ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี ได้เริ่มเริ่มทำการสอนเมื่อวันที่ 21 กันยายน ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)โดย พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัฒนา ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลอุดร ทรงเป็นผู้สร้างและประทานนาม "อุดรพิทยานุกูล" โดยครั้งแรกสร้างขึ้นที่ณ บริเวณวัดสีมาวาส (วัดมัชฌิมาวาส) โดยอาศัยศาลา การเปรียญวัดเป็นสถานที่เรียน ผู้เรียนผู้ทีสอนมีทั้งฆราวาสและบรรพชิต อีก ๙ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๕๔) ได้ย้ายสถานที่เรียนมาตั้ง ในบริเวณวิทยาลัยเทคนิคในปัจจุบัน ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับวัดสีมาวาส และที่นี่เองอุดรพิทยานุกูลเริ่มมีอาคารเรียนไม้ชั้นเดียว เป็นครั้งแรกโดยท่านพระสีมา เจ้าอาวาสวัดสีมาวาสเป็นผู้บอกบุญผู้มีจิตศรัทธาชาวอุดรธานีมาร่วมกันสร้าง อาคารอนุสรณ์ที่เกิดแรงศรัทธาแรงใจและแรงกายแห่งนี้ได้เป็นที่อาศัยศึกษาหาความรู้ของบุตรหลานชาวอุดรธานีและจังหวัด
ใกล้เคียงในฐานะโรงเรียน ประจำมณฑลอุดรธานีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ใกล้เคียงในฐานะโรงเรียน ประจำมณฑลอุดรธานีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ครั้นโรงเรียนประจำมณฑลได้รับความนิยมจากประชาชมที่เห็นความสำคัญของการศึกษา ได้ส่งบุตรหลานเข้าเรียนมากขึ้น จนสถานที่เรียนเริ่มคับแคบจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันนี้ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๗๘ โดยมี ม.ล.มานิจ ชุมสาย ข้าหลวงมณฑล อุดรธานีในสมัยนั้น เข้าดำรงตำแหน่งครูใหญ่เป็นคนแรก ท่านดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนไม้ใต้ถุนโล่งมีลักษณะอาคารเป็นรูป ตัวอี เป็นหลังแรก
อาคารรูปตัวอี อาคารหลังแรกในที่ตั้งปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้สร้างอาคารไม้ ๒ ชั้นจำนวน ๘ ห้องเรียน เพื่อรองรับการขยายตัวทางการศึกษาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และในระยะต่อมาก็ได้มีการสร้างอาคารอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น โรงฝึกพลศึกษา อาคารห้องสมุด อาคารสังคม และดนตรี หอประชุม และโรงอาหาร อาคารต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้รื้อถอนไปหมดแล้วในระยะหลังเนื่องจากมีสภาพทรุด โทรมมากไม่เหมาะสมที่จะให้บริการนักเรียนอีกต่อไป
พ.ศ. ๒๕๑๑ โรงเรียนได้เริ่มใช้หลักสูตรโรงเรียนมัธยมแบบประสม แบบ ๑ รุ่น ๒ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ตามโครงการพัฒนา การของกระทรวงศึกษา โรงเรียนได้รับเงินช่วยเหลือในการปรับปรุงอาคารสถานที่มากมาย เพื่อให้สถานที่เพียงพอสำหรับการ เรียนการสอน ทั้งด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพ ในระยนั้นได้มีการสร้างอาคารต่างๆ เพิ่ม เติมหลายหลัง อาทิ เช่น อาคารวิทยาศาสตร์และห้องสมุด ๑ หลัง สำหรับช่างทั่วไปและเขียนแบบ ช่างไฟฟ้าวิทยุ ช่างยนต์และช่าง กล อย่างละ ๑ หลัง อาคารเกษตรกรรมศิลป์ ๑ หลัง บ้านพักอาจารย์ใหญ่ บ้านพักครู และบ้านพักเจ้าหน้าที่ภารโรง รวม ๑๒ หลัง
พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๗ โรงเรียนได้รับงบประมาณมาก่อสร้างอาคารธุรกิจศึกษา ๑ หลัง โรงฝึกพลศึกษา ๑ หลัง บ้านพักครูและบ้าน พักเจ้าหน้าที่ภารโรง และห้องสุขาเพิ่มเติมพร้อมกับปรับปรุงรั้วและประตูโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๑๘ โรงเรียนได้รับงบประมาณสำหรับก่อสร้างอาคารเรียนขนาดใหญ่แบบ ๔๒๔ (อาคารเรียน ๔ ชั้น ๒๔ ห้องเรียน) อาคาร ๔ ปัจจุบัน อาคารที่ได้รับการก่อสร้างเป็น ๒ ตอน ครึ่งแรกสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ครึ่งหลังสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ และในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ นี้เอง โรงเรียนได้รับความกรุณาจากกระทรวงมหาดไทยยกที่ดินบริเวณบ้านพักอัยการพิเศษประจำ เขต ๔ เนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๕๐ ตารางวา ด้านทิศตะวันตกของโรงเรียน เพื่อขยายบริเวณที่จะปรับปรุงเป็นสนามกีฬาระดับมาตร ฐาน ในระยะเวลาใกล้เคียงนี้ก็ได้มีการปรับปรุงและสร้างสนามบาสเก็ตบอล อัฒจันทร์เชียร์ และสร้างหลังคาสำหรับทางเดินเชื่อม ระหว่างอาคารเรียนตามลำดับ
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ดำเนินการสร้างอาคารสหกรณ์โดยได้รับการอนุเคราะห์เงินบริจาคสมทบส่วนหนึ่งจากคณะครู-อาจารย์ และ ผู้ปกครองนักเรียน และได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารธรรมสถาน ซึ่งเป็นอาคารธรรมสถานหลังแรกของประเทศไทยที่สร้างในสถาน ศึกษาตามนโยบายนำวัดและศาสนาเข้ามาสู่โรงเรียน และโรงเรียนได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการ สร้างในครั้งนี้ด้วย
"ธรรมสถานเอกอาคาร ตระการศักดิ์และศรี ทวีเกียรติทะนง"
พ.ศ. ๒๕๒๔ โรงเรียนได้รับงบประมาณมาก่อสร้างอาคารเรียนขนาดใหญ่แบบ ๔๒๔ เพื่อแก้ปัญหาห้องเรียนไม่พอ อาคารเรียน หลังนี้สร้างเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ตั้งชื่ออาคารนี้ว่า "อาคารรัตนโกสินทร์สมโภช" เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวาระการฉลองครบ ๒๐๐ ปี พร้อมกันนี้ได้มีการจัดทำสนามหญ้าและสวนหย่อมขนาดใหญ่หน้าอาคารรัตนโกสินทร์สมโภช ในบริเวณอาคารไม้รูปตัว อี ที่ถูกรื้อถอนย้ายไปปลูกสร้างใหม่ ซึ่งเป็นอาคาร ๓ ในปัจจุบัน
อาคารรัตนโกสินทร์สมโภช ๒๕๒๕ (อาคาร ๑)
และในระยะเดียวกันโรงเรียนได้จัดสร้างอาคารอเนกประสงค์เพื่อใช้ เป็นอาคารห้องสมุด หอประชุม และสำนักงานของหน่วยงานต่างๆ อาคารหลังนี้ได้สร้างเรียบร้อยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้มี การปรับปรุงสนามกีฬาให้มีสภาพทีสมบูรณ์ได้มาตรฐานยิ่งขึ้นได้มีการสร้างอัฒจันทร์ขนาดใหญ่แด้านทิศตะวันตก และติดตั้ง หลอดไฟสปอร์ตไลท์รอบสนามฟุตบอล อีกทั้งได้มีการสร้างสถานที่จอดรถหลายแห่ง และสร้างหลังคาทางเดินระหว่างอาคารเรียน ขึ้นใหม่แทนหลังคาทางเดินเดิมที่ถูกรื้อถอนไปในช่วงที่มีการสร้างอาคารรัตนโกสินทร์ และได้สร้างสวนหย่อมปลูกต้นไม้ ดอกไม้ นานาชนิดจำนวนมาก ซึ่งมีผลให้โรงเรียนมีสภาพร่มรื่น สวยงาม
พ.ศ.๒๕๓๓ โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างอาคารแบบ ๒๑๖ ล. ซึ่งเป็นอาคาร ๖ ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกตามแนวรั้ว โรงเรียนด้านถนนอุดรพิทย์
ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารศูนย์กีฬาอินดอร์สเตเดียมแบบมาตรฐาน ๒ ชั้นในบริเวณอาคารเกษตรและอาคาร คหกรรมเดิม
ปัจจุบันโรงเรียนอุดรพิทยานุกูลเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ๘๗ ห้องเรียน นักเรียน ๔,๘๖๙ คน ครู-อาจารย์ ๒๑๗ คน เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงดีเด่นทั้งด้านวิชาการ กีฬา และกิจกรรมต่างๆ เสมอมา
เพลงประจำสถาบัน
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
- ตราประจำโรงเรียน : เป็นรูปคบเพลิง ประกอบเปลวไฟฉายรัศมี
- คติธรรม : "นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา" (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)
- คติพจน์ : "อุดรพิทย์คือผืนนา ลูกศิษย์ลูกหาคือต้นกล้า มวลประชา ครูอาจารย์ ลูกจ้าง คือน้ำและปุ๋ย"
- สีประจำโรงเรียน มี 2 สี คือ :
สีชมพู - สีแห่งความรัก สุภาพ อ่อนน้อม
สื่อให้เห็นว่า "ลูกน้ำเงินชมพู ต้องเป็นผู้มีความน่ารัก สุภาพอ่อนน้อม หนักแน่น เข้มแข็ง กล้าหาญ และอดทน"
- ต้นไม้และดอกไม้ประจำโรงเรียน : ต้นตะแบก และดอกตะแบก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น