จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่) และยังมีแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศ มีสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศและการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งตอนบนและตอนล่าง
ประวัติศาสตร์
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า บริเวณพื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี จากหลักฐานการค้นพบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหานและภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่อำเภอบ้านผือ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีระหว่างประเทศว่า ชุมชนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดอุดรธานี มีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง และอาจถ่ายทอดความเจริญนี้ไปสู่ประเทศจีนก็อาจเป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้นสันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าที่สุดของโลก
หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงแล้ว พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีกจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยทวารวดี (พ.ศ. 1200-1600) สมัยลพบุรี (พ.ศ. 1200-1800) และสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800-2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวารวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณทิวเขาภูพาน ใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชื่ออุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ พ.ศ. 2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์ และที่เมืองหนองบัวลำภูนี่เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม กล่าวคือในระหว่างปี พ.ศ. 2369-2371 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือ คุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณปี พ.ศ. 2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว
ในปี พ.ศ. 2428 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้ายกำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนและฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือ ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ ในเวลานั้นเมืองอุดรธานีก็ยังไม่ปรากฏชื่อ เพียงแต่ปรากฏชื่อ "บ้านหมากแข้ง" หรือ "บ้านเดื่อหมากแข้ง" สังกัดเมืองหนองคายขึ้นการปกครองกับมณฑลลาวพวน และกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ได้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้งไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ
ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้ว ไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศลต้องการลาว เขมร และญวนเป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตรของฝั่งแม่น้ำโขง
ดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมืองหรือมณฑลลาวพวน ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ปัจจุบัน) และหนองน้ำอีกหลายแห่งรวมทั้งห้วยหมากแข้งซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญเพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ ยิ่งกว่าเหตุผลทางการค้า การคมนาคม หรือเหตุผลอื่นดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่าง ๆ ในอดีต
อย่างไรก็ตามคำว่า "อุดร" มาปรากฏชื่อเมื่อปี พ.ศ. 2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร “โพธิ์ เนติโพธิ์”) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้ง อยู่ในการปกครองของมณฑลอุดร
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- อักษรย่อ: อด
คำขวัญประจำจังหวัด
- คำขวัญประจำจังหวัด: น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์
ตราประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เป็นพญายักษ์ถือกระบองซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2483
ธงประจำจังหวัด
เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ต้นทองกวาวหรือต้นจาน เป็นไม้ยืนต้นผลีดใบสูง 8-15 เมตรดอกใหญ่รูปดอกถั่ว สีแสด จะออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว (Butea monosperma)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: เต็ง (Shorea obtusa)
พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด
ต้นรังหรือต้นฮัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-20 เมตร ใบรูปไข่ ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
อาณาเขตติดต่อ
อุดรธานีมีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ จรดจังหวัดหนองคาย
- ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสกลนครและจังหวัดกาฬสินธุ์
- ทิศใต้ จรดจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาฬสินธุ์
- ทิศตะวันตก จรดจังหวัดเลยและจังหวัดหนองบัวลำภู
การเมืองการปกครอง
หน่วยการปกครองแบ่งออกเป็น หน่วยการปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 156 ตำบล 1,880 หมู่บ้าน 101 ชุมชน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 44 เทศบาลตำบล 132 องค์การบริหารส่วนตำบล มีจำนวนประชากรแยกเป็นชาย 768,122 คน หญิง 767,507 คน รวม 1,535,629 คน จำนวนครัวเรือน 414,868 ครัวเรือน
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 155 ตำบล 1,682 หมู่บ้าน อำเภอหมายเลข 12-16 ตามรหัสเขตการปกครองคืออำเภอในจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน
1. อำเภอเมืองอุดรธานี 2. อำเภอกุดจับ 3. อำเภอหนองวัวซอ 4. อำเภอกุมภวาปี 5. อำเภอโนนสะอาด 6. อำเภอหนองหาน 7. อำเภอทุ่งฝน 8. อำเภอไชยวาน 9. อำเภอศรีธาตุ 10. อำเภอวังสามหมอ | 11. อำเภอบ้านดุง 12. อำเภอบ้านผือ 13. อำเภอน้ำโสม 14. อำเภอเพ็ญ 15. อำเภอสร้างคอม 16. อำเภอหนองแสง 17. อำเภอนายูง 18. อำเภอพิบูลย์รักษ์ 19. อำเภอกู่แก้ว 20. อำเภอประจักษ์ศิลปาคม |
การศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี วิทยาเขตสามพร้าว
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ อุดรธานี
- วิทยาลัยอาชีวศึกษา อุดรธานี
- วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี
- สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
- มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
- วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี
- วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก อุดรธานี
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
- สวนสาธารณหนองประจักษ์ อำเภอเมืองอุดรธานี
- ภูฝอยลม อำเภอหนองแสง
- อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยหลวง อำเภอเมืองอุดรธานี
- สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ อำเภอเมืองอุดรธานี
- วนอุทยานนายูง อำเภอน้ำโสม
- อ่างเก็บน้ำพานสร้างคอม
- อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
- คำชะโนด อำเภอบ้านดุง
- ถ้ำและเพิงหินต่างๆ
- น้ำตกธารงาม
- ถ้ำสิงห์
- หนองหาน กุมภวาปี
แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
- อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมืองอุดรธานี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง อำเภอหนองหาน
- อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ
- พระพุทธบาทหลังเต่า
- พระพุทธบาทบัวบาน
- พระพุทธบาทบัวบก
- วัดป่าภูก้อน
- วัดป่าบ้านตาด
- วัดทิพยรัฐนิมิตร
- ศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี
- ศาลเจ้าปู่ย่า
- วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมืองอุดรธานี
- วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมืองอุดรธานี
- คำชะโนด อำเภอบ้านดุง
- ถ้ำสิงห์
- วัดถ้ำสหาย
แหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรม
- แหล่งจำหน่ายผ้าพื้นเมือง บ้านนาข่า ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี]
- งานมหกรรมโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิดจังหวัดอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จัดระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคมของทุกปี
- งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จัดบริเวณวัดพระพุทธบากบัวบก ในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
- งานฉลองเจ้าปู่ เจ้าย่า อำเภอเมืองอุดรธานี จัดทุกวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี
- งานประเพณีออกพรรษาชิงถ้วยพระราชทาน อำเภอกุมภวาปี ช่วงออกพรรษาของทุกปี
- งานเทศกาลโคมลม อำเภอพิบูลย์รักษ์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
- งานถนนอาหาร สงกรานต์เมืองอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จัดในช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี ระหว่างวันที่ 10-16 เมษายนของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะหนองประจักษ์ และถนนเทศา
- งานประเพณีบุญบั้งไฟล้าน บ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จัดขึ้นวันที่ 15 ค่ำ เดือน 6
- บ้านไทพวน ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน
เส้นทางเชื่อมการท่องเที่ยวกับจังหวัดใกล้เคียง
1. อุดรธานี-หนองบัวลำภู-เลย
จากวัดป่าบ้านตาด-วัดถ้ำกลองเพล-อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวร-ถ้ำเอราวัณ-ภูกระดึง หรือภูหลวง-ภูเรือ-แก่งคุดคู้
2. อุดรธานี-หาดโขงแก่งโขง
จากอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท-วัดป่าภูก้อน-วัดป่าบ้านเพิ่ม-หาดคัมภีร์-แก่งคุดคู้-น้ำตกตาดหมอก-น้ำตกธารทอง
3. อุดรธานี-หนองคาย
จากวัดพระธาตุบังพวน-วัดพระธาตุองค์ตื้อ-เวียงคุก-สะพานมิตรภาพ-ท่าเสด็จ-ศาลาแก้วกู่
4. อุดรธานี-หนองบัว-ขอนแก่น
วัดถ้ำกลองเพล-อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ-เขื่อนอุบลรัตน์-วัดพระพุทธบาทภูพานคำ-วัดพระธาตุขามแก่น-น้ำตกธารงาม
5. อุดรธานี-สกลนคร
บ่อสร้างเหวย-บ้านเชียง-วัดป่าอุดมสมพร-วัดถ้ำขาม-หนองหาน-วัดพระธาตุเชิงชุม-วัดป่าสุทธาวาส-พระตำหนักภูพานราชนิเวศ-น้ำตกปรีชาสุขสันต์-เขื่อนน้ำอูน
6. อุดรธานี-กาฬสินธุ์
วัดป่าบ้านตาด-วัดมหาธาตุเจดีย์ดอนแก้ว-วัดป่าแมว-วนอุทยานภูพระ-เขื่อนลำปาว-สวนสะออน-ไดโนเสาร์สหัสขันธ์-บ้านโพนแพรวา
สวนสาธารณะในจังหวัดอุดรธานี
1. สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนคร เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า หนองนาเกลือ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัว เมืองเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานีได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อม ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดสวยงามมาก ทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ มีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนไปพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะมีพระตำหนักหนองประจักษ์ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
2. สวนสาธารณะหนองสิม เป็นสวนสาธารณะในย่านชุมชนที่จะให้บริการแก่ประชาชนสำหรับเป็นสถานที่ใช้ในการออกกำลังกาย พักผ่อน ซึ้งภายในได้มีการจัดพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ
3. สวนสาธารณะหนองบัว เป็นสวนสาธารณะสำหรับใช้ออกกำลังกายจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เป็นสถานที่พบปะพูดคุยกัน สวนสาธารณะหนองบัวตั้วอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี ภายในจัดเป็นสวนหย่อมปลูกต้นไม้ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม อีกทั้งยังมีการจัดแสดงน้ำพุให้ได้ชมกันอีกด้วย และรอบสวนสาธารณะหนองบัวยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ด้วย นั่นก็คือ ศาลเจ้าปู่ย่า จังหวัดอุดรธานี
อุทยาน
- อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
- อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก
- อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
- อุทยานธารงาม-ภูฝอยลม
โรงเรียนระดับมัธยม
- โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
- โรงเรียนสตรีราชินูทิศ
- โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร
- โรงเรียนอุดรพัฒนาการ
- โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา
- โรงเรียนเซนต์เมรี่
การเดินทาง
เส้นทางคมนาคมและการเดินทางที่สำคัญของอุดรธานี คือ
- ทางรถยนต์ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 จากกรุงเทพมหานครไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรีบริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ 546 กิโลเมตร
- ทางรถโดยสารประจำทาง ได้แก่ บริการรถโดยสารทั้งธรรมดาและรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (จตุจักร) ถนนกำแพงเพชร 2
- ทางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย
- กรุงเทพฯ-หนองคาย มีขบวนรถตอนเช้า - เย็น
- กรุงเทพฯ-อุดรธานี มีขบวนรถตอนเช้า - เย็น
- นครราชสีมา-หนองคาย
- อุดรธานี-ท่านาแล้ง (ลาว)
- ทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
- นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดต่าง ๆ คือ หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร พิษณุโลก นครพนม เชียงใหม่ เชียงราย ระยอง ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มุกดาหาร อุบลราชธานี และอุตรดิตถ์ และจังหวัดอื่น ๆ เป็นต้น
ชาวอุดรธานีที่มีชื่อเสียง
- พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งจังหวัดอุดรธานี และทรงพัฒนาจังหวัดอุดรธานี
- ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง นักแสดง-พิธีกรชื่อดัง
- สัญญา คุณากร นักแสดง-พิธีกรชื่อดัง
- ต้องตา เกียรติวายุภักษ์
- นำชัย ทักษิณอีสาน
- วันดี สิงห์วังชา
- สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการด้านสื่อโทรคมนาคม
- หลวงปู่ขาว อนาลโย
- หลวงตามหาบัว
- ฝน ธนสุนทร นักร้อง
- อาณัตพล ศิริชุมแสง เดอะสตาร์ 3
- โกสินทร์ ราชกรม นักแสดง
- จามจุรี เฉิดโฉม นักแสดง
- อนุสรา วันทองทักษ์ ผู้เข้าแข่งขันในปฏิบัติการคนล่าฝัน (Academy Fantasia) ปีที่ 2
- กิตติ เชี่ยววงศ์กุล (เกลือ) ผู้กำกับละคร บ้านนี้มีรัก นักแสดงเรื่อง เป็นต่อ
- รุจินันท์ พันธ์ศรีทุม รองมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส อันดับ 1 ประจำปี 2552
- สุดารัตน์ บุตรพรหม (ตุ๊กกี้ สามช่า) ชิงร้อยชิงล้าน
- จอมพลประภาส จารุเสถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- แหลม มอริสัน มือกีตาร์ระดับต้น ๆ ของประเทศ
- พิพัฒน์ ต้นกันยา นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- มนตรี เจนอักษร
- แมว จีรศักดิ์
- ต้อย หมวกแดง
- แจ๊ค มงคล ธรรมดี
- พรศักดิ์ ส่องแสง
- ศิริพร อำไพพงษ์
- เปิ้ล ชไมพร สิทธิวรนันท์
- ปอยฝ้าย มาลัยพร
- คำมอด พรขุนเดช
- ปริศนา วงศ์ศิริ
- โชกุน บรรเจิด สันธนะพานิช
- ส้มโอ พรางชมพู
- หงส์ทอง ดาวอุดร
- ขจรเดช พรมรักษา(กบ) มือกลองวงบิ๊กแอส
.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ตอบลบพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (๕ เมษายน ๒๓๙๙ - ๒๕ มกราคม ๒๔๖๗) พระนามเดิม พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย (ทองคำ ณ ราชสีมา) ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอองค์ที่ ๒๕ ในรัชกาลที่ ๔ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๙ เมื่อสมโภชเดือนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เพราะในวันประสูติมีผู้นำทองคำก้อนใหญ่ ซึ่งขุดได้ที่ตำบลบางสะพานในเวลานั้นได้เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงถือว่าเป็นศุภนิมิตมงคลสำหรับพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้
พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงมีพระอนุชา พระขนิษฐาในเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก ๓ พระองค์คือ
พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ต้นสกุล ทองแถม )
พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี
พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร
พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงเริ่มการศึกษาวิชาอักษรไทย และบาลี กับพระองค์เจ้ากฤษณา หม่อมเจ้าหญิงจอ และพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และทรงศึกษาภาษาต่างประเทศกับ นางเลียวโนเว็น และ นายแป็ตเตอสัน จนสามารถตรัส และเขียนภาษาอังกฤษได้ดี
ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ และเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ และประทับที่วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับสมเด็จพระสังฆราช (สา) เมื่อลาสิกขาแล้วทรงศึกษาวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรศรี (หนู) แล้วเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกาในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นอธิบดีศาลฎีกา
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ขึ้นในประเทศไทย "ท่านทอง" พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษได้ตั้งค่ายสังเกตสุริยุปราคาที่แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี นักดาราศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาไว้ได้ คงมีแต่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ และถูกบันทึกอยู่ในตำราดาราศาสตร์ ในนามของ Prince Tong
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการรักษาดินแดนไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ครั้งวิกฤต ร.ศ. ๑๑๒ ทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ปราบปรามกบฏจีนฮ่อในมณฑลลาวพวนจนสงบราบคาบ
ในเวลาต่อมา ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ทรงตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนที่ บ้านหมากแข้ง ทรงสร้างความเจริญ จากหมู่บ้านชนบทจนเป็นเมืองอุดร และต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ
ภายหลังเกิดคดีพญาระกาขึ้นในปี พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2453 ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงกระทำปัพพานิยกรรม ขับกรมหลวงประจักษ์ฯและพระโอรส-ธิดาออกจากพระราชสำนัก พระองค์เองทรงถูกห้ามมิให้เข้าเฝ้าในที่รโหฐาน ให้เฝ้าได้แต่ในท้องพระโรงหรือในที่มีผู้เฝ้าอยู่มากเท่านั้น ห้ามหม่อมเจ้าไศลทองโดยเฉพาะมิให้เข้าในเขตพระราชฐาน และห้ามหม่อมเจ้าหญิงชายอื่นๆในกรมหลวงประจักษ์ฯมิให้ขึ้นสู่พระราชมณเฑียร ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2453 เป็นต้นมาจนตลอดรัชกาลก็มิได้พ้นพระราชอาญาจนในหลวงรัชกาลที่ 5 สวรรคต (รายละเอียดอ่านได้ในหนังสือพระราชประวัติรัชกาลที่ 6 จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน หน้า 369 - 374)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สิ้นพระชมน์ ณ วังตรอกสาเก เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ จากโรคอันตะ (ไส้ใหญ่ ) พิการ สิริพระชันษาได้ ๖๘ พรรษา ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองใหญ่
.
ต่อ...
ตอบลบพระโอรส-ธิดา
หม่อมพริ้ง
พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๔๘๕) เษกสมรส หม่อมลุดมิล่า บาร์ซูคอฟ อิวาโนวิตซ์ ชายาชาวรัสเซีย ขณะที่ศึกษาวิชาการทหารม้าที่รัสเซีย ท่านได้รับความอนุเคราะห์จากสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ต้นตระกูลจักรพงษ์รับเป็นลูกบุญธรรม ทรงมีบุตรชาย 2 คนและบุตรหญิงสองคนคือ
ม.ร.ว. จักรทอง ทองใหญ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2513-14) สมรสกับ ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา (โนบุโกะ ทาคากิ) ท่านทั้งสองมีบุตร 4 คนคือ
ม.ล. ประจักษศิลป ทองใหญ่ (2482-ปัจจุบัน) สมรสกับ ผ.ศ. วันดี ทองใหญ่ ณ อยุธยา อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา มีบุตร 3 คนคือ
นายประวาลทอง ทองใหญ่ ณ อยุธยา มหาบัณฑิตบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแบรดลี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายน้ำทอง ทองใหญ่ ณ อยุธยา ครุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นางประวีณศรี ทองใหญ่ ไตรประคอง มหาบัณฑิตบริหารธุรกิจ สถาบันศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ม.ล. นีลนารา ชิโมมุระ สมรสกับ นายยาซุโอะ ชิโมมุระ นักวิทยาศาสตร์ทางด้านพลังงานนิวเคลียร์ ชื่อดังชาวญี่ปุ่น มีบุตร 3 คนคือ
นายฮิโรโนบุ ชิโมมุระ
นายบุนจิโร ชิโมมุระ
นายมิโนรุ ชิโมมุระ
ม.ล. จักรานพคุณ ทองใหญ่ (ถึงแก่กรรม)
ม.ล. สุนทรานี ทองใหญ่
ม.ร.ว. ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ สมรสกับ ม.จ. ปิยะ รังสิต มีบุตร 1 คน คือ
ม.ล. เยาวลักษณ์ (รังสิต) แอลแลนด์
ม.ร.ว. พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ สมรสกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี (2518-19) มีบุตร 2 คน คือ
ม.ล. รองฤทธิ์ ปราโมช
ม.ล. วิสุมิตรา (ปราโมช) รัสท์
ม.ร.ว. สิงคธา ทองใหญ่ อดีตเสรีไทยและสมรสกับ นางวิเวียน ทองใหญ่ ใช้ชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกาจนสิ้นชีวิต มีบุตร 2 คน คือ
นายทอมมัส ทองใหญ่
นางสาวอเล็กซานดรา ทองใหญ่ (ถึงแก่กรรม)
หม่อมเจ้าทองอนุวัติ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๙๖) เษกสมรสหม่อมจันทร์
หม่อมเจ้าหญิงอุไรวรรณ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๕๒๐)
หม่อมเจ้าหญิงสอิ้งมาศ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๕๑๕)
หม่อมเจ้าหญิงมาลากนก ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๘๒)
หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๕๓๔) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้านงลักษณ์ทัศนีย์ สวัสดิวัฒน์ กับหม่อมอีก ๑ คน
หม่อมเจ้าหญิงเถาทองตรา ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๔๙๖)
หม่อมนวม
หม่อมเจ้าหญิงพันธ์สิหิงค์ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๓-๒๔๗๔) เษกสมรสกับหม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม
หม่อมเจ้าหญิงนาฏนพคุณ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๕๖) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าพันธุคำนพคุณ ทองแถม
หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๕๑๒) เษกสมรส
หม่อมเจ้าหญิงลำทองแร่ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๒๗) เษกสมรส
หม่อมเจ้าหญิงแพร่ทองทราย ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๑-๒๔๙๓) เษกสมรส
หม่อมเจ้าหญิงสลักทองนูน ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๓-๒๕๑๓) เษกสมรส
หม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๕๓๐) เษกสมรส
หม่อมเจ้าทองประทาศรี ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๕๒๖) เษกสมรส .....บิดา พล.อ.อ.หม่อมราชวงศ์ศิริพงษ์ ทองใหญ่ (อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ)
หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๕๕๓) เษกสมรสกับหม่อมอรพินท์ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
มีบุตรธิดา ๓ คน
ม.ร.ว.ชาลี ทองใหญ่ สมรสกับ นางอรณี (สายบัว) มีธิดา ๒ คน
ม.ล.อรอำไพ พนานุรัตน์ สมรสกับนายประกิต พนานุรัตน์
ม.ล.อณิชาล ทองใหญ่ สมรสกับ นายภัทรภูมิ เพ็ญเจริญ
ม.ร.ว.กัณหา ทองใหญ่ มีธิดา ๓ คน
ม.ร.ว.พิณทอง ทองใหญ่ มีบุตรธิดา ๒ คน
หม่อมเปลี่ยน
หม่อมเจ้าทองมุ่นใหญ่ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๖-?)
หม่อมเจ้าหญิงมาลกสุวรรณ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๙-?)
หม่อมเจ้าหญิงข่ายทองถัก ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๑-๒๕๓๑) เษกสมรส
หม่อมทองสุก
หม่อมเจ้าก่องกาญจนา ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๕๐๐) ทองสุก
หม่อมเจ้าหญิงกรัณฑ์คำ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๒๘)
หม่อมแก้ว
หม่อมเจ้าทองแกมแก้ว ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๕๓๓) เษกสมรสกับ เจ้าหญิงประกายคำ ณ ลำพูน ราชธิดาใน พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐ มีบุตร ธิดา 3 คน
ม.ร.ว. ประกายทอง สิริสุข สมรสกับ นาย ชลอ สิริสุข
ม.ร.ว. แก้วแกมทอง ทองใหญ่ สมรสกับ นาง ศิริรัฐ (สังขพิชัย) ทองใหญ่ ณ อยุธยา
ม.ร.ว. ผ่องสุวรรณ บิลเมส สมรสกับ
.
เพลง “อุดรธานี”
ตอบลบกรมหลวงประจักษ์ กล้าเก่งยิ่งนักรุกไล่ไพรี เป็นผู้สร้างอุดรธานี ตราประจำเมืองนี้ พระเวสสุวัณท่านคุ้มภัย
จวบจนบัดนี้ อุดรธานี รุ่งเรืองวิไล ธรรมชาติงามสดใสแลแห่งใด ประทับใจหนักหนา
พิพิธภัณฑ์บ้านเชียง มีชื่อเสียงก้องโลกา โบราณวัตถุล้ำค่า อายุมากกว่าห้าพันปี
พระพุทธบาทบัวบก ธรรมค้ำจุนโลกเป็นสง่าราศี เอราวัณ ณ ขุนคีรี เป็นถ้ำที่กว้างใหญ่ไพศาล
งามล้ำถ้ำกลองเพล เด่นกลางหาวแหล่งชาวพุทธยึดมั่น น้ำตกยูงทองเห็นฟองวาววาม น้ำตกธารงามสมนามงามจับใจ
อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ผู้คนทั้งปวงฝันใฝ่ หนองประจักษ์แลวิไล ติดตรึงใจยั่งยืนอยู่คู่อุดร
ชาวอุดรเป็นคนขยัน ประเพณีนั้นงดงามมากมาย มีความสนุกสำราญเหลือหลาย พื้นดินกว้างใหญ่ อุดมรุ่งเรือง
มีจิตผูกมิตรไมตรี ดั่งเหมือนน้องพี่ที่รักบ้านเมืองสุขสันต์งานทุ่งศรีเมือง ขึ้นชื่อลือเลื่องไปทั่วเมืองไทย งานรำลึกกรมหลวงประจักษ์ ก็หม่วนยิ่งนักจับจิตจับใจ ขออยู่ไปจนวันตาย จะไม่ขอพรากจากอุดรธานี
.
โรงเรียนมัธยม สพฐ.
ตอบลบโรงเรียนกุงเจริญพิทยาคม อำเภอศรีธาตุ
โรงเรียนกุดจับประชาสรรค์ อำเภอกุดจับ
โรงเรียนกุมภวาป์พิทยาสรรค์ อำเภอกุมภวาปี
โรงเรียนกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี
โรงเรียนกู่แก้ววิทยา อำเภอกู่แก้ว
โรงเรียนคำยางพิทยา อำเภอวังสามหมอ
โรงเรียนจอมศรีพิทยาคาร อำเภอเพ็ญ
โรงเรียนจำปาโมงวิทยาคาร อำเภอบ้านผือ
โรงเรียนชัยนาคำวิทยา อำเภอบ้านดุง
โรงเรียนเชียงพังพัฒนวิช อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนเชียงเพ็งวิทยา อำเภอกุดจับ
โรงเรียนเชียงหวางพิทยาคาร อำเภอเพ็ญ
โรงเรียนแชแลพิทยานุสรณ์ อำเภอกุมภวาปี
โรงเรียนไชยวานวิทยา อำเภอไชยวาน
โรงเรียนดงเย็นพิทยาคาร อำเภอบ้านดุง
โรงเรียนตาดทองพิทยาคม อำเภอศรีธาตุ
โรงเรียนทมนางามวิทยาคม อำเภอโนนสะอาด
โรงเรียนทรัพย์อุดมวิทยา อำเภอบ้านดุง
โรงเรียนทุ่งฝนพัฒนศึกษา อำเภอทุ่งฝน
โรงเรียนทุ่งฝนวิทยาคาร อำเภอทุ่งฝน
โรงเรียนธาตุโพนทองวิทยาคม อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนนาทรายวิทยาคม อำเภอพิบูลย์รักษ์
โรงเรียนนานกชุมวิทยาคม อำเภอวังสามหมอ
โรงเรียนนาไหมพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอบ้านดุง
โรงเรียนน้ำซึมพิทยาคม อำเภอน้ำโสม
โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม อำเภอน้ำโสม
โรงเรียนนิคมสงเคราะห์วิทยา อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนโนนสะอาดชุมแสงวิทยา อำเภอบ้านดุง
โรงเรียนโนนสะอาดพิทยาสรรค์ อำเภอโนนสะอาด
โรงเรียนโนนสูงพิทยาคาร อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนบ้านเชียงวิทยา อำเภอหนองหาน
โรงเรียนบ้านดุงวิทยา อำเภอบ้านดุง
โรงเรียนบ้านผือพิทยาสรรค์ อำเภอบ้านผือ
โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคม อำเภอประจักษ์ศิลปาคม
โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนพังงูพิทยาคม อำเภอหนองหาน
โรงเรียนพันดอนวิทยา อำเภอกุมภวาปี
โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา อำเภอพิบูลย์รักษ์
โรงเรียนเพ็ญพิทยาคม อำเภอเพ็ญ
โรงเรียนโพนสูงพัฒนศึกษา อำเภอไชยวาน
โรงเรียนภูพระบาทวิทยา อำเภอบ้านผือ
โรงเรียนภูพานวิทยา อำเภอกุดจับ
โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 1 อุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล อำเภอสร้างคอม
โรงเรียนยูงทองพิทยาคม อำเภอนายูง
โรงเรียนราชินูทิศ 2 อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนวังสามหมอวิทยาคาร อำเภอวังสามหมอ
โรงเรียนศรีธาตุพิทยาคม อำเภอศรีธาตุ
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนสร้างคอมวิทยา อำเภอสร้างคอม
โรงเรียนสามพร้าววิทยา อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนสามพาดพิทยาคาร อำเภอประจักษ์ศิลปาคม
โรงเรียนสามัคคีพิทยาคาร อำเภอน้ำโสม
โรงเรียนสีออศิลปศาสตร์ อำเภอกุมภวาปี
โรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร อำเภอเพ็ญ
โรงเรียนเสอเพลอพิทยาคม อำเภอกุมภวาปี
โรงเรียนแสงอร่ามพิทยาคม อำเภอหนองวัวซอ
โรงเรียนหนองแดงวิทโยดม อำเภอกุมภวาปี
โรงเรียนหนองยางชุมพิทยาคม อำเภอหนองวัวซอ
โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม อำเภอหนองวัวซอ
โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา อำเภอหนองแสง
โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์ อำเภอบ้านผือ
โรงเรียนหนองหานวิทยา อำเภอหนองหาน
โรงเรียนห้วยเกิ้งพิทยาคาร อำเภอกุมภวาปี
โรงเรียนอุดรธรรมานุสรณ์ อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนอุดรพัฒนศึกษา อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนอุดรพัฒนาการ อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล 2 อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนเอกชน
โรงเรียนเซนต์เมรี อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนมารีย์พิทักษ์ อำเภอเมืองอุดรธานี
โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา อำเภอเมืองอุดรธานี
สถาบันเพิ่มทักษะการเรียนรู้นานาชาติ IIE อุดรธานี [1] สอนภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส โดยอาจารย์เจ้าของภาษา
โรงเรียนเทคโนโลยีอีสานเหนือ1 อำเภอเมืองอุดรธานีเว็บไซด์โรงเรียน
โรงเรียนเทคโนโลยีอีสานเหนือ2 อำเภอกุมภวาปี
.
เพลงเกี่ยวกับจังหวัดอุดรธานี
ตอบลบกราบเท้าพ่อหลวง ฝน ธนสุนทร
ลูกก้มลงกราบยังทราบซึ้งใจ พระคุณของพ่อยิ่งใหญ่ สร้างอุดร นครคนดี.กรมหลวงประจักษ์ ประชารัก และซึ้งภักดี
มาลัยจากใจพวงนี้ ลูกบูชาพระคุณพ่อหลวง
ดนตรี..พ่อยืนตระหง่าน ใครผ่านเคารพบูชา อุดรเจริญเรื่อยมา พ่อคุ้มครองปกป้องแสนห่วง กรมหลวงประจักษ์
เป็นที่รักของคนทั้งปวง บารมีคุ้มภัยใหญ่หลวง ลูกทั้งปวงเทิดทูนมิ่งขวัญ ลูกก้มลงกราบยังซาบซึ้งใจ วิญญาณท่านพ่ออยู่ไหน โปรดป้องภัยให้สุขขีมั่น. ลูกขอสัญญา จะทำดีจนชั่วนิรันดร์ ชาวเมืองอุดรเรานั่น จะทำดีเป็นศรีแห่งเมือง ลูกก้มลงกราบยังซาบซึ้งใจ วิญญาณท่านพ่ออยู่ไหน โปรดป้องภัยให้สุขขีมั่น. ลูกขอสัญญา จะทำดีจนชั่วนิรันดร์ ชาวเมืองอุดรเรานั่น จะทำดีเป็นศรีแห่งเมือง
จากเธอที่หนองประจักษ์ มนูญ เทพประทาน
หนองประจักษ์ แม้ใครประจักษ์ มักต้องจิต ดุจเทพนิมิต ยามพิศเพลิน สวยเกินคำสรร งามสุดแสน คล้ายเมืองแมน แสนลาวัลย์ เมื่อตะวัน ทอแสงทอง ต้องพื้นธารา วิหคน้อย. โผบินคอยคู่ อยู่กลางหนอง น้ำเป็นฟอง ทองพลิ้วสะบัด เห็นมัจฉา เสียงนกไพร ร้องใกล้ค่ำ พร่ำคำลา พี่จากมา ด้วยกรรมจำพราก จากดวงใจ..
กีตาร์คิงส์ คาราบาว
Dm ดนตรี 20 Bars..19..20....ดวงใจอาดูร พ่อนักดนตรีคลุกฝุ่น ต้องหาเงินเจือจุน อุ้มบุญกันต่อไป ลูกน้อยยังเล็กๆ ภรรยาวัยสดใส อยู่เคียงข้างกำลังใจ ในถนนสายดนตรี ยืนดีดกีตาร์ตลอดคืน เพื่อความสุขของผู้ฟัง ผู้ชม ผู้ดู เป็นมือกีตาร์กีตาร์คิงส์ มีกีตาร์เป็นร่างกาย หัวใจ วิญญาณ ทำงานมานาน บ้านยังเช่ารถยังผ่อน ยุคจีไอเมืองอุดร ยุคเฟื่องฟูวีไอพี เล่นดนตรีอันเดอร์กราวนด์ ร้องเรื่องราวชาวเฮฟวี่ ผ่านมานานจนวันนี้ มีแค่กีตาร์ตัวเก่า ยืนดีดกีตาร์ตลอดคืน เพื่อความสุขของผู้ฟัง ผู้ชม ผู้ดู เป็นมือกีตาร์กีตาร์คิงส์ มีกีตาร์เป็นร่างกาย หัวใจ วิญญาณ
ดนตรี 15 Bars..14...15....เสียงเขย่าสาย คือจดหมายหัวใจ บ่งบอกความนัยๆ ลูกผู้ชายต้องฝ่าฟัน ปลายฝันแห่งชีวิต พรหมลิขิตช่างหัวมัน เกิดเป็นแหลมมอริสัน เป็นตำนานกีตาร์คิงส์ ยืนดีดกีตาร์ตลอดคืน เพื่อความสุขของผู้ฟัง ผู้ชม ผู้ดูเป็นมือกีตาร์กีตาร์คิงส์ มีกีตาร์เป็นร่างกาย หัวใจ วิญญาณ เดินทางยาวนาน ประสบการณ์ยิ่งใหญ่ ยิ้มรับโลกเสมอไป ไม่ยินร้ายกับวันนี้ ขอเป็นคนกีตาร์ แม้เกิดมาเกิดผิดที่ นำพาโลกยามราตรี มีดนตรีตลอดกาล
คนนิรนาม คาราบาว
Bm ดนตรี 5 Bars..3...4...5...เขา มาจากที่ใด ไร้ คนสนใจ ไม่ มีใครถาม แต่ เช้า เหงื่อนองท่วมหน้า โลม ไล้กายา อ่อนล้าโรยแรง..อี สาน บ้านเขามันแล้ง ดิน แตกระแหง ผู้คน กระสานซ่านเซ็น
ดนตรี 3 Bars..2...3...เขา ผู้พเนจร ไม่มีมุ้งหมอน พักผ่อนกายา สืบเท้า เดิน ก้าวย่ำมา จุด หมายข้างหน้า มุ่งหางานทำ
..แดนกรุง ผู้คนล้นหลาม กลาย เป็นคำถาม ที่ไหน จะมีงานทำ..อุ บล อุดร หนองคาย กาฬสินธุ์ สุรินทร์และศรีสะเกษ
สุด เขต สุดแคว้น แดนที่ราบสูง สู่ กรุง มุ่งมาด้วยความลำเค็ญ ได้รู้ได้เห็น ได้ เป็น คน นิ-ร-นาม
.งาน หนัก งาน เหนื่อย งาน นาน ไม่เป็นคน เกียจคร้าน ทำได้ก็ทำเอา งาน เหล็ก งาน หิน งาน ทราย งาน ปูน งานไม้
ทำได้ก็ทำเอา งานดี เงินดี งานเบา งานดี เงินดี งานเบา ใครจะจ้างพวกเขา คน นิ-ร-นาม
..งาน หนัก งาน เหนื่อย งาน นาน ไม่เป็นคน เกียจคร้าน ทำได้ก็ทำเอา งาน เหล็ก งาน หิน งาน ทราย งาน ปูน งานไม้
ทำได้ก็ทำเอา งานดี เงินดี งานเบา งานดี เงินดี งานเบา ใครจะจ้างพวกเขา คน นิ-ร-นาม
ดนตรี 42 Bars..41... 42..อุ บล อุดร หนองคาย กาฬสินธุ์ สุรินทร์และศรีสะเกษ สุด เขต สุดแคว้น แดนที่ราบสูง สู่ กรุง มุ่งมาด้วยความลำเค็ญ ได้รู้ได้เห็น ได้ เป็น คน นิ-ร-นาม...
.
คอยบ่าวสาวอุดร แดง จิตกร
ตอบลบเธอไกล อ้ายห่วงอาวรณ์ ห่วงสาวอุดร ผู้ไป ไกลบ้าน น้องไป ต่างแดนไหนกัน น้องไป ต่างแดนไหนกัน อยู่เมืองใต้หวัน
หรือ อยู่เมือง เจแปน เสียงแคน ดังขับไหลล่องมา คิดฮอดสาวนา ผู้ไป ไกลแดน อยากให้เจ้า กลับคืนไทยแลนด์ อยากให้เจ้า กลับคืนไทยแลนด์ มาฟังเสียงแคน ในอ้อมแขน บ้านเฮา..เรื่องราว ที่เขาลือมา เรื่อง ยากูซ่า ล่อลวง ผู้สาว ย่านเด้ อ้ายย่านโดนเจ้า ย่านเด้ อ้ายย่านโดนเจ้า นับวันคอยข่าว ผู้สาว อุดร..ไกลคน ไกลถิ่น ไกลตา จดหมาย บ่มา ดั่งสัญญา เคยอ้อน ห่วงหลาย ผู้สาวอุดร ห่วงหลาย ผู้สาวอุดร อยู่เป็น เย็นร้อน บ่าวอุดร ห่วงใย เป็น อย่างไร ให้กลับมาบ้านเฮา
มีนามีข้าว ก็ อยู่กิน กันไป บ่ร่ำบ่รวย ก็บ่เห็นเป็นไร บ่ร่ำบ่รวย ก็บ่เห็นเป็นไร อ้ายครองหมองไหม้ คึดฮอดผู้สาว อุดร
ไกลคน ไกลถิ่น ไกลตา จดหมาย บ่มา ดั่งสัญญา เคยอ้อน ห่วงหลาย ผู้สาวอุดร ห่วงหลาย ผู้สาวอุดร อยู่เป็น เย็นร้อน
บ่าวอุดร ห่วงใย เป็น อย่างไร ให้กลับมาบ้านเฮา มีนามีข้าว ก็ อยู่กิน กันไป บ่ร่ำบ่รวย ก็บ่เห็นเป็นไร บ่ร่ำบ่รวย ก็บ่เห็นเป็นไร อ้ายครองหมองไหม้ คึดฮอดผู้สาว อุดร
คอยพี่ที่อุดร ร๊อคสะแด่ว
โอโอ้ โอ้โอ่โอ โอ้โอ่โอ โอโอ้โอ๊ โอโอ้ โอ้โอ่โอ โอ่ โอ้โอ๊ โอโอ่ โอ้โอ โอ่ โอ้โอ๊ โอโอ่ โอ้โอ่ ดอก จานบาน ที่ทุ่งอีสาน แดนอุดร
คิดถึง หนุ่มยโสธร เคยมาอุดร เมื่อตอนปีกลาย เป็นหยัง บ่มาอีกแล้ว ลืมเคย สัญญากันไว้ ในวัน ต้มปลาค้อใหญ่ พร้อมใส่ใบ มะขามแซ่บดี.หนุ่ม ย-โส บ่โฮ หวนมาหากัน หรือไป ฝากสายสัมพันธ์ ที่อื่นนั้น มากมิตรไมตรี ฝากใจ ส่งให้ไปหา พี่จ๋า จงมาเร็วรี่ เงินบาท ลอยตัวปีนี้ พี่อย่าหาย ลอยไปตามลม. ลมหนาว พัดเยือนเข้ามา หนาวแล้วหนา อุราหวั่นไหว น้อง หนาว ใจ หนาวกาย ต้องการผ้าห่ม อย่าปล่อย ให้น้องหนาวลม พรมหนาวรัก หนาวหนักกมล.ดอก จานบาน ที่ถิ่นสถาน เมืองอุดร คิดถึง หนุ่มยโสธร ลืมคนอุดร บ่กลับมาสน หรือ ติดสาวอยู่ไส หรือไป มักสาว สกล หรือเที่ยว อยู่เมืองอุบล
หรือไปสน สาวเมืองสุรินทร์ ลมหนาว พัดเยือนเข้ามา หนาวแล้วหนา อุราหวั่นไหว น้อง หนาว ใจ หนาวกาย ต้องการผ้าห่ม อย่าปล่อย ให้น้องหนาวลม พรมหนาวรัก หนาวหนักกมล .ดอก จานบาน ที่ถิ่นสถาน เมืองอุดร คิดถึง หนุ่มยโสธร ลืมคนอุดร บ่กลับมาสน หรือ ติดสาวอยู่ไส หรือไป มักสาว สกล หรือเที่ยว อยู่เมืองอุบล หรือไปสน สาวเมือง สุรินทร์
คิดถึงอุดรฯ ยอดรัก สลักใจ
Dm น้ำ ท่วม ถิ่นอุดรฯ ข้อยต้องจากจรซอกซอนหางาน จนก็จนน้ำก็ยังท่วมบ้าน ต้องซมซาน จากอุดรฯ จากรักเคยสุดหวง
ปวดร้าวทรวงสุดถอน แม้จะฮักก็ต้องพรากจากบังอร จากอุดรฯเพราะข้อยจนเข็ญใจ นอนข้อยนอนร้องไห้ คิดถึงบ้านเฮา
นอนข้อยนอนร้องไห้ คิดถึงบ้านเฮา ข้อย จาก มาเมืองหลวง เพื่อนสุขชื่นทรวง ข้อยยังนอนเศร้า ครวญคะนึงหวนคิดถึงบ้านเฮา ห่วงแฟนสาว ที่เคยเคลียคลอ ห่วงถึงปอที่แล้ง ห่วงถึงแม่ที่ร้อง ป่านฉะนี้เป็นไฉนเล่าน้อง แม่และพ่อของข้อยคงลำบาก คงระทมทุกข์ยาก เพราะข้อยจากมา คงระทมทุกข์ยาก เพราะข้อยจากมา ฝน ตก มาทีไร เหมือนมีดบาดใจ
ของข้อยเจียนบ้า รินลงคลองล้นเข้านองท้องนา เหมือนดั่งน้ำตา ของข้อยที่ไหล เบิ่งน้ำนายิ่งหมอง เบิ่งน้ำนองเศร้าใจ
เตือนความหลังวันรักหักอาลัย จากมาไกลน้องคงนอนสะอื้น คงระทมขมขื่น อยู่ไม่สร่างเซา คงระทมขมขื่น อยู่ไม่สร่างเซา
ขอ ฝาก เพลงส่งไป ถึงอ้ายอยู่ไกลบ่เคยลืมเจ้า ยังคะนึงหวนคิดถึงฮักเฮา ยังห่วงแฟนสาว ที่ชื่อบัวคำ โอโอบัวคำเอ๋ย ก่อนอ้ายเคยสร้างกรรม มาชาตินี้มาชาตินี้อ้ายจึงช้ำ จากบัวคำสาวอุดรฯเคียงใจ นอนข้อยนอนร้องไห้ คิดถึงบัวคำ นอนข้อยนอนร้องไห้ คิดถึงบัวคำ...
.
สาวอุดรรอรัก จินตหรา พูนลาภ
ตอบลบC อุดรธานี ยังมี คนคอยอ้ายอยู่ จากไกล ไปไหนบ่ฮู้ เฝ้าเอิ้นกู่ ก็ไม่เห็นมา หรือไปเชยชื่น หญิงอื่นหวานรื่นอุรา หรืออ้าย ถูกมนต์ตรึงตรา ลิ้มรสโอชา บ่มาอุดร อุดรธานี เดี๋ยวนี้มันหมองมันหม่น เหมือนนา แห้งแล้งคอยฝน เหมือนใจคน เพ้อบ่นอาวรณ์ ใกล้ ใกล้ สิค่ำ เสียงแคน หมอลำดังมาวอน วอน ปานเสียง นกเขาอ่านคอน โอ้สาวอุดร นอนหนาวตาปรี หนีไปจ้ำ ทางใด บ่ฮู้ข่าว โอ้ ผู้บ่าว มาทิ้งสาวหน่ายหนี มาลืม คืนหมั้น มาลืมวัน สัญญารัก มาทิ้งให้น้องประจักษ์ แดน ฝากรักสุขขี
สวรรค์ลอย กระทง สองเฮาจงใจเว้า ว่ารักเอ๋ย รักเรา อย่าให้เศร้า หมองศรี ร่วมลอยกระทง เอ๋ยยังไม่ถึงปี สาวอุดรธานี ก็โศกีโศกา อุดรธานี ยังมีคนคอยอ้ายอยู่ กลับมาหาสา ยอดชู้ มาเป็นคู่ สร้างสรรค์ฟันฝ่า มาช่วย สานต่อ มาก่อรัก เป็นตำรา ให้คนอื่นเขาเล่าว่า สองเราบูชา รักกันจนตาย
สาวอุดรฯใจดำ รักชาติ ศิริชัย
Abดนตรี 7 Bars..5...6...7.รถ ด่วน จากอุดรฯ รับเจ้างามงอนเข้า ก.ท.ม. ลาอุดรฯย้อนเข้าโรงงานทอ สั่งอ้ายรอ อยู่อุดรฯ
เกือบสามปีนี่แล้ว สิ้นวี่แววเจ้าย้อน ใจเอ๋ย หนุ่มอุดรฯ หนุ่มอุดรฯร้อนเสียจนแทบคลั่ง นอนน้ำตารินหลั่ง เหมือนดังจะสิ้นใจ นอนน้ำตารินหลั่ง เหมือนดังจะสิ้นใจ... ย่างมาถึงงานบั้งไฟ ไม่มีเจ้ามาเหม่อมองหาจนน้ำตา อ้ายรินร่วงไหล ใจเอ๋ย ไม่ห่วงใย ไม่ห่วงใยอ้ายที่ทนรอคอย ยืนระทมเศร้าสร้อย หัวใจแทบขาดรอน ยืนระทมเศร้าสร้อย หัวใจแทบขาดรอน... หรือ ว่า เบื่อบ้านเฮา ชอบสิ่งยั่วเย้าชอบ ก.ท.ม. มีแฟนไทยไว้ในโรงงานทอ ปล่อยอ้ายรอ อยู่อุดรฯ เกือบสามปีนี่แล้ว
ไม่เห็นแววจะย้อน ใจเอ๋ย สาวอุดรฯ สาวอุดรฯสาวอุดรฯใจดำ รออ้ายรอครวญคร่ำ ทุกวันตลอดมา รออ้ายรอครวญคร่ำ
ทุกวันตลอดมา
ดนตรี 13 Bars..12...13.หรือ ว่า เบื่อบ้านเฮา ชอบสิ่งยั่วเย้าชอบ ก.ท.ม. มีแฟนไทยไว้ในโรงงานทอ ปล่อยอ้ายรอ อยู่อุดรฯ
เกือบสามปีนี่แล้ว ไม่เห็นแววจะย้อน ใจเอ๋ย สาวอุดรฯ สาวอุดรฯสาวอุดรฯใจดำ รออ้ายรอครวญคร่ำ ทุกวันตลอดมา
รออ้ายรอครวญคร่ำ ทุกวันตลอดมา...
สาวบ้านเชียง คันไถ
D เดินเลียบๆเคียงๆ มาถึงบ้านเชียงไม่เกี่ยงกะตังค์ เดินเลียบๆเคียงๆ มาถึงบ้านเชียงไม่เกี่ยงกะตังค์ เฮ็ดอีหลี..เฮ็ดอีหลี
สวยสะเด็ดน่าเฮ็ดเสียจัง ได้มาเจอแม่สาว ขาวก็ขาวละออ เห็นหน้าเห็นหม้อก็บ่เป็นหยัง ขายไม่ได้กี่ตังค์ ขายเพื่อจะได้กะตังค์ ชื่อดังเสียจริงบ้านเชียง ปั้นเป็นหม้อ ก่อเป็นไห ปั้นเป็นหม้อ ก่อเป็นไห ว่างๆขายหม้อแถมทอผ้าไหม สู้ไปแม่สาวบ้านเชียง เข้าไปถามแม่สาว เรื่องราวของแม่สาวบ้านเชียง เธอตอบเลี่ยงๆเมียงๆสะเทิ้น หม้อใหม่ไม่มีใครเกิน อยากได้ขอเซินขอเซิน ถ้าบังเอิญก็มาเที่ยวบ้านเชียง ปั้นเป็นหม้อ ก่อเป็นไห ปั้นเป็นหม้อ ก่อเป็นไห หม้อเก่าเลิกลา นี่มาแต่หม้อใหม่
หม้อเก่าก็ปรุ เขาไม่ยอมให้ขาย สนใจก็มาชมบ้านเชียง เข้าไปชมหม้อสาว ขาวทั้งเกลาทั้งเกลี้ยง ไม่คิดบ่ายเบี่ยง เลียบเคียงเจ้าของ พี่ชายขอเอาไปครอบครอง เอาไปฝากเพื่อนฝากพ้อง จะขอรับรอง ถ้าเป็นของบ้านเชียง ขายกันทั้งหม้อ เอ้าล่อกันทั้งไห ขายกันทั้งหม้อ เอ้าล่อกันทั้งไห สี่พันกว่าปีที่เขาขุดขึ้นมาไว้ สี่พันกว่าปีเชิญชมกันได้ สนใจถามสาวบ้านเชียง
เดินเลียบๆเคียงๆ มาถึงบ้านเชียงไม่เกี่ยงกะตังค์ เดินเลียบๆเคียงๆ มาถึงบ้านเชียงไม่เกี่ยงกะตังค์ เฮ็ดอีหลี..เฮ็ดอีหลี
สวยสะเด็ดน่าเฮ็ดเสียจัง เดินเลียบๆเคียงๆ มาถึงบ้านเชียงไม่เกี่ยงกะตังค์ เดินเลียบๆเคียงๆ มาถึงบ้านเชียงไม่เกี่ยงกะตังค์ เฮ็ดอีหลี..เฮ็ดอีหลี สวยสะเด็ดน่าเฮ็ดเสียจัง เดินเลียบๆเคียงๆ มาถึงบ้านเชียงไม่เกี่ยงกะตังค์ เดินเลียบๆเคียงๆ
มาถึงบ้านเชียงไม่เกี่ยงกะตังค์ เฮ็ดอีหลี..เฮ็ดอีหลี สวยสะเด็ดน่าเฮ็ดเสียจัง
.