ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์การเรียนรู้ ประภัสรา โคตะขุน ผู้จัดทำได้รวบรวมเนื้อหารูปแบบการสอน , งานวิจัย และเกร็ดความรู้ต่างๆ ฯลฯ
NT ชื่อย่อที่มาจากคำว่า National Test คือ การประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. โดยข้อสอบมาตรฐานจากส่วนกลาง จุดประสงค์หลักก็เพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา โดยดูแนวโน้มของการพัฒนา และเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาของประเทศในภาพรวม เพื่อการดูและและติดตามการจัดการศึกษาระดับประเทศการสอบ NT กำหนดตารางการสอบ ม.3 ประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี โดยประเมินใน 5 รายวิชา ได้แก่ - คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ - ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ - สังคมศึกษา พอสอบเสร็จแล้ว ก็จะแจ้งค่าเฉลี่ยของโรงเรียนให้กับโรงเรียนนั้นๆ ทราบ โดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ .
O-NET หรือ NT คืออะไร •NT และ O-NET เป็นการทดสอบที่มีจุดหมายเดียวกัน คือประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนแต่ละโรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาทำแผนพัฒนานักเรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ รู้จักคิดวิเคราะห์ เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น เมื่อเรียนครบ 3 ปี โดยจะทดสอบที่ชั้นสูงสุดของช่วงชั้นนั้นๆ •การสอบ O-NET และ NT ใช้ข้อสอบมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ แต่ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสอบ O-NET และ NT เป็นคนละหน่วยงานกัน และ การสอบทั้งสองแบบ นักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ •NT หรือ National Test จัดสอบโดย สพฐ. หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ส่วน O-NET จัดสอบโดย สทศ. หรือสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ •ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยแบ่งเป็น 4 ช่วงชั้น (12 ปี) คือ ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) และช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6) •ในปีการศึกษา 2551 สพฐ. จะจัดสอบให้กับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 1 หรือ ป.3 ส่วน สทศ. จะจัดสอบให้กับนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 •ม.6 จะใช้ศูนย์สอบมหาวิทยาลัย 20 แห่ง สอบวิชา สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ศิลปะ และการเงินอาชีพฯ รวม 8 กลุ่มสาระฯ •ม.3 ใช้โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นสนามสอบ สอบวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา •ป.6 สอบในโรงเรียนที่นักเรียนเรียนอยู่ สอบวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ •นอกจากนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกแห่ง ยังจะจัดสอบประเมินนักเรียนทุกคนในชั้น ป.2 ป.5 และม.2 อีกด้วย เพื่อนำข้อมูลไปใช้ปรับปรุงและพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลก่อนที่จะจบช่วงชั้นในปีต่อไป •ที่ผ่านมายังไม่มีการนำผลคะแนนมาใช้อย่างจริงจัง เป็นเพียงเก็บเป็นสถิติ และวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อประเมินการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียน และนักเรียนที่มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ •เท่าที่ทราบ ในอนาคตอันใกล้ ทางกระทรวงฯ จะผลักดันให้เห็นผลที่ชัดเจนขึ้น โดยเด็กสามารถนำคะแนนที่ได้ไปใช้เป็นองค์ประกอบสอบคัดเลือกเข้า ม.1 และ ม.4 แต่… จะเป็นไปได้แค่ไหน ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และโรงเรียนใดจะนำร่อง …หรือแม้แต่ใช้เป็นองค์ประกอบการเลื่อนชั้นเรียน ถ้าใครสอบ O-NET ไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะไม่ให้เลื่อนชั้น •ฉะนั้น ! นักเรียนจะจบการศึกษาแต่ละช่วงชั้นได้ ต้องสอบ O-NET เป็นหน้าที่ •โดยเฉพาะ ม.6 จะต้องสอบ O-NET ทุกคน เพราะนอกจากจะเป็นการประเมินคุณภาพระดับชาติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว โรงเรียนยังจะนําผลคะแนนไปกรอกในแบบ ป.พ.1 ในช่องผลการประเมินระดับชาติ •นักเรียน สามารถนำคะแนนที่ได้ไปยื่นเลือกคณะ เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังมีนโยบายนํา O-NET ไปถ่วงน้ำหนักคะแนน GPA อีกด้วย .
NT ชื่อย่อที่มาจากคำว่า National Test คือ การประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. โดยข้อสอบมาตรฐานจากส่วนกลาง
ตอบลบจุดประสงค์หลักก็เพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา โดยดูแนวโน้มของการพัฒนา และเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาของประเทศในภาพรวม เพื่อการดูและและติดตามการจัดการศึกษาระดับประเทศ
การสอบ NT กำหนดตารางการสอบ ม.3 ประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี
โดยประเมินใน 5 รายวิชา ได้แก่
- คณิตศาสตร์
- วิทยาศาสตร์
- ภาษาไทย
- ภาษาอังกฤษ
- สังคมศึกษา
พอสอบเสร็จแล้ว ก็จะแจ้งค่าเฉลี่ยของโรงเรียนให้กับโรงเรียนนั้นๆ ทราบ โดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ
.
O-NET หรือ NT คืออะไร
ตอบลบ•NT และ O-NET เป็นการทดสอบที่มีจุดหมายเดียวกัน คือประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนแต่ละโรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาทำแผนพัฒนานักเรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ รู้จักคิดวิเคราะห์ เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น เมื่อเรียนครบ 3 ปี โดยจะทดสอบที่ชั้นสูงสุดของช่วงชั้นนั้นๆ
•การสอบ O-NET และ NT ใช้ข้อสอบมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ แต่ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสอบ O-NET และ NT เป็นคนละหน่วยงานกัน และ การสอบทั้งสองแบบ นักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
•NT หรือ National Test จัดสอบโดย สพฐ. หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ส่วน O-NET จัดสอบโดย สทศ. หรือสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
•ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยแบ่งเป็น 4 ช่วงชั้น (12 ปี) คือ ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) และช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6)
•ในปีการศึกษา 2551 สพฐ. จะจัดสอบให้กับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 1 หรือ ป.3 ส่วน สทศ. จะจัดสอบให้กับนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6
•ม.6 จะใช้ศูนย์สอบมหาวิทยาลัย 20 แห่ง สอบวิชา สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ศิลปะ และการเงินอาชีพฯ รวม 8 กลุ่มสาระฯ
•ม.3 ใช้โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นสนามสอบ สอบวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา
•ป.6 สอบในโรงเรียนที่นักเรียนเรียนอยู่ สอบวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
•นอกจากนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกแห่ง ยังจะจัดสอบประเมินนักเรียนทุกคนในชั้น ป.2 ป.5 และม.2 อีกด้วย เพื่อนำข้อมูลไปใช้ปรับปรุงและพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลก่อนที่จะจบช่วงชั้นในปีต่อไป
•ที่ผ่านมายังไม่มีการนำผลคะแนนมาใช้อย่างจริงจัง เป็นเพียงเก็บเป็นสถิติ และวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อประเมินการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียน และนักเรียนที่มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
•เท่าที่ทราบ ในอนาคตอันใกล้ ทางกระทรวงฯ จะผลักดันให้เห็นผลที่ชัดเจนขึ้น โดยเด็กสามารถนำคะแนนที่ได้ไปใช้เป็นองค์ประกอบสอบคัดเลือกเข้า ม.1 และ ม.4 แต่… จะเป็นไปได้แค่ไหน ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และโรงเรียนใดจะนำร่อง …หรือแม้แต่ใช้เป็นองค์ประกอบการเลื่อนชั้นเรียน ถ้าใครสอบ O-NET ไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะไม่ให้เลื่อนชั้น
•ฉะนั้น ! นักเรียนจะจบการศึกษาแต่ละช่วงชั้นได้ ต้องสอบ O-NET เป็นหน้าที่
•โดยเฉพาะ ม.6 จะต้องสอบ O-NET ทุกคน เพราะนอกจากจะเป็นการประเมินคุณภาพระดับชาติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว โรงเรียนยังจะนําผลคะแนนไปกรอกในแบบ ป.พ.1 ในช่องผลการประเมินระดับชาติ
•นักเรียน สามารถนำคะแนนที่ได้ไปยื่นเลือกคณะ เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังมีนโยบายนํา O-NET ไปถ่วงน้ำหนักคะแนน GPA อีกด้วย
.