อนพุทธกาล




    .

    ตอบลบ
  16. การปกครอง

    ปาลัซโซเซนาโตรีโอ ศาลาเทศบาลโรม
    The 19 municipi of Rome.[แก้] เมืองหลวงของอิตาลี
    โรมเป็นเมืองหลวงของอิตาลี และเป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาลอิตาลี ทั้งที่พำนักของประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิตาลีและนายกรัฐมนตรีอิตาลี อาคารรัฐสภาอิตาลี และศาลรัฐธรรมนูญอิตาลี ล้วนแต่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ ที่ทำการของกระทรวงต่างๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วเมือง รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในปาลัซโซเดลลาฟาร์เนซีนาใกล้กับสนามกีฬาโอลิมปิก


    เทศบาลเมือง

    โรมจัดเป็นหนึ่งในหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น 8,101 หน่วยของอิตาลี และเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุดทั้งในด้านพื้นที่และจำนวนประชากร บริหารโดยสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี โดย Gianni Alemann ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน สำนักงานเทศบาลคือ ปาลัซโซเซนาโตรีโอ บนเนินคาปิโตไลน์ โดยทั่วไปแล้วการปกครองส่วนท้องถิ่นในโรมจะถูกเรียกว่า "Campidoglio" ซึ่งเป็นชื่อเนินเขาในภาษาอิตาเลียน


    รีโอนีของโรม

    จัตุรัสนาโวนา อยู่ในรีโอนีปารีโอเน[9]โรมสามารถแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อยอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่การแบ่งเขตปกครอง โดยศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์จะแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อยที่เรียกว่า รีโอนี (rioni) โดยมีทั้งหมด 22 รีโอนี ซึ่งนอกจากรีโอนีปราตีและบอร์โกแล้ว รีโอนีอื่นๆ ล้วนแต่อยู่ภายในกำแพงออเรเลียนทั้งสิ้น

    จำนวนของรีโอนีมีการเปลี่ยนแปลงมาทุกยุคสมัย ตั้งแต่สมัยโรมโบราณ ยุคกลาง จนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2286 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 14 ได้ทรงแบ่งพื้นที่ของรีโอนีอย่างเป็นระเบียบมากขึ้น

    ในระยะแรกหลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สิ้นอำนาจ การแบ่งพื้นที่ในโรมยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก จนกระทั่งโรมได้กลายเป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลีที่ถือกำเนิดขึ้นใหม่ ความจำเป็นในการก่อตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ทำให้เกิดการพัฒนาให้เป็นเมืองครั้งใหญ่และมีประชากรเพิ่มมากขึ้นทั้งในพื้นที่ภายในและภายนอกกำแพงออเรเลียน ใน พ.ศ. 2417 ได้มีการก่อตั้งรีโอนีเอสกวีลีโนขึ้นโดยแยกออกจากรีโอนีมอนตี ทำให้ในขณะนั้นมีรีโอนีทั้งหมด 15 พื้นที่ หลังจากเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 บางรีโอนีก็ได้แบ่งตัวออกและพื้นที่บางส่วนนอกกำแพงออเรเลียนก็เริ่มถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเมือง

    ใน พ.ศ. 2464 จำนวนรีโอนีเพิ่มขึ้นเป็น 22 พื้นที่ โดยปราตีเป็นรีโอนีล่าสุดที่ก่อตั้งขึ้น และเป็นเพียงรีโอนีเดียวที่อยู่นอกกำแพงเมือง

    รายชื่อของรีโอนีทั้งหมดในยุคใหม่ มีดังต่อไปนี้

    1.มอนตี
    2.เตรวี
    3.โคลอนนา
    4.กัมโปมาร์ซีโอ
    5.ปอนเต
    6.ปารีโอเน
    7.เรโกลา
    8.Sant'Eustachio
    9.ปิญญา
    10.กัมปีเตลลี
    11.Sant'Angelo
    12.รีปา
    13.ตรัสเตเวเร
    14.บอร์โก
    15.เอสกวีลีโน
    16.ลูโดวีซี
    17.ซัลลุสเตียโน
    18.กัสโตรเปรโตรีโอ
    19.เชลิโอ
    20.เตสตัชโช
    21.ซันซาบา
    22.ปราตี


    ภูมิศาสตร์

    ที่ตั้ง

    โรมตั้งอยู่ในแคว้นลาซีโอทางตอนกลางของอิตาลี ริมฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ นิคมแรกเริ่มตั้งขึ้นบนเนินเขาที่หันหน้าไปทางบริเวณน้ำตื้นด้านข้างเกาะไทเบอร์ ซึ่งเป็นบริเวณน้ำตื้นตามธรรมชาติเพียงแห่งเดียวตามลำน้ำในพื้นที่นี้ Rome of the Kings สร้างขึ้นบนเนินเขาเจ็ดแห่ง ได้แก่ เนินเขา Aventine เนินเขา Caelian เนินเขา Capitoline เนินเขา Esquiline เนินเขา Palatine เนินเขา Quirinal และเนินเขา Viminal นอกจากนี้ โรมในยุคใหม่ยังมีพื้นที่พาดผ่านแม่น้ำอานีเอเน ที่บรรจบกับแม่น้ำไทเบอร์บริเวณทางเหนือของศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์

    แม้ว่าใจกลางเมืองจะอยู่ห่างจากทะเลติร์เรเนียนประมาณ 24 กิโลเมตร แต่อาณาเขตของเมืองก็ขยายออกไปจนถึงชายฝั่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของย่าน Ostia พื้นที่ตอนกลางของโรมมีระดับความสูงแตกต่างกันตั้งแต่ 13 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (ที่ฐานของแพนธีออน) ไปจนถึง 139 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (ที่ยอดเนินมอนเตมารีโอ) เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นของโรมครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,285 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่สีเขียวอยู่หลายแห่ง





    .

    ตอบลบ
  17. ประชากร

    มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ถ่ายภาพจากแม่น้ำไทเบอร์ โดมอันมีชื่อเสียงมองเห็นได้แก่ไกลจากในโรมประชากรเกือบทั้งหมดของโรมพูดภาษาโรมาเนสโก (สำเนียงเฉพาะถิ่นของภาษาอิตาเลียน) ในชีวิตประจำวันและในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ แต่เชื่อกันว่าทุกคนสามารถพูดภาษาอิตาเลียนมาตรฐานที่ใช้ในสถานการณ์ที่เป็นทางการมากขึ้นได้

    ใน พ.ศ. 2550 ประชากรที่อาศัยอยู่ในโรมมีทั้งหมด 2,718,768 คน (ในพื้นที่ Greater Rome มีราว 4 ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นเพศชายร้อยละ 47.2 และเพศหญิงร้อยละ 52.8 เป็นผู้เยาว์ (อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี) ร้อยละ 17 และเป็นผู้รับบำนาญร้อยละ 20.76 เทียบกับค่าเฉลี่ยของชาวอิตาเลียนทั้งประเทศซึ่งเป็นผู้เยาว์ร้อยละ 18.06 และเป็นผู้รับบำนาญร้อยละ 19.94 อายุเฉลี่ยของประชากรในโรมอยู่ที่ 43 ปี เทียบกับค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศซึ่งอยู่ที่ 42 ปี ในระหว่าง พ.ศ. 2545-2550 ประชากรในโรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.54 ขณะที่ทั้งประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.56 อัตราการเกิดของประชากรในโรมอยู่ที่ 9.10 คนต่อประชากร 1,000 คน เทียบกับทั้งประเทศซึ่งอยู่ที่ 9.45 คน


    กลุ่มชาติพันธุ์

    จากสถิติล่าสุดที่รวบรวมโดย ISTAT ในโรมมีประชากรที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนอยู่ราวร้อยละ 9.5 ของประชากรทั้งหมด กลุ่มของผู้ย้ายถิ่นเข้านั้นประกอบด้วยชาวยุโรปสัญชาติอื่นๆ (ส่วนใหญ่เป็นชาวโรมาเนีย โปแลนด์ ยูเครน และแอลบาเนีย) จำนวน 131,118 คน หรือร้อยละ 4.7 ของประชากรทั้งหมดและเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้าทั้งหมด อีกร้อยละ 4.8 เป็นผู้ย้ายถิ่นที่ไม่ใช่ชาวยุโรป ส่วนใหญ่เป็นชาวฟิลิปปินส์จำนวน 26,933 คน บังกลาเทศ 12,154 คน เปรู 10,530 คน จีน 10,283 คน และสัญชาติอื่นๆ

    ย่านเอสกวิลีโน นอกสถานีรถไฟแตร์มินี ได้พัฒนาเป็นย่านผู้ย้ายถิ่นเข้าขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเป็นย่าน Chinatown ของโรม แต่ความจริงแล้วเป็นชุมชนของผู้ย้ายถิ่นจากกว่าหนึ่งร้อยประเทศ เนื่องจากเป็นย่านการค้าที่เฟื่องฟู จึงเป็นที่ตั้งของภัตตาคารจำนวนมากที่ให้บริการอาหารหลากหลายเชื้อชาติ









    .

    ตอบลบ
  18. โรมันคาทอลิก


    นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic) เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุดในศาสนาคริสต์ ประมุขสูงสุดคือ พระสันตะปาปา มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ สำนักวาติกัน ใช้ภาษาละตินเป็นภาษาทางศาสนา ในประเทศไทย อาจเรียกคริสตศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกว่า "(ชาว)คริสตัง"

    คำว่า "คาทอลิก" แปลว่า "สากล" หมายถึง ปฏิปทาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม คริสตศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก ไม่ถือว่าตนเองเป็นนิกายหนึ่ง แต่เป็นคริสต์ศาสนาที่สืบเนื่องมาจากต้นกำเนิด และถือว่าพวกตนเป็นผู้อนุรักษ์คำสั่งสอนที่ได้รับมาจากพระเยซูอย่างซื่อสัตย์ อีกทั้งเป็นผู้ปกป้องพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด




    ความแตกต่างของนิกายโรมันคาทอลิกกับนิกายโปรเตสแตนต์

    1. การนับถือพระแม่มารีและนักบุญ
    นิกายโรมันคาทอลิกนับถือทั้ง พระเยซู และพระแม่มารี โดยเชื่อว่าพระแม่มารี แม่ของพระเยซู เป็นหญิงพรหมจรรย์ และให้เกียรติพระนางมารีเป็นพิเศษ เรียกว่า "แม่พระ" หมายถึง มารดาของพระเจ้า

    และยังมีการยกย่อง นักบุญ (Saint [เซนต์]) คือ วีรบุรุษและวีรสตรีทางศาสนา หรือบุคคลที่ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างพระเยซูอย่างดีมากจนมั่นใจว่าได้ไปสวรรค์และเป็นเทพผู้คุ้มครองผู้คน อาจเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายว่า พระเยซูเสมือนกษัตริย์ แม่พระเสมือนพระราชชนนี และเหล่านักบุญเสมือนขุนนางองครักษ์

    ต่างจาก นิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งนับถือแต่พระเยซู ส่วนพระแม่มารีและนักบุญนั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญนัก

    2. คัมภีร์
    พระคริสตธรรม ภาคพันธสัญญาเดิม ของนิกายโรมันคาทอลิก มี 46 เล่ม ขณะที่ พระคริสตธรรม ภาคพันธสัญญาเดิม ของนิกายโปรเตสแตนต์ มี 39 เล่ม (ต่างกัน 7 เล่ม)

    3. พิธีกรรม
    นิกายโรมันคาทอลิก มีพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ ที่ต้องปฏิบัติ 7 พิธี ได้แก่ 1. ศีลล้างบาป 2. ศีลกำลัง 3. ศีลมหาสนิท 4. ศีลบรรพชา 5. ศีลสมรส 6. ศีลอภัยบาป 7. ศีลเจิมผู้ป่วย

    ต่างจากนิกายโปรเตสแตนต์ที่เหลือเพียง 2 พิธีที่ให้ความสำคัญ คือ ศีลล้างบาป (ศีลจุ่ม หรือบัพติสมา) และ ศีลมหาสนิท

    4 ประมุขสูงสุด
    คริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก มี พระสันตะปาปา (Pope) เป็นพระประมุขสูงสุด มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ สำนักวาติกัน (Vatican) ในนครรัฐวาติกัน ภายในกรุงโรม พระสันตปาปาสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอัครสาวกสิบสององค์ ถือว่า นักบุญปีเตอร์ (นักบุญเปโตร) เป็นพระองค์แรก และสืบทอดเรื่อยมาถึงปัจจุบัน โดยพระสันตะปาปา เบนิดิกต์ที่ 16 องค์ปัจจุบัน ทรงเป็นองค์ที่ 265

    5 วันสำคัญ
    นิกายโรมันคาทอลิก โดยสำนักวาติกัน มีการกำหนดวันฉลองมากกว่านิกายอื่น (มักเกี่ยวกับพระแม่มารีและนักบุญ) ซึ่งถูกบรรจุไว้ในปฏิทินโรมันคาทอลิก

    รายละเอียด วันสำคัญทางคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ดูที่บทความหลัก วันสำคัญทางคริสต์ศาสนา
    6 คำเรียก (เฉพาะในไทย)
    ในภาษาอังกฤษเรียกคริสต์ศาสนาทุกนิกายเหมือนกันว่า "คริสเตียน" ซึ่งแปลตรงตัวว่า "คริสตศาสนิกชน" แต่ในประเทศไทย มักเรียกคริสตศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกว่า "คริสตัง" และเรียกนิกายโปรเตสแตนต์ว่า "คริสเตียน" เนื่องจากนิกายโรมันคาทอลิก เข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่ก่อนสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยบาทหลวงชาวโปรตุเกส ซึ่งในภาษาโปรตุเกสคำว่า คริสศาสนิกชน ออกเสียงว่า "คริสตัง" ชาวไทยจึงติดปากเรียกผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกว่า "คริสตัง"

    ขณะที่ นิกายโปรเตสแตนต์ เข้ามาเผยแพร่ภายหลัง คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคณะมิชชันนารี สมัยเดียวกับหมอบรัดเลย์ ชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกตัวเองว่า "คริสเตียน" ตามภาษาอังกฤษ

    คำเรียกนี้เช่นเดียวกับพระนาม "เยซู" ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกส รวมถึงคำเรียกต่างๆ ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ และศาสนพิธีคาทอลิก (เช่น "มิสซา") แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ยังคงใช้ทับศัพท์ตามภาษาโปรตุเกสเรื่อยมา เพราะคนไทยคุ้นปากเสียแล้ว






    .

    ตอบลบ
  19. ประวัติศาสตร์ของนิกายโรมันคาทอลิก

    นิกายโรมันคาทอลิกมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ นักบุญเปโตร ได้รับการสถาปนาจากพระเยซูให้เป็นผู้ดูแลพระศาสนจักร อาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นสันตะปาปาคนแรกที่ทุกคนต้องยอมรับนับถือและมีศรัทธาเชื่อฟังในฐานะ " ผู้ดูแลฝูงแกะ" ของพระเจ้า ความคิดแบบนี้ได้สืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบัน พระสันตะปาปาจึงมิได้อยู่ในฐานะนักบวชเท่านั้น แต่เป็นประมุขสูงสุดของศาสนจักรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามคำสั่ง นิกายโรมันคาทอลิกจึงเป็นนิกายที่มุ่งมั่นให้สัตบุรุษมีศรัทธา และปฏิบัติตามพระศาสนจักร เพราะศาสนจักรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งสวรรค์ และเป็นองค์การที่สามารถนำประชาชนไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามภาระกิจ ที่พระเจ้าได้มอบไว้

    เดิมทีศาสนาคริสต์ยังไม่แบ่งแยกเป็นนิกาย ต่อเมื่อเกิดการแยกตัวของนิกายใหม่ ผู้ปฏิบัติในแนวทางเดิม (ที่ผ่านการเติบโตและดัดแปลงจากสมัยนักบุญเปโตร) จึงได้รับการแยกแยะว่าเป็นนิกายดั้งเดิม แตกต่างจากนิกายใหม่ เหตุการณ์แบ่งแยกครั้งแรกเกิดในรัชสมัยของ จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine the Great) เมื่อพระองค์ได้ตั้งราชธานีใหม่ในภาคตะวันออก แถบประเทศตุรกีในปัจจุบัน พระราชทานนามว่า "คอนสแตนติโนเปิล" (Constantinople) หรือ โรมันตะวันออก ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ อาณาจักรไบแซนไทน์ (Byzantine) อาณาจักรนี้มีความอิสระแยกออกจาก โรมันตะวันตก ซึ่งมี กรุงโรม (Rome) เป็นศูนย์กลาง แต่เมื่อนานวันอาณาจักรโรมันตะวันออกมีความเข้มแข็งและเป็นอิสระในทุกด้าน จึงตีตนออกห่าง แยกการปกครองเป็นเอกเทศ รวมถึงการปกครองทางศาสนา มีความเป็นอิสระจากกรุงโรม ไม่ยอมรับในพระราชอำนาจของพระสันตะปาปา จึงทำให้เกิดการแตกแยกออกเป็นนิกาย กล่าวคือ อาณาจักรโรมันตะวันตกได้รับอิทธิพลจากสำนักวาติกัน ซึ่งการศาสนามีบทบาทกลมกลืนกับสังคมและการเมือง นับถือ นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนอาณาจักรโรมันตะวันออกได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของเอเชีย นับถือ นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์







    .

    ตอบลบ
  20. นิกายในศาสนาคริสต์


    นิกายในศาสนาคริสต์ (อังกฤษ: Christian denominations) คือการแบ่งสาขาของศาสนาคริสต์ตามแนวปรัชญาและหลักการปฏิบัติ ในแต่ละกลุ่มก็แบ่งย่อยเป็นลัทธิ รายการข้างล่างนี้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

    นิกายโรมันคาทอลิก
    คณะเบ็นนาดิคติน
    คณะฟรานซิสกัน
    คณะออกัสติเนียน
    คณะโดมินิกัน
    คณะคาร์เมไลท์
    คณะคาร์ทูเซียน
    คณะซิสเตอร์เชียน
    คณะเยซูอิด
    คณะเซนต์จอห์นแห่งเยรุซาเล็ม
    เป็นต้น

    นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์
    นิกายรัสเซียออร์โธด็อกซ์
    นิกายกรีกออร์โธด็อกซ์ (Greek Orthodox Church)
    นิกายโอเรียนทัลออร์โธด็อกซ์
    นิกายคอปติกออร์โธด็อกซ์
    นิกายอังกลิคัน
    นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์
    นิกายเชิร์ชออฟไอร์แลนด์ (Church of Ireland)
    นิกายเชิร์ชออฟสกอตแลนด์ (Church of Scotland)
    นิกายโปรเตสแตนต์ นิกายย่อยที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ก็ได้แก่
    นิกายแอนาแบ็พทิสต์ (Anabaptist)
    นิกายแบ็พทิสต์ (Baptist)
    นิกายเมธอดิสต์ (Methodist)
    นิกายเพรสไบทีเรียน (Presbyterian)
    กลุ่มคริสตจักรปฏิรูป
    ลัทธิคริสต์ศาสนปฏิรูปสวิสเซอร์แลนด์ (Restored Reformed Church)
    ลัทธิคริสต์ศาสนปฏิรูปสหพันธ์เยอรมนี (Reformed Alliance in Germany)
    ลัทธิคริสต์ศาสนปฏิรูปเนเธอร์แลนด์ (Netherlands Reformed Churches)
    ลัทธิคริสต์ศาสนปฏิรูปฟื้นฟู (Restored Reformed Church)
    นิกายยูนิทาเรียน (Unitarian)
    นิกายทรูจีซัส


    ข้อสังเกต: รายนามนิกายหรือลัทธิในบทความนี้เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์แต่เป็นรายนามที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยวางพื้นฐานกว้างถึงความสัมพันธ์ของนิกายหรือลัทธิหลักๆ ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ประมาณกันว่านิกายหรือลัทธิในศาสนาคริสต์มีด้วยกันกว่า 38,000 นิกาย







    .

    ตอบลบ
  21. อักษรละติน


    อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม และ ประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น)


    ประวัติ

    อักษรละตินเริ่มแรกมี เพียง 21 ตัว ได้แก่ A B C D E F G H I K L M N O P Q R S T V X โดยอักษร J U W Y Z ได้เพิ่มมาทีหลัง และ J เป็นอักษรตัวสุดท้ายที่เพิ่มเข้ามา

    จารึกอักษรละตินเก่าสุดมีอายุราว 57 ปีก่อนพุทธศักราช พัฒนามาจากอักษรอีทรัสคันเมื่อราว 100 ปีก่อนหน้านั้น อักษร Y และ Z นำมาจากอักษรกรีก เพื่อเขียนคำยืมจากภาษากรีก อักษรอื่นถูกเพิ่มเติมเข้ามาตามลำดับเวลา







    .

    ตอบลบ
  22. สถาปัตยกรรมโรมัน


    สถาปัตยกรรมโรมัน (อังกฤษ: Architecture of ancient Rome) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของโรมันโบราณที่ประยุกต์มาจากสถาปัตยกรรมกรีกตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของตนเอง ลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งสองถือว่าเป็น “สถาปัตยกรรมคลาสสิค”

    นอกจากลักษณะสถาปัตยกรรมที่นำมาจากกรีกแล้วโรมันยังรับอิทธิพลเกี่ยวเนื่องเช่นการสร้าง “ห้องทริคลิเนียม” (Triclinium) ในคฤหาสน์โรมันเป็นห้องกินข้าวอย่างเป็นทางการ และจากผู้ที่มีอำนาจมาก่อนหน้านั้น--วัฒนธรรมอีทรัสคัน--โรมันก็นำความรู้ต่างทางสถาปัตยกรรมมาประยุกต์ใช้เช่นการใช้ระบบไฮดรอลิคและการก่อสร้างซุ้มโค้ง

    ปัจจัยทางสังคมเช่นความมั่งคั่งและจำนวนประชากรที่หนาแน่นในมหานครทำให้โรมันต้องพยายามหาหนทางใหม่ในการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมอันเป็นผลที่ตามมา การใช้ ยอดโค้ง (Vault) และ ซุ้มโค้ง ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับวัสดุสำหรับการก่อสร้างเป็นต้นที่สามารถทำให้โรมันประสบกับความสำเร็จเช่นที่ไม่เคยมีมาก่อนในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตน่าประทับใจสำหรับสาธารณชน ตัวอย่างเช่นสะพานส่งน้ำโรมัน, โรงอาบน้ำไดโอคลีเชียน และ โรงอาบน้ำคาราคัลลา, บาซิลิกา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือโคลอสเซียมในกรุงโรม ซึ่งกลายมาเป็นแบบจำลองในการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันที่มีขนาดย่อมกว่าตามมหานครและนครต่างๆ ไปทั่วทั้งจักรวรรดิ สิ่งก่อสร้างบางชิ้นก็ยังหลงเหลืออยู่ในรูปแบบที่เกือบสมบูรณ์เช่นกำแพงเมืองลูโกในฮิสปาเนียทาร์ราโคเนนซิสทางตะวันตกเฉียงเหนือของสเปน

    การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตนอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางสถาปัตยกรรมแล้วก็ยังเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อถึงความเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิโรมันอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากตึกแพนธีอันโดยเฉพาะในการสร้างใหม่ตามแบบของจักรพรรดิเฮเดรียนที่ยังคงตั้งอยู่อย่างสง่างดงามเช่นเมื่อสร้างใหม่ นอกจากแพนธีอัน จักรพรรดิเฮเดรียนก็ยังทรงทิ้งร่องรอยทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ทางตอนเหนือของบริเตนในรูปของกำแพงเฮเดรียนที่ใช้เป็นเส้นพรมแดนทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิ และเมื่อพิชิตสกอตแลนด์เหนือขึ้นไปจากกำแพงเฮเดรียนได้ ก็ได้มีการสร้างกำแพงอันโตนินขึ้น






    .

    ตอบลบ