ช.พ.ส. |
ประวัติโดยย่อของการจัดตั้งองค์กร ช.พ.ส. คลิก
“การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนสมาชิกคุรุสภาในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกุศล คือ
- ช่วยจัดงานศพคู่สมรสสมาชิก ช.พ.ส.
- สงเคราะห์ในเรื่องการเงินแก่สมาชิก ช.พ.ส. เมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรม การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม เรียกโดยย่อว่า ช.พ.ส.
1. ผู้มีสิทธิสมัครสมาชิก ช.พ.ส.
ต้องเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อย่างใด
อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ี่
อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ี่
- ครู
- คณาจารย์
- ผู้บริหารสถานศึกษา
- ผู้บริหารสถานศึกษา
- บุคลากรทางการศึกษาอื่น
- ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา หรือ
- เป็นสมาชิกคุรุสภา(สมาชิกคุรุสภาอาจสังกัดกระทรวงอื่นอันเนื่องมาจาก
การโอนตามกฎหมาย ต้องเป็นสมาชิกคุรุสภาก่อน 12 มิถุนายน 2546)
2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิก ช.พ.ส.
ผู้สมัครจะต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปี หรือตามประกาศของคณะกรรมการ ช.พ.ส. เป็นกรณีๆ ซึ่งได้ปฏิบัติงานด้าน การศึกษาตามข้อ 1 คือ
3. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิก ช.พ.ส. ต้องเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคล ดังกล่าวในข้อ 1
4. เอกสารหลักฐานในการสมัครสมาชิก ช.พ.ส.
ผู้สมัครสมาชิก ช.พ.ส.
- ชุดใบสมัครสมาชิก ช.พ.ส. ประกอบด้วย
- ใบสมัครสมาชิก ช.พ.ส. (ชพส.1)
- ใบรับรองแพทย์ (ชพส.2)
- หนังสือรับรอง ชพส.4/1 (ของคู่สมรสผู้สมัครที่เป็นบุคลากรทางการศึกษา)- บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริง พร้อมสำเนา
- ใบสำคัญการสมรส ฉบับจริง พร้อมสำเนา
- สำเนาคำร้องการใช้คำนำหน้าและชื่อสกุลเดิม (กรณีจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายใหม่)
- สำเนาคำร้องการใช้ชื่อสกุลเดิม (กรณีหย่าแล้วจดทะเบียนสมรสใหม่)
- สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล (ถ้ามี)
คู่สมรสของผู้สมัครที่เป็นบุคลากรทางการศึกษา
- สำเนาบัตรข้าราชการ / บัตรเจ้าหน้าที่ของรัฐ / หรือบัตรอื่น ๆ ตามแบบที่หน่วยงานกำหนด
- คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน หรือสัญญาจ้าง
- หนังสือรับรองตามแบบ ชพส.4/1
- เงินค่าสมัคร 50 บาท และเงินสงเคราะห์ล่วงหน้าตามที่กำหนด ผู้สมัครที่ยื่นใบสมัครอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความที่ควรแจ้งให้ทราบ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเป็น สมาชิก ผู้นั้นไม่มีสิทธิเป็นสมาชิก และไม่ได้รับเงินสงเคราะห์ จาก ช.พ.ส.
- สำเนาคำร้องการใช้คำนำหน้าและชื่อสกุลเดิม (กรณีจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายใหม่)
- สำเนาคำร้องการใช้ชื่อสกุลเดิม (กรณีหย่าแล้วจดทะเบียนสมรสใหม่)
- สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล (ถ้ามี)
* ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเอง
Download ใบสมัคร ชพส. ( คลิก)
แบบฟอร์มการสมัครสมาชิก ช.พ.ส.
แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ใช้ในงาน ช.พ.ส.
ที่มา :: http://www.otepbangkok.com/index5.html
http://www.otep.go.th/index.php/2013-08-21-08-15-55.html
การให้บริการสงเคราะห์ครอบครัว
ตอบลบการให้บริการสงเคราะห์ครอบครัว ช.พ.ส.
เมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม บุคคลในครอบครัวของสมาชิกมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 เงินค่าจัดการศพ จ่ายทันทีที่ได้รับแจ้งการถึงแก่กรรม ช.พ.ส. รายละ 50,000 บาท
* ผู้มีสิทธิรับเงินยื่นเรื่องขอรับเงินค่าจัดการศพ ได้ที่สำนักงาน สกสค.จังหวัด/กรุงเทพฯ สำนักการศึกษา สำนักงาน ช.พ.ส. ที่สมาชิกถึงแก่กรรมสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี
ประเภทที่ 2 เงินสงเคราะห์ครอบครัว จำนวนเงินตามที่เก็บได้จากเพื่อนสมาชิกที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยหักค่าจัดการศพ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแล้ว
* ปัจจุบันนี้ จ่ายโดยประมาณ ช.พ.ส. รายละ 210,000 บาท
สำนักสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ช.พ.ค. 0 2288 4533
ช.พ.ส. 0 2288 4560
หน้าที่ที่ ช.พ.ส. จะต้องปฏิบัติ
ตอบลบ5. สมาชิก ช.พ.ส. มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ดังนี้
5.1 จะต้องชำระเงินค่าสงเคราะห์รายศพ ให้แก่เพื่อนสมาชิกที่ถึงแก่กรรม ทุกๆ เดือน ในอัตรา ดังนี้
ช.พ.ส. อัตราค่าสงเคราะห์รายศพ ๆ ละ 1 บาท หน่วยรับเงิน ช.พ.ส. จะออกหลักฐานการรับเงินให้ดังนี้ คู่สมรสสมาชิก ช.พ.ส. ที่ได้รับเงินเดือนจะต้องยินยอม ให้หักเงิน ณ ที่จ่าย โดยหน่วยรับเงินจะออกใบเสร็จ รับเงินรวม ให้แก่หน่วยงานที่เป็นผู้หักเงินเดือน ณ ที่จ่าย โดยมีงบหน้าแสดงบัญชีรายชื่อของสมาชิกเป็นเอกสารประกอบ การรับเงิน หน่วยงานรับเงิน ช.พ.ค. และ ช.พ.ส. ที่ได้รับเงินจากหน่วยหักเงินเดือน ณ ที่จ่าย จะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองการชำระเงินสงเคราะห์รายศพ ให้แก่สมาชิกเป็นรายบุคคล ทุก 6 เดือน (สิ้นเดือนมิถุนายนและธันวาคมของทุกปี) หรือ ในกรณีที่สมาชิกแจ้งความประสงค์ขอให้รับรองการชำระเงินเป็นกรณีๆ ไป ก็ได้ สมาชิกที่ไม่มีเงินเดือน ให้ หัก ณ ที่จ่าย จะต้องมาชำระด้วยตนเองทุกเดือน หรือฝากชำระเป็นรายปี ณ หน่วยงาน ช.พ.ส. ที่สมาชิกสังกัด โดยหน่วยรับเงิน ช.พ.ส. จะออกใบเสร็จรับเงินให้แก่สมาชิก
5.2 สมาชิกย้ายที่อยู่หรือสถานที่ชำระเงิน สมาชิกต้องแจ้งการย้ายที่อยู่หรือสถานที่ชำระเงินให้คุรุสภาหน่วยงานที่ตน สังกัดเดิมทราบภายใน 7 วัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของสมาชิก การแจ้งย้ายเข้าที่คุรุสภาสังกัดใหม่ โดยไม่ได้แจ้งย้ายจาก สังกัดเดิม อาจทำให้เกิดการสับสน เป็นเหตุให้รายชื่อของท่านตกหล่น หรือมีปัญหาภายหลังได้
5.3 กรณีสมาชิกเปลี่ยนแปลง ชื่อ - สกุล หรือเปลี่ยนประวัติส่วนตัว ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลง ณ หน่วยงาน ที่สมาชิก สังกัดอยู่โดยด่วน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของท่าน
6. สมาชิกจะถูกถอนชื่อให้พ้นจากการเป็นสมาชิก ช.พ.ส.
สำนักงาน ช.พ.ส. จะถอนชื่อสมาชิกที่ค้างชำระเงินสงเคราะห์รายศพ ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ผู้ที่ถูกถอนชื่อจะไม่ได้รับ การสงเคราะห์จาก ช.พ.ส. ผู้ที่ถูกถอนชื่อมีสิทธิยื่นเรื่องขอกลับเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ส. ได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการคณะกรรมการ ช.พ.ส. กำหนด เมื่อคณะกรรมการ ช.พ.ส. อนุมัติรับเข้าเป็นสมาชิกจึงจะมีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ จาก ช.พ.ส.
7. กรณีที่ถูกไล่ออก ปลดออกจากราชการ ยังคงมีสิทธิการเป็นสมาชิก ช.พ.ส. ได้
สมาชิก ช.พ.ส. ที่พ้นจากสมาชิกภาพ ช.พ.ส. เพราะเหตุคู่สมรสที่เป็นสมาชิกคุรุสภา ถูกปลดออก ไล่ออก จากราชการ ให้ยังคงเป็นสมาชิก ช.พ.ส. ได้ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของสมาชิก จะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดเก็บเงิน ค่าสงเคราะห์รายศพ ให้หน่วยงานที่สมาชิกสังกัดทราบ
8. สมาชิก ช.พ.ส. ที่หย่าต้องยื่นขอดำรงสมาชิกภาพ ช.พ.ส. กรณีหย่า
ตามระเบียบ ช.พ.ส. พ.ศ. 2550 ผู้ที่พ้นจากสมาชิกภาพ ช.พ.ส. กรณีหย่าและชำระเงินสงเคราะห์รายศพเป็นปัจจุบันขอดำรงสิทธิฯ ได้ โดยการยื่นคำขอดำรงตามแบบที่ ช.พ.ส. กำหนด พร้อมสำเนาใบสำคัญการหย่าและแบบคำขอระบุ (ชพส.8) ของผู้มีสิทธิรับเงินต่อประธานกรรมการ ช.พ.ส. ภายใน 60 วัน นับแต่ได้หย่า ส่วนสมาชิกที่มิได้ชำระเงินสงเคราะห์รายศพหรือกระทำภายในเวลากำหนดเวลา ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมในการขอดำรงฯ จำนวน 650 บาท พร้อมแนบใบรับรองแพทย์ (ชพส.2) (ทั้งกรณีกลับมาจดทะเบียนกับคู่สมรสคนเดิม และไม่ได้กลับมาจดทะเบียนกับคู่สมรสคนเดิม)
9. การระบุผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ช.พ.ส.
ตามระเบียบ ช.พ.ส.?พ.ศ. 2550 กำหนดให้สมาชิก ช.พ.ส. ที่ไม่มีบุคคล ในครอบครัว ได้แก่ บิดา - มารดา คู่สมรส บุตรชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงบุตรนอกสมรส ที่บิดารับรองแล้ว จึงจะมีสิทธิระบุสิทธิ รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ให้แก่ผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตร หรือผู้อุปการะ หรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค ์เพื่อ การสงเคราะห์ครู หรือเพื่อเป็นทุนการศึกษาได้ สำหรับสมาชิก ช.พ.ส. ที่ได้ทำการระบุสิทธิรับเงินไว้แล้วตามระเบียบเดิม ให้ยังคง ได้รับสิทธิตามที่ทำการ ระบุไว้แล้ว ไม่ต้องทำการระบุใหม่
การยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวจะกระทำได้เมื่อพ้นกำหนดเวลาสี่ปี นับแต่วันที่มีการระบุสิทธิ
10. กรณีคู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส. ถึงแก่กรรม ให้สมาชิก ช.พ.ส. แจ้ง "ขอดำรงสมาชิกภาพ ช.พ.ส.กรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม" ด้วย โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้
1. แบบ ชพส.21 (เป็นแบบที่สำนักงานฯ กำหนด สามารถดาว์นโหลดได้จากเว็ปไซด์)
2. มรณบัตรคู่สมรส จำนวน 1 ฉบับ
3. ใบสำคัญการสมรส จำนวน 1 ฉบับ (พร้อมแสดงฉบับจริง)
4. ทะเบียนบ้านของสมาชิก ช.พ.ส.
5. ใบเสร็จรับเงินสงเคราะห์รายศพงวดปัจจุบัน
6. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ - ชื่อสกุล (ถ้ามี)
สำนักสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ช.พ.ค. 0 2288 4534
ช.พ.ส. 0 2288 4506
ผู้มีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์
ตอบลบผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์จาก ช.พ.ส.
ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ ช.พ.ส. ได้แก่ บุคคลในครอบครัวของสมาชิกที่ถึงแก่กรรม ตามลำดับก่อนหลัง ดังนี้
(1) คู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส. ที่ระบุไว้ในใบสมัคร
(2) บุตรของสมาชิก ช.พ.ส. และบุตรของคู่สมรสสมาชิก ช.พ.ส.
(3) บิดามารดาของสมาชิก ช.พ.ส. และบิดามารดาของคู่สมรสของ สมาชิก ช.พ.ส.
(4) ผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตรของสมาชิก ช.พ.ส.
(5) ผู้อุปการะสมาชิก ช.พ.ส.
* หากผู้มีสิทธิรับเงินในแต่ละลำดับยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่อยู่ในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิได้รับ การสงเคราะห์
* ผู้ขอรับเงินค่าจัดการศพ ช.พ.ส. นอกจากจะต้องเป็นบุคคลตามลำดับก่อนหลัง ดังกล่าวแล้ว หากไม่ได้เป็นคู่สมรส ต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรองว่าเป็นผู้จัดการศพตามแบบ ที่ช.พ.ส.กำหนด หรือตามแบบของวัดหรือสถานที่ประกอบ พิธีทางศาสนาที่มีข้อความครบถ้วน เช่นเดียวกันก็ได้
* ในกรณีที่สมาชิก ช.พ.ส. หย่ากับคู่สมรสและดำเนินการตามระเบียบ ช.พ.ส. โดยขอดำรงสมาชิกภาพ และขอกลับ เข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ส. ตามเดิม ได้ระบุผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ ครอบครัว ช.พ.ส. จะจ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัว ให้แก่ บุคคลที่สมาชิก ช.พ.ส. ได้ระบุให้
สำนักสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ช.พ.ค. 0 2288 4533
ช.พ.ส. 0 2288 4560
การยื่นเรื่องขอเงินค่าจัดการศพ
ตอบลบเอกสารหลักฐานในการยื่นเรื่องขอรับเงินค่าจัดการศพ ช.พ.ส.
กรณีขอรับเงินค่าจัดการศพ ช.พ.ส.
มรณบัตรของสมาชิกที่ถึงแก่กรรม จำนวน 3 ฉบับ (แสดงฉบับจริงด้วย)
ใบสำคัญการสมรส จำนวน 2 ฉบับ (แสดงฉบับจริงด้วย)
หนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ (ตามแบบที่สำนักงาน ช.พ.ส. กำหนด)
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงิน จำนวน 2 ฉบับ
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงิน จำนวน 3 ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้านของสมาชิกผู้ถึงแก่กรรม จำนวน 2 ฉบับ (ฉบับที่จำหน่ายถึงแก่กรรมแล้ว)
ใบเสร็จรับเงินงวดปัจจุบัน หรือหนังสือรับรองการชำระเงินสงเคราะห์รายศพ
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยของผู้มีสิทธิรับเงิน จำนวน 2 ฉบับ
คำสั่งศาลกรณีเป็นคนสาปสูญ
สำนักสวัสดิภาพและความมั่นคงของครูฯ
ช.พ.ค. 0 2288 4533
ช.พ.ส. 0 2288 4560
การยื่นเรื่องขอเงินสงเคราะห์
ตอบลบเอกสารหลักฐานในการยื่นเรื่องขอรับการสงเคราะห์ ช.พ.ส.
กรณีขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ช.พ.ส.
มรณบัตรของสมาชิกที่ถึงแก่กรรม จำนวน 3 ฉบับ (แสดงฉบับจริงด้วย)
ใบสำคัญการสมรส จำนวน 2 ฉบับ (แสดงฉบับจริงด้วย)
หนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ (ตามแบบที่สำนักงาน ช.พ.ส. กำหนด)
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงิน จำนวน 2 ฉบับ
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงิน จำนวน 3 ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้านของสมาชิกผู้ถึงแก่กรรม จำนวน 2 ฉบับ (ฉบับที่จำหน่ายถึงแก่กรรมแล้ว)
ใบเสร็จรับเงินงวดปัจจุบัน หรือหนังสือรับรองการชำระเงินสงเคราะห์รายศพ
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยของผู้มีสิทธิรับเงิน จำนวน 2 ฉบับ
คำสั่งศาลกรณีเป็นคนสาปสูญ
สำนักสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ช.พ.ค. 0 2288 4533
ช.พ.ส. 0 2288 4560
ประวัติโดยย่อของการจัดตั้งองค์กร ช.พ.ส.
ตอบลบตามนัยแห่งพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 มาตรา 6(5) บัญญัติ ว่า หาทางให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือและอุปการะตามสมควร คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเมื่อ พ.ศ.2516 มีความเห็นว่าเพื่อนครูส่วนมากมีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ เมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรม ย่อมเดือดร้อนในเรื่องจัดการศพ จึงมอบให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา หาทางช่วยเหลือเพื่อนครูในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม โดยการออกระเบียบคุรุสภา ว่าด้วยองค์การช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกคุรุสภา ในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม พ.ศ. 2516 เรียกโดยย่อว่า ช.พ.ส. มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสงเคราะห์ในเรื่องการเงินในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม โดยมีเงื่อนไขว่าองค์กรนี้จะดำเนินการสงเคราะห์ในเรื่องการเงินแก่สมาชิกใน กรณีคู่สมรสถึงแก่กรรมตามระเบียบนี้ได้ เมื่อผู้สมัครสมาชิกครบ 20,000 คน ภายในระยะ 1 ปี นับแต่วันใช้ระเบียบนี้ เมื่อครบ 1 ปีแล้ว มีสมาชิกไม่ถึง 20,000 คนคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาในการประชุมครั้งที่ 13/2518 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2518 จึงได้ขยายเวลาการรับสมัครออกไปอีก จนได้สมาชิกสมัครเป็นสมาชิก ช.พ.ส. รวมทั้งสิ้น 20,600 คน จึงได้แก้ไขระเบียบ พ.ศ. 2516 ให้สอดคล้องกับกระทรวงมหาดไทย จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อองค์กร ช.พ.ส. เป็น “การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนสมาชิกคุรุสภาในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม” และ ประกาศใช้ระเบียบคุรุสภาว่าด้วยการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนสมาชิก คุรุสภา ในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม พ.ศ. 2518 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกุศล คือ
1. ช่วยจัดงานศพคู่สมรสสมาชิก ช.พ.ส.
2. สงเคราะห์ในเรื่องการเงินแก่สมาชิก ช.พ.ส. เมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรม การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม เรียกโดยย่อว่า ช.พ.ส.